กิน Keto แล้ว LDL สูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/HDL จะต่ำ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 28 сер 2024
  • โดยสรุป "จำนวน (particle)" ของ LDL มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือด มากกว่า "ขนาด (LDL size)" และ LDL ตัวโต "Large LDL" ก็มีอันตรายต่อหลอดเลือดได้ เช่นเดียวกับ LDL ขนาดเล็ก "Small dense LDL" หรือที่บางคนเรียกว่า Pattern B (Small dense LDL สูง, TG สูง, HDL ต่ำ) ดังนั้นหากมี LDL สูงมากๆ แม้จะเป็น LDL ตัวโต ก็ยังเป็นอันตรายได้ แม้ว่าค่า Triglyceride/ HDL-C จะต่ำกว่า 2 ก็ตาม ...ถ้า LDL สูงอย่างไร "จำนวน" ของ LDL ก็จะมีมาก แปลว่าอันตรายอยู่ดี ค่า Triglyceride/ HDL-C จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อค่า LDL นั้นคุมได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ใช่ LDL ยังสูงครับ และโดยปกติ ถ้าเราสามารถคุม LDL จนอยู่ในระดับปกติได้แล้วเราจะใช้ค่า Non-HDL-C เป็นตัวบ่งบอกว่าเรายังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเหลืออยู่หรือไม่ครับ
    ท่านที่ต้องการเข้าใจเพิ่มเติมสามารถไปอ่านงานเขียนชิ้นนี้ได้ และแนะนำให้ไปอ่าน Reference ในงานเขียนเพิ่มเติมครับ (แนะนำ Reference 57,58 ครับ)
    www.ncbi.nlm.n...

КОМЕНТАРІ • 589

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +43

    กิน Keto แล้ว LDL สูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/HDL จะต่ำ #อธิบายไขมันจนถึงโมเลกุล #ไขมันสูง
    มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่า TG/HDL แล้วต่ำกว่า 2 หรือ 1.5 แล้วจะปลอดภัย ถึงแม้ LDL จะสูงก็ตาม ไม่ถูกต้องเพราะอะไรคุณหมอจะมาอธิบายให้ฟัง ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ก่อน
    #ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +10

      Triglyceride
      ลักษณะ Triglyceride อยู่ในนาทีที่ 3:39 เรียกว่า Glycerol จากนั้นจะมีกรดไขมันมาเกาะ 3 ตัว เรียกว่า fatty acid การที่เรียกว่า tri เพราะ tri แปลว่า 3 หรือกรดไขมัน 3 ตัวมาเกาะกัน อาหารที่เราทานเข้าไปจะมีความยาวของกรดไขมันไม่เท่ากัน ยิ่งยาวเท่าไหร่จะยิ่งมีการดูดซึมในระดับเข้าไปเป็น Chylomicron จะทำให้ ละลายในเลือดหรือในน้ำของร่างกายได้ ถ้ายาวมากๆแล้วเข้าไปในเลือดเดี่ยวๆแล้วจะทำให้มีปัญหา จึงต้องเข้าไปอยู่ใน Chylomicron ก่อนถึงจะละลายได้
      การตรวจ Triglyceride ซึ่ง Triglyceride จะปนอยู่ทุกที่ (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 31:48 ) การตรวจ Triglyceride ทั้งหมดจะไม่ชัดเจนเท่ากับ Particle analysis
      #ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +9

      ตับ
      เส้นเอ็นที่พาดระหว่างตับ 2 ข้าง เรียกว่า Falciform ligament (สามารถดูภาพได้ในนาทีที่ 7:03 นะคะ) ตับมีหน้าที่สังเคราะห์ VLDL ย่อมาจาก Very low density lipoprotein โปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมากๆ( สามารถดูภาพในนาทีที่ 7:27) และที่สำคัญคือยังมีลำไส้เล็ก หรือที่เรียกว่า Intestine จะสามารถสังเคราะห์ VLDL ได้บ้าง แต่ตับสังเคราะห์ Chylomicron ไม่ได้
      #ตอนที่3
      HDL คืออะไร
      HDL (High Density Lipoprotein) เป็นอนุภาคที่สร้างมาจากตับเป็นหลัก จะมีตัวเล็กและตัวใหญ่เหมือนตัวอื่นๆ จะประกอบไปด้วย Triglyceride (จะมีน้อยมากๆ) ,Cholesterol (จะมีเยอะ) และ Apolipoprotein จะเป็น A1 (สามารถดูภาพประกอบได้ในนาทีที่ 29:30)
      เราคาดว่า HDL ตัวใหญ่จะทำงานได้ดีกว่าตัวเล็ก แต่ข้อสรุปยังไม่ชัดเจน ส่วนอนุภาคของ HDL มีมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้จะยังไม่ชัดเจน เหมือน LDL และอนุภาคของไขมัน Lipoprotein ตัวอื่น แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ เรื่องของ function หรือการทำงาน จะมี HDL ที่ทำงานได้ดี และ HDL ที่ทำงานไม่ดี ไม่ขึ้นกับอนุภาคของ HDL นี่คือความรู้ในปัจจุบัน แต่การศึกษายังไม่สิ้นสุด จะต้องรอดูต่อไปว่า ตกลงอะไรที่เป็นส่วนของ HDL ที่เป็นการทำงานที่ดี ที่เราจะนำมาพิสูจน์และดูกันต่อไป
      #ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому

      HDL มีหน้าที่เอา Cholesterol ไปส่งให้กับเซลล์ที่จำเป็น เช่น เซลล์รังไข่ (Overy) เซลล์อัณฑะ เพราะต้องสร้างสเตียรอยด์ เซลล์ของต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ที่เหลือจะนำกลับไปที่ตับ
      การที่ Cholesterol กลับไปที่ตับ ไม่ได้ทำให้ตับท่านมีปัญหา สิ่งที่ทำให้มีไขมันพอกตับ คือ Triglyceride เกือบทั้งหมด ท่านที่ทานแป้งเยอะ จะสร้าง Triglyceride ขึ้นมาได้เยอะแล้วจะไปพอกที่ตับได้เยอะไม่ใช่จากไขมัน
      #ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +7

      ต่อไปมาทำความเข้าใจกับ Lipoprotein
      - Lipo จะ ประกอบไปด้วย TG และ Cholesterol
      - Protein คือ Apolipoprotein มีหลากหลายชนิด ตามแต่ว่าคืออะไร
      ทั้ง TG, Cholesterol และ Apolipoprotein ทั้ง 3 อย่างนี้จะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันตามชนิดของ Lipoprotein (จะต้องมี 3 ชนิดนี้อยู่รวมกันเสมอ ไม่สามารถมีอย่างหนึ่งอย่างใดได้)
      ประกอบด้วย (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 2:37 เป็นต้นไปนะคะ)
      - ตัวใหญ่ที่สุดคือ Chylomicron เป็นอนุภาพอย่างหนึ่งที่เราทานอาหารที่มีไขมันเข้าไป แล้วถูกดูดซึมเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็น Triglyceride เวลาที่เราย่อยอาหารประเภทไขมัน
      ส่วนใหญ่ของ Chylomicron จะเป็น Triglyceride รองลงมาจะเป็น Cholesterol และ Apolipoprotein เด่นๆคือ B48 (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 5:10 นะคะ) แต่ก็มี C, E อีก แต่คุณหมอจะไม่กล่าวถึงในคลิปนี้
      #ตอนที่6

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому

      เวลาที่ Chylomicron ถูกดึงเอา Triglyceride ออกไป เพราะร่างกายต้องการนำ Trigleceride ไปใช้เป็นพลังงาน เช่น หัวใจ จะต้องใช้พลังงานจาก fatty acid จาก Triglyceride ในปริมาณสูงมากๆ หัวใจจะไม่ค่อยใช้พลังงานจาก กลูโคส เหมือนอวัยวะอื่นๆ เพราะกลูโคสให้พลังงานต่อหน่วยน้อยกว่าไขมัน ดังนั้นหัวใจจะใช้พลังงานจาก Triglyceride เป็นหลัก
      จะมีเอนไซม์ตัวหนึ่งย่อยตัว Trigleceride มีชื่อว่า Lipoprotein Lipase ทำให้ Chylomicron ปล่อย Triglyceride เข้าสู่อวัยวะหรือ เซลล์ที่ต้องการมัน หลังจากปล่อยแล้วขนาดก็จะเล็กลงไปเป็น Chylomicron Remnant
      - Chylomicron Remnant คำว่า Remnant แปลว่าส่วนที่หลงเหลืออยู่ Chylomicron ทั้งหมดจะมาจากอาหาร จะมี B48, Cholesterol และ Triglyceride ที่ลดลง
      #ตอนที่7

  • @hungrytime3343
    @hungrytime3343 2 роки тому +9

    ผมดูช่อง อ.ลอย แล้วทำตาม อ.ลอยแนะนำ ผมอายุ 42 ปี สูง 173 เซน ทำ Autophagy 3 วัน 3-4 รอบแล้ว😃 เลี่ยงแป้ง น้ำตาล น้ำมันพืช
    ( 3 อย่างเป็นเคล็ดลับ😀 ) จาก นน. 86 กก. ตอนนี้ลดเหลือ 70 กก. ใช้เวลาตั้งแต่ เมษายน ปี 2565 ถือว่า วิธีของ อ.ลอย ได้ผลในการลดน้ำหนักดีมากครับ😀 แต่เป็น FC ของ อ.หมอ และ อ.ลอยทั้งคู่นะครับ ขอบคุณ youtube ทำให้เจอคนเก่ง ๆ อีกทวืป มาให้ความรู้ด้วยครับ😀😀😀

    • @weezaazsomwin144
      @weezaazsomwin144 2 роки тому

      ผมก้ได้ช่องอจ.ลอยเช่นกันครับ ที่ทำให้ลดนำ้หนักจาก74ลงมา60กก.เริ่มif จากช่วงสงกรานต์มาครับ แต่ผมทานไข่ต้ม+นำ้เต้าหู้
      ลดแป้ง แต่บางทีก้ทานไก่ทอดบ้างครับ ออกกำลังกายแบบhiit

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +26

    ขออนุญาตลงประวัติการศึกษาของอาจารย์อีกครั้งนะคะ
    🟢อาจารย์จบแพทย์จุฬาฯ เรียน 6 ปี
    🟢Albert Einstein Medical Center (สหรัฐอเมริกา) 3 ปี
    🟢Emory University (สหรัฐอเมริกา) 3 ปี
    🟢Duke University (สหรัฐอเมริกา) 1 ปี

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +10

    คลิปการทาน Keto แล้ว LDL สูงคลิปนี้ ผ่านไปเพียงข้ามคืน ยอดวิวเกิน 10,000 ครั้งแล้วค่ะอาจารย์ ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐 นี่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ปัญหาของการที่ LDL สูงมากมันไม่ใช่เรื่องดีที่ควรนิ่งเฉยไม่ทำอะไร และวันนี้อธิบายลงลึกไปอีก อาจารย์มาช่วยชี้ทางสว่าง มาช่วยหาทางแก้ไขปัญหาสุขภาพของหลายๆท่าน ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากคนอื่นเลย เกิดจากตัวคนทานอาหารไม่ถูกหลัก กินแบบไม่ยั้งคิด เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของตัวเองทั้งนั้นเลยนะคะ...

  • @samanthac.rangkoon1396
    @samanthac.rangkoon1396 2 роки тому +16

    หมอแทนมีความเป็น"ครู"สูงมาก อุตส่าห์ทำคลิป+วาดภาพเกินครึ่งชม.เพื่อให้คนฟังเข้าใจ กลางเดือนนี้มีตรวจเลือดจะลองคำณวนหาnon-HDL ตอนนี้ทานstatin 10mg/วันอยู่ค่ะ...ลุ้นๆ😓

  • @tanaporn-um6qn
    @tanaporn-um6qn 2 роки тому +46

    เท่าที่ฟังมาหลายคุณหมอ ล้วนมีวิธีที่ต่างกัน สุดท้ายขายของ ขายคอร์ส จะติดตามคุณหมอตลอดไปนะคะ แม้จะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ขอบคุณค่ะ

  • @nutchakraiyabutra9468
    @nutchakraiyabutra9468 2 роки тому +3

    พอเห็นอาจารย์พูดแบบนี้ ก็นึกถึง วิศวกรชาวไทย สัญชาติแคนาดา ท่านหนึ่งขึ้นมาเลย

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 2 роки тому +10

    ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏻
    กิน Keto แล้ว LDLสูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/HDL จะต่ำ#อธิบายไขมันจนถึงโมเลกุล#ไขมันสูง🧑🏻‍💻
    💯ฟังไปหลายรอบชอบมากสุขภาพต่อเนื่องเนื้อหาลายมือและรูปประกอบฟังดูเพลินทำให้ได้ความรู้เข้าใจต่อจากคลิปก่อน มิน่ามีถามคุณหมอไปคลิปก่อนTG/HDL

  • @kgfcccvvhbbbc7565
    @kgfcccvvhbbbc7565 2 роки тому +4

    คุณหมอ Tanyครับ ผมติดตามคุณหมอมานานพอควร ผมปรึกษาคุณหมอโรคต่างๆ คุณหมอพูดถูกต้องเสมอ แม่นยำบอกวิเคราะห์ไม่เคยผิดนะครับ ผมเชื่อคุณหมอครับ ผมวิเคราะห์ตามเสมอ มันก็ถูกเสมอครับ และเป็นจริงด้วย ผมให้กำลังใจคุณหมอสำหรับความรู้ดีดีเสมอครับ 🎀🎀🎀 ถ้าคุณหมอไม่เก่งจริงจะมาถึงวันนี้ไม่ได้หรอกครับ ผมเชื่อเช่นนี้จริง ๆ

  • @user-iz1mt3ny9m
    @user-iz1mt3ny9m 2 роки тому +13

    ขอบคุณค่ะ ชอบใจความเป็นครูของอาจารย์แทน เข้าใจเลยว่าทำไมถึงได้เป็นอาจารย์แพทย์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond 2 роки тому +19

    เปิดคลิปนี้ให้คุณพ่อฟังระหว่างรอผลATKไปยื่นสอบ ไหนๆท่านก็เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันอยู่แล้ว 😂 คลิปนี้คุณหมอก็ยังย้ำเหมือนเดิมว่า LDL Particle หรือจำนวนของมันต่างหากที่สำคัญ ไม่ใช่ขนาด เพราะอนุภาคขนาดใหญ่ของ LDL อย่าง Chylomicron VLDL และIDL ก็ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน คลิปนี้ไม่อยากให้คนเข้ามาอ่านสรุป แต่อยากให้ฟังสิ่งที่คุณหมอพูดโดยละเอียดมากกว่า หนูฟังแล้วสนุกดี นึกถึงสมัยเรียนพิเศษชีวะ ม.ปลาย ตอนที่เรียนเพื่อไปสอบกสพท.เลย
    เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงความคิดของคนได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่ทำได้ คือ การให้ข้อมูลหรือความรู้ที่ถูกต้อง ส่วนเขาจะเชื่อหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขาแล้วค่ะ
    คนที่ไม่เชื่อ ต่อให้อธิบายแค่ไหน เขาก็พยายามหาเหตุมาหักล้างคำพูดของเราอยู่ดี
    เป็นกำลังใจให้ค่ะ 🙏🏻

    • @gu.change9108
      @gu.change9108 2 роки тому +3

      จริงครับผมเห็นด้วยกับข้อความสุขท้าย คนบางคน ไม่เชื่อ อธิบายยังไงก็ไม่ยอมรับ ทั้งที่จริงๆ นั่นคือ Fact หลังๆผมก็เลยใช้วิธีเงียบฟังให้เข้าพูดไป จะตายยังไงแล้วค่อยไปรักษากันอีกที รำคราญขี้ไปเถียงครับ

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 роки тому +3

      @@gu.change9108 อันดับแรกเราต้องรับฟังและอธิบายข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถูกต้องพร้อมเหตุผลให้เขาฟังก่อน หลังจากนั้น เป็นเรื่องของเขาแล้วว่าจะเชื่อหรือไม่
      คนเรามีความคิดและวิจารณญาณที่แตกต่างกันตามพื้นฐานหรือสิ่งที่ได้พบเจอ หากเขาคิดและเชื่อแบบนั้น แล้วร่างกายเขาแข็งแรง ผลเลือดปกติ ก็ต้องปล่อยเขาไป
      โอก็เป็นคนหนึ่ง ที่ไม่ได้เชื่อคำพูดทุกคำของคุณหมอทุกท่านที่ได้เข้าพบ แต่นำกลับมาคิด วิเคราะห์ และพยายามหาเหตุผลว่าทำไม ทำไม ทำไม เสมอ
      😊

    • @DrThai2
      @DrThai2 2 роки тому +3

      อย่างพระพุทธเจ้าว่า บัวมี 4 เหล่า
      แม้จะเหล่าที่ 1 ในเรื่องคณิตศาสตร์
      แต่ก็เป็นเหล่าที่ 4 ในเรื่องการหว่านแห
      คนเก่งจริง ต้องรู้ตัวว่าตนอยู่เหล่าไหน ไม่ใช่ผยองว่าเก่งอยู่เหล่าที่ 1 ในทุกๆเรื่อง 🤣

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 роки тому

      @@DrThai2 ถูกค่ะ
      คนเก่งจริง นอกจากจะรู้ว่าตัวเองถนัดอะไรแล้ว
      ต้องรู้ด้วยว่าตนเองมีข้อด้อยอะไรและกล้าที่จะยอมรับมัน
      เมื่อไหร่ยอมรับในข้อด้อยของตน เมื่อนั้นก็พัฒนาตนได้
      สาธุค่ะ🙏🏻

    • @user-xx6ql8wr4j
      @user-xx6ql8wr4j 2 роки тому

      @@DrThai2คิดว่า บัวสี่เหล่า ไม่น่านำมาใช้เปรียบกับแบบนี้ได้

  • @tep222
    @tep222 2 роки тому +32

    บางคนใช้วิธียกตนข่มท่านจริงครับ ก่อนจะพูดอะไรต้องว่าคนนั้นว่าคนนี้ก่อน แล้วยกตัวเอง พยายามจับกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบการตินั่นตินี่ สุดท้ายขายของครับ ทั้งที่ตัวเองก็ให้ข้อมูลผิดบ่อยๆก็ใช้วิธีลบโพสต์หนี

    • @BBAAMT
      @BBAAMT 2 роки тому +4

      รู้เลยว่าใคร มีคนเดียว 555

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +2

      ใครน้อ

    • @khaimok2561
      @khaimok2561 2 роки тому +9

      ลอยกระทง

    • @Ki-cn2nn
      @Ki-cn2nn 2 роки тому +3

      ช่องนี้ถามแล้วอาจารย์มาตอบด้วยเหตุผล ขอบคุณอาจารย์มากครับ แต่ บางช่องถาม ย้ำว่าไม่ได้พิมพ์ดูถูกหรือต่อว่าอะไรเลยนะครับ แค่บอกว่าไม่เห็นด้วยและยกการวิจัยมาปุ๊ป โดนลบคอมเมนท์

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому

      @@Ki-cn2nn ถ้าโดนลบทันทีภายใน 1 นาที แปลว่าคุณพิมพ์คำบางคำที่ยูทูปกรอง ระบบจะลบครับ คำบางคำเช่นพวกชื่อยาภาษาอังกฤษ ก็มักจะโดน แต่ถ้าโพสต์มาพักนึงแล้วหาย แปลว่า เค้าลบครับ ซึ่งมันก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าของช่องอะครับ เพราะคุณหมอแทนก็ลบพวกที่ต่อต้านวัคซีนเหมือนกัน แต่เหตุผลการลบมันต่างกันครับ

  • @jogoonatrip
    @jogoonatrip 2 роки тому +6

    ขอบคุณความรู้ดี ๆ ค่ะคุณหมอ ส่วนตัวเชื่อในทางสายกลาง อะไรที่มันมากเกินไปมันไม่ดี กินให้มันสมดุล รู้จักเลือกอาหารไม่สุดโต่ง ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และหัวใจ ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ ทำได้จริงในระยะยาวค่ะ

  • @gob2004
    @gob2004 2 роки тому +7

    ขอบคุณมากครับ 22:30 ถีงว่า link ที่ อ. เคยให้ประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจถึงไม่ใช้ค่า TG ครับ เพราะไม่ได้ใช้ TG/HDL Ratio ซึ่งถ้าต่ำกว่า 2 ก็ยังมีความเสี่ยง มาเป็นตัวประเมินครับ 30:00 หน้าที่ ็HDL ความรู้เน้นๆครับ

  • @luxanawadeeboonyasirinun6378
    @luxanawadeeboonyasirinun6378 2 роки тому +4

    ขอบคุณค่ะ “เหมือนโดนป้ายยาเลยค่ะ” 😋ทำไมถึงหยุดฟัง ไม่สนใจไม่ได้ ทั้งที่ดูเรื่องนี้ไม่ค่อยเสี่ยงกับสุขภาพตัวเองตอนนี้เท่าไหร่ ! ก็ยังติดตามฟังคุณหมออย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจทั้ง 3 ภาค (วันนี้ยากสำหรับตัวเอง และน่าจะคิดว่าไกลตัวด้วยมั้งคะ) แต่คุณหมอวาดรูปประกอบการอธิบายให้ดูด้วย ก็พอช่วยให้เข้าใจได้เยอะเลยค่ะ …ความรู้ที่คุณหมอให้อาจไม่ได้ใช้โดยตรงกับตัวเองในวันนี้ แต่ความรู้คือความรู้…สะสมไว้ใช้ในวันข้างหน้าได้ใช่ไหมคะ ? ชอบสรุปจบตอนท้ายของคุณหมอค่ะ ยังมีคนอีกหลายคน หลายอาชีพ ที่รู้ไม่จริง แต่ขอให้ได้พูด…ถ้าเรื่องนั้นที่เขาพูดแล้วมีคนที่เชื่อไปทำตาม อาจทำให้เสียชีวิตหรือเสียสุขภาพนี่ ไม่ควรเลย น่าเป็นห่วงนะคะ บางที บางเรื่อง บางคน มันก็เหนือการควบคุมได้ ศีลไม่เสมอกันก็พูดให้เข้าใจกันยากนะคะ และบางคนก็ทำตัวเป็นชาที่ล้นถ้วยก็ไม่ไหวจะเสียเวลาสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้มั้งคะ good day นะคะ สงสารคุณหมอวันนี้น่าจะเหนื่อย take care นะคะ วันนี้ฝากหอม Rosy 1 ฟอดค่ะ

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 2 роки тому +6

    สวัสดีค่ะคุณหมอแทน
    การมีLDL particleเยอะในเลือดเป็นเวลานาน เป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาทจริงๆค่ะ คุณหมออธิบายหลายเรื่อง มีแถมให้ด้วยพร้อมเขียนภาพประกอบอีก ขอบคุณสำหรับความตั้งใจที่จะให้"ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง" ค่ะคุณหมอ✌️✌️เป็นกำลังใจให้นะคะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +7

    ทุกท่านลองลิสต์รายการอาหาร ของหวาน ขนม เครื่องดื่มที่ท่านชอบทาน และชอบดื่มอยู่ทุกวันดูค่ะว่า ท่านทานอะไรบ้าง (รวมทั้งผู้ที่ทานอาหารคีโต) แล้วลองดูว่าอาหารที่ท่านทานอยู่นั้น ถ้าทานแบบนี้ไปนานๆ อีกหลายๆปี มันจะเป็นโทษกับสุขภาพของท่านหรือไม่ จะทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ หรือไม่ พฤติกรรมการบริโภคของเราจะสัมพันธ์กับสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยค่ะ...

  • @samuelsong8930
    @samuelsong8930 Рік тому +7

    This is the best lecture on cholesterol i have ever heard

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 2 роки тому +12

    ขอบคุณครับคุณหมอแทน 👍
    ในความเห็นของผมการสุดโต่งในเรื่องใดๆไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับวิถีของมนุษย์ครับ เช่น ถ้าต้องเลือกระหว่าง Keto กับ Low Carb ผมก็เชื่อว่า Low Carb น่าจะเป็นแนวทางที่ทำได้ในระยะยาวมากกว่า Keto

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 2 роки тому +8

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ คนที่รับประทานKetoแล้วค่า triglyceride ต่ำลงค่า HDL สูงขึ้นทำให้ค่าของ triglyceride หารด้วย HDLต่ำกว่า2 หรือ1.5 ถือว่าปลอดภัยแม้ว่าค่าLDLจะสูงมากๆก็ตามคำกล่าวนี้อาจารย์หมอไม่เห็นด้วยและถ้ารับประทานยา กลุ่ม Statins ก็ไม่สามรถช่วยเรื่องนี้ได้ ค่าLDLที่สูงขึ้นมันเป็นตัวดีLDLไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไปโดยอาจารย์หมอได้อธิบายถึงระดับโมเลกุล วาดรูปให้เห็นถึงสภาพอย่างละเอียด ดิฉันได้เห็นความตั้งใจที่สูงมากที่สื่อ. ออกมาให้คนฟังเข้าใจง่ายชี้ให้เห็นประเด็นที่อาจารย์หมอไม่เห็นด้วยค่ะ ดิฉันคิดว่าคนที่กำลังทาน Keto คงจะเข้าใจค่ะและดิฉันก็เป็นคนหนึ่งค่ะที่เข้าใจขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะ

  • @weezaazsomwin144
    @weezaazsomwin144 2 роки тому +2

    ข้อมูลช่องนี้ไฝว้กะช่องอจ.ลอย สุดๆ ต้องใช้วิจารณญาณกันให้มากครับ ความละเอียดของงานวจัยชัดเจนดี

  • @chinorotyongkiatkan9471
    @chinorotyongkiatkan9471 2 роки тому +2

    ผมฟังคลิปสุขภาพของหมอหลายคน ส่วนใหญ่ท่องจำมา เน้นตั้งหัวข้อหรือเน้นถ้อยคำขึ้นต้นที่หวือหวา เรียกความสนใจให้คนเข้ามาดูเพื่อขายครอส ขายของ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น บางเรื่องให้ข้อมูลผิดๆ สำหรับผมจะใช้วิจารณญาณบนเหตุผลและพยานหลักฐานเท่านั้น ผมจึงไม่ค่อยเชื่อถือคลิปเหล่านั้น เท่าที่พบเห็นมีหมอที่ทำคลิปที่ผมเชื่อถือแค่ 2-3 คน หมอธานีเป็นหนึ่งในนั้น ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอทำคลิปดีๆ มีประโยชน์แบบนี้ไปนานๆ ครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому

      ขออนุญาตนะคะ อาจารย์ชื่อ ธนีย์ ค่ะ

  • @uraiwanintamaso6653
    @uraiwanintamaso6653 2 роки тому +7

    ขอบคุณค่ะอาจารย์ จริงๆ แล้วคนปัจจุบันเชื่อกันง่ายมาก ไม่มีความเป็นเหตุผล บางเรื่องเราอาจไม่รู้ลึกแต่ถ้าเรามีความสามารถคิดวิเคราะห์ได้ เราจะเชื่อในหลักฐานที่มีมากกว่ายึดถือตัวบุคคลที่อาจมีผลประโยชน์แอบแฝง ขอบคุณค่ะที่กล้าหาญมาหักล้างด้วยเหตุผล แทนที่จะบ้งคับให้คนอื่นเชื่อตาม

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      พาดพิงใครน้อ

    • @user-du3ru9fm8u
      @user-du3ru9fm8u 2 роки тому

      ฟังหลายๆท่านค่ะทั้งหมอและไม่ใช่หมอ ใช้ปัญญาเท่าที่มีเลือกเอาค่ะ ไม่ใช่ใครพูดถูกใจคนนั้นพูดถูก เอาผลประโยชน์ตัวเราเป็นหลักค่ะ ศาสตร์การดูแลสุขภาพมีมากมายหลายประเภทมาก บางทีสละเวลาดูแลตัวเองสักนิดก็ไม่ถึงกับหาหมอ แต่บางโรคก็รักษาเองได้ยากต้องพึ่งแพทย์ก็ตามสถานการณ์ค่ะ

  • @usapleanrungsi
    @usapleanrungsi 2 роки тому +5

    ยากจัง หัวบวม ต้องฟังอีกรอบค่ะ ขอบคุณคุณหมอที่พยายามมาถ่ายทอดค่ะ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 2 роки тому +4

      ลองไปอ่านที่คุณหมอสรุปใต้คลิปค่ะ เข้าใจง่ายเลยค่ะ

  • @wino3o
    @wino3o 2 роки тому +3

    ขอบคุณค่ะ ฟังไปเรื่อยๆค่อยๆสะสมความเข้าใจค่ะ เพราะว่า LDL ของดิชั้นนั้นพุ่งสูงตามอายุค่ะ เลยชอบมาฟังเพราจะได้คิดว่าจะจัดการเรื่องการกินอาหารของตัวเองอย่างไรดี แม้ TG จะมีค่าที่ไม่เกินที่ตั้งไว้ แม้ร่างกายไม่ได้รู้สึกแย่ แฮปปี้ๆอยู่แต่ LDL ที่สูงก็ทำให้คิดเยอะมากขึ้น

  • @noomhaha2
    @noomhaha2 2 роки тому +6

    สมเป็น อาจารย์แพทย์นำความรู้ระดับสูงมาให้รับฟัง กราบขอบพระคุณมากครับชัดเจนมาก

  • @wanhawkins3513
    @wanhawkins3513 2 роки тому +3

    อนุโมทนา..ในความมานะ
    พยายามที่อธิบายอย่าง
    ลืกซื้งแจ่มชัดอย่างมีเมตตา
    ธรรมะของคุณสวยงามมาก
    สาธุสาธุสาธุ.

  • @umpabumpen9628
    @umpabumpen9628 Рік тому +1

    เคยกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นค่ะวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะค่ะผลก็คือค่า ไตรกลีเซอไรด์ สูงขึ้นค่ะค่า ldl ก็สูงขึ้นค่ะทำให้เป็นหลอดเลือดตีบเมื่อเข้าโรงพยาบาลคุณหมอบอกว่าให้งดน้ำมันมะพร้าวให้หันมากินน้ำมันมะกอกแทนค่ะน้ำมันอะโวคาโดหรือไม่ก็น้ำมันงาขี้ม้อน ผลก็คือค่าไตรกลีเซอไรด์และ ldl ลดลงค่ะ

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn 2 роки тому +7

    🗓 พฤหัส 4 ส.ค. 2565
    ขอบคุณอาจารย์หมอแทนมากค่ะ สำหรับความรู้เรื่อง การกินคีโต กับ 🆚 ไขมัน LDL
    💬 วลีเด็ด ในวันนี้
    “ LDL ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป “
    มีวาดรูปประกอบการให้ความรู้ ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นค่ะ และขอบคุณลิ้งวิชาการแนบประกอบ พร้อม คำบรรยาย ตัวหนังสือถึงที่มาของหัวข้อในวันนี้ด้วยนะคะ
    🌤🌤🌤🌤
    Good morning Boston 🇺🇸 Have a wonderful & happiness time with a lovely Thursday ค่ะ วันนี้ ขอทักทายขึ้นมาก่อนเลยนะคะ
    ขออนุญาต คัดลอกข้อความใต้คลิป ของ อาจารย์แทน มาลงไว้ในคอมเม้น ในวันนี้นะคะ เผื่อมีคนไม่ได้สังเกตค่ะ
    👨‍⚕️🩺🫁 🗣💬
    กิน Keto แล้ว LDL สูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/HDL จะต่ำ #อธิบายไขมันจนถึงโมเลกุล #ไขมันสูง
    โดยสรุป "จำนวน (particle)" ของ LDL มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือด มากกว่า "ขนาด (LDL size)" และ LDL ตัวโต "Large LDL" ก็มีอันตรายต่อหลอดเลือดได้ เช่นเดียวกับ LDL ขนาดเล็ก "Small dense LDL" หรือที่บางคนเรียกว่า Pattern B (Small dense LDL สูง, TG สูง, HDL ต่ำ) ดังนั้นหากมี LDL สูงมากๆ แม้จะเป็น LDL ตัวโต ก็ยังเป็นอันตรายได้ แม้ว่าค่า Triglyceride/ HDL-C จะต่ำกว่า 2 ก็ตาม ...ถ้า LDL สูงอย่างไร "จำนวน" ของ LDL ก็จะมีมาก แปลว่าอันตรายอยู่ดี ค่า Triglyceride/ HDL-C จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อค่า LDL นั้นคุมได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ใช่ LDL ยังสูงครับ และโดยปกติ ถ้าเราสามารถคุม LDL จนอยู่ในระดับปกติได้แล้วเราจะใช้ค่า Non-HDL-C เป็นตัวบ่งบอกว่าเรายังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเหลืออยู่หรือไม่ครับ
    ท่านที่ต้องการเข้าใจเพิ่มเติมสามารถไปอ่านงานเขียนชิ้นนี้ได้ และแนะนำให้ไปอ่าน Reference ในงานเขียนเพิ่มเติมครับ
    (แนะนำ Reference 57,58 ครับ)
    ขออนุญาต ลง หัวข้องานวิจัย ที่อาจารย์แทนให้ไปอ่านเพิ่มเติมนะคะ เผื่อมีท่านใดสนใจและไม่ได้สังเกต ข้อความ ใต้คลิป ของ อ. แทน ในวันนี้ค่ะ
    📚 57. Ip S, Lichtenstein AH, Chung M, Lau J, Balk EM. Systematic review: association of low-density lipoprotein subfractions with cardiovascular outcomes. Ann Intern Med. 2009;150:474-484.
    📚 58 .
    Krauss RM. Lipoprotein subfractions and cardiovascular disease risk. Curr Opin Lipidol. 2010;21:305-311

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn 2 роки тому

      ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ
      ❤️❤️❤️❤️❤️❤️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️ Have a happy lunch time ค่ะ
      Take care of yourselves both Rosy & Tany . 🌸🌸🌼🌼🌸🌸🌼🌼

    • @user-zi2rl4wz8e
      @user-zi2rl4wz8e 2 роки тому

      ขอบคุณครับ

    • @pitisrivongchai5901
      @pitisrivongchai5901 2 місяці тому

      ในคลิป บอกว่าคนเป็นเบาหวาน ldlควรน้อยกว่า70
      คำถามคือ คนที่ไม่เป็นเบาหวาน ldl ควรมีค่าเท่าไรครับ

  • @user-xv9kf2vn3y
    @user-xv9kf2vn3y 2 роки тому +5

    ขอบคุณคุณหมอนะคะ อธิบายได้ชัดเจน ทั้งข้อดีข้อเสีย ฟังหลายๆครั้งก็เข้าใจ ทำให้คนที่เข้ามาฟังได้รับรู้และมีประโยชน์ในการ ดูแลสุขภาพ

  • @KarnTovara
    @KarnTovara 2 роки тому +12

    ขอบคุณค่าาคุณหมอ สำหรับความรู้ในวันนี้ค่า 🙇‍♀️
    เป็นข้อมูลที่ละเอียดมากสำหรับประชาชนเลยค่ะ
    คุณหมออธิบายเรื่องไขมันตั้งแต่ Biochemistry ของไขมันชนิดต่างๆ อธิบายมาเรื่อยๆ จนถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจของเจ้าไขมันเหล่านี้ค่ะ 🙂
    ข้อมูลของคุณหมอสร้างความเข้าใจ และมีประโยชน์มากค่ะ 🤩
    คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🍵🫐🥝😃

  • @AL86898
    @AL86898 2 роки тому +4

    สวัสดีตอนเช้าค่ะ คุณหมอ วันนี้หล่อนะใส่เสื้อปิดคอเท่ห์ไปอีกแบบนะคะ👍สีก็สวย วันนี้มาคุยเรื่องไขมันLDLอีกอย่างละเอียด มีภาพประกอบ เดี๋ยวดูก่อนนะคะ🙏❤

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 2 роки тому +1

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ชุ่มช่ำมากคะ ขอบคุณมากๆคะคุณหมอ ฟังเพลินคะคุณหมออธิบายได้เยี่ยมมากคะ👍😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏😷🌹

  • @wilaiwanphairojpipat8074
    @wilaiwanphairojpipat8074 2 роки тому +3

    ได้ความรู้ลึกขึ้นมากค่ะ อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับตัวเรา แต่ก็เห็นว่ามันมีประโยชน์และสำคัญสำหรับทุกคนจริงๆ ขอให้อาจารย์มอบความรู้ดีๆแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆนะคะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ..❤️❤️❤️

  • @mattiyasteinmetz4781
    @mattiyasteinmetz4781 Рік тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอดูสองรอบแล้วค่ะจะพยายามให้เข้าใจต้องดูรอบที่สามค่ะ เป็นอะไรที่มหัศจรรย์มากสำหรับเรา ขอบคุณค่ะคุณหมอ บังเอิญเป็นGT สูงคะ

  • @chanchaichommek8560
    @chanchaichommek8560 2 роки тому +3

    ขอบคุณมากครับอาจารย์
    เรื่อง keto เป็นเรื่องที่ผมบอกทุกคนมาตลอด ว่ามันไม่ใช่แนวทางการลดน้ำหนักที่โอเคเลย
    มาฟังอาจารย์เรื่องนี้ ยิ่งทำให้มั่นใจยิ่งขึ้น 😁 ขอบคุณอีกครั้งครับ

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +7

      มันก็ช่วยได้ครับ แต่ทำให้พอดีไม่สุดโต่งเกินไป และอาจจะทำระยะสั้นๆสลับกับการกินปกติเพื่อให้ร่างกายสมดุลย์ครับ

    • @PalettbladCR
      @PalettbladCR Рік тому

      มโนคีโตค่ะที่ทำให้ผลเลือดมีปัญหา ไม่ศึกษาแล้วเข้าใจไปเองว่านี่คือคีโต

  • @TaKhobNoi
    @TaKhobNoi 2 роки тому +8

    ฟังจนจบเลยครับ
    ขอบคุณคุณหมอมากๆนะครับ
    สำหรับการอธิบายอย่างละเอียด 🙏🙏🙏

  • @tieng71
    @tieng71 2 роки тому +1

    เป็นคลิปที่มีประโยชน์ครับ สิ่งที่ผมได้ประโยชน์จากคลิปนี้คือ 1.หัวใจใช้TGเป็นพลังงานหลัก(TGละลายในเลือดมั้ย,หัวใจใช้ketoได้มั้ย) 2.คนทั่วไปควรมีLDL

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +3

      รออาจารย์หมอนิดนึงนะคะ...

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +2

      ตรงไหนที่มันมุดเข้าไปได้ง่ายมันก็เข้าทางนั้นครับ เหมือนถ้าเราจะเดินเข้าบ้านหลังนึง เราก็เข้าทางประตู ไม่ปีนเข้าทางหน้าต่างครับ

  • @user-hm2du9ch3l
    @user-hm2du9ch3l Рік тому

    ขอบคุณคุณหมอค่ะ คุณหมอพูดถูกแล้ว ควรพูดในสิ่งที่ได้ศึกษามาอย่างถ่องแท้เท่านั้น เพราะนี่คือเรื่องของสุขภาพ เป็นเรื่องความเป็นความตาย ไม่ใช่เรื่องเล่นค่ะ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 2 роки тому +18

    😊🌼🍃
    2-3 ครั้งติดๆที่คุณหมอแทนนำเรื่อง LDL และ keto มาพูด ทำให้เราซึ่งลองกิน low carb ได้ประมาณ 2 เดือนกว่า(ครบตามที่ตั้งใจไว้) น้ำหนักลดลง แต่ความดันยังไม่น่าพอใจเท่าไหร่ค่ะ
    จากที่ฟังทำให้เราได้คิดอะไรหลายๆอย่างค่ะ คงต้องเพิ่ม
    คาร์บขึ้นอีกหน่อย ลดอาหาร
    ไขมันสูงๆ อาหารทอดลงบ้าง
    เท่านี้ก่อนนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    🌹❤🌹

    • @samtana1069
      @samtana1069 2 роки тому +4

      เดินต่อเนื่องวันล่ะ 30-40 นาทีความดันลงแน่นอนครับ ผมทำอยู่

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali 2 роки тому +1

      @@samtana1069
      😊🙏🌷 ขอบคุณมากนะคะ สำหรับคำแนะนำ

    • @anonymousbkk
      @anonymousbkk 2 роки тому +1

      โลคาร์บ คือลดแป้ง เพื่อลดน้ำตาล
      เน้นโปรตีนที่ดี มีประโยชน์, แต่ของทอด มันไม่ควรกินอยู่แล้วนะครับ

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali 2 роки тому

      @@anonymousbkk
      😊🌷 ใช่ ตามที่คุณบอกเลยค่ะ เรากินของทอดเยอะไปหน่อย
      ขอบคุณมากนะคะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      ของาอดนี่ต้องห้ามเลยครับ กินได้สัปดาห์ละครั้ง ถ้าอยากกินมากกว่านั้นต้องออกกำลังหนักหน่อย

  • @psksaint4119
    @psksaint4119 2 роки тому +1

    โชคดีมากครับที่มีช่องของคุณหมอ ช่วยทำให้เข้าใจได้ดีเกี่ยวกับระบบในร่างกายมากๆครับ แล้วแนวคิดอดอาหารผมก็ยังถกเถียงกับบุคคลที่ชอบอดอาหารว่าให้หันมาออกกำลังกาย แล้วคุมอาหารแต่พอดี ดีกว่าที่อดจะเห็นผลมากกว่าครับ ต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆของช่องคุณหมอครับ🙏

  • @mogwai757575
    @mogwai757575 2 роки тому +4

    ขอบคุณ​คุณหมอ​มากค่ะ สำหรับ​ความรู้​อัดแน่นเต็มคลิปเลย🙏
    ที่ผ่านมาในกลุ่มห้องคีโตมีการอ้างอิงผิดๆแบบที่คุณหมอพูดถึง​กันเยอะเลยค่ะโดยอ้างอิงจากคลิปคุณ​หมอท่านหนึ่ง น่าเป็นห่วง​มาก

  • @AL86898
    @AL86898 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะฟังอีกรอบค่ะ ไลโปมาจากคำว่าไลปิกแปลว่าไขมัน (ไลโปโปรตีน) ไครรอลไมคอน คือไตรกีเซอร์ลาย ส่วนมาก ส่วนน้อยเป็นคอลเลสเตอรรอล ไตรกีเซอร์ลาย มีกรดไขมันสามตัวมาต่อกัน 💥หัวใจใช้ไขมันตัวไตรกีเซอรลายเป็นหลัก💥ตับมีหน้าที่สังเคราะห์ไขมันต่างๆ ให้ดูภาพที่คุณหมอเขียนประกอบ 💥โรคหัวใจ จากกรรมพันธ์ถ้าเป็นความเสี่ยงในคนในครอบครัวสูบบุหรี่ นอกเหนือความเสี่ยงนั้นคือเกิดจากLDLทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ LDLตัวเล็กเกาะถูกกำจัดช้า แต่การวิจัยนั้นบอกได้ว่าขนาดของLDLไม่สำคัญทุกขนาดสามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ อนุภาคจำนวนมากสำคัญกว่าที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ ถ้าไขมันทุกตัวปกติแต่คนกินยาลดไขมันแล้วไม่ลดต้องไปตรวจ หา และมีวิตามินบีสามช่วยได้ 💥การตรวจคอลเรสเตอรรอล จะรู้ค่าของHDLไตรกีเซอรลาย LDL จะเห็นมีในใบเจาะเลือด ว่าเรามีค่าเท่าไหร่ ขอจากหมอมาดูได้ เมื่อเรารู้ผลเจาะเลือด เจ้าหน้าที่เจาะเค้าจะเขียนลงในแผ่นเจาะเลือดเคยดูแต่ไม่ค่อยทราบว่าคืออะไรตอนนี้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่าอะไรเป็นค่าอะไร ขอบคุณคุณหมอค่ะ🙏👍❤

    • @user-ml5zl3bx7j
      @user-ml5zl3bx7j 2 роки тому +1

      😊📖ขอบคุณมากค่ะ😊

    • @AL86898
      @AL86898 2 роки тому +1

      @@user-ml5zl3bx7j ยินดีค่ะ😊

  • @user-xb1wu4vb8f
    @user-xb1wu4vb8f Рік тому

    วันนี้ผมตรวจสุขภาพปรำะจำปี ด้วยตวามมั่นใจว่าตัวเองผอม
    ตกใจกับค่าไขมัน
    โคเลเตอรอล 310
    ไตรกลี 63
    HDL 92
    LDL 220
    A1c 5.2

  • @user-xx6ql8wr4j
    @user-xx6ql8wr4j 2 роки тому +1

    ฟ้งรอบสองแล้วค่ะ
    ยังไม่ได้คำนวณอะไร
    พยายามทำความเข้าใจต่อไปค่ั
    ไว้จะมาฟังอีกรอบ
    ขอบพระคุณค่ะ

  • @joykanokwankongnok7553
    @joykanokwankongnok7553 Рік тому

    แต่ละท่านก็มีเหตุมีผล มีงานวิจัย สรุปคือ กินอาหารธรรมชาติ ฟังเสียงร่างกายว่ารู้สึกสบายดีหรือไม่ ปรับทุกอย่างให้เหมาะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งก็อาจแตกต่างกันตามพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ขอให้ทุกคนมีสุขภาพดี อายุยืนยาวค่ะ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะวันนี้เข้าเรียนช้า ดูคลิปนี้หลายรอบมากพอจะเข้าใจบ้างค่ะ ขอบคุณนะคะที่พยายามอธิบายให้ฟังง่ายที่สุด ขออนุญาตออกความคิดเห็นนะคะ คือปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนเราผิดธรรมชาติ เวลานอนไม่ได้นอน เวลากินไม่ได้กิน สาเหตุจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไป อาชีพ สภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อค่านิยมต่างๆ ซึ่งบางครั้งหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำงานสมัยก่อนคนใช้กำลังร่างกายทำงาน แต่สมัยนี้ทำงานใช้สมองขาดการออกกำลังกาย ความเครียดมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเป็นสาเหตให้ระบบการทำงานของร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไม่สมดุลเกิดโรคต่างๆตามมามากมายนะคะ

  • @kanokpornmartinez9609
    @kanokpornmartinez9609 2 роки тому +1

    ขอบคุณที่ให้ความรู้แก่ ผู้รักสุขภาพทุกคนจร้าา อาจารย์ดูแลตัวเองดีเยี่ยม อยากเห็นคนข้างๆเลือกแบบเดียวกัน คนมีความรู้จบสูงๆ คือกันใช่ไหมค่ะ

  • @meufunsaetang7133
    @meufunsaetang7133 2 роки тому +3

    คลิปนี้เคลัยร์ดีค่ะ ดีกว่าคลิป คุณจะผอมลงถ้าทำกี่สิ่งนี้

  • @user-ww9jf9ec6c
    @user-ww9jf9ec6c 2 роки тому +6

    ไขมันอาจดีหรือไม่ดีแต่น้อนสฺปฺทฺ์โรซี่ดีต่อหัวใจแน่นวล

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 2 роки тому +2

    ขอบคุณอาจารย์หมอ🧑‍⚕️
    มากค่ะ สำหรับคลิปวันนี้ กินKeto แล้ว LDLสูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/HDLจะต่ำ#อธิบายไขมันจนถึงโมเลกุล#ไขมันสูง
    🌈ทุกๆการติดตามของ
    ท่านเป็นกำลังใจให้
    อาจารย์หมอทำคลิปดีๆ
    ต่อไป 🎉🐶🌹
    🙏ขอบคุณมากค่ะ✨

  • @AL86898
    @AL86898 2 роки тому +2

    สวัสดีตอนเย็นค่ะคุณหมอในคลิปนี้มีคอมเม้นต์มากอาจด้วย2เหตุผลคือ1เป็นเรื่องที่คนสนใจเพราะเป็นโรคนี้กันมาก2 คนฟังคุณหมอแทนประจำและคอมเม้นต์ ตัวเองจะคอมเม้นต์คือเจ้าประจำเลยค่ะตอนเวลาบ่ายสามโมงเย็น อยากเรียนคุณหมอหรือคุณอาจทราบบ้างแล้วสักประมาณ1อาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะฟังและคอมเม้นต์จะมีโฆษณาเข้ามาแทรกเป็นระยะๆ สำหรับตัวเองไม่มีปัญหาอะไรก็ฟังโฆษณาได้ชอบดูเหมือนกัน จบแล้วเม้นต์ แต่คนอื่นไม่ทราบ ปัญหามีนิดหน่อยคือ พอเม้นยังไม่จบ เรื่อง ต้องส่งข้อมูลไปไม่งั้นจะไม่ขึ้นจึงทำให้ต้องมาเม้นใหม่ วันนี้เม้นแรกคุณหมอของAKIคงยังไม่ได้อ่านเข้าใจว่ายุ่ง จึงกลายเป็นมีคอมเม้นต์เพิ่มเป็นสาม ซึ่งไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นเลย คุณหมอได้ให้หัวใจมาแล้วสอง ส่วนเม้นแรกถ้าว่างอ่านนะคะ จะไม่สร้างภาระให้คุณหมอค่ะ ขอโทษที่มาเกินไปปกติแค่เม้นครั้งเดียวพอ ต้องบอกกล่าวและขอโทษ และขอบคุณมากๆๆค่ะ🙏🙊😍

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +3

      555 ไม่ต้องคิดเยอะหรอกครับ

    • @AL86898
      @AL86898 2 роки тому +1

      @@DrTany โอเคค่ะ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 2 роки тому +3

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ละเอียดมากค่ะ ลงลึกถึงระดับโมเลกุล
    ของดิฉัน จากการตรวจประจำปี
    CHOLESTEROL 159
    HDL- CHOLESTEROL 51
    NON - HDL- CHOLESTEROL=159 - 51=108
    สูงขนาดไหนคะอาจารย์ถึงจะเป็นอันตราย

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +1

      อันนี้ก็ปกติครับ และที่สำคัญต้องดู LDL ด้วยครับ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 роки тому +1

      @@DrTany ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏 เขาให้มาแค่2ตัวนี้ค่ะ ไม่มีLDL

  • @poy1430
    @poy1430 9 місяців тому

    ฟังแบบย้อนกลับไปมาหลายรอบเลยค่ะเพราะกำลังเฝ้าระวังค่านี้อยู่ เป็นเรื่องที่ถ้าอ่านเองคงไม่เข้าใจ ฟังอาจารย์ยังต้องย่อยหลายรอบ แต่ชอบความใส่ใจในการให้รายละเอียดนี้มากๆ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

  • @lunaofficial1620
    @lunaofficial1620 Рік тому +1

    ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวลองตาม 26:23 ค่า

  • @chaiyen3751
    @chaiyen3751 2 роки тому +2

    คุณหมอศึกษา เยอะมากกก ความจำดีมาก ขอบคุณมากกกกกกกก ครับ

  • @sunshinechay7009
    @sunshinechay7009 2 роки тому +4

    อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนมากครับ พอที่จะเอาไปอ้างอิงกับคนที่สนับสนุน keto อย่างสุดโต่งครับ

  • @samuelsong8930
    @samuelsong8930 Рік тому +1

    This is the best lecture I have ever heard on chesterol

  • @monkphat9113
    @monkphat9113 2 роки тому +6

    Thank you so much, คุณหมอ. Great contents for my review. Very thorough and inclusive. Please keep create these good video to educate more Thai people as they are sometimes wavered by non-scientific influences.

  • @RISA_1234.
    @RISA_1234. Рік тому +2

    รู้สึกว่า เข้าใจดีขึ้น เหมือนเรียนกับคุณครูเคมี+ชีวะ สมัยมัธยมเลยค่ะ

  • @SueOrganicWay
    @SueOrganicWay 2 роки тому +2

    งานไดๆ ล้วนขายทั้งนั้นจะตรงๆ ป้าก็เป็นเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ แต่ ส-อา ก็นำผลิตผลไปขายที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ ป้าว่าจะขายวิชาชีพ ขายความรู้บันเทิง ,... ได้ ถ้ามันดี วัดกันเอา ก็ขายไปเหอะ ถ้ามีคนซื้อ

  • @OoyRua
    @OoyRua Рік тому +1

    ไม่ใช่หมอค่ะ แต่ดีค่ะ พอรู้เรื่องดีขึ้นค่ะ เพราะตัวเองกำลังมีปัญหาเรื่องไขมันสูง แต่อยากรู้เรื่องเยอะขึ้นอีกหน่อย

  • @pornchaib3702
    @pornchaib3702 2 роки тому +1

    ตอนนี้ผมกำลังกินยาลดไขมันอยู่ ขอบคุณครับคุณหมอ ได้ความรู้ดีมากๆ

  • @Mont_Thip
    @Mont_Thip 2 роки тому +4

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ อธิบายได้ละเอียดและเข้าใจง่าย
    ขอรบกวนอาจารย์ ทำคลิปอธิบายสาเหตุการเกิด plaque atheroma แบบละเอียดให้คนที่ไม่ได้เรียนแพทย์เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ

  • @surapotkaenboon4630
    @surapotkaenboon4630 Рік тому +1

    ขอบพระคุณ คุณหมอมากมากครับ อธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจขนาดนี้

  • @sarojauimboutlob5535
    @sarojauimboutlob5535 Рік тому +1

    กราบขอบพระคุณอาจารย์คุณหมอมากครับ ท่านอธิบายได้ชัดเจนทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเลยครับ

  • @UC_Adam
    @UC_Adam 2 роки тому +11

    ผมไม่ได้เป็นหมอ อ่านงานวิจัยก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี ได้แต่ติดตามฟังคลิปของหมอมาอธิบายแบบนี้แหละครับ แต่หมอแต่ละท่านก็ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อยากให้มี session อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อออกแนวทางปฏิบัติสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ครับ เพราะความรู้ผิดๆความเชื่อผิดๆหมายถึงสุขภาพและชีวิตของพวกเราครับ

    • @pannnonghong3406
      @pannnonghong3406 2 роки тому +3

      เห็นด้วยสุดๆๆกับเม้นนี้

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +21

      ผมจะไม่ไปอภิปรายกับใครทั้งนั้นครับ มันจะจบลงที่การเถียงกัน และผมไม่ใช่คนที่เถียงใครได้เก่ง ดังนั้นผมก็จะเผยแพร่ข้อมูลของผมในช่องทางของผมเท่านั้นครับ ส่วนการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อของผู้ฟัง อันนี้ก็ให้ผู้ฟังเป็นคนเลือกครับ แต่สิ่งที่ผมพูดทั้งหมดนั้นผมจะใส่ใจเฉพาะครอบครัวและคนที่ผมรักเท่านั้น ผมต้องการให้เขาเข้าใจได้ถูกต้องและถ้าเป็นพ่อแม่ของผม ผมก็จะให้เขาเข้าใจเช่นนี้และจะรักษาตามนี้ครับ แต่ถ้าเป็นคนอื่นๆ ผมก็จะไม่ไปเสียเวลาพูดอะไรเยอะไปกว่าที่ผมอธิบายแล้ว และให้เป็นหน้าที่ของคนที่ฟังตัดสินใจเองครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      ส่วนเห็นด้วยกับการนำข้อมูลที่ถูกต้องมาเผยแพร่ดีกว่าค่ะ ไม่จำเป็นต้องออกมาถึงขั้นมาอภิปรายกัน เนื่องจากอาจจะดูเป็นการมาโต้เถียงกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่เชื่อ กับกลุ่มที่ไม่เชื่อ และอาจจะเกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลด้วยค่ะ แค่นึกภาพดูก็เหมือนว่า มันจะจบด้วยการเถียงกันและอาจจะเจอการเถึยงแบบข้างๆคูๆ ใช้ถ้อยคำที่ใส่อารมณ์ สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจแน่นอนค่ะ แบบนี้ดีกว่า เราอยู่ในพื้นที่ของเรา ให้ข้อมูลของเรา ใครอยากฟังเชิญเข้ามาฟัง มาถามคำถาม (ที่สุภาพ) ได้

  • @timpansom8316
    @timpansom8316 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะอาจารย⚘️วันนี้ใด้ความรู้ที่สำคัญกับตัวเรามากๆค่ะละเอีนดมาก ซึ้งมันเป็นความรู้ที่มันยากมากที่เราจะไปแสวงหาด้วยตัวเอง ขอบพระคุณค่ะ💗

  • @CherryChonny
    @CherryChonny 2 роки тому +4

    ชอบลายมือตะมุตะมิ ของคุณหมอ เขาว่ากันว่า ลายมือบอกนิสัย ✍️✍️
    ทายว่า
    เป็นคนมีระเบียบวินัย ใจดี น่ารัก ว่องไว ฉลาด ชอบกินช็อกโกแลต มีหมาชื่อโรซี่
    ตรงไหมคะ? 😊
    ไว้ดึกๆมาฟังต่อนะคะ ตอนนี้น่าจะได้ความรู้เยอะมาก ขอบคุณมากค่ะ 🍫🍫🍫

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +3

      ตรงเป๊ะเลยนะคะ เปิดสำนักทายลายมือเลยค่ะ😊

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      ช่างต่างจากลายมือแพทย์ทั่วๆไปยิ่งนัก พวกนั้นอ่านไม่ออกเลยครับ

  • @adisornnik7627
    @adisornnik7627 Рік тому +1

    ละเอียดดีมากครับ ตอนนี้สนใจไขมันมากเพราะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

  • @pachara875
    @pachara875 2 роки тому +3

    ขอบคุณหมอเเทนมากๆค่ะ เป็นคลิปที่ระเอียดมากๆ ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปหมดเลยค่ะ

  • @khuanwarong65monday
    @khuanwarong65monday 11 місяців тому +1

    คุณหมออธิบายละเอียดมาก เข้าใจเลย ขอบพระคุณค่ะ

  • @Nonglek265
    @Nonglek265 2 роки тому +6

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เสมอ

  • @nalineedeedee662
    @nalineedeedee662 Рік тому +1

    ขอบคุณมากเลยค่ะ กำลังหาคำอธิบายตัวนี้อยู่ว่ามันคืออะไร และมีผลอย่างไรกับโรคหัวใจ และตอนนี้มีตัวนี้สูงมากเลยค่ะ หมอที่อิตาลี่แนะนำให้ฉีดยาค่ะ

  • @duangratphuangpho4500
    @duangratphuangpho4500 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ คลิปมีประโยชน์มากสมกับความตั้งใจที่คุณหมอตั้งใจแนะนำ แม้ไม่มีพื้นความรู้ทางแพทย์เลยแต่ฟังแล้วเข้าใจได้ และสามารถตระหนักถึงอันตราย การต้องดูแลใส่ใจมากยิ่งขึ้น

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 2 роки тому +2

    🙏ขอบคุณมากค่ะอจ.ฟังและเชื่อข้อมูลอจ.หมอแทนเสมอค่ะ😊

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +3

    ดิฉันชอบที่อาจารย์กล่าวช่วงท้ายคลิปค่ะ อยากฝากไปถึง To whom it may concern เลยค่ะ... "บางทีคนที่ชึ้นชื่อว่าเป็น _หมอ_ ก็พูดในสิ่งที่ตัวเองไม่เชี่ยวชาญ ถ้าท่านอยากเข้าใจเรื่องพวกนี้จริงๆ มี 2 ทาง
    1. ให้ท่านไปหาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยเฉพาะ
    2. และถ้าท่านรู้ตัวว่า _ท่านไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ_ ท่านต้องอ่านงานวิจัยให้เป็น เพราะถ้าอ่านไม่เป็น มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      ผมรู้ด้วยว่าช่องไหน 555

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@armnakornthab6867 มีหลายช่องเลยค่ะ รวมถึงช่อง float ด้วย...

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 роки тому +6

    อาจารย์ย้ำว่า _คนที่ไม่ใช่แพทย์_ แล้วคิดว่าที่ท่านอ่านความรู้พวกนี้แล้วคิดว่าเข้าใจถูกต้อง ท่านต้องไปอ่านมาให้มากกว่านี้ คนจบวิศวะต้องสำนึกแล้วนะคะงานนี้

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 2 роки тому +3

      เราไม่ชอบเวลาเขาบอกว่า เรื่องพวกนี้หมอไม่รู้ คือเขาไม่รู้จักหมอแทนหรือเปล่านะคะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 роки тому +1

      @@CherryChonny เพราะคำว่า แม้แต่หมอยังไม่รู้ มันดึงความสนใจ การพูดแบบนี้เหมือนพูดเพื่อเอาดีเข้าตัว ยกให้ตัวเองดูเหนือกว่า ดูถูกความรู้ของแพทย์จริงๆ และไม่ให้เกียรติคนทำงานวิจัยเลยนะคะ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 2 роки тому +1

      @@FragranzaTrippa คนติดตามเยอะมากๆวันก่อนเราเห็นคนเอา link คุณหมอแทนไปแปะ ในคอมเม้น ด้วยค่ะ สุดยอดเลย หวังว่าหลายๆคนจะได้เห็นและเข้าใจได้ถูกต้อง 👍

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      เสียงหัวเราะก้องกังวานไปในป่าใหญ่

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +1

      @@CherryChonny เดี๋ยวก็คงได้รู้จักล่ะครับ

  • @kanomkitchen3348
    @kanomkitchen3348 2 роки тому +1

    ป้าวัย67 มี NCDมาหลายปี ไปหาหมอ หมอเขาไม่มีเวลามาแจกแจง ให้ยา จ่ายเงิน จบ ปล่อยให้เรา มางง ไปตลอดชีวิต ดังนั้น บางคนก็ไม่กินยาประจำ กินๆหยุดๆ เพราะบางโรค อาการมันหลบใน
    ใคร จะมาลงนายละเอียด แบบนี้ ขนาดละเอียดแบบนี้ เรายังไม่เข้าใจ หมดทุกอย่างเลย🙏

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 2 роки тому +3

    อาจารย์หมอคะ ถ้าลด LDL ได้แล้ว และไม่มีอาการผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจตัวอื่นเพิ่มใช่มั้ยคะอาจารย์ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
    ฟังคลิปนี้วนไปค่ะ LDL กำลังเป็นปัญหาที่ต้องลดให้ได้ ตอนนี้ก็เริ่มลดแป้งและเพิ่มโปรตีนแล้วค่ะ😊❤️

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +3

      ลดได้แล้วก็ต้องดูตัวถัดไปคือ non-HDL cholesterol ครับ

    • @khuanchitsaichan4576
      @khuanchitsaichan4576 2 роки тому +1

      @@DrTany ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🙏❤️

  • @SinghYoonPz
    @SinghYoonPz 2 роки тому +3

    ขอบคุณ​คุณหมอมากๆครับ​ ชาวคีโตอย่่างผม​ ไม่ว่าจะในกลุ่มคีโตแนวไหนมักจะบอกกันอย่่างที่คุณหมอพูดเลย​ ว่าไม่ต้องกลัว​ Ldl​ สูง เพราะผลของคนที่กินคีโตไม่อันตราย​ แต่ส่วนตัวผมไม่เชื่อแบบนั้น​ ไม่ว่าจะ Cho​ สูงหรือ​ Ldl​ สูงก็ตามผมว่ามันไม่ปกติ​ ผมเลยพยายามปรับการกินให้เป็น​ healthy​ keto​ ให้ได้มากที่สุด​ และพอถึงน้ำหนักที่พอใจ​ก็จะปรับไปเป็น low​ carb​ และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
    ผมมีคำถาม2​ ข้ออยากถามเพิ่มครับ
    1.กรณีของคนกินคีโต​ จะเป็นไปได้ไหมที่จะคุมให้​ Choและ​Ldl​ อยู่ในเกณฑ์​ปกติ​?
    2.อยากทราบค่าของ​ non-hdl ในกลุ่มคนปกติครับ​ ว่าควรอยู่ที่เท่าไร?

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +5

      หมอคนที่ผมเคยฟัง เค้าบอกว่าจริงๆคีโตมันเหมาะสำหรับคนเป็นโรคลมชัก ไม่ควรกินระยะยาวอยู่แล้วครับ ถ้ากินยาวๆให้กินโลว์คาร์บจะเหมาะกว่า

    • @SinghYoonPz
      @SinghYoonPz 2 роки тому +1

      @@armnakornthab6867 ใช่ครับ​
      ส่วนตัวผมเองก็ตั้งลิมิตไว้​ พอถึงน้ำหนักที่พอใจก็จะปรับเป็นโลว์คาร์บ​ เดินสายกลางน่าจะยั่งยืนและเหมาะกับร่างกายของผมสุดละ​

    • @DrTany
      @DrTany  2 роки тому +7

      1. ได้ครับ เราจะปรับขนาดของโปรตีนขึ้นอย่างที่ผมพูดในคลิปเมื่อวานครับ 2. คนปกติไม่มีความเสี่ยงใดๆ ค่า non-HDL cholesterol ควรน้อยกว่า 190 ครับ

  • @noppawanjongudomsombut7531
    @noppawanjongudomsombut7531 2 роки тому +2

    🙏ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอธนีย์ ธนียวัน

  • @happykidsstory9486
    @happykidsstory9486 2 роки тому +1

    ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ อธิบายได้สุดยอดมากๆค่ะ หนูจะได้นำไปอธิบายคนไข้ค่ะ

  • @Thiphayathida
    @Thiphayathida 2 роки тому +3

    สวัสดีค่ะอาจารย์ วันนี้เหมือนเป็นนักศึกษาแพทย์เลยค่ะ ฟังรอบแรก เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง รอบสอง รอบสาม เข้าใจมากขึ้น เรื่องวันนี้น่าสนใจมากๆ ได้รับศัพท์ทางการแพทย์ สมการโน่นนี่สนุกไปเลย เรียนไปมากๆทุกวัน อนาคตคงต้องเรียนอีกกี่สิบปีอาจกลายเป็นคุณหมอน้อยๆ ฉบับกระเป๋าหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ แต่ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์Tany ที่ได้มอบความรู้ให้นะคะ

  • @livejapan6376
    @livejapan6376 2 роки тому +2

    แต่ละคนมีความเด่น คนละด้าน อยุ่ที่ สติปัญญาของเราเองที่รับมัน
    พอมีความรุ้บ้างเล็กๆด้าน เคมี วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยสอน นักเรียน ที่จบ เอกมาแล้ว ในเเล็บ มาบ้าง ใน ครูแต่ละคนมีความสามารถ นำเสนอ คนละอย่าง
    อยุ่ที่เราเองจะเลือกรับ บนสติปัญญาเราเอง
    การไป ยกคนนั้น ดี คนนี้ไม่ดี
    ถือ เราเป็นนักเรียนที่ด้อยคุณภาพในตัวเราเอง

  • @user-jn6qk5qg4t
    @user-jn6qk5qg4t 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ ขอบคุณข่าวสารที่ดี มีประโยชน์ค่ะ

  • @AL86898
    @AL86898 2 роки тому +3

    คุณหมอเขียนวงกลมเหมือนใช้วงเวียนเลยค่ะ💥 ตัวสำคัญคือLDLมากๆจะทำให้เกิดโรคหัวใจ ได้ถ้าเรามีLDLตัวเล็กมากๆมันจะเกาะค้างในเลือด แต่ก็พบว่าการวิจัยนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวโต ตัวเล็กของLDLสามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นLDLขนาดไหน ก็ตาม ในคนที่กินยาลดไขมันอยู่นานๆแล้วไขมันไม่ลงต้องตรวจพิเศษ ส่วนการเจาะเลือดตรวจคอลเลสเตอรลอล ในร่างกายไม่ได้บอกได้แม่นยำ ต้องตรวจ พิเศษ อย่างเช่นคุณหมอวาดภาพอธิบายค่ะ ถ้าสามารถรู้ว่าตัวเองเสี่ยงแค่ไหนต่อการเป็นโรคหลอดเลือดต้องฟังคุณหมออธิบาย คนที่LDLมากๆหาค่าได้ค่ะ จากnonHDL 💥HDLสร้างมาจากตับมีตัวเล็ก ตัวใหญ่ประกอบ ด้วยไตรกรีเซอร์ลาย คอลเลสเตอร์รอลและคนทานแป้งมากทำให้เกิดไตรกีเซอรลาย คนที่กินคีโตมากๆ นั้นไม่ปลอดภัยเสมอไปสำหรับการมีตัวLDL ถ้ามีค่าLDLต่ำแล้วให้ดูอีกตัวเพื่อความปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ขอบคุณคุณหมอค่ะ🙏👍❤

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 2 роки тому +4

      วาดได้เหมือนวงกลมเพราะมันเป็นแอพครับ ไม่มีใครวาดวงกลมด้วยความเร็วขนาดนั้นแล้วกลมเป๊ะเท่าวงเวียนได้หรอกครัย

    • @AL86898
      @AL86898 2 роки тому +2

      @@armnakornthab6867 555 ขำ ลืมนึกไปค่ะมัวแต่ฟังตาไม่ค่อยได้มอง😆😆😆

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn 2 роки тому +1

      @@armnakornthab6867 ไม่เคยใช้แอพพลิเคชันนี้เลยค่ะ เพิ่งรู้ เพราะพี่แอ๋ว และคุณ Arm เลยค่ะ แต่ยังงัย อาจารย์แทนก็วาดรูป อธิบาย ได้ สวย อยู่ดี ค่ะ ฟังตอนแรก ยังนึกว่า อุ้ย อาจารย์ วาดรูปเก่งจัง เพราะลืมไปว่า อาจารย์วาดรูปเก่งมากๆ เลยค่ะ คงชินกับการดู เวลาเรียน ตอน อาจารย์ ( ที่เคยเรียน) lecture

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn 2 роки тому +1

      @@AL86898 😝😝😛😛 หนูเลยพลอยได้รู้ ไปด้วยเลยค่ะพี่แอ๋ว

    • @AL86898
      @AL86898 2 роки тому +2

      @@EedWatcharapornTubrutn 555 ดีค่ะ

  • @Sulee734
    @Sulee734 2 роки тому +2

    ขอบคุณ​ข้อมูล​อาจารย์​หมอ​มาก​ค่ะ​คงต้อง​ดู​2รอบค่ะ​

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 2 роки тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @user-jc2lw4eb6t
    @user-jc2lw4eb6t 24 дні тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ นำความรู้ของคุณหมอไปปรับใช้ค่ะ ติดตามคุณหมอตลอดนะคะ

  • @worawittayatah8417
    @worawittayatah8417 2 роки тому +1

    ขอบคุณอาจารย์หมอมากๆเลยครับ ได้ความรู้เยอะมากครับ

  • @chanakanphilarak
    @chanakanphilarak 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ กำลังอยากรู้เรื่องนี้มากๆเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  • @ployployprapai3809
    @ployployprapai3809 2 роки тому +1

    มาฟังทันพอดีเลย ขอบคุณมากค่ะ😍😍😍👍👍👍🙏

  • @ployyy.2107
    @ployyy.2107 2 роки тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันความรู้อธิบายได้ชัดเจนมีวาดภาพประกอบด้วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ...🥰🥰🥰

  • @wsuksum1
    @wsuksum1 2 роки тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆเลยค่า ได้ความรู้แน่นๆเลยค่ะ 🙏💓

  • @thanaporncheng6475
    @thanaporncheng6475 Рік тому

    ขอบคุณมากค่ะ ทำให้กระจ่างขึ้นมาก 👍👍👍

  • @user-dt4nk9fp4x
    @user-dt4nk9fp4x Рік тому +1

    เกิดอาการบ้านหมุนหมอคนที่1สั่งตรวจเลือดหมอคนที่2เข้าตรวจต่อพบไขมันสูง แจ้งเราว่าไขมันสูงรักษาหลอดเลือดเลยละกันจะให้ยาลดไขมันนะแล้วนัดมาตรวจในอีก3เดือน ใช้เวลาพูดคุยเพียง1/2ถึงหนึ่งนาที คนไข้ไม่รู้ผลตรวจเลือดว่าเป็นอะไรเท่าไร ไม่มีคำแนะนำว่าต้องดูแลตนเองอย่างไรกินยาแล้วสังเกตอาการอย่างไร จะพบความผิดปกติอะไรได้บ้างต้องระวังอย่างไร นัดตรวจก็ไม่มีการนัดเจาะเลือดใดๆพอไปรับยาที่ห้องยาพบว่ามียาลดไขมันกับยาแอสไพริน คนไข้ควรกินยานี้หรือไม่อย่างไรดีคะเพราะมีปัญหากระเพาะอักเสบง่ายและกล้ามเนื้อขาค่อนข้างลีบ ขอรบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      มันต้องรู้ข้อมูลมากกว่าที่บอกครับ เช่น ไขมันชื่ออะไร สูงแค่ไหน ประวัติเป็นอย่างไร โรคประจำตัวมีอะไรบ้าง และที่สำคัญผมเคยมีวีดีโอเรื่องนี้แล้ว ถ้าฟังจบสามารถวิเคราะห์ได้เองเลยครับ ua-cam.com/video/TXAsPvuC9m0/v-deo.html

    • @user-dt4nk9fp4x
      @user-dt4nk9fp4x Рік тому

      @@DrTany คือคนไข้ไม่รู้ข้อมูลผลการตรวจอะไรเลยคุณหมอบอกเท่าที่เขียนปรึกษาค่ะ คิดว่าจะกลับไปขอข้อมูลที่รพ.อีกครั้งเพราะฟังที่คุณหมออธิบายก็พอจะจะเข้าใจแต่คุณหมอผู้ตรวจรักษาไม่ให้ข้อมูลอะไรเลยคิดว่าแนวการรักษานี้ควรจะรับยาตามที่คุณหมอสั่งไปก่อนหรือควรรู้ข้อมูลรายละเอียดของตนเองก่อนดีคะ ถามมากดูคุณหมอที่รักษาจะไม่มีเวลาให้ แม้กระทั่งยาที่รักษาจะมีผลอย่างไรยังไม่ได้แนะนำเลยค่ะ ใบนัดติดตามการรักษาก็ไม่ได้สั่งตรวจแล็บใดๆ ตอนนี้ดิฉันอายุ63แล้วเลยจะกังวลเรื่องผลข้างเคียงของยาค่ะ

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +13

    กิน Keto แล้ว LDL สูงไม่ปลอดภัย แม้ TG/ HDL จะต่ำ #อธิบายไขมันจนถึงโมเลกุล #ไขมันสูง
    มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องว่า TG/HDL แล้วต่ำกว่า 2 หรือ 1.5 แล้วจะปลอดภัย ถึงแม้ LDL จะสูงก็ตาม ไม่ถูกต้องเพราะอะไรคุณหมอจะมาอธิบายให้ฟัง ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ก่อน
    #ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +7

      Triglyceride
      ลักษณะ Triglyceride อยู่ในนาทีที่ 3:39 เรียกว่า Glycerol จากนั้นจะมีกรดไขมันมาเกาะ 3 ตัว เรียกว่า fatty acid การที่เรียกว่า tri เพราะ tri แปลว่า 3 หรือกรดไขมัน 3 ตัวมาเกาะกัน อาหารที่เราทานเข้าไปจะมีความยาวของกรดไขมันไม่เท่ากัน ยิ่งยาวเท่าไหร่จะยิ่งมีการดูดซึมในระดับเข้าไปเป็น Chylomicron จะทำให้ ละลายในเลือดหรือในน้ำของร่างกายได้ ถ้ายาวมากๆแล้วเข้าไปในเลือดเดี่ยวๆแล้วจะทำให้มีปัญหา จึงต้องเข้าไปอยู่ใน Chylomicron ก่อนถึงจะละลายได้
      การตรวจ Triglyceride ซึ่ง Triglyceride จะปนอยู่ทุกที่ (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 31:48 ) การตรวจ Triglyceride ทั้งหมดจะไม่ชัดเจนเท่ากับ Particle analysis
      #ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +7

      ตับ
      เส้นเอ็นที่พาดระหว่างตับ 2 ข้าง เรียกว่า Falciform ligament (สามารถดูภาพได้ในนาทีที่ 7:03 นะคะ) ตับมีหน้าที่สังเคราะห์ VLDL ย่อมาจาก Very low density lipoprotein โปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมากๆ( สามารถดูภาพในนาทีที่ 7:27) และที่สำคัญคือยังมีลำไส้เล็ก หรือที่เรียกว่า Intestine จะสามารถสังเคราะห์ VLDL ได้บ้าง แต่ตับสังเคราะห์ Chylomicron ไม่ได้
      #ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +7

      HDL คืออะไร
      HDL (High Density Lipoprotein) เป็นอนุภาคที่สร้างมาจากตับเป็นหลัก จะมีตัวเล็กและตัวใหญ่เหมือนตัวอื่นๆ จะประกอบไปด้วย Triglyceride (จะมีน้อยมากๆ) ,Cholesterol (จะมีเยอะ) และ Apolipoprotein จะเป็น A1 (สามารถดูภาพประกอบได้ในนาทีที่ 29:30)
      เราคาดว่า HDL ตัวใหญ่จะทำงานได้ดีกว่าตัวเล็ก แต่ข้อสรุปยังไม่ชัดเจน ส่วนอนุภาคของ HDL มีมากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้จะยังไม่ชัดเจน เหมือน LDL และอนุภาคของไขมัน Lipoprotein ตัวอื่น แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ เรื่องของ function หรือการทำงาน จะมี HDL ที่ทำงานได้ดี และ HDL ที่ทำงานไม่ดี ไม่ขึ้นกับอนุภาคของ HDL นี่คือความรู้ในปัจจุบัน แต่การศึกษายังไม่สิ้นสุด จะต้องรอดูต่อไปว่า ตกลงอะไรที่เป็นส่วนของ HDL ที่เป็นการทำงานที่ดี ที่เราจะนำมาพิสูจน์และดูกันต่อไป
      #ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +1

      HDL มีหน้าที่เอา Cholesterol ไปส่งให้กับเซลล์ที่จำเป็น เช่น เซลล์รังไข่ (Overy) เซลล์อัณฑะ เพราะต้องสร้างสเตียรอยด์ เซลล์ของต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ที่เหลือจะนำกลับไปที่ตับ
      การที่ Cholesterol กลับไปที่ตับ ไม่ได้ทำให้ตับท่านมีปัญหา สิ่งที่ทำให้มีไขมันพอกตับ คือ Triglyceride เกือบทั้งหมด ท่านที่ทานแป้งเยอะ จะสร้าง Triglyceride ขึ้นมาได้เยอะแล้วจะไปพอกที่ตับได้เยอะไม่ใช่จากไขมัน
      #ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 роки тому +7

      ต่อไปมาทำความเข้าใจกับ Lipoprotein
      - Lipo จะประกอบไปด้วย TG และ Cholesterol
      - Protein คือ Apolipoprotein มีหลากหลายชนิด ตามแต่ว่าคืออะไร
      ทั้ง TG, Cholesterol และ Apoplipoprotein ทั้ง 3 อย่างนี้จะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันตามชนิดของ Lipoprotein (ต้องมีทั้ง 3 ชนิดอยู่รวมกันเสมอ ไม่สามารถมีอย่างหนึ่งอย่างใดได้)
      ประกอบด้วย (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 2:37 เป็นต้นไปนะคะ)
      - ตัวใหญ่ที่สุดคือ Chylomicron เป็นอนุภาคอย่างหนึ่งที่เราทานอาหารที่มีไขมันเข้าไป แล้วจะถูกดูดซึมเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็น Triglyceride เวลาที่เราย่อยอาหารประเภทไขมัน
      ส่วนใหญ่ของ Chylomicron จะเป็น Trigleceride รองลงมาจะเป็น Cholesterol และ Apolipoprotein เด่นๆคือ B48 (สามารถดูภาพประกอบในนาทีที่ 5:10 นะคะ) แต่ก็มี C, E อีก แต่คุณหมอจะไม่กล่าวถึงในคลิปนี้
      #ตอนที่6

  • @nukrob16
    @nukrob16 2 роки тому +1

    ชื่นชม และ ขอบคุณมากๆครับ

  • @Aemfiom
    @Aemfiom Рік тому +1

    ก่อนอื่นขอขอบคุณคุณหมอมากที่สละเวลาทำคลิปให้ได้เรียนรู้และสร้างความเข้าใจที่จะดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง
    หลังจากฟังคลิปของหมอจบแล้ว ผมยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมอยากให้หมอช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ
    1. หมอบอกว่า การส่งตรวจ non-HDL cholesterol มีประโยชน์เนื่องจากสามารถวัดค่าได้ทั้ง VLDL IDL LDL ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคไขมันได้ คำถามคือหากต้องการวัด particles อื่นๆนอกจาก HDL ทำไมหมอถึงไม่แนะนำให้เช็คจาก TG แทนครับ (อ้างอิงจากนาทีที่ 31.58) ถ้าตามที่ผมเข้าใจ TG เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไขมัน non-HDL ทั้งหมด และยังมีสัดส่วนที่ต่ำมากใน HDL​ ตามที่หมอบอก ดังนั้น TG จึงน่าจะพอใช้เป็นดัชนีแทน non HDL ได้ และจากที่หมอบอกว่า Fatty liver มีสาเหตุมาจาก TG ไม่ใช่ Cholesterol ทำไมถึงไม่ดู TG ซึ่งเป็นสาเหตุหลักโดยตรงแทน non-hdl cholesterol ไปเลยอะครับ
    2. นาทีที่ 21.08 หมอบอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจคือ ไขมันทั้งหมดนอกจาก HDL​ ซึ่งควรดูจากค่า ApoB​ แต่เนื่องจากตรวจยากเลยใช้ non-hdl cholesterol แทน คำถามคล้ายข้อ 1 คือ เราสามารถใช้ค่า TG​ ในการประมาณ ApoB​ ได้ไหม เพราะ TG และ ApoB ต่างก็ไม่พบ(TGพบน้อย) ใน HDL​
    3. การตรวจ ApoB หรือ LDL​ particle มีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพราะ ApoB ดูจะครอบคลุมสาเหตุทั้งหมดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดไขมันมากกว่า LDL​ แค่ตัวเดียว
    4. ทำไมเวลารักษาโรคไขมัน หมอถึงเน้นที่ LDL goal หรือ non-hdl cholesterol เป็นหลักอะครับ อยากรู้ว่าปัจจัยอื่นๆ เช่น ปริมาณของ HDL​ ไม่มีส่วนในการป้องกันโรคเลยหรอครับ ในกรณีที่ HDL มีประโยชน์ ทำไมถึงไม่ดูเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับค่าต่างๆ เช่น เทียบ Total cholesterol/HDL​ หรือ TG/HDL​แทน จะได้รวมปัจจัยการป้องกันของ HDL เข้าไปเปรียบเทียบด้วย
    5. พอดีผมสนใจรายงานของโรค FH ที่หมอบอกว่าไขมันส่วนใหญ่เป็น large LDL ถ้าจะขอลิงค์ให้ผมตามไปอ่านเพิ่มเติมจะได้ไหมครับ
    ด้วยความเคารพครับหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      1) เพราะ ไม่ใช่แค่ TG เท่านั้นที่เป็นตัวปัญหา แต่มันมี VLDL, IDL ด้วยครับ ถ้าจะเอาความเสี่ยงให้ครบ ก็ต้องรู้ทุกตัวซึ่ง non-HDL ตอบโจทย์กว่าครับ
      2) ได้แต่หมายความว่า LDL ต้องได้เป้าหมายก่อน เราถึงหันมาสนใจ TG หรือ non-HDL ครับ
      3) ไม่มีตัวไหนประสิทธิภาพสูงกว่าครับ ถ้าจะเอาละเอียดก็ต้องดูทั้งคู่ครับ แต่ถ้าไม่สนใจนักก็เลือกตัวไหนที่สามารถตรวจได้ครับ ปล ก่อนจะตรวจพวกนี้ LDL ต้องคุมได้ก่อน ไม่งั้นตรวจไป ก็ไม่ได้เปลี่ยนการรักษาอะไรครับ
      4) เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา cardiovascular ที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาทั้งหมด และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่เราค้นพบไขมันแล้วครับ
      5) ต้องไปค้นหาด้วยตัวเองใน pubmed ครับ
      เรื่องไขมันทั้งหมดนี้ผมย่อยมาให้ แต่ถ้าต้องการเข้าใจแบบจริงๆลึกๆไปเลย ให้ไปตามอ่านงานวิจัยทุกงานของ Dr Ronald Krauss ตั้งแต่แรก และอ่านวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่ทำโดยคนอื่นด้วย เพราะเขาเป็นคนค้นพบความสำคัญของ LDL particle และ size แต่มันเป็นคนอื่นที่เจอว่า particle สำคัญกว่า size ครับ

    • @Aemfiom
      @Aemfiom Рік тому +1

      @@DrTany ตอบไวมาก ขอบคุณครับหมอ