ออปโต้ คืออะไร ? Optocoupler หลักการทํางาน ?
Вставка
- Опубліковано 9 лют 2025
- สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้เหมือนดั่งเช่นเคยครับ ผมจะมาแนะนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เรียนรู้ ง่ายๆ ตามแบบฉบับ สไตล์ช่อง ZimZim
และตัวที่ ตกเป็นเป้าหมายของเราในวันนี้ นั้นก็คือ ตัว ออปโต้คัปเปอร์ หรือที่บ้านเราเรียกกันสั้นๆว่าตัว ออปโต้
ออปโต้ ให้เพื่อนๆคิดว่ามันเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัว หนึ่งที่ด้านหนึ่งปล่อยแสงออกมา อีกด้านเป็นตัวรับแสงกลับเข้าไป
ให้เพื่อนๆเข้าใจลักษณะการทำงานเบื้องต้นของมันไว้เท่านี้ก่อน
เราไปรูปภันสันฐานมัน มันซะก่อน
มันจะมีลักษณะ 4 ขา
บนตัวของมัน มีร่องวงกลม หรือ รอยบาก อยู่ 1 จุด
ขาที่อยู่ใกล้ที่สุดจะนับเป็นขาที่ 1
เราจะนับเรียงลงมาจนสุดนะครับ พอสุดแล้วเราจะนับต่อจาก ขวาล่างขึ้นขวาบน
เราจะเรียกตาม ทางทฤษฎี ขาที่1ก็คือ ขา แอโนด
และขาที่2 ก็คือ ขาแคโทด
ตัวหนังสือด้านบน แน่นนอนครับว่านั้น ก็คือ เบอร์ของ เจ้าตัว ออปโต้
เอาสามารถเอาเบอร์ ออปโต้ ไปค้น Datasheet หารายละเอียดจากใน Google ได้ครับ
โดยปกติแล้ว เรามักจะเลือกใช้ Opto เพื่อ แยกวงจร 2วงจรออกจากกัน
สมมุติว่าผมมีบอร์ดตัวหนึ่ง ใบบอร์ดของผมมี วงจร A กับวงจร B
วงจร A ของผม ก็จะเชื่อมต่อขาที่ 1 กับ ขาที่ 2
ส่วนวงจร B ผมจะเชื่อมต่อขาที่ 3 กับขาที่ 4
และถึงแม้ว่าตัว ออปโต้ จะสามารถทำงานร่วมกันได้กับอีกหลายๆวงจร แต่ว่าวงจรทั้งสอง อย่างที่ผมบอกไป มันจะทำงาน แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
เมื่อวงจรทั้ง 2 ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกัน แต่ทำงานร่วมกัน
แล้วมันดียังไง
ข้อดีของมันก็คือ
1.ถ้าวงจรใดวงจรหนึ่ง ทำงานผิดปกติ ทำงานผิดพลาด เกิดเสีย เกิดช๊อต ขึ้นมา มันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร ให้กับอีกวงจรหนึ่งให้เสียหายเลย
2.การต่อลักษณะนี้ เราสามารถที่จะทำให้ วงจรหนึ่ง สามารถควบคุมอีกวงจรหนึ่งได้ แบบอัตโนมัติ
เขาก็เลยประยุกต์ใช้งานต่าง อย่างเช่นในสายงานสวิตชิ่ง
ใช้ Opto เป็น Feedback ไปให้ IC เพื่อรับรู้การทำงานของอีกฝั่งนึงได้
หรือว่า การใช้แยก กราวด์ร้อนกราวด์เย็น
และ เนื่องจาก ออปโต้ ทำมาจากสารกึ่งตัวนำเพราะฉะนั้นมันจะ ยอมให้กระแสไหลไปในทิศทางเดียว เท่านั้น
การต่อใช้งานเราจึงจำเป็น ต้องป้อนขั้ว+ขั้ว- ให้ถูกต้อง ถ้าหากป้อนไฟผิด เจ้าตัว opto จะไม่ทำงาน
ออปโต้ สามารถต่อประยุกต์ ใช้แหล่งจ่าย ชุดเดียวกัน ทำงานร่วมกัน หรือ แยก แหล่งจ่าย โดยที่ จัดแรงดัน และจัดกระแส ที่แตกต่างกันได้ อย่างอิสระ
ถ้าหาก เราจะเพิ่มความสามารถของมันโดยการ เพิ่มทรานซิสเตอร์เข้าไป 1 ตัวที่ Output มันก็จะนำกระแสได้เยอะขึ้น
ออปโต้ มันไม่ได้มีแบบเดียวนะครับ มันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งใช้งานกับไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ
ทั้ง Phototransistor เอาไว้ General Purpose Switching DC
Phototriac เอาไว้ Controlling AC loads
Photo-scr เอาไว้ Controlling AC loads
แต่ในการอธิบายในวีดีโอนี้ เราจะใช้ เวอร์ชั่นพื้นฐาน ในการอธิบาย
เรามาดูสัญญลักษณ์ ของตัว ออปโต้กันบ้างครับ
ถ้าสังเกตุ เราจะห็นขาที่ 1 กับ ขา ที่ 2 เป็นสัญลักษณ์ ของไดโอด เปล่งแสง ไดโอดเปล่งแสงก็คือหลอด LED ใช่ไหมครับ แต่ข้างในมันจะไม่ใช่หลอด LED ธรรมดา แต่จะเป็น LED แบบอินฟราเรด
ตามที่เราเข้าใจ แต่แสงอินฟาเรด ค่ามันจะเกินการรับรู้ของสายตามนุษย์
เราจึงมองไม่เห็นแสงนี้ แต่สามารถทดสอบ โดยการกดปุ่มรีโมทค้างไว้ แล้วเรามาดูผ่านกล้องมือถือ เราก็จะเห็นเป็นแสงฟีฟ้าออกมา นั้นก็คือแสงอินฟาเรด
นอกจากกล้องมือถือของเราแล้ว อีกฝั่งหนึ่งมันก็สามารถับรู้แสงตรงนี้ได้เช่นกัน ฝั่งตรงข้าม มันมีชื่อว่า โฟโต้ทรานซิสเตอร์
สัญลักษณ์ของมัน จะมีลักษณะคล้ายๆ ทรานซิสเตอร์ แต่มันไม่มีขา Base เพราะฉะนั้น การไบอัสของมันก็คือการรับแสงเข้าไปนั้นเอง
ถ้าเราจำลองการทำงานก็คือ เมื่อป้อนแหล่งจ่าย ที่ขา 1 ขา 2 มันก็จะมีแสงอิฟาเรด ปล่อยออกมา
เมื่อตัวตัวโฟโต้ทรานซิสเตอร์รับรู้ว่ามีแสงส่องมาโดน มันก็จะยอมให้กระแสที่ไหลผ่านขา 3 ไหลต่อไปที่ขา 4
หลักการทำงานมันมีแค่นี้เลยครับ
แต่ตัวจริงๆ มันจะมีฉนวนหุ้มเอาไว้ เราเลยมองไม่เห็นแสง ขณะที่มันทำงาน
และการมีฉนวนหุ้มก็ช่วย ป้องกันแสงจากภายนอก ที่อาจจะ สาดส่องรบกวน ทำให้วงจร ผิดเพี้ยนไปได้
เราสามารถ ทดลองทำวงจรง่ายๆ โดยการ
จัด กระแส
หลอด LED infrared
ลักษณะการทำงานตอนนี้
มันก็จะทำงานเหมือนกับ ออปโต้ เลยครับ แต่ผมอาจจะต้องใช้เทปพันสายไฟพันเอาไว้สักหน่อยเพื่อป้องกัน แสงรีโมททีวีที่ส่องเข้ามา
ผมจะลองเปลี่ยนเป็นออปโต้ สังเกตุว่า ใช้งานแทนกันได้เลย และประสิทธิภาพ ก็ทำงานได้ดีกว่า
OPTO ที่จริง มันไม่ได้มี 4 ขาเพียงอย่างเดียว
บางตัวมี 6 ขา บางตัวมี8ขา
ยิ่งขา เยอะยิ่ง ละเอียด ตรวสอบการทำงานได้หลายๆจุด
และในวงจร Switching แทบทุกรุ่น ก็จะใช้ตัวมัน ในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้า ด้าน DC ว่าทำงานปกติดี หรือเปล่า
เดี๋ยวยังไงรายละเอียด ค่อย พูดถึงอีกทีละกันนะครับ
การวัดดีเสียเบื้องต้น
ให้เพื่อนๆ คิดว่าข้างหนึ่งคือไดโอดข้างหนึ่งคือทรานซิสเตอร์ข้างหนึ่ง
ข้างที่เป็นไดโอด ถ้าเพื่อนๆ มีมัลติเตอร์แบบเข็มให้ ตั้งค่า Rx1 หรือ Rx10
ให้วัดขา 1 ขา 2 สลับกัน ต้องขึ่น 1 ไม่ขึ้น 1
ถ้าขึ้นทั้ง 2 ครั้ง ลัดวงจร ถือว่า ช๊อต
ไม่ขึ้นทั้งสองครั้ง แสดงว่าหลอด ขาด
ข้างที่เป็นทรานซิสเตอร์ให้ตั้งค่า Rx1k หรือ Rx10k
ลักษณะการวัด ก็เหมือนกัน ครับก็คือ
วัดขา 3 กับขา 4 สลับกัน ต้องขึ่น 1 ไม่ขึ้น 1
ถ้าขึ้นทั้ง 2 ครั้ง ลัดวงจร ถือว่า ช๊อต
ไม่ขึ้นทั้งสองครั้ง แสดงว่าหลอด ขาด
สำหรับ เจ้าตัว ออปโต้คัปเปอร์ ที่มีขาย
ผมขออธิบายคร่าวๆไว้เพียงเท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
เป็นความรู้ที่ดีมากๆเลยคับ กำลังหาข้อมมูลเรื่อง opto อยู่พอดีเลย อธิบายได้เข้าใจง่ายมากๆเลยครับ
ขอบคุณครับผม
@@ZimZimDIY ขอวัดมอสเฟต ดีเสียหน่อย
ขอขอบคุณแทนเด็กที่เรียนด้าน อีเล็คฯ ความรู้ดีๆ เยี่ยมๆๆๆ
⚠️เนื่องจากหลายๆคลิปข้อมูลเนื้อหา ใช้เวลาเรียบเรียงค่อนข้างนาน
เพื่อนๆสามารถเป็นกำลังใจ...สนับสนุนค่ากาแฟ☕ เล็กๆน้อยๆ ให้ทีมงานเราได้
โดย..ผ่านช่องทางเหล่านี้
1. สมัครสมาชิกรายเดือนของช่อง (20 - 80 บาท)
2. ซื้อสินค้าอะไรก็ได้ ร้านใดก็ได้ ผ่าน Shopee ลิงค์นี้ 👉 shope.ee/8encLFBkcT
3. ซื้อสินค้าอะไรก็ได้ ร้านใดก็ได้ ผ่าน Lazada ลิงค์นี้ 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
ผมกดเข้าไปแล้วไม่เห็นสินค้าขายสินค้าประเภทไหนครับ
กดเข้าไปใน shopee ไม่เจอครับ อยากอุดหนุนครับ หาช่องที่ผู้บรรยาย อธิบายได้เข้าใจแบบนี้ยากมากครับ
ไม่เจอนะครับ
ไม่เจอนะครับ
ไม่เจอคับ
ขอหลักการทำงานของเอฟเฟคกีตาร์บ้างครับ มันมีแจกลายวงจรในเวปเยอะแยะมากมาย ลองมาทำเล่นดูใช้ได้ แต่ไม่รู้อะไรเลยว่ามันทำงานยังไง ใส่อุปกรตามอย่างเดียว มีเสียงแตก คอรัส ดีเล รีเวิบ
สุดยอดทั้งภาพและเสียง😍😍
อธิบายดี ภาพประกอบดีชิบหายเลย👍
อธิบายได้สุดยอดมากเลยครับ มีครบเลย ข้อมูล และการตรวจเช็ค
คลิปดีมากๆเลยครับ ทำมาอีกเยอะๆ นะครับ ชอบตรงมีสอนวัดเช็คอุปกรณ์ด้วย
ชอบช่องนี้มากๆคับ
ผมกำลังเรียนยุพอดี เป็นความรู้มากๆครับ
ต่อไปขออธิบายcrystal ossillaterคนไทยยังไม่มาอธิบายเลยว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นนี้มันคืออะไร
ทำคลิปเกี่ยวกับการวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดี เสียหน่อยครับ
เยี่ยมมากคับ ดูแล้วเข้าใจง่าย ภาพประกอบสวยงามมากด้วย FC.ติดตามคับ.
เยี่ยม..เข้าใจง่าย..ขอบคุณนะที่ทำคลิปดีๆมาให้ความรู้
ไม่เคยเรียนครับ...แต่พอเห็นสัญลักษณ์ก็เข้าใจการให้ ไบแอส กับวงจรครับ...โลกอีเล๊คโทรนิค์ไปไวมาก..ผมคงตกรถไฟฟ้าไปแล้ว..ตามไม่ทันครับ...
ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสามารถเข้าใจอะไรแบบนี้ได้ จนมาเจอช่องนี้ครับ ขอบคุณมากๆ
อยากให้พี่กลับมาทำdiyอีกครับ อยากให้ทำพวกลำโพงหรืออะไรก็ได้ครับ
ดันนน
ได้ครับ
ได้ครับ
ขอบคุณครับ นักสื่อสารไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
พี่คัดของวัดมอสเฟต ดีเสียหน่อย
กำลังหาพอดีเลย
สุดยอดครับ ขอใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ไหมครับ?
ผมจำได้แม่นจากในหนังสือเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์ตัวนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะมันเป็นคอมโพเน้นท์สำคัญในเครื่อง EKG หรือเครื่องอิเลคโทรคาดิโอกราฟ ที่ใช้วัดคลื่นหัวใจ เพราะเครื่อง EKG โดยเฉพาะรุ่นเก่าๆ มันมีวงจร high-volt เป็นส่วนประกอบ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ opto แยกวงจรส่วนนี้ ออกจากส่วนที่ต่อกับตัวคนเพื่อ amplify กระแสไฟของกล้ามเนื้่อหัวใจ
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆนะครับ
กดเข้าไปใน shopee ไม่เจอครับ อยากอุดหนุนครับ หาช่องที่ผู้บรรยาย อธิบายได้เข้าใจแบบนี้ยากมากครับ
ทำคลิปออกมา สุดๆๆ ของการเรียนรู้เลย
กระจ่างเลยครับพี่ ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
กระจ่างเลยครับ ขอบคุณครับสำหรับวีดีโอชุดนี้
เป็นกำลังใจให้ครับ
สุดยอดครับ , ถึงไม่ได้เรียนมาแต่ก็พอเข้าใจได้บ้างครับ😊
เราสามารถจ่ายไฟให้ขา 1 ขา 2 ได้เท่าไหร่บ้างครับ
พี่ช่วยอธิบายวงจร SCL/SGA/GNDใน power supplyให้หน่อยได้ไหมครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง
ดีจังน่าฟัง
ช่องนึ้ผมชอบมากที่สุดเลยสอนแบบชัดเจน สุดๆ
อัดทุกEP.ลงในแฟสไดร์ได้มั๊ยครับ..ผมจะชื้อมาให้ลูกชายไว้ศึกษา
ทำคลิปออกมาอีกครับ
ขอบคุณที่มาอธิบายให้ฟังครับ
เรา ชอบ นาย 😊
เรา จะ ดู ทุกคลิป เลย 🎤
เรา อยากให้ นาย ลอง
อธิบาย และ DIY เกี่ยวกับ แผ่น peltier หน่อย น่ะ 🙏
สุดยอดครับเห็นภาพชัดเจนมากเลย
สอบถามครับพอดีผมพึ่งซื้อตัวออปโต้4ขามาจากร้านใหม่สดๆเลยครับแล้วก้นำมาวัดดตามคลิบที่คุณมาสอนมันวัดขึ้นแค่ขา1กับขา2ส่วนขา3กับขา4วัดไม่ขึ้นแม้สลับสายมิเตอร์แล้วก้ตาม
ผมก้อเลยงงครับว่าตกลงมันเสียหรือดีครับแบบนี้
ขอบคุณช่องนี้คับที่ไหนความรุ้
ให้ความรู้มากครับ
อธิบายเข้าใจง่ายดีครับ
สุดยอดคลิปดีมากๆ เข้าใจง่าย
ช่องสอน Electronic ที่ดีที่สุด
พี่รับคลาสดี pa สวิตชิ่ง 3600rms ไปประกอบทำคลิปสักชุดมั้ยครับ อุปกรณ์ผมมีให้พร้อมลงกล่องครับ น่าจะมีหลายคนที่อยากดูนะครับ
สุดจัดอาจารย์
หลักการทำงานถูกใจมากครับ
ผมอยากเข้าใจ วงจรLPF ครับพี่
(ถ้าว่าก็อธิบายให้หน่อยนะครับ💕💖)
ผมทำคลิปไปแล้วนะครับ
วงจรB ฝั่งทรานซิสเติร์รับไฟได้กี่v ครับ
ขอบคุณมากครับ อธิบายได้เข้าใจง่ายมากๆเลยครับ
ช่องดีมีประโยชน์ ขอบคุณครับ
ลำโพงบลูทูธ ใหม่ๆก็รับ ได้ดีแต่ฟังไปๆรับไมได้เฉยเลยครับ อารนี้มันเป็นที่อะไรเสียครับ
วงจรแอร์อินเวอร์เตอร์ วงจรภาคจ่ายไฟ
วงจรขับคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น มีใช้เยอะ และเสียบ่อยด้วยครับ
อธิบายได้เข้าใจมากๆเลยยย💖
ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหลับ"แบบของ"กำเนิด
คิดถึงสมัยเรียนเลยครับ
อธิบายโคตรดี เคยเรียนมา ไม่เคยเคลียร์แบบนี้เลย
ทำคลิปอินฟราเรดให้หน่อย
ขอบคุณมากครับ
อธิบายเข้าใจมากเลยค่ะ อยากจะให้อธิบายการทำงาน thermocouple ให้ดูบ้างค่ะ
การใช้งานคล้าย Delay เลยครับ
ละเอียดมากคัย
ถ้า opto ใช้แหล่งจ่ายเดียวกัน เราจะใช้ opto ทำไมครับ พอจะช่วยยกตัวอย่างลักษณะงานที่จำเป็นต้องใช้ opto ที่ใช้แหล่งจ่ายเดียวกันด้วยครับ
ติดตามมานานแล้วครับ
กด ซัพ เลย เนื้อหาดีม้วกๆๆครับ
สอบถามหน่อยครับ ถ้าเราจ่ายกระแสเข้าขา1กับขา2น้อยขา3และ4ก็ออกน้อยหรือป่าวครับ ถ้าเราจ่ายมากมันก็ออกมากตามเหมื่อนทรานซิสเตอร์เลยป่าวครับ
อธิบายได้เยี่ยมมากครับ
อาจานครับ ออปโต้ส่วนใหญ่จะมีเบอร์หลักๆกี่เบอร์ครับ เวลาเราเปรี่ยนจะต้องใช้เบอร์เดิม หรือคนระเบอร์ได้ไหมครับ
Presentation ดีมากเลยครับ
สวัสดีครับ😊
ก็ว่าก้อนอะไรอยู่บน Relay ขอบคุณมากครับ
อธิบายดีมากครับเยี่ยมๆ
ออฟโต้ 4ขา, ตั้งค่าR x 10 k วัดขา 3กับ4. ค่าโอมห์ ที่วัดได้ ควรมีค่าเท่าไหร่ครับ ที่ยอมรับได้
ขอบคุณอาจารย์ครับ
เหมือนย้อนไปสมัยปวช เมื่อเกือบ20กว่าปีก่อน
อธิบายดีมากเลยครับ ขอบคุณครับ
อธิบายไตรแอคให้หน่อยครับ
ขอบคุณมากครับ!.
อธิบายละเอียดดีเข้าใจง่ายเลยในคลิปเดียว ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณมากคับ 🙏🏻
ทำงานเหมือนรีเลย์เลยครับ
สุดยอดครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ด้วยครับ
สมัยเรียนถ้ามียูทูปเกรดดีแน่
ติดตามครับ
เหมือนsolit stage relay
สอนเข้าใจง่ายคับ
ไปเป็นอาจารย์สอนเด็กๆ น่าจะทำให้เด็กกระจ่างมากขึ้น ทุกวันนี้ความรู้เกิดจากการมโนและท่องจำ ถามว่าเข้าใจไหม 😁😁😁 ท่องเอาไปกาข้อสอบครับ
เขาก็เป็นอยู่ไงครับ เขาสอนผ่านยูทูปไง
ดอกบัวมี 5ดอก6-7ก็ค่อยๆติดตามครับ..
ต้องซื้อไหม่อีกเซงเลยครับ
ทนแรงดันได้กี่โวลต์หรอครับ
ตามครับ ผม
สื่อสารข้อมูลได้ดีครับ เก่งมาก คนไม่เข้าใจฟังยังเข้าใจได้เลย
พี่ครับ ต่อไปผมขอหลักการทำงานของรีเลย์ไฟเลี้ยวแบบ 2ขาของรถมอเตอร์ไซค์หน่อยครับ ว่ามันทำงานยังไง ผมแกะออกมาดู มันมีแค่ R 1ตัว L กับ C 1ตัว ต่อกันไว้ ไม่มีไอซีอะไรควบคุมเลย อยากรู้ว่ามันทำให้ไฟกระพริบได้ยังไงครับ
ขออธิบายแบบบ้านๆนะครับ มันทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติการเก็บประจุสลับคายของตัว C ครับ
- จังหวะแรก เป็นสถานะที่ศักย์ทางไฟฟ้าของตัว C เท่ากับศูนย์ ไฟเลี้ยงทั้งหมดจึงวิ่งไปชาร์จตัว C จึงไม่เหลือไฟไปทำให้หลอดไฟติด
- จังหวะสอง เมื่อตัวเก็บประจุ (ตัว C) ถูกชาร์จเต็ม มันก็จะคายหรือปล่อยประจุหรือแรงดันออกไป สังเกตุให้ดีว่าจังหวะนี้ศักย์ทางไฟฟ้าที่ตัวเก็บประจุ มันสูงกว่าหลอดไฟ กระแสไฟจึงไหลไปยังหลอดไฟทำให้ไฟติด
หลังจากนั้น ก็จะกลับเข้าสู่จังหวะที่ 1 ใหม่ คือไฟส่วนใหญ่จะวิ่งไปยังตัว C
ส่วนตัว R และ ตัวขดลวด L นั้นมีเพื่อให้กระแสมันเรียบและเสถียร
...
วงจรไฟกระพริบแค่วงจรเดียว ไม่ต้องมีตัว IC มันก็ทำงานได้ ทำให้วงจรมีราคาถูกลง
แต่ถ้าเราต้องการต่อร่วมกันหลายวงจรและจังหวะกระพริบซับซ้อนขึ้น ก็จะต้องมี IC ทำงานร่วมด้วย
@@johnlee8863ที่ผมลองไล่ดูตัวR มันต่อคร่อมขาไฟเข้ากับขาไฟออกเลยครับ ค่า150โอห์ม ลองถอดออกวงจรก็ทำงานได้ปกติ แต่ถ้าใส่ไว้เวลาวงจรทำงาน Rจะมีความร้อนระดับหนึ่ง ส่วน Lมันพันไว้รอบแกนเหล็กเลยครับ มีสองชุดอีก มีชุดความต้านทานสูงกับความต้านทานต่ำ แถมวงจรนี้ถ้าหลอดไฟเลี้ยวขาดไป 1หลอด ไฟจะไม่กระพริบด้วยครับ ไฟจะติดค้างเลย มันรู้ได้ยังไงว่าหลอดไฟขาด กับอีกอย่างหนึ่ง ผมลองเอาลวดมันพันเพิ่มที่ขดลวดความต้านทานต่ำให้มันมีค่าความต้านทานสูงขึ้น ไฟดันกระพริบเร็วขึ้นอีกครับ เลยงงๆกับตัววงจร
ตอนเรียนอยู่หน้าจะมี สื่อการเรียนแบบนี้ เข้าใจง่ายกว่า
817กับ814เช็คเหมือนกันไหมครับ
การวัด ออปโต้ ควรถอดออกจากบอร์ดวงจร มาวัดข้างนอกหรือปล่าวคับ ?
ถูกต้องครับ
บรรลุธรรม
เจ้าของช่อง เป็นคนเหนือแม่นก่อครับ
มีออปโต้ เบอร์อะไรที่ไม่ปล่อยกระแสไฟเข้าไปแล้วทำงานบ้างครับ
อุปกรณ์ตัวนี้คือพระเอกในการใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์งานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังเพราะมันจะป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามาทำให้ ไมโครคอนโทรลเลอร์เลยหายได้ ผลทดลองแล้วเกิน 10 ปี ทำงานได้สบายมาก