เจาะลึก Magnesium ทำไมควรกินเสริม

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 23 кві 2024
  • สรุป Magnesium ของ Harvard ครับ
    www.hsph.harvard.edu/nutritio...
    Magnesium และการลดการอักเสบในร่างกายครับ
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35277...
    Triage theory ของ micronutrient ครับ
    www.bruceames.org/Triage.pdf
    Magnesium กับ Migraines ครับ
    www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    Magnesium กับโรคความจำเสื่อมและขนาดของสมองครับ
    www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    Magnesium กับมวลกระดูกครับ
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34666...
    www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    Magnesium กับ aging ครับ
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33573...
    Magnesium กับ มะเร็งครับ
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26554...
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22854...
    Magnesium กับความดันโลหิตสูงครับ
    pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19617...
    สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

КОМЕНТАРІ • 583

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Місяць тому +139

    เจาะลึก Magnesium ทำไมควรกินเสริม
    สวัสดีครับ
    ถ้าใครที่ตามฟังไลฟ์ของผมอยู่เรื่อยๆนะครับผมเคยบอกไว้ว่าแมกนีเซียมเป็นสารอาหารตัวหนึ่งซึ่งผมคิดว่าการที่เรากินเสริมเข้าไปน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าโทษนะครับ วันนี้ผมก็อยากจะมาขยายความเล่าจนถึงรายละเอียดว่าเหตุใดผมจึงเห็นเป็นเช่นนั้นนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
    เรื่องแมกนีเซียมนั้นมันมีความสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมากนะครับโดยประมาณสัก 60% ของแมกนีเซียมอยู่ในกระดูกของเรา อีกประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์อยู่ในกล้ามเนื้อและที่เหลือก็อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งในน้ำเลือดด้วยนะครับ แมกนีเซียมมันเป็นตัวที่มีความจำเป็นมากๆในการทำงานของเอนไซม์ชนิดต่างๆในร่างกายถึงประมาณ 300 เอนไซม์เลยทีเดียวนะครับ 300 เอนไซม์เหล่านี้มีความสำคัญมากต่อร่างกายในหลากหลายแง่มุม แต่แง่มุมที่สำคัญมากๆยกตัวอย่างเช่น เอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับร่างกายนะครับ เอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิตามินดีให้เป็นวิตามินดีที่ทำงานได้ดีมากขึ้นในร่างกายเรา ดังนั้นคุณอาจจะพอคิดได้ว่าถ้าวิตามินดีเราทำงานไม่ได้แล้วล่ะก็มันก็แปลว่าเราอาจจะมีปัญหาทางด้านของกระดูกพรุนได้หรือว่าปัญหาอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิตามินดีก็ได้เช่นกันนะครับ แล้วก็ยังมีอีกหลายๆอย่างเลยนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Місяць тому +20

      1️⃣
      เล่าให้ฟังนิดนึงละกันไหนๆเมื่อกี้ผมก็พูดถึงเอนไซม์ 300 กว่าชนิดนะครับ ร่างกายคนเรามีเอนไซม์ทั้งหมดประมาณสัก 75,000 เอนไซม์คร่าวๆนะครับ 300 ชนิดก็คิดเป็นประมาณสัก 0.4% ของเอนไซม์ทั้งหมดของร่างกายเราแต่มันเป็น 0.4% ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้แมกนีเซียมแล้วมันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนนะครับ ทีนี้เมื่อมันมีความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอย่างยิ่งแล้วสิ่งต่อมาซึ่งเราควรจะเข้าใจไว้ว่าถ้ามันสำคัญขนาดนั้นเราได้รับแมกนีเซียมต่อวันเพียงพอหรือเปล่านะครับ ที่อเมริกามันมีงานวิจัยออกมาแล้วว่าคนประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศเลยได้รับแมกนีเซียมต่อวันไม่เพียงพอครับซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เยอะมากเลยนะครับที่คนครึ่งอเมริกาได้แมกนีเซียไม่เพียงพอ ทีนี้เวลาที่แมกนีเซียมมันไม่เพียงพอสิ่งต่างๆที่เราเจอได้ก็จะเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เอนไซม์พวกนี้ที่จำเป็นต้องใช้แมกนีเซียมมันทำงานไม่ได้สมัยก่อนมีเจ้าพ่อทางด้านแมกนีเซียมหรือ Micronutrients คนหนึ่งนะครับเขาอธิบายเหตุผลที่เราแก่ตัวลงไว้อย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า Triage theory นะครับคือถ้าเรามีแมกนีเซียมเป็นปริมาณจำกัดแมกนีเซียมเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้กับเอนไซม์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเอาชีวิตรอดในระยะสั้นโดยจะเสียสละสิ่งที่มีผลกับเราในระยะยาว ผมพูดอย่างนี้มันหมายความว่าสิ่งซึ่งจะทำให้เรามีชีวิตอยู่ในตอนนี้ก็คือพลังงาน ถ้าเราไม่มีพลังงานเราตายตอนนี้เลยดังนั้นถ้าเราขาดแมกนีเซียม แมกนีเซียมในร่างกายเราทั้งหมดที่เหลืออยู่มันจะต้องไปทำงานงานคู่กับเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานแต่เอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการซ่อมแซม DNA มันอาจจะเป็นตัวที่ไม่มีแมกนีเซียมไปทำงานเพราะว่าเอนไซม์ตัวนี้ถ้าทำงานผิดปกติมันไม่ได้ทำให้เราตายตอนนี้แต่มันจะเป็นการตายผ่อนส่งในอนาคต ถ้าเอนไซม์ที่ใช้ในการซ่อมแซม DNA มันทำงานไม่ได้แล้วล่ะก็สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ
      1 เราแก่ครับ
      2 มันเป็นมะเร็งได้
      ดังนั้นมันแปลว่าถ้าเรามีความผิดปกติของ DNA แล้วเราซ่อมมันไม่ได้ก็จะเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา แต่ร่างกายเราในขณะที่มันมีแมกนีเซียมไม่เพียงพอมันจะไปสนใจตรงนี้ไม่ได้มันต้องเอาตัวเองให้รอดวันนี้ก่อนมันไม่ไปห่วงหวังน้ำบ่อหน้ามันต้องให้รอดตอนนี้ในอนาคตมันเป็นยังไงค่อยว่ากันอีกที่ ดังนั้นพอเราฟังอย่างนี้แล้วการที่เราได้แมกนีเซียมไม่เพียงพอเป็นเวลานานๆคุณอาจจะมีปัญหาในด้านของมะเร็ง ในด้านของอายุที่มันแก่ลงเร็วกว่าปกติก็ได้นี่คือความน่ากลัว แล้วอีกอย่างหนึ่งคือเมื่อกี้ผมบอกว่าให้ครึ่งหนึ่งของคนอเมริกาเขายังขาดแมกนีเซียมเลย ผมไม่รู้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนไทยจะขาดมากน้อยแค่ไหนนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Місяць тому +22

      2️⃣
      ก่อนที่เราจะไปว่ากันว่าแมกนีเซียมมีความสำคัญอะไรบ้างต่อระบบต่างๆซึ่งเดี๋ยวผมจะพูดต่อไป ผมอยากจะให้ทุกคนรู้ก่อนว่าแล้วเราจำเป็นจะต้องได้แมกนีเซียมต่อวันแค่ไหน รวมทั้งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราได้แมกนีเซียมเพียงพอหรือเปล่า เรามีการขาดแมกเซียมหรือยังนะครับ
      🔶อันแรก ผู้หญิงกับผู้ชายไม่เท่ากันนะครับ ผู้หญิงต้องการแม็กนีเซียมประมาณวันละ 320 mg แต่ถ้าเราตั้งครรภ์ก็อาจจะสูงถึงขั้น 360 mg / วันก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายประมาณ 420 mg /วัน แต่ถ้าเกิดเป็นคนที่ออกกำลังกายเยอะ มีการเสียเหงื่อเยอะอาจจะจำเป็นจะต้องได้มากกว่าอีก 10% นะครับก็ถ้าเป็นผู้หญิงก็บวกไปอีก 32 ก็คือสูงถึงประมาณสัก 350 ถ้าเป็นผู้ชายก็อาจจะ 460 บาทโดยประมาณนะครับในคนที่เสียเหงื่อเยอะออกกำลังกายเยอะนะครับ นี่คือสิ่งที่แนะนำต่อวัน
      แมกนีเซียมมาจากไหน เวลาเรากินอาหารอะไรเราถึงจะได้แมกนีเซียม?
      ➡️ต้องบอกอย่างนี้ครับแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของคลอโรฟิลล์ก็คือส่วนที่ทำให้พืชมันมีสีเขียว ดังนั้นพืชอะไรก็แล้วแต่ซึ่งมันมีสีเขียวเข้มมากๆก็จะมีส่วนที่จะทำให้เราได้แมกนีเซียมเข้าไปนะครับ แต่ก็ไม่ใช่เฉพาะคลอโรฟิลล์เท่านั้นที่มีแมกนีเซียม สิ่งอื่นๆที่มันยังมีแมกนีเซียมยกตัวอย่างเช่น ถั่วชนิดต่างๆ ในปลา ในเนื้อบางอย่างก็มีนะครับแล้วก็เนื้อไก่ก็มี แต่ว่าถ้าปลาพวกผักใบเขียวมากๆกับถั่วจะเยอะที่สุดนะครับ
      ทีนี้มันก็มีข้อหนึ่งที่เอาเราจะต้องรู้นะครับนั่นก็คือในพืชการที่คลอโรฟิลล์มันจะปล่อยแมกนีเซียมออกมาให้เราใช้ได้นั้นมันจะไม่ค่อยได้เต็มที่จนกว่าเราจะไปย่อยสารชนิดหนึ่งออกจากพืชนะครับสารชนิดนั้นก็คือสารที่เรียกว่า ไฟเตต (Phytate) มันจะจับเอาตัวคลอโรฟิลล์กับแมกนีเซียมไว้ทำให้ร่างกายของเราดูดซึมไปได้ยากขึ้น แต่เรามีวิธีในการย่อยสลายสาร Phytate ออกไปก็คือการเอาผักพวกนี้ไปให้ความร้อน ไปต้มนะครับ มันจะมีเป็นเอนไซม์เป็นตัวนึงไปย่อยสาร Phytate ทิ้งนะครับ ดังนั้นถ้าเราเอาผักใบเขียวที่เขียวปี๋ๆเขียวมากๆไปต้มนะครับเราจะได้ปริมาณแมกนีเซียมที่สูงกว่าการให้ผักอย่างนั้นเข้าไปสดๆนะครับ นี่ก็เป็นเป็นทริคเล็กๆน้อยๆที่จะให้ทุกคนทราบไว้นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Місяць тому +18

      3️⃣
      ทีนี้เราพอรู้แล้วว่าแมกนีเซียมันมาจากไหนได้บ้างนะครับ ต่อไปที่เราจะต้องรู้ก็คือแล้วเราจะมีวิธีในการรู้ได้อย่างไรว่าเราขาดแม็กนีเซียมแล้ว?
      ➡️ต้องบอกอย่างนี้ก่อน แมกนีเซียมในร่างกายของเรา 60% อยู่ที่กระดูกนะครับ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์อยู่ในกล้ามเนื้อและที่เหลือก็อยู่ตามส่วนประกอบต่างๆของร่างกาย แล้วเวลาที่คุณไปตรวจระดับแมกนีเซียมในร่างกายเขาตรวจเลือด ตรวจเลือดตรวจน้ำเลือดที่เราเรียกว่า Plasma นะครับก็จะเป็นการแสดงถึงระดับแมกนีเซียมที่อยู่ใน Plasma เท่านั้น แต่มันไม่สามารถบอกได้เลยว่าระดับแมกนีเซียมโดยรวมของร่างกายของเรามีเท่าไหร่ ดังนั้นต่อให้ท่านตรวจในระดับเลือดออกมาเป็นปกติมันก็ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ขาดแมกนีเซียมครับ ฟังตรงนี้ดีๆนะครับ ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ขาดแมกนีเซียมต่อให้ท่านตรวจเลือดออกมาแล้วมันปกติเพราะว่าร่างกายเรานั้นมันจะมีกลไกบางอย่างในการดึงเอาแมกนีเซียมออกมาจากกระดูกเพื่อให้ในเลือดมีแมกนีเซียมคงที่อยู่ตลอดเวลานะครับ ดังนั้นกระดูกเราอาจจะขาดแมกนีเซียมไปแล้วแต่ในเลือดของเรามันยังมีแมกนีเซียมอยู่ในนั้นนะครับ ทำให้เราตรวจออกมาแล้วมันดูเหมือนปกติแต่จริงๆไม่ปกติ มันก็มีการตรวจอีกวิธีหนึ่งซึ่งอาจจะช่วยพอบอกได้ว่าเราขาดแมกนีเซียมหรือยังคือการตรวจระดับแมกนีเซียมในเม็ดเลือดแดงซึ่งผมไม่แน่ใจว่าที่ประเทศไทยทำได้ไหมนะครับ แต่ที่เมืองนอกมีนะครับ มันก็อาจจะมีความชัดเจนมากกว่าการตรวจในระดับน้ำเลือดนะครับนี่ตรวจในเม็ดเลือดอาจจะมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงนิดนึงเพียงแต่ว่ามันก็ยังบอกไม่ได้อยู่ดีว่าทั้งร่างกายของเรามันมีแมกนีเซียมเพียงพอหรือเปล่า ดีที่สุดในการประเมินแมกนีเซียม คือ การดูอาหารที่เรากินเข้าไปว่ามีแมกนีเซียมสูงเพียงพอหรือไม่นะครับ ตรงนี้ต้องไปดูชื่ออาหารต่างๆแล้วก็เทียบตารางแมกนีเซียมเอานะครับ ซึ่งโดยทั่วไปคนก็จะใช้ในงานวิจัยเพื่อดูว่าอาหารของเรามีแมกนีเซียมเพียงพอต่อวันแล้วหรือยังนะครับ ดังนั้นการตรวจเลือดไม่สามารถบอกท่านได้ และการขาดแมกนีเซียมนี้บางคนก็ถามมีอาการอะไร?
      ➡️ต้องบอกอย่างนี้ครับ ขาดแมกนีเซียมส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้นมันจะมีอาการก็ต่อเมื่อคุณขาดเยอะมากแล้วจนกระทั่งในเลือดแมกนีเซียมต่ำแล้ว เช่น บางคนอาจจะมีอาการกล้ามเนื้อมันเกร็งนะครับมีการความดันโลหิตสูง คลื่นไส้อาเจียนอย่างนี้เป็นต้น บางคนมีการเต้นผิดปกติของหัวใจก็สามารถที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ได้ หรืออาจจะมีปัญหาทางด้านของอารมณ์ทางด้านของสมองต่างๆตามมาด้วยซึ่งวันนี้เดี๋ยวเราจะได้ลงละเอียดว่ามันมีความสำคัญอย่างไรบ้างในแต่ละอวัยวะต่างๆกันนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Місяць тому +15

      4️⃣
      ทีนี้พอเราเข้าใจแล้วว่าแมกนีเซียมต่อให้เราไปตรวจเลือดแล้วมันปกติมันไม่ได้หมายความว่าเราไม่ขาดแมกนีเซียมนะครับ ตอนนี้เราก็เข้าใจต่อไปว่าแล้วแม็กนี้มันมาจากแหล่งไหนเมื่อกี้เราบอกไปแล้วนะครับพวกผักใบเขียวมากๆ ถั่วและปลาเป็นหลักเลยนะครับ อาจจะมีพวกเนื้อบ้างหรือว่าเนื้อไก่บ้างนิดๆหน่อยแต่ว่าก็ไม่ได้เยอะขนาดเท่ากับ 3 แหล่งแรกนะครับ
      ใครบ้างที่มีโอกาสจะขาดแมกนีเซียมมากกว่าคนอื่นๆ อันนี้ฟังให้เข้าใจแล้วก็สำคัญอย่างหนึ่งนะครับ อะไรก็ตามที่จะทำให้เราปัสสาวะออกมามากๆจะทำให้เราขาดแมกนีเซียมได้ เช่น
      🔷คนที่กินแอลกอฮอล์เป็นประจำกินเหล้ากินเบียร์ติดแอลกอฮอล์เนี่ยพวกนี้จะเสียแมกนีเซียมได้มากกว่าคนทั่วไปนะครับ
      🔷คนที่รับประทานยาขับปัสสาวะก็เสียแมกนีเซียมมากกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าท่านจะรับประทานเพราะว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจเป็นโรคน้ำท่วมปอดเป็นโรคไตเป็นโรคอะไรก็แล้วแต่ถ้าท่านรับประทานยาขับปัสสาวะจะทำให้ท่านขาดแมกนีเซียมมากกว่าคนทั่วไป
      🔷คนที่รับประทานยาลดกรดชนิดที่เรียกว่า Proton Pump Inhibitors (PPIs) นะครับเป็นระยะเวลานานๆพวกนี้ก็จะขาดแมกนีเซียมเช่นกัน ยกตัวอย่างของยา Proton Pump Inhibitors (PPIs) เช่น Omeprazole Lansoprazole Rabeprazole นะครับอะไรก็แล้วแต่ที่ลงท้ายด้วย Prazole มันก็จะเป็นยาในกลุ่มลดกรดก็จะทำให้ท่านมีโอกาสขาดแมกนีเซียมได้นะครับ
      🔷แล้วก็ไม่ใช่แค่นั้นนะครับคนที่มีโรคเบาหวานเพราะว่าเบาหวานโดยเฉพาะถ้าท่านคุมมันไม่ได้ท่านก็จะมีการปัสสาวะบ่อย แมกนีเซียมก็จะออกมาด้วยนะครับ
      🔷คนที่อายุมากขึ้นการดูดซึมแมกนีเซียมในร่างกายก็จะลดลงแล้วก็การขับออกทางปัสสาวะก็จะเยอะขึ้นนะครับ
      🔷คนที่มีภาวะเครียด ตรงนี้หลายคนไม่น่าจะทราบจริงๆมันมีการทดลองนะครับถ้าเรามีภาวะเครียดเขามีการทดลองก่อนสอบกับหลังสอบ นักเรียนก่อนสอบจะมีการปัสสาวะเอาแมกนีเซียมออกไปจากร่างกายค่อนข้างเยอะแต่พอหลังสอบเสร็จปุ๊บระดับแมกนีเซียมที่ขับออกทางปัสสาวะมันลดลงนะครับ ความเครียด การนอนไม่หลับก็จะมีส่วนทำให้แมกนีเซียมของเราต่ำลง แต่อย่างที่บอกท่านไปตรวจระดับแมกนีเซียมในร่างกายจะออกมาปกติครับ เพราะว่าร่างกายมันไม่ยอมให้ต่ำในเลือดมันจะต้องดึงจากกระดูกออกมาอยู่ในนั้นให้ได้นะครับ ดังนั้นที่ผมบอกว่ามีภาวะแมกนีเซียมต่ำพอไปตรวจไม่เห็นต่ำหมอก็ไม่ว่าอะไร! นี่แหละครับคือเหตุผลที่การไปตรวจมันบอกอะไรไม่ได้ว่าแมกนีเซียมมันต่ำไปแล้วนะครับโดยรวมของร่างกาย ดังนั้นพวกนี้นี่แหละที่จะทำให้มีแมกนีเซียมต่ำได้
      🔷คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็จะมีการเสียแมกนีเซียมออกไปจากร่างกายได้มากกว่าคนปกติโดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายเป็นเวลานานๆนะครับ เช่น เราเป็นพวกวิ่งเป็นชั่วโมงอย่างนี้ยิ่งเสียแมกนีเซียมออกไปจากร่างกายได้มากกว่าคนทั่วไปนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Місяць тому +15

      5️⃣
      ตรงนี้อยากจะให้ทราบไว้ด้วยว่าคนไหนที่เสี่ยงต่อการขาด Magnesium เรื่องยาเมื่อกี้เราบอกไปแล้วนะครับ แต่มันก็จะมียาบางกลุ่มอีกเหมือนกัน เช่น ยากดภูมิต้านทานชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า Calcineurin Inhibitors (CNIs) Tacrolimus Ciclosporin พวกนี้จะทำให้เรามีการขับแมกนีเซียมออกจากร่างกาย ยาบางตัวก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแมกนีเซียมในร่างกายได้เช่นกันตรงนั้นอาจจะต้องไปเช็คกับคุณหมอนิดนึงว่ายาที่เรากินมันมีผลต่อหรือเปล่านะครับ แต่เมื่อกี้ผมก็บอกไปแล้วว่ายาขับปัสสาวะโดยรวมนะครับทำให้มีปัญหาเรื่องการขาดแมกนีเซียม ยา Proton Pump Inhibitors (PPIs) ภาวะที่ทำให้เราปัสสาวะบ่อย เช่น กินแอลกอฮอล์บ่อยๆหรือเราเป็นเบาหวาน เรามีโรคต่างๆนานาเยอะแยะไปหมดพวกนี้ก็จะมีส่วนนะครับ
      ทีนี้พอเรารู้แล้วว่าเราเป็นคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมเราอาจจะกินไม่พอแล้วเราก็อาจจะมีปัจจัยที่ทำให้เราขับแมกนีเซียมออกมาจากร่างกายมากกว่าปกติ แล้วพวกนี้มันไม่ดียังไง ตอนนี้แหละที่ต้องรู้ผมจะเล่าตั้งแต่หัวจดเท้าเลยนะครับ
      🌀สมอง มีงานวิจัยออกมานะครับว่าคนที่ได้ระดับแมกนีเซียมเพียงพอสมองมันจะไม่ค่อยฝ่อ แล้วแมกนีเซียมไปเกี่ยวอะไรกับสมองฝ่อ?
      ➡️แมกนีเซียมมีความสำคัญกับเอนไซม์ตัวหนึ่งที่จะใช้ในการสร้างสมดุลของสารตัวหนึ่งชื่อว่า กลูตาเมต (Glutamate) กับสาร กลูตามีน (Glutamine) Glutamate นี้ถ้ามันมีเยอะเกินไปมันจะเกิดภาวะหนึ่งซึ่งเรียกว่า Excitatory Brain Inflammation นะครับคือสารกลูตาเมตถ้ามีมากจนเกินไปสมองจะได้รับการกระตุ้นมากจนเกินไปแล้วอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อม ดังนั้นการควบคุมระหว่างสารกลูตาเมตให้มันเปลี่ยนไปเป็นสารกลูตามีนมันจำเป็นจะต้องใช้แมกนีเซียม ถ้ามีไม่เพียงพอก็อาจจะมีภาวะการอักเสบในสมองเยอะขึ้นตรงนี้ก็อาจจะเป็นความเกี่ยวข้องกับการที่สมองมันมีความฝ่อลงก็ได้นะครับ แต่อย่างไรก็ตามต้องบอกไว้ก่อนว่างานวิจัยที่ผมจะพูดมาทั้งหมดวันนี้บังเอิญส่วนใหญ่แล้วมันเป็นงานวิจัยชนิดที่เราเรียกว่า Observational Study ไม่สามารถบอกได้นะครับว่าแมกนีเซียมมีความเกี่ยวข้องกับภาวะนั้นๆแต่มันตั้งเป็นข้อสังเกตเท่านั้นว่าเราเจอภาวะนี้ได้ มันไม่ได้บอกว่าเป็นสาเหตุซึ่งกันและกันแต่ผมบอกว่ามันอาจจะมีความเกี่ยวข้องกันนะครับเราฟังเท่านี้ก็แล้วกันนะครับ ทั้งหมดของวันที่จะพูดนะครับ แต่เดี๋ยวก็จะพูดเป็นอันๆไป เรื่องของสมองก่อนนะครับเรื่องของสมองฝ่อ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Місяць тому +165

    🎈ปริมาณแมกนีเซียมจากผักใบเขียว เช่น
    1. ผักปวยเล้ง ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 79 มิลลิกรัม
    2. ผักบุ้ง (ใบ) ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 71 มิลลิกรัม
    3. ผักคะน้า ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 32.7 มิลลิกรัม
    🎈ปริมาณแมกนีเซียมจากปลา เช่น
    1. ปลาแซลมอน ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 95 มิลลิกรัม
    2. ปลาอินทรี ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 33 มิลลิกรัม
    3. ปลาทูน่า ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 22.7 มิลลิกรัม
    🎈ปริมาณแมกนีเซียมจากถั่วและเมล็ดพืช เช่น
    1. เมล็ดฟักทอง ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 592 มิลลิกรัม
    2. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 292 มิลลิกรัม
    3. อัลมอนด์ ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 258 มิลลิกรัม
    4. เมล็ดแฟลกซ์ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มีแมกนีเซียมประมาณ 40 มิลลิกรัม

    • @nannapatpongbhaesaj3760
      @nannapatpongbhaesaj3760 Місяць тому +11

      ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Місяць тому +3

      @@nannapatpongbhaesaj3760 ยินดีค่ะ

    • @AvecBella
      @AvecBella Місяць тому +4

      ❤❤❤…thank youuu 😊

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Місяць тому +2

      @@AvecBella My pleasure ka.

    • @Kamonpa33
      @Kamonpa33 Місяць тому +4

      ​@@FragranzaTrippa
      ขอบคุณค่ะพี่ทรืป เยี่ยมมากค่ะ😊

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Місяць тому +126

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    หัวข้อวันนี้ เรื่อง... เจาะลึก Magnesium ทำไมควรกินเสริม
    ◾แมกนีเซียม จำเป็นมากๆในการทำงานของเอนไซม์ต่างๆถึงประมาณ 300 เอนไซม์ (จากทั้งหมดประมาณ 75,000 เอนไซม์) เช่น เอนไซม์สร้างพลีงงานให้กับร่างกาย เอนไซม์ที่เสริมการทำงานของวิตามินดี เอนไซม์ในการซ่อมแซม DNA (ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญ ถ้าทำงานไม่ดี จะทำให้เราแก่เร็ว และเสี่ยงกับมะเร็ง) แล้วเรารับแมกนีเซียมต่อวันเพียงพอหรือไม่ เคยมีงานวิจัยในอเมริกาพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรของอเมริกาได้รับแมกนีเซียมไม่เพียงพอ
    ◾แมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน ผู้หญิงต้องการวันละ 320 มิลลิกรัม หญิงตั้งครรภ์ 360 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ชายทั่วไปต้องการ 420 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ชายที่ออกกำลังกายเยอะต้องได้เพิ่มจากเดิมอีก 10%
    ◾แมกนีเซียมได้จากอาหารอะไรบ้าง ผักใบเขียวเข้ม ถั่วต่างๆ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ (มีไม่มาก) ผักใบเขียวที่จะได้ปริมาณแมกนีเซียมมาก ต้องผ่านความร้อนก่อน เช่น ลวก หรือ ต้ม
    ◾จะทราบได้อย่างไรว่าเรามีระดับแมกนีเซียมเพียงพอหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจเลือด โดยเฉพาะในเม็ดเลือดแดง แต่ก็ยังบอกไม่ได้ชัดเจนว่าเรามีแมกนีเซียมเพียงพอหรือไม่ ที่ดีที่สุด คือ ดูจากอาหารที่เราทานเข้าไปว่ามีแมกนีเซียมหรือไม่ และการขาดแมกนีเซียมก็จะไม่ค่อยแสดงอาการ ยกเว้นขาดแมกนีเซียมมากๆ จนมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง ความดันสูง คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ มีปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาทางสมอง
    ◾คนที่จะมีโอกาสขาดแมกนีเซียมมากกว่าคนทั่วไป เช่น คนดื่มเหล้าเบียร์เป็นประจำ (ปัสสาวะออกมามากๆ) /คนที่ทานยาขับปัสสาวะ /คนที่ทานยาลดกรดกลุ่ม Proton-pump inhibitor มานานๆ เช่น ยา omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, dexlansoprazole, pantoprazole และ rabeprazole / คนที่เป็นเบาหวานและคุมไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย /ผู้สูงอายุ (การดูดซึมแมกนีเซียมลดลง) /คนที่ภาวะเครียด / คนที่นอนไม่หลับ /คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำและออกนานๆ /คนที่ทานยากดภูมิต้านทานกลุ่ม Calcineurin-inhibitor เช่น ยา Tracrolimus ยา Cyclosporine
    ◾แมกนีเซียมถ้าได้รับเพียงพอดีอย่างไรกับอวัยวะต่างๆ
    1. ช่วยให้สมองไม่ฝ่อ
    2. ช่วยลด และป้องกันอาการไมเกรน
    3. ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดตะคริว
    4. ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง
    5. ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือด ช่วยลดความดันโลหิต
    6. ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม
    7. ช่วยซ่อมแซม DNA ในร่างกาย ช่วยชะลอวัย ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
    ◾การทานแมกนีเซียมเสริมจึงมีความสำคัญ
    1. แนะนำที่ 350 มิลลกรัมต่อวัน
    2. แมกนีเซียมที่ดูดซึมง่าย ได้แก่ Magnesium Glycinate, Magnesium taurate, Magnesium malate, Magnesium citrate, Magnesium lactate,
    3. กลุ่มที่ดูดซึมได้ไม่ค่อยดี ได้แก่ Magnesium Sulfate, Magnesium chloride, Magnesium oxide
    4. กลุ่มที่ดูดซึมเข้าสู่สมองช่วยเรื่องความจำ ช่วยเรื่องการนอนหลับ ได้แก่ Magnesium L-Threonate
    ◾ข้อควรระวัง
    1. ผู้ที่มีความไวต่อแมกนีเซียมอาจจะทำให้ท้องเสียได้
    2. ผู้ที่เป็นโรคไต หากได้แมกนีเซียมเกินจากการกินเสริมเข้าไป อาจจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันตก หัวใจอาจหยุดเต้น ดังนั้น ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

    • @wipaweevickypaulsson9709
      @wipaweevickypaulsson9709 Місяць тому +8

      ขอบคุณค่ะสำหรับการสรุปดีๆ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Місяць тому +6

      @@wipaweevickypaulsson9709 ยินดีค่ะ แต่ยังมีอีกท่านหนึ่งจะถอดคำพูดของอาจารย์ทั้งคลิปเลยค่ะ ละเอียดมาก อาจารย์จะปักหมุดคอมเม้นท์นี้ไว้ด้านบนค่ะ

    • @rattananihao
      @rattananihao Місяць тому +3

      ขอบคุณมากค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Місяць тому +2

      @@rattananihao ยินดีค่ะ

    • @nutteesuwanjinda581
      @nutteesuwanjinda581 Місяць тому +3

      กินช่วงเวลาไหน ถึงได้ประสิทธิภาพ สูงสุดครับ

  • @user-ej3ug9os4j
    @user-ej3ug9os4j Місяць тому +13

    ขอบคุณความรู้เหล่านี้ ที่ไม่เคยทราบเลย แพทย์ประจำตัวไม่เคยบอก ทั้งอายุรกรรมและศัลยกรรม ทำให้ญาติและผู้ป่วยเสียโอกาสที่จะรักษาอาการป่วยแบบองค์รวมในคราวเดียวกัน คุณแม่ ( อายุ 82 ปี) เป็นกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงและควบคุมหูรูดไม่ได้ ( สาเหตุ จากการติดเชื้อซ้ำๆ บ่อยมากช่วงอายุ 50 -60 ปี) ต้องใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะและสวมผ้าอ้อมตลอดเวลามานานมากกว่า 8 ปี ( เป็นเบาหวานนาน 40 ปี ความดันโลหิตสูง 40 ปีแต่ไม่ติดเตียง ระยะหลังจะมีอาการเป็นตะคริว บ่นไม่มีแรง ไม่ยอมเดินออกกำลัง และกลัวหกล้ม และงดกิจกรรมชี่กงที่เคยทำได้เมื่อ 10 ปีก่อน) มีภาวะกระดูกบาง นอนหลับไม่เพียงพอ เพราะตื่นกลางดึกเพื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมทุก 3 ช.ม. คุณภาพการนอนจึงบกพร่องทั้งคุณแม่และคุณลูก ตรวจสุขภาพประจำปี ผลแล็ป ดีทุกประการ มีเพียง ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ทุกๆ 3-4 เดือน
    คงต้องปรึกษาหมอเพื่อทานแมกนีเซี่ยมเสริม ขอบคุณ คุณหมอแทนมากค่ะ

  • @y_not_K
    @y_not_K Місяць тому +39

    ทำงานเป็นแอร์ค่ะ ใช้ร่างกายหนักมาก ฟังคุณหมอแทนทุกครั้ง ฮึดค่ะ ลุกขึ้นมาดูแลตัวเอง (บ้าง😬) และปรับใช้กับคุณแม่ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ คุณหมอสู้ ๆ ไม่เลิกนำเสนอสิ่งดี ๆ นะคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Місяць тому +12

      ลุยเลยครับผม

  • @Every-iw8eo
    @Every-iw8eo 13 днів тому +5

    ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ เมื่อไม่นานมานี้ไปร้านขายยามา เภสัชกรประจำร้านแนะนำให้ทานแมกนีเซียมเพื่อช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ยังเป็นความดัน กระดูกสันหลังเสื่อมด้วย ไม่นึกเลยว่าแมกนีเซียมมีหลายแบบและมีสรรพคุณแบบนี้ ฟังคุณหมอแล้วก็หันไปหยิบขวดแมกนีเซียมมาดูปรากฎว่าเป็นแบบออกไซด์ 200 มิลลิกรัม หมดขวดนี้แล้วต้องเปลี่ยนยี่ห้อ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa33 Місяць тому +28

    สวัสดีค่ะคุณหมอ
    วันนี้หัวข้อ เรื่อง เจาะลึก Magnesium ทำไมควรกินเสริม
    แม็กนีเซียมเป็นสารอาหารที่เรากินเสริมเข้าไป จะได้ประโยชน์มากกว่าโทษ มีความสำคัญกับร่างกาย
    60% อยู่ในกระดูก
    20% อยู่ในกล้ามเนื้อ
    ที่เหลืออยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งน้ำเลือดด้วย
    จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายคือ
    1.สร้างพลังงานให้ร่างกาย
    2.เปลี่ยนแปลงวิตามินดีให้ทำงานได้ดีมากขึ้นในร่างกายของเรา
    3. ซ่อมแซมเอ็นเอ ถ้าทำงานไม่ได้ทำให้เราแก่ หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งได้
    ความต้องการแม็กนีเซี่ยมต่อวัน
    ผู้หญิง 320 มิลลิกรัม
    ถ้าตั้งครรภ์ 360 มิลลิกรัม
    ผู้ชาย 420 มิลลิกรัม
    ถ้าในคนออกกำลังกายเยอะ เสียเหงื่อเยอะ
    ผู้หญิง 350 มิลลิกรัม
    ผู้ชาย 460 มิลลิกรัม
    แม็กนีเซียม มาจากไหนบ้าง
    เป็นส่วนประกอบหลักของคลอโรฟิล คือ ส่วนที่ทำให้พืชมีสีเขียว หรือในุถั่วชนิดต่าง ๆ ปลา เนื้อบางอย่าง ไก่ แต่ปลาและผักใบเขียวมาก ๆ จะมีเยอะที่สุด
    ข้อควรรู้
    ควรเอาผักไปต้มก่อน จะได้ปริมาณแม็กนีเซียมที่สูงกว่าผักสด
    วิธีรู้ว่าขาดเวลาตรวจ
    1. ตรวจเลือดปกติ เลือดปกติ ไม่ได้หมายความว่าไม่ขาด ร่างกายมีกลไกดึงแม็กนีเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อให้ในเลือดมีแม็กนีเซียมคงที่ตลอดเวลา
    2. ตรวจระดับแม็กนีเซียมในเม็ดเลือดแดง ยังบอกไม่ได้
    3. ดีที่สุดในการประเมิน คือ ดูอาหารที่เราทานเข้าไปแล้วเทียบตารางเอา
    การขาดแม็กนีเซียมไม่มีอาการ จนกว่าแม็กนีเซียมในเลือดต่ำเยอะมาก
    อาการ
    * กล้ามเนื้อเกร็ง
    * ความดันสูง คลื่นใส้อาเจียน
    * การเต้นผิดปกติของหัวใจ
    * อารมณ์ สมอง ตามมาด้วย
    ใครบ้างมีโอกาสขาดแม็กนีเซียมมากกว่าคนอื่น
    1. ดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
    2. ทานยาขับปัสสาวะ
    3. ทานยาลดกรดเป็นระยะเวลานาน ยาที่ลงท้ายด้วยโซล
    4. เบาหวาน ปัสสาวะบ่อยถ้าคุมไม่ได้
    5. อายุมากขึ้น การดูดซึมลดลง ขับปัสสาวะเยอะขึ้น
    6. ภาวะเครียด ทำให้ปัสสาวะออกจากร่างกายเยอะ
    7. นอนไม่หลับ
    8. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเป็นเวลานาน ๆ เป็นชั่วโมง
    9. ทานยากดภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแม็กนีเซียมในร่างกาย
    ความเสี่ยง ถ้าเรามีแม็กนีเซียมไม่เพียงพอ
    1. สมอง งายวิจัยถ้าแม็กนีเซียมเพียงพอ สมองไม่ฝ่อ
    2. ไมแกรน ป้องกันไมแกรนร่วมกับยาตัวอื่น
    3. กล้ามเนื้อหัวใจ มีความสำคัญในการสร้างเอ็นไซด์ในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย ถ้าสร้างพลังงานไม่ดี เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้
    4. กระดูก 60% ของแม็กนีเซียมอยู่ในกระดูก แม็กนีเซียมเปลี่ยนแปลงวิตามินดีช่วยการดูดซับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกแข็งแรง ถ้าวิตามินดีขาดแม็กนีเซียม ทำให้เกิดกระดูกพรุน
    5. กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด มีการหดเกร็งเล็กลง
    6. กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลม
    7. การซ่อมแซมดีเอ็นเอของร่างกาย ถ้าขาดแม๋กนีเซียม ทำให้แก่ตัวง่ายและมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
    การกินแม็กนีเซียมเสริม มีความสำคัญ
    * ชนิดกินเสริม 350 มิลลิกรัมต่อวัน มีชนิดดูดซึมได้ดี และดูดซึมไม่ค่อยดี
    ข้อควรระวัง
    1. คนที่มีความไวต่อแม็กนีเซียม อาจทำให้ท้องเสียง่าย
    2. คนที่เป็นโรคไตระยะหลัง ๆ ถ้ากินเกิน
    * กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    * ความดันตก
    * หัวใจอาจจะหยุดเต้น หายใจไม่ได้
    ดังนั้น ยกเว้นคนที่เป็นโรคไตระยะหลัง ๆ ต้องปรึกษาคุณหมอที่รักษาก่อนเสมอ
    ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ

    • @sukrittarutbawornkul7802
      @sukrittarutbawornkul7802 Місяць тому

      ขอบคุณค่ะ ที่สรุปให้อีกครั้ง

    • @Kamonpa33
      @Kamonpa33 Місяць тому +2

      @@sukrittarutbawornkul7802
      ยินดีค่ะ

  • @user-kz8td5du7h
    @user-kz8td5du7h Місяць тому

    🙏สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ
    ขอบพระคุณ ทุกคลิปมีประโยชน์มากค่ะ

  • @khunyinge
    @khunyinge Місяць тому +1

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเลยค่ะ

  • @user-iz1mt3ny9m
    @user-iz1mt3ny9m Місяць тому +2

    ขอบคุณอาจารย์แทนค่ะ ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Місяць тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ😊😍😍

  • @user-is4ns3kd7s
    @user-is4ns3kd7s Місяць тому +3

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ สำหรับความรู้มากมาย

  • @sumleedechma4618
    @sumleedechma4618 Місяць тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ ค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะที่ นำ ความรู้ ดีๆ มา บอกเล่า แนะนำค่ะ ขอบคุณจริงๆ ค่ะ

  • @user-ix5hk5dd4q
    @user-ix5hk5dd4q Місяць тому +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอให้ความรู้ดีค่ะ🙏

  • @j.j.2853
    @j.j.2853 Місяць тому +6

    ในที่สุดก็มาซะทีๆๆๆๆๆ รอคลิปนี้มานานแล้วครับ

  • @morpimphanthai
    @morpimphanthai 10 днів тому

    ขอบคุณมากมายค่ะได้ประโยชน์

  • @praphachansumran1457
    @praphachansumran1457 Місяць тому +1

    ขอบคุณ คุณหมอมากๆค่ะ
    ให้ความรู้เสมอ
    ขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรง

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 Місяць тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคณมากค่ะ👍🌹🌹

  • @user-ls2hn6nf4p
    @user-ls2hn6nf4p Місяць тому +1

    ขอบพระคุณคุณหมอมากๆๆๆๆๆๆค่ะ สำหรับความรู่ที่ได้รับค่ะ

  • @loukpadvanderwoodsen8997
    @loukpadvanderwoodsen8997 Місяць тому +1

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ทานตลอดเวลาเป็นไมเกรนค่ะ

  • @lakkyky5792
    @lakkyky5792 Місяць тому +1

    Thank you ค่ะ อาจารย์หมอ for very interesting clip I am using magnesium from Costco ค่ะ

  • @sidapornpatmayothin9149
    @sidapornpatmayothin9149 Місяць тому +2

    ขอบคุณ ข้อมูลดีดี มีประโยชน์ต่อผู้รับฟังมากค่ะ 🙏🏼

  • @nvttatrieampanich1592
    @nvttatrieampanich1592 Місяць тому +1

    ขอบคุณอาจารย์หมอแทนครับ 🙏

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov Місяць тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    #Magnesium ที่คุณหมออธิบายเป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @user-kk9cb2ur8z
    @user-kk9cb2ur8z Місяць тому +2

    เปิดฟังคุณหมอแทนต่อวันนี้😊😊😊

  • @user-dq1oh3tf5j
    @user-dq1oh3tf5j 18 годин тому +1

    กราบขอบพระคุณคุณหมอแทนมากค่ะ.ได้นำความรู้และวิจารณญาณของคุณหมอไปใช้ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองได้คะ❤❤❤

  • @thawanratowen9150
    @thawanratowen9150 Місяць тому +2

    ขอขอบคุณ คุณหมอมากๆนะคะ ขอให้ได้บุญเยอะๆนะคะ สาธุค่า 🙏🙏🙏

  • @chanidarichards7395
    @chanidarichards7395 Місяць тому +1

    ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากนะคะ

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 16 днів тому +1

    สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ

  • @user-qr2wt4wx1w
    @user-qr2wt4wx1w Місяць тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ พอจะรู้สาเหตุว่า ทำไมเราจึงเกิดอาการแบบที่คุณหมอพูดเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • @Happy-yh9lz
    @Happy-yh9lz Місяць тому +1

    ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆค่ะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Місяць тому +14

    ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน
    ยอดผู้ติดตาม 5.95 แสนคนแล้วค่ะ
    สถานีต่อไป 5.96 แสนคนค่ะ
    ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ
    ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ
    เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย
    ตรงจริง ชัดเจน ครอบคลุม ทุกประเด็น
    ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ
    🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕

  • @user-hn7ej9ly1e
    @user-hn7ej9ly1e Місяць тому +1

    เป็นการนำเสนอที่กระจ่างชัดเจน เป็นประโยชน์ค่ะ ขอบพระคุณ คุณหมอค่ะ

  • @Annie-tp1oy
    @Annie-tp1oy Місяць тому +1

    มีประโยชน์มาก ขอบคุณมากนะคะคุณหมอที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ตลอดมา

  • @vijittrajittrarom5131
    @vijittrajittrarom5131 Місяць тому +1

    ความรู้เต็มพิกัด จริงๆ ค่ะสำหรับแม็กนี่เชี่ยม นั่งโนต๊เลยค่ะ จะได้เอาไปแชร์กับคนอื่นที่เขาไม่ได้ฟังภาษาไทยค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์🙏❤️❤️❤️

  • @puntipdworatschek6706
    @puntipdworatschek6706 Місяць тому +2

    ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลดีๆ กลับไปดูตัวที่กิน และอาจจะต้องกินเพิ่ม เพราะออกกำลังกายเริ่มหนักขึ้น+คุมไมเกรนไม่ให้กำเริบด้วยค่ะ

  • @user-oy1my8ue5s
    @user-oy1my8ue5s Місяць тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรง มีความสุขในชีวิตที่คนดีๆคนหนึ่งพึงมีนะคะ❤

  • @urbantk6442
    @urbantk6442 4 дні тому

    เป็นประโยชน์ มากค่ะ ฟังแล้ว ประเมินตนเอง อยู่ในภาวะนี้ เลยค่ะขอบคุณมากๆนะคะ❤❤❤❤❤❤❤

  • @chintanaplangoen
    @chintanaplangoen Місяць тому +2

    ฟังหลายรอบค่ะ เพราะมีอาการเป็นตะคริวบ๋อย จะได้เอาที่คุณหมอสอนไปใช้ประโยชน์ กราบขอบพระมากค่ะคุณหมอ

  • @paraneekhempattanachai8776
    @paraneekhempattanachai8776 Місяць тому +2

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ได้ความรู้เรื่องแร่ธาตุที่คนทั่วไปไม่ได้ให้ความใส่ใจ

  • @moddy7680
    @moddy7680 Місяць тому +2

    กราบขอบพระคุณพี่หมอแทนมากๆๆคะ เทปนี้ ตรงกับอาการของหนูคะ /หนูขาดเม็กนีเซี่ยมคะ และ ตอนนี้ หนูก็อยุ่ระหว่าง การตรวจ และ เกรงว่าจะเป็นไทยรอยด์ จริงๆๆนะคะ หนูนอนฟัง ทุกคืนคะ มีประโยชน์ ทุกเทปคะ ขอบคุณจากใจคะ

  • @AuditPro-tw2yi
    @AuditPro-tw2yi Місяць тому +2

    ขอบคุณค่ะ เพิ่งจะทราบว่าแแมกนีเซียมสำคัญขนาดนี้ ไม่เคยมีใครมาบอกเลยค่ะ ขอบคุณอจ.หมอค่ะ ❤❤

  • @user-pu4uj8od9s
    @user-pu4uj8od9s Місяць тому +3

    เย่ คลิปที่รอคอยมาแล้ว เพิ่งมีโอกาสได้ตั้งใจฟังรายละเอียด เจาะลึกจริงๆค่ะ ชัดเจน ข้อมูลแน่นจริงค่ะ แถมมี Reference links เจ๋งๆทิ้งไว้ให้ด้วย
    ขอบคุณพี่หมอแทนนะคะ ที่สละเวลามาให้ข้อมูล เป็นคลิปที่มีประโยชน์มากค่ะ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ไม่เข้าใจว่าแมกนีเซียมจำเป็นขนาดไหน ตอนนี้มีหลักฐานข้อมูลส่งให้คนที่บ้านและเพื่อนได้ฟังแล้วค่ะ 🎉🎉🎉😊❤❤❤

  • @krajeabjuice
    @krajeabjuice Місяць тому +2

    กำลังมีความสนใจที่จะกินแมกนีเซียมพอดีเลยค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @user-qw1fw2iz4u
    @user-qw1fw2iz4u Місяць тому +5

    ทานแม็กนีเซัยม ของ แบล็กมอร์ เสริมอยู่พอดีเลย คุณหมอแนะนำมาค่ะ ฟังแล้วสบายใจขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณคุณหมอ มากๆ ค่ะ

  • @hohoho638
    @hohoho638 Місяць тому +3

    เลิฟเลย 🙏 ชอบรายละเอียดที่คุณหมอให้ สำคัญมากๆๆๆ ( เช่น ผักสุกได้ magnesium มากขึ้น ...... คลิป กิมจิ หมักนานเกิน2สัปดาห์ มีสารฮีสตามีนมากขึ้น คนที่มีอาการแพ้ จะได้ระวัง) 💕💕💕💕💕

  • @bestasura2777
    @bestasura2777 Місяць тому +1

    ขอบคุณครับ อยากให้คุณหมอให้ความรู้เรื่องลิเธียมด้วย รอฟังอยู่นะครับ

  • @user-dq1oh3tf5j
    @user-dq1oh3tf5j Місяць тому +1

    ตราบขอบพระคุณค่ะ

  • @pranthiprittimann8996
    @pranthiprittimann8996 Місяць тому +1

    ขอบพระคุณคุณหมอค่ะ🙏

  • @lillyp5442
    @lillyp5442 Місяць тому +1

    กินแมกนีเซียมออแกนิกเป็นประจำ 375 mg พอมาเจอคลิปคุณหมอยิ่งดีใจ ขอบคุณที่แนะนำสิ่งที่มีประโยชน์

  • @suwanatatnina
    @suwanatatnina Місяць тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ Tany

  • @npji3362
    @npji3362 Місяць тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆๆๆค่ะสุดยอด

  • @krisanachaipadung2700
    @krisanachaipadung2700 Місяць тому +1

    ขอบคุณอาจารย์ สำหรับความตั้งใจที่มาให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่คนไทย

  • @user-br8yc5kj4r
    @user-br8yc5kj4r Місяць тому +1

    ได้ความรู้ดีมากๆค่ะทำให้มีการวอเคราะห์ความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคลเพื่อพิจรณาก่รกินอาหารทั่มี Mg และกินเสริม ขอบคุฯ อจ มากๆค่ะ

  • @pgdamrongsak
    @pgdamrongsak Місяць тому +1

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ คุณหมอจ่าย Chelate Magnesium ทานวันละ 1 เม็ดครับ ทานมา 4-5 ปีแล้ว ได้ฟังความรู้เหล่านี้แล้ว รู้สึกขอบคุณอาจารย์มากครับ

  • @santanahoward7017
    @santanahoward7017 11 днів тому +1

    ขอบคุณมากๆๆนะค่ะคุณหมอ🙏❤️

  • @noynakeschumpol6414
    @noynakeschumpol6414 Місяць тому +2

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn Місяць тому +8

    กราบขอบพระคุณค่ะคุณหมอแทน ที่กรุณาให้ข้อมูลและคำแนะนำในการเสริมแมกนีเซี่ยมในร่างกาย ถ้าพร่องหรือขาดไปจากร่างกายเห็นทีชีวิตจะลำบากภายหลัง ที่ผ่านมาไม่เคยนึกถึงเรื่องภาวะขาดแมกนีเซี่ยมเลย ฟังคุณหมอวันนี้ถึงมาย้อนคิดว่าสารอาหารนี้แม้ดูว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการไม่ได้มากมายนักหนา แต่มีความสำคัญยิ่งยวด ซึ่งเราดันไม่ให้ความสำคัญในการเลือกอาหารให้เพียงพอ ซ้ำยังพบว่าไม่ลำบากเลยที่เราจะเพิ่มอาหารการกินแต่ละมื้อให้มีหมวดที่เป็นแหล่งของแมกนีเซี่ยมให้มากขึ้น น่าจะยังไม่สายที่จะปรับปรุงใหม่ และดูเหมือนว่าอาหารหลายชนิดที่จัดว่าเป็นแหล่งของแมกนีเซียม จะมีของที่เราชอบกินตั้งเยอะแยะ เช่น สาหร่ายเกลียวทอง เมล็ดฟักทอง งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ถั่วเขียว เต้าหู้ อโวกาโด สะเดา สะตอ ใบยอ ตำลึง ปว๊วยเล้ง คะน้า กุ้งแห้ง ปลาแซลมอน เป็นต้น ถ้าช่วงไหนกินน้อย การจะหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปลอดภัยก็ยังหาไม่ยาก ถ้าทำตามคำแนะนำในคลิปของคุณหมอ

  • @tumm77
    @tumm77 Місяць тому +2

    ดีมากเลยครับ ขคครับ

  • @thipjuthamoonlamai4676
    @thipjuthamoonlamai4676 Місяць тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ

  • @simplelife4509
    @simplelife4509 Місяць тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ข้อมูลลึกๆแบบนี้ไม่มีใครมาบอกเลยค่ะ ขอบุญกุศลที่คุณหมอให้ความรู้ส่งผลให้คุณหมอเจริญๆนะคะ

  • @soo4388
    @soo4388 Місяць тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @cspopo1
    @cspopo1 Місяць тому +1

    ทานแมกนีเซียม นี่ก็มีประโยชน์กับผมมากครับ หลายอย่างผมเข้าได้กับน่าจะขาดแมกนีเซียมเช่นผมกินโอโซนมิพรามาเป็นเวลาเกิน 10 ปีวันละเม็ดและผมดูเหมือนจะมีน้อยลง อายุก็มากขึ้นพอดี
    ช่วงนี้ผมเรียนไลฟ์สไตล์เมดิซีนซึ่งประกอบไปด้วย 6 pillars แต่คงไม่ได้ลงลึกไปในระดับของวิตามินเกลือแร่หรืออาหารเสริมและทำความรู้จักอาจารย์เพิ่มเติมมีประโยชน์มากครับขอบคุณครับ

  • @user-hv9dj5bv8z
    @user-hv9dj5bv8z Місяць тому +1

    ขอบคุณหมอมาก ที่ให้ความรู้ดีมาก อธิบายละเอียดจากที่ไม่เคยทราบ จะได้เตรียมพร้อมหาแมกนิเซียมมาทานบ้าง (ทานโอเทพาโซน)มาหลายปี

  • @Fong14
    @Fong14 Місяць тому +1

    ขอบคุณหมอแทนสำหรับข้อมูลที่มีค่านะคะ ตอนนี้ทานทุกวันค่ะ เพราะ เป็นตะคริวบ่อยค่ะ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย 🙏🙏😊😊

  • @salyarakpayaksonnak4676
    @salyarakpayaksonnak4676 Місяць тому +1

    หมอเล่าเรื่องได้น่าฟัง

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Місяць тому +4

    😊🌸🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏
    วันนี้เราทานปลานึ่งกับ
    ผักสีเขียวนึ่งหลายอย่างมีถั่วอบด้วยค่ะได้รับแมกนีเซียม
    พอสมควรค่ะ

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat Місяць тому +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰

  • @dreamconsuming5389
    @dreamconsuming5389 Місяць тому +2

    คุณหมอช่วยพูดถึง Nutritional Yeast หน่อยครับ👏

  • @putthikarn28
    @putthikarn28 Місяць тому +5

    ผมทานเป็นประจำเลยครับ เพราะเคยไปฟังคุณหมอของ us บอกว่า วิตามินเสริมตัวนึงที่แนะนำคือ แมกนิเซียม

  • @user-hg1hn9fi8d
    @user-hg1hn9fi8d Місяць тому +1

    ขอบคุณมากๆคุณห

  • @sriratdecha8809
    @sriratdecha8809 Місяць тому +1

    ขอบคุณมากครับ!

  • @nithitsathornlak2721
    @nithitsathornlak2721 Місяць тому +2

    ขอบคุณครับ

  • @user-ft2ck3ml9c
    @user-ft2ck3ml9c Місяць тому +1

    ขอบคุณคะ

  • @thanachoatchawanasunthornp2091
    @thanachoatchawanasunthornp2091 Місяць тому +1

    สวัสดีครับคุณหมอ🙏🏻💖

  • @sindyKorny
    @sindyKorny Місяць тому +2

    ขอบคุณค่ะ👍

  • @tumzthedog9309
    @tumzthedog9309 Місяць тому

    ขอบคุณครับอาจารย์♥

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 Місяць тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏

  • @kaollove01
    @kaollove01 Місяць тому +4

    ออกกำลังกายนอนแล้วหลับๆตื่นๆ เพราะปวดตัวจากการออกเวท เลยกิน mag glycinate นอนdeep sleepดีขึ้นมากเลย

  • @Dreamworkstt
    @Dreamworkstt Місяць тому +1

    Thank you so much!

  • @bosssv6629
    @bosssv6629 Місяць тому +2

    ดีมากครับ เมื่อก่อนกินบ่อยแต่ แบบซีเตรทครับ

    • @ampaidang5966
      @ampaidang5966 Місяць тому

      หาซื้อได้ที่ไหนคะ อายุมากแล้วด้วยค่ะะ

  • @user-gk6zs8ow2l
    @user-gk6zs8ow2l 2 дні тому +1

    ไม่ทันทานแมกนีเซียมเสริมเลยค่ะ ฟังคลิปของคุณหมอหลายรอบ หลับสบายเลยค่ะ😂😂

  • @sirot6596
    @sirot6596 Місяць тому +2

    ทานแคลแมกดี มาหลายปี ดีมาก

  • @tanaporn-um6qn
    @tanaporn-um6qn Місяць тому

    คุณหมอคะ รอฟังเรื่องวัคซีนแอสตร้าค่ะ

  • @user-on1xx9gu3i
    @user-on1xx9gu3i Місяць тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ

  • @user-xo4ds5gq6s
    @user-xo4ds5gq6s Місяць тому +1

    ขอบพระคุณมากคะคุณหมอ🎉🎉🎉😂😂😂❤❤❤❤❤

  • @pomely2818
    @pomely2818 Місяць тому +1

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @kittikawong
    @kittikawong Місяць тому +4

    คลิปแมกนีเซียมของหมอ เจ้านายพี่มาถามว่าต้องกินแบบไหนดี เธอช่วยสั่งให้หน่อย พี่เลยบอกเจ้านายไปฟังให้เข้าใจแล้วค่อยมาคุย ส่วนเพื่อนพี่ วัย70 ฟังหมอบอกไม่เข้าใจคือประมาณงงๆ สมาธิสั้น ถามพี่ข้ามคืนข้ามวันเลย 55 พี่เลย copy ข้อความตอนจบที่หมอสรุปให้เพื่อนไปอ่าน ถึงจบ
    ขอบคุณหมอมากค่ะ พี่ก็ต้องฟังไป2รอบ

  • @eve4877
    @eve4877 Місяць тому +7

    เรากินอาหารเสริมแมกนีเซียมเสมอ เพราะทำงานที่ stress มาก ช่วงนึงเพลียเหนื่อยนอนไม่หลับสนิททั้งคืน พอลองกินหลับสนิทไม่เพลียเหมือนมะก่อนค่ะ

  • @sugarcane9425
    @sugarcane9425 28 днів тому +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @sukanyadetudom7457
    @sukanyadetudom7457 Місяць тому +2

    คลิปนี้มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพมากค่ะ
    ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ
    ร่างกายดิฉันได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอโดยบังเอิญ..
    โดยไม่มีความรู้มาก่อนว่าในอาหารพวกถั่วเลนทิลถั่วลูกไก่ ถั่วdal ถั่วสีชนิดต่างๆ ผักโขม อินทผลาลัม ฯลฯ
    ซึ่งอาหารดังกล่าว ดิฉันทานเป็นประจำค่ะ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Місяць тому +4

    😊ขอบพระคุณอจ.หมอมากนะคะ🙏❤

  • @user-gv7dr6gv2d
    @user-gv7dr6gv2d Місяць тому +2

    ผักก้อทานเยอะค่ะ ชอบสลัด แต่ช่วงนี้ เล่นกีฬา หลังเล่นแล้ว ตะคริวขึ้นตาลอด เลยทานแมกนีเซียมด้วย ช่วยได้ค่ะ ยิ่งอายุขึ้นเลขห้าสิบแบบเราค่า

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin Місяць тому

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ❤

  • @user-gr6ue7ly4u
    @user-gr6ue7ly4u Місяць тому

    ขอบคุณค่ะ 😊

  • @orajitthongchit7433
    @orajitthongchit7433 Місяць тому +2

    อาจารย์​หมอน่าจะนำเข้ามาขายในไทยนะคะสินค้าอเมริกาน่าจะคุณภาพดี

  • @kmkkcm
    @kmkkcm 13 годин тому +1

    Thanks!

  • @wansicholchankrachang2917
    @wansicholchankrachang2917 Місяць тому +2

    Thanks

  • @jaruchasudsri7820
    @jaruchasudsri7820 4 дні тому +1

    ขอบคุณค่ะ🎉

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 Місяць тому +12

    ร่างกายต้องการแมกนีเซียมน้อยมากเพียงร้อยละ4เท่านั้นแต่ขาดมิได้ ซึ่งเราต้องกินจาก ผักเขียว พืชตระกูลถั่ว ปลา ฯ โดยปรุงต้มสุก เพื่อป้องกันโรคสมองฝ่อ ซึมเศร้า ตะคริว ไมเกรนมะเร็ง นอนไม่หลับ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ฯ คือร่างกายทำงานได้เป็นปกติสุข เป็นความสำคัญของแมกนีเซียม ซึ่งสรุปได้จากการฟังขอบคุณอาจารย์ค่ะ

    • @penpugsuwan7447
      @penpugsuwan7447 Місяць тому +1

      เป็นกำลังใจ ในการทำงานอาจารย์ทุกวันค่ะ

    • @penpugsuwan7447
      @penpugsuwan7447 11 днів тому

      แชร์เมื่อฟังครั้งแรกแล้วค่ะ