Це відео не доступне.
Перепрошуємо.

กราว(Ground) กับ นิวตรอน(Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 26 лют 2022
  • สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDiy
    สำหรับวันนี้ผมจะมา อธิบาย เกี่ยวกับ หัวข้อ
    กราว กับ นิวตรอน ต่างกันอย่างไร ? ทำไม การไฟฟ้าต้องบังคับ ให้จั้มถึงกัน ด้วย
    ก่อนอื่น ผมอยากให้เพื่อนๆ เข้าใจ Concept ไฟฟ้า ไปในทิศทางเดียวกันซะก่อน ซึ่งนิสัยของมันจะมีอยู่ด้วยกันสามข้อดังนี้ครับ
    1.ไฟฟ้าจะไหลผ่านวงจร ก็ต่อเมื่อ มันเชื่อมต่อกันแบบ สมบูรณ์ เท่านั้น
    หากเราสัมผัสกับสาย Line ตัวเราเองก็อาจจะทำให้วงจร สมบูรณ์ขึ้นได้
    2.ไฟฟ้าจะพยายามที่จะกลับไปยังแหล่งกำเนิดของมันเสมอ
    3.ไฟฟ้าจะไหลไปในเส้นทางที่มันไปได้ทั้งหมด เพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และเลือกเส้นทางที่มีค่าความต้านทานน้อยกว่า
    ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลไปเส้นทางนั้นมากกว่าเส้นทางอื่น
    แล้วสายกราวด์มีไว้ทำไม ?
    สายกราวด์หลักๆเลยก็คือ ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟที่รั่ว
    เพราะว่า สายกราวด์ในสภาวะปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ในกรณีที่ เกิดความผิดพลาด สาย Line โดนหนูแทะเห็นทองแดง เกิดดวงซวยไปโดนโครง สายกราวด์ก็จะนำกระแส
    เราจะเรียกว่าไฟฟ้ามันช๊อต หรือว่าไฟฟ้าลัดวงจร ก็คือ ไฟฟ้ามันไม่ได้ไหล ผ่านโหลด แต่มันลัดเข้าตรงนั้นดื้อๆไปเลย เบรคเกอร์ก็จะรู้สึกได้ และก็ทำการตัดไฟในทันที
    เราก็จะไม่โดนไฟดูด
    สายกราวด์ก็คือสายทองแดง หุ้มฉนวนสีเขียว เรียกได้ว่าเป็น เส้นทาลัด เพื่อให้ไฟฟ้าไหลกลับไปหายังแหล่งพลังงาน แทนที่จะผ่านตัวเรา เพราะว่า มันมีความต้านทานที่ต่ำ
    ดังนั้นไฟฟ้าจึงเลือกไหลผ่านเส้นทางนี้เพราะว่ามันง่ายกว่าและกลับได้เร็วกว่า
    งั้นก็ แสดงว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกราวด์ และปลั๊กที่มีช่องกราวด์ ก็ถือว่าปลอดภัยแล้วนะสิ
    ผมบอกได้เลยครับว่า มันไม่แน่เสมอไปครับ ถ้าเพื่อนๆไม่ใส่รองเท้า แล้ววันหนึ่งทะลึ่งไปเอาไขควงวัดไปแหย่ปลั๊กเล่น แล้วพลาดท่าไปโดน สาย Line เพื่อนๆก็สามารถถูกไฟฟ้าดูดตายได้เหมือนกัน นะครับ
    เพราะวงจรสมบูรณ์ ถามว่า ทำไมเบรคเกอร์ทำไมไม่ตัด
    ก็เพราะว่าเรา มันยังมีความต้านทานอยู่ กระแสไฟอาจจะดูดเราก็จริง แต่กระแสที่ไหลไม่ได้สูงนัก แต่กระแสก็อาจจะทำให้เราถึงแก่กรรมได้ เพราะเบรคเกอร์ทั่วไปมันก็ไม่ตัดต่อให้เรา มันจะดูว่า กระแสไหลเกินค่าที่มันจะตัดไหมแค่นั้น ซึ่งถึงตอน นั้นเราก็ไหม้เกรียมไปแล้วครับ
    นี้ก็เป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ทำให้คน เสียชีวิตได้ เราจะพบเจอเหตุการประเภทนี้บ่อย เราเรียกกรณี แบบนี้ว่าไฟฟ้ารั่ว
    แต่โชคดีที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มีเบรคเกอร์ บางชนิดกันไฟรั่ว หรือกัน ไฟดูดได้ ซึ่งจะตัดไฟ เมื่อกระแสไฟไหลกลับ ไม่เท่ากับกระแสที่จ่ายออก
    หรือพูดง่ายๆว่า สายไฟสองเส้นนี้มีไม่เท่ากัน
    ก็แสดงว่าเกิดไฟรั่ว เบรคเกอร์จะฉลาดมากครับ มันรู้ และ ก็ตัดการทำงานอย่างรวดเร็ว
    ปกติมาตฐานทั่วไปที่เห็น ก็จะตรวจสอบกระแสรั่วไหล อยู่ที่ประมาณ 30 mA ก็จะตัดการทำงานแล้วครับ
    เรียกได้ว่ายังไม่ทันโดนดูด ก็ตัดการทำงานไปแล้ว ซึ่งจะทำให้เราปลอดภัย
    ยังไงเพื่อนๆ ลองไปส่อง ที่บ้านของเพื่อนๆ ว่ามี เบรคเกอร์ชนิดกันไฟรั่วรึเปล่า รึเปล่าด้วยก็ดีนะครับ
    อย่างที่รู้ๆกันว่า ณ ตอนนี้ การไฟฟ้า บังคับตอกแท่งกราวด์ ลงดินภายในตัวบ้านลึกลงไปอย่างน้อย 2.4M
    แท่งกราวด์ก็จะจ้ำไปที่บาร์กราวด์
    แท่งกราวด์ตรงนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ ไฟ Line ที่รั่วลงดืนนะครับ
    จุดประสงค์แท้ที่จริง ก็คือเพื่อกระจายไฟฟ้าแรงสูง เช่นฟ้าผ่า เราก็จะให้ไฟฟ้ากระจายลงดิน นอกจากนี้ก็ยังมีแท่งกราวด์ของหม้อแปลง ช่วยกระจายลงดินอยู่อีกที่หนึ่งด้วย
    ขอบคุณข้อมูล จากอินเทอร์เน็ต:
    The Engineering Mindset
    #กราวกับนิวตรอนต่างกันอย่างไร #ทำไมต้องจั้มGกับNเข้าด้วยกัน

КОМЕНТАРІ • 380

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  2 роки тому +55

    ⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน
    เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย..
    1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT
    2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
    ขอบคุณมากครับ

    • @tanupanto102
      @tanupanto102 2 роки тому +1

      ชื่อร้านอะไรครับในลาซาด้าครับ

    • @neung1101
      @neung1101 2 роки тому

      กดเข้าไปมันไม่เข้าไปร้านเลยนะครับ มันเข้าไปแค่แอปครับ แปะลิ้งที่เข้าร้านให้หน่อยครับ

    • @MrMidorn
      @MrMidorn 2 роки тому +1

      ไม่ใช่ครับ ทางช่องไม่มีจำหน่ายสินค้าโดยตรงหรือเปล่าครับ ดูจาก Link แล้ว พอเรากดเข้าผ่าน Link นี้พอทำการสั่งซื้อสินค้าอะไรก็ได้ ทางช่องก็จะได้รับค่าตอบแทน เหมือนการโฆษณา

    • @user-mx8rm8ov6y
      @user-mx8rm8ov6y 2 роки тому

      @@neung1101

    • @sumetagon
      @sumetagon Рік тому

      👌คลิปสั้นๆ เข้าใจง่าย ดีครับ สนับสนุนครับ...

  • @pps.sks1985
    @pps.sks1985 Рік тому +15

    เวลาอธิบายเรื่องสายกราวด์ ต้องแยกแยะให้มันชัดเจนด้วยว่าเป็นสายกราวด์จากแหล่งไหน ต้องอธิบายแยกแยะให้มันชัดเจนด้วยว่าการต่อสายกราวด์หรือการต่อลงดิน เป็นการต่อลงดินในระบบ TN-S หรือระบบ TT ตรงแยกให้มันชัดเจน ไม่ใช่บอกแต่สายกราวด์อย่างเดียว
    ถ้าสายกราวด์มาจากแท่งกราวด์หรือหลักดิน ที่เป็นการต่อลงดินในระบบ TT โอกาสที่เบรกเกอร์จะไม่ปลดวงจรมีสูงมาก เพราะค่าอิมพีแดนซ์มันสูง
    แล้วเวลาพูดถึงเบรกเกอร์ว่ามันจะปลดวงจรหรือเปล่า ก็ต้องแยกแยะให้มันชัดเจนว่าเป็นเบรกเกอร์ธรรมดาหรือเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว
    ถ้าโหลดต่อลงดินในระบบ TT โอกาสที่เบรกเกอร์ธรรมดาจะไม่ปลดวงจรมีสูงมาก ยกเว้นจะเป็นเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว

    • @olemancharter2747
      @olemancharter2747 4 місяці тому

      และมันมีทั้งหมดกี่ประเภทหรอครับ สายดิน

    • @KhobSnam_FieldEdge
      @KhobSnam_FieldEdge 2 місяці тому

      การไฟฟ้า กลัว ลักไฟใช้ เลยให้ต่อ ร่วมกันไว้

    • @pps.sks1985
      @pps.sks1985 2 місяці тому

      @@KhobSnam_FieldEdge
      มั่ว ไม่ได้เกี่ยวกันเลย

    • @KhobSnam_FieldEdge
      @KhobSnam_FieldEdge 2 місяці тому

      @@pps.sks1985 ไปเอาสาย N ออกดิ L ผ่านหม้อ ไปเข้า หลอดแล้ว ลงดิน หลังบ้าน มัน จะกลับมา L ที่หม้อ กี่โมง ก็ นั้นล่ะ หม้อจะหมุน ส่วนหลอด มันก็ติดไป โดยไม่มีค่าไฟ

  • @udomnopparat1878
    @udomnopparat1878 10 місяців тому +5

    ใครที่เข้าใจว่า การไฟฟ้าสลับสาย L ,N เข้าบ้านผิดได้ นั่นแสดงว่ากราวด์ที่ท่านทำไว้ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ปกติ สาย L ของการไฟฟ้าจะต่อลงดินไม่ได้เด็ดขาด มันจะสปาก อย่างรุนแรง เพราะมันเป็นการลัดวงจร แล้วใครจะกล้าต่อ
    หรือมีหน่วยกล้าตาย อาสาต่อจนได้ ฟิวส์ต้นทางก็จะขาด การไฟฟ้าจ่ายไฟไม่ได้ในที่สุด
    เว้นเสียแต่ว่า ระบบกราวด์
    ชำรุด
    เพราะฉนั้นกาารไฟฟ้าเลยต้องออกเป็นกฏระเบียบให้ทุกบ้านต้องทำกราวด์ให้กีและถูกต้อง จะได้ช่วยกันเป็นกราวด์ที่เข้มแข็ง ใครก็ระเมิดมิได้แม้แต่การไฟฟ้าเองก็เถอะ

    • @KhobSnam_FieldEdge
      @KhobSnam_FieldEdge 2 місяці тому +1

      มันไม่สปารค์หรอกมันก็ทำงาน แต่ ระบบไฟบ้านคุณจะ สลับ L เป็น N
      สวิทช์ ไม่ได้ตัด L หลอด นีออน ก็จะเรืองๆแสง ไม่ดับ
      แล้วทำไมมันไม่ช๊อต ก็บ้านคุณเป็นโหลด ไม่ได้เป็นตัวจ่ายไฟ ป้อนไปสลับไง มันก็ทำงาน ไม่ซ๊อต

  • @paisolengineers7618
    @paisolengineers7618 2 роки тому +9

    ตั้งแต่ผมดูคลิปอิเล็กทรอนิกส์ไทย คุณคือคนที่มีคุณภาพมากๆ

  • @user-on1pd8mv3m
    @user-on1pd8mv3m 2 роки тому +8

    เห็นบ้านตามชนบทต่างจังหวัดเขาใช้กันแค่สองสาย Lกับ N เยอะมากแล้วถ้าสายขาดเส้นหนึ่งไฟ 380 โวทจะข้ามเสายที่มันขาดได้อย่างไรถ้ามาจากบ้านหลังอื่นก็มีกราวดของบ้านหลังอื่นและการไฟฟ้าอีก ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กราวด์เขาก็ต่อแยกและต่อเบรกเกอรกันไฟดูดเพิ่ม ถ้าฟ้าผ่าก็ใส่เสริกโฟรเทก แต่ก็อยากให้สาย N+G อยู่ที่เสาไฟหน้าบ้านไม่อยากให้ผ่านเข้ามาในตัวบ้านเถ้าสายหลวมขาดเก็จะมีไฟไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามาที่สาย G+N และมันเป็นสายเดียวกัน

  • @sun_golden_bananabit
    @sun_golden_bananabit 10 місяців тому +3

    สรปง่ายๆครับที่การไฟฟ้าบังคับต่อนิวตรอนลงดินก็เพื่อสร้างเครือข่ายสายดินขนาดใหญ่กระจายไปทุกบ้านเพื่อรับฟ้าผ่าโดยตรง เพราะต่อก่อนเข้าเบรคเกอร์ โดยเจ้าของบ้านเป็นผู้ลงทุนเอง และรับความเสี่ยงนี้เอาไว้เอง

  • @udomnopparat1878
    @udomnopparat1878 10 місяців тому +2

    บทความ เกือบเข้าใกล้ความถูกต้อง พยายามต่อไปครับ สักวันจะรู้แจ้งเห็นจริง เข้าจนได้

    • @dommosookchu414
      @dommosookchu414 5 місяців тому +1

      แล้วถ้าอยากรู้แจ้งเห็นจริงผมต้องไปดูช่องไหนหรือของอาจารย์ท่านไหนครับ

  • @torsurasit2750
    @torsurasit2750 2 роки тому +15

    การสอนต้องแบบนี้ใช้คำง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่ใช่ทางการจนลึกลับ

    • @MkMk-zn7qp
      @MkMk-zn7qp Рік тому

      เอ่อ เอ่อ ใช่ ทฤษฎีจ๋า เข้าใจยาก ต้องจินตนาการสูง มีมโนภาพมากมาก มีนามธรรม ไม่มีรูปธรรม

  • @lairwtiare
    @lairwtiare 2 роки тому +15

    ผมว่ามันไม่น่าถูกต้องซะทีเดียว แต่ก็ไม่ผิด ข้อมูลพอรับได้ ขอแย้งนิดนึงละกันนะครับ สำหรับ concept ไฟฟ้า
    1. อันนี้ผมเห็นด้วย ต้องครบวงจรเท่านั้น
    2.อันนี้ไม่เห็นด้วยเท่าไร ผมว่า ไฟฟ้าจะวิ่งจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำ (หรือพูดอีกนัยนึง คือ อิเล็คตรอน วิ่งจากขั้วลบไปขั้วบวก : ทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสไฟฟ้า)
    เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
    3.อันนี้ผมเห็นด้วย แต่คำอธิบายมันแปลกๆ ผมขอแก้แบบนี้ละกัน ไฟฟ้าจะไหลไปในเส้นทางที่มันไปได้ทั้งหมด เพื่อให้วงจรสมบูรณ์ แต่เส้นทางที่มีค่าความต้านทานน้อยกว่า
    กระแสไฟฟ้าจะไหลไปเส้นทางนั้นมากกว่าเส้นทางอื่น
    (เหมือนน้ำในท่อประปา บ้านใครใช้ท่อ 6หุน น้ำย่อมไหลแรงกว่า บ้านที่ใช้ท่อ 4 หุน แต่อย่างไรก็ตาม น้ำก็ออกทุกท่อเหมือนเดิม)
    ปล.ไม่ได้ตั้งดิสเครดิตอะไร แค่มาแลกเปลี่ยนมาความคิดเห็นเฉยๆนะครับ ชื่นชมในความ DIY

    • @snoopydogxx1
      @snoopydogxx1 2 роки тому +9

      ผมคิดว่าที่ทางช่องอธิบายแบบนั้นเพียงเพราะว่าต้องการอธิบายให้คนที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องไฟฟ้าเข้าใจง่ายขึ้นครับ ถ้าอธิบายแบบความคิดเห็นนี้คนที่ไม่มีความรู้เข้าใจยากกว่าที่เขาอธิบายครับ

    • @NagaNongkhai
      @NagaNongkhai 2 роки тому +3

      รู้กฏการแบ่งกระแสไฟฟ้า (Current Divider) หรือเปล่า? ความต้านทาน 2 ตัวต่อขนานกันอยู่ อีกตัวมีค่าน้อยมากและอีกตัวมีค่าความต้านทานมาก กระแสไฟที่ไหลผ่านความต้านทานมีค่าน้อยจะมีปริมาณของกระแสไฟมากกว่ากระแสไฟที่ไหลผ่านความต้านทานที่มีค่ามาก ในทางปฏิบัติเมื่อมีกระแสไฟรั่วในวงจร กระแสไฟที่รั่วนี้จะไหลกลับเข้าบาร์กราวนด์แล้วไหลเข้าสายนิวตรอลกลับแหล่งจ่ายตรงสายต่อฝากระหว่างบาร์กราวนด์และสายเมนนิวตรอล แทบจะไม่มีกระแสไฟไหลกลับแหล่งจ่ายทางแท่งหลักดิน (Ground Rod) เลย ถึงจะมีก็น้อยนิดมากไม่สามารถวัดด้วยแอมป์มิเตอร์ทั่วไป ต้องใช้มิเตอร์หน่วยมิลลิแอมป์หรือไมโครแอมป์มาวัดถึงจะวัดค่าได้ ที่พูดได้ก็เพราะว่าเคยพิสูจน์ด้วยการเอาคลิปแอมป์คล้องวัดสายดินที่ต่อจากตู้ไปยังแท่งหลักดินมาแล้ว วัดไม่ได้ตัวเลขไม่ขึ้นเลย ไม่ต้องรอให้ไฟรั่วหรอกครับในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้าทำไมมันไม่ไหลกลับทางดินบ้างล่ะก็ในเมื่อสายเมนนิวตรอลกับแท่งหลักดินมันก็ต่อสายฝากถึงกันอยู่ ทำไมไหลผ่านโหลดปริมาณเท่าใดก็ไหลกลับทางสายนิวตรอลปริมาณเท่ากัน

    • @lairwtiare
      @lairwtiare 2 роки тому +1

      @@NagaNongkhai ก็พอรู้บ้างครับ แล้วมันยังไงอ่ะครับ ก็ถูกแล้วนิ

    • @user-zf5jw3lf9o
      @user-zf5jw3lf9o 2 роки тому +1

      ทดลองดูก็ได้ครับ วัดค่าสาย N กับ G ดู ตอนพี่ใช้เครื่องไฟฟ้า แค่นี้เอง มโนอะไรมากมาย ไปนั่งวัดตรงหลักดินก็ได้

    • @lairwtiare
      @lairwtiare 2 роки тому +1

      @@user-zf5jw3lf9o วัดทำไมครับ และวัดยังไงครับ ไม่เข้าใจครับ ผมไม่ได้มโนครับ ผมเรียนมาครับ เกี่ยวกับอะตอม เข้าใจเรื่องไฟฟ้าพอสมควรครับ

  • @worawongdher7188
    @worawongdher7188 Рік тому +1

    การตอกแท่งกราวด์และสายกราวด์ร่วมกับนิวทอลมีหลายเหตุผล อีกหนึ่งเหตุผลคือเพื่อความปลอดภัย หากสายนิวทอลหลุดก็ยังมีสายกราวด์ให้กระแสไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดผ่านพื้นดิน และอีกเหตุผลคือเพื่อให้ศักดิ์ทางไฟฟ้าของสายนิวทอลเท่ากันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุดตลอดเส้นทาง เพื่อควบคุมไม่ให้แรงดันไฟฟ้าตกมากเกินไป และอีกหลาย ๆ เหตุผล ที้งฝั่งของการไฟฟ้าเอง และฝั่งบ้านเรือนผู้ใช้ และต้องต่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานใหม่ของการไฟฟ้าด้วยครับ

  • @endosung6697
    @endosung6697 10 місяців тому +2

    ข้อมูลยังไม่ครบนะครับที่หม้อแปลงแรงดันสูงจะต้องต่อ N ลงดิน หรือ Ground เสมอ เพื่อให้แรงดัน Line เทียบกับ Ground เวลากระแสรั่วก็จะกลับไปที่หม้อแปลงเส้นทางนี้อีก loop นึง

  • @2499w
    @2499w 2 роки тому +47

    เคยมีกรณีแบบนี้ครับ..ค้างจ่ายค่าไฟ การไฟฟ้ามาตัดสาย พอเราไปจ่ายเงินค่าไฟแล้ว การไฟฟ้ามาต่อสายกลับ แต่ต่อสลับสาย เอาสาย L สลับกับสาย N อันตรายมากครับ

    • @fordniky5390
      @fordniky5390 2 роки тому +13

      ผมเจอมาสองรอบครับ แต่โชคดี ที่บ้าน G กับ N ตัดขาดจากกัน

    • @user-iu3ji1zn3x
      @user-iu3ji1zn3x Рік тому +7

      ใช่ครับผมโดนดูดมาแล้วดีที่ติดตั้งเบรคเกอร์ RCBO ไว้

    • @Birdsiam39
      @Birdsiam39 Рік тому +7

      แบบนี้แย่มากๆเลยครับ LกับN สลับกัน เพิ่มเติมถ้าหากไม่รู้แล้วใช้ไปแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น ค่าไฟที่บ้านจะแพงขึ้นด้วยนะ เนื่องจากไฟวิ่งลงดินเสียค่าหน่วยกิตฟรีๆ

    • @pongpong1972
      @pongpong1972 Рік тому +4

      ค่าไฟขึ้นหลายเท่าตัวเลยแบบนี้

    • @tpklive718
      @tpklive718 Рік тому +6

      สลับแบบนี้เท่ากับไฟรั่ว พอไฟรั่วมิเตอร์ก็วิ่ง เคยมีบางบ้านบอกสายเฟสสลับกันก็มีนะ คือขอหม้อใหม่แต่มาร์กเฟสผิดให้เขา พอเชื่อมเท่านั้นแหละค่าไฟตามมาเป็นหมื่น

  • @janniemaya7553
    @janniemaya7553 2 роки тому +12

    ผมจะดูให้ครบทุกคริป ช่องนี้ ดูแล้วเข้าใจดีมาก สื่อการสอนดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

  • @mmaarrkkeett
    @mmaarrkkeett 2 роки тому +7

    เป็นช่องที่ อธิบายได้ดีกว่าใครเพราะ ง่าย มีเหตุ มีผลทุกคำ และภาพประกอบที่สวยงามเข้าใจง่ายเป็นลำดัย

  • @anusorn.te1067
    @anusorn.te1067 2 роки тому +1

    เเนวคิดผมว่า n.เชื่อม g มันมีทั้งประโยชน์เเละโทษ คิดว่าทำตามการไฟฟ้าเเหละ n เชื่อม g. เเต่เราตอกหลักดินอีกอัน เเนกต่างหาก โดยไม่เชื่อม n..เเต่เเท่งกลักดินอันนี่ให้วิ่งไปเต้าเสียบอุกรณไฟฟ้าเเทน.

  • @wit22737
    @wit22737 2 роки тому +4

    อรรถาธิบายดีเลิศครับ ขอบคุณมากที่ช่วยให้ความรู้แก่ส่วนรวมครับผม เปรียบเสมือนครูท่านหนึ่ง

  • @naipattaranun266
    @naipattaranun266 2 роки тому +5

    ขอเสริมให้เพื่อนๆ ครับ เบรกเกอร์ชนิดนั่นมีอยู๋ 2 ประเภท หลักๆ นะ คือ
    1. RCCB ที่ตัดเฉพาะ....ไฟฟ้าดูดไฟฟ้ารั่ว
    2. RCBO ที่ตั้ง ทั้งไฟฟ้าดูดไฟฟ้ารั่ว และ กระแสเกิน
    ถ้าจะไป เปลี่ยนแทนของเก่าในบ้าน แนะนำให้ แบบที่ 2 RCBO

  • @be4885
    @be4885 2 роки тому +1

    0:17 การไฟฟ้าเขาบังคับให้จั้มใส่กันเพราะว่า ยามที่ฟ้ามันฝ่าสายไฟ ไฟมันจะไดใหลเข้ากราวข งเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าพังเร็วๆ หรือว่าให้ไฟช็อตคน

  • @kisadaimkarn5701
    @kisadaimkarn5701 2 роки тому +4

    เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ใช้ ถ้าการไฟฟ้าติดแท่งกราวด์ที่มิเตอร์ก็จบ..

    • @hurrr556
      @hurrr556 2 місяці тому

      😮😮สุดยอดประเด็นนี้น่าเอาเข้าสภาและครม.ครับ😮😮

  • @worawongdher7188
    @worawongdher7188 Рік тому +1

    แท่งกราวด์สายกบราวด์สำคัญมาก ควรต่อให้ถูกต้อง ประเภทสาบขนาดของสายความยาวสายถูกต้อง และสีของสายไฟถูกต้องตรงตามเฟสตรงตามนิวทอลตรงตามกราวด์ ถูกต้องตรงตามมาตรฐานใหม่ของกานไฟฟ้า ในบ้านเราก็ควรเปลี่ยนสีสายให้ตรงตามมาตรฐาน เพื่อที่ไฟฟ้าจะได้ไม่ผิดเฟส เพราะการไฟฟ้าจะต่อตามมาตรฐานใหม่

  • @finallife2081
    @finallife2081 2 роки тому +2

    ทำไมผมไม่ได้ต่อสายดินแล้วไฟรั่วกรือไม่แน่นยังไงไม่รู้มันทำให้หม้อแปลงหมุนเร็วจนโดนค่าไฟไปเกือบหมื่นเลยล่ะอันนี้ยังไม่เข้าใจเลย

  • @user-jt4nr7fx2u
    @user-jt4nr7fx2u 2 роки тому +3

    3เฟส สาย N หลุด ทำไมกระแสจึงสูง ถ้าเอา N ลง G ไว้ด้วยจะช่วยไม่ให้กระแสสูงได้ไหม การไฟฟ้าชอบทำสายN หลุดแต่ไม่ยอมรับ ตอนมาทำไฟบริเวณตู้

  • @chatkeawploy
    @chatkeawploy Рік тому +1

    อธิบายกระจ่างแจ้งและเข้าใจนึกภาพออกเลยครับ สุดยอดครับ❤👍🙏

  • @ryfggrhh3337
    @ryfggrhh3337 2 роки тому +2

    TN-C-S system 😍😍 ใช้ระบบนี้ 7-8 ปี แล้วครับ ทุกวันนี้ก็ปกติทุกอย่าง

  • @boonlertlert2827
    @boonlertlert2827 2 роки тому +5

    สุดยอดครับ~! เป็นคลิป ที่ดูได้ครบรส!
    ได้ทั้งฮา~ขบขัน +ความรู้เชิงลึก +เห็นภาพที่เข้าใจง่าย และชัดเจน ทำคลิปออกมาได้~ละเอียดดีมากๆ (-/\- )) ขอบคุณที่ทำคลิปมีคุณภาพดีมากๆครับผม

  • @opponut
    @opponut 2 роки тому +3

    ทำให้​รู้​สึก​ว่า​ตัวเอง​ฉลาด​ขึ้น​เยอะ​เลย​ขอบคุณ​ครับ​

  • @klibklim49
    @klibklim49 10 місяців тому +2

    ในคลิปบอกว่าต้องตอก แท่งกราวด์ลงในตัวบ้าน ขยายความจุดนี้ด้วยครับ ติดใน หรือ นอกบ้าน บริเวณไหนที่เหมาะสมในการตอกครับ

  • @navaminphanchuey619
    @navaminphanchuey619 2 роки тому +2

    ช่วยชี้แนะผมด้วยครับอาจารย์ Hybrid off grid inverter ที่เอาไฟ input จาก กฟฟ. + โซล่าเซลล์ + แบต มารวมกัน แล้วเอาไฟ output ที่ได้ (มีไฟทั้งเส้น L และ N) ไปเข้าเมนเบรคเกอร์เพื่อจ่ายโหลดทั้งบ้าน เค้าบอกว่าห้ามจั้มกราวด์ร่วมกับนิวทรัลที่แผง consumer เพราะจะทำให้เครื่อง inv. พัง เนื่องจากสายนิวทรัลมีไฟ อันนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างครับ ถ้าเราไม่จั้มกราวด์และนิวทรัล อุปกรณ์ตัดตอนจะยังทำงานสมบูรณ์ไหมเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่วขึ้นมา

  • @alast999
    @alast999 2 роки тому +3

    รูกราวที่ปลั๊กมักเป็นรูทิพย์นี่สิพวกบ้านเก่าๆ

  • @user-it5mg4xs7g
    @user-it5mg4xs7g 8 місяців тому

    ตอบคำถามท่านที่บอกว่าไฟรั่วลงดินแล้วเราไปจับเสาถูกไฟดูด เบรคเกอร์ไม่ตัดเนื่องจากเบรคเกอร์นั้นเป็นชนิด กระแส สองเส้นแตะกัน(short circuit Breaker)จะตัดเมื่อสายชอร์ตกันและอีกชนิด โอเวอร์เคอรเร็น(Over current Breaker)
    สายดินไม่ได้ป้องกันไฟดูด ท่านต้องติดเบรคเกอร์กันไฟดูดอีกตัวถึงจะชัวร์ เช่นใน
    เครื่องทำน้ำอุ่น ราคาไม่แพงขั้นต่ำ 250 บาทขึ้นไปยี่ห้อดังในอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น บ้านผมติดมา 20 กว่าปีแล้วยังไม่เสีย อย่าไปติดยี่ห้อที่ขายกันดังๆในเวลานี้ที่ราคา 4 -5 พันบาทมีปุ่มปรับกระแส เยอะแยะ แป๊บเดียวก็เสีย ไปซื้อตามห้างหรือร้านขายเครื่องไฟฟ้าบอกเขาว่าซื้อเครื่องป้องกันไฟดูด( Earth leakage Breaker )ราคา 250 ถึง พัน บาทที่บ้านใช้ พานาโซนิค ยังไม่เสียครับ

  • @user-oc3cg1tr5z
    @user-oc3cg1tr5z 2 роки тому +21

    อีกเหตุผลหลักที่การไฟฟ้าบังคับให้เอาเมน N เข้าบาร์ G ก่อนแล้วค่อยเอามาเข้าที่หัวเมนก็คือเวลาที่สายส่งของการไฟฟ้า N ขาดหรือชำรุดไป มันจะทำให้ไฟที่มีแรงดัน 220-230 V กลายเป็นแรงดัน 380-400V ทันทีครับถ้าเราต่อกราวด์รวมกันที่ตู้จะทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นน้อยลงครับ

    • @kaiaraidotcom
      @kaiaraidotcom 2 роки тому +1

      ขอคำอธิบายเพิ่มอีกหน่อยครับพี่ ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจ เนื่องจากเมื่อปลายปีคนงาน(สวนอื่นที่อยู่ปากซอย)ทำสาย n การไฟฟ้าขาด ผลคือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านผมพังหมดเลย เนื่องจากไฟเกิน /เลยอยากทราบว่ามันเป็นเช่นนั้นเพราะอะไร/ ขอบคุณครับ

    • @user-oc3cg1tr5z
      @user-oc3cg1tr5z 2 роки тому +2

      @@kaiaraidotcom ได้ครับ เดี๋ยวผมเลิกงานผมมาพิมพ์อธิบายนะครับ

    • @yospanagorn2785
      @yospanagorn2785 2 роки тому +17

      @@kaiaraidotcom คือเวลาที่สาย N ขาด บ้านที่อยู่ต่างเฟสกันจะวิ่งเข้าหากันผ่านสาย N ทีนี้แรงดันตกคร่อมในบ้านทั้งสองเฟสจะอยู่ 380-400V โดยมี N หลังจุดที่ขาดเป็นตัวกลางเชื่อม บ้านในสองเฟสนี้ เฟสไหนที่มีความต้านทานต่ำหรือใช้ไฟมาก แรงดันตกคร่อมเฟสนั้นจะต่ำลง แต่อีกเฟสที่มีความต้านทานสูงหรือใช้ไฟน้อย แรงดันตกคร่อมก็จะสูงแทน เป็นการแบ่งแรงดันกัน
      เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในบ้านเฟสแรงดันสูงก็จะพังทันที เวลามันพังส่วนใหญ่มันจะช๊อต พอมันช๊อตมันก็ Bypass แรงดันไปอีกเฟสเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอีกเฟสก็จะพังตามไปด้วยเหมือนกัน
      หรือในกรณีที่บ้านใช้ไฟสามเฟส ถ้าทำสาย N ขาด มันก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ต่างเฟสกันวิ่งเข้าหากันเหมือนกับด้านบนครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟน้อยจะพังก่อนหลังจากนั้นก็ลากเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกเฟสพังตาม
      อาการก็ประมาณ สาย N ขาดหลอดจะหรี่ๆ แว๊บๆ จากนั้นไม่นานก็ระเบิดโป๊ะ นั่นแหละ ตอนที่ไฟมันหรี่เนื่องจากแรงดันบ้านเราตกลงแล้วไปเกินที่บ้านอีกหลัง หลังจากบ้านนั้นวินาศสันตโรเรียบร้อยแล้วก็ถึงตาบ้านเราเจอไฟเกินบ้าง

    • @kaiaraidotcom
      @kaiaraidotcom 2 роки тому

      @@yospanagorn2785 ขอบคุณมากครับพี่

    • @user-oc3cg1tr5z
      @user-oc3cg1tr5z 2 роки тому +1

      @@yospanagorn2785 ขอบคุณที่ช่วยเสริมครับ ผมทำงานออกเวรมากลับยาวเลย 555555

  • @nanaa8464
    @nanaa8464 Рік тому +1

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลและทำคลิปนี้ออกมาให้เข้าใจเรื่องของระบบไฟฟ้า ทำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ และมีประโยชน์มากค่ะ

  • @rememberlove9231
    @rememberlove9231 2 роки тому +3

    สงสัยเหมือนกันครับระบบกราวด์ ขอบคุณที่แชร์ความรู้ดีๆครับ

  • @aonwongthep261
    @aonwongthep261 2 роки тому +2

    ช่องนี้อธิบายชัดเจน ไหลลื่น ไม่วนไปวนมา

  • @thapanatbaisaeng7967
    @thapanatbaisaeng7967 2 роки тому +6

    อธิบายได้เข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุญที่ให้ได้ควารู้ครับ

  • @dxzecu2524
    @dxzecu2524 2 роки тому +2

    ผมชอบครับแต่ผมว่าไฟฟ้าบ้านผมทำไม่ถูกต้องเวลาเปลี่ยนมิเตอร์
    หรือมิเตอร์ใหม่ไม่บังคับช่างติดตั้ง
    เส้นล่างให้เปนสายไฟบนนิวตรอน
    มั่วมากเลยต่อสายมิเตอร์นิวตรอน
    เปนไฟชาวบ้านเสียค่าไฟเปล่าๆ
    ไฟฟ้าไม่รับผิดชอบ

  • @user-qv8og8vx4p
    @user-qv8og8vx4p Рік тому

    อธิบายมีแอบฮานิดนึงด้วย...ช่วยผ่อยคลายได้ดีเลยครับ

  • @bannai2231
    @bannai2231 Рік тому +2

    ขอบคุณครับอาจารย์ ผมชอบมากครับงานประเภทนี้ เพื่อทำความเข้าใจระบบวงจร และคำบรรยาย ดูไห้หลายรอบจะได้จำขึ้นใจครับ (ผมไม่ได้เรียนครับ)ชอบมากขอบคุณครับอาจารย์

  • @mangkorn-gm3nf
    @mangkorn-gm3nf Місяць тому

    ทำรายการได้ดีมากๆครับ แว่ะไปlinkแต่ไม่เห็นเลยว่าจะให้ซื้ออะไรสนับสนุนครับ?

  • @user-ym6kb6kx3b
    @user-ym6kb6kx3b 2 роки тому +3

    เข้าใจง่ายในไม่กี่นาที
    กว่าเรียนหลายๆชั่วโมง😂😂

  • @jomrider5844
    @jomrider5844 2 роки тому +1

    ถือว่าเป็นการถวนความรู้ไปครับ✓✓✓ แต่ตอนเรียนอาจารย์ไม่ได้สอนลึกขนาดนี้ที่ได้ยินมาเหมือนกับในคลิปนี้ฟังมาจากรุ่นพี่ครับ👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому +1

      ขอบคุณครับ

  • @sdop3553
    @sdop3553 2 роки тому +2

    คลิปนี้มีประโยชน์ เยี่ยมเลยครับ

  • @user-ng5ku5ge3m
    @user-ng5ku5ge3m 2 роки тому +1

    ถ้าไม่เอา n พ่วง กราวนด์ คือ กฎยังไงไม่รู้ แต่ไฟดูดที่ n นะครับถ้าไม่ต่อ

  • @ozekgachai5191
    @ozekgachai5191 2 роки тому +4

    ขอบคุณพี่มากครับ​ ที่ทำคลิปแบบนี้ออกมา​ มีประโยชมากมายเลยครับ​

  • @siamtourist
    @siamtourist Рік тому +1

    เป็นคลิปที่ดีมีสาระ​ แล้วก็​อธิบาย​ให้เข้า​ใจได้ง่ายๆ​ ขอบคุณ​ที่แบ่งปัน​ครับ😊

  • @user-jn5ht2xi8m
    @user-jn5ht2xi8m 2 роки тому +1

    ชอบคลิปที่ทำมา..ดูเเล้วเข้าใจ.ไม่ซับซ้อน.เป็นกำลังใจทำต่อไปนะคัป

  • @DeathZ.
    @DeathZ. Рік тому

    จั๊มทำไม
    แต่ทำไมๆ ต้องจั๊ม เมื่อเธอไม่คิดจริงใจ
    ทำไมๆ ความรักที่เธอนั้นลืมต้องเก็บมาคิดฟูมฟาย
    อะไรๆ ยังย้อนเข้ามา ทุกช่วงเวลา
    นั้นยังไม่เคยจางหาย วันที่ฉันมีเธอ
    ไม่ว่าเวลาจะนานเท่าไร ฉันลืมไม่ได้จริงๆ

  • @wongsakorntimwong873
    @wongsakorntimwong873 2 роки тому +3

    ช่องพี่ความรู้เเน่นมากกก

  • @fordniky5390
    @fordniky5390 2 роки тому +2

    ไฟฟ้าไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดในข้อสอง เฉพาะกระแส DC ครับ ไม่เกี่ยวกับ AC

    • @user-xl2rq2iu9v
      @user-xl2rq2iu9v Рік тому

      เองก็เพ้อจังไม่ไหลมันจะครบวงจรได้ไง

  • @Boy-nv8sp
    @Boy-nv8sp Рік тому +3

    ขอสอบถามนะครับ นาทีที่ 8.16 ถ้าเราเดินสายไฟแบบนี้ แต่ไม่ได้ตอกหลักดิน เวลาไฟรั่ว ไฟจะยังไหลผ่านสายกราวด์ ไปกราวด์บาร์ และไหลผ่านนิวตรอนไปสู่แหล่งจ่ายไฟ มั้ยครับ

  • @tongnattawatc.3521
    @tongnattawatc.3521 2 роки тому +2

    เป็นคลิปที่อธิบายได้ดีมากครับ👍 เข้าใจง่ายดี

  • @tobusan
    @tobusan 11 місяців тому +1

    อธิบายดีสุดๆครับ เป็นคลิปที่ดีจริงๆๆ

  • @qwrt2251
    @qwrt2251 8 місяців тому +1

    ได้ความรู้

  • @user-ud3gj5oy2q
    @user-ud3gj5oy2q 2 роки тому +2

    ถ้าจัมนิวตรอนไฟรั่วแล้วมิตเตอร์ขึ้นถ้าไม่จั้มไฟรั่วแล้วมันไม่ขึ้น

  • @kongsomkumdat3969
    @kongsomkumdat3969 8 місяців тому +1

    มันทำให้การไฟฟ้ามีรายเหมือนเดิมแม้เจ้าของบ้านไม่ใช้งาน เพราะเมื่อมีการแก้ไขไฟแล้วจั้มสายสลับกันทำให้ไฟไหลลงดินตลอดเวลา ทำให้ค่าไฟของเจ้าของบ้านเดือนนั้นบานนน...ไม่มีใครรับผิดชอบ เห็นหลายๆกรณี

  • @nanatkimta5252
    @nanatkimta5252 Рік тому

    ช่องนี้ ดีที่สุด เรียนง่ายได้ความรู้ดูจนจบวิศวะฯ ไฟฟ้า

    • @512ฮงไฮเหล่า
      @512ฮงไฮเหล่า Рік тому

      ผมจบเครื่องกล แต่ชอบเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน ไฟฟ้า อิเล็ค ทรอนิคส์

  • @kawee1778
    @kawee1778 2 роки тому +2

    ทุกคลิปคือความรู้ล้วนๆ สุดยอดคับอาจารย์

  • @user-jt8uz2zl9v
    @user-jt8uz2zl9v Рік тому +1

    ผมชอบช่องพี่มากๆเลยครับ เข้าใจง่ายมากๆเลย ไว้จะอุดหนุดนะครับ

  • @wisaininmanee
    @wisaininmanee 10 місяців тому

    เรื่องนี้ต้องอีกหลายตอน มั้ง แต่เริ่มถูกแล้วครับ

  • @howtoalive2023
    @howtoalive2023 Рік тому

    ช่องนี้มีประสิทธิภาพมาก

  • @ggk0312
    @ggk0312 2 роки тому +2

    สุดยอดขอบคุณครับ

  • @2499w
    @2499w 2 роки тому +2

    ถ้าเราเอาสาย G มาจั้ม กับสาย N ไฟจะไหลลง ดิน ยิ่งหน้าฝน อันตรายต่อชีวิตครับ

  • @kommakmanassanan747
    @kommakmanassanan747 2 роки тому +7

    ช่อง คลิบ การอธิบาย บอกตรงๆพูดแบบวัยรุ่นแม่งโคตรๆคุณภาพเลยครับ ขอคาราวะท่านปรมาจารย์10จอกครับ

  • @PattanapongGap
    @PattanapongGap 2 роки тому +1

    สาระล้วนๆ ขอบคุณครับ

  • @MRHADESZ
    @MRHADESZ 2 роки тому +2

    ฟ้าผ่ามันมาจากบนฟ้าทำไมมันถึงไปตามหาต้นกำเนิดที่ไต้ดินครับ

    • @Gojek-fp1bm
      @Gojek-fp1bm Рік тому

      อิเล็กตรอนมันวิ่งลงมาไงครับ

    • @mlab3051
      @mlab3051 5 місяців тому

      เรื่องไฟไหลกลับต้นกำเนิดมันเป็นการพูดแบบง่ายๆครับ จริงๆอิเล็คตรอนมันไม่ได้มาจำหรอกว่าตัวเองมาจากไหน มันแค่วิ่งจากศักย์สูง ไปศักย์ต่ำ แค่นั้น

  • @SpeeddomeND
    @SpeeddomeND Рік тому +1

    แล้วถ้าเรามีสายกราวแล้ว ฟ้าผ่าที่บ้านเราสมมุติว่าเสาไฟหน้าบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเราที่เสียบคาไว้ที่เต้าเสียบแต่ไม่ได้เปิดใช้งานในตอนนั้น จะพังไปด้วยมั้ยครับ

  • @piyanutrattanacing5634
    @piyanutrattanacing5634 Рік тому

    จบเลยที่เรียนนั้นยากที่จะหยั่งถึง
    เจอคริปนี้กูเป็นคนเก่งขึ้นมาทันที

  • @nightdamon7298
    @nightdamon7298 2 роки тому +3

    5:20 ป่ะ!ใส่รองเท้าขึ้นบ้านกัน😂

  • @tiger.R.lamboy
    @tiger.R.lamboy 2 роки тому +3

    สุดยอดมากครับ

  • @deaw993
    @deaw993 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากครับ เข้าในเรื่อ G ผิดมาตั่งนาน 555 นึกว่าต้องลงดินหมด เครื่องทำน้ำอุ่นที่บ้าน ไฟเลยลงดิน หากัน 555

  • @terdsak1able
    @terdsak1able 9 місяців тому

    เคยมีกรณีสายกราวที่เสาหลุดหลวม กระแสวิ่งมาผ่านกราวในบ้าน มิเตอร์วิ่งขึ้นโดยไม่ได้ใช้งาน เสียค่าไฟไปฟรีๆ

  • @user-jq4xy2ye7y
    @user-jq4xy2ye7y 2 роки тому +1

    รับทราบครับผม. ขอบคุนสำหรับความรู้ดีๆ

  • @jmsssx
    @jmsssx 2 роки тому +2

    ขอบคุณก๊าบ

  • @sommayml
    @sommayml Рік тому +1

    ขอบคุณครับที่ให้ความรู้

  • @sura2518
    @sura2518 Рік тому

    ขออนุญาติแชร์ลงเพจครับอาจารย์❤🎉

  • @fc_th4813
    @fc_th4813 Рік тому +1

    ในรูปวงจรกระแสตรง(DC) ทำไม ไฟวิ่งจากศักย์ต่ำ(-) ไปศักย์สูง(+) ครับ จริงๆมันต้องเป็น (+) วิ่งหา (-) ไม่ใช่หรอครับ หรือแค่ทำภาพอธิบายผิดครับ หรือความรู้ที่ผมมีมันผิดครับ ไม่ได้จะโชว์เหนืออะไรครับ แค่รู้สึกว่าความรู้ที่ผมมีคือไม่ใช่ทั้งหมด จากที่ดูคลิปนี้~

  • @kritsanarak9649
    @kritsanarak9649 2 роки тому +2

    ชอบมากครับ อธิบายดีมากครับ

  • @user-hz1kn5ri8v
    @user-hz1kn5ri8v 2 роки тому +1

    แล้วที่เขาตอกแทงกาวกับ เครื่องทำน้ำอุ่นล้ะครับ

  • @user-rv2bv2eq1m
    @user-rv2bv2eq1m 9 місяців тому

    คลิปนี้สอนดีมากครับ ได้ใจความ ขอบคุณมากครับ

  • @uthaideyungram3256
    @uthaideyungram3256 Рік тому

    ดีมากครับ... ขอรับชมการจั้มสายเมนสดมากๆ

  • @prakobwaleecharoenphol5989
    @prakobwaleecharoenphol5989 8 місяців тому

    กรณีที่ไฟรั่วลงโครง กลับไปต้นกำเนิดผ่านสาย ground แทน ถ้าเราไปจับโครงกรณีไม่ใส่รองเท้าไฟจะวิ่งผ่านเราน้อยกว่าวิ่งไปที่แหล่งจ่ายใช้ไหมครับ ถ้ากระแสวิ่งไม่เกิน 30A เบรคเกอร์ 30A ไม่ตัดเราก็อันตรายถึงชีวิตใช่ไหมครับ

    • @user-it5mg4xs7g
      @user-it5mg4xs7g 8 місяців тому

      ใช่ครับ เพราะกระแสวิ่งผ่านเราน้อยมาก แค่เกิน30 มิลลิแอมแตายแล้ว ควรติดเครื่องกันไฟดูด (เอิอธ์ลีคเกรต)Earth leaget ของต่างปท. ไม่แพงขั้นต่ำ ราคา 250 ของญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ผมใช้มา 20 กว่าปียังไม่เสียเลยครับปท. กล่าวมานี้คุณภาพดีมากๆ

  • @wewisgus599
    @wewisgus599 2 роки тому +1

    แปลงไฟ 220V แบบผสมระหว่างสวิตชิ่งและหม้อแปลงทำไมวงจรถึงระเบิดครับ ครั้งแรก ผมใช้สวิตช์ชิ่งแปลงไฟ ใส่เครื่องเล่น CDROM ของคอมพิวเตอร์ เล่นเพลง Audio เชื่อมต่อกับลำโพง 2.1 เสียบไฟ 220V สวิตชิ่งระเบิด ครั้งที่ 2 ทีวี 32 นิ้ว สวิตชิ่ง 2A เครื่อง Android TV 12V 2A ต่อกับลำโพง 2.1 หม้อแปลงประมาณ 200ma ลำโพงระเบิดข้างใน จนเบรกเกอร์ตัด

    • @Birdsiam39
      @Birdsiam39 Рік тому +1

      1.เดินผ่านสวิตชิ่งแปลงจากACเป็นDCไปเข้าเครื่องเล่นแล้วต่อเสียงออกลำโพง
      2.ลำโพงก็ต้องใช้ไฟเลี้ยงเป็น AC 220v
      เคสนี้น่าสนใจ อยากรู้คำตอบเหมือนกันครับ

    • @wewisgus599
      @wewisgus599 Рік тому +1

      @@Birdsiam39 น่าจะลัดวงจรเพราะสาย ground เชือมต่อกัน G ของ Switching กับ G ของหม้อแปลง คนละแบบกัน เดาเอานะครับ

    • @Birdsiam39
      @Birdsiam39 Рік тому

      @@wewisgus599 ครับผม

  • @piromseebudda813
    @piromseebudda813 2 роки тому +1

    สายGROUND AC​ DC​ ต่อลงดินรวมกันได้หรือเปล่า​ครับ

  • @bnwifi
    @bnwifi Рік тому

    จั้มแล้วอันตรายถ้าฟ้าผ่ามากะเอ็นวิ่งชนจีแน่นอน พังทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าพังทั้งคน แนะนำให้แยก 2ชุด ฝังแท่งทองแดงให้ห่างกัน (แต่การไฟฟ้ารู้ถึงปัญหานี้แล้วจึงได้ออกประกาศว่าให้งดใช้กระแสไฟฟ้าขณะฝนฟ้าคะนอง

  • @pjpj7154
    @pjpj7154 Місяць тому

    ทำไมตอนเรียน วิดวะไฟฟ้าจำได้ อาจารย์ บอกไม่ให้ตอกกราวด์ที่บ้านเอง เพราะจะเกิดความต่างศักดิ์ สูงมากเวลาฟ้าผ่า เมื่อเทียบกราวด์บ้าน เพราะความต้านทานกราวด์มักจะสูงกว่ากราวด์การไฟฟ้าถ้าไม่ทำให้ดี สายนิวทรอลบ้าน จะไหลกลับไปที่หม้อแปลงอยู่แล้ว เพราะฝั่ง low voltage เป็นหม้อแปลง แบบ Y สงสัยต้องกลับไปถามจารย์ใหม่😂หรือทุกวันนี้ การไฟฟ้าวัเค่าควาต้านทานกราวด์ที่ตัวบ้านด้วย อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะเรียนมา ยี่สิบกว่าปีแล้ว😅

  • @user-ot2oo6bj1y
    @user-ot2oo6bj1y 2 роки тому +4

    อธิบายได้ชัดเจน พร้อมทั้งตัวอย่างที่เข้าใจได้เลย ขอบคุณมากๆ ครับ

  • @onenaja2745
    @onenaja2745 2 роки тому

    ขอบคุณมากครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @shalom5691
    @shalom5691 8 місяців тому

    ผมจะสรุปง่ายๆดังนี้ คือทำไม กฟฟ.ถึง ได้ให้เราตอกกราวด์ด้วยแล้วต้องไปต่อเข้ากับ N สาเหตุคือป้องกันในกรณีที่ N ที่หม้อแปลงชำรุดจะเกิดอะไรขึ้นรู้ไหม N ไม่มีบ้านแต่ละหลังจั๊มคนละเฟสก็จะไปวนเครื่องใช้ไฟฟ้ามาครบวงจรที่ N ของเราเองที่ขาดก็เท่ากับเราต่อไฟทั้งสองเส้น หม้อข้าวเดือดดีจัง หลอดไฟเปิดแป๊ปเดียวก็ขาดแล้วเครื่องเสียงพังพินาศหมดแล้วจะเรียกร้องค่าเสียหายกับใครยกมือไหว้เป็นฝักถั่วขอโทษครับๆๆ แต่ถ้าต่อระบบปัจจุบันนี้ถึง N ที่หม้อแปลงจะขาดแต่ก็จะไม่เป็นไรเพราะเรามี N เป็นของตัวเอง เล่ายาว จริงๆแล้วอยากจะให้ละเอียดกว่านี้

  • @fendertick
    @fendertick 2 роки тому +2

    เยี่ยมครับ

  • @user-yx6jb9uf1d
    @user-yx6jb9uf1d Рік тому

    เข้าใจดีขึ้นมากครับ ขอบคุณมากครับ

  • @nokkitisaro1533
    @nokkitisaro1533 2 роки тому +2

    🙏🙏🙏สุดครับ เข้าง่ายมาก FC นะครับทำออกมาเรื่อยๆ เสียงชัด ภาพดี สั้นกระชับ

  • @ypochlo
    @ypochlo 4 місяці тому

    สมมติตู้เย็นที่บ้าน L รั่วลงตัวถัง แล้ว G ต่อกับ N ก็คือแทนที่ไฟรั่วลง G กลายเป็นไฟรั่วมาครบวงจรที่มิ้ตอร์ การไฟฟ้าเอาไฟที่รั่วนั่นมาคิดค่าไฟเข้ามิเตอร์สบายแฮ

  • @rapeepatselajun8782
    @rapeepatselajun8782 2 роки тому +1

    ขอสอบถามบ้านผมจั้มนิวตรอลเข้ากราวด์แล้วเบรคเกอร์ตัด เป็นเพราะสาเหตุอะไรครับ

    • @ekkarinj.4399
      @ekkarinj.4399 2 роки тому

      ต้องจั๊มนิวตรอลที่บาร์กราวดน์ก่อนเข้าเมน RCBO ครับ ถ้าจั๊มหลังเมนจะ On RCBO ไม่ได้ เครื่องจะเข้าใจว่าไฟรั่วเลย trip ทุกครั้ง

  • @user-nl2po7vf1w
    @user-nl2po7vf1w 2 роки тому +1

    กดติดตามเลยคับ..สุดยอดมากๆ

  • @user-cf3ex6db2t
    @user-cf3ex6db2t 6 місяців тому

    ขอสอบถามครับคือเครื่องทำน้ำอุ่นบ้านผมช่างต่อสายสีแดง2เส่นแล้วสายสีฟ้า1เส่นไม่เห็นมีสายสีเขียวเลย มันอันตรายมั๊ยครับแล้วสายสีแดง2เส่นกับสายสีฟ้า1เส่นมันคือสายอะไรบ่างหรอครับ

    • @mlab3051
      @mlab3051 5 місяців тому

      แนะนำให้ช่างไฟที่มีใบรับรองแก้ไขให้ครับ แต่จากการคาดเดา แกงสองเส้นคือ LN ฟ้าคือ G ครับ ช่างมักง่าย ต่อสายไม่เลือกสี

  • @kamkasin
    @kamkasin 2 роки тому +2

    ใช้โปรแกรมอะไร สร้างอนิเมะแบบนี้ครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  2 роки тому +2

      ส่วนใหญ่ตระกูล adobeทั้งหมดเลย ครับ

  • @geyomi44
    @geyomi44 Рік тому

    เข้าใจอะ ขอบคุณครับ😍

  • @jezz6697
    @jezz6697 2 роки тому +1

    สิ่งที่ผมอยากรู้มานาน

  • @PampostReturning
    @PampostReturning 2 роки тому +2

    ขอบคุณมากครับ!.

  • @piyavachkhunsongkiet1998
    @piyavachkhunsongkiet1998 7 місяців тому

    แอบสงสัยตรงวงจรบอร์ดขนาดเล็ก pcb ทั่วเขียนต่อลง G แต่ไม่ใช้สัญลักษณ์ N แทน แต่อย่างบอร์ดทดลองก็เขียน ลบ - ชัดเจน