ซีเนอร์ไดโอด เบื้องต้น EP1(ซีเนอร์ไดโอด คือ? คำนวนหากระแสในวงจร)
Вставка
- Опубліковано 8 лют 2025
- สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง Zimzim DIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาอธิบาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ง่ายๆ สไตล์ช่อง Zimzim DIY กันครับ
อุปกรณ์ที่ผมจะพูดถึงในวันนี้มีชื่อว่า Zenor Diode
แล้ว ซีเนอร์ไดโอด คืออะไร
ก่อนอื่นมาดูสัญลักษณ์ ของซีเนอร์ไดโอดกันก่อน มันคล้าย ไดโอด ทั่วไป
ไดโอดทั่วไปนำกระแสได้ทิศทางเดียว ก็คือการ (ไบอัสตรง) ต่อสลับกระแสจะไม่ไหล
แต่ซีเนอร์ไดโอดมันมีความพิเศษ คือ กระแสสามารถที่จะไหลได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยที่ตัวมันเองไม่พัง
ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึง ซีเนอร์ไดโอด มันเหมือนกับไดโอดทั่วไปต่อขนานกันแบบกลับหัว
แต่ละตัวมีแรงดันตกคร่อมไม่เท่ากัน
ถ้าหากซีเนอร์ไดโอดตัวนี้ มีแรงดันซีเนอร์ = 12V
และมี แรงดันแหล่งจ่ายไฟ = 10V
ถ้าต่อในลักษณะนี้ จะเป็นเหมือนการ ไบอัสตรงไดโอด A ทำให้ไดโอด A มีแรงดันตกคร่อมอยู่ที่ประมาณ 0.7V เหมือนไดโอดทั่วไป
แต่ถ้ากลับขั้วแหล่งจ่าย ไดโอด A จะไม่นำกระแส(เพราะได้โอดทั่วไปนำกระแสได้ด้านเดียว) ถ้าเราวัดแรงดันตกคร่อมจะได้ 0V
ทีนี้มันก็จะเป็นหน้าที่ของไดโอด B บ้างที่จะนำกระแสแทน แต่ตอนนี้เราวัดแรงดันตกคร่อมไดโอด B ได้ 0V เช่นกันครับ
อ้าวแล้วที่บอกว่า ซีเนอร์ไดโอดมัน นำกระแสได้สองฝั่ง คือยังไง ??
เดี๋ยวผมจะอธิบายอย่างงี้ครับ
ที่มันนำกระแสไม่ได้ก็เพราะว่า แหล่งจ่าย จ่ายแรงดัน ได้ต่ำกว่าแรงดันซีเนอร์ ที่เขาระบุไว้ ทำให้นอกจากไม่มีแรงดันตกคร่อมแล้ว ยังไม่มีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ด้วยครับ
แต่เมื่อลองปรับแรงดันแหล่งจ่ายไป ที่ 15V ผ่าน ไดโอด B จะมีแรงดันตกคร่อมตัวมันอยู่ที่ 12V และมีกระแสไหลผ่านวงจร
ซีเนอร์มันก็เหมือนการรวม ไอโอด ทั้ง 2 ตัว รวมไว้ที่ตัวมัน
ทวนอีกครั้งนะครับ
การที่เราไบอัสกลับในหมดนี้ ซีเนอร์ไดโอด จะมีค่าแรงดันพังทลายอยู่ค่าๆหนึ่ง ซึ่งเขาจะเรียกว่า การพังทลายแบบซีเนอร์ หรือ ค่าแรงดันซีเนอร์ หรือ แรงดัน Breakdown
เมื่อเรา มีซีเนอร์ไดโอด ที่มีมีค่าแรงดันซีเนอร์อยู่ที่12V ต่อในลักษณะไบอัสกลับ ถ้ามีแรงดันแหล่งจ่ายไฟประมาณ 12V หรือ มากกว่านั้น กระแสก็จะเริ่มไหลในในวงจรตามทิศทางนี้ เพราะแรงดันแหล่งจ่ายเพียงพอที่จะพังทลาย
แต่ทีนี้เอาใหม่ เราจะเพิ่มแรงดันไฟ 20V ซีเนอร์ไดโอดก็ยัง
ยอมให้กระแสไหลผ่าน และรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ ประมาณ 12V
หากเราเพิ่มแรงดันแหลงจ่ายขึ้นไปอีก เปน 30V ซีเนอร์ก็ยังทำงานได้ดียังคงรักษาแรงดันอยู่ที่ประมาณ 12V ครับ
เราจะเห็นว่าซ๊เนอร์ไดโอดรักษาระดับแรงดันไฟ ได้อย่างยอดเยี่ยม มากๆ นี่คือขอดีของตัวมันน
กลับมาที่ตัวอย่าง เวลาต่อใช้งานจริงสังเกตุว่าต้องใส่ R ร่วมด้วย เพราะว่า
ซีเนอร์ไดโอด ส่วนใหญ่ทีเห็นในวงจร ก็จะทำงานในระดับ มิลลิแอมป์เท่านั้น ทำงานที่ค่าน้อยมากๆ
แล้วกระแสที่ถูกดรอปลงโดยตัวต้านทานพวกนี้
เราจะทราบและคำนวนหากระแสในวงจรนี้ได้อย่างไร
ผมจะยกตัวอย่างหนึ่งผมมี แรงดันแหล่งจ่ายที่ 15V
อย่างที่ผมบอก ตอนนี้เรารู้ว่าเมื่อป้อนแรงดันถึงค่าBreakdown ในโหมดไบอัสกลับ มันจะมีแรงดันตกคร่อมอยู่ เท่ากับแรงดันซีเนอร์
ซีเนอร์ไดโอด ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าประมาณ 12V แต่ อาจจะเป็น 12.1 โวล์ต หรือ 11.9 V ก็ได้ก็แล้วแต่กันไป แต่ที่แน่ๆแรงดันมันจะค้อนข้างที่จะคงที่ อยู่แถวๆนี้
แสดงว่าแรงดันข้ามตัวต้านทานที่เหลือ ตรงนี้ ก็ต้องเป้น 3 V เพราะ แรงดันทั้ง 2 ตัวต้องมีผลรวม รวมกันเท่ากับ แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอร์รี่
เราจะเอา 3V นี้แหละครับมาคำนวน
ถ้าหากเราต้องการหาค่ากระแสที่ไหลในวงจร นี้ เราจะใช้ สูตร
I = V/R ดังนั้นเมื่อ 3V / 1000Ohm ก็จะได้เท่ากับ 0.03A หรือ 3mA นั้นเอง นี้คือกระแสที่ไหลในวงจรนี้
หรือเราจะใช้เป็นสูตร I = Vin-Vz/R
ก็จะหาค่ากระแสได้เช่นกัน I = 15-12/1000 ohm
ก็หาค่าได้เหมือนกันครับ
ตอนนี้มีอีกตัวอย่างหนึ่ง
ผมจะต่อ ซีเนอร์ไดโอด ในลักษณะ อนุกรมกันสองตัว โดยมีแรงดันแหล่งจ่าย = 50V ผ่านตัวต้านทาน 1K
แรงดันซีเนอร์ สำหรับแต่ละตัวคือ 12V โจษย์ก็คือ จงหากระแสที่ไหลในวงจรนี้เป็นเท่าใด
ซีเนอร์ต่อในลักษณะไบอัสกลับ เพราะฉะนั้น เแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมไดโอดสองตัวนี้เราจะรวมกันเป็น 12V+12V เพราะฉะนั้นเราจะมีแรงดันตกคร่อมตรงนี้รวม = 24V
เพราะฉะนั้น แรงดันข้ามตัวต้านทานตรงนี้จะเป็นเท่าไหร่ครับ ?? ครับเพื่อนๆ ทายเล่นๆ
24+? รวมเป็น 50V
ได้ 26 ใช่ไหมครับ เพราะแรงดัน้อง เท่ากับแรงดันของแหล่งจ่าย ดังนั้นเมื่อเราจะนำเอาแรงดัน 26V ตรงนี้มา /ด้วย1000ohm ก็จะได้กระแสอยู่ที่ 26mA
หรือถ้าจะใช้สูตรก็คือ I = 50-24/1000 = 0.026A เราก็แปลงเป็น มิลิแอมป์
เราก็จะทราบค่ากระแสที่มันไหลในวงจรได้ครับ
สรุปว่า
Zernor ไดโอดนำกระแสได้ 2 ทิศทาง(ไบอัสตรง) และ ไบอัสกลับ ถ้าไบอัสตรงทำงานเหมือนไดโอดทั่วไป
ถ้าต่อไปอัสกลับ จะสามารถนำกระแสได้ และรักษาแรงดันให้คงที่เท่ากับ แรงดันของซีเนอร์ตัวนั้นๆ
*ไดโอดธรรมดา ไม่ค่อยทำอะไรได้มากนักส่วนใหญ่ที่เห็นมากกว่า90% ทำหน้าที่ เรกดิฟาย
เด๊่ยวคลิปถัดไป จะเป็นการ อธิบายลงรายละเอียด Detail ซีเนอร์ไดโอดให้ลึกกว่านี้
เช่นพวกกราฟ
แรงดันสูงสุดที่มันรับได้
กระแสสูงสุด ที่มันรับได้
เดี่ยวผมจะพูดถึงในคลิปถัดไป
⚠️เนื่องจากเนื้อหาใช้เวลาในการเรียบเรียงข้อมูลค่อนข้างนาน
เพื่อนๆสามารถสนับสนุน ค่ากาแฟ☕ ให้กับผมได้โดย..
1. ซื้อสินค้าผ่าน Shopee 👉 shope.ee/8encLFBkcT
2. ซื้อสินค้าผ่าน Lazada 👉 s.lazada.co.th/l.Zlpm
ขอบคุณมากครับ
รักช่องนี้มากๆ
ผมขออนุยาติพี่นำความรู้ที่พี่มอบให้ผมไปเผลแผร่ให้น้องๆได้ไหมครับ
ขอคลิปนี้เอาไปสอนเด็กนะครับ สื่อการสอนดูเข้าใจง่ายครับ
ขอบคุณมากครับ อธิบายได้เก่งมากๆๆ และ มี รายละเอียด เป็นตัวอย่าง ให้เรียน บันทึกข้อมูลจากการ สอนได้ด้วย
การอธิบายทำได้เข้าใจง่ายมากๆ สุดยอดครับ
คลิปที่ทำเพื่ออธิบายทุกเรื่องทำได้ดีครับช่วยให้เข้าใจได้ดียี่งขึ้นสำหรับคนไม่มีพื่้นฐานด้านนี้มาก่อนแบบผม ขอบคุณครับ
เข้ามาให้กำลังใจ ครับ เข้าใจง่ายดี ครับ
อยากให้ทำคลิป สอนการใช้งาน มัลติมิเตอร์ และ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ครับ
รักช่องZim zim ครับ fc เลย
ขอบคุณครับ ที่มาให้ความรู้
ขอบคุณครับ
สวัสดีครับผม กำลังใช้ zenor diode เป็น voltage regulatorครับ ผมผ่านstep หาค่า R แล้วครับแต่ว่า loadขอผมมัน คือ chip ที่ current มัน ทำงาน ที่50 uA แต่เมื่อ ไม่มีอะไรสั่งงาน มัน จะอยู่ที่ 0.01uAครับ อย่างนี้สามารถใช้ในวงจรนี้ได้ไหมอะครับ ผมต้องการ ลด แรงดัน3.3 volt เป็น 3 volt จาก voltage regulator ams1117 ครับ
ได้ความรู้มากๆเลยครับแต่ละคลิป ทำต่อไปเรื่อยๆนะครับ
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ติดตามตลอดเลยครับ
ขอบคุณครับผม
แนะนำให้ทำ เกี่ยวกับเรื่อง ชิ้นส่วนเสียเพราะอะไร เพราะที่ทำมาแค่อธิบายการทำงาน
สอนเข้าใจง่ายกว่าไปเรียนอีกครับ ผมนี่ลาออกเลย
ขอบคุนที่ไห้ความรู้น่ะครับ
แล้วหลอดledคือไดโอดใช่ไหม แล้วถ้าเราอนุกรมหลอดไฟเข้าหากัน ทำไมต้องใช้โวลสูงขึ้นเพื่อให้มันติดทั้ง4หลอด แต่ขนานกัน 3.7โวล มันก็สว่างทั้ง4หลอด ขอความรู้คับจารย์
ขอตอบแทนนะครับ
ใช่ครับ มันคือไดโอดเปล่งแสง
1.ต่อแบบอนุกรม = ค่าความต้านทานรวมจะเพิ่มขึ้น จึงต้องใช้แรงดันไฟสูงขึ้น แต่กินกระแสเท่าเดิม ความสว่างเท่าเดิม
ถ้าต้องการให้หลอดไฟติด ก็ให้นำค่า V (โวลต์) ของหลอดไฟคูณตามจำนวนหลอด ก็จะได้ค่า V ทั้งหมดที่หลอดไฟต้องการ
2.ต่อแบบขนาน = ค่าความต้านทานรวมจะลดลง ใช้แรงดันไฟเท่าเดิม แต่จะกินกระแสมากกว่าเดิม หากใช้แรงดันไฟเท่าเดิมที่ค่า A (กระแส) เท่าเดิม จะสว่างน้อยลงตามจำนวนหลอดไฟที่เพิ่มขึ้น ถ้าอยากให้สว่างเท่าเดิมเหมือนหลอดเดียว ก็ให้เอาค่า A ของหลอดไฟมาคูณตามจำนวนหลอดไฟที่เราต่อวงจรไว้ ก็จะได้ค่า A ทั้งหมดที่หลอดไฟต้องการ
เสริมนะครับ
V(โวลต์) คือหน่วยของ แรงดันไฟฟ้า,ความต่างศักย์ไฟฟ้า
A(แอมป์) คือหน่วยของปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า ครับ
ถ้าในกรณีของพวกไดโอดก็จะเป็น Vz ครับ หรือก็คือแรงดันพังทลาย,แรงดันซีเนอร์ อนุกรมกันก็เอา Vzของไดโอดทุกตัวในวงจรมาบวกกัน หรือถ้าค่า Vzเท่ากันก็เอามาคูณตามจำนวนไดโอด ก็จะได้ค่า V ที่จะทำให้ไดโอดนั้นทำงาน
@@itthiponkhemlai6792 เข้าใจแล้วคับถ้าขนานแอมป์ต้องสูงขึ้นประมานนี้ใช่ไหม
ใช่ครับ
อนุกรมเพิ่มโวลต์
ขนานเพิ่มแอมป์
ทำคลิปการเพิ่มกระแฟไฟ นำไปใช้งานต่อเลยครับ อยากรู้ตัวเพิ่มกระแสไฟของแผงโซล่าเซลครับ
ขอบคุณมากครับ อาจารย์.
❤❤❤
พี่ใช้โปรแกรมอะไรที่เป็นแบบจำลอง Electronic มาวางบนโต๊ะแบบนี้ได้ครับ
ขอเรื่อง REACTOR หน่อยครับ อยากรู้ว่ามีหน้าที่ทำอะไร
อธิบายได้ชัดเจนครับอาจารย์
ขอบคุณครับผม
ขอสอบถามหน่อยครับ เครื่องปั่นไฟ ต่อ ups แล้ว ups ยังร้อง มีวิธีแก้ไหมครับ
กรณีไม่มีเบอที่ตัวมัน จะรุ้ได้ไหมคับว่ากี่โวล ช่วยแนะนำน่อยคับ
ชอบช่องนี้มากคับ มาเปิดคู่ตำราเรียนเข้าใจมากขึ้น ทำคลิปออกมาเลื่อยๆนะคับ
ผมติดตามแล้วนะ
ผม งง ตรง 1:29 ครับ ตอนที่กลับขั่วแบตแล้วไดโอดไม่นำกระแส แรงดันตกคร่อมทำไมเป็น 0 V ครับ คือเอามิเตอร์จับขั่วไดโอด - และ + ตอนที่ไม่นำกระแส ก็น่าจะเหมือนตอนที่เอามิเตอร์จับขั้วแบตตรงๆก็น่าจะได้ 10V หรือเปล่าครับ ผมงงครับผม
ถ้าเอามิเตอร์มาจับระหว่างขั้วทั้งสอง มีแรงดันทั้งสองฝั่งครับ แต่ ไดโอดจะไม่นำกระแส และ ไม่มีแรงดันไหลผ่าน ต้องขออภัยด้วยนะครับ
@@ZimZimDIY ขอบคุณครับ และขอบคุณสำหรับคลิปดีๆ ที่ตั้งใจทำกราฟฟิคและการตั้งใจอธิบายของเจ้าของช่องด้วยนะครับ ทำให้การเรียนรู้อิเล็คง่ายขึ้นมากกว่าตอนที่ผมเรียนจริงๆครับ
ได้ 10V ถูกครับ ไม่ใช่ 0V
ไดโอดไม่นำกระแส ก็เป็นเหมือน Open-circuit
แรงดันของแหล่งจ่ายก็มาตกคร่อมที่ไดโอดหมด ซึ่งต้องเท่ากับ 10V ตามรูปครับ
ขอบคุณมากครับ นะครับ
ขอบคุณมากครับผม
ติดต่อช่องทางไหนได้บ้างต่ะพี่. ...พอดีมีบอดร์โซนี่...รุ่นเก่า..โซนี่ คอมโป....ไม่รฟุ้จะทำไงต่อค่ะ....อยากให้ะฝพี่เอามาโก้หน่อย .
ถ้าเอาซีเนอร์ไดโอดขนาด 3A มาต่อขนานกัน แอมป์ของซีเนอร์ไดโอนจะเพิ่มขึ้นไหมครับ
แจ่มมากคับ
ขอบคุณมากครับ
4:44 3/1000 ได้0.003 ถึงจะ 3mA ครับ ผมดูแล้วตะหงิดๆ 0.03 =30mA ไม่ใช่เหรอเนี้ย
เข้าไปที่ลิงค์ร้านค้าแล้วแต่ไม่รู้ว่าร้านไหนครับ
ทำอินเวอร์เตอร์ให้ดูหน่อยครับ
ขอบคุณครับพี่👍👍👍
ขอบคุณครับ
ก่อนจะสั่งซื้อของทุกครั้ง ผมจะมากดผ่านลิงค์ในนี้ให้เพื่อเป็นการสนับสนุนครับ
ขอบคุณมากๆครับ
ถ้าจะหาRทำยังไงครับ
สอนทำไฟแช็กไฟฟ้าหน่อนครับ(ขอแบบไม่เอาถ่าน12vขั่วบวกลบมาชนกัน)
มีแบบ 3 ขาใหมครับ
Switching diode ทำหน้าที่อะไรครับ
Zener diode และ ic regulator มันเหมือนกันไหมครับ
Switching diode ก็คือไดโอดที่มีค่ากระแส Reverse recovery น้อย ทำให้เหมาะกับใช้งานในวงจรที่มีการ Switch ด้วยความถี่ แต่ทนกำลังได้ต่ำ
Zener diode กับ IC Regulator ไม่เหมือนกันครับ ซีเนอร์ก็แค่เป็นไดโอดที่รักษาระดับแรงดันได้ แต่ไม่มีอำนาจในการรองรับกระแสเยอะๆตามโหลดได้
ถ้าเกิดกระแสเปลี่ยนไป ค่าแรงดันซีเนอร์ที่รักษาไว้ก็จะเปลี่ยนตาม(แต่เปลี่ยนนิดหน่อย) ถ้าโหลดยิ่งมากๆ ก็ถึงขั้นไม่สามารถรักษาระดับแรงดันได้แล้ว
ส่วน IC Regulator คือ ตัวที่รวมวงจรรักษาระดับแรงดันไว้ในชิปอันเดียว มีวงจรการควบคุมแรงดันขาออก มีฟีตแบคให้ทำงานได้อย่างไม่เพี้ยนและก็มี Protection กันกระแส
กันอุณหภูมิเกินบลาๆแล้วแต่ตัว และที่สำคัญคือสามารถรองรับโหลดสูงๆได้ตามสเปคของแต่ละตัวเลยครับ สรุปมันคืออุปกรณ์คนละชนิดกัน
@@somebodyinnobody ขอบพระคุณมากครับพี่ บางครั้งอยากกลับไปเรียนอิเล็กทรอนิกส์ใหม่หมดเลยครับ
มีวิธี แก้ เสียง จี๋ดๆๆ จากบอร์ดบลูทูธปาวตรับ
👍👍👍
แก๋ว
ทำอินเวอร์เตอร์ยังไงให้มันได้ 1,800 บาท
0.003Aนะครับ
มันก็คือ3ma
มีเคยทำคลิปเรื่องวงจรควบคุม(ESC)สำหรับมอเตอร์บรัสเลสอย่างมอเตอร์ระบายความร้อนคอมบ้างรึยังครับ
มันเป็นบลัสเลสประเภทเดียวกันกับตัวที่ใช้ในเครื่องมือไร้สายรุ่นใหม่ๆไหมครับ แต่สนามแม่เหล็กกับการใช้กระแสเยอะกว่าของคอมใช่ไหม ครับ เครื่องมือรุ่นใหม่ๆ แค่12โวลต์แต่ทรงพลังมาก
มันคือตัวต้านทาน+ไดโอด
เรียนมาน้อยครับผม
อ่อ.. น่าสนใจ
ชัดเจนมากๆเลยครับข้อมูลเรียบเรียงได้ดีมากๆเนื้อหาเป็นรำดับเข้าใจง่าย
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ