SCR คืออะไร ? SCR ทํางานอย่างไร ?

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 19 сер 2024
  • สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
    สำหรับวันนี้ผมจะมาแนะนำอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์ตัวหนึ่ง
    ชื่อว่า SCR
    แล้ว SCR คืออะไร ?
    SCR ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์ สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง ย่อมาจากคำว่า Silicon-controlled rectifier
    ก็แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า วงจรเรียงกระแสที่ควบคุมด้วยซิลิคอน
    มันจะอยู่ในกลุ่มของ
    thyristors ไทริสเตอร์ ซึ่ง ไทริสเตอร์ มันก็คือพวกสารกึ่่งตัวนำ ที่นำมาเรียงตัวกัน 4 ชั้นขึ้นไปจากสารกึ่งตัวนำ2ชนิด
    นั้นก็คือ สารกึ่งตัวนำชนิด P แล้วก็สารกึ่งตัวนำชนิด N
    ซึ่งเมื่อเรานำสารกึ่งตัวนำทั้งหมด มาชนกัน ก็จะได้พื้นที่ 3 รอยต่อ หรือว่าพื้นที่ PN junction เกิดขึ้น
    เขาก็จะต่อขาข้างบน และล่างไปออกไปใช้งาน
    ขาข้างบนก็จะเป็น ขา A(anode)
    ขาข้างล่างก็จะเป็น ขา K(Cathode)
    และอีกขาหนึ่ง ก็จะเป็นขา G(gatte)ต่อระหว่างชั้นที่ 3
    แล้วมัน
    เหมือนไดโอดไหม ?
    นี่คือสัญลักษณ์ของไดโอด และ นี่ก็คือสัญลักษณืของ SCR
    สังเกตุว่ามันจะมีขาที่ 3 โผล่ออกมา
    ซึ่งปกติไดโอด ทั่วไปจะทำงานได้หรือนำกระแส มาจากการ ต่อขั้วแหล่งจ่ายให้ถูกต้อง และมีแรงดัน ไบอัสตรง ให้กับมันใช่ไหมครับ นั้นก็คือมีแรงดัน อยู่ที่ ประมาณ 0.3 - 0.7 V
    ไดโอดถึงจะทำงาน
    แต่ SCR ต่อให้มีแรงดันไฟมากกว่า 0.7 V เป็น 110V 220V เป็นพันโวลต์ ต่อคร่อมที่ตัวมัน มันก็ไม่ยอมนำกระแสอยู่ดีครับ
    แล้วแทนที่มันจะทำงาน กลับกลายเป็นเราเอง ที่ป้อนแรงดันไฟที่สูงเกินไปอาจจะพังทะลาย SCR ตัวนั้น พังเสียหายไปเลยก็ได้
    แล้วอะไรทำให้มันแตกต่างจากไดโอด
    การที่มันมีรอยต่อเยอะเกินไปนี่แหละครับ
    ไม่ว่าเราจะสลับด้านไหนมันก็ไม่สามารถนำกระแสได้
    เพราะฉะนั้น SCR เลยมีขาขา หนึ่งที่เป็นขาไบอัสการทำงานโดยเฉพาะ คล้ายๆทรานซิสเตอร์
    แต่เราเรียกมันว่า เป็นการ ทริก
    ลักษณะการทริกก็คือ ใช้ตัวต้านทานมาดรอปกระแสจากไฟบวก ให้มันมีค่าน้อยๆ สักประมาณ 18mA ก็ทำงานแล้วครับ
    เมื่อมันโดนทริก กระแสส่วนใหญ่ก็สามารถไหลผ่านจากขา A ไปขา K ได้ทันที
    ถ้าเพื่อนๆยังมองภาพไม่ออก SCR
    มันจะคล้ายๆ กับเรามีพันเฟืองอยู่2ตัว นั้นก็คือ ฟันเฟืองขนาดเล็กวางไว้ตรงนี้ 1 จุด
    และก็ฟันเฟืองขนาดที่ใหญ่กว่าวางไว้ตรงนี้อีก 1 จุด
    เมื่อเราปล่อยกระแสน้ำมาที่ท่อG
    ฟันเฟืองขนาดเล็ก จะไปกระตุ้นฟันเฟืองขนาดใหญ่ ที่ท่อ A ให้หมุน
    กระแสน้ำส่วนใหญ่ก็จะไหล จากขั้ว A(anode) ไปที่ขา K(Cathode) ได้อย่างอิสระ
    มันก็จะทำงานคล้ายๆแบบเดียวที่ผมพูดนี้แหละครับ แต่เป็นในระบบไฟฟ้า
    และเมื่อมันนำกระแสได้สำเร็จ ก็ถือว่ามันทำ หน้าที่ของมันได้อย่าง สมบูรณ์แบบ 100% แล้วแหละครับ
    และเพื่อนๆไม่จำเป็นต้องทริกกระแสค้างไว้
    เราสามารถ ใส่สวิตซ์ กดติดปล่อยดับ สักตัวก็พอครับ
    เพื่อเป็นการกระตุกการทำงาน
    ถ้ามาดูที่โครงสร้าง ของชั้นที่ 3 ขณะที่ตัวมันนำกระแสอยู่ สารกึ่งตัวนำชนิด P จะเปลี่ยนไปเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N ชั่วคราว
    เพราะฉะนั้นตอนนี้ ทั้ง 3 ชั้น เหมือนกัน
    ก็เท่ากับว่าตอนนี้ SCR มันได้กลายเป็น ไดโอด ตัวหนึ่งที่กำลังนำกระแสอยู่
    แต่เป็นไดโอดที่มีชั้น N ยาวกว่าไดโอดทั่วไป
    SCR ถ้าเราไปใช้กับ AC จะได้ แรงดันออกมาเพียงครึ่งคลื่นเท่านั้น
    แต่ถ้าจะนำไปใช้กับ DC ก็จะได้แรงดันไฟบวก ปกติออกมา
    ส่วนใหญ่เขาก็เลยนำไปใช้กับงาน DC จึงจะเหมาะสมกว่า
    แล้ว วิธีหยุดการนำกระแส ? เราทำได้อย่างไร
    ในเมื่อ เวลาเราทริกที่ขา G แล้วตัวมันนำกระแส เราจะมีวิธีที่จะทำให้มันหยุดการทำงานยังไง?
    จริงๆแล้วมันมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบนะครับ
    แบบที่1 ปลดแหล่งจ่าย อาจจะเป็นขั้วบวก ยกมันออก
    และแบบที่ 2 อาจจะปลดแหล่งจ่าย จาก ขั้วลบ ยกมันออก
    และแบบที่ 3 จะเป็นแบบบายพาสตรง ก็คือจะมีสวิตตัวหนึ่งเอาไว้ ต่อตรง จากขั้ว Aไปถึงขั้วK
    และเมื่อเรากดสวิตซ์ กระแสส่วนใหญ่จะเลือกไหลผ่านสวิตซ์ตรงนี้มากกว่า เพราะมันแทบที่จะไม่มีความต้านทานอะไรเลย
    ทำให้ SCR มีไฟไม่พอเลี้ยง และกลับไปสู่ สถานะดังเดิม
    ข้อดีของมันก็คือ
    1.เป็นอุปกรณ์ โซลิดสเตทสวิตซ์ (Solid state Switch) ซึ่งจะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเคลื่อนไหว ซึ่งก็เท่ากับว่าไม่มีหน้าคอนแทค
    เมื่อไม่มีหน้าคอนแทคก็ไม่มีการอาร์ก เกิดขึ่น
    2.ไม่สูญเสียกระแสในการไบอัส สังเกตุว่าจะเป็นการทริกเพียงครั้งเดียว กระแสทั้งหมดก็จะไหล
    เรามาดู SCR ตัวจริงกันบ้างครับ
    ตัวนี้จะเป็นเบอร์
    2N6399 ทนกระแสที่ 12A ถือว่าเป็นตัวยอดนิยมตัวหนึ่งเช่นกัน
    จะว่าไป ตัวมันก็ เล็กๆคล้ายๆกับ ทรานซิสเตอร์ อยู่เหมือนกันนะครับ
    ตัวนี้ ถ้าไปค้น datasheet
    ขาที่ 1 จะเป็นขา K
    ขาที่ 2 จะเป็นขา A
    และขาที่ 3 จะเป็นขา G
    และตัวถังของมันจะเชื่อมต่อกับขาที่2 เป็นขา A เช่นเดียวกัน
    ผมจะทำการสาธิต ทดลอง การนำกระแสของ SCR ดูนะครับ
    ก่อนอื่นนำ SCR เสียบกับ โฟโต้บอร์ด
    และ ผมจะใช้หลอดไฟใส้ เป็นโหลด ในวงจร
    ขาหลอด ข้างหนึ่ง ต่อเข้ากับขากลาง หรือขา Anode ของ SCR
    แล้วก็ใช้แบตเตอร์รี่ ขนาด 9V พร้อมขั่วถ่าน
    ต่อสายไฟบวกเข้ากับ ขาหลอดข้างที่เหลือครับ
    หลังจากนั้น นำสายไฟลบ มาเสียบกับขาที่ 1
    แล้วก็ใช้สายไฟสีเหลืองอีกเส้นหนึ่ง ต่อจั้มขั้วบวกของแบต เราจะต่ออกมาเป็นขาทริก
    และจะลดกระแสด้วยตัวต้านทานขนาด 500ohm
    ทีนี้ ผมจะลองทริกดูนะครับ โดยการ นำตัวต้านทานมา มาแตะที่ขา G
    ถ้ามันนำกระแสหลอดจะต้องสว่างครับ
    นี่ครับ สว่างจริงๆด้วย มันก็จะสว่างต่อเนื่องไปอย่างงี้จนกว่า แรงดันของแหล่งจ่ายจะหมด
    หรือ เราจะหยุดการนำกระแสของมัน
    วิธีหยุดการนำกระแส อย่างที่ผมบอกไป มีอยู่ 3 แบบ
    1. ปลดขั้วบวกของแหล่งจ่าย หลอดไฟมันก็จะดับ
    2. ปลดขั้วลบ ของมันก็ได้ หลอดไฟมันก็จะดับเช่นกัน
    3. การบายพาสตรง โดยใช้ สายไฟสีเหลือง เพียวๆ ต่อหลังโหลด ต่อคร่อม ระหว่างขั้ว
    Anode และขั้ว Cathode
    หรือจะใช้ สวิตซ์เพื่อทำการบายพาส ก็ได้เช่นกันนะครับ SCR ก็จะหยุดการนำกระแส
    และทั้งหมดนี้ก็คือ SCR แบบคร่าวๆที่ผมพอจะสรุปได้
    ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

КОМЕНТАРІ • 88

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  2 роки тому +5

    ⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน
    เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย..
    1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT
    2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
    ขอบคุณมากครับ

    • @chorwsportingclay5764
      @chorwsportingclay5764 2 роки тому

      อาจารย์ครับ อาจารย์ได้ทำหนังสือรวมอุปกรณ์ขิ้นส่วนอิลิค' ที่อาจารย์ลงคลิปไว้มั้ครับ

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  2 роки тому +9

    คลิปนี้ต้องขออภัยด้วยนะครับ เสียงขึ้นจมูกนิดหน่อย

    • @bewkm48tv
      @bewkm48tv 2 роки тому

      คิดอยู่ว่าวันนี้เสียงแปลกๆ หวัดกินรึป่าวครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

    • @kevdubchanel8095
      @kevdubchanel8095 2 роки тому

      @@bewkm48tv ชช

    • @supachok_klinkham
      @supachok_klinkham 2 роки тому

      ขอTriacด้วยครับ

  • @songwutk
    @songwutk 2 роки тому +2

    สอนดีมากเลยครับ
    ถ้าเมื่อก่อนผมได้ดูคลิปแบบนี้ คงจะเรียนจบอย่างมีคุณภาพ ความรู้ไม่ลงหม้อลงไห

  • @Dech976
    @Dech976 2 роки тому

    นำเสนอได้ดี ครับ เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี สไตล์ ฮ๊อบบี้ อิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจง่ายครับ

  • @cscsamsung9749
    @cscsamsung9749 2 роки тому +1

    ชอบครับ..ได้ทบทวนฟื้นความรู้เดิม..เอาสารกึ่งตัวนำ ต่างชนิดกันมาต่อกัน แล้วทดลองการทำงาน ได้ผลเช่นใดก็จะเป็นเช่นนั้นครับ..
    ขอบคุณครับ เติมเต็มความรู้.

  • @nittoo3321
    @nittoo3321 Рік тому

    อธิบายดีมาก
    ผมเพิ่่ง ดู ครั้งแรก เข้าใจง่าย

  • @luberrybside9028
    @luberrybside9028 2 роки тому

    ดูคลิปแล้วเข้าใจง่ายมากเลยครับ คิดถึงสมัยเรียน ไล่เปิดหนังสือดาต้าชีทเล่มเหลืองๆอย่างหนา สมัยนี้เปิดเอาในเน็ตง่ายๆเลย😅

  • @jkkung4944
    @jkkung4944 5 місяців тому

    ขอบคุณที่มอบความรู้ดีๆให้ครับ ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ

  • @thivaporlkawsarn1709
    @thivaporlkawsarn1709 2 роки тому

    สารดีๆมีมาเสริฟ อีกแล้ว ขอบคุณครับ...
    r 500 ohm. เทห์เลยครับ ทบทวนความรู้สมัย ปวช เลยยย

  • @user-dv7rl1xs6n
    @user-dv7rl1xs6n 2 роки тому +1

    ขอบคุณ ท่านที่อธิบายพร้อมภาพได้แจ่ม จิงจิง

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому

      ขอบคุณมากครับ

  • @papejinda7904
    @papejinda7904 2 роки тому

    กล่องCDIมอไซค์ (ระบบจุดระเบิด) ก็ใช้SCRเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเจอในมอไซค์ที่ใช้คาร์บูฯ ปัจจุบันมอไซค์ใช้หัวฉีดหมดแล้วระบบจุดระเบิดเลยเปลี่ยนไปใช้แบบทรานซิสเตอร์ เหมือนกับที่ใช้ในรถยนต์

  • @chaichana2277
    @chaichana2277 2 роки тому

    SCR ในงานของผมคือควบคุมกระแสไฟฟ้าให้กับฮีตเตอร์ ที่มีหน้าที่ต้มน้ำใน boiler ครับ แต่ไม่รู้เลยว่าหลักการทำงานมันเป็นอย่างไงทำได้แค่ปรับค่าอย่างเดียว ขอบคุณมากๆตรับ

  • @prasitthainthong2921
    @prasitthainthong2921 2 роки тому +9

    อยากให้ทำคลิ๊ปการวัดค่า ESR ความต้านทานแฝงในคาปาซิเตอร์ครับ และตารางค่าESR ครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому +1

      เดี่ยวเก็บข้อมูลก่อนนะครับ

  • @kunsekyodshine9099
    @kunsekyodshine9099 Рік тому

    แบ่งปันความรู้ได้ดีมากเลย เข้าใจง่าย ขอบคุณครับ

  • @suradidyunkun5670
    @suradidyunkun5670 2 роки тому +1

    เข้าใจดีมากครับสื่อสารสอนดีมาก

  • @nittoo3321
    @nittoo3321 Рік тому

    ผมจบ มหาลัย ปี47 ยังไม่มีคลิปดีๆๆๆแบบนี้เลย
    อยากกลับไปเรียนใหม่ คงได้ A ทุกวิชาแน่เลย คับท่านอาจาร์

  • @user-pd2lz7hf8z
    @user-pd2lz7hf8z 2 роки тому +1

    สู้ๆครับผม ความรู้ดีมากเลยครับผม ความรู้แน่นมากเลยครับผม สู้ๆครับผม ขอให้ประสบความสำเร็จครับผม

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому

      ขอบคุณมากครับสำหรับคำอวยพรดีๆ

  • @chonnakanrojnumpartheep2603
    @chonnakanrojnumpartheep2603 2 роки тому

    ชอบมากครับ​ อธิบายเข้าใจง่ายกว่านั่งเรียนในห้องอีก5555

  • @PampostReturning
    @PampostReturning 2 роки тому +1

    ขอบคุณครับผม.

  • @OppoA-ji7gh
    @OppoA-ji7gh 2 роки тому +1

    ขอบคุณครับ

  • @user-fr6yj8sj1o
    @user-fr6yj8sj1o 2 роки тому

    อธิบายได้เข้าใจดีมากครับ

  • @kriangkrainga6018
    @kriangkrainga6018 2 роки тому

    เยี่ยมครับ เข้าใจง่ายมาก

  • @user-ey2uc1pe2o
    @user-ey2uc1pe2o 2 роки тому

    อยากให้ทำ​ เซ็นเซอจับควัน​ จับความร้อน​ เย็น​ จับการเคลื่อนไหว​ จับระยะห่างไกล

  • @TheHyperbenz
    @TheHyperbenz 2 роки тому

    อธิบายได้ดีมากครับ

  • @user-wn1jc9pn1u
    @user-wn1jc9pn1u Рік тому +1

    ตอนต่อสายเข้าทิคSCRช่วยเขียนรูปวงจรลงในกระดาษจะเข้าใจขึ้นครับ

  • @mr.g_oo_dd_a_y9640
    @mr.g_oo_dd_a_y9640 2 роки тому

    ขอบคุณมากครับ

  • @sivakornt3988
    @sivakornt3988 10 місяців тому

    อธิบายได้เข้าใจมากครับ กดติดตามเลย

  • @nattapolpunpaen2539
    @nattapolpunpaen2539 9 місяців тому

    ขอบคุณครับ❤

  • @direk9999
    @direk9999 2 роки тому

    สอนได้ดีมาก ทำไมอาจารย์ที่สอนตอนสมัยเรียน ไม่ทำอย่างให้ดูน้อ ไม่งั้นเข้าไปใจไปนานแล้วครับ 55

  • @supaveesangtubtim7224
    @supaveesangtubtim7224 8 місяців тому

    ผมจะใช้ความรู้จากคลิปไปสอบวิชา EEE270 ครับ

  • @user-nf8up1lh5t
    @user-nf8up1lh5t 2 роки тому

    ขอถามครับการอ่านค่าcไม่มีขั้วที่มีแถบสีเหมือนตัวต้านทาน ตัวอย่างเช่น สี ส้ม,ส้ม,ดำ 33 หรือ 330 nfครับ เป็นช่างเขารู้กันแต่ผมเริ่มจาก0ครับผม

    • @lairwtiare
      @lairwtiare 2 роки тому +1

      ทุกคนเริ่มจาก 0 หมดเหมือนกันแหละครับ สู้ๆครับ
      ส้ม ส้ม ดำ น่าจะเป็น 33 pf หรือปล่าวครับ
      โดยหลักที่ สาม เป็นสีดำ หมายถึงเลข 0 หมายความว่า จะไม่มี 0 ต่อท้าย 33 (แต่ถ้าเป็น น้ำตาล ได้เลข 0 หนึ่งตัว , สีแดง ได้เลข 0 สองตัว)
      มันจึงเป็นเลข 33 ครับ
      แล้วก็หน่วยย่อยที่สุดของตัวเก็บประจุ คือ pf (ซึ่งน้อยกว่า nf 1000 เท่า)
      เลยได้เป็น 33 pf ครับ
      *pf อ่านว่า พิโคฟาหรัด ครับ

    • @user-nf8up1lh5t
      @user-nf8up1lh5t 2 роки тому

      @@lairwtiare ขอบคุณครับได้ความรู้มากเลยครับอธิบายละเอียดดีครับขอเป็นกำลังให้ครับ(ติดตามอยู่ครับ)

  • @nothing_Nothing100.
    @nothing_Nothing100. 2 роки тому

    ช่วยทำคลิบรวบรวม ไตรแอกหน่อยครับ

  • @TomHack555
    @TomHack555 2 роки тому +1

    สุดยอดครับ ตอนผมเรียนไม่มีแบบนี้บ้าง

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому +1

      ขอบคุณมากครับ

    • @teddydk8917
      @teddydk8917 2 роки тому +1

      ผมมายืนยัน ผมละโครตเบื่อจารย์เลย สอนจนจะหลับ วาดกราฟคำนวณๆ คือมันไม่มีภาพสมัยนั้นมันไม่เก็ท....วิชาดิจิตอลเหมือนกัน

    • @TomHack555
      @TomHack555 2 роки тому

      @@teddydk8917555 อาการเดียวกันครับ

  • @thud750
    @thud750 2 роки тому

    อยากข้อมูลของ ไดแอ๊ดครับ วันนี้เจอในที่ชาร์จแบตรถ งงอยู่พักนึง

  • @googij7927
    @googij7927 2 роки тому

    เอาจริงๆเลยนะ ถ้าผมดูทุกคลิปผมสร้างคอมฯได้เลยแหละ555

  • @it_idchannel5325
    @it_idchannel5325 2 роки тому

    ทดลองกับไฟ AC ให้ด้วยนะครับ

  • @sixnighthunhun6797
    @sixnighthunhun6797 2 роки тому

    อยากรู้เรื่องการทำงานมอเตอร์ครับ พี่เคยทำไว้รึยังครับ

  • @prasitthainthong2921
    @prasitthainthong2921 2 роки тому +1

    ติดตามครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому

      ขอบคุณครับ

  • @sakchaibam3003
    @sakchaibam3003 Рік тому

    เปิดตามลิ้งค์ของลาซาด้า/ช๊อปปิ้ จะไปหน้าแรก
    สินค้าเป็นอะไรครับ?

  • @user-yw1pp1hv8w
    @user-yw1pp1hv8w 2 роки тому

    พี่ครับอยากให้ทำเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้าให้ดูหน่อยครับ เรื่องออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้าครับ ว่ากิน A ใช้ V เท่าไหร่ ใช้ขดลวดเบอร์อะไร รอบเยอะแค่ไหน
    รอบมอเตอร์หมุนเท่าไหร่ ครับ

  • @Boyner.
    @Boyner. 2 роки тому

    ขอสูตรหาRให้zener diodeหน่อยคับ🙏

  • @tuivivo747
    @tuivivo747 10 місяців тому

    ใช้ไตรแอคแทนได้ไหมครับ

  • @numcnx4038
    @numcnx4038 2 роки тому

    เสียงพูดมีเสน่ห์นะครับ นึกว่าทำช่องสปอยหนังซีรี่ด้วยครับ
    N555 นี่เอามาขยายขับลำโพง2.0ch 4โอม 6 นิ้วไหวไหมครับ

  • @ul3996
    @ul3996 2 роки тому

    อธิบายได้ดีและเข้าใจง่ายขอชื่นชมครับสมัยผมเรียนยังไม่ละเอียดเท่านี้เลย

  • @Worapotchanel
    @Worapotchanel 2 роки тому

    น่าจะลองกับ AC ด้วยนะครับ ว่าต้อง ทริกค้างหรือเปล่า AC มีช่วงลูกคลื่นลบด้วย
    ขอบคุณครับ

    • @บักเติบยางตลาด
      @บักเติบยางตลาด 2 роки тому +1

      มันมีเส้นบางๆอยู่ ระหว่างช่างไฟฟ้า กับช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างอิเล็กๆ จะมุ่งเน้นไปทางไฟกระแสตรง DC มากว่า ถ้าเป็นไฟสลับแรงดันก็ต่ำมาก การอธิบายจึงไม่ค่อยมีที่เป็นไฟลสลับAC.

    • @Worapotchanel
      @Worapotchanel 2 роки тому

      @@บักเติบยางตลาด พอดีผมได้ข้อมูลมาว่าถ้าเอาไปใช้กับไฟกระแสสลับตัว scr จะหยุดทำงานเองถ้าไม่ทริกเกอร์ค้างแต่ผมไม่เคยลองอ่ะครับ เลยแนะนำให้ทดสอบกับไฟกระแสสลับด้วย ขอบคุณครับ

    • @supachok_klinkham
      @supachok_klinkham 2 роки тому +1

      ใช้กับไฟacไม่ทริกค้างครับ สำหรับไฟ3เฟสจะใช้scr moduleประมาณ6ตัว ในแต่ล่ะmoduleมีscr moduleล่ะ2ตัว เอาขั้ว+,-จ่ายให้มอเตอร์
      แล้วควบคุมการทำงานของscrแต่ล่ะตัวที่ขาเกต ใช้สำหรับควบคุมความเร็วมอเตอร์กระแสตรงครับ
      เลยไม่จำเป็นต้องใช้ไดโอดเพื่อแปลงไฟเพราะscrถึงจ่ายไฟacให้มัน เอาพุทก็จะได้เป็นไฟdcเสมอครับ

    • @Worapotchanel
      @Worapotchanel 2 роки тому

      @@supachok_klinkham ขอบคุณครับ

  • @user-wk4re2ki3s
    @user-wk4re2ki3s Рік тому

    คริปนี้เหมืนอาจารย์จะเป็นหวัดนะฟังจากเสียงอะ

  • @user-ce7yz1rm3s
    @user-ce7yz1rm3s 11 місяців тому

    ค่า R ที่ต่อกับขา G ต้องใช้ค่าเท่าไหร่ครับไฟ 12VDC

  • @Ai-Electronic
    @Ai-Electronic Рік тому

    ทำไมเค้าเลือกใช้รีเลย์ มากกว่า scr ครับ

  • @ongsaraseekaewtong9573
    @ongsaraseekaewtong9573 2 роки тому

    Scr ตัวเล็ก 1.25A/400v. คือทนกระเเส/แรงดันที่มาทริก หรือแบบไหนครับ

  • @would9478
    @would9478 2 роки тому

    แล้วเราต้องใช้ตัวต้านทานกี่โอมครับ

  • @user-fy2jn6oj6w
    @user-fy2jn6oj6w Рік тому

    ให้ความรู้ดีมากครับขอบคุณครับอาจารย์

  • @RsaFarms
    @RsaFarms Рік тому

    Scr ต่างกับ mcr อย่างไรคับ

  • @mourikogoro9709
    @mourikogoro9709 Рік тому

    เป็นสื่อการสอนระดับ AAA เลย

  • @user-pd2lz7hf8z
    @user-pd2lz7hf8z 2 роки тому

    Scr ทำไมความต้านทานต้องเยอะด้วยครับผม ในเมื่อไฟ 12 โวลท์ มันเยอะกว่าครับผม

  • @Thanawat_kub
    @Thanawat_kub 2 роки тому +1

    👍

  • @DGR_657
    @DGR_657 2 роки тому

    สอนวอธีทำอินเวอร์เตอร์700Wแบบง่ายๆหน่อยยฮะ

  • @naponghemmanee1244
    @naponghemmanee1244 2 роки тому

    ระหว่าง mosfet กับ scr ต่างกันยังไงหรอครับด้านการใช้งาน

    • @worawongdher7188
      @worawongdher7188 2 роки тому

      ตามความเข้าใจของผม scr จะทำหน้าที่เหมือนสวิทช์ ปิดเปิด อย่างเดียว ส่วน mosfet ทำหน้าที่เหมือนวาล์วน้ำ หรือโวลุ่ม ที่มีปั้มน้ำด้วย คือเพิ่มลดกระแส และขยายสัญญาณได้ ตามชนิดของ mosfet ก็จะเห็นในวงจรขยายเสียง วงจรพาวเวอร์สวิทชิ่ง อินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อมจุด และอื่น ๆ

  • @user-yb6gg8gv6c
    @user-yb6gg8gv6c 2 роки тому

    Scr สามารถนำขาgate
    Source ลง กราวนด์ เพื่อ
    Offได้ไหมครับ

    • @Followme____
      @Followme____ 2 роки тому

      Source ลงกราวด์มันก็ช็อต source พังไหม

  • @user-nm5cw1tn8b
    @user-nm5cw1tn8b Рік тому

    😁👍👍👍

  • @nattapolpunpaen2539
    @nattapolpunpaen2539 9 місяців тому

    #เอกภพจะเป็นแบบที่ผมคิดไว้หรือป่าวนะ😬✌️..
    ถ้าเอกภพคือชั้นบรรยากาศเตรียมตัวแก้หลังสรูตการศึกษาได้เลย😅(อนันต์ภพ)
    #ช้วยทดลองกล่องกระจกมิดซิดใส่ลูกแก้วจากอวกาศ
    (#เน้นให้มิดชิดสสารห้ามเคลื่อนออกได้)
    นี้คือการไม่เคลื่อนผ่านของสสารครับ(#เอกภพ)|;😅

  • @buisme
    @buisme 2 роки тому

    ตอบเกือบถูก

  • @user-jn5hp4ke6p
    @user-jn5hp4ke6p 2 роки тому

    😀❤❤❤

  • @Kamchaikwong
    @Kamchaikwong Рік тому

    ขอบคุณครับ

  • @user-kc7vn1uu4h
    @user-kc7vn1uu4h 2 роки тому

    คล้ายๆรีเลย์ที่ใช้ในรถรึป่าวครับใช่กระแสส่วนน้อยไปกระตุ้นให้หน้าคอนแทคชนกัน

    • @papejinda7904
      @papejinda7904 2 роки тому

      การทำงานไม่คล้ายเลยครับ รีเลย์จะใช้ไฟเลี้ยงขดลวดตลอดเวลาเพื่อให้หน้าคอนแทคต่อกัน แต่scrทริค1ครั้งที่ขาG(กดแล้วปล่อยสวิทช์) จะต่อวงจรยาวเลยจนกว่าแบตฯจะหมดหรือตัดกระแสเข้าขาKหรือA
      รีเลย์จะคล้ายกับ ทรานซิสเตอร์มากกว่า แต่เราก็สามารถทำให้รีเลย์ ทำงานเหมือนกับSCRได้ โดยเอารีเลย์2ตัวมาต่อกัน ทรานซิสเตอร์ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องใช้ทรานซิสเตอร์ชนิดpnpและnpn อย่างละ1ตัวและตัวต้านทานต่อที่ขาBทั้งสองตัว แล้วเอามาต่อกัน

    • @user-xl2rq2iu9v
      @user-xl2rq2iu9v 2 роки тому

      @@papejinda7904 เขาบอกว่าคล้ายไม่ได้บอกว่าเหมือน

    • @papejinda7904
      @papejinda7904 2 роки тому

      @@user-xl2rq2iu9v ครับ อยู่ที่มุมมองครับ ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ผมว่าจะคล้ายกว่านี้ครับ และรีเลย์ที่ใช้ในรถยนต์ ผมก็ยังไม่เคยเจอที่ว่าทริค1ครั้งแล้วต่อยาวเหมือน SCR เลย (หรือถ้าเคยเจอก็บอกได้ครับ) ต้องใช้ไฟเลี้ยงขดลวดตลอดเพื่อให้หน้าคอนแทคต่อกัน แต่ถ้าเป็นรีเลย์งานอื่นๆเคยเจออยู่ครับที่ทำงานเหมือนSCR

  • @PSK_s
    @PSK_s Рік тому

    ขอบคุณครับ

  • @kokonew9968
    @kokonew9968 2 роки тому

    ขอบคุณครับ