เจาะลึกโรคความจำเสื่อม ไม่ใช่มีแค่โรคอัลไซเมอร์

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 29 жов 2024

КОМЕНТАРІ • 416

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +44

    เจาะลึกโรคความจำเสื่อม ไม่ใช่มีแค่โรคอัลไซเมอร์ #ความจำเสื่อม #อัลไซเมอร์
    ความจำเสื่อม หรือ Dementia
    - อาการหลงลืม บางคนพูดแล้วลืม วางของไว้ตรงไหนแล้วลืม ขับรถแล้วลืมว่าจะขับไปไหน
    - หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการขี้ลืม ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นความจำเสื่อมด้วยซ้ำไป แต่ถ้าญาติพามาหาแพทย์แล้วแจ้งว่าผู้ป่วยหลงลืม ผู้ที่ความจำเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว ดังนั้นหากมีความสงสัยเรื่องความจำเสื่อม ควรจะพาญาติมาพร้อมกับผู้ป่วย เพื่อจะได้ให้ประวัติครบถ้วน ชัดเจน
    แพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ในครั้งแรก เป้าหมายในการตรวจเพื่อวินิจฉัย เนื่องจากความจำเสื่อมมีหลายสาเหตุ และการแก้ไขแต่ละสาเหตุไม่เหมือนกัน บางสาเหตุอาจมีโอกาสเป็นรุนแรงมากกว่าสาเหตุอื่นๆ จะต้องพยายามดูว่าสามารถแก้ไขได้หรือไม่เพื่อไม่ให้เป็นมากขึ้น และพิจารณาสัญญานเตือนว่าไม่ใช่อัลไซเมอร์ธรรมดา และเป็นอะไรบ้างเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องค้นหา
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +10

      ความจำเสื่อมจะมีสิ่งต่อไปนี้เสื่อมไปด้วย
      1. ความสามารถในการเรียนรู้ / ความจำ (Learning ability / Memory) จะเริ่มจากการเสียความทรงจำระยะสั้นก่อน เช่น ลืมว่าเมื่อเช้าทานอะไร แต่มักจะจำเรื่องเก่าๆได้แม่นยำ มักจะเล่าแต่เรื่องเก่าๆ
      2. ภาษา (Language) จะนึกคำไม่ออก ว่าสิ่งนี้เรียกว่าอะไร
      3. ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมอง (Executive function) เช่น การวาดแผนที่ ขับรถ หรือการตัดสินใจที่ยุ่งยาก การคิดเลข เขียนหนังสือ จะหายไป หรือบางคนติดกระดุมเสื้อไม่เป็น
      4. ความสนใจ หรือ สมาธิที่จดจ่ออะไรสักอย่างหนึ่ง (Attention)
      5. การรับรู้ทักษะการเคลื่อนไหว (Perceptual motor) เช่นบางคนกะระยะไม่ถูก ขับรถไปชนคนอื่น มีปัญหาการถอยหลังจอด จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และ ความจำเสื่อม
      6. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) เข้าสังคมไม่เป็น ไม่อยากเข้าสังคม ไม่อยากคุยกับใคร
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +9

      การซักประวัติ
      หาสาเหตุที่แก้ไขได้ ได้แก่
      1. จะต้องซักประวัติเรื่องยา (Medication) ยาบางตัวที่ทำให้ความจำมีปัญหา เช่น
      - ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เช่น CPM, Zyrtec(Cetirizine) และยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วงเกือบทุก ยาแก้เวียนหัว เช่น Dramamine (Dimenhydrinate) ยาโรคกระเพาะ เช่น Ranitidine เป็นตัวต่อต้าน Histamine ชนิดที่ 2 คนไหนที่ไวกับยาตัวนี้ อาจทำให้ความจำมีปัญหาได้ หากจะเริ่มยานี้ในคนไข้อายุ 70-80 ปีไปแล้วให้ระวัง ที่อเมริกาจะใช้ Famotidine
      - Anticholinergics มีใช้หลากหลาย เช่น คนที่กระเพาะปัสสาวะไวเกิน จะมียา Oxybutynin, ยาแก้ปวดท้อง Hyoscyamine ในประเทศไทยจะรู้จักในนาม Buscopan, Dicyclomine นอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นยาพ่นโรคปอด เช่น Ipratropium, Tiotropium, ยาที่ช่วยเรื่องเสมหะ Glycopyrrolate
      - ยานอนหลับ ยากดประสาท ยาแก้กังวล โดยเฉพาะ Benzodiazepine หรือที่เรียกรวมๆว่ายากลุ่ม Sedative hypnotics
      แพทย์จะซักประวัติ หากพบว่ากินยาเหล่านี้หลายๆตัว แพทย์จะพิจารณาว่าสามารถหยุดตัวไหนได้บ้างหรือไม่ ถ้าหยุดได้จะช่วยได้ค่อนข้างเยอะ คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาความจำเสื่อม แต่เป็นเพราะกินยากลุ่มนี้หลายๆตัว ในผู้สูงอายุที่กินยาหลายๆตัว ทางการแพทย์เรียกว่า Polypharmacy ต้องพยายามลดปริมาณยาให้มากที่สุด และยังคงปลอดภัย
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +9

      2. โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดสมอง ก็อาจทำให้ความจำเสียไปได้ เช่น
      - เบาหวาน
      - ความดันสูง
      - โรคไตเรื้อรัง
      ยิ่งหลายๆอย่างปนกันก็ทำให้เรามีปัญหาทางด้านหลอดเลือดมากขึ้นและมีโอกาสเลือดออก หรือ ลิ่มเลือดอุดตันในสมองเพิ่มมากขึ้น นานๆเข้าก็ทำให้ความจำเสื่อมได้ การแก้ไขต้องไปแก้โรคที่เป็น
      - โรคหัวใจเรื้อรัง
      3. ปัญหาเรื่องการนอนหลับ หากนอนหลับไม่ดี ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องความจำได้ ดังนั้นคนสูงอายุจะต้องแก้ไขที่ภาวะนี้ด้วย ปัญหาการนอนหลับได้แก่
      - ปัญหาหยุดหายใจในขณะหลับเท่านั้น อาจมีแบบลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ มีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ สมองไม่สั่งการให้หายใจ
      - การละเมอออกท่าทาง เช่น ฝันแล้วชกคนที่นอนด้วยตกเตียงบ่อยๆ แบบนี้เป็นโรค และมีโอกาสเกิดเป็นโรคกลุ่มพาร์กินสันเพิ่มขึ้นเรียกว่า REM sleep behavior Disorder บางคนมีอาการแบบนี้แล้วอีก 7-8 ปี ข้างหน้าก็เป็นโรคพาร์กินสัน หรือ มีโรคความจำเสื่อมบางอย่างขึ้นมา
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +9

      4. ขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น B12, Folate, Copper (ทองแดง) หากไม่ได้ขาด กินเข้าไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร
      5. โรคที่มีการกระทบกระแทกสมองบ่อยๆ เรียกว่า Traumatic brain injury / หรือ เลือดออกบริเวณผิวๆสมอง เรียกว่า Subdural haematoma หากเป็นผู้สูงอายุ หรือ มีประวัติ เราต้องหาสาเหตุ อาจต้อง scan สมองว่ามีภาวะแบบนี้หรือไม่ ต้องรักษาจึงจะดีขึ้น
      6. แอลกอฮอล์ / ยาเสพติด
      7. โรคติดเชื้อบางอย่าง มักจะรักษาไม่หาย เช่น HIV, ซิฟิลิสขึ้นสมอง
      หากมีอาการบางอย่างที่เกี่ยวกับความจำ แล้วบอกได้ว่าเป็นความจำเสื่อมชนิดแปลกๆ ที่ผลการรักษาไม่ค่อยดี อาจต้องเตรียมเขียนพินัยกรรม อาจต้องเตรียมการและไม่มีวิธีรักษา ซึ่งมีอาการดังนี้
      1. หลอน (Visual hallucination)
      2. หกล้มบ่อยๆ (Fell)
      3. มีพฤติกรรมผิดปกติอย่างรวดเร็ว (Behavioral)
      4. มีการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม (Desinhibition ) ในหัวคิดอะไรก็พูดออกมาแบบนั้น เคยสุภาพก็กลับพูดจาหยาบคาย ด่าคนโน้นคนนี้
      5. ท่าทางการเดิน ขากางๆ
      6. ปัสสาวะราด กลั้นไม่อยู่
      7. สั่น เคลื่อนไหวลำบาก เป็นอาการพาร์กินสันเทียม
      หากมีอาการแปลกๆเหล่านี้ เพื่อจะดูว่าเป็นโรคแปลกๆด้านล่างต่อไปนี้หรือไม่ เพราะหากเป็นโรคแปลกจะรักษาไม่ค่อยได้ผล และทำให้คนไข้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เร็ว และเสียชีวิตได้เร็วมากด้วย
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +9

      กลุ่มอาการของความจำเสื่อม
      เราจะต้องรู้จัก 3 ตัว เพราะเกี่ยวข้องกับการรักษา การพยากรณ์โรคในอนาคต และ การจัดกลุ่มโรค ได้แก่
      1. โปรตีนที่ผิดปกติ (สามารถดูภาพประกอบได้ในนาทีที่ 38:36) เรียกว่า Neurofibrillary tangles (สามารถดูรูปเซลล์ประสาทได้ในนาทีที่ 38:12) จะมีความผิดปกติที่ท่อเล็กๆในเซลล์ประสาท เรียกว่า Microtubule พันมั่วๆเป็นก้อนขึ้นมา จะทำให้มีปัญหา เซลล์ประสาทสื่อสารไม่ได้ แล้ว ตายไปในที่สุด ทำให้ความจำเสื่อมได้ หลักๆพบได้ใน อัลไซเมอร์ กลุ่มนี้จะเป็น Tauopathy มาจากโปรตีนชื่อ Tau เมื่อเกิดผิดปกติ หรือ Hyperphosphorylate คือมีการเอาฟอสเฟตจับกันมั่วๆจะกลายเป็นพันกันมั่วๆทำให้เซลล์ประสาทตายไป ได้แก่ Progressive supranuclear palsy, Corticobasal degeneration, Frontotemporal dementia, อัลไซเมอร์
      2. Beta Amyloid (สามารถดูภาพได้ในนาทีที่ 39:46) ถ้ามีการสะสมของ Beta Amyloid มากๆเซลล์ประสาทก็จะตาย ในทางการแพทย์มียาเพื่อลด Beta Amyloid เพื่อหวังจะรักษาอัลไซเมอร์
      3. Alpha Synuclein มีหน้าที่ส่งสารสื่อประสาทออกจากเซลล์ประสาทออกไปให้เซลล์อื่น หากตัวนี้เสียไปจะรวมกันเป็นก้อนๆ หนึ่งในนั้นคือ levy body ดังนั้นโรคที่อยู่ในกลุ่ม Synucleinopathies ได้แก่ พาร์กินสัน, Levy body Dementia, Multisystem atrophy
      ตอนที่6

  • @wanichadisharoon5166
    @wanichadisharoon5166 Рік тому +7

    ชอบฟังอาจารย์หมอธานีบรรยายมากค่ะ ถึงแม้ว่าดิฉันจะอายุ 70+ ปีแล้ว ไม่ได้เรียนหมอ เป็นแค่ครูเกษียณแล้วและเคยสอนนักเรียนชั้นมัธยมและประถมศึกษา-สอนที่ไทย 20 ปี ลาออกแล้วมาเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกา 2 โท แล้วสอนนักเรียนอเมริกันอีก 20 แล้วเกษียณอายุที่อเมริกา ตอนนี้อาศัยอยู่ที่รัฐ Missouri ค่ะ แต่ดิฉันก็ยังสนใจและชอบฟังคุณหมอค่ะ ติดตามผลงานของคุณหมอเกือบทุกวันเลยค่ะ คุณหมอสุดยอดมากกกกค่ะ Superb!👍👍

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      โห แบบนั้นเก่งมากเลยครับ ย้ายมาเรียนต่อที่นี่แถมสอนด้วย

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +45

    ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะสำหรับคลิปยาว 1 ชั่วโมงเต็มๆ เพื่อให้เข้าใจโรคความจำเสื่อมอย่างละเอียด ดิฉันขอร่วมส่งกำลังใจ และขอสนับสนุนช่องของอาจารย์นะคะ ใครสะดวกเชิญได้นะคะ มีปุ่ม "ขอบคุณ" หรือ "Super Thanks" อยู่ใต้ชื่อคลิปค่ะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +3

      🎉🎉👍👍🌹🌹❤️💙💜

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +4

      @@kanyamuay3748 ขอบคุณค่ะพี่หมวย...

    • @Lek44888
      @Lek44888 2 роки тому

      👍👍👍👏👏👏🌹🌹🌹

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@Lek44888 ขอบคุณค่ะพี่เล็ก...

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat 2 роки тому

      👍🥰😍🙏

  • @krisanachaipadung2700
    @krisanachaipadung2700 6 місяців тому +1

    ขอบคุณอาจารย์ที่ตั้งใจให้ความรู้แก่ทุกคนที่เข้ามาดู ได้ความรู้มาก ถึงแม้จะไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ได้รับรู้ถึงความตั้งใจของอาจารย์ค่ะ

  • @NekoFly
    @NekoFly Рік тому +3

    ดูจนเกือบจบเลยนะคะ ทานข้าวแล้วใส่ขาตั้งฟัง เอาไว้สังเกตอาการดูแลคนที่จะเข้าสู่วัยชราในอนาคตไม่นานนี้ค่ะ ละเอียดมาก เข้าใจง่ายด้วย สงสัยอันไหนก็ไปหาเพิ่มในgoogleภาษาไทยก็มี ขอบคุณมากนะคะที่สละเวลาแจกความรู้ให้ทุกๆคนได้เข้ามาดูค่ะ

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 2 роки тому +6

    เจาะลึกโรคความจำเสื่อม ไม่ใช่มีแค่โรคอัลไซเมอร์#ความจำเสื่อม#อัลไซเมอร์📓📙📘📗 สมองเสื่อม (dementia) เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยกลุ่มอาการหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น หลงลืมง่าย คิดเงินไม่ถูก หาของไม่เจอ หลงทางในที่คุ้นเคย มีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นต้น
    📗📙อาการของภาวะสมองเสื่อม
    🧊พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำๆ ภายในระยะเวลาสั้นๆ
    🧊ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน
    🧊หาของไม่เจอบ่อยๆ
    🧊ลืมนัดสำคัญบ่อยๆ
    🧊สับสนเรื่องทิศทาง หลงทางในที่คุ้นเคย
    🧊นึกคำพูดยากขึ้นหรือใช้คำผิดบ่อยๆ
    🧊บุคลิก อารมณ์เปลี่ยน
    🧊บกพร่องในทักษะที่เคยทำได้ เช่น การใช้รีโมทโทรทัศน์ การทำกับข้าว
    🧊โดยอาการมักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี
    📙📘แนวทางป้องกัน
    การดูแลสุขภาพร่างกายและสมอง
    🧊การพักผ่อนให้เพียงพอ
    🧊ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    🧊รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    🧊หมั่นใช้สมองเช่น การคิดเลข อ่านหนังสือ พูด เล่นดนตรี วาดรูป
    🧊ฝึกทำอะไรที่ไม่ถนัด ใช้มือด้านไม่ถนัด
    🧊ลดความเครียด
    🧊ถ้ามีปัญหานอนกรน ง่วงระหว่างวัน สมาธิไม่ดี ควรไปตรวจการนอนหลับ แก้แล้วจะดีขึ้น
    🧊แอลกอฮอล์
    🧊โรค ซึมเศร้า ควร ได้รับ การแก้ไข
    🧊ดื่มน้ำมากๆ
    🧊การเข้าสังคมพบปะเพื่อนหรือญาติบ่อยๆ
    ฝึกสมองเล่นสร้างความสมดุลย์ของสมองทั้งสองข้าง ลองเล่นดู ✋🏻🖖🏻ช่วยเรื่องสมาธิ สนุกด้วยคะ ua-cam.com/video/_7pU8uueosI/v-deo.html
    ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️

  • @AL86898
    @AL86898 2 роки тому +7

    สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์🙏คุณหมอแทน😊วันนี้คุณหมอมาให้ความรู้ต่อในเรื่องโรคความจำเสื่อม เจาะลึก เขียนตัวอักษรภาษาอ.สวยมากๆ ความจำคุณหมอดีสุดยอด เลยการ สูญเสียความจำ ไปนั้นมีสาเหตุ หลายอย่าง มีอาการเช่นลืมว่าจะพูดอะไรแล้วลืม หรือทำอะไรไปแล้วลืมว่าทำแล้ว เราจะเสียการใช้สมาธิ หรือมีปัญหาในการกะระยะ ห่าง ลืมเส้นทางการเดินทาง เมื่อพบต้องให้ญาติมาบอกคุณหมอ เพราะคนใกล้ชิดจะเห็นอาการผิดปกติของคนไข้ เช่นลืมวัน ลืมคำพูดทิ่จะพูดเรียกสิ่งต่างๆลืมว่าเรียกว่าอะไรรักษาอย่างไร นั้นคุณหมอตัองซัก จากญาติจะแน่นอนกว่าเพราะตัวคนไข้จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ การกิน ยาต่างๆมากหลายตัว การเป็นโรคต่างๆก็เป็นสาเหตุให้เกิดความจำเสื่อม เรามีวิธีป้องกัน เช่นเรื่องการเข้าสังคมพูดคุย ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารครบ หมู่หาอะไรทำฝึกสมอง คนสูงอายุกินยามากๆลดลงบ้างยากลุ่มกดประสาท ยานอนหลับไม่ควรกินอาจเกิดปัญหาความจำเสื่อมได้ เราควรดูแลตัวเองก่อนที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมเพราะรักษาหายยาก บางทีไม่หายเลย ขอบคุณคุณหมอที่มาบอกอย่างละเอียด ค่ะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคนมาก เลย🙏👍❤

  • @Jum.A1
    @Jum.A1 2 роки тому +11

    เคยอ่านเล่น ๆ เรื่องโรคความจำเสื่อมค่ะ ข้อมูลที่ได้ก็แค่ผิวเผินแต่วันนี้คุณหมอกรุณาอธิบายทั้งประเภทของโรคความจำเสื่อมชนิดต่าง ๆ สาเหตุของโรค อาการและการสังเกตอาการ รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา ในฐานะเป็นคนทั่วไป ฟังแล้วเข้าใจง่ายและชอบมาก จุใจเลยค่ะ เป็นความรู้ที่ดีมากสำหรับทุกคน รู้ไว้มีประโยชน์แน่นอนค่ะ
    คุณแม่ของพี่ที่สนิทกันเป็นคนหงุดหงิดง่าย ต่อว่าทุกคน อารมณ์เสียตลอดเวลา ใครเข้าหน้าก็ไม่ติด ไม่ชอบใจไปทุกสิ่ง จำอะไรไม่ค่อยได้ จนวันหนึ่งบังเอิญได้ตรวจสมองก็พบว่าเป็น Normal pressure hydrocephalus (น้ำคั่งในโพรงสมอง) ได้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำออกจากสมอง
    หลังจากการผ่าตัด พี่เค้าเล่าว่าเหมือนถูกรางวัล ได้คุณแม่แสนดีคนเดิมกลับมา คุณแม่ความจำดีขึ้น อารมณ์ดี ไม่เหวี่ยง ไม่หงุดหงิด ไม่ต่อว่าทุกคนเหมือนก่อนผ่าตัด โชคดีมากที่ตรวจพบและรักษาได้ทัน
    โรคนี้น่ากลัวมากเลยค่ะ การรักษาและการดูแลต้องใช้ทรัพยากรมากเลย ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ป่วยและโดยเฉพาะผู้ดูแลนะคะ 🤍

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      ขอบคุณที่แชร์เรื่่องราว เล่าสู่กันฟังค่ะน้องจุ๋ม...

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 2 роки тому

      @@FragranzaTrippa ยินดีมาก ๆ ค่ะพี่ทริป 😊

  • @Kathy_Nannapat
    @Kathy_Nannapat 2 роки тому +8

    ขอบคุณคุณหมอแทนมากๆนะคะ ที่อุตส่าห์สละเวลาทำคลิปที่เป็นประโยชน์มากๆ 🙏🏼ขออนุญาตเม้นท์ก่อนดูคลิป คือ เรากลัวเป็น Alzheimer’s กับ Dementia ค่ะ เพราะความจำสั้นระยะสั้นแย่ลงมากๆ เนื่องจากกินยาคลายกังวล Benzodiazepine และยานอนหลับ มาเกิน 10 ปี 😢 คุณย่าเราก็เป็นอัลไซเมอร์ ทำใจไว้แล้วว่าคงเป็นแน่ๆ แล้วเราไม่ได้มีลูกด้วย หลานคนเดียวก็อยู่ที่เมกา การอยู่คนเดียวตอนแก่ก็ว่าแย่แล้ว แต่อยู่แบบจำอะไรไม่ได้ด้วย ชีวิตบั้นปลายมันน่าเศร้าจริงๆค่ะ

  • @nannessen7472
    @nannessen7472 2 роки тому +8

    ขอขอบคุณสำหรับทุกคลิป ที่อาจารย์แพทย์มาแชร์ และคลิปนี้อ.ต้องใช้เวลามากๆ ทั้งอธิบาย ทั้งเขียน ด้วยลายมือสวยๆ เอาใจใส่รายละเอียดทุกอย่าง แถมถ่อนตนตลอดว่าจำไม่ได้ ว่าเขียนผิด ซึ่งแสดงความไม่โอ้อวด 🙂
    ดิฉันนั่งดูอย่างใจจดจ่อเป็นพิเศษค่ะ เพราะว่า ดิฉันทำงานเป็นผู้ดูแลคนป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมค่ะ
    เมื่อคนไข้ ย้ายเข้ามาอยู่ในสถานที่ดูแลใหม่ๆ ส่วนใหญ๋ จะมีปัญหามากเพราะเขายังจำได้ว่า เขาถูกส่งตัวมาอยู่ที่แห่งหนึ่ง ทำไมฉันจะต้องมาอยู่ที่นี่ ตกเย็นก็จะกลับบ้าน จะวนเวียนเรื่องกลับบ้าน ไปดูแลครอบครัว ประมาณนี้ค่ะ
    และบางคนเป็นคนดุ จะอาละวาดทุกวัน มีปัญหากับทุกเรื่องราว ไม่ยอมรับการดูแล ไม่ยอมให้ความสะอาด
    บางคนใจดี ดีมากๆๆๆๆๆๆ น่ารัก น่าดูแล น่าถนอม สะอาดสะอ้าน เพราะ คนดูแลก็ดูแลได้อย่างดี คนไข้ยินดีรับการดูแล เอาใจใส่
    มีประเด็นมากมายหลายอย่างทุกวันค่ะ ขอขอบคุณอ.อีกครั้งนะคะ

  • @ruenp9096
    @ruenp9096 Рік тому +2

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ สามีเป็น vascular dementia จากการaccident เล่น pickle ball/ตามด้วย brain surgery/stroke/ vascular dementia ในช่วงเวลา7 ปีมานี้
    ติดตามหาวิธีที่จะใช้ชีวิตให้อยู่รอดจากclips คุณหมอตลอดค่ะ กดปุ่มthanks และสมนาคุณอยู่เสมอ แต่ไม่ทราบมีปัญหาไหม

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 2 роки тому +1

    ความจำเสื่อมเป็นโรคเสียชีวิตเร็ว เราควรออกกำลังกาย ไม่เครียด นอนให้เพียงพอ รีบรักษาอาการซึมเศร้า ใช้สมองทำกิจกรรมฟังพูดอ่านเขียน เมื่อเป็นโรคความจำเสื่อม กินยาชะลอตามอาการ ซึ่งยาวิธีรักษาต่างๆ มีผลข้างต่อระบบอวัยวะทั้งปวง เรารู้แล้วจึงไม่ควรเป็น. ขอบคุณอาจารย์แพทย์ค่ะ

  • @malinpanich6082
    @malinpanich6082 6 місяців тому +1

    คุณหมอลายมือสวยจังเลยค่ะ

  • @NamtarnSmile
    @NamtarnSmile 2 роки тому +2

    เนื้อหาน่าสนใจมากเลยค่ะ ฟังแล้วมีประโยชน์มากๆจริงนะคะ เราชอบเรื่องนี้ค่ะฟังไปตื่นเต้นไปจนจบเลยค่ะ เพราะมียาบางตัวอย่างยาแก้แพ้เคยคิดว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่น่าจะมีอันตรายอะไร เคยถามที่ร้านขายยาว่ากินทุกวันจะอันตรายไหม เขาก็บอกไม่อันตราย เราก็กินแทบจะทุกวันเลยค่ะ แต่ดีที่พอมีแบบไม่ง่วงมา เราชอบกินแบบไม่ง่วงมากกว่า ส่วนตอนนี้โชคดีที่ไม่ต้องกินยาแก้แพ้นานแล้วค่ะ โรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวจริงนะคะ พอฟังแล้วทำให้เตือนตัวเองเลยว่าเราต้องดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆเลย และต้องระวังเรื่องกินยาให้มากด้วยค่ะ 🙂🙏🏻ขอบพระคุณคุณหมอมากๆเลยนะคะที่มาแบ่งปันข้อมูลดีๆแบบนี้

  • @bravebrightchannel4032
    @bravebrightchannel4032 8 місяців тому

    ขอบคุณ​คุณหมอที่สละเวลามาทำคลิปให้ความรู้ดูย้อนหลังกี่ทีก็มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ... คุณหมอใจดีมากๆค่ะ❤❤❤

  • @golfwithjane
    @golfwithjane Рік тому +1

    😊ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ดีมากๆๆๆๆค่ะ เข้าใจเลย

  • @maneeann
    @maneeann 2 роки тому +11

    🟠 โรคสมองเสื่อมไทยอยู่ตรงไหน?
    🔘 จำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อมทั้งประเทศ โดยประมาณ 800,000 คน
    🔘 1 ใน 8 ของผู้สูงอายุวัยเกิน 60 ปี เป็นโรคสมองเสื่อม
    ▪️อายุ 60-69 ปี พบโรคสมองเสื่อม 1 ใน 14 คน
    ▪️อายุ 70-79 ปี พบโรคสมองเสื่อม 1 ใน 7 คน
    ▪️อายุ 80+ ปี พบโรคสมองเสื่อม 1 ใน 3 คน
    ข้อมูลจาก : สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย

  • @pairinito8977
    @pairinito8977 Рік тому +1

    จริงค่ะคุณหมอ เคยเห็นย่อยเลยค่ะ คนเดิมนี่แหละค่ คงจะเป็นคนอาศัยอยู่ระแวกนี้ เขาจะเดินขาตีวงขากว้าง เหมือนที่คุณหมอพูดเลยค่ะเดินไป บ่นไป ด่าไป ไม่กล้าเดินเข้าไปใกล้กลัวค่ะ

  • @kumsornlandloepet4028
    @kumsornlandloepet4028 2 роки тому +1

    ทำงานบ้านไปด้วย ฟังไปด้วยไม่ได้ ต้องนั่งลง ฟังคิดตาม จดไปด้วยถึงจะเข้าใจค่ะ

  • @wangsisiriya8701
    @wangsisiriya8701 Рік тому +1

    ขอบคุณคุณหมอที่ทำคลิปดีๆออกมาให้รับชมคะ ดิฉันกำลังดูแลคุณแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์ และบางครั้งเกิดความหงุดหงิด เนื่องจากไม่เข้าใจลักษณะอาการของผู้ป่วย คลิปนี้ทำให้เข้าใจ สังเกตเยอะขึ้น ดูแลคุณแม่ได้ดีขึ้น ทำให้ดิฉันหายจากความเครียดกังวนไปเลยคะ ขอบคุณมากๆคะ

  • @orapinsuvannapura7655
    @orapinsuvannapura7655 2 роки тому +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ฟังหัวข้อความจำเสื่อมทั้งสองวิดีโอเข้าใจเลยค่ะว่าความเจ็บป่วยของมนุษย์โดยเฉพาะโรคควาทจำเสื่อมเกี่ยวข้องกับ life style โดยเฉพาะเรื่องการกิน การนอนและการออกกำลังกาย เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยหลาย ๆ โรค รวมทั้งการรับประทานยาที่มากเกินไปด้วย
    เคยไปเฝ้าญาติผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความจำเสื่อมเป็นครั้งคราวเห็นความเหน็ดเหนื่อยของคนเฝ้าประจำเลยเพราะกลางคืนคนป่วยจะไม่นอน บางครั้งอารมณ์เสียกัด จิกคนเฝ้าด้วย
    ขอบพระคุณคุณหมอมากนะคะ ความรู้ที่คุณหมอแบ่งปันจะได้นำไปใช้ดูแลตัวเองและคนในครอบครัว ขอบพระคุณคุณหมออีกครั้งค่ะ

  • @punapatchsittirach381
    @punapatchsittirach381 Рік тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอรบกวนปรึกษาเรื่องการนอนไม่หลับใช้ยานอนหลับลอร่าซีแปม 0.5 มก.มานาน 5-6 ปีจะหลับได้ 4-5 ชั่วโมงช่วงนี้รู้สึกว่าดื้อยาใช้ไม่ได้ผลนอนไม่พอรู้สึกอ่อนเพลียหงุดหวิดหลงๆลืมๆแสบตา ปวดหัว และป้ามีกิยากลุ่มสแตตินรักษาไขมันมา 6-7 ปี ควรรักษาแบบไหนดีคะทรมานมากเรื่องนอนไม่หลับและไขมันสูงผลตรวจล่าสุดคลอเรสฯ304,ไตรฯ183,แอลดีแอล215,เอชดีแอล52หมอเพิ่มสแตตินเป็น 20 มก กินแล้วปวดตามกล้ามเนื้อป้าอายุ 65 ปีขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      ลองไปดูคลิปเก่าผมครับ ua-cam.com/video/XKrIxySQktI/v-deo.html

  • @ukipb2222
    @ukipb2222 Рік тому +1

    ขอบคุณทุกหัวข้อดีๆค่ะ

  • @amybusakorn2750
    @amybusakorn2750 Рік тому +2

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ มีสาระและประโยชน์มากมายค่ะ สุดยอดไปเลยค่ะอาจารย์

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 2 роки тому +3

    รู้สึกขอบคุณ คุณหมอนะคะ ที่ใช้เวลานานถึง กว่าหนึ่ง ชม. คล้ายๆสอนนักศึกษา เท่ากับ หนึ่งคาบ เลยค่ะ .

  • @SGSG-cj1lj
    @SGSG-cj1lj Рік тому +1

    ขอบคุณอ.หมอแทนมาก ติดตามคลิปอ.หมอประจำคะ ขอให้กุศลหุนนนำทุกๆด้านนะคะ

  • @gigiphong7321
    @gigiphong7321 Рік тому +1

    ขอบคุณค่ะ.. อาจารย์ 🙏🏻

  • @thipayajones
    @thipayajones Рік тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอและทีมงาน
    ดิฉันเคยฝึกงาน community เกี่ยวกับ dementia ill ของผู้ชราภาพ ในประเทศอังกฤษ หลายปีมาแล้วค่ะ (เคยถูกกระโดดโหม่งจมูกจากผู้จัดการนักฟุตบอลเก่ามาด้วยเลือดกำเดาไหลมา) ท่านแก่มากและจะหนีกลับบ้านตลอดเวลา หลังจากนั้นท่านนั้งหัวเราะชอบใจใหญ่เลย สักพักแล้วจึงกลับไปนอน ขณะนั้นดิฉันอยู่เวรรอบดึกค่ะเค้าไม่หลับไม่นอนเดินกันพลานค่ะ โดยเฉพาะคืนพระจันทร์เต็มดวงจะเดินรอบบ้านนานเป็นพิเศษ
    ผู้ชราเหล่านั้นมักจะจำญาติพีน้องของตนเองไม่ได้แล้วค่ะ แต่ทว่าส่วนมากจะจดจำว่าบ้านเกิดที่ไหนหรือเคยทำงานอะไร จำชื่อครอบครัวและสามีได้น้อยมากค่ะ
    บอกได้แค่ว่าไม่อยากเป็นโรคนี้และอยากอยู่ใกล้ๆให้ลูกหลานหรือครอบครัวดูแลเองใกล้ชิดในอนาคตมากกว่าค่ะ (เอายายใส่รถเข็นไปเที่ยวด้วยซี่ ช้อบชอบมาก)

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 2 роки тому +2

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอ วันนี้มาให้ความรู้เรื่องอัลไซเมอร์แบบเจาะลึกฟังเพลินคะ ได้ความรู้ดีดีมากขึ้นมีประโยชน์มากคะ ตาแอบมีกังวลนิดหน่อยคะกลัวเป็นโรคนี้ ช่วงนี้งานเยอะมากมีภาวะเครียดนอนไม่พอด้วยคะเลยชอบหลงลืมบ่อยคะ.👍ตาขอให้คุณหมอมีความสุขในทุกวัน สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏😷🌹

  • @pimanongwanggason4765
    @pimanongwanggason4765 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ อาการที่คุณหมอบอกมา คุณแม่เป็นค่ะซึมเศร้า ก้าวร้าว และ ไม่พูดกับใคร อาการคล้ายพากิมสัน มือสั่น ทานข้าวเองตักใส่ปากลำบากมาก คุณแม่จำเรื่องราวหนกลังได้ดี เล่าได้ แต่ข้างหน้า ไม่บอกได้ ชอบ หรือต้องการอะไร ก้าวร้าวมากๆ ได้พาแม่มารักษาจริงจังที่รพ.ภูมิพล ทานยาต่อเนื่อง และจะมียาช่วยนอนหลับ กินก่อนนอน ด้วย ลูกๆไม่สามารถดูแลได้ ได้พาท่านไปอยู่เนอสรี่ มีเพื่อนอาการเดียวกันหลายคน คุณแม่ชอบมาก ท่านบอกสนุกดี มีเพื่อน อาหารอร่อย และ อาการดีขึ้น ได้ออกกำลัง ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้ดี แม่อายุ 84 ค่ะ แต่อาการโยกเยก เดินแอ่นหน้า หลัง ยังไม่หาย เรียน ถามคุณหมอว่า คุณแม่ ทานแคลเซี่ยม หรือ อาหารเสริมตัวใดเพิ่มได้ไหมคะ ท่านดื่มนมแอนลีนเข้มข้นวันละกล่องค่ะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +1

      อาการนั้นจะไม่หายครับ ส่วนอาหารเสริมมันไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าจะทานเพื่อความสบายใจก็ทานได้ครับ

  • @saowarostorrungroungkit8801
    @saowarostorrungroungkit8801 2 роки тому +6

    ขอบคุณคุณหมอ มากนะคะ
    ที่ให้ความรู้กระจ่าง ลงรายละเอียด ทำให้เข้าใจ ง่าย รู้สึกโชคดีและดีใจกับคนไทยที่มีหมอเสียสละเวลาอธิบายเรื่องนี้ให้ฟัง👍👍🙏🙏🙏

  • @daraneejaroensuk5805
    @daraneejaroensuk5805 2 роки тому +2

    ขอรบกวนคุณหมอแนะนำ เวย์โปรตีนสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +1

      ถ้าออกกำลังกายมากๆ เลือก Whey isolate ครับ ถ้าไม่ออกกำลังกายไม่มีความจำเป็นต้องกินเลยครับ

    • @daraneejaroensuk5805
      @daraneejaroensuk5805 2 роки тому

      ขอบคุณค่ะ

  • @gigiphong7321
    @gigiphong7321 Рік тому +1

    Thanks!

  • @nureesana9130
    @nureesana9130 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะขอบคุณ ข้อมูลดีๆ ค่ะ วิธีป้องกัน ที่คุณหมอแนะนำ ทำได้ทุกข้อ ยกเว้นเบาหวานคุมอยู่แต่ไม่หายขาด ถึงอย่างไง ก้อต้อง คุมต่อไป (ไม่ได้ใช่ยา) 🙏🙏🙏❤️❤️❤️

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 2 роки тому +3

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    คุณหมอย่อยเรื่องความจำเสื่อมมาอธิบายให้ฟัง ทำให้ได้ความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะคุณหมอ
    ปล.มีวาดยึกยือประกอบด้วยย👍

  • @สุภาวดีแสนบุราณ

    ละเอียดมากค่ะคุณหมอต้องฟังถึง 2 หรืออาจจะฟังอีกครั้ง ขอบคุณมากค่ะ

  • @benjawan6747
    @benjawan6747 Рік тому

    อาจารย์ ลายมือสวยค่ะ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 2 роки тому +5

    🌷ขอขอบพระคุณ
    มากค่ะ คลิปความ
    รู้ต่างๆที่ทำออกมา
    ให้ประชาชนได้ความ
    รู้มากมายค่ะ เป็นกำลัง
    ใจดวงเล็กๆค่ะ🙏

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +2

      🎉🎉👍👍🌹🌹❤️

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748
      🙏🌹

  • @AvecBella
    @AvecBella 2 роки тому +2

    So many differential diagnoses for Dementia, so many differential diagnoses for Alzheimer's ka Doctor Tany. Since Alzheimer’s dementia affects many aspects of daily living, ruling out other possible causes to get an accurate diagnosis is a crucial first step. So the patients can appropriately receive treatment, care, family education, and plans for the future. Old age does not cause Alzheimer's, but aging itself is a risk factor. Alzheimer's is a combo of age-related changes in the brain, genetic, environmental, and lifestyle. And we have power to control risk factors that are modifiable.
    The only time I experienced Alzheimer patients up close was when I did my Long-Term Care rotation back in school and had to be at an Alzheimer Care Facility for two days. It was also the first time I witnessed Sundowning behaviors.
    A nice overview lecture today ka Doctor Tany. I thank you!
    💙✨💤

  • @amazeamaze8585
    @amazeamaze8585 2 роки тому

    ขอบคุณมากค่ะ ที่แบ่งปันความรู้เหมือนนั่งฟังในห้องเล็กเชอร์พร้อมนักศึกษาแพทย์เลยค่ะ

  • @khamnuanwongta5448
    @khamnuanwongta5448 Рік тому +1

    ขอขอบคุณ

  • @YQong
    @YQong Рік тому

    เป็นโรคที่เจอบ่อยและคนเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงน้อยมาก คลิปดีมากครับคุณหมอ

  • @shonnamckowen1643
    @shonnamckowen1643 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ ทำมาอีกเยอะๆ นะคะ

  • @ชัญญรัชธรรมบุตร

    ดูแลผู้ป่วยอัลไซ้เมอรอยูที่คนหมอพูดมาไม่มีในอาการทั้งสาเหตุและอาการไม่ได้ทานยาและเครื่องดื่มดูแลสุขภาพตลอดค่ะอาการแรกคือสับสนไม่สามารถอธิบายความคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลคุมความประพฤติไม่ได้ตอนนี้ห ลับมือนิ้วขยับเมื่อได้ยินเสียงเพลงค่ะ

  • @KarnTovara
    @KarnTovara 2 роки тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ สำหรับความรู้ *โรคความจำเสื่อม* ค่าา 🙇‍♀️
    ꪔ̤̮ ฟังจบแล้วค่าา...รีบส่งต่อคลิปนี้ค่ะ เพราะคุณพ่อคุณแม่ของคนรอบๆ ตัว ต่างอยู่ในวัยสูงอายุค่า ♥️👨‍👩‍👧‍👦
    ꪔ̤̮ คุณหมอทำคลิปยาวเลย เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ เป็นความรู้สำหรับเฝ้าระวัง และดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวค่ะ
    ꪔ̤̮ โรคประจำตัวของกานต์ค่ะ *Hydrocephalus* ใส่ VP-shunt ค่ะ กานต์โชคดีที่ไม่เป็นอะไรมากค่ะ ชีวิตประจำวันปกติ ความจำ..น่าจะปกตินะคะ เรียนได้ปกติค่า เรียนเภสัชได้ค่าา..และซ่าได้ตามปกติค่า แต่ก็ระวังตัว ไม่ให้ศีรษะไปกระแทกอะไรค่า 😃
    - เคยใส่ AV-shunt ค่ะ เนื่องจากมีปัญหา ปลายท่อของ VP-shunt ไปเขี่ยในช่องท้องค่ะ ก็เลยเปลี่ยนใส่ AV-shunt ชั่วคราวค่ะ
    - ปัจจุบันใส่ VP-shunt แต่ใส่ข้างซ้ายค่ะ (เดิมใส่ข้างขวาค่ะ แต่ มีปัญหาท่อตันบ่อยมากๆ ค่ะ ผ่าแก้ไขไปสิบกว่าครั้งในระยะเวลาหนึ่งปีค่ะ 😆 ตอนนั้น...โอย...ผ่าตัดจนชินค่ะ จึงย้ายไปใส่ข้างซ้าย ท่อก็ทำงานได้ดีมาโดยตลอดค่า 😃)
    - คุณหมอพักดื่มน้ำก่อนค่าา 🍏🥝🍒🍵

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +2

      🎉🎉👍👍🌹🌹

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 роки тому +2

      เย้ๆๆๆ🎉🎉🤗

    • @KarnTovara
      @KarnTovara 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748 🙇‍♀️

  • @lukpedclubW
    @lukpedclubW Рік тому

    ขอบคุณมากค่ะ เหมือนได้รีวิวเรื่องยาไปในตัวเลยค่ะ คลิปแบบนี้มีประโยชน์มากๆนอกจากสำหรับคนทั่วไป ยังดีกับวิชาชีพอื่นๆอย่างเภสัชกรด้วยค่ะ

  • @soparnanthavisutthiwong1911
    @soparnanthavisutthiwong1911 2 роки тому +1

    พยายามตั้งใจฟังคุณหมอค่ะ
    เพราะคุณหมอก็ตั้งใจสอนเต็มที่

  • @noivee3732
    @noivee3732 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากๆนะคะ🙏
    เคยซื้อแก้แพ้มากินเองเพราะมีอาการจาม น้ำมูกไหลทุกวัน กินติดต่อสามปี พอตรวจเจอมีปัญหาเรื่องไทรอยด์ หลังจากรับยาไทรอยด์ก็ไม่มีอาการแพ้อีกเลย
    เป็นบทเรียนจริงๆ ต้องพบหมอก่อนจะกินยา ใช่ไหมค่ะ😁

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 2 роки тому +3

    ในหนังสือ Train Your Brain ของ คาวาชิมะ มีการฝึกให้คิดเลขเร็ว เช่น 2x3 7-2 10+1 อะไรแบบนี้ ทำเร็วๆไวๆ หรือการฝึกมองคำแต่ให้บอกสี เช่น คำว่า แดง แต่ใช้สีเขียว ต้องพูดว่าเขียว หรือแม้กระทั่งการอ่านออหเสียง ให้ผลแบบเดียวกันกับการขยับนิ้วเพื่อฝึกสมองแบบที่คุณหมอสอนไหมครับ เห็นในหนังสือเล่มนี้บอกว่าวิธีเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วย dementia มีอาการดีขึ้นครับ
    ขอบคุณมากครับ

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +1

      มันช่วยกระตุ้นความคิดครับ ใช้ได้ครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      @@DrTany ขอบคุณคุณหมอมากๆครับ

  • @อภิญญาโล่งจิตร์

    ขอบคุณอจ.มากๆๆค่ะ ที่ให้ความรู้มากมายและทำให้มาเฝ้าระวังตนเองและคนใกล้ตัวค่ะ ดีมากๆๆค่ะ

  • @joypan4012
    @joypan4012 5 місяців тому

    ขอบพระคุณค่ะ

  • @ampairat3012
    @ampairat3012 2 роки тому +1

    อาจารย์หมอซึ่งมีคุณค่า กับมวล มนุษย์มากมาย

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +10

    ◾สารอาหารบางอย่างถ้าขาดไปอาจมีผลต่อระบบความจำได้ ได้แก่
    🔹วิตามิน B12
    🔹โฟเลต
    🔹ทองแดง
    💥แต่สำหรับ _คนที่ไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้_ ไม่จำเป็นต้องไปทานเสริม เน้นว่า เฉพาะคนที่ขาดสารอาหารดังกล่าวข้างต้น
    ◾อาหารที่วิตามิน B12 เช่น เครื่องในสัตว์ เช่น ตับหมู ตับไก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยลาย เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม อาหารประเภทธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง
    ◾อาหารที่มีโฟเลตสูง เช่น ผักใบเขียวเข้มทุกชิด เช่น ผักคะน้า ผักโขม บร็อคโคลี่ และหน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว เช่น ถั่วลูกไก่ และถั่วเขียว ไข่ ผลไม้ เช่น อะโวคาโด มะละกอ และมะม่วง
    ◾อาหารที่มีทองแดงสูง เช่น หอยนางรม แอลมอนด์ ช็อกโกแลต วอลนัท เห็ด และตับวัว ที่มีปริมาณมากรองลงมา ได้แก่ ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญชาติต่างๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอต ข้าวไรย์ และข้าวโพด กุ้ง ไข่ กล้วย และอะโวคาโด

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 2 роки тому

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณมากนะคะคุณทริป ⚘💙⚘

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому

      ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล พรุ่งนี้จัดไปมะละกอ😁😋

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 2 роки тому

      โอ้โห ของชอบทั้งนั้นเลยค่ะ 😊

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@boomsong5729 ยินดีค่ะคุณมนต์..

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...มะละกอมีวิตามินหลายอย่างเลยค่ะ

  • @kumsornlandloepet4028
    @kumsornlandloepet4028 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ ฟังแล้วทำให้เข้าใจโรคความจำเสื่อมชนิดต่างๆได้ดีขึ้น ทำงานที่บ้านพักคนชรามีผู้ป่วยสมองเสื่อมหลากหลาย ทำให้รับมือและเข้าใจมากขึ้นค่ะ

  • @destinyshinz7158
    @destinyshinz7158 2 роки тому +3

    ต้องขอบคุณอาจารหมอเลยครับดูคริปนี้จบ เลยทำให้รู็ว่าไม่ได้ความจำเสื่อม แต่เป็นโรคไม่อยากจำ

  • @kungdoy1537
    @kungdoy1537 2 роки тому +1

    ที่ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบเพราะคุณพ่อเสียด้วยโรคอัลไซเมอร์เลยอยากรู้จักโรคนี้ ฟังเพลินจนไม่รู้สึกว่านานเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับคลิปดีๆ

  • @บังอรสุขชล-ฤ1จ

    คุณหมอคะทำไมหมอสมองที่เมืองไทยชอบให้ทานยานอนหลับคะ เป็นโรคมือสั่นค่ะ หมอให้ยาและหนึ่งในนั้นมียานอนหลับ และยาคลายกังวล ทานมานานสิบปีกว่าแล้วค่ะตอนนี้อายุย่าง70สังเกตตัวเองขี้ลืมมากขึ้นค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +2

      ต้องถามหมอที่ให้ยาให้เข้าใจครับ ผมก็ไม่สามารถอ่านใจหมอที่รักษาคุณได้ และผมไม่รู้บริบท ไม่มีข้อมูลใดๆ จึงไม่สามารถออกความเห็นอะไรได้ครับ

  • @Kathy_Nannapat
    @Kathy_Nannapat 2 роки тому +3

    Thank you ka 🙏🏼

  • @สุริศักดิ์หุณฑสาร

    คุณหมอครับ เล่าและอธิบายโรคไฟโบรมัยอัลเจีย นะครับ

  • @kanjaneejitchuen3172
    @kanjaneejitchuen3172 2 роки тому +2

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ คำอธิบายทำให้คนธรรมดาที่ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้เข้าใจอาการของโรคมากขึ้น

  • @ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ

    ลืมไปแล้วหรือจำไม่ได้ว่าทำไมรักน้อนสฺปฺทฺ์โรซี่ไม่ลืม

  • @maneeann
    @maneeann 2 роки тому +8

    👴👵 ผู้สูงอายุสมองเสื่อม
    🔶 Cognitive effects
    👉🏻 สับสนเวลา สถานที่ บุคคล
    👉🏻 สูญเสียความจำ ขาดสมาธิ พูดซ้ำถามซ้ำ
    👉🏻 สับสนทิศทาง หลงทาง กลับบ้านไม่ถูก
    👉🏻 มีความยากลำบากในการเรียนรู้สิ่งใหม่
    👉🏻 ความสามารถในการคิด การใช้เหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาแย่ลง
    🔷 Function effects
    👉🏻 ความยากลำบากในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ดำเนินชีวิตประจำวัน
    👉🏻 ความยุ่งยากในการรักษาความปลอดภัยจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องครัว
    👉🏻 มีปัญหาในการสื่อสาร นึกคำพูดไม่ได้ พูดหยาบ พูดไม่ถูกกาลเทศะ
    👉🏻 ฟังคำพูดไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไปเอง
    🔶 Behavioural effects
    👉🏻 สูญเสียทักษะทางสังคม
    👉🏻 มีพฤติกรรม วาจาก้าวร้าว รุนแรง
    👉🏻 มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไม่สมเหตุสมผล
    🔷 Psychological effects
    👉🏻 หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
    👉🏻 วิตกกังวล ซึมเศร้า
    👉🏻 ระแวง เห็นภาพหลอน นอนไม่หลับ
    👉🏻 ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +1

      ขอบคุณค่ะน้องแอน🌹🌹❤️

    • @maneeann
      @maneeann 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748 ขอบคุณพี่หมวยด้วยค่าาา 😍

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 роки тому +1

      @@maneeann
      ขอบคุณค่ะพี่แอน เพิ่งถึงบ้าน55

    • @maneeann
      @maneeann 2 роки тому

      @@Hoshi1451 เลิกดึกจัง หิวไหม 🍦พี่ง่วงแล้ว

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 роки тому +1

      @@maneeann
      😴ฝันดีนะคะ

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 2 роки тому +2

    ❤ขอบพระคุณอาจารย์หมอแทน ที่สละเวลา ทำคลิ้บนี้ยาวๆ ให้รายละเอียดทุกแง่มุม ป้าฟังจนจบแล้ว แชร์ แล้ว คงต้องกลับมาฟังอีกหลายรอบค่ะ เป็นคลิ้บที่ดีมากค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ เลย ขอให้คุณหมอและครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นนะคะ❤

  • @NekoFly
    @NekoFly Рік тому +1

    ยาเกี้ยวกับปัสสาวะนี้รวมถึงยาที่กินรักษาต่อมลูกหมากไหมคะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому

      ไม่เกี่ยวครับ

  • @mjjm1748
    @mjjm1748 2 роки тому +1

    อายุ58ปี หลังติดโควิดจำอะไรไม่ค่อยได้เลย สิ่งที่ทำเมื่อสามวันก่อน ลืมเลยค่ะคุณหมอ

    • @Chefaey
      @Chefaey 2 роки тому

      เป็นภาวะbrain fogนะค่ะ สิ่งที่ควรทำ
      1รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ500มู่หลานออกกำลังกาย
      2นอนหลับเป็นเวลาพักผ่อนให้เพียงพอดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
      3ไม่เครียด
      4ลองเล่นเกมส์ฝึกสมองเช่นชูโดกุ หรืออ่านหนังสือแล้วออกเสียงก็จะช่วยให้ดีขึ้นใด้น่ะค่ะ
      ขอให้สุขภาพ แข็งแรงขึ้นเร็วๆน่ะค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @anichalepat
    @anichalepat Рік тому

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอสุดยอดมาก🙏

  • @Betterworld233
    @Betterworld233 2 роки тому +1

    ขอบคุณซีรีย์สำหรับคนขี้ลืม ดีงามและอัพเดทมากๆค่ะ🙏💗
    ตั้งใจว่าจะเดินให้ได้40นาที/3วันต่อสัปดาห์

  • @laresn410
    @laresn410 Рік тому +1

    มียาอะไรบ้างที่ทำให้ประสาทสมองแข็งแรงขึ้น ตอนนี้มีปัญหามาก ไม่สามารถ ระวังตัวเรื่องวัดการระวังตัวใครเดินใกล้หรือเฉียดตัวกลัวแต่เขาจะชน หรือเราชนเขา หากเขาเดินตรงมาทางเรา เราทำได้แค่หยุดเดินให้เขาผ่านไปก่อน เราถึงจะเดินก้าวเท้าไปได้

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      ไม่มีเลยครับ ต้องหัดออกกำลังกายหลายๆประเภทเป็นประจำครับ

  • @suebowers6003
    @suebowers6003 Рік тому +3

    Hi Dr. Tany, I really appreciate that you have been giving us a lot of medical advises and sharing your experiences. I really love many of your VDOs. I would love to share them to my friends (an elderly couple) here in the US. Both of their mothers died because of dementia/Alzheimer's. I wonder if you could add CC in English. Or any recommendation?

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      Cc would have to be done manually and, unfortunately, I don’t have time to do that.

  • @sopapachara1885
    @sopapachara1885 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ พยายามฟังตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะ

  • @ทิณกรทักษิณ

    ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ​

  • @thanyamaiwonginjan7059
    @thanyamaiwonginjan7059 2 роки тому +1

    ขอบคุณค่ะ คนป่วยสมองเสื่อมเป็นคนที่น่าสงสารมาก(ทำงานบ้านพักพิเศษกับคนสมองเสื่อมที่ต่างประเทศค่ะ) เค้าไม่รู้อะไรเลยจริงๆ .... สยองมากถ้าคิดว่าถ้าเราเป็น? 😢😢

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +5

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    วันนี้เรื่อง... เจาะลึกโรคความจำเสื่อม ไม่ใช่มีแค่โรคอัลไซเมอร์ #ความจำเสื่อม #อัลไซเมอร์
    เนื้อหาวันนี้ยาวมาก ละเอียดมาก มีศัพท์ทางการแพทย์เยอะมากค่ะ ภาษาอังกฤษเยอะมากด้วยค่ะ
    ◾สมอง ถือเป็นอวัยวะที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย
    ◾ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเกือบทั้งหมด
    ◾แต่เมื่ออายุมากขึ้นพร้อมด้วยปัจจัยอื่นๆ สมองก็เสื่อมสภาพแบบค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลาและรูปแบบการใช้งาน
    ◾และแสดงออกทางร่างกายในรูปแบบต่างๆ ได้ หนึ่งในนั้น คือ อาการขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
    ◾ที่ถือว่าเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุด
    🟦การป้องกันเบื้องต้น
    ✴โปรดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การอยู่ การใช้ยา การใช้ชีวิตกันค่ะ
    ◾ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ต้องมีการพบปะผู้คน มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
    ◾ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องออกกำลังหนักหน่วง แต่ควรออกกำลังเป็นประจำ
    ◾การทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ ไม่คิดมาก
    ◾นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดหลับอดนอน
    ◾งด ลด หรือเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ◾ไม่ทานยาเยอะเกินไป หรือที่เรียกว่า ใช้ยาแบบฟุ่มเฟือย (polypharmacy)
    ◾ดูแลรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้ดี เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคภูมิต่อต้านตัวเอง ฯลฯ
    ◾อาหารเสริมต่างๆมัก✖ไม่ได้มีผลในการรักษา หรือ ป้องกันความจำเสื่อม ไม่ว่าจะเป็น
    🔹โอเมกา-3 วิตามินอี
    🔹วิตามินซี
    🔹เบตาแคโรทีน
    🔹เซเลเนียม
    🔹กลูต้าไธโอน
    🔹วิตามินดี
    🔹วิตามินรวม
    🔹ยาสตาติน
    💥ที่ไม่ได้ผลแน่ๆ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน DHDA แปะก๊วย นิวโรเบียน

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +1

      ขอบคุณมากค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...

  • @iamok905
    @iamok905 2 роки тому +1

    🌸🙏🙏ขอบคุณความรู้ดีๆในทุกวัน♥️👨‍⚕️🩺

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @Thanikul1976
    @Thanikul1976 2 роки тому +1

    ขอบคุณครับคุณหมอ
    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังดูแลผู้ใหญ่ในบ้านนะครับ

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 2 роки тому +2

    รอฟังอยู่ว่าจะเกี่ยวกับการจำความฝันของตัวเองไม่ได้หรือเปล่า ที่จะทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม ก็ไม่ได้ยินคุณหมอพูดถึง นะคะส่วนการหลงลืมในชีวิตประจำวัน ก็อาจจะมีบ้าง ถ้าไม่ควบคุมสติหรือคิดในหลายๆเรื่อง ในขณะเดียวกัน โดยไม่จดจ่อกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ บางครั้งลืมวาง กุญแจ แต่พอนึกถึงเรื่องที่ทำในตอนที่ใช้กุญแจ ว่ากำลังทำอะไรในตอนนั้น ก็จะนึกได้ และการลืมบางสิ่งบางอย่างเล็กๆน้อยๆ เป็นบางครั้ง คงยังไม่ถึงกับเป็นโรคสมองเสื่อมนะคะ 😉😉😉

  • @sujinsamolta8458
    @sujinsamolta8458 2 роки тому +1

    คุณหมอเก่งมากๆค่ะ
    👍👍👍
    ขอบคุณค่ะ

  • @ภาวิณีพลายละมูล

    สวัสดีค่ะอาจายร์หมอ
    มีประโยชน์มากค่ะ👍

  • @djtim4273
    @djtim4273 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏🙏

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณ มากๆค่ะ

  • @pattyinsandy
    @pattyinsandy 2 роки тому +1

    ละเอียดมากเลย ขอบคุณมากๆค่ะ🙏🏼

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 2 роки тому +6

    สาเหตุที่ทำให้ความจำเสื่อมมีมากมายเลย ฟังแล้วความเสี่ยงก็น่าจะน้อย แต่ก็เริ่มมีอาการลืมระยะสั้นบ่อยขึ้น😅
    เข้าห้องเรียนเต็มเวลาค่ะอาจารย์ แต่ช่วงการวิเคราะห์การรักษาก็อาจจะจำไม่ได้แล้ว ไว้เข้ามาฟังเรื่อย ๆ ค่ะ😅ขออนุญาตไปที่วิธีการป้องกันเลยค่ะ ถือเป็นการบ้านที่ต้องทำค่ะ😊
    ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมพบปะผู้คน ไม่เครียด ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปกติก็ไม่มียาทานประจำ โรคประจำตัวก็ยังไม่เจอค่ะ😄 แต่เมื่ออายุมากขึ้นก็มีอาการหลงลืมเป็นปกติอยู่แล้ว ก็น่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นความจำเสื่อมได้นะคะ หรือเป็นอัลไซเมอร์ไปเลย อาจารย์หมอสละเวลาให้ความรู้ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ค่ะอาจารย์ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

    • @ธัญนาฏศรีมันตะ
      @ธัญนาฏศรีมันตะ Рік тому

      ขอบคุณๆหมอป้าเป็นพากินสันฟังแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นขอให้ครอบครัวคุณหมอพบเจอแต่สิ่งดีนะคะเพราะคุณหมอก็ให้แต่สิ่งดีๆกับคนอื่นขอให้สิ่งดีๆเหล่านั้นกลับไปหาครอบครัวคุณหมอร้อยเท่าทวีคูณค่ะสาธุ

  • @nalineedeedee662
    @nalineedeedee662 2 роки тому +1

    ขอบคุณค่ะ😇😊

  • @benjawan6747
    @benjawan6747 Рік тому

    เป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @minnie007able
    @minnie007able 2 роки тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากที่มาให้ความรู้ค่ะ ❤

  • @mountainview9195
    @mountainview9195 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์🙏🌸
    ความรู้แบบนี้หาฟังได้ยากค่ะ

  • @วาสนาไชพิลา
    @วาสนาไชพิลา 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ

  • @maneeann
    @maneeann 2 роки тому +2

    🟠 โรคอัลไซเมอร์
    🔘 โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม ชนิดที่พบได้มากที่สุด
    🔘 ส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา
    🔘 อาการของโรคจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรง จนแย่ลงเรื่อยๆ ถึงขั้นไม่สามารถสนทนาโต้ตอบ หรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
    🔘 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรง
    🟠 อาการของโรคอัลไซเมอร์
    🔶 ระยะเริ่มต้น
    ▪️ ลืมบทสนทนา หรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
    ▪️ วางของผิดที่
    ▪️ ลืม หรือนึกชื่อสถานที่ สิ่งของไม่ออก
    ▪️ ทำอะไรซ้ำๆ
    ▪️ ต้องใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานขึ้นกว่าปกติ
    ▪️ ความสามารถในการตัดสินใจต่ำ
    ▪️ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้น้อยลง
    อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง
    🔶 ระยะกลาง
    ▪️ การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยาก
    ▪️ เกิดภาวะสับสน และสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคล
    ▪️ การทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนกลายเป็นเรื่องยาก
    ▪️ มีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำๆ หรือวู่วาม
    ▪️ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
    ▪️ มีอาการหลงผิด รวมถึงอาจรู้สึกหวาดระแวงหรือสงสัยในตัวคนรอบข้าง
    ▪️ มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด หรือการใช้ภาษาสื่อสาร
    ▪️ มีปัญหาด้านการนอนหลับ
    ▪️ เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มากขึ้น
    ▪️ ความยับยั้งชั่งใจลดลง
    ▪️ ทำงานที่ต้องใช้การกะระยะได้ลำบาก
    ▪️ มีอาการประสาทหลอน
    🔶 ระยะปลาย
    ▪️ อาการหลงผิด หรือประสาทหลอนที่เป็นรุนแรง
    ▪️ ผู้ป่วยอาละวาด เรียกร้องความสนใจ และไม่ไว้วางใจผู้คนรอบข้าง
    ▪️ กลืนและรับประทานอาหารลำบาก
    ▪️ เปลี่ยนท่าทาง หรือเคลื่อนไหวตัวเองลำบากต้องได้รับการช่วยเหลือ
    ▪️ กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่อยู่
    ▪️ ค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการพูดลงไปทีละน้อย จนไม่สามารถสื่อสารได้
    ▪️ มีปัญหาด้านความทรงจำในระยะสั้น และระยะยาวอย่างร้ายแรง

  • @nacharatsirithep2583
    @nacharatsirithep2583 Рік тому

    ความรู้นี้มีค่ามากค่ะ..ขอบคุณอ.หมอมากๆนะคะ

  • @suphamin8
    @suphamin8 2 роки тому +1

    สุดยอดค่ะคลิปนี้นานมาก

  • @syrine2491
    @syrine2491 2 роки тому +1

    ต่อก็เป็นนะคะปากจัดบางทีจะน้อยลงนะคะ ขอโทษด้วยค่ะหมอ
    ส่วนเรื่องความจำดีใจจังหมอแสดงว่า ต่อไม่เป็นแล้วค่ะเพราะยังจำได้อยู่ว่าลืมอะไร..

  • @supitraaramkitphota8454
    @supitraaramkitphota8454 2 роки тому +1

    อาจารย์สอนลึกระเอียดดีมากค่ะ

  • @Global.Warning
    @Global.Warning Рік тому

    Thank you so much for your kind. I love it. It top useful information for people life indeed. Thank you so much again Dr.

  • @conhaconpob
    @conhaconpob Рік тому +1

    ใครเรียนหมอ เก็บไว้ทวนได้เลยคะเนี่ย

  • @รัตนาศิริมี

    ขอบคุณมากๆๆค่ะ

  • @supavadeepholchai9130
    @supavadeepholchai9130 2 роки тому +1

    ชอบเขียนอธิบาย

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh 2 роки тому +2

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️♥️

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому

      น้องleo วันนี้ไปดูน้องโรซี่ได้ที่ช่องชุมชนนะคะ

    • @leo-jx2mh
      @leo-jx2mh 2 роки тому +1

      @@kanyamuay3748 ขอบคุณครับพี่🙏

  • @kanchanavoice7323
    @kanchanavoice7323 Рік тому

    วันหน้าจะถามคุณหมอเรื่องนี้เพราะความจำมันเสื่อมตามกาลเวลาสิ่งที่คุณหมอยกตัวอย่างมามันใช่เกือบหมด. ขอถามคุณหมอ การดูไอแพ็คนานๆและบ่อยมีผลต่อสมองเราหรือไม่?ตอบด้วยนะคะถ้ามีผลจะทำอยา่งไรดี

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому

      มันทำให้นอนไม่หลับครับ