อ้างอิง: Toews I, Lohner S, Küllenberg de Gaudry D, Sommer H, Meerpohl JJ. Association between intake of non-sugar sweeteners and health outcomes: systematic review and meta-analyses of randomised and non-randomised controlled trials and observational studies. BMJ. 2019 Jan 2;364:k4718. University of Minnesota Medical School. "Study links long-term artificial sweetener intake to increased body fat adipose tissue volume." ScienceDaily. ScienceDaily, 3 August 2023. ALONSO ROMO-ROMO, MONICA SANCHEZ-TAPIA, Sucralose Consumption Decreases Insulin Sensitivity and Modifies the Gut Microbiota in Healthy Individuals. Diabetes 14 June 2024; 73 (Supplement_1): 19-OR. Steffen, B.T., Jacobs, D.R., Yi, SY. et al. Long-term aspartame and saccharin intakes are related to greater volumes of visceral, intermuscular, and subcutaneous adipose tissue: the CARDIA study. Int J Obes 47, 939-947 (2023). McGlynn ND, Khan TA, Wang L, Zhang R, Chiavaroli L, Au-Yeung F, Lee JJ, Noronha JC, Comelli EM, Blanco Mejia S, Ahmed A, Malik VS, Hill JO, Leiter LA, Agarwal A, Jeppesen PB, Rahelic D, Kahleová H, Salas-Salvadó J, Kendall CWC, Sievenpiper JL. Association of Low- and No-Calorie Sweetened Beverages as a Replacement for Sugar-Sweetened Beverages With Body Weight and Cardiometabolic Risk: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Netw Open. 2022 Mar 1;5(3):e222092. Pase MP, Himali JJ, Beiser AS, Aparicio HJ, Satizabal CL, Vasan RS, Seshadri S, Jacques PF. Sugar- and Artificially Sweetened Beverages and the Risks of Incident Stroke and Dementia: A Prospective Cohort Study. Stroke. 2017 May;48(5):1139-1146. Mossavar-Rahmani Y, Kamensky V, Manson JE, Silver B, Rapp SR, Haring B, Beresford SAA, Snetselaar L, Wassertheil-Smoller S. Artificially Sweetened Beverages and Stroke, Coronary Heart Disease, and All-Cause Mortality in the Women's Health Initiative. Stroke. 2019 Mar;50(3):555-562. Debras C, Chazelas E, Sellem L, Porcher R, Druesne-Pecollo N, Esseddik Y, de Edelenyi FS, Agaësse C, De Sa A, Lutchia R, Fezeu LK, Julia C, Kesse-Guyot E, Allès B, Galan P, Hercberg S, Deschasaux-Tanguy M, Huybrechts I, Srour B, Touvier M. Artificial sweeteners and risk of cardiovascular diseases: results from the prospective NutriNet-Santé cohort. BMJ. 2022 Sep 7;378:e071204. Sun T, Yang J, Lei F, Huang X, Liu W, Zhang X, Lin L, Sun L, Xie X, Zhang XJ, Cai J, She ZG, Xu C, Li H. Artificial sweeteners and risk of incident cardiovascular disease and mortality: evidence from UK Biobank. Cardiovasc Diabetol. 2024 Jul 4;23(1):233. Cleveland Clinic Study Finds Common Artificial Sweetener Linked to Higher Rates of Heart Attack and Stroke
รายละเอียดสั้นๆงานวิจัยในตำนานและอื่นๆ และข้อมูลเพิ่มเติมน้ำตาลเทียมที่พบบ่อยแต่ละตัวครับ
👨⚕ทุกท่านสามารถช่วยสนับสนุนช่อง Dr.Oct24 ได้ที่
fukm.short.gy/ueTzLa
ขอบคุณครับ 🙏
อันนี้น่าจะลืมพูดในคลิป😅
-มีการศึกษานึงน่าสนใจ พบว่าคนที่กิน aspartame ก้บ saccharin ระยะยาว 7-20 ปี พบว่ามีไขมันในท้องและในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่เพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับ bmi ที่เพิ่มขึ้นด้วย คือกินยาว กินต่อเนื่อง มีความเสี่ยงไขมันเพิ่มขึ้น
งานวิจัยในตำนาน และอื่นๆ
🎉งานแรก ปี 2017 กลุ่มตัวอย่าง 2,888 คน พบว่า คนที่ดื่มน้ำอัดลมที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลวันละ 1 กระป๋อง หรือมากกว่ากว่า 1 กระป๋อง มีความเสี่ยงเป็น stroke มากกว่าคนที่ดื่มอาทิตย์ละน้อยกว่า 1 กระป๋อง ถึง 3 เท่า (1 กระป๋องประมาณ 12 oz = 355 ml.) และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมด้วย ข้อสังเกตุ:เป็น การสังเกต(observational study) ผู้ให้ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง มีปัจจัยกวนเยอะ กลุ่มตัวอย่างก็น้อยแค่ 2000 กว่าคน
🎉ต่อมาในปี 2019 มีการศึกษากับ หญิงวัยหมดประจำเดือน 81,714 คน พบว่าถ้าดื่มวันละ 2 กระป๋องหรือมากกว่า มีความเสี่ยงเทียบกับคนที่ดื่มอาทิตย์ละน้อยกว่า 1 กระป๋อง คือ เพิ่มความเสี่ยงเป้น stroke 23% โรคหัวใจเสี่ยงเพิ่ม 29% เพิ่มความเสี่ยงการตายโดยรวม 16% และเช่นกัน เป้นการวิจัยแบบสำรวจ (progressive cohort) และก็ไม่รู้และไม่แยกว่าสารให้ความหวานตัวไหนที่ใช้ทดสอบ
🎉ในปี 2022 ศึกษากับคน 100,000 คน อายุมากกว่า 18 ปี (อันนี้ก็เป็น progressive cohort study) (เปรียบเทียบการกินสารให้ความหวาน 7.46 และ 77.62 mg/day) คนที่ดื่ม aspartam มากกว่าปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 17% และคนที่ดื่ม acesulfame k มากกว่าปกติ มีความเสี่ยงเพิ่ม 13%
🎉และอันนี้คือในปี 2024 เป็นการศึกษาในคนอายุ 37-73 ปีเฉลี่ย 55.7 ปี กับคน 133,285 คน โดยสำรวจการใช้สารให้ความหวานในเครื่องดื่ม ชา กาแฟ หรือ cereal พบว่า ทุกหนึ่งช้อนชาของสารให้ความหวานที่ใส่ลงไปในเครื่องดื่ม จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจหลอดเลือดสมอง 1.2% โรคหลอดเลือดหัวใจ 1.8% และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย 3.5% และโรคที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ด้วย คือเป็นผลจากสารให้ความหวานล้วนๆ อันนี้ก็เป็น progressive cohort เช่นกัน สารให้ความหวานที่ใช่้คือ aspartame, sucralose, and saccharin แบบรวมๆไม่แยกชนิด
*จะเห็นว่า 4 วิจัยนี้ไม่ใช่การวิจัยแบบทีมีกลุ่มควบคุม (randomized control trial study)
*แต่ถึงทั้ง 4 แบบไม่ใช่ RCT แต่แนวโน้มคล้ายๆกันเลยคือ สารกลุ่มนี้น่าจะมีผลกับโรคหัวใจหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง และยิ่งทานมาก และหรือทานนานมากขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น 🙄
น้ำตาลเทียมที่เจอบ่อย ต่อด้านล่างครับ ⬇️
สารให้ความหวานแต่ละตัว
-cyclamate หรือ sodium cyclamate ตัวนี้อเมริกาแบน เพราะเคยมีการศึกษา พบว่าทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่การศึษาในคนก็ยังไม่พบว่าทำให้เป็นมะเร็ง ในยุโรปหรือ WHO ก็ให้ใช้ได้ แนะนำกินวันหนึ่งไม่เกิน 7 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ครับ สำหรับคนที่มีปัญหาทางไต ไตไม่ดีต้องระวังตัวนี้นะครับ เพราะตัวนี้ขับออกทางไตเป็นหลัก
-saccharine ตัวนี้ก็เคยถูกแบนจากหลายประเทศทั่วโลก เพราะตอนนั้นมีการศึกษาพบว่าทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่ตอนนี้ saccharine ให้ใช้ได้แล้ว เพราะงานวิจัยในช่วงหลังยังไม่พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในคน saccharine ข้อเสียคือมีรสขมค่อนข้างชัด คนก็เลยไม่ค่อยนิยมเท่าไหร่
-aspartame มีการทดสอบในหนูพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของเนื้องอกสมอง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ไม่มีข้อมูลยืนยันในคน WHO จัดตัว aspartame ในกลุ่ม 2B คือ possibly carginogenic to humans คืออาจก่อให้เกิดมะเร็งในคนได้ (ดูแอบน่ากลัว) แต่ปัจจุบันหน่วยงานประเทศต่างๆก็ยังให้ใช้ตัวนี้ได้นะครับ WHO ก็บอกใข้ได้ โดยต้้งลิมิตว่า ไม่ควรเกินวันละ 40 mgต่อน้ำหนักตัว 1 kg.ในคน aspartame เพิ่มความเสี่ยงการเกิด stroke กับโรคหัวใจ ได้ เพราะงั้นคนที่มีความเสี่ยงกับโรคพวกนี้อยู่แล้วอาจจะต้องระวังด้วย
-acesulfame potassium ตัวนี้ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองอีกแล้ว (น่าสงสารสัตว์ทดลองมากครับ) โดยเฉพาะถ้าใช้ในโดสสูงๆ แต่ยังไงก็ยังไม่มีการยืนยันการเกิดมะเร็งในคน ตัว acesulfame เหมือนกับ aspartame ในแง่ที่เพิ่มความเสี่ยง stroke กับโรคหัวใจได้
-sucralose ในสัตว์ทดลองพบว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดโดยเฉพาะโดสสูงๆ แต่ในคนยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ในคนไข้เบาหวาน การใช้ตัว sucralose ระยะยาวอาจทำให้เบาหวานแย่ลง ส่วนคนที่เสี่ยงเป็นเบาหวานก็อาจทำให้เป็นเบาหวาานขึ้นมาได้ *** ตัว sucralose ถ้าใส่ในเบเกอร์รี่แล้วอบร้อนเกิน 120-160 องศาเซลเซียล จะสลายตัวให้สารหลายอย่าง หนึ่งในนันคือ dioxin ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนะครับ ***
-erythritol ตัวนี้ใช้เยอะใน keto food หรือ keto cake ตอนนี้มีงานวิจัยที่แย้งกันอยู่ในเรื่องการเกิดลิ่มเลือด การเกิด stroke ก็เลยยังไม่มีข้อสรุปที่่ชัดเจน คงต้องตามกันต่อ 😄
อ้างอิง:
Toews I, Lohner S, Küllenberg de Gaudry D, Sommer H, Meerpohl JJ. Association between intake of non-sugar sweeteners and health outcomes: systematic review and meta-analyses of randomised and non-randomised controlled trials and observational studies. BMJ. 2019 Jan 2;364:k4718.
University of Minnesota Medical School. "Study links long-term artificial sweetener intake to increased body fat adipose tissue volume." ScienceDaily. ScienceDaily, 3 August 2023.
ALONSO ROMO-ROMO, MONICA SANCHEZ-TAPIA, Sucralose Consumption Decreases Insulin Sensitivity and Modifies the Gut Microbiota in Healthy Individuals. Diabetes 14 June 2024; 73 (Supplement_1): 19-OR.
Steffen, B.T., Jacobs, D.R., Yi, SY. et al. Long-term aspartame and saccharin intakes are related to greater volumes of visceral, intermuscular, and subcutaneous adipose tissue: the CARDIA study. Int J Obes 47, 939-947 (2023).
McGlynn ND, Khan TA, Wang L, Zhang R, Chiavaroli L, Au-Yeung F, Lee JJ, Noronha JC, Comelli EM, Blanco Mejia S, Ahmed A, Malik VS, Hill JO, Leiter LA, Agarwal A, Jeppesen PB, Rahelic D, Kahleová H, Salas-Salvadó J, Kendall CWC, Sievenpiper JL. Association of Low- and No-Calorie Sweetened Beverages as a Replacement for Sugar-Sweetened Beverages With Body Weight and Cardiometabolic Risk: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Netw Open. 2022 Mar 1;5(3):e222092.
Pase MP, Himali JJ, Beiser AS, Aparicio HJ, Satizabal CL, Vasan RS, Seshadri S, Jacques PF. Sugar- and Artificially Sweetened Beverages and the Risks of Incident Stroke and Dementia: A Prospective Cohort Study. Stroke. 2017 May;48(5):1139-1146.
Mossavar-Rahmani Y, Kamensky V, Manson JE, Silver B, Rapp SR, Haring B, Beresford SAA, Snetselaar L, Wassertheil-Smoller S. Artificially Sweetened Beverages and Stroke, Coronary Heart Disease, and All-Cause Mortality in the Women's Health Initiative. Stroke. 2019 Mar;50(3):555-562.
Debras C, Chazelas E, Sellem L, Porcher R, Druesne-Pecollo N, Esseddik Y, de Edelenyi FS, Agaësse C, De Sa A, Lutchia R, Fezeu LK, Julia C, Kesse-Guyot E, Allès B, Galan P, Hercberg S, Deschasaux-Tanguy M, Huybrechts I, Srour B, Touvier M. Artificial sweeteners and risk of cardiovascular diseases: results from the prospective NutriNet-Santé cohort. BMJ. 2022 Sep 7;378:e071204.
Sun T, Yang J, Lei F, Huang X, Liu W, Zhang X, Lin L, Sun L, Xie X, Zhang XJ, Cai J, She ZG, Xu C, Li H. Artificial sweeteners and risk of incident cardiovascular disease and mortality: evidence from UK Biobank. Cardiovasc Diabetol. 2024 Jul 4;23(1):233.
Cleveland Clinic Study Finds Common Artificial Sweetener Linked to Higher Rates of Heart Attack and Stroke
Tks.for yr.summary in deep details. This is very helpful... ***xylitol is harmful for dog. I think so many people still don't know about this fact.***
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ที่กรุณาให้ความรู้ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ขอให้คุณหมอมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ.
กราบขอบพระคุณ คุณหมอเป็นอย่างสูงค่ะ ❤❤❤
ได้ความรู้ดีมากเลยครับ
อยากให้คุณหมอให้ความรู้วิธีกินยาแก้อักเสบ เช่นถ้าเราลืมกินหรือกินเกินมื้อควรจะแก้ไขอย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
ถ้าหมายถึงยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ ถ้าลืมทานให้ทานทันทีที่นึกได้ ถ้าลืมทานยาก่อนอาหารและทานอาหารไปแล้ว ให้รออย่างน้อย 2 ชม.ค่อยทานยา หรือถ้าลืมจนใกล้ถึงยารอบถัดไป อาจรอทานยารอบถัดไปเลย หรือทานเลยแล้วปรับรอบยาใหม่ครับ(เลื่อนยารอบถัดไปออกไป)
ขอบคุณคุณหมอมากครับ
ถึงตอนนี้สรุปได้ว่า น้ำตาลเทียมยังคงดีกว่าน้ำตาลแท้ โดยรวม 😊
น้ำตาลอิริทริทอลกระตุ้นอินซูลินไหมคะขอบคุณค่ะคุณหมอ🙏
erythritol เป็นน้ำตาลเทียมไม่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเหมือนน้ำตาลจริงๆทั่วไปครับ
น้ำตาลหล่อ ฮังก้วย กระตุ้นอินซูลินไหมคะ
ปลอดภัยจะใช้กับคนเป็นเบาหวานที่เข้าสู่ระยะสงบ(remission)ได้ไหมคะ
กราบขอบพระคุณมากคะ
ในน้ำตาลหล่อฮังก๊วยมีสารซึ่งหลายงานวิจัยมีแนวโน้มว่าดีกับคนที่เป็นเบาหวานด้วยเพราะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็ทานให้เหมาะสมนะครับ (ตัวหล่อฮังก๊วยตัวมันเองไม่มีน้ำตาลนะครับ แต่น้ำหล่อฮังก๊วยที่ขายส่วนใหญ่ใส่น้ำตาลเพิ่ม)
@@dr.oct24 ขอบคุณมากค่ะ
❤