ม.อ.จัดพิธีอนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับภาคเอกชน

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 7 лис 2023
  • 📣📣 4 ผู้ประกอบการ 5 ผลงานวิจัย สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พิธีอนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์👍👍
    📌วันที่ 4 ตุลาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีอนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
    📌โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี เป็นประธานในพิธี รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผศ.คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้แทนจากคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน
    📌ซึ่งผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่อนุญาตใช้สิทธิ ประกอบด้วย 5 ผลงาน ได้แก่
    1. สูตรการเตรียมโพรไบโอผสม โดยมี บริษัท เค.เอ็ม.พี. ไบโอเทค จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ศ.ดร. รวี เถียรไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์
    2. สูตรการเตรียมจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้และทวารหนักใหญ่และทวารหนัก โดยมี บริษัท เค.เอ็ม.พี. ไบโอเทค จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี ศ.ดร. รวี เถียรไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์
    3. กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ในรูปแบบโซลิดดิสเพอร์สชันด้วยโพลีไวนิลไพโรลิโดน เค30 ในรูปแบบผงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีดังกล่าว โดยมี บริษัท นาโนเซรี่ จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี รศ.ดร. ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ เป็นผู้ประดิษฐ์
    4. สูตรตำรับลูกอมเม็ดนิ่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดขิงที่มีสาร {6}-จินเจอรอล โดยมี ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นเฮอร์บานซ์ เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี รศ.ดร. ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ เป็นผู้ประดิษฐ์
    5. สูตรยางการวัลคาไนซ์ที่อุณหภูมิต่ำโดยใช้สารประกอบกลูตารัลดีไฮด์เป็นสารเชื่อมขวางสำหรับวัสดุเชื่อมประสานและการเคลือบผิว โดยมี บริษัท เอ.เอ็ม.เอ็มจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลายส์ จำกัด เป็นผู้รับอนุญาต ซึ่งมี รศ.ดร. เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี เป็นผู้ประดิษฐ์
  • Наука та технологія

КОМЕНТАРІ •