สายดิน คืออะไร..? ฉบับสมบูรณ์
Вставка
- Опубліковано 5 лют 2025
- สายกราวด์คืออะไร? สายกราวด์ที่เราพอรับรู้ก็คือสายดินใช่ไหมครับ ใช่แล้วละครับมันคือสายเส้นเดียวกันที่เชื่อมต่อถึงกัน
และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องซักผ้า แอร์ ตู้เย็น ก็มีสัญลักษณ์เป็นรูปกราวด์อยู่ด้วยแล้วกราวด์คืออะไร เพราะฉะนั้นวันนี้ ทางช่อง Zimzim DIY จะมาอธิบาย คำว่ากราวด์ให้เพื่อนๆ ได้รับฟังครับ
มาเริ่มต้นกันที่บ้าน ที่อยู่อาศัยของเรากันก่อนนะครับ ภายในบ้านเรือนของเรา มันก็จะมีเครื่องใช่ไฟฟ้าหลายประเภทใช่ไหมครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะมีง่ามปลั๊กอยู่ 3ขา หรือ ถ้าภาษาชาวบ้านๆเขาว่าปลั๊ก 3 ทาง
ปลั๊ก 3 ทางนี้ มันจะมีขาหนึ่งที่เป็นขากลมๆแบบนี้อยู่ 1 ขา แล้วรูกลมๆนี้มีไว้ทำไม มันมีไว้ เพื่อเสียบกับช่องกราวด์นั้นแหละครับ
แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก กับกราวด์ เพื่อนๆต้องเข้าใจอีก สองขาที่เหลือซะก่อนนะครับ ขาที่เหลือ มันจะไปต่อกับ Line กับ N หลายๆท่านก็อาจจะเรียกติดปากว่า สายบวกกับสายไฟลบ นะครับ
แท้ที่จริงแล้ว สายไฟบวก เขา จะเรียกว่าสาย ไลน์ ส่วนสายไฟลบ เขาจะเรียกว่าเป็นว่าเป็นสาย นิวตรอน สายนิวตรอนจะไม่มีไฟเลี้ยงแล้วก็เป็นค่ากลางทางไฟฟ้า ส่วนสาย Line จะมีไฟกระแสสลับวิ่งอยู่ภายในตัวมันครับ
มันต้องเดินทางมาเป็น คู่แบบนี้ครับ ถ้าขาดเส้นไดเส้นหนึ่ง ไฟจะเดินไม่ครบวงจร และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ทำงาน ซึ่งสายไฟ มักจะกำหนดเป็นสายสี เป็นสายสีน้ำตาลและสายสีน้ำเงิน อยู่เสมอ ส่วนสายกราวด์ จะเป็นมาตฐานสาดลทั่วโลก ก็คือสายสีเขียว
บางทีก็จะเห็น เป็นสีเขียวพาดเหลือง
แล้วเพื่อนๆ อย่าคิดว่า สายไฟสีน้ำตาลเป็นสาย Line เสมอนะครับ
ถ้าอยากรู้ว่า สายเส้นไหนมีกระแสไฟวิ่ง ให้ใช้ไขควงวัดไฟแหย่ดูครับ สำหรับ สาย line กับ N มีสองสายแค่นี้ เครื่องใช้้ไฟฟ้าก็สามารถ ทำงานปกติครับ
บริเวณด้านหลัง ของปลั๊ก เพื่อนๆจะเจอกับสายลวดทองแดงเดินอยู่ในกำแพง ถ้าให้ไล่ย้อนกลับไป มันก็จะเข้าไปที่เบรคเกอร์เล็ก และก็ ย้อนกับไปเมนใหญ่ ออกนอกบ้าน เข้าเสาไฟฟ้า เข้าหม้อแปลงที่ไหนสักที่ บริเวณนั้น
อีก เส้นหนึ่ง N หรือ Neutral สายนี้จะต่อลงกับตู้โลหะเบรกเกอร์ หรือว่าบาร์กราวของตู้ไฟ แล้วก็จั้ม ออกนอกบ้าน
ไปเข้า เสาไฟฟ้า และ ไปเข้าหม้อแปลงหม้อเดียวกัน
นี้คือภาพจำลอง การไหล ของกระแสของไฟจากเส้น Line สังเกตุว่าไฟมันจะเดินทาง มาจากโรงไฟฟ้า ผ่านหม้อแปลง ผ่านเสาไฟฟ้า เข้าเบรกเกอร์ แล้วก็เข้า ปลั๊ก อุปกรณ์ไฟฟ้า
ส่วนนิวตรอน ก็จะผ่าน อุปกรณ์ไฟฟ้า ลงมาที่ปลั๊ก เข้าโครงตู้เบรกกเกอร์ และ ผ่านเสาไฟฟ้า และไปที่ Center tap ของหม้อแปลง
มาถึงตอนนี้ เราก็ยังไม่เห็นความจำเป็นของระบบกราวด์ เลยนะครับว่าจะมีประโยช์นอย่างไร แต่สังเกตุดูดีๆ นะครับ นอกจากสาย N แล้ว ยังมีสายไฟเส้นใหญ่ๆ อีกเส้น ต่อกับกล่องโลหะหรือตู้ไฟเช่นกัน นั้นก็คือสายกราวด์ นั้นเองครับ
ทำไมต้องต่อกราวด์ รวมกับ สายนิวตรอนด้วย ผมจะยกตัวอย่างแบบนี้ครับ
สมมุติว่าคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 เครื่อง แล้วบอดี้ของมันเป็นโลหะ แล้วเกิดวันวันใดวันมีหนึ่งหนูมากัดแทะตรงฉนวนที่หุ้มสายไฟขาด เห็นทองแดงเปลือย ลวดทองแดง ก็อาจจะไปแตะโครงเหล็กทำให้เกิดไฟฟ้ารั่วออกมาได้
เจ้าตัวสายดินที่อยู่บนปลั๊กสามง่าม มันก็จะต่อ เข้าตัวถังของเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรา ซึ่งโดยปกติของมันแล้วจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านบริเวณนี้ แต่ถ้าเกิดกรณีรั่ว
เราจะได้รับอันตราย จากไฟฟ้าดูด จากโคลงโลหะที่เราสัมผัสอย่างแน่นนอน แต่โชคดีที่เราติดตั้งสายกราวด์เอาไว้ สายกราวด์มันจะมีความต้านทานต่ำกว่าตัวเรามาก ทำให้ไฟที่รั่วออกมาทั้งหมด
ก็จะไหล ผ่าน ตัวถังผ่านสายกราวด์ไปยังตู้ไฟ ที่ต่อรวมเข้ากับนิวตรอน หลังจากนั้นมันก็จะไหลกลับไปที่หม้อแปลง
แต่ เนื่องจากเส้นทางที่ไฟรั่ว มันมักจะมีกระแสไฟฟ้าที่ไหลมาก ผิดปกติ เบรกเกอร์ ที่บ้านของคุณ ก็จะโวยวาย ทำการ ตัดวงจรทันที เพื่อไม่ให้เราได้รับอัตราย เพราะฉะนั้นเมื่อ เบรกเกอร์ ตัด ก็ควรจะตรวจสอบอุปกรณ์ ไฟฟ้าว่ามันรั่ว หรือ ต่อกับ อุปกรณ์ที่กินกระแส
เกินกำลังมากเกินไปหรือไม่ อย่างเช่นตู้เชื่อมเหล็ก
ลองมาดูอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาไฟรั่วเริ่มจาก ฉนวนที่หุ้่มสายไฟขาด แตะ กับ ตัวถัง แต่โชคดีที่เรายังไม่ถึงคาด ตัวถังต่อกับสายกราวด์ มันก็เลยเดินทางไปที่บาร์ตู้เบรกเกอร์ จั้มกับ สายนิวตรอน จากนั้นก็ผ่านเสาไฟฟ้า ไปยังหม้อแปลง
ถ้ากระแสไหลมากผิดปกติ เบรกเกอร์มันก็จะตัดการทำงาน
แต่ที่ผมพูดมาทั้งหมดลนี้ ก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสายดินเลยใช่ไหมครับ เพื่อนๆลองสังเกตุดูที่ตู้เบรกเกอร์อีกครั้งครับ ตู้เบรกเกอร์มันจะมีสายไฟหนาๆ เชือมต่ออยู่ 1เส้น แล้วมันเดินทางไปไหน
ถ้าไล่ย้อนกลับไป มันเดินทางไปที่แท่งโลหะ ฝังตรอกลงในพื้นดิน ภายในรั่วบ้านของเพื่อนๆ นั้นแหละครับ ยาวเป็นเมตรๆ และที่หม้อแปลง ก็มีสายลวดโลหะขนาดใหญ่ต่อลงสายดินต่อลงกราวด์ลึกด้วยเช่นกัน
ทั้งตู้เบรกเกอร์และ หม้อแปลง ต่างก็ เชื่อมต่อสายกราวด์ลงดิน
เพื่อนๆก็อาจจะสงสัยว่า มันก็ไม่ได้มีความจำเป็นสักเท่าไหร่ ถ้าหากไม่ต่อสายดิน เบรกเกอร์ก็ ตัดการทำงานอยู่แล้ว เมื่อมีไฟรั่ว
เหตุผลหลักเลยนะครับการไฟฟ้า บังคับให้ติดตั้ง สายนิวตรอนลงกับสายดิน ก็คือกรณี ฟ้าผ่านั้นเองครับ ถ้าฟ้าผ่า บริเวณใกล้เคียง หรือ บริเวณบ้านของคุณ สายดินจะเป็นตัวนำกระแส และ แรงดันไฟที่สูง ลงสู่พื้นดินได้เร็วขึ้น
ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เสียบใช้งานอยู่ได้รับความเสียบหายน้อยลง เพราะมันจะไล่อิเล็กตรอน ลงไปสายดิน โหม่งสู่พื้นโลก และมันจะกระจายตัวไปเรื่อยๆจนมีค่าอเล็กตรอนกระจายอยู่เท่ากันในทุกๆพื้นที่
และเพื่อให้กราวด์ หรือ สายดิน ทำงานได้ดี ดินต้องจะต้องมีความต้านทานต่ำ ควรเป็นพื้นดิน ที่ชุ่มชื่นสักหน่อย ในพื้นที่ที่เป็นกรวดทรายแห้ง จะไม่ค่อยเป็นสื่อกระแสไฟฟ้า มากสักเท่าไหร่นัก ดินนั้นแหละครับ เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่า และทั้งหมดนี้ก็ ส่วนหนึ่งของ สายกราวด์ หรือ สายดิน ที่ผมหยิบยกขึ้นมาพูดและเป็นตัวอย่าง ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
เวลาพูดถึงสายกราวด์หรือสายดิน ก็ต้องแยกแยะให้มันชัดเจนด้วยว่าเป็นสายดินในระบบ TN-C-S หรือระบบ TT
เพราะว่าถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่วหรือเกิดการลัดวงจรลงดินที่ตัวโหลด ถ้าการต่อลงดินคนละระบบกัน เส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้าก็จะเป็นคนละเส้นทางกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไปที่เป็นระบบ 1 เฟส 2 สาย
ไม่จำเป็นต้องครบวงจรระหว่าง L กับ N เสมอไป ถ้าสาย L กับ L ของแหล่งจ่ายหรือหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นแรงดันตรงตามพิกัดของโหลด ก็สามารถใช้งานได้โหลดก็สามารถครบวงจรระหว่างเฟสกับเฟสได้แล้วไม่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าพังถ้าแรงดันระหว่างเฟสกับเฟสอยู่ในช่วง 220-240 V
แต่จริงๆแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบ 1 เฟส 2 สายตามบ้านเรือนทั่วไปมันรองรับแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 250 V
แต่ว่าแรงดันระบบในปัจจุบันนี้ถ้าเป็นการไฟฟ้านครหลวงก็จะอ้างอิงแรงดันระบบที่ 240 V แต่ถ้าเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็จะอ้างอิงแรงดันระบบที่ 230 V
ชอบมากครับพัฒนาต่อไปครับ
น้อยคนที่จะทำคลิปแบบนี้ออกมาครับ
ถึงทำก็วิธีการอธิบายก็เข้าใจยาก
สำหรับผม ช่องนี้ดีเลยครับ
ขอบคุณครับ
ในสภาวะปกติสายดินหรือสายกราวด์ก็มีกระแสไหลนะครับ ถ้าสายดินหรือสายกราวด์ต่ออยู่กับโครงโลหะของโหลดประเภทที่มีกระแสรั่วไหลตามธรรมชาติ มันก็จะมีกระแสไฟฟ้าในปริมาณต่ำๆไหลผ่านสายดินหรือสายกราวด์อยู่ครับ ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นเป็นโหลดประเภทที่มีไฟรั่วตามธรรมชาติหรือเปล่า
ถ้ามันเป็นกรณีไฟรั่ว โอกาสที่เบรกเกอร์ธรรมดามันจะตัดวงจรคงเป็นไปได้ยากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นต่อลงดินในระบบ TT
แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนั้นมีไฟรั่ว ก็คงเป็นเรื่องที่ยากครับที่เบรกเกอร์ธรรมดาจะตัดวงจรยกเว้นจะเป็นการต่อลงดินในระบบ TN-C-S แล้วเป็นลักษณะการลัดวงจรลงดิน ถ้ากรณีแบบนี้เบรกเกอร์ธรรมดามีโอกาสตัดวงจรได้ครับ
รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องสายดิน รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการต่อลงดิน มันมีรายละเอียดเยอะมาก ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจแบบกระจ่างก็จะอธิบายแบบผิดๆครับ
เยี่ยมครับ เรื่องไฟฟ้านี่ต้องทำงานจริง รู้จริง ถึงควรมาอธิบาย ไม่งั้นคนเข้าใจต่อแบบผิดๆถูกๆ อันตรายถึงชีวิตเลยครับ
ดีมากๆคับ ได้ประโยชน์ และ เห็นภาพชัดเจน ❤❤❤ กำลังสงสัยเรื่องสายกราวนด์ เพราะ จะติด Home Charger ให้รถ EV คับ
ดูแล้วมีความรู้ดี พูดฉะฉานชัดเจน ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ขอบคุณครับ
มีประโยชน์มาก ขอบคุณสำหรับคลิปดีๆ ครับ
ขอบคุณครับ
เป็นประโยชน์มากครับขอบพระคุณมากครับครู 🙏🏻❤️
คลิป,เยี่ยมมากค่ะ,ชวนติดตาม
❤️🌅🌏ขอบคุณมากมากครับ🙏🙏🙏
ชัดเจนครับ
ช่องคุณภาพของแท้เลยครับ
มีประโยชน์มากๆ
ถ้าเช็คมีไฟรั่วสายกราวด์ที่เบ้าอันนึงที่ใช้เสียบเครื่องซักผ้า จับเครื่องมีไฟดูดเบาๆ แต่อีกเบ้าฝั่งตรงกันข้ามใช้ไขควงวัดไฟวัดไม่รั่ว เบรคเกอร์ไม่ตัด เซฟทีคัดไม่ตัด
อย่างนี้ต้องเริ่มเช็คที่ไหนก่อนครับ
ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ใหม่ๆ ครับ...^__^
การต่อลงดินด้วยแท่งgroundrod ต้องฝังลึกจากผิวดินมากน้อยแค่ไหน???
ขอถามครับ เท่าที่ดูจากคลิป "ถ้าสายที่ลงดิน หรือ N ที่จะกลับของหม้อแปลงขาด" ไฟฟ้าที่รั่วจากเครื่องใช้ในบ้านก็จะไม่สามารถกลับไปที่หม้อแปลงได้ แสดงว่าเหตุแบบนี้ ผู้ใช้งานก็จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าที่รั่ว เพราะไฟที่รั่วลงหลักดินกลับไปต้นทางไม่ได้ไฟจึงยังอยู่ไม่ได้หายไปไหน เข้าใจถูกเปล่าครับ
กดไลค์แล้วครับ
✋✋อยากสอบถามว่า เราต่อกราวด์เข้ากับนิวตรอน แล้วเวลาไฟฟ้าวิ่งครบวงจรเราไปจับโครง(กราวด์) มันจะไม่ดูดเราหรอครับ เพราะเราต่อกราวด์กับนิวตรอน
ตู้กดน้ำร้อน น้ำเย็นที่บ้านผมไม่ได้ต่อสายดิน คือชื้อมาก็เสียบเต้ารับเลย จะอันตรายไหมครับ
อันตรายครับ
แนะนำให้ติดตั้งระบบสายดินภายในบ้านโดยช่างไฟผู้ชำนาญงานระดับนึง
@@kamikazeray4866 ดูแต่ละบ้านก็ไม่เห็นไครใช้สายฝังดิน ชื้อมาก็เสียบใช้เลย
@@ttlvt5460 โครงเคสเป็นพลาสติกหรือโลหะครับ?
ไม่เข้าใจตรงที่ทำมัยไฟบ้านเค้าใช้สายN ร่วมกับบาGครับ ทำมัยเค้าไม่แยกให้สายN ก็เฉพาะNไปเลย ไม่ต้องเชือมกับบาG
ถ้าอย่างนั้นก็ใช้สายN เปนสายG ไปด้วยเลย เดินสายไฟแค่2เส้น L กับ N แล้วค่อยแยกสายNออกมาเป็นสาย G ตรงปลั๊กไฟ เพราะยังไงสาย N ก็ต้องมาเชือมกันที่ บาG อยู่แล้ว เป็นการประหยัดสายไฟได้ด้วย
ปล.1อยากรู้ว่าทำมัยเค้าต้องเชือม N กับ G เข้าด้วยกัน
2ทำมัยต้องแยกเดินสาย N กับ G สุดท้ายก็ไปเชื่อมกันที่บาGอยู่ดี
3เดินสายไฟแค่ LกับN แล้วค่อยแยกเป็นGตรงปลั๊ก จะมีผลดี/ผลเสียอย่างไรบ้างครับ
ถ้าเกิดสาย N ของการไฟฟ้าหลวมหรือขาด ถ้าเราไม่เชื่อมสาย N ในบ้านเราเข้ากับบาร์กราวด์แล้วตอกหลักกราวด์ไว้ N ก็จะไม่มีทางไหลกับไปหาแหล่งกำเนิดก็คือหม้อแปลงไฟฟ้าครับ ผลก็คือแรงดันไฟฟ้าในบ้านเราจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 380 V จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเราเสียหาย การไฟฟ้ารับผิดชอบในส่วนนี้ไม่ไหว ก็เลยบังคับให้ทุกบ้านที่ขอไฟใหม่ต้องตอกหลักกราวด์แล้วเชื่อม N กับบาร์กราวด์ไว้ที่ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตครับ
@@chumnanroyklin4937ต้องดูว่ามันขาดตรงไหน ถ้าขาดระหว่างเสสของการไฟฟ้าก็อาจเป็นอย่างที่ท่านบอกแต่การไฟฟ้าก็ต้องต่อ Gnd rod ทุก 160 เมตรอยู่แล้ว
แต่ถ้าสาย N ขาดระหว่งเสาเข้าบ้าน จะทำให้สาย G มีแรงดันดูดไปทั้งบ้านและกันดูดก็ไม่ตัดด้วย การเชื่อม N-G น่าจะเป็นความเข้าอะไรผิดแต่แรก
้เห็นด้วยครับดีใจที่มีคนเห็นว่ามันผิดปรกติ
ลองคิดดูว่าถ้าสาย N ขาดระหว่งเสาเข้าบ้าน แล้วเชื่อมสาย N-G ที่ตู้จะทำให้สาย G มีแรงดันดูดไปทั้งบ้านและกันดูดก็ไม่ตัดด้วย ซึ่งอันตรายมากกว่า
ลองไล่ดูถ้าสาย N ขาด ระหว่งเสาเข้าบ้าน แล้วที่ตู้เชื่อมสาย N-G ถึงกัน จะทำให้สาย G มีแรงดันดูดไปทั้งบ้านและกันดูดก็ไม่ตัดด้วย อันตรายมาก
ครับผม
การต่อสายดินร่วมกาวกับนิวตรอนท่าช่างกับสายไฟหรือต่อสายไฟไปแทนสายนิวตรอนสายดินกับสายนิวตรอนก็พร้อมจะมีไฟทันที
ช่องมีสาระดีครับ แนะนำให้ทำครัปนานเกิน12นาทีครับโฆษนาจะได้เข้าครับ
ได้ครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนมาตั้งนานพึ่งรู้ ว่าแท่งกาว ต่อกับตู้ เอาไว้ล่อฟ้าาา
ห้ะ ล่อฟ้า?
OK
อุปกรณ์ไฟฟ้านอกอาคาร เช่น CCTV จำเป็นต้องดึงสายกราด์มาจากอาคารไหมครับ ถ้าไม่ดึงสายกราด์มาสามารถตอกหลักดินเพิ่มแทนได้ไหมครับ
ดิน คือสื่อกระแสไฟที่ดีที่สุด
แสดงว่าแนวคิดของนิโคล่า เทสล่า เมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วก็ถูกใช่มั้ยครับที่เค้าจะส่งไฟฟ้าตามพื้นดินได้
ผมไปแงะปลั๊กไฟดูช่างเดิมมาให้แค่2สาย อย่างนี้ก็เหมือนบ้านผมไม่มีสายดินเลยรึป่าวครับ
พีคับสาย N ต่อขึ้นมาจากดินไม่ใช่หรอคับ ส่วยสายที่มาจากหม้อแปลงมันก้มีแค่3สาย คือ สาย L1 L2 และก้L3 ไม่ใช่หรอคับ หรือยังใง ตอบผมที่ ที่ผมรุ้มาผมเข้าใจผิดเองหรือยังใงคับ
พี่เขาถูกเเล้ว
@@thanawatklangchokchai32 ใช่แล้วครับ L1 L2 L3 เป็นไฟ 3 เฟส พอมาถึงหม้อแปลง เขาจะ tab center ออกมาอีกเส้น เป็นสายกราวด์ 1 เส้นรวมเป็นทั้งหมด 4 เส้น ไฟ L1 กับ L2 จะเป็น 380 Vac และ L1 กับ L3 เป็น 380 Vac ส่วน L1 L2 L3 ถ้าจับกับ กราวด์ถึงจะเป็น 220 Vac สายกราวด์ที่เดินมาจากหม้อแปลงโดยตรงคือ สายนิวตรอน
หลักดินแค่ 1.8 เมตร พอไหมครับ
กรณีนิวตรอนของการไฟฟ้าที่จ่ายให้บ้านเราหายมันจะกลายเป็น380Vใช่มั้ยคับ สายดินจะช่วยได้อีกทางนึงรึป่าวคับ ผมเข้าใจถุกมั้ยคับ
ใช่ครับ
สาย N กับ สาย G ไปที่เดียวกันทำไมถึงรวมเป็นสายเดียวไม่ได้หรอครับ
สายไฟจะขายไม่ได้ครับ 😂😂
สายนิวทรัล
ถ้าสายกาวขาดล่ะครับและถ้ากาวขาดพร้อมนิวตรอนล่ะ
ก็ไม่เหลือไงคับ จับก็โดนดูด
แล้วทำไมไม่ต่อกราวเข้ากับNตรงปลั๊กไฟเลยล่ะครับ
ทำไมไฟฟ้าชอบวิ่งลงดินคับวิ่งขึ้นอวกาศไม่ได้หรอคับ
ผมตัดทิ้งหมดล่ะคับมันทำเกินมาน่ะอาจาร😮😅
นอกเรื่องหน่อยนะครับมอเตอร์สว่าน12vใช้ปั่นไฟได้ไหมครับ