ไดแอค คืออะไร ไดแอค ทําหน้าที่ อะไร ? (Diac DB3)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 8 вер 2024
  • สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZIMZIM DIY
    สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ตัวหนึ่ง ชื่อว่า ไดแอค
    แล้วไดแอคคืออะไร ?
    ไดแอค ก็คือ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มของไทริสเตอร์
    แต่ตัวมันจะมีแค่ 2 ขาและก็ 2 ขั้ว เพียงเท่านั้น ขั้วหนึ่งเราเรียก ขั้วแอโนด1 (หรือว่า A1) และอีกขั้วหนึ่งเราเรียกมันว่า แอโนด 2(หรือ A2)
    สัญลักษณ์ ก็จะเป็นแบบนี้
    ดูแล้วก็จะเหมือน ไดโอด 2 ตัว ต่อกลับหัวกลับหางกันอยู่ ใช่ไหมครับ
    เพราะฉะนั้น ไดแอคมันสามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง เขาก็เลย นำไปใช้กับงานไฟฟ้ากระแสสลับ แต่ตัวมันก็ทำงานกับ ไฟฟ้ากระแสตรงได้เช่นกัน
    เงื่อนไขการนำกระแส
    ไดแอค จะนำกระแสได้ ก็ต่อเมื่อ มันมี แรงดันพังทลาย ค่าๆหนึ่ง หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า (Break Over Voltage)
    แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ไดแอค ตัวนั้นๆ ต้องใช้แรงดันพังทลายเท่าไหร่
    เราจะสังเกตุที่ตัวมันได้ครับ
    ซึ่งปกติร้านขายอุปกรณ์ อิเล็กทริกนิกส์ทั่วในบ้านเรา เดี่ยวนี้
    ก็จะขายกันอยู่ เพียง 1 - 2 เบอร์นี้เท่านั้น
    นั้นก็คือ เบอร์
    DB3 32V
    และก็อีกตัวหนึ่ง
    DB4 40V
    แต่ช่วงการทำงานของมันทั้งคู่
    อาจะน้อยหรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นปกติทั่วไป
    DB3 อาจจะอยู่ช่วง (28v-36V)
    DB4 อาจจะอยู่ (35v-45v) ก็เป็นไปได้
    แต่ก็อย่าประมาทนะครับ ไดแอครูปทรงอื่นก็มีเหมือนกัน
    รูปทรง ตัวส้มๆมีหัวสีดำ แบบนี้ ก็ไดแอค
    หรือว่าตัวสีฟ้าเล็กๆ ก็ไดแอค
    หรือว่าจะเป็นตัวส้มๆ มีขีดกลาง ตัวนั้นก็ไดแอค เหมือนกัน
    เอาเป็นว่า แรงดันเริ่มต้นของไดแอค มันจะนำกระแสประมาณ 30V ขึ้นไป
    เดี่ยวผมจะทำการทดลองอะไรบางอย่างให้ดูครับ
    ตอนนี้ผมมี สวิตชิ่ง 12V
    แล้วก็มีสเต๊ปอัพ 1 ตัว
    และนี่ก็จะเป็นวงจร ไฟส่องสว่าง 1ชุด ที่ประกอบไปด้วย หลอด LED สีแดง 2 ตัว ดรอปด้วยตัวตัวต้าน แล้วก็มี ไดแอค เบอร์ DB3 ต่ออนุกรมไฟบวก อยู่
    สังเกตุที่ แรงดัน ตอนนี้แรงดันอยู่ที่ 26V สังเกตุว่าจะไม่มีอะไรเกดขึ้นในวงจร
    ที่นี้ผมลองปรับแรงดัน ขึ้นดูนะครับ จากตัวสเต๊ปอัพปรับขึ้นไปที่ 27V 28V 29 30 ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะครับ นี่ครับผมคปรับ ประมาณ 34V กว่าๆ ไดแอคถึงจะนำกระแส
    และวิธีที่จะให้มันหยุดนำกระแส ก็คือง่ายๆเลยครับ ลดแรงดันมันลงมาเสีย นี่ครับ ต่ำกว่า 30V ปุ๊บ มันก็หยุดการนำกระแสปั๊บ
    เพราะฉะนั้นถ้ามันอยู่ในวงจร มันก็เป็นอย่างเงี้ยะแหละครับ
    แรงดันถึงเดี่ยวมันก็ต่อ แรงดันตกเดี่ยวมันก็ดับ ก็คือเป็นตัวเช็คแรงดันไปในตัว
    หากเรา ใช้ไดแอคตัวเดิม แล้วพลิกกลับ สลับขา สังเกตุว่า มันก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรนะครับ ไดแอคก็สามารถ นำกระแสได้ปกติ เหมือนเดิม ขอเพียงแรงดันพังทะลายมันถึงก็เพียงพอแล้ว
    ถ้ามาดูที่กราฟ ของไดแอก สังเกตุว่ามันสามารถ นำกระแสได้ทั้ง ซีก + และซีก -
    และก็จะใช้แรงดันค่าๆหนึ่ง เพื่อให้ ไดแอค ได้นำกระแส แล้วแรงดันตกคร่อมตัวมันก็จะตกลงมา แล้วมันก็จะกระแสก็จะพุ่งปีดขึ้นไปได้เลยครับ ในระดับ mA
    ส่วนใหญ่ การใช้งานของไดแอค มันไม่ได้ ป้อน ประเคน กระแสไปให้โหลดตรงๆ อย่างที่ผมทดสอบอยู่ อย่างตอนนี้นะครับ เพราะว่าตัวมันบอบบางทนกระแส ได้ แค่ แอมป์ 2 แอมป์ แค่นั้นเอง
    แต่มันจะได้รับเป็น บท พระรอง ซะมากกว่า
    มันจะทำหน้าที่ เป็นวงจร จุดชนวนให้กับไตรแอค พอแรงดันถึง มันก็ไปบอกให้ไดแอคทำงาน มันจะเป็นอย่างงี้ ซะมากกว่าครับ
    เพราะฉะนั้น คลิปถัดไป ก็จะเป็น อธิบายการทำงานของไตรแอค เจอกันคลิปหน้า ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

КОМЕНТАРІ • 45

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  2 роки тому +4

    ⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน
    เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย..
    1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT
    2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
    ขอบคุณมากครับ

  • @Aiyawarinfix
    @Aiyawarinfix 2 місяці тому

    เยี่ยมเลยที่ทดลองให้ดู

  • @thud750
    @thud750 2 роки тому +1

    รวดเร็วมากกก เพิ่งขอไปเอง

  • @montree8601
    @montree8601 2 роки тому

    ขอบคุณมากครับ ถึงบางอ้อแล้ว ทีแรกผมนึกว่าไฟออกจากตัวนี้แล้วจุดฉนวนขาเกจไตแอคนึกว่าต้องแรงดัน30v (แล้วขาเกจไม่พังรึ) พอเห็นLED ต่ออนุกรมอยู่ถึงกับเข้าใจเลย ขอบคุณอีกครั้งครับ

  • @Aiyawarinfix
    @Aiyawarinfix 2 місяці тому

    เอาไว้ตัดวงจรโซล่าเซลล์ออฟกริดดีเลย
    ใช้คู่กับแม็กแนติกสลับไฟบ้าน

  • @user-uy2tk6lk2u
    @user-uy2tk6lk2u Рік тому

    อาจารช่วยทำคลิปสอน เทคนิคการจำ ชิ้นส่วน แต่ละชนิดให้ดูหน่อยคับ ดูแค่ภายนอกไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรกันแน่ ชิ้นส่วยหลายชนิดคล้ายกันจนแยกไม่ออกเลยหัวก็จะปวดด้วยคับ ขอบคุนคับ

  • @MEan0207
    @MEan0207 6 місяців тому

    ขอบคุณครับ

  • @user-dv9zg8xr6d
    @user-dv9zg8xr6d 3 місяці тому

    ติดตามครับ

  • @kittaphas47
    @kittaphas47 2 роки тому

    มาในแนว เครื่อง ทำ น้ำ อุ่น แหละ ผมเห็น หลายคริแแล้วอ

  • @user-mg5wi4xl2d
    @user-mg5wi4xl2d 2 роки тому

    ทำคลิป UJT PUT ด้วยครับ

  • @animenarutoandborutoth6556
    @animenarutoandborutoth6556 2 роки тому

    ต่อไปหลอดแอลอีดีครับท่าน

  • @user-zy7sk1cx9h
    @user-zy7sk1cx9h 2 роки тому

    ชอบเข้าใจง่าย

  • @mikekj2214
    @mikekj2214 2 роки тому

    มีประโยชน์มากครับ

  • @user-nn5iy5wk1h
    @user-nn5iy5wk1h 7 місяців тому

    ถ้านำไดโอดสองตัวมาต่อไคว่กันมันจะแทนไดเอคได้ไม่คับ

  • @PampostReturning
    @PampostReturning 2 роки тому

    ขอบคุณมากคร้าปผม.

  • @komolkeawkamkong9022
    @komolkeawkamkong9022 Місяць тому

    ทำไมต้องใส่ ตัวต้านทาน ก่อนถึง LED

  • @user-is2uj6kb6v
    @user-is2uj6kb6v 2 роки тому

    ขอบคุณครับอาจารย์ได้ความรู้เพิ่มเติมรอชมภาค 2 นะครับเรื่องไดเเอค

  • @siriwatkijsopon8104
    @siriwatkijsopon8104 2 роки тому

    ขออนุญาตสอบถามครับ ในวงจรการทดลอง หลอด LED ตามปกติ มันทนแรงดันได้ประมาณ 3 โวล์ต แต่ในคลิปใส่ตัว R เพื่อดรอปกระแสไป หมายความว่า ต่อให้แรงดัน 30 V+ แต่ถ้าดรอปกระแสไปก็ยังสามารถจะทำงานได้เหรอครับ งั้นแสดงว่า การต่อหลอด LED ไม่ขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าใช่ไหมคับ

    • @user-xl2rq2iu9v
      @user-xl2rq2iu9v Рік тому

      หลอด led อยู่ในช่วง 1.5v-3v ครับแต่ละสีจะไม่เท่ากัน ถ้าเราใช้ร่วมกันตัว ต้านทาน มันรักสาระดับแรงดันตกคร่อมตัวเอง เท่ากับที่มันต้องการ แต่มันจำกัดกระแสไม่ได้ ถ้าตัวต้านทานค่าน้อยเกินไปกระแสจะไหลเยอะจนมันขาด เราสามารถต่อใช้กับไฟ 220v จากไฟบ้านก็ได้ แต่ต้องใช้ตัวต้านทานค่าสูงๆ โดยที่กระแสต้องไม่เกินแรงดันพังทลายของมัน

  • @anubitz89
    @anubitz89 2 роки тому +1

    แล้วทำไมต้องใส่ ใส่ไม่ใส่มีผลอย่างไรครับ

    • @DduckSocool
      @DduckSocool 3 місяці тому

      อยู่ที่จุดประสงค์ของวงจรครับ

    • @anubitz89
      @anubitz89 3 місяці тому

      @@DduckSocool นั่นแหละครับจุดประสงค์มันคืออะไร

  • @kimtingo3190
    @kimtingo3190 2 роки тому

    👍

  • @sayannopparat8568
    @sayannopparat8568 2 роки тому

    รบกวนครับ T3D คือตัวอะไรครับ ตัวสีดำ มี 2 ขา มีแถบสีเทา หาซื้อไม่ได้เลย มีเบอร์ไหนเปลี่ยนแทนได้บ้างครับผม

    • @ativat1
      @ativat1 4 місяці тому

      เป็นไดโอดแบบ TVS ถ้าจำไม่ผิด ไว้ป้องกันไฟ DC เอาพุตกระชากชั่วขณะ

  • @willyse7056
    @willyse7056 2 роки тому

    แอม(A)กับมิลิแอม(mA)ต่างกันอย่างไร.1แอมเท่ากับกี่มิลลิแอมครับ

  • @ItsGoolMCz
    @ItsGoolMCz 2 роки тому

    เม้นเเรกคับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому

      ขอบคุณมากครับ

  • @user-sq4ee1qy3y
    @user-sq4ee1qy3y 8 місяців тому

    😮😮😮

  • @user-zl4ii6tr6i
    @user-zl4ii6tr6i 2 роки тому

    สอบถามครับ ไดโอด ขนาด 70A สามารถจ่ายกระแสพีคได้เท่าไรครับ หรือ ต้องไม่เกิน70 Aตามสเป็คครับ

    • @thud750
      @thud750 2 роки тому

      ไม่เกินครับ ถ้าเกิน จะร้อนมาก จนขาด

    • @user-zl4ii6tr6i
      @user-zl4ii6tr6i 2 роки тому

      @@thud750 แต่เกินช่วงขนาดนะครับไม่ถึง3 วินาที

  • @user-ok7zj1bk3y
    @user-ok7zj1bk3y 2 роки тому

    เสียงเบาเกิน

  • @kakeewandesapai
    @kakeewandesapai 2 місяці тому

    ไดแอคหรือไตรแอคเค่อะ

  • @kakeewandesapai
    @kakeewandesapai 2 місяці тому

    อ๋อ ดูจบถึงรู้

  • @ไข่ย้อย
    @ไข่ย้อย Рік тому

    👍👍👍

  • @user-uw9jl8ku1h
    @user-uw9jl8ku1h Рік тому

    เสียงไม่ดังฟังไม่ได้ยินแก้ไขด้วยมีความรู้ดีขอยคุณ

  • @OppoA-ji7gh
    @OppoA-ji7gh 2 роки тому

    ขอบคุณครับ

  • @068.5
    @068.5 Рік тому

    ถ้าเอาอนุกรมกันค่าพังทลายมันจะเพิ่มเป็นสองเท่าไหมครับ

  • @user-cq8du2vm1z
    @user-cq8du2vm1z 2 роки тому

    ชอบมากช่องนี้ทำให้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้เกียวกับไฟฟ้าหลายๆสิ่งเลย

  • @ssrz-qp7ik
    @ssrz-qp7ik 2 роки тому

    ขอบคุณมากครับที่น้าให้ความรู้กับผมน้าเป็นไอดอลผมเลย

  • @user-dv8st1qq2w
    @user-dv8st1qq2w Рік тому

    เสียดายไม่ได้เรียนไม่เก่งคณิตศาสตร์ด้วย

  • @user-lp1cq4hq3w
    @user-lp1cq4hq3w 2 роки тому

    ขอบคุณครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому

      ขอบคุณมากครับ ที่มารับชม