ระบบสาธารณสุขที่อเมริกาต่างจากที่ไทยอย่างไร มุมมองคนไข้ และหมอ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 31 січ 2025
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

КОМЕНТАРІ • 451

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Рік тому +20

    ระบบสาธารณสุขที่อเมริกาแตกต่างจากที่ไทยอย่างไร มุมมองคนไข้และหมอ
    สวัสดีครับ
    จากกรณีที่มีเรื่องดราม่าเกี่ยวข้องกับแพทย์ใช้ทุนนะครับที่เมืองไทยนะครับ ก็มีคนสอบถามมาว่าด้วยระบบการแพทย์ที่ประเทศไทยระบบสาธารณสุขเนี่ยมันมีความแตกต่างจากที่อเมริกาอย่างไรนะครับ วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังกันเลยนะครับในทั้งมุมมองของคนไข้แล้วก็มุมมองของแพทย์นะครับว่ามันมีอะไรที่แตกต่างกันบ้างนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Рік тому +2

      1️⃣
      ผมจะเริ่มต้นจากมุมมองของคนไข้ก่อนนะครับว่าที่นี่เวลาที่เราหาหมอเราต้องทำยังไงบ้างนะครับ?
      ➡️จริงๆเรื่องนี้ผมเคยเล่าไปบ้างแล้วล่ะครับแต่ว่าวันนี้ก็อยากจะเอามาเล่าแล้วก็เปรียบเทียบกันให้ดูเลยนะครับว่ามันแตกต่างอย่างไรกับประเทศไทยนะครับ คนไข้ที่นี่เนี่ยนะครับอยู่ๆจะไปหาหมอเลยเนี่ยมันไม่ได้นะครับคือเราต้องทำนัดก่อนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นหมอประจำตัวหรือว่าจะเป็นคุณหมอเฉพาะทางนะครับเราก็จะต้องมีการทำนัดก่อนเสมอนะครับ เราเดินเข้าไปเนี่ยไม่ได้เจอแน่นอนนะครับ อย่างคลินิกของผมเองก็เหมือนกันถ้าเกิดคนไข้เดินมาที่โรงพยาบาลแล้วอยากเจอเนี่ยเจอไม่ได้นะครับ เจอไม่ได้นะครับ เพราะงั้นเราก็ต้องมีการทำนัดอย่างอย่างดีก่อนนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Рік тому +2

      2️⃣
      ทีนี้ในกรณีที่มีความเร่งด่วนฉุกเฉินนะครับ ถ้าเร่งด่วนถึงแก่ชีวิตอันนี้แน่นอนว่าจะต้องไปห้องฉุกเฉินนะครับอันนี้เป็นปกติแต่ว่าค่าใช้จ่ายของมันเนี่ยมันก็จะสูงกว่าในกรณีอื่นๆนะครับ ยกตัวอย่างว่ามันสูงแค่ไหนนะครับ เพื่อนผมเนี่ยนะครับเคยโดนแก้วบาดที่มือนะครับก็เป็นแผลลึกแผลยาวสักประมาณ 3 เซนติเมตรนะครับ ไม่ได้ลึกอะไรมากมายนะครับไม่ได้มีปัญหาโดนเส้นเอ็นหรือเส้นประสาทเส้นเลือดแต่อย่างใดนะครับ ก็ไปห้องฉุกเฉินรอ 3 ชั่วโมงกว่าจะได้เย็บแผล แล้วก็เย็บอยู่แค่ 3 เข็มแล้วก็เสร็จนะครับ รู้ไหมครับว่าค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ค่าใช้จ่ายนะครับเกือบ 20,000 บาท แพงมากเลยนะครับเกือบ 20,000 บาท แค่นั้นเองนะครับเย็บ 3 เข็มแล้วก็รอ 3 ชั่วโมงแล้วก็ได้ยาไม่กี่อย่างแพงมากนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Рік тому +3

      3️⃣
      ดังนั้นเนี่ยที่นี่คือจำเป็นจะต้องมีประกันเสมอเลยนะครับไม่ว่าท่านจะมาที่อเมริกาแบบชั่วคราวมาเที่ยว หรือว่ามาเรียน หรือว่ามาอยู่ระยะยาวอันนี้ต้องมีประกันเสมอไม่เช่นนั้นท่านจะหมดตัวได้นะครับ แล้วก็สาเหตุหนึ่งซึ่งคนอเมริกันเนี่ยมีปัญหาทางด้านการเงินนะครับหรือบางทีถังแตกเนี่ยก็เพราะว่าต้องเอาเงินไปจ่ายค่าประกันนี่แหละครับนะ มันก็มีมาแล้วนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Рік тому +2

      4️⃣
      ทีนี้ถ้าสมมุติไม่ได้เร่งด่วนขนาดถึงแก่ชีวิตได้หรือว่ามีเลือดตกยางออกที่รุนแรงนี่แหละครับแต่ว่ามันก็ด่วนพอสมควรนะครับ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราติดโควิดขึ้นมาแต่อาการยังไม่รุนแรงนะครับ หรือว่าเรามีอาการท้องเสียฉับพลัน อันเนี้ยเราสามารถที่จะไปหาอันนึงได้เราเรียกว่า Urgent Care นะครับ Urgent Care นั้นก็คือเราจะไม่ได้พบหมอประจำตัวของเรานะครับแต่ว่ามันจะเป็นศูนย์ซึ่งมีการตรวจโรคพวกนี้นะครับโดยคนที่ตรวจโรคเนี่ยหลายๆครั้งนะครับจะไม่ได้เป็นหมอนะครับ จะไม่ได้เป็นหมอ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Рік тому +2

      5️⃣
      ที่อเมริกาเนี่ยมี 2 ตำแหน่งเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากหมอนะครับ
      ✳️ตำแหน่งแรกคือ Nurse Practitioner (NP) เป็นพยาบาลซึ่งมีการเรียนต่อเฉพาะทางเพื่อที่จะสามารถตรวจอะไรบางอย่างได้นะครับ เช่นถ้าเกิดว่าเราเรียนมาทางด้านของการตรวจปฐมภูมินะครับ Primary Care พวกนี้เนี่ยเขาก็จะเรียนเพิ่มมาทางด้านนี้โดยเฉพาะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Рік тому +24

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    คนไทยโชคดีที่มีระบบสาธารณสุขค่อนข้างดี เข้าถึงได้ง่าย เมื่อเทียบกับอเมริกา เลยทำให้มีคนไข้เยอะมาก
    น่าเห็นใจคุณหมอ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานหนัก แทบไม่มีเวลาพักผ่อน
    ในฐานะประชาชนควรช่วยลดภาระคุณหมอ ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อลดการเจ็บป่วย
    ทุกคลิปชองคณหมอ เป็นแรงกระตุ้นให้ FC รักสุขภาพมากขึ้นค่ะ
    ที่คุณหมอเน้นย้ำบ่อยๆ คือการออกกำลังกาย ทานอาหารหลากหลาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ
    พักผ่อนอย่างมีคุณภาพ และไม่เครียดค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
    ขอให้คุณหมอและครอบครัว
    มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขมากๆนะคะ 🌻🧡🌻

  • @sanookusa434
    @sanookusa434 Рік тому +4

    1. ประกันสุขภาพมีหลายบริษัท ใช้ไม่ได้กับหมอทุกคน เราต้องโทรไปถามร้านหมอว่ารับของเรารึป่าว คนทั่วไปจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือนแล้วยังต้องจ่าย copay ตอนไปเจอหมอและตอนไปรับยา (พวกที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเลยน่าจะคือพวกที่ได้สิทธิ VA(ใช้ในเครือข่าย VA) SSI Medicaid และประกันของบางหน่วยงานบางรัฐ) 🙄
    2. ร้านขายยา CVS Walgreens นอกจากจะขายอะไรที่เกี่ยวกับการแพทย์แลัวก้อยังขายทุกอย่างเหมือนมินิมาร์ท(ยกเว้นอาหารร้อน) มีเครื่องสำอาง เสื้อผ้า ร้องเท้า พัดลมงี้ 😂
    3. ร้านขายยา Walgreens ขายเหล้าและบุหรี่ด้วย ชั้นวางขายบุหรี่จะอยู่ส่วนหน้าแล้วจะขายยาด้านหลัง 😂
    4. ร้านขายยามีเยอะมากกก เกือบทุกหัวมุมถนน ซุปเปอร์มาร์เก้ตดังๆ ก้อมีร้านขายยา เช่น Walmart Publix Target 😊
    5. หมอจะสั่งยาโดยตรงไปร้านขายยาที่เราชอบ ตรวจเสร้จก้อกลับบ้านเลย พอร้านขายยาจัดยาเสร้จจะโทรหรือส่งข้อความมาบอกให้เราไปรับเอง 😊
    6. โรงพยาบาลไม่รับตรวจสุขภาพแบบครบวงจรเหมือนเมืองไทย คนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลคือคนที่ป่วยหนักเท่านั้น ยกเว้น ER ไม่ต้องป่วยหนักก้อไปได้ หรือไม่ก้ออ้อฟฟิตหมออยู่ในโรงพยาบาลแต่คนไข้ต้องนัดล่วงหน้า (เคยมีเพื่อนที่พึ่งย้ายมาพาแม่ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่งงเลย 😂)
    7. ถ้ามีประกันสุขภาพจะได้ตรวจร่างกายประจำปีฟรี แต่ไม่ใช่ว่าจะขอตรวจทุกอย่างได้ ส่วนใหญ่จะมี เอ้กซเรยปอด EKG เลือด ฉี่ ผู้หญิงก้อจะมีเพิ่มคือ ตรวจภายใน เต้านม อัลตราซาวด์ เมมโมแกรม เป้นต้น น้อยมากที่ร้านหมอมีแบบครบวงจรซึ่งได้ตรวจที่เดียวไม่ต้องไปที่อื่นแต่รอนานมาก ส่วนใหญ่หมอจะเขียนใบสั่งให้ไปนัดตรวจที่แล้ปเอง ซึ่งก้ออาจจะใช้เวลาหลายวันกว่าจะตรวจเสร้จเพราะตรวจแต่ละอย่างก้อต้องนัดล่วงหน้า 😅
    8. ผลตรวจจากแล้ปจะส่งตรงไปหาหมอเลย แล้วหมอจะโทรมาแจ้งผลตรวจกับเราเอง ไม่ต้องนัดไปฟังผล 😁
    9. พบหมอต้องนัดล่วงหน้า หมอดังๆคิวยาวมาก ปกติได้คิว 1-2 เดือน บางทีต้องรีบจองไว้ก่อน แต่ถ้าหายก่อนค่อยโทรไปยกเลิก ~ ถ้ายกเลิกภายใน 24 ชั่วโมงก่อนวันนัดจะต้องเสียค่าปรับ ~ บางร้านปรับค่ามาสายด้วย 😅
    10. Walk-in Clinic อาจจะไม่ต้องนัดแต่บางทีต้องรอนานมาก เปิดเวลาทำการปกติ ส่วน Urgent Care สะดวกดี บางร้านเปิด 24 ชม แต่ถ้าอาการหนักจริงๆ เค้าก้อบอกให้ไป ER อยู่ดี 😅
    11. เรียกรถพยาบาลแต่มักจะมาพร้อมรถดับเพลิงเสมอ 😁
    12. เรียกรถพยาบาลไม่ฟรี ปกติประกันจ่าย (แต่เราต้องจ่าย copay) ถ้าไม่มีประกันสุขภาพก้อต้องจ่ายเต็ม ราคาก้อแล้วแต่รัฐ ถ้ารัฐใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์คแบบเคสปกติก้อตกประมาน $1300 😏
    13. บิลของโรงพยาบาลไม่ต้องจ่ายเลยทันทีก้อได้ ขอทำเรื่องผ่อนจ่ายได้ อาจจะต่อรองราคาได้ด้วย เค้าจะส่งบิลมาที่บ้านและปกติบิลของหมอหลายคนที่พบเราที่โรงพยาบาลจะแยกกันมา ค่าตัวของหมอละคนไม่เท่ากัน ซึ่งไม่ได้รวมกับบิลของโรงพยาบาล 😅
    14. ถ้าไม่จ่ายบิลค่ารักษาพยาบาล เค้าจะขายให้กับบริษัทรับทวงหนี้ หลังจากนั้นลูกหนี้ก้อจะโดนทวงยิกๆ 😅
    15. คนที่ไม่มีประกันสุขภาพเลยต้องจ่ายเต็ม แต่คนที่มีประกันสุขภาพของอะไรก้อได้มักจะจ่ายไม่เกินอัตรา Medicare จากหมื่นเหลือสองพันประมานนั้น 😌
    16. ตาและฟันไม่ได้รวมในประกันสุขภาพต้องซื้อต่างหาก ประกันฟันทั่วไปจะเป้นแบบ 100/80/50 คือตรวจและขูดหินปูนฟรี ถ้ารักษาแบบเบสิคต้องจ่าย 20% แต่ถ้าร้ายแรงจ่าย 50% (อันนี้ไม่รู้ว่าต่างจากเมืองไทยรึป่าว) 🤨
    … นึกออกแค่นี้ละค่ะ ผิดถูกยังไงก้อแก้ไขเพิ่มเติมได้นะคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      555 อันนี้ตรงเลยครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Рік тому +1

      ขอบคุณมากๆ สำหรับการแชร์ข้อมูลนะคะ🙏

  • @nashtn11
    @nashtn11 Рік тому +10

    เข้ามาสนับสนุนคำพูดคุณหมอค่ะ สาธารณสุขที่อเมริกาโหดมากจริงๆ ป้าถ้าไม่จำเป็นจะไม่ไปหาหมอเด็ดขาด ยกเว้นตรวจประจำปี ขำตรงทำฟันก็บินไปทำที่ไทยเหมือนคุณหมอค่ะ รอบนี้ไปสองเดือนยังทำไม่เสร็จต้องกลับไปอีกรอบสิ้นปีค่ะ ขอบคุณคุณหมอนะคะ รักษาสุขภาพค่ะ❤

  • @HoneyLemonNuin
    @HoneyLemonNuin Рік тому +3

    ขอบคุณ คุณหมอแทนมากค่ะ ตอนนี้ก็อยู่อเมริกา กลับไปตรวจสุขภาพที่ไทยค่ะ เหอๆ แต่ทำฟันที่นี่เพราะแค่ขูดหินปูนค่ะ ขนาดทำผมยังไม่อยากทำที่นี่เลยค่ะ ไปทำสีครั้งนึงได้ออกมาแย่มาก คือรู้สึกอะไรที่ต้องใช้ความละเอียดใช้ฝีมือ ไม่ค่อยไว้ใจเท่าไหร่ยังไงไม่รู้ค่ะ ตอนไปตรวจสุขภาพประจำปีที่นี่ ไม่ดีเหมือนที่ไทยเลย ไม่รู้เท่าไหร่เลยว่าสุขภาพเราเป็นยังไงต้องทำอะไรเพิ่มหรือลดมั้ย รู้สึกไม่มีประโยชน์ ไม่เหมือนที่ไทยที่รู้สึกว่าได้ตรวจไม่รู้ว่าเราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไงด้วยค่ะ

  • @noppawankanokkanjanarat7422
    @noppawankanokkanjanarat7422 Рік тому +6

    เมืองไทยระบบมันโดน abused ไปหมดแล้วค่ะ ดีใจที่อาจารย์มาแชร์ให้ฟังนะคะ

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 Рік тому +7

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ที่อเมริกาจะไปหาคุณหมอต้องทำนัดก่อนไม่ว่าหมอประจำตัว หมอเฉพาะทาง หากเร่งด่วนถึงแก่ชีวิตก็ไปห้องฉุกเฉินแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ฉะนั้นต้องมีประกัน หากเร่งด่วนพอสมควรจะไปรักษาที่ศูนย์ Urgent care คนตรวจจะไม่ได้เป็นหมอแต่จะตรวจกับพยาบาลที่เรียนต่อเฉพาะทาง Nures practitionen ที่สามารถตรวจบางอย่างได้และผู้ช่วยแพทย์ที่ทำตัวเหมือนแพทย์ได้เลย ประกันมีสองอย่างถ้าประกันราคาแพงไปหาหมอประจำตัวเราได้ไปหาหมอเฉพาะทางได้ไม่ต้องมีจดหมายจากหมอประจำตัวคลอบคลุมทุกอย่าง ประกันราคาถูกต้องไปหาหมอประจำตัวก่อนถ้าคิดว่าต้องไปหาหมอเฉพาะทางก็จะส่งตัวไป การรับยามีทั้งรับที่รพ.และข้างนอก ถ้าจะไปหาหมอฟันควรหาคุณหมอที่จบขากเอเชียเพราะละเอียดอ่อนกว่า คนไข้ที่อเมริกาจะนั่งรอคุณหมออยู่ในห้องต่างจากประเทศไทยที่คุณหมอนั่งอยู่ในห้องรอคนไข้ ถ้าจะไปห้องฉ.ฉ.ก็ต้องฉุกเฉินจริงๆถ้าไม่มีประกันจะแพงกว่าปกติที่อเมริกาหมอใช้ทุนไม่มี คนที่จะเรียนหมอต้องกู้เงินมาเรียน เรียนจบหาเงินใช้ที่กู้มา คุณหมอที่อเมริกาจะมีวุฒิภาวะสูงเพราะก่อนจะมาเป็นคุณหมอผ่านการทำงานด้านอื่นมา การทำงานห้ามทำงานเกินที่เขากำหนดถึงเวลากลับบ้านก็ต้องกลับบ้านอยู่ต่อไม่ได้ผิด ถ้าง่วงรพ.มีบริการส่งกลับบ้านรับส่งไปโรงพยาบาลทุกอย่างฟรี ป้องกันอุบัติเหตุ ยกเว้นกรณีมีการติดพันคนไข้ และที่แตกต่างมากๆจะมีการประเมินจากหน่วยงานกลางที่อเมริกาในหลายๆประเด็น ความพึงพอใจจะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ประเมิน ประเมินตามสภาพจริงประเมินทุกอย่าง ต่างคนต่างประเมิน เอาข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาต่อไป อเมริกาจะซีเรียสมากกับคุณภาพชีวิตของคุณหมอ ที่อเมริกาจะทำงานกันเป็นทีมดูตามแต่ละระบบ ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ ไปเที่ยวหรือไปทำงานที่อเมริกาต้องซื้อประกันสำคัญมากค่ะ

  • @DThisone
    @DThisone Місяць тому +1

    🏗🏣🧱🏥อเมริกาค่าหมอ ทุกอย่างคทอ กำไรทำเงินรวยๆ เอื้อประกันนายทุนอุตสาหกรรมการแพทย์😂 โฮมล้มละลายเยอะ นี่อีก1สาเหตุ

  • @Jin_789
    @Jin_789 Рік тому +7

    จริง​ๆ​ค่ะ​อยู่​เยอรมัน​นี​🇩🇪​20​ปี​กว่า​ก็​จ่าย​ประ​กัน​หมด​หลาย​ล้าน​แล้ว​ค่ะ​😊ขอบคุณ​คุณหมอ​ที่​ออก​มา​พูด​ให้​คน​ไทย​🇹🇭​เข้า​ใจ​❤เป็น​ข้อมูล​ที่​ดี​ค่ะ​🌸

    • @TaylorQuince19493
      @TaylorQuince19493 Рік тому +1

      โห อย่างนี้คนทั่วไปจะหาเงินได้หรอคะ

    • @Jin_789
      @Jin_789 Рік тому +3

      @@TaylorQuince19493 เกิด​เป็น​คน​ไทย​🇹🇭​🌻​ดี​แล้ว​ค่ะ​😊

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 Рік тому +15

    เอาง่ายๆนะครับ
    คนไทยเข้าถึงระบบสาธารณสุข “ง่าย” เกินไป ส่งผลให้คนไทยขาดการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเทียบกับประชากรในประเทศพัฒนาแล้ว ใช้ชีวิตอย่างประมาทในทุกๆทางเช่นการขับขี่ยานพาหนะ ขาดความรู้พื้นฐานทางสุขศึกษา เช่นฝนตกไม่ได้ทำให้เป็นหวัด แต่ต้องใส่หน้ากากป้องกันต่างหากจึงช่วยไม่ให้เป็นหวัดเมื่อฝนตก จึงทำให้ปริมาณคนไข้มหาศาล แพทย์จึงต้องรับภาระหนักครับ
    ยกตัวอย่างเมืองที่ผมเคยไปอยู่ที่ออสเตรเลีย แคนเบอร่า จำนวนคนเกือบๆ 500,000 เทียบกับ ขอนแก่น ประเทศไทย จำนวนคนใกล้ๆกัน แต่แคนเบอร่ามี รพ แค่สองที่ ที่เหลือคือคลีนิกแพทย์ทั่วไป แลเแพทย์เฉพาะทางที่ไม่สามารถเดินดุ่มๆเข้าไปได้ และ walk in center ที่ไม่ใช่หมอมาดูแล ต้องนัดล่วงหน้าเสมอ ในขณะที่ ขอนแก่น เอาแค่ใกล้ๆใจกลางเมืองก็มี รพ.เกิน 10 แห่งแล้ว

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      @kikgalaxy4358 ไม่จริงครับ ผมมีประสบการณ์ทั้งในไทยและต่างประเทศ คุณไม่เคยเจอคนกระดูกหัก หรือลิ่มเลือดอุดกั้นปอด ไปห้องฉุกเฉิน แล้วรอ 6-7 ชั่วโมงหน้าห้องฉุกเฉินหรอกครับ แม้กระทั่ง รพ รัฐ ในไทย ผมยังไม่เคยรอห้องฉุกเฉินนานเกิน 2 ชั่วโมงเลย
      คนไทยป่วยเมื่อไหร่ก็มาหาหมอได้เลย ต่างประเทศ ต้องนัดครับ ยิ่งหมอเฉพาะทางไม่มีทางเดินเข้าไปพบได้เลย แล้วการที่ประเทศไทยไปหาหมอได้เลย พบแพทย์เฉพาะทางได้เลย เอาอะไรมาบอกว่า หาหมอในไทย มัน “ไม่ง่าย” ครับ???
      ปล. เป็นแบบนี้ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วครับ ลองไล่อ่านความเห็นคนอื่นๆที่เขาอยู่ต่างประเทศดูครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      @@kikgalaxy4358 คนไทย ไป รพ เท่าที่จำเป็น? ใช่ครับ ไม่มีใครอยากไป รพ ถ้าไม่จำเป็นหรอก แต่วิถีชีวิตที่อีลุ่ยฉุยแฉกของคนไทยเมื่อเทียบกับคนต่างประเทศพัฒนาแล้วต่างหากครับ ที่ทำให้คนไทยจำเป็นต้องไป รพ. ความรู้พื้นฐานสุขศึกษาก็ต่ำกว่า การดูแลตัวเองก็ต่ำกว่า การขับขี่ยานพาหนะก็ไร้สามัญสำนึก เป็นประเทศที่อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลก เพราะความอีลุ่ยฉุยแฉกแบบนี้ไงครับ ทำให้คนไข้เยอะกว่าประเทศพัฒนาแล้วมากๆๆๆ

    • @kikgalaxy4358
      @kikgalaxy4358 Рік тому +1

      คนไทยไป รพ เท่าที่จำเป็นคะ ไม่ได้ไปง่ายเกินไปนะคะ
      เมืองที่คุณ Arm เคยอยู่ ไปพบคุณหมอยากมากใช่ไหมคะ? ยากกว่าไทยเยอะนะคะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +5

      @@kikgalaxy4358 ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วหาหมอยากกว่าไทยทุกประเทศครับ ในคลิปที่คุณหมอเล่าก็น่าจะชัดเจนแล้วครับ

    • @kikgalaxy4358
      @kikgalaxy4358 Рік тому +2

      ​@@armnakornthab6867ขอบคุณนะคะ ที่กรุณายืนยันว่าพบหมอยากมากกก😊😊😊

  • @ธารทิพย์-ฬ8ญ

    น่ารัก แอบขำเล็กๆๆ ผมทำงานครบเวลา รพ.ไม่ให้อยู่ต่อ เชิญกลับบ้าน ถ้าขับรถไม่ไหว มีรถบริการ ถ้านั่งแท๊กซี่ รพ.ออกค่ารถให้อีก อุ้ย ! ดีจัง

  • @somponsomparn2361
    @somponsomparn2361 Рік тому +6

    โชคดีที่มีอาจารย์หมอแทนอยู่ที่อเมริกาทำให้ได้รู้เรื่องต่างๆในอเมริกาแบบจริงๆ ที่คุณหมอแบ่งปันให้ฟังอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับทางการแพทย์และการพยาบาล ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @AL86-y2l
    @AL86-y2l Рік тому +2

    สวัสดีค่ะ🙏 อาจารย์แพทย์คุณหมอแทน😍วันนี้มาเล่าเรื่องความแตกต่าง ของแพทย์และ คนไข้ ที่อเมริกากับไทยดังนี้
    ไปอเมริกาต้องทำประกัน มีหลายแบบ ทำราคาแพงจะครอบคุมหลายอย่าง แบบถูกอาจต้องจ่ายเพิ่ม
    ที่อเมริกาจะพบคุณหมอต้องทำนัด ก่อน
    ที่อเมริกาคุณหมอมาพบคนไข้นั่งรอในห้อง
    ไทยคนไข้เข้าไปพบคุณหมอในห้อง
    การจ่ายยาที่อเมริการับจากร้านขายยาส่วนใหญ่ ไทยรอรับยาจากร.พเลย
    ขอบคุณค่ะที่มาเล่าให้ฟังค่ะ🙏👍❤️

  • @ศิริศักดิ์โชติวิจิตรกุล

    คุณหมออธิบายได้ดีมากครับ แต่แปลกใจที่มีคนบางกลุ่มอวยเมืองนอกจนเกินจริง ทั้งที่ข้อมูลความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นไปทั้งหมด มันช่างย้อนแย้งกับข้อมูลที่คนต่างชาติอยากมาที่ไทยกันมากมาย ทั้งมาเกษียณ มาท่องเที่ยว มารักษาพยาบาล มาทำธุรกิจ ฯลฯ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      เกินจริงยังไงครับ ระบบสาธรณสุขเมืองไทยตอนนี้เหมือนโอ่งใกล้แตก หมอขับรถชนตายไปกี่รายแล้วครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +5

      ที่แน่ๆคืออเมริกาหมอจะไม่ต้องทำงานเกินเวลาครับ ถ้าถึงเวลาที่ต้องลงเวรแล้ว ต่อให้มีคนไข้กองอยู่ตรงนั้นเยอะๆ เราก็ไม่ต้องสนใจ เดินกลับบ้านได้ทันทีครับ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Рік тому +4

    ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน
    ยอดผผู้ติดตาม 4.58 แสนคนค่ะ
    สถานีค่อไป 4.59 แสนคนค่ะ
    ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ
    ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ
    ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ 🌻🧡🌻

  • @pisamaiackley5008
    @pisamaiackley5008 Рік тому +3

    ระบบประกันสุขภาพของอเมริกาดีที่สุดค่ะ ส่วนมากทุกคนจะมีประกัน สำหรับคนที่ไม่มีประกัน ก็ต้องไปตรวจ และ admit ที่โรงพยาบาลของรัฐ
    แต่ต้องรอนานมาก แต่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ไม่ดีนะคะ โรงพยาบาลทันสมัย มีแพทย์ Intern ,Resident เป็นที่สอนนักศึกษาแพทย์อีกด้วย
    แต่ถ้าต้องการไป รพ เอกชนก็ต้องมีประกัน และมีแพทย์ประจำตัวค่ะ เวลาไป admit แพทย์ประจำตัวยังต้อง consult แพทย์เฉพาะทางอื่นๆ บางที มี แพทย์ 2-3 คนที่ดูแลคนไข้ 1 คน และแพทย์ทุกคนก็จะส่ง บิล ไปที่ Insurance ของเรา ประกันก็จ่ายเงินไปตามที่เขา charges
    พอมาในปีประมาณ 1985 เขาก็จะพยายาม จะ reform กันใหม่ เช่น ถ้าคนไข้ admits เข้ามา ด้วยสมมุติ Pneumonia เขาก็จะกำหนดว่า ต้องอยู่ได้กี่วัน เขาจะจ่าย เท่าไร่ ตาม Diagnosis แพทย์ไม่สามารถจะเลี้ยงไข้ได้ เพราะก่อนหน้า แพทย์บางคนมีคนไข้ที่คนแก่ ใน Nursing Home ก็จะส่งคนไข้มา admits บ่อยๆ
    พอหลังจากนั้น ก็มีการเกิดของ HMO เพราะก่อนหน้านี้ แพทย์ และ โรงพยาบาล ต่างๆ จะ charges กันเยอะมาก Insurance จ่ายไม่ไหว เคยดูบิล ของ รพ สูงมาก HMO ก็คือระบบเหมาจ่าย อย่างสมมุติจะอยู่กับ กลุ่มแพทย์นี้ เขาก็จะมีแพทย์ทุกระบบ ดูแล และต้องไป รพ ที่เขากำหนด
    แต่ถ้าคนไข้จะไม่เอา HMO ก็ต้องใช้ PPO ที่เลือกหมอ เลือก รพ ได้ จะเห็นว่ารายได้ของแพทย์จะลดลง แพทย์ก็เปลี่ยนไปทำงานใน รพ มากขึ้น
    ได้รายได้ประจำ ไม่ต้อง เปิด clinic เองซึ่งค่าใช้จ่ายสูงตาม
    คน อเมริกัน ถ้าอายุ 65 ปีขึ้นไป และทำงานจ่ายภาษีครบ 40 quarters ก็จะได้รับ Medicare และ ระบบนี้เขาจะหักเงินออกไปจาก เงิน Social Security ที่เราได้รับจากรัฐบาล เราก็อาจจะสมัครเข้าระบบ HMO หรือ ระบบ PPO แล้วแต่ชอบ ช่วงนี้เขาจะมีโฆษณามากชักชวนให้เข้า HMO ต่างๆ
    เพราะคนเริ่มแก่ โดยเฉพาะ Baby Boomer เยอะมาก ถ้ามีคนป่วย admitted หรือไปตรวจ ทางบริษัทจะได้รับเงินโดยตรงจาก รัฐบาล

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      มีผู้มาแย้งว่าประกันของอเมริกาไม่ได้จ่ายทุกอย่างทำให้มีคนจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ข้อมูลนี้จริงหรือเท็จอย่างไรพอจะทราบไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      ประกันที่นี่จ่ายตามจริงครับ แต่บางอย่างเขาก็ไม่จ่าย เราก็มีหน้าที่คุยกับเขาด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ถ้าเขาโอเค เขาก็จ่ายครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      @@DrTany ขอบคุณมากครับคุณหมอ

    • @pisamaiackley5008
      @pisamaiackley5008 Рік тому +2

      ประกันสุขภาพ เขาจะมี cap ของเขาว่าจ่ายไปให้แล้วเท่าไหร่ จำได้ว่า มีคนไข้คนหนึ่ง รอการเปลี่ยนหัวใจ นานมาก และหลังจากเปลี่ยนแล้วก็มี complication ตามมา
      Insurance จ่ายไปให้แล้ว 2 ล้านเหรียญ เขาจะไม่จ่ายอีก ก็มี Social Worker เข้ามาช่วยให้ เขา apply เอา Medicare ซึ่งสามารถ ไปยื่นได้ถ้า เป็นบุคคล disable แต่ก็ต้องรอ process นาน ทาง รพ ก็ต้องมีการลดราคา เรื่องนี้ญาติคนไข้เล่าให้ฟังค่ะ
      แต่บางรายคนแก่ ถึงแม้จะมี Insurance แต่ ถ้าเงินรักษาไม่พอ เขาก็สามารถ เอาบ้านที่เขาเป็นเจ้าของ เอาเงินออกมาใช้ เรียกว่า Reverse Mortgage
      มีคุณแม่ของเพื่อน เป็น Alzheimer’s Disease ต้องมีคน ดูแล 24 ชม เขาก็ใช้บ้านของแม่ เอาเงินออกมาดูแล ผลสุดท้าย เมื่อแม่เขาเสียชีวิตไป บ้านก็ขายได้ นิดหน่อยเพราะต้องจายคืน Bank ไป

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +3

      @@pisamaiackley5008 เปลี่ยนหัวใจ กับเปลี่ยนอวัยวะมันเป็นกรณีพิเศษครับ การรอมันก็นานเป็นปกติครับ และอื่นๆก็อย่างที่คุณเล่ามาเลยครับ หลายๆครั้งที่ปัญหาของอเมริกาคือคำว่า "สิทธิ" ครับ คนคิดว่าตัวเองมีสิทธิเรียกร้องให้คนอื่นมาดูแล คนอื่นต้องทำนั่นทำนี่ให้ ไม่ดูแลญาติตัวเองแต่ต้องให้คนอื่นดูแล อันนี้ก็ทำให้ภาระเรื่องค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในระบบด้วยครับ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Рік тому +22

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    หัวข้อวันนี้ เรื่อง... ระบบสาธารณสุขที่อเมริกาต่างจากที่ไทยอย่างไร มุมมองคนไข้ และหมอ
    ◾ในกรณ๊คนไข้
    1. ต้องนัดหมอก่อนเสมอ ไม่ได้ไปหาหมอได้ทันทีค่ะ
    2. ในเคสเร่งด่วนถึงแก่ชีวิต ไปห้องฉุกเฉินได้ค่ะ แต่มีค่าใช้จ่าย และต้องรอเช่นกัน
    3. ในเคสที่ไม่ได้เร่งด่วน ไปหา urgent care คล้ายๆศูนย์บริการ มีคนตรวจแต่ไม่ได้เป็นหมอ อาจจะมีแพทย์ประจำอยู่ค่ะ
    4. ระบบประกันสุขภาพสำคัญมาก ถ้าเป็นประกันชั้นดี สามารถไปหาหมอ หรือ หมอเฉพาะทางได้เลย แต่ถ้าเป็นประกันชั้นธรรมดา ต้องไปหาหมอประจำตัวก่อน ถ้าหมอเห็นว่า จำเป็นต้องส่งตัวไปหาหมอเฉพาะทาง ก็จะส่งตัวคนไข้ไปอีกทีค่ะ... * ถ้าไม่มีประกันสุขภาพถือว่า ลำบากมากๆ และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากๆ
    ◾การรับยา... ที่อเมริกาจะไปรับยาไปที่ร้านขายยาต่างๆที่ระบุไว้ ซึ่งมีสาขาอยู่มากมาย
    ◾การหาหมอฟัน... แนะนำหาหมอที่จบจากเอเชียจะดีกว่า มีความละเอียดละออมากกว่า ดูแลดีกว่า หมอชาติอื่นก็รักษาได้แต่ก็อาจจะทำให้การรักษาบานปลายสิ้นเปลืองเงินมากค่ะ และต้องดูว่า ประกันของเราครอบคลุมหรือไม่
    ◾ที่อเมริกาเวลาไปหาหมอ คนไข้นั่งอยู่ในห้องตัวเอง ส่วนหมอจะเดินเข้าไปพบคนไข้ในห้อง (ตรงข้ามกับประเทศไทย)
    ◾กรณีของแพทย์
    1. ที่อเมริกาเรียนหมอจบแล้วไม่ต้องใช้ทุน
    2. คนที่เรียนหมอจะต้องกู้เงินเรียน คำนวณแล้วเป็นหลัก 10 ล้านบาท จบแล้วต้องชดใช้เงินที่กู้มา
    3. ที่อเมริกาจะมีโปรแกรมพิเศษ จบม.6 แล้วสามารถเรียนต่อหมอ 6 ปีได้เลย แต่มีเฉพาะบางรัฐและค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าเรียนทั่วไปประมาณ 5 เท่า
    4. หมอที่อเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มีวุฒิภาวะสูง มีความเป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากก่อนที่จะมาเรียนหมอ เคยทำงานอื่นๆมาก่อน มีประสบการณ์ชีวิตมากพอ
    5. หลังจากเรียนจบไปแล้ว ข้อกำหนดสำคัญเมื่อเข้าทำงาน คือ จำนวนชั่วโมงการทำงานต้องเป็นไปตามที่กำหนดว่า ห้ามไม่ให้เกินกี่ชั่วโมง ต้องมีเวลาพัก ต้องมีวันหยุด ซึ่งการที่มีข้อกำหนดเช่นนี้ก็เพราะเมื่อก่อนหมอทำงานหนักเช่นเดียวกับประเทศไทย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากมาย เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ จึงเป็นที่มาของการที่ต้องให้หมอได้พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามทำงานหนักเกินไปค่ะ
    ◾ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ในกรณีการฝึกสอนแพทย์จะมี "หน่วยงานกลาง" ทำการประเมินการฝึกสอนแพทย์ในหลายประเด็น เช่น... 1. อยู่เวรเกินมากี่ครั้ง 2. ทำหน้าที่เกินกำลังความสามารถหรือไม่ 3. ได้รับมอบหมายงานที่ไม่ใช้หน้าที่หรือไม่ 4. ท่านพอใจอาจารย์ผู้สอนแค่ไหน 5. โดยรวมแล้วท่านพึงพอใจโปรแกรมการฝึกสอนแค่ไหน ฯลฯ และเป็นการส่งการประเมินแบบ "ออนไลน์" ส่งตรงไปที่หน่วยงานกลาง... ถ้าผลประเมินออกมาแล้วโปรแกรมการฝึกสอนนั้นมีปัญหา จะเปิดโอกาสให้แก้ไข ถ้าแก้ไขแล้วยังมีปัญหา นักศึกษาแพทย์ทั้งหมดจะถูกโอนย้ายไปอยู่ที่อื่น
    ◾ที่อเมริกาเวลาหมอดูคนไข้ จะไม่ได้ดูคนเดียว แต่จะทำงานกันเป็นทีม เช่น หมอ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ทีมประสานงาน เพื่อช่วยกันดูแลคนไข้ให้ครอบคลุมในทุกๆด้าน
    ◾การเดิน round คนไข้ที่อเมริกา จะเป็นทีมเช่นกัน มีคนแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้ มีพยาบาลประจำตัวคนไข้คอยให้ข้อมูลเพิ่มเติม หมอมีหน้าที่ดูผลเลือด ผลเอ็กซ์เรย์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีเภสัชกรประจำอยู่ใน ICU เพื่อดูว่า ยาที่ให้เหมาะสมหรือไม่ สุดท้าย พยาบาลประจำตัวคนไข้จะอ่านแพลนในการรักษาให้ทั้งทีมได้ฟังว่าเป็นอย่างไร ทุกคนเห็นพ้องต้องกันหรือไม่ เป็นการสื่อสาร 2 ทางเพื่อความชัดเจน
    ◾ที่อเมริกามีนักเทคนิคมากมายทำหน้าที่แตกต่างกัน หรือ ที่เพิ่งเป็นข่าวคือ มี nurse practitioner สามารถผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้โดยไม่มีหมอช่วยคุม และทำเองตั้งแต่ต้นจนจบเป็นเคสแรกค่ะ
    ◾มีระบบการประเมินระหว่างหมอ พยาบาล เป็นระยะๆ เพื่อพัฒนาข้อบกพร่องของแต่ละคนค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Рік тому +2

      @@areerakrotjanapradith3354 ถ้าเป็นเรื่องการเข้าถึงระบบสาธารณสุขในอเมริกา และค่ารักษาพยาบาล เรื่องนี้เราต้องยอมรับความจริงค่ะ อาจารย์ได้กรุณามาบอกเล่าความจริงแล้วว่า ไทยกับอเมริกาแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร อยากให้เปิดใจรับฟังและยอมรับค่ะ ถึงแม้จะรู้สึกว่ามันหนักหนาไป เพราะในอเมริกาเขาคำนึงถึงภาระของแพทย์ในการดูแลคนไข้ด้วยค่ะ

    • @โกวิทย์แหยงกระโทก
      @โกวิทย์แหยงกระโทก Рік тому

      แพทย์ส่วนใหญ่ทราบนะครับว่าที่อเมริกา,ยุโรป,เกาหลี,ญี่ปุ่นระบบสาธารณสุขเค้าเป็นอย่างไร
      คนไข้ประเทศเราอาจไม่ทราบ

  • @aruneethee8412
    @aruneethee8412 Рік тому +1

    โรงพยาบาลอำเภอ จังหวัดไกลจากกทม ไม่ค่อยมีแพทย์มีประสบการณ์ ส่วนมากเป็นหมอจบใหม่ๆ แต่จำนวนหมอจบมาก็เยอะพอสมควร แต่หมอหมุนออกนอกระบบตลอดค่ะ หมอผู้อำนวยการก็ยังต้องช่วยตรวจทุกวันค่ะ ด้วยคนไข้ต้องพบหมอทุกคน ก็เห็นใจท่านสองฝ่ายค่ะ คนไข้บ้านเราก็มีกลุ่มยากจนอยู่เยอะ😅

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому

      สมัยก่อนแพทย์ใช้ทุนจบใหม่จังหวัดไกลจากกทม ก็เก่งๆกันนะครับ ที่มันเป็นแบบนี้เพราะเราเร่งอัตรากำลังการผลิตแพทย์ทำให้แพทย์ที่จบใหม่ปัจจุบันมีประสบการณ์การรักษาที่น้อยและฝีมือการทำหัตถการที่สู้แพทย์สมัยก่อนไม่ได้ครับ

  • @AvecBella
    @AvecBella Рік тому +7

    Nice talk today ka Doctor Tany. It is worth noting that the US Healthcare System is not perfect. It is highly fragmented with multiple insurance providers and varying coverage options, making it hard to navigate the system efficiently. America is also experiencing a physician shortage. There is an uneven distribution of resources. Like Thailand, Physicians tend to be concentrated in urban areas, while rural and underserved areas face shortages. That’s why they’re churning out PAs like crazy at the moment.
    Some PAs are competent, some are not. My friend’s mom in Oregon just got misdiagnosed by a PA.
    Overall, the world population is experiencing growth in the older person sector as a whole… due to increasing life expectancies and declining birth rates. According to the WHO, one in six people in the world will be aged 60 years or over by 2030! 😳

  • @nurseoilchanya5971
    @nurseoilchanya5971 Рік тому +4

    ขอบคุณ🙏อาจารย์ที่แชร์ความรู้ ได้แลกเปลี่ยน ที่สวีเดนไม่มีประกันไม่สามารถหาหมอได้ ชาวต่างชาติก็ต้องซื้อประกันมา ค่ะ นอกจากหมอศัลยกรรมพลาสติก เสริมความงาม ทุกคนเหมือนกันหมด ต้องหาหมอในเขตตัวเองด้วยค่ะ ถ้าเป็นหมอเฉพาะทางก็ต้องใช้ใบส่งตัว แล้วต้องเสียเงินทุกครั้งจนกว่าจะครบ11ครั้งประมาณครั้งละ350 บาท จนกว่าจะครบ11ครั้ง เงินตรงนี้เป็นเงินที่ส่งเสริมการศึกษานักศึกษาแพทย์ ส่วนยา ไปรับข้างนอกเหมือนกันต้องชำระค่ายาเอง แต่จะได้รับส่วนลดตามขั้นตอน ทำงานเป็นทีมเหมือนกัน หมอแต่ละคนจะไม่มีคนไข้ประจำ ถ้าเป็น OPD คนไข้ไม่มีสิทธิ์เลือกหมอเอง ความรับผิดชอบสูงมากทั้งหมอและพยาบาล ที่นี่พยาบาลเฉพาะด้านใส่บอลบูนเองเหมือนกันค่ะ

    • @Opol_Gitti
      @Opol_Gitti Рік тому

      ติดใจกับคำที่คุณว่า "ประกัน" ประกันอะไรคะ ทุกๆคนที่มีเลขบัตรปชช.ในสวีเดน
      เด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีจะได้รับการดูแลสุขภาพและทันตกรรมฟรี
      หากอายุเกิน 20 ปีจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เช่น 200-300 kr จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่มี"คุ้มครองที่มีค่าใช้จ่ายสูง hög kostnadskydd" เป็นความคุ้มครองสำหรับคุณเพื่อให้ค่ารักษาพยาบาลไม่สูงจนเกินไป หากจ่ายค่ารักษาไปแล้วรวมเป็น1300kr ภายใน12เดือนนั้นรักษาฟรี, และ หากจ่ายค่ายาไป2600kr ภายใน12เดือนยาฟรี
      ข้อมูลจาก 1177 sweden

  • @MMm-um5uy
    @MMm-um5uy 4 місяці тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอย้อนหลังค่ะ😊😊❤

  • @mintra84
    @mintra84 Рік тому +1

    อยู่อเมริกามา 14 ปี ใช่ประกันแบบ Copay ส่วนตัวชอบมาก จ่ายเดือนละ 400$ นอกนั้นบริษัทจ่ายให76% ไปหาหมอห้องฉุกเฉินจ่าย copay 500$ จะเป็นน้อยเป็นมากจ่ายแค่นั้น ถ้าต้องนอนโรงพยาบาล จ่าย1300$ บิลมาเป็นล้านหรือ 10ล้าน ประกันจ่ายหมด เคยเข้าห้องฉุกเฉิน 2 ครั้งไม่ต้องรอ ส่วนนัดหมอ specialist ก็นัดเลยมีราคา copay แจ้งไว้ 20,40,65$ แล้วแต่หมอเลือกจ้องเอาใครบริการดี หรือดูจากรีวิว ส่วนตัวไม่ค่อยมีปัญหากับการนัดเจอหมอ แต่เมืองไทยอาจสะดวกกว่าถ้าเป็นเอกชน.

  • @MaiSkinner
    @MaiSkinner Рік тому +2

    อเมริกานัดหมอสูติ (ไม่ฉุกเฉิน) คิว 2 เดือนค่ะ ใช้ประกันค่ะ แต่เข้าใจได้ค่ะ

  • @brelltree7534
    @brelltree7534 Рік тому +7

    ขอบพระคุณคุณหมอนะคะ ❤️🙏 คุณหมอเป็นคนที่เก่งมากๆ ตอนนี้มีข่าวหมอ Intern ที่ต้องทนต่อสภาพการทำงานหนักเกินที่จะรับได้ ยังจำได้ว่าคุณหมอทั้งเป็น intern และเตรียมตัวสอบเพื่อมาเรียนต่ออเมริกา ไม่รู้คุณหมอทำได้ยังไง สุดยอดมนุษย์จริงๆค่ะ 👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻

  • @PJK19
    @PJK19 Рік тому +7

    ถ้าให้ผมเลือก ผมว่าแบบไทยดีกว่าครับ แต่เราต้องแก้ปัญหาเรื่อง
    . ชั่วโมงทำงานของบุคลากรการแพทย์,
    . จำนวนบุคลากร โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง ที่สามารถรับในแต่ละ รพ. (โดยเฉพาะ ระดับชุมชน),
    . เพิ่มค่าตอบแทน (อย่างน้อยหมอต้องเริ่มต้นเท่าผู้พิพากษา ตอนนี้ 60,000 บาท ผมไม่รู้นะตอนนี้แพทย์จบใหม่ได้เท่าไหร)
    . ปรับปรุงและเพิ่มจำนวนหอพัก (หอพักที่ รพ. อำเภอผม.. หมออยู่อย่างน่าเอ็นดูมาก แบบอนุรักษ์นิยม ไม้ เก่าๆ ถ่ายหนังผีได้เลย)
    . จัดสรรอุปกรณ์การแพทย์ที่ดี อุปกรณ์ช่วยชีวิตดีๆ
    . รวมๆ คือ ต้องเพิ่มงบกระทรวงสาธารณสุข
    ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกับสาธารณสุขจังหวัดช่วงโควิด เห็นเค้าแจ้งว่า โดยเฉลี่ย แต่ละ รพ. ขาดทุนทุกปี หลัก 10+ ล้าน นะครับ รัฐต้องอุ้ม... ผมว่าอย่างน้อย ถ้าปรับให้ประชาชนเข้าระบบประกันสังคมให้มากขึ้น ก็น่าจะช่วยได้มากขึ้น
    คนไทยจ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคลน้อยมากๆ..
    ไม่ก็ขึ้นภาษี Sin tax นำส่วนนึงมาอุดหนุนตรงนี้
    ที่ รพ. อำเภอของผม ได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นมา ก็ได้ชาวบ้านช่วยกันบริจาค ได้ซื้อที่ดินเพิ่ม สร้างตึก OPDใหม่ ได้ตึกผู้ป่วยใหม่ ได้ปรับปรุงมากมาย ท้ายสุดคนในชุมชนก็ต้องช่วยกันด้วยครับ รอเงินจากส่วนกลางอย่างเดียวน่าจะไปไม่รอด บุคคลกรการแพทย์จะได้มีความสุข มีกำลังใจทำงานครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +3

      ที่พูดมาผมก็อยากให้เป็นแบบที่ว่าครับ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นไปไม่ได้ครับ ปัญหานี้มันค้างคากับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน ความง่ายในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทำให้ผู้คนละเลยการดูแลสุขภาพและการใช้ชีวิตอย่างประมาท ส่งผลให้คนไข้ล้นหลามเกินกว่า ระบบจะรับได้ ปัญหานี้ไม่มีทางแก้ได้ด้วยการแก้จากทางฝ่ายสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียวครับ

    • @PJK19
      @PJK19 Рік тому +2

      ​@@armnakornthab6867ถ้ามันยากมากแล้วคนตายเป็นเบือ ก็ไม่ไหวนะครับ รพ. รัฐ โดยเฉพาะ รพ. ประจำจังหวัด รพ. โรงเรียนแพทย์ คิวแน่นมากๆ ถ้าไม่เจ็บจริงคนไม่ไปหาหรอกครับ เสียทั้งเวลา เสียอารมณ์กับเจ้าหน้าที่หน้าบูดๆ ร้อนก็ร้อน แออัดด้วย คนเหล่านี้ ไม่มีทางเลือกครับ พวกเค้าไม่มีเงินไป รพ. เอกชน
      เราต้องรู้จัก บริหารในสิ่งที่เรามี ไม่ใช่ปฏิเสธคนไข้นะครับ
      หาวิธี win win ดีกว่าครับ
      เช่น
      ถ้าไม่ใช่เคสฉุกเฉิน ต้องนัดคิวก่อน ไม่ใช่ปล่อย Walk in ได้เลย เป็นต้น ดูที่ รพ.ศิริราช เป็นแบบอย่างมีแอพอย่างดี ระบุเวลานัด ไม่งง ไม่รอนาน (ถ้ารู้วิธี ถ้า Walk in ไป ก็รอไปครับ)

    • @PJK19
      @PJK19 Рік тому +3

      ​@@armnakornthab6867นี่ถ้าคุณเป็นหมอหรือบุคคลกรทางการแพทย์ แล้วโพสแบบนี่ ผมเสียใจนะครับ ที่คุณโทษคนไข้ว่าไม่ดูแลตัวเอง ทำให้พวกคุณต้องทำงานหนัก ... ไม่มีใครอยากป่วยนะครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +3

      @@PJK19 คุณอย่าพิมพ์ในมุมมอง เห็นแต่ข้างตัวเองสิครับ ที่ผมพิมพ์มาคือความจริงโคตรๆ
      เอาง่ายๆนะครับ
      คนไทยเข้าถึงระบบสาธารณสุข “ง่าย” เกินไป ส่งผลให้คนไทยขาดการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเทียบกับประชากรในประเทศพัฒนาแล้ว
      ใช้ชีวิตอย่างประมาทในทุกๆทางเช่นการขับขี่ยานพาหนะ อุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก
      ขาดความรู้พื้นฐานทางสุขศึกษา เช่นฝนตกไม่ได้ทำให้เป็นหวัด แต่ต้องใส่หน้ากากป้องกันต่างหากจึงช่วยไม่ให้เป็นหวัดเมื่อฝนตก
      ต่างๆเหล่านี้ จึงทำให้ปริมาณคนไข้มหาศาล แพทย์จึงต้องรับภาระหนักครับ
      ยกตัวอย่างเมืองที่ผมเคยไปอยู่ที่ออสเตรเลีย แคนเบอร่า จำนวนคนเกือบๆ 500,000 เทียบกับ อำเภอเมือง ขอนแก่น ประเทศไทย จำนวนคนใกล้ๆกัน แต่แคนเบอร่ามี รพ แค่สองที่ ที่เหลือคือคลีนิกแพทย์ทั่วไป และเแพทย์เฉพาะทางที่ไม่สามารถเดินดุ่มๆเข้าไปได้ ต้องมีการนัดล่วงหน้าเสมอ และ walk in center ที่ไม่ใช่หมอมาดูแล เพียงแค่ 2 ที่ ที่สามารถเดินเข้าไปได้เลย
      ในขณะที่ ขอนแก่น เอาแค่ใกล้ๆใจกลางเมืองก็มี รพ. ทั้งของรัฐและเอกชนรวมกัน เกิน 10 แห่งแล้ว
      หลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านี้มันหมายความว่ายังไงครับ????
      มันก็ตามที่ผมพิมพ์ไปตอนแรกครับ
      ถ้าดูแลรักษาตัวเองใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท อย่างน้อยให้อยู่ในระดับเดียวกับคนในประเทศพัฒนาแล้ว มันจะมีโรงพยาบาลผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดขนาดนี้ได้ยังไงครับ ในขณะที่เมืองที่ประชากรเท่ากันมีโรงพยาบาลแค่ 2 ที่เขาก็ยังอยู่กันได้ แถมมีคุณภาพชีวิต และ living standard ที่ดีกว่าคนขอนแก่นโคตรๆด้วย

    • @ลูกพ่อธาตุรักอีสาน
      @ลูกพ่อธาตุรักอีสาน Рік тому +2

      @@PJK19 เค้าเป็นอาจารย์อยู่วิทยาลัยขอนแก่นครับ ไม่ใช่หมอหรอกครับ อาจารย์อาร์มก็วิจารณ์ในฐานะของชาวบ้านประชาชนธรรมดาเหมือนกัน ซึ่งผมเห็นด้วยนะว่า ชาวบ้านแบบเราๆไม่ค่อยดูแลตัวเองและใช้ชีวิตมักง่ายเกินไป มักง่ายในการกินการใช้ชีวิตจนสุขภาพถดถอยไปเป็นภาระหนักที่บุคลากรทางการแพทย์
      ส่วนความคิดเห็นของคุณ ผมชอบมากเรื่องการประกันสังคม ควรเข้ามาช่วยลดภาระหนักเรื่องนี้ มันแก้ไม่ได้แต่มันลดลงได้แบบที่คุณเข้าใจนั่นแหละครับ
      เอาแค่ ม.40แบบชาวบ้านทั่วไปพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดก็ทำได้ แต่คนจำนวนมากมายที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้

  • @yupinphaovanij5606
    @yupinphaovanij5606 Рік тому +5

    พยายามดูแลตัวเองอย่าให้เป็นอะไร
    ดีที่สุด

  • @vv2053
    @vv2053 Рік тому +15

    คนที่ดิ้นรนอยากมาอยู่ต้องฟังคุณหมอไว้ เป็นความจริงทั้งหมด

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 Рік тому +2

    การที่คุณหมอ 1 ท่าน ต้องรับผิดต่อประชากรในประเทศไทยที่สูงมากอย่างน่าตกใจ ส่วนตัวคิดว่าต้องอาศัยความมือจากทุกคนนะคะ เช่น ควรปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนใส่ใจดูแลตัวเอง และคนที่อยู่ในฐานะเป็นประกอบการทั้งขนาดใหญ่ขนาดเล็ก ผู้ค้าขายรายย่อยทุกคนต้องคำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย
    ภาครัฐและองค์ที่รับผิดด้านสาธารณสุขต้องมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันไม่ให้เกิดโรค มากกว่าต้องวิ่งตามรักษาคนไข้ค่ะ#ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🥰

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      เป็นปัญหาที่ทุกภาคทุกฝ่ายต้องช่วยร่วมกันรับผิดชอบจริงๆครับ

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 Рік тому +2

    สสัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขณะที่คลิปอาจารย์ออกมาวันนี้ สองวันก่อนประเทศไทยก็สูญเสียคุณหมอไปอีกสองท่านด้วยอุบัติเหตุเห็นว่าหลังจากออกเวรขับรถกลับบ้าน นับว่เป็นการเสียบุคลากรที่สำคัญ

  • @Sandy_00000
    @Sandy_00000 Рік тому

    ในแง่ของคนไข้ ดิฉันอยู่อเมริกา เจอคิวรอทำ CT scan และ Brest Ultrasound ไป 2 เดือนกว่าๆ (ของเอกชนด้วยนะคะ) รอไม่ไหวค่ะนานเกิน ต้องซื้อตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทยเลยค่ะ ลงเครื่องปุ๊ปก็เข้าโรงพยาบาลเอกชน ทุกอย่างเสร็จภายใน 3 ชม. ส่วนเพื่อนดิฉันลูกชายป่วย อยู่อเมริกาและหาหมอหมอที่นี่เหมือนกัน คิวเร็วสุดที่ได้ทำ CT Scan คือ รอ 8 weeks เพื่อนร้องไห้เลย เค้าก็พาลูกบินกลับเมืองไทยมาหาหหมอที่ไทยเหมือนกันค่ะ รักเมืองไทยและระบบการแพทย์ประเทศไทยมากๆค่ะ ขอบคุณระบบหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สายการแพทย์ของสาธารณสุขประเทศไทย ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนค่ะ

  • @DutsadeeDannarin
    @DutsadeeDannarin Рік тому +2

    คนจำนวนมากไม่ดูแลสุขภาพ เพราะระบบเราเข้าถึงหมอง่าย ตอนนี้ก็มีข่าวคนดื่มน้ำใบกระท่อมป่วยไตพังเพิ่มขึ้น บุคลากรการแพทย์เตรียมเหนื่อยเพิ่ม เหนื่อยอยู่แล้วก็จะเหนื่อยขึ้นอีก เอาใจช่วยนะคะทุกท่าน

    • @HoneyLemonNuin
      @HoneyLemonNuin Рік тому

      เรื่องคนไม่ดูแลสุขภาพเพราะเข้าถึงหมอง่าย เราขอไม่เห็นด้วยนะคะ 1. เราเชื่อว่าคนตอนทำนั่นนี่ที่ไม่ดีกับสุขภาพไม่ได้คิดถึงขั้นนั้นหรอกค่ะ เค้าทำเพราะเค้าไม่ได้คิดเยอะค่ะ หรือแค่มั่นใจว่าเค้าจะไม่เป็นอะไรค่ะ ยกตัวอย่าง เชื่อว่าคงไม่มีคนที่สูบบุหรี่แล้วคิดว่า ไม่เป็นไรถ้าเป็นมะเร็งปอดแล้วหาหมอเอาเพราะหาหมอง่ายในไทย ??? 2. ประเทศอเมริกาที่เราอยู่ตอนนี้เข้าถึงหมอยาก แต่คนก็ไม่ดูแลสุขภาพค่ะ ดูง่ายๆเลยคือคนอ้วนเยอะมาก แล้วก็ไม่ใช่อ้วนแบบท้วมๆแต่เป็นอ้วนนมากๆๆๆแบบที่จะหาอ้วนขนาดนี้ที่อื่นในโลกไม่น่ามีอ่ะค่ะ นอกจากอ้วนแล้วยาเสพติดก็เยอะ ในรัฐเราผิดกฏหมายก็ยังได้กลิ่นสูบกัญชากันบ่อยค่ะ เพราะฉะนั้นสมมุติฐานนี้ที่หมอริทเคยพูดเป็นความมโนค่ะ

    • @DutsadeeDannarin
      @DutsadeeDannarin Рік тому

      @@HoneyLemonNuin ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันมุมมองนะคะ หลายเหตุหลายปัจจัย ดูแลสุขภาพนะคะ

  • @แวววาวานานา

    ขอขอบคุณข้อมูลความรู้นะคะ
    กราบ.งาม.งาม.คะ อาจารย์หมอ.
    ❤🙏❤️

  • @Maneepatchaya
    @Maneepatchaya Рік тому +2

    ระบบสาธารณสุขทางยุโรปหน้าจะเหมือนกันคะ สำคัญสุดคือประกันจริง ๆคะ การจะหาหมอต้องทำการนัด รับยาข้างนอก ยอมรับช้ามากคะกว่าจะได้เจอหมอ เบสิคคือ ยาพาราดูแลตัวเองก่อนพื้นฐาน ที่ฮอลแลนด์เด็กจะอยู่กับครอบครัวถึง อายุ 18 ปี หลัง18ปีคือคุณโตเป็นผู้ใหญ่รับผิดชอบตัวเองได้ขอบคุณคะ🙏

  • @kikgalaxy4358
    @kikgalaxy4358 Рік тому +3

    ฟังคุณหมอพูดแล้วรู้สึกรักประเทศไทยมากขึ้นคะ อยู่ที่โน่นการรักษาพยาบาลค่าใช่จ่ายสูงมากกก นัดพบแพทย์ยากมาก ต้องรอนานหลายเดือนกว่าจะได้พบหมอ รู้สึกโชคดีคะ ซาบซึ้งในบุญคุณของแผ่นดินไทยอย่างยิ่ง❤❤❤

    • @แวววาวานานา
      @แวววาวานานา Рік тому

      +1คะ รักเร้ยยย.ประเทศไทย.

    • @kikgalaxy4358
      @kikgalaxy4358 Рік тому

      ​@@แวววาวานานา😊😊😊

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому

      ⁠@@kikgalaxy4358ระบบมันเลยไม่ยั่งยืนไงครับ ฟังดูเหมือนดีนะครับ แต่หลังๆคุณภาพของแพทย์รุ่นใหม่เริ่มลดลงแล้วเพราะเร่งกำลังการผลิต ฝีมือการทำหัตถการที่สู้หมอรุ่นก่อนหน้านี้ไม่ได้ รวมไปถึงการได้รับการรักษาที่คุณภาพต่ำเพราะได้คุยแป๊บเดียว อ้อ แพทย์ต่างประเทศไม่ได้นัดกันหลายเดือนเสมอไปครับ ที่นัดนานๆส่วนใหญ่เป็นแพทย์เฉพาะทางครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому

      สาธารณสุขไทย เหมือนโอ่งก้นรั่ว ใส่น้ำลงไปเรื่อยๆ แต่ไม่อุดก้น สิบชาติก็ไม่มีวันเต็มโอ่งครับ และรอยร้าวก้นโอ่งก็จะขยายขึ้นเรื่อยๆ อีกไม่นานก็โอ่งแตก

  • @PerunawiN
    @PerunawiN Рік тому +2

    เป็นข้อมูลสาระที่ดีมากครับ เผื่อหน่วยงานรัฐจะนำไปปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าหน้าที่👍👍

  • @netichaimanijajwalsgool4208
    @netichaimanijajwalsgool4208 Рік тому +1

    สวัสดีครับคุณหมอ ผมติดตามคลิปคุณหมอประจำ ได้ความรู้ดีมาก อยากถามว่าเมื่อไหร่คุณหมอจะกลับมาดูแลคนไทยและช่วยกันพัฒนาประเทศไทยละครับ
    อยู่อเมริกาเราเป็นได้แค่พลเมืองชั้นสอง กลับมาอยู่บ้านเราเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งและมีศักด์ศรีเต็มร้อย ผมทราบดีว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลผมแค่อยากชวนคุณหมกลับบ้านเท่านั้นครับ#คนไทยต้องการหมอเก่งๆ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому

      ตามนี้ครับ ua-cam.com/video/uBvt30Wk2ZA/v-deo.html

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      ทำไมคนเก่งหลายคนถึงไม่อยู่ไทย ก็เพราะระบบและค่าตอบแทนที่เฮงซวยครับ

  • @peamitmaiteetour1111
    @peamitmaiteetour1111 Рік тому +1

    ฟังจนจบคลิป รู้สึกมีความหวังคะ🥳 (ไม่ได้คิดย้ายประเทศ) มีความคิดส่วนตัวที่ว่า การเมืองใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยน่าจะนำไปสู่การปรับปรุงหรือยกเครื่องใหม่เป็นระบบที่ดี หวังน้อยๆ ขอใกล้เคียงเมกา🇺🇸
    ไทยคือเมกา เมื่อ 50 ปีที่แล้ว และระบบที่นางพยาบาลหรือผู้ช่วยสามารถพัฒนาวิชาชีพในตัวทางแพทย์ที่มี นำมาช่วยคนแทนหมอได้ เยี่ยมมากค่ะ

    • @charins7831
      @charins7831 Рік тому +1

      ต้องซื้อประกันทุกคนก่อน น่าจะยาก

    • @peamitmaiteetour1111
      @peamitmaiteetour1111 Рік тому

      เห็นด้วยค่ะ ที่จะต้องมีประกัน (เพื่อรักษาในต่างประเทศ และในประเทศ) ส่วนตัวมีประกันอยู่ แต่เรื่องชุ่ยมากที่ไม่สนใจ คือมีบัตรทองรักษาตัวเองมาตลอด จนไม่สนใจประกันที่มี ตัวเองแย่มากค่ะ ต้องรีเช็กเองกับตัวแทนที่ได้ซื้อประกันมาคะ😅

  • @kanokpornmartinez6155
    @kanokpornmartinez6155 Рік тому +3

    เก่ง ฮีโร่ อดทนเยี่ยมจ้าาา ขอให้ชีวิต พบพานแต่สิ่งสวยงามจ้า ใจบุญ มหากุศลมากๆ❤❤❤

  • @kikgalaxy4358
    @kikgalaxy4358 Рік тому

    เคยพบหมอฟันที่โน่นคะคุณหมอ ผ่าฟันคะ คุณหมอฟันไม่ใช่คนเอเชีย เก่งมากคะ การผ่าของคุณหมอได้ผลดีมากคะ กินไอติมเป็นอาหารเป็นสัปดาห์เลยคะ😂😂😂 แผลผ่าฟันหายเป็นปกติดีในเวลาไม่นาน

  • @ภาวิณีพลายละมูล

    สวัสดีค่ะอาจายร์หมอ
    ขอบพระคุณข้อมูลดีๆค่ะ🙏❤

  • @napapathdillon3645
    @napapathdillon3645 Рік тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากเลยนะค่ะสำหรับข้อมูลดีๆในทุกๆคลิปเลยค่ะ อาศัยอยู่ที่อเมริการัฐโอเรกอนค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ 🙏🏻🙏🏻

  • @lakkyky5792
    @lakkyky5792 Рік тому +2

    Sabaidee 🙏Doctor Tany thank you 🙏 ค่ะ สำหรับข้อมูล

  • @อรอนงค์อุดมกิตติ-ฏ2ถ

    ขอบคุณ คุณหมอที่นำความรู้ดีๆมาให้ทุกวันค่ะ🎉❤🎉

  • @kunpomzaa
    @kunpomzaa Рік тому

    ตอนหนูท้อง คลอดที่อเมริกา เจอหมออยู่แค่ครั้งเดียว ที่เหลือเจอแต่มิดไวฟ์ ซึ่งเก่งมากๆเหมือนหมอเลยค่ะ แล้ววันคลอด นศ แพทย์ขอเข้ามาดูกันหลายคนเลย เราก็ให้เข้าเพราะให้คนอื่นมีความรู้เป็นวิทยาทาน 😅

  • @wilaipoochroen2183
    @wilaipoochroen2183 Рік тому +1

    ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ แต่ประเทศไทยยังคงรับยาที่โรงพยาบาลถ้ารับยาจากร้านยาหรือศูนย์ใกล้ๆบ้านก็คงสะดวกรวดเร็วไม่ต้องไปรอที่ห้องรับยาค่ะ

  • @ruji.s
    @ruji.s Рік тому +2

    แนวทางดีๆ หวังว่าผู้รับผิดชอบในวงการสาธารณสุขของไทย จะตระหนักถึงปัญหาแล้วรีบแก้ไข ไม่มีใครสบายใจถ้าบุคลากรโหมงานหนักแบบทุกวันนี้ เห็นใจคนทำงานหนัก มากๆ ค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      ปัญหามันมาจากวิถีชีวิตของคนไทยเองด้วยครับ การแก้ที่ระบบอย่างเดียวทำไม่ได้ครับ

    • @gaisakae7258
      @gaisakae7258 Рік тому

      ตนไทยยอมซื้อประกันร่วมจ่ายแบบอเมริกาหรือเปล่าก่อน รัฐเปลี่ยนให้ได้ แต่แค่ออกข่าวว่ามีแนวคิดว่าจะทำ ก็ใช้สื่อโซเชียลโหมด่า และลงถนนประท้วงแล้ว

  • @subaruyo2251
    @subaruyo2251 Рік тому +1

    ได้ความรู้ เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เข้ามาฟัง ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 Рік тому +10

    การกู้เงินเรียน เป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาในประเทศพัฒนาแล้ว มีวุฒิภาวะ มารยาท กาลเทศะ ครับ ต่างจากเด็กนักศึกษาไทยปัจจุบัน (แต่ก่อนสักสิบปีก่อนไม่เป็นแบบนี้นะครับ) เรียกร้องแต่ในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ไม่เรียกร้องในสิ่งที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาตนเอง ทำตัวตามสบาย ขาดมารยาท กาลเทศะ เพราะวุฒิภาวะต่ำเนื่องจากยังขอตังค์พ่อแม่เรียน
    ปล. ในประเทศไทยนักศึกษานักเรียนมีมารยาทกับเรื่องไม่เป็นเรื่องครับ เช่น การจะต้องคลานเข่าเข้ามาพบอาจารย์ หรือแม้กระทั่งต้องก้มหัว พูดในระดับความสูงที่ต่ำกว่าอาจารย์ เอิ่มมม เอาเวลาไปสร้างสรรค์มารยาทที่มันเป็นสากลกว่านี้ดีไหมครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      @@dolemonnobita5459 มันเกี่ยวกับความจริงจังในการติดตามทวงหนี้ครับ สำหรับคนที่กู้ กยศ แล้วชำระหนี้ครบ ผมกล้าฟันธงว่าพวกนี้มีวุฒิภาวะมากกว่านักศึกษาทั่วไปครับ

    • @misst-tg6qi
      @misst-tg6qi Рік тому +3

      ที่อเมริกานะคะใครที่กู้เงินเรียนไม่มีทางหนีพ้นได้ 😆
      คุณจะไปทำงานที่ไหนเค้าจะรู้หมดแล้วสามารถหักเงินเดือนจากที่ทำงานนั้นนั้นได้เลย 👍 เนื่องจากว่าเค้าสามารถเช็คได้จากหมายเลข ประจำตัวของคุณ (Social number)
      และในแต่ละปีคนที่ทำงานในอเมริกาต้องมีการทำ tax บางคนอาจจะได้เงินคืน หรือบางคนอาจจะต้องเสียเพิ่ม Tax ที่อเมริกาหักเยอะมากค่ะ ต้องเสียภาษีให้ประเทศภาษีของเมืองที่เราอยู่และภาษีของเมืองที่เราทำงาน และหักต่างหากอีกประมาณ 6.2% สำหรับตัวเราเองไว้ใช้ในยามแก่ค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      @@misst-tg6qi พอดีในประเทศไทยมันมีแรงงานนอกระบบเยอะครับ พวกนี้แท็กยากและไม่เสียภาษี เลยทำให้ระบบการติดตามหนี้สินของประเทศไทยขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับอเมริกาครับ

    • @misst-tg6qi
      @misst-tg6qi Рік тому

      อ้อต่ออีกนิดนึงค่ะ เพราะว่าเมื่อ claim tax แล้วใครที่เป็นหนี้อยู่ ทาง IRS ก็จะหักเงินออกไปเลยค่ะ ที่ทราบเพราะว่ามีคนที่รู้จักโดนมาแล้วค่ะ 😂

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Рік тому +2

    💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะอาจารย์💐
    🎉ตอนนี้ผู้ติดตาม 4.58 แสนคนแล้วค่ะ🎉

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Рік тому +4

    สำหรับคนไทยที่กำลังเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเพื่อเที่ยว ศึกษาต่อ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ ค่ารักษาพยาบาลไม่ได้แตกต่างจากคนท้องถิ่นมากนัก ข้อมูลด้านล่างนี้ คือค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาค่ะ
    1. เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ
    2. พบแพทย์ฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 - 96,000 บาท หรือ 150 - 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    3. นอนโรงพยาบาล 1 คืน ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 160,000 บาท หรือ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    4. พบแพทย์ทั่วไป ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 - 6,400 บาท หรือ 100-200 ดอลลาร์สหรัฐ
    5. MRI ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 32,000 - 160,000 บาท หรือ 1,000 - 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    6. X-ray ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 4,800 - 96,000 บาท หรือ 150 - 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    7. ตรวจเลือด ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 3,200 - 96,000 บาท หรือ 100 - 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    8. แขนหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 16,000 บาท หรือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 224,000 - 320,000 บาท หรือ 7,000 - 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
    9. ขาหัก ค่าใช้จ่ายเริ่มที่ 80,000 บาท หรือ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องผ่าตัดเริ่มที่ 544,000 - 1,120,000 บาท หรือ 17,000 - 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +4

      ที่สำคัญ มีประกัน ไม่ใช่ว่าไม่ต้องจ่ายนะครับ เราต้องจ่ายร่วมทุกรายการเลยครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Рік тому

      @@armnakornthab6867 ค่ะอจ. ขอบคุณมากค่ะ

    • @sasikan9388
      @sasikan9388 Рік тому +2

      โหดมากสำหรับคนที่จะไปเที่ยวนะคะคงต้องเที่ยวในเมืองไทยนี่ล่ะค๊า😢😢

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      @@sasikan9388 ไปเที่ยวแป๊บเดียวซื้อประกันสุขภาพไว้มันไม่แพงมากหรอกครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +4

      เพิ่มให้อย่างนึงครับ ปลูดถ่ายปอด 2 ข้าง $500,000 ไม่รวมค่ายาและอื่นๆครับ

  • @yingjiphunny1072
    @yingjiphunny1072 Рік тому +2

    สวัสดีค่ะอ.หมอ🙏
    ขอบคุณข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ค่ะ👍

  • @nabeelahbulut780
    @nabeelahbulut780 Рік тому +1

    ขอบคุณคุณหมอมากที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้มาให้ ส่วนตัวติดตามคลิปทุกวันเลยคะ พอดีคุณแม่มีโอกาสจะมาเยี่ยมหลานๆที่อเมริกาประมาณ 6 เดือน ท่านอายุมากแล้วคะ อยากทราบว่าคุณหมอพอจะแนะนำประกันสุขภาพไหนที่ควรซื้อให้ท่านบ้าง จากที่นี่หรือที่เมืองไทยดีหนือต่างกันอย่างไรคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      ถ้าจะอยู่ที่นี่ก็ควรซื้อของที่นี่เลยครับ แต่ละเมืองก็ไม่เหมือนกันครับ

  • @kanjanaanyrukratchada2719
    @kanjanaanyrukratchada2719 Рік тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @BKKLouisNattanan
    @BKKLouisNattanan Рік тому +1

    ตั้งใจฟังมาก สังเกตหน้าจอซ้าย เลอะอะไรนิดหน่อย พยายาม เช็ดออก แต่เช็คไม่ออก ดูดีๆ อ่อ ผนังห้องคุณหมอ ค่า 😂😅😁😀😂🤣

  • @chaliajamjan9793
    @chaliajamjan9793 8 місяців тому +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Рік тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @chaloeypornchansin9892
    @chaloeypornchansin9892 Рік тому +1

    สวัสดี​ค่ะ​ อาจารย์​หมอ​

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 Рік тому +1

    ห้องฉุกเฉินที่ออสเตรเลีย เคยเกิดปัญหาคนไข้เป็นอะไรๆก็มา ตอนหลังๆ จึงมีการแจ้งว่า ต้องจ่ายล่วงหน้ามาก่อน 12,500 บาท เหมือนบัตรผ่านประตู เบิกประกันได้ไม่ได้ต้องไปเคลมทีหลังครับ

  • @pumpkinnailie2019
    @pumpkinnailie2019 Рік тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ กำลังอยากรู้เรื่องนี้เลยค่ะ

  • @apilcpn4444
    @apilcpn4444 Рік тому +2

    อาจารย์หมอครับ ที่อเมริกามีคนไข้มาขอใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงานไหมครับ ของไทยโดยเฉพาะคนไข้สิทธิประกันสังคมเยอะมากที่เจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้แต่ต้องมาขอใบรับรองแพทย์เพื่อเอาไปลางาน เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงานเขียนกำกวม "ลูกจ้าง ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น หนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้" นายจ้างส่วนใหญ่มักกำหนดให้ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง กลายเป็นว่านอกจากแพทย์โรงพยาบาลรัฐต้องทำหน้าที่รักษาคนไข้ กลายเป็นเพิ่มหน้าที่แยกป่วยจริงหรือป่วยไม่จริงให้กับบริษัท ขอบคุณครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +3

      มีแต่คนละแบบกับไทย และน้อยกว่ามากครับ

    • @siameseboy3174
      @siameseboy3174 Рік тому

      ถ้าหยุดไม่เกินสามวันคุณสามารถ call in sick ได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์แต่ถ้าเกินสามวันก็ต้องหาใบรับรองแพทย์ไปยืนยันนี่ผมพูดถึงคนที่ทำงานเป็นลูกจ้างของ Federal นะครับไม่ทราบว่าของ State หรือบริษัทเอกชนจะเหมือนกันไหมแต่คิดว่า Fed น่าจะทำให้เป็นแบบอย่างเดียวกันหมด

  • @misst-tg6qi
    @misst-tg6qi Рік тому +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ สำหรับข้อมูล ความรู้ใหม่ๆ คุณหมอเก่งจริงๆ 👏👍

  • @DutsadeeDannarin
    @DutsadeeDannarin Рік тому +1

    ที่ รพ กรุงเทพระยอง ถึงเวลานัดไม่ไป โทรตามตลอดค่ะ จนกว่าจะไป😂😂

  • @tukkata2371
    @tukkata2371 Рік тому +2

    ถึงด่วนก็ช้าอยู่ดีค่ะหมอ นิ้วเท้าห้อยยังรอนานเลยค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      ที่ออสเตรเลีย กระดูกหัก รอหน้าฉุกเฉิน 6 ชม. ครับ

    • @แวววาวานานา
      @แวววาวานานา Рік тому +2

      ​@@armnakornthab6867
      หาาา.ตายพอดีไม่ต้องรักษา

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      @@แวววาวานานา กระดูกหักมันไม่ถึงตายหรอกครับ ถ้าไม่ได้ไปที่อวัยวะภายใน เขาถึงให้รอ 6-7 ชั่วโมงไงครับ

    • @แวววาวานานา
      @แวววาวานานา Рік тому +1

      @@armnakornthab6867
      ไม่มีใครอยากจะป่วยหรอกคะ
      กายก็ทุกข์ใจก็ทุกข์ ยังจะมาให้
      รอหมออีก จะทุกข์มากไปมั้ย คุณ.
      เรา...หนึ่งคนไม่ รอ..คะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      @@แวววาวานานา ถ้าคุณอยู่ตรงนั้น มันไม่มีทางเลือกในการรักษาอื่นให้คุณครับ ไม่รอฉุกเฉิน 7 ชม. คุณก็ต้องรอไปนัดแพทย์ทั่วไป ไม่สามารถหาหมอกระดูกได้ทันทีเหมือนไทย เจอแพทย์ทั่วไป รอส่งตัวนัดเฉพาะทาง รอนานไปอีกเป็นวันๆ ถ้าคุณไม่รอในสภาวะนั้นก็กระดูกหักต่อไปหรือป่วยเป็นโรคที่กำลังเป็นต่อไปครับ

  • @sports-travel-esso
    @sports-travel-esso Рік тому +3

    ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาค่า

  • @seetongsung106
    @seetongsung106 Рік тому

    ใช้บริการของ Stanford CA ชอบ nurse practitioner มากค่ะ แต่ก็มีให้เลือกค่ะ ถ้าจะพบ แพทย์ก็ได้ค่ะ แต่บางทีความดันขึ้น หรือหายใจไม่สะดวกต้องไป urgent care ค่ะ บิลมาไม่ต้องพูดถึง ถ้าไม่มีประกันแย่ค่ะ ผ่าตัดเล็กยังหลักล้านบาทค่ะ

  • @tooknsden2990
    @tooknsden2990 Рік тому +4

    กด like เลยค๊า ❤❤ ก้มหน้าก้มตาทำงานคลินิก แล้วยังต้องทำเอกสาร คีย์คอมเพราะจะได้งาน ได้เงินเข้า ร.พ. ผู้บริหารตามตัวชี้วัด บลาๆๆ 😂😂😂

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 Рік тому +1

    ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Рік тому +2

    😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 Рік тому +1

      @ เอื้องมะลิ
      แวะมาทักค่ะคุณครู
      หลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ⚘❤⚘
      @ Doctor Tany
      ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
      สุขสันต์วันอาทิตย์ค่ะ 🌻🧡🌻

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali Рік тому +1

      @@boomsong5729
      😊💖 สวัสดีค่ะ
      ขอบคุณมากนะคะ
      เช่นกันนะคะ หลับฝันดี
      นะคะ

  • @boonnumlym6708
    @boonnumlym6708 Рік тому +2

    ขอบคุณครับ

  • @khanisthaae4509
    @khanisthaae4509 Рік тому

    ที่ไทยถ้าไม่มีประกันสุขภาพ ก็ลำบากเหมือนกันค่ะ สิทธิ์เข้าถึงการรักษาค่อนข้างลำบากมากๆ

  • @วาสนาไชพิลา

    ขอบคุณมากนะคะ

  • @ltbsupply
    @ltbsupply Рік тому +1

    ขอบคุณมากครับอาจารย์หมอ❤❤❤

  • @season7516
    @season7516 Рік тому +2

    เท่าที่เคยได้ยินมานะคะ ที่คนไทยมีฟันที่สวยงามเพราะค่าใช้จ่ายในการจัดฟันในไทยมีราคาถูกกว่าหลายๆประเทศและคนไทยเข้าถึงหมอฟันได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นถ้าจะจัดฟันค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่าแสนบาท

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      จิงครับ สาวญี่ปุ่นหน้าสวยๆหลายคนยิ้มออกมานี่บางคนฟันเละเลย

    • @season7516
      @season7516 Рік тому +1

      @@armnakornthab6867 คิดว่าหมอจัดฟันก็คงมีน้อยด้วยค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Рік тому +2

      ที่ญี่ปุ่นแพงมากค่ะ มีหลายปัจจัยที่ทำให้ค่าทำฟันแพง เช่น 1. คลินิกทันตกรรมในญี่ปุ่นลงทุนในเรื่องอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้การรักษาที่มีคุณภาพสูง 2. คลินิกทันตกรรมที่ญี่ปุ่นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดและมาตรฐานคุณภาพด้านการดูแลสุขภาพฟันเพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้มาทำฟัน ดังนั้น ต้นทุนสูงค่ะ ค่ารักษาเลยแพงมาก

    • @season7516
      @season7516 Рік тому +2

      @@FragranzaTrippa ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

    • @DThisone
      @DThisone Місяць тому +1

      ทำฟัน รักษาฟัน ฯลฯ โรงบาลรัฐ ก้อพอไหว
      แต่ถ้า.
      เอกชน คลินิกทั่วไปแพงโหดยุ พอกับนอก

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn Рік тому +1

    เรียนหมอที่อเมริกา ใช้ต้นทุน ในการเรียนสูงมากๆ เลยค่ะ
    ฟังแล้ว นักท่องเที่ยว ถ้าจะไปเที่ยวอเมริกา ต้องซื้อประกัน ค่ารักษาพยาบาล ไว้เลย น่าจะดีกว่า
    แผลยาว 3 cm ไม่ลึก น่ากลัว อยู่นะคะ หมดไป 2 หมื่น รอหมอ 3 ชั่วโมง ป่วยหนักกว่านี้ คง แพงมากๆ เลยค่ะ
    เคยหน้าแข้งแตกตอน อุบัติเหตุทางรถยนต์ แผลไม่ลึก ไป รพช. หมอบอกไม่ต้องทำอะไร พูดได้ หายใจดี อยู่ ฉุกเฉิน 30 นาที ยังไม่มีอาการอะไร ไม่น่าเป็นห่วง
    พอดี มีประกัน และน้องสาว บอกว่าขอใบส่งตัว เลยไปเอกชน ปรากฎว่า หมอเอกชน บอก แผลดำแล้วค่ะ ต้องเย็บ 😆😁 หมดไป เยอะ อยู่ค่ะ แต่ พรบ. ทางจราจร 30,000 บาทแรก เบิกผ่าน พรบ. หรือประกันส่วนตัว เลยไม่ได้จ่ายค่ะ
    ฟังแล้วก็ให้นึกสงสัย เรื่องสวัสดิการ พลเมืองของ อเมริกา ระบบ สวัสดิการ ไม่รู้ว่าเค้าให้สิทธิ์ พลเมือง รักษา ได้ แค่ไหนนะคะ
    เพราะเห็น อาจารย์แทนบอกว่า ยังต้อง เสียค่า ประกัน เยอะเลย ต้องแบบประกันที่จ่ายแพงด้วย
    ที่เมืองไทย เอกชน ไม่รู้กี่บาทนะคะ แผลแบบเพื่อน อาจารย์ แทน เพราะ เคยเคลม อุบัติเหตุ ค่า DF ประมาณ 1000 บาท
    เมื่อวาน ขนาดแผลที่นิ้วเท้า ไม่ลึกมาก น่าจะ ลึก 1-2 มม. ยาว 0.4-0.5 มม 🩸 เลือดยังหยุดไหลช้าเลยค่ะ กดไว้ ตั้งนาน เลือดสาดเลย เปลี่ยน พลาสเตอร์ติดแผล 3 ชิ้น ถึงจะหยุดไหลไม่แน่ใจว่า เล็บโดนด้วยรึเปล่านะคะ รอดูตอนแผลเริ่มดีขึ้น ก่อนค่ะ โพวิดดีน พลาสเตอร์ เอาอยู่ รพ. ที่รับ ประกันก็อยู่เอกชน ซะไกล 50-70 กม ไม่คุ้มค่าน้ำมันรถเดินทางค่ะ 😆😁😆😁 ว่างๆ คง โทรไปสอบถามสิทธิ์ ของตัวเองอีกทีค่ะ

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn Рік тому

      ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ 💖💖💖💖💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚 Have a wonderful & happiness moment time with a funny Rosy ค่ะ 🐶💋💋🩺👨‍⚕️🌸🌸🌹🌹🌹🌹🌸🌸

  • @piya072
    @piya072 Рік тому +2

    เพิ่งมีเคสคุณหมอมีน ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตพอดีเลยครับ น่าสงสารคุณหมอมากๆ😢😢😢

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      มันเป็นปัญหาที่คนไทยทุกคนควรร่วมกันรับผิดชอบครับ ไม่งั้นเรื่องแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อไป

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Рік тому +1

    ☺️ขอบคุณอาจารย์หมอแทนมากค่ะ🧸🐰

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 Рік тому +1

    ที่แปลกอย่างนึงเรื่องประกันคือ เราซื้อประกันหลายๆเจ้าให้มาโปะจนครบค่าใช้จ่ายไม่ได้อะครับ เช่น ประกัน A จ่าย 70% ประกัน B จ่าย 30% เห็นว่าทำแบบนี้ผิดกฎหมายด้วยครับ

  • @dramadrama8861
    @dramadrama8861 Рік тому +2

    คุณหมอสุดยอดเลยค่ะ ขอบคุณะคะสำหรับความรู้ล้ำค่า และมีประโยชน์มากๆ👍👍👍

  • @pattharawadeekoedlarp1302
    @pattharawadeekoedlarp1302 Рік тому

    คนป่วยที่ไม่มีประกัน และยากจน หากเจ็บป่วยหนักมีบริการรักษาฟรีเหมือนเมืองไทยไม๊คะ ขอบคุณคะ

    • @siameseboy3174
      @siameseboy3174 Рік тому +3

      มีครับแต่ละรัฐแต่ละ county เขาจะมีงบประมาณไว้ให้สำหรับการนี้โดยเฉพาะและทาง Federal ก็จะมีงบสมทบให้แต่ละรัฐด้วยเพราะฉนั้นไม่ต้องกังวลว่าเจ็บป่วยแล้วจะไม่ได้รับการรักษา การบริการก็จะมีทั้งบัตรผู้ที่มีรายได้ต่ำและผู้ที่ไม่มีรายได้เลยและมีหลายรัฐที่ยังรับรักษาคนที่ไม่มีเอกสารการอยู่อาศัยที่ถูกต้องคือเขาจะไม่ถามสถานะของคุณด้วยครับ เพียงแต่ว่าคุณต้องรู้ช่องทางที่จะไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่เขา

    • @pauleagle6281
      @pauleagle6281 Рік тому +1

      เล่าให้ฟัง...
      มีคนลาวอพยพในเมืองลาว เวกัส มันไม่ทำงาน ขี้เมาหยำเป แต่พูดจาดี คนสงสารช่วยเหลือ (รวมทั้งผมด้วย) เป็นโรคเกาต์ มือหงิก เท้าไม่ปกติ
      คนเขาเรียกมันว่า เจ้า Budweiser (ชื่อยี่ห้อเบียร์)
      วันนึงมันล้ม กระดูกสะโพกหัก คนเรียกรถพยาบาลส่งไปโรงพยาบาล เขารักษาผ่าตัดให้ ทั้งที่รู้ว่าไม่มีประกัน หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลทำเรื่องประกันย้อนหลังให้ เจ้านี่แค่เซ็นอย่างเดียว (พวกเราเล่าเป็น joke ว่า ตอนแรกโรงพยาบาลต้องรักษาตามกฎ แต่เพื่อที่จะได้เงินค่ารักษาจากรัฐบาล โรงพยาบาลต้องทำเรื่องประกันย้อนหลัง)
      เรื่องทั่งหมดนี่ตอนโควิตระบาดหนักด้วยนะ
      หลังจากนั้น เจ้านี่รู้ลู่ทางทำเรื่อง food stamps ต่อ...สบายไป
      พอมาขอเงินผมอีก ผมไม่ให้แล้ว บอกเอ็งมี food stamps แล้ว ขออะไรอีก

  • @maskanta
    @maskanta 5 місяців тому

    หมอไทย ดีสุดๆๆ

  • @cchatreee
    @cchatreee Рік тому +1

    ขอบคุณครับคุณหมอ ถ้ามีเวลาผมรบกวนคุณหมอทำเรื่องวิธีปฏิบัติตัวของอเมริกันเวลาเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง เวียนหัว ฯลฯ เวลากลางวัน เวลากลางคืน เขาทำกันอย่างไร เพราะที่ไทยผมเคยโดนหมอต่อว่า ทำไมไม่รีบมาเร็วกว่านี้ และขอแถมเรื่องบทบาทเภสัชกรของ U.S. ด้วยครับ เพราะที่ไทยผมรู้สึกว่าเขาเรียนเยอะแต่ใช้น้อยมาก(ที่เปิดร้านขายยาน่ะครับ)

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      ที่นี่ไปที่ร้านยาหายาทาน หรือไม่ด่วนก็โทรหาหมอประจำตัวแล้วรอเขาตอบ ถ้าด่วนก็ไป urgent care ครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      เอาเบื้องต้นตอนนี้ chat gpt ครับ

  • @kikgalaxy4358
    @kikgalaxy4358 Рік тому +2

    ประกันไม่ได้จ่ายทุกอย่างนะคะ มีหลายอย่างที่ประกันไม่จ่าย ประกันที่แพงมากก็มีข้อยกเว้นไม่จ่ายเหมือนกันคะ สรุปว่าต้องจ่ายเองด้วยเป็นเงินราคาแพงมาก ทำให้คนจำนวนมากในประเทศเจริญแล้ว ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ เพราะจ่ายไม่ไหว ต่างจากคนไทยที่ได้รับการรักษาแบบถ้วนหน้าคะ🎉🎉🎉

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +1

      มันก็ต้องแลกกันระหว่างได้ตรวจถ้วนหน้าแต่คุณภาพการรักษาห่วย ได้คุยกับหมอไม่ถึง 5 นาที แพทย์จบใหม่ทำหัตถการแพทย์สู้ แพทย์รุ่นเก่าไม่ได้ ไม่ได้นอนมา 32 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง แล้วมาตรวจคนไข้วินิจฉัยผิดๆถูกๆ เหมือนโอ่งก้นรั่ว อีกไม่นานก็แตก
      กับ
      คนส่วนใหญ่ได้เข้าถึงการรักษา ( ก็จริงครับที่คนจำนวนมากในอเมริกาอาจไม่ได้เข้าถึงการรักษาแต่มันไม่ใช่คนส่วนใหญ่แน่นอน และไม่น่าจะถึง 10 เปอร์เซ็นต์ด้วย) หมอดูแล ได้ทั่วถึง ไม่มีหมออดหลับอดนอนมาตรวจคนไข้ ถ้าได้เข้าถึงมือหมอก็อุ่นใจได้ หมอไม่สมองไหลออกนอกประเทศ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +2

      การรักษาที่ประกันไม่เห็นด้วยเขาจะไม่จ่ายครับ เราจะคุย appeal ได้ ถ้าเขาเข้าใจ และเห็นด้วยก็จะจ่าย ถ้าไม่เห็นด้วยก็ไม่จ่ายครับ เรื่องพวกนี้มันดูกันที่เหตุผลทางการแพทย์ครับ ถ้ารักษาหรือตรวจอะไรที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน หรือแพทย์ไม่เห็นด้วยแต่คนไข้ยืนยันจะตรวจ อันนี้คนไข้จ่ายเอง ต่อให้การตรวจนั้นจะเจออะไรผิดปกติ ประกันก็ไม่จ่ายครับ

    • @kikgalaxy4358
      @kikgalaxy4358 Рік тому

      ​@@DrTanyขอบคุณคะ คุณหมอ
      โรคที่เป็นก่อนทำประกัน ประกันไม่จ่ายใช่ไหมคะ?

    • @siameseboy3174
      @siameseboy3174 Рік тому

      Pre existing conditions ผู้ที่มีโรคมาก่อนที่จะทำ insurance ตอนนี้ทำได้ทางบริษัท insurance จะเอามาเป็นข้ออ้างไม่ได้แล้ว ออกมาเป็นกฎหมายได้หลายปีแล้วครับถ้าจำไม่ผิดสมัยประธานาธิบดีโอบาม่าได้ออกกฎหมายที่สำคัญนี้ออกมา

    • @kikgalaxy4358
      @kikgalaxy4358 Рік тому

      ​@@siameseboy3174 ขอบคุณคะ

  • @pakamolsuwitayasiri6679
    @pakamolsuwitayasiri6679 4 місяці тому +1

    ขออนุญาตปรึกษาคุณหมอค่ะ
    ในกรณีป่วยเป็นมะเร็งรักษาที่ไทยอยู่ แล้วตอนนี้ทานยามุ่งเป้าอย่างเดียว ร่างกายตอบสนองยาดีแข็งแรง จะย้ายไปอเมริกาด้วยวีซ่าลงทุน (ผู้ติดตาม) จะต้องทำการรักษาต่อเนื่องอย่างไรที่อเมริกาคะ และเรื่องสิทธิ์การประกันในกรณีที่ป่วยเป็นมะเร็งอยู่แล้วจะสามารถซื้อประกันได้มั้ย หรือใช้สิทธิ์การรักษาแบบใดได้ค่ะ ถ้าไม่มีสิทธิ์อะไรเลย ค่ารักษามะเร็งเป็นอย่างไรคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  4 місяці тому

      น่าจะซื้อประกันได้ครับ แต่คงมีเงื่อนไขสักอย่าง อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ทางที่ดีน่าจะลองปรึกษาบริษัทประกันที่ไทยก่อนดีกว่าครับ ที่อเมริกาถ้าไม่มีสิทธิ์การรักษา ราคารักษามะเร็งแพงมากครับ

    • @pakamolsuwitayasiri6679
      @pakamolsuwitayasiri6679 4 місяці тому +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ 🙏🏻

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh Рік тому

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️

  • @viriyawera7327
    @viriyawera7327 Рік тому +2

    โชคดีที่ย้ายมาอยู่ที่NZ เราเป็นพลเมืองของเขา สวัสดิการคล้ายระบบอังกฤษ ถ้าเราหาหมอของรัฐบาลหรือหมอGP จะมีสองอย่างคือฟรี หรือรัฐบาลช่วยทั้งค่ายาและค่าหมอ จึงถูกกว่าอเมริกามากมาย และเท่าที่ไปเมืองไทยเดี๋ยวนี้ราคาแพงนะคะ เพราะเราไม่อยากใช้สิทธิ30บาท เพราะสงสารรพ.ที่มีค่าใช้จ่ายมากมายจากคนไข้ที่ใช้สามสิบบาท แต่ก็ยังถูกกว่าเข้ารพ.เอกชนนะคะเพราะฟันกันเลือดโชกเลยค่ะ แต่ที่นี่เราต้องเข้าคิว หลายอย่างก็ต้องรอนานหลายเดือนค่ะ

    • @gaisakae7258
      @gaisakae7258 Рік тому

      รพ. เอกชน จ่ายเงิน จ้างหมอพยาบาลเท่าไหร่?? จะไปบอกว่าเขาฟันเลือดโชก??

  • @Japan00000
    @Japan00000 Рік тому +2

    ปัจจุบันผมเรียน Population Health ที่ NZ แล้วอาจารย์สายนี้ค่อนข้าง make fun health system ของอเมริกากันว่าแย่ที่สุดอ้างตาม OECD และก็จะบอกว่าการทำงานของ Health Professionals ที่ US มักจะเข้าถึงได้ยากและมีความเหลื่อมล้ำหากเทียบกับประเทศอื่นๆ
    ในมุมมองที่คุณหมอเล่าให้ฟังทำให้รู้สึกได้ถึงความครอบคลุมของการทำงานของบุคลากรเลยครับ แต่อยากทราบเพิ่มเติมว่าที่อเมริกาเขาตั้งการทำงานแบบ Coordinated care ที่เล่านี้ให้เป็นมาตรฐานของทุก รพ. ทุกเคสเลยไหมครับ และในมุมมองของคุณหมอรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ตาม Stereotype บ้างไหมครับ
    ขอบคุณที่แบ่งปันให้ฟังในคลิปครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +4

      รพ ใหญ่ๆจะมีมาตรฐานแบบนี้ครับ แต่ที่อื่นๆที่ผมรู้มาก็มีปัญหาเยอะเหมือนกัน บาง รพ การดูแลไม่ดีก็มีครับ ความเหลื่อมล้ำมีครับ แต่ส่วนนึงก็มาจากคนไข้เองด้วย ที่นี่มีระบบให้ความช่วยเหลือ แต่คนไข้บางคนหวังว่าต้องมีคนมาช่วย เลยไม่ช่วยเหลือตัวเอง คิดว่ามันเป็นสิทธิ์ของเขาที่คนอื่นต้องช่วย และเป็นหน้าที่ของคนอื่นที่ต้องช่วยเขา กรณีแบบนี้ก็จะมีปัญหาครับ

  • @tummavitjirasinpanurak8496
    @tummavitjirasinpanurak8496 Рік тому +2

    พอจะรู้ว่าต่าง ไม่คิดเลยจะต่างอะไรขนาดนี้โดยเฉพาะค่าเรียน แต่การบริหารด้านสาธารณสุขของอเมริกายอดเยี่ยมมากเลยให้ความสำคัญกับบุคลากรการแพทย์เป็นสำคัญมากจริงๆ

  • @valairutgrawzo9862
    @valairutgrawzo9862 Рік тому +2

    สวัสดีคะ....อยากจะบอกคนไทยที่อยู่ในอเมริกา เรื่อง "Health insurance "สามารถซื้อจากรัฐบาลที่เรียกว่า " Obama care " โดยติดต่อไปที่ Margate place" ซื่งเป็นหน่วยงานของรัฐเปิด 24ชม. 7วัน ,บางเมืองก็จะมีเอเจนน์ที่มีลายเซ็นต์เฉพาะของ "Obama care" โดยเฉพาะ หรือจะทำonline ก็ได้, แต่ละเดือนเขาจะจ่ายให้ $700.00 แล้วแต่อายุด้วยคะ แล้วผู้ที่ apply ไปนั้นจ่ายแค่ $4-5 ,อย่างเช่นดืฉัน, เขาใช้" tax credit "อยากให้คุณหมอ นำเรื่องนี้มาพูด เพื่อนเป็นประโยชย์สำหรับผู้ที่อยู่ในอเมริกาคะ พอสิ้นปีเขาจะส่ง "1095A " เป็นform สำหรับ taxสิ้นปี

  • @martunkhaosuk4035
    @martunkhaosuk4035 Рік тому

    เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
    * ที่อเมริกาไม่มีระบบประกันสังคมหรือบัตรประกันสุขภาพ (บัตร30 บาท) ที่สามารถให้คนจน บริการรักษาฟรีได้ หรือแม้แต่ระบบประกันสังคมที่คนวัยทำงานต้องจ่ายต้องหักภาษีต่อเดือนแต่ระบบโรงพยาบาลไม่ได้รองรับคนกลุ่มนี้เหรอคะ พูดง่ายง่ายว่าคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนทำงานก็ต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมเอาเอง ถูกค้องมั้ยคะ ข้อมูลตรงนี้คนที่อยู่ในอเมริกาช่วยตอบได้นะคะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому

      เลื่อนไปอ่านความเห็นต่อจากคุณครับ มีคนตอบ สรุปสั้นๆว่ามีครับ แต่มันต้องเร่งด่วนหรือคุณสมบัติได้จริงๆ ไม่เละเทะเหมือน 30 บาทเมืองไทย

  • @patitazeepongsekul3967
    @patitazeepongsekul3967 Рік тому

    One question ..so how about homeless people? do they have this welfare? Thanks, Dr.Tany

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      They do, but they will also have to be proactive about it as well. Those who expect someone to help them without helping themselves will not get it.

  • @artornsuksantikarn5738
    @artornsuksantikarn5738 Рік тому +3

    อยากให้อ.พูดถึงค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ในเมกาบ้างได้มั้ยครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +4

      สูงกว่าอาชีพอื่นๆครับ แต่คงสู้อาชีพ consult ตามบริษัท consult ไม่ได้ พวกนี้ระดับอาวุโส รับเงินเดือนละเป็นล้าน สองล้านบาทขึ้นไป ไม่รวมค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาลฟรีหมด ไม่รวม study ที่ได้เงินแยกอีกต่างหาก พวกนี้สามารถซื้อเพนท์เฮ้าส์ของคอนโดแพงๆในไทยทั้งชั้นได้สบายครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +3

      ค่าตอบแทนเหมาะสมกับภาระหน้าที่กว่าไทยมากครับ ถ้าทำงานที่ รพ รัฐ ก็ไม่ต้องไปทำเอกชนเพื่อหารายได้เหมือนหมอที่ไทยครับ

    • @โกวิทย์แหยงกระโทก
      @โกวิทย์แหยงกระโทก Рік тому +1

      จริงครับอาจารย์แทน ❤❤

  • @อนันต์สารีคํา-ภ5ฎ

    ดูหมออเมริกาแล้ว
    สงสารหมอใช้ทุนที่ไทยเลย

  • @kanokh.8982
    @kanokh.8982 Рік тому +2

    ดิชั้นอยู่นิวซีแลนด์ ปกติจะกลับไทยทุกปีและขูดหินปูนทุกครั้งที่กลับ แต่พอช่วงโควิทไม่ได้กลับไทย เลยต้องขูดหินปูนที่นี่ อารมณ์เสียมาก เพราะหมอฟันไม่ได้ขูดให้เหมือนที่ไทย คนที่ทำให้เรียกว่า hygienist ซึ่งฝีมือก็ไม่ดี ทำเสร็จเหงือระบม เลือดออกเยอะ แย่มากค่ะ ถูกเทรนมาแค่ 2 ปี เราว่ายังไงก็ไม่เก่งเท่าหมอฟัน แพงก็แพง ที่อเมริกาเป็นแบบนี้รึเปล่าคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +3

      ประมาณนั้นครับ

  • @sports-travel-esso
    @sports-travel-esso Рік тому +2

    ทุกอย่าง..ขึ้นอยู่กับระบบและโครงสร้าง...

  • @kikgalaxy4358
    @kikgalaxy4358 Рік тому +1

    ไทยมี รพ เอกชน ที่ติดอันดับ หนึ่งในสิบ รพ ที่ดีที่สุดในโลก ถ้ารักษาที่ รพ นี้คงถูกว่ารักษาที่เมกาเยอะ ใช่ไหมคะ คุณหมอ?

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      ไม่หรอกครับ

  • @suwannalimwanich2948
    @suwannalimwanich2948 Рік тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ได้ยินค่าเรียนแล้วตกใจค่ะ ลูกสาวว่าจะเรียนหมอ ตอนนี้เรียนเอก Bio ปี 1 อยู่ที่ UW เหลืออีกสองปีจบ เค้าเรียน College ตอนอยู่ไฮสคูลด้วยเลยจบเร็วขึ้นหน่อยค่ะ ตอนนี้ปิดเทอมก็ไปทำงาน และก็เป็นอาสาสมัครที่โรงพยาบาล เค้าว่าต้องเป็นอาสาสมัคร 200 ชม. ขึ้นไปถึงสมัครเรียนหมอได้ อยากถามความเห็นคุณหมอค่ะว่าถ้าไปเรียนเมืองไทยนี่จะถูกกว่าเยอะไหมคะ เค้าอ่านเขียนไทยไม่ได้ค่ะ ฟังพูดพอรู้เรื่องอยู่ ส่วนมากศัพท์หมอก็ภาษาอังกฤษอยู่แล้วจะพอได้ไหมคะ แล้วกลับมาเป็น residency ที่นี่ได้ไหมคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +4

      ควรเรียนที่นี่ดีกว่าครับ

    • @suwannalimwanich2948
      @suwannalimwanich2948 Рік тому +1

      @@DrTany ขอบคุณค่ะ

  • @TaylorQuince19493
    @TaylorQuince19493 Рік тому +1

    สวัสดีค่ะ เห็นข่าวลุงฟื้นแล้วนึกถึงคุณหมอเลยค่ะ อยากทราบความเห็นคุณหมอมากค่ะ ว่าเป็นปาฏิหาริย์หรือมีmedical conditionsที่เราไม่รู้ค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Рік тому +1

      ไม่มีปาฏิหาริย์อะไรหรอกครับ มันมีแต่อะไรที่เราไม่วิเคราะห์ให้เข้าใจมากกว่าครับ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 Рік тому

    สวัสดีค่ะคุณหมอ คงต้องค่อยๆแก้ไขเพราะประเทศไทยมีหลายๆปัจจัย หวังว่าอนาคตอีก50ปีคงจะพัฒนามากขึ้นค่ะ

  • @natthawutsaetia2511
    @natthawutsaetia2511 Рік тому +1

    เกิดมา 52 ปี ไม่เคยเข้าโรงพยาบาล นอกจากตอนคลอด
    ไม่เข้าใจพวกเข้าโรงพยาบาลกันบ่อย ๆ ว่า ไปทำอะไรกันถึงโรคภัยไข้เจ็บเต็มตัวไปหมด

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 Рік тому +2

      เขียนแบบนี้เหมือนมาบู้บี้คนที่เขาไม่แข็งแรงเลย

  • @AAAAAstar
    @AAAAAstar Рік тому +1

    เห็นใจหมอที่เข้าเวรต่อเนื่องจนไม่ได้พักนะครับ ระบบสาธารณสุขไทยเเย่มากไม่ว่าเป็นหมอใช้ทุน หรือหมอที่เป็นสตาฟเเล้วก็ตาม เรื่องนี้ที่สะท้อนใจที่สุดคือผมเคยอ่านเรื่องในพันทิพว่าเคยมีหมอใช้ทุน (เเละกำลังจะไปเรียนต่อเรสซิเดนท์ เเละมีเเฟน เเบบว่าชีวิตกำลังสวยงาม) ถูกเรียกมาผ่าตัด Appendectomy กลางดึก เเละเกิดอุบัติเหตุ (น่าจะโดนเข็มตำ) ระหว่างผ่าตัดจนในที่สุดเเล้วหมอคนนี้ติดโรค HIV จากคนไข้ ต้องเลิกกับเเฟนไปโดยปริยายทั้งที่รักเเฟนคนนี้มาก เเละกำลังมีอนาคตไกลเเต่ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เรื่องนี้ลองดูไทม์ไลน์เเล้วน่าจะเกิดขึ้นเมื่อเกือบยี่สิบปีที่เเล้ว ไม่รู้ว่าหมอคนนี้ยังมีชีวิตอยู่มั้ย ? เเต่อ่านเเล้วน่าสงสารมากครับ อุบัติเหตุระหว่างผ่าตัดที่ว่านี้จะว่าไปเเล้วส่วนนึง (ส่วนสำคัญ) เลยเกิดขึ้นเพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอ... ไม่มีอะไรเเค่อยากเเสดงความคิดเห็น ขอบคุณครับ