กฎหมายด้านคุ้มครองแรงงาน ตอนที่ 2 วันหยุด วันลา การคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็ก

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 29 жов 2024

КОМЕНТАРІ • 14

  • @Chomchit-cc3cs
    @Chomchit-cc3cs 5 місяців тому +1

    ผมป่วย15วันใม้ได้ไปเขียนใบรางานต้องพนเป็นพะนะงานใช้มัยคับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  5 місяців тому

      กฎหมายไม่ได้บังคับว่าพนักงานหรือลูกจ้างต้องแสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย ซึ่งหากลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน อาจมีหรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้างก็ได้ แต่ถ้าลาป่วยเกิน 3 วัน นายจ้าง "อาจ" ให้ลูกจ้างส่งใบรับรองแพทย์ ซึ่งถ้าไม่มี ก็สามารถชี้แจงกับนายจ้างได้ครับว่า ป่วยแล้วรักษาด้วยตนเอง ซื้อยามาทานเอง ที่บ้าน เป็นต้น ซึ่ง ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และได้รับเงินเดือน ปีละไม่เกิน 30 วัน ซึ่งหาลาเกินปีละ 30 วัน วันที่เกิน นายจ้างก็สามารถไม่จ่ายเงินเดือนในวันที่ป่วยเกิน 30 วันได้ครับ

  • @rayza2396
    @rayza2396 Рік тому +1

    พอดู พรบ.ทำให้รู้ว่าทำไมหลายๆที่ไม่ค่อยรับ ญ ท้อง เสี่ยงเยอะ

  • @pramethgradea3229
    @pramethgradea3229 3 роки тому +1

    ขอบคุณครับ

  • @yupapornsason8086
    @yupapornsason8086 3 роки тому +1

    ขอบคุณมากค่ะ

  • @หนึ่งเชียงราย-ล1ฆ

    กรณีที่​เวลาทำงานปกติ08.00-17.00น ในกรณีที่​ลูกจ้างลากิจช่วงเช้า1ชั่วโมง​(ลา08.00-09.00).. อยากถามว่าถ้าลูกจ้างมีความจำเป็นที่ต้องทำงานให้เสร็จ​ โดยที่ทำงานจนถึงเวลา18.00น. ตามกฎหมาย​ลูกจ้างมีสิทธิ์​ได้รับOTหรือไม่ครับ(บริษัท​จะไม่จ่ายค่าOTโดยให้เหตุผล​ว่า พนักงานทำงานไม่ถึง8ชั่วโมง​ไม่มีสิทธิ์​ได้รับOT)​

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 роки тому +1

      ในกรณีนี้ ลูกจ้างลางานช่วงเช้า 1 ชั่วโมง ซึ่งงานนั้นจำเป็นต้องทำให้เสร็จโดยใช้เวลา 8 ชม. ซึ่งหากลูกจ้างได้ตกลงกับนายจ้างว่า ในวันนั้น หลังจากกลับมา 9 โมงจะทำงานต่อไปจนเสร็จ และทำไม่เกิน กว่า 8 ชม. ทำงาน แสดงว่าได้ตกลงกันไว้แล้วว่า เริ่ม 9 โมงในวันนั้น นายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย OT และนายจ้างว่าต้องไม่ถือเป็นการลา เนื่องจากทำเพิ่มให้ครบตามเวลาที่จ้างครับ

  • @user-catthefamily
    @user-catthefamily 2 роки тому +1

    ลูกจ้างหญิงทำงานยกของ ลาก เข็ญ ได่กี่กิโล

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 роки тому

      ตามกฎกระทรวง กำหนดน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547 กำหนดให้ลูกจ้างหญิง ทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่เกิน น้ำหนักดังนี้
      หญิง อายุ 15-18 ปี อนุญาต ไม่เกิน 20 กก.
      หญิง อายุ มากกว่า 18 ปีขึ้นไป อนุญาต ไม่เกิน 25 กก.
      แต่หากหญิงนั้นมีครรภ์ อนุญาตไม่เกิน 15 กก. (ตามพรบ. คุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541) ครับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 роки тому

      แต่หากนายจ้าง จำเป็นต้องให้ลูกจ้างหญิง ยกของ เกินกว่าที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องจัดให้มีเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม และไม่เกิดอันตรายต่อลูกจ้างครับ

  • @อรชรอุดหนุน
    @อรชรอุดหนุน 2 роки тому +1

    ใด้ค่าแรงใม่เป็นธรรมจะทำอย่างไรค่ะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 роки тому +1

      ตามกฎหมายแรงงาน ระบุว่า นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ หากทำงานเกินเวลา 9 ชม./วัน ให้จ่ายค่าตอบแทนในการทำงานช่วงเวลาที่เกิน 9 ชม./วัน นั้นในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานปกติ หรืือหากเป็นวันหยุด ให้จ่ายค่าจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่า
      อย่างไรก็ตามหากรู้สึกว่าได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้างสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือต่อไปสอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม โทร.สายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 1546 ครับ

  • @phaisandamchom6990
    @phaisandamchom6990 3 роки тому +1

    ผมป่วยและมีใบรับรองแพทย์แล้วบางครั้งหมอนัดรักษาโรคประจำแต่ทางฝ่ายบุคคลจะปรับผมจากรายเดือนเป็นรายวันยังงี้เขาทำกับเราได้หรือครับท่านครับช่วยตอบให้ความกระจ่างผมหน่อยครับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 роки тому

      ขออนุญาตตอบคำถาม คุณ Phaisan ครับ
      1. ตามกฎหมาย หากป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ ไม่ถือว่าเป็นวันลาป่วย
      2. สำหรับการป่วยด้วยโรคประจำตัวของลูกจ้างเอง (ไม่เกี่ยวกับงาน) มาตรา 32 ของพรบ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างปกติ แต่ ในมาตรา 57 ระบุไว้ว่า ทั้งนี้ต้องไม่เกินปีละ 30 วัน
      3. การปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง (จากรายเดือนเป็นรายวัน) หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือก่อนถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด
      4. อย่างไรก็ตาม หากคุณ Phaisan ต้องลาป่วยบ่อยเกินไป นายจ้างอาจพิจารณาว่า คุณ Phaisan หย่อยสมรรถภาพในการทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย อาจเปลี่ยนสภาพการทำงาน สภาพการจ้างให้เหมาะสมกับสภาพได้เช่นกันครับ (หรืออาจถึงขั้นเลิกจ้างได้ครับ)