ไฟฟ้า 3 เฟสคืออะไร ? ไฟฟ้า 3 เฟส มีกี่โวลต์ ?
Вставка
- Опубліковано 2 січ 2025
- สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาอธิบาย ไฟฟ้า 3 เฟตว่ามันคืออะไร และ ทำงานอย่างไร
ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว ตามบ้านครัวเรือนของเรา เราจะใช้ไฟฟ้าเพียง 1 เฟตเท่านั้น มันก็เพียงพอสำหรับการใช้งาน ในทุกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เรามี
ไฟฟ้า 1 เฟต จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ ไฟฟ้า AC
จะมีคลื่นสัญญาณที่เป็นไซน์เวฟ ที่เป็นลักษณะนี้
ถ้าหากเราต้องการนำไปใช้งาน เราจะลากสายไฟ 2เส้น ต่อโยงจาก เสาไฟฟ้า เข้ามาภายในบ้าน
นั้นก็คือ สายนิวตรอน 1 เส้น
และก็ สาย Line 1 เส้น ถ้าเราวัดแรงดันก็จะได้ประมาณ 220V ครับ
แต่บนเสาไฟฟ้าถ้าเพื่อนๆสังเกตุ เรามักจะเห็น สายไฟอยู่ 4 เส้น สายนิวตรอนจะอยู่บนสุด ไม่มีไฟ
ส่วย สาย Line จะถัดๆลงมาอีก 3 เส้น แต่ละเส้นถ้าเราวัดกับคู่นิวตรอน แรงดันก็จะเท่ากันหมด ประมาณ 220V
ที่เราคุ้นหูเราจะเรียยกสาย Line พวกนี้ว่าเป็นสาย L1 L2 และ L3
อย่งาที่ผมบอก เราสามารถคีบ สายนิวตรอนกับสาย Line 1ใน3 เส้นไหนก็ได้ แต่เราไม่สามารถขึ้นไปจั้มไปต่อเองได้นะครับ
ต้องให้เจ้าหน้าที่ไฟฟ้า เค้าดูความเหมาะสม ว่าควรจะเลือกสาย Line เส้นไหนต่อเข้าไปที่บ้านเรา
ผมเคยเจอเหตุการ์ณจริงครั้งหนึ่งนะครับ
ก็คือตอนผมเด็กๆ ที่บ้านของผมไฟฟ้ามันชอบตกบ่อยๆ ก็เลยโทรติดต่อแจ้งเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าเข้ามาดู ก็ปรากฎว่า
เจ้าหน้าที่ ก็ได้ปีนขึ้นไปที่เสาไฟฟ้า แล้วก็ทำการ สลับเปลี่ยนสายไฟอะไรบางอย่าง
และก็บอกว่า สายไฟเส้นเดิมที่ผมใช้ ในหมู่บ้านเค้าใช้กันเยอะแล้ว ซึ่งมันอาจจะทำให้ไฟตกได้ ในกรณีที่คนในหมู่บ้านใช้ไฟพร้อมกัน เป็นจำนวนมาก
ก็มารู้ทีหลังตอนโตว่าเขา สลับไปใช้อีกสาย line อีกเส้นหนึ่ง
ก็เลยเป็นความรู้ติดตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มาดูไฟฟ้า 2 เฟตกันบ้างครับ
เราจะใช้สาย line ที่มีไฟ 2 เส้น
line เส้นที่ 2 ก็จะเป็นคลื่นไซน์เวฟเหมือนกัน แรงดันเท่ากัน แต่รูปคลื่นสัญญาณ เฟต จะทำมุมที่ไม่เท่ากัน
มันจะเอียงทำมุมประมาณ 120 องศา
แต่ในบ้านเราไม่ค่อยเห็นมีใครใช้ไฟ 2 เฟตกันครับ ถ้าเพื่อนๆท่านไหนเคยเห็นผ่านตามาบ้างก็สามารถ คอมเมนท์เข้ามาได้นะครับ
มาดูไฟฟ้า 3เฟต กันบ้างครับ เราจะใช้สาย line ที่มีไฟ 3 เส้น line เส้นที่3 จะเป็นคลื่นไซน์เวฟ เชนเดียวกันนั้นแหละครับ ทำมุมอีก 120 องศา
ก็จะได้กราฟที่หน้าตา เหลือเชื่อ ออกมาเป็นแบบนี้ครับ
แล้วปกติเลยนะครับ สัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้ เราก็จะแยกออกจากกัน เดินคู่กันไปบนเสาไฟฟ้า
เราก็จะสรุปได้ 1 ข้อว่า นะครับว่า ไฟ 3 เฟต แรงดัน หรือ โวล์ต จะไม่แตกต่างกัน แต่เฟตจะทำมุมต่างกัน
แล้วทำไมทั้ง 3 เฟต มีมุมสัญญาณไม่เท่ากัน
เราจะมาทำความเข้าใจ สิ่งนี้ ตั้งแต่ต้นตอกันเลยครับ นั้นก็คือ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เจนเนอร์เรเตอร์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เฟต ประกอบไปด้วย ลวดทองแดง 2 ขดลวด
โดยทั้ง 2 ขดเขาก็จะวาง มันตรงข้ามกัน แล้วปลายขดลวดด้าน1 ของทั้ง 2 ขด เราก็จะต่อเข้าด้วยกัน และ อีกด้านของแต่ละขดเราจะต่อออกมาใช้งาน
เราก็จะได้ไฟมาใช้ 1 ชุด หรือไฟ 1เฟส มาใช้เรียบร้อยแล้วครับ
ถ้าหากเราต้องการไฟฟ้ากระแสสลับออกมาใช้งาน เราเพียงแค่หมุนแม่เหล็ก ที่มีขั้วตรงกันข้าม หมุน ตัดผ่านขดลวด แค่นั้นเองครับ
ในแท่งของแกนแม่เหล็กมันก็จะมี สนามแม่เหล็กอยู่ สนามแม่เหล็กตัวนี้เอง ที่จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระในสายไฟ ไหลไปเวียนมา
สนามแม่เหล็กในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็เป็นในแบบ ที่เราคุ้นเคยนั้นแหละครับ ก็จะอยู่ในรูปของวงรี และวงรีพวกนี้มันก็จะมีเส้นแรงแม่เหล็ก มาบรรจบกันตรงแกนกลาง
ให้เราคิดว่า ด้านหนึ่งจะเป็นขั้ว บวก ด้านหนึ่งเป็นขั้วลบ
และในระหว่าง แกนกลางของ วงรีเหล่านี้ สนามแม่เหล็กจะเป็น 0
สำหรับความเข้มของสนามแม่เหล็ก
สนามแม่เหล็กตรงกลางที่มันนูนๆ จะให้พลังงานมากที่สุด ตรงขอบโค้งที่มันตกลงตรงนี้ จะให้พลังงานน้อยลง และแกนกลางจะไม่มีพลังงานใดๆ เกิดขึ้นจะเป็น Neutral
ดังนั้น ขณะ ที่สนามแม่เหล็ก หมุนตัดผ่านขดลวด มันก็จะมีความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กไม่เท่ากันเกิดขึ้น และนี่ทำให้เราเห็นสโคป ของกระแสสลับ มันโค้งมน
ไม่ได้เป็นเหลี่ยม เหมือน สัญญาณ ดิจิตอล
ผมเคยเจอภาพหนึ่งนะครับ
เขาเคยบอกไว้ ว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้ามันชีวิตจิตใจ มัจะรู้สึกเจ็บน้อยที่สุดเมื่อมันเป็น ไฟฟ้ากระแสสลับที่ มีรูปสัญญาณเป็นแบบไซน์เวฟแบบนี้
ถ้าเรามาดูที่ภาพจำลองจะเห็นได้ว่า ระหว่างที่แม่เหล็กกำลังหมุนอยู่นั้น เราจะเห็นอิเล็กตรอนมันเคลื่อนที่
โดยเคลื่อนที่ ช้าๆค่อยเพิ่มความเร็ว มาเร็วสุด แล้วก็ช้าลง อีกครั้ง หลังจากนั้นก็หยุดการเคลื่อนที่
แล้วมันก็จะทำเหมือนกันกับอีกฝั่งหนึ่ง โดยเป็นด้านลบ มันจะดึงอิเล็กตรอนไปอีกฝั่งหนึ่งตรงกันข้ามกลับกัน
ถ้าเอามาดูที่กราฟก็จะเห้นทั้ง + และ -
การหมุนที่ดีที่สมบูรณ์ ก็ควรที่จะได้ ไฟ 1 Cycle
และไฟบ้านก็จะมี จำนวนรอบแบบนี้ 50 รอบต่อวินาที เราก็จะเรียกว่าเป็นความถี่ 50hz
ถ้าเราต่อไฟ 1 เฟต แล้วสโลโมชั่น ก็จะเห็นหลอดไฟมันสว่าง สุด แล้ว ก็จะสว่างน้อยลง จนดับ
แล้วมันก็จะค่อยๆสว่างขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมันไปทางครึ่งลบ อิเล็กตรอนมันก็จะไหล ย้อนกลับตรงกันข้าม
ถ้าไม่อยากให้หลอดมันกระพริบ
เราก็สามารถเพิ่มจำนวนหลอดอีก 1 หลอด เข้าไป
แล้วเราก็จะวางขดลวดทำมุม 120 องศาจากชุดแรก ก็จะได้เฟตที่ 2
เมื่อเราหมุน ขดลวด จะมีความเข้ม ของสนามแม่เหล็กที่ไม่เท่ากัน
เมื่อหลอดไฟดวงแรก สว่างสุด แล้ว ลดความสว่างลงมา
ขดลวดที่2 ก็จะมาเติมเต็ม สว่างเพิ่มขึ้น
วิธีนี้จะช่วย เติมเต็มแสง ที่มันมีช่องว่างอยู่
เพราะฉะนั้นเราก็สามารถเพิ่มขดลวดหลายๆชุดเข้าไปได้อีก
สมมุตติว่าผมเพิ่มอีก 1เฟต เป็น 3 เฟต
เพราะฉะนั้นหลอดไฟทั้ง 3 ดวงของผมมมันก็จะสว่างสลับกันเกือบตลอดเวลาเลยครับ
มาถึงคำถามยอดฮิต กันบ้างนะครับ
1.ไฟ 2 เฟส คนใช้หรือไม่ ?
2.ไฟ 3 เฟต ใช้กับอะไร ?
3. ไฟฟ้า 1เฟส = 220V แล้วทำไมไฟ 2 เฟสมี 380V ทำไมไม่ 440V ? คำถามนี้น่า
ขอแก้ไขนะครับ 6:09 ความเข้มของสนามแม่เหล็กมากที่สุด จะอยู่ตรงหัวขั้วของแม่เหล็กเลย ทั้งบนและล่าง
ส่วนความเข้มน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย จะอยู่บริเวณกึ่งกลางครับ
ในคลิป ถ้าบอกว่าแรงดัน สุดยอดเลยครับ
Vt=Vm(sin&)
ทำคลิปได้ดีมาก
2
จริงครับ
เรียนมาเป็นเทอมไม่เข้าใจ แต่เจอคลิปนี้เข้าไป เข้าใจใน 12 นาที สุดยอดมากพี่ทำออกมาเยอะๆนะครับ
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅ
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅ
ๆๆๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๆๅๆๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๆๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๆๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๅๆๆๆๆๆๆๆๅๆๆๆๆๆๆ
จริงครับ😂
จริง
ขอบคุณมากจริงๆครับ
ถ้าได้อาจารย์สอนเรื่อง
ไฟฟ้าแบบนี้ทั้งประเทศ
รับรองเด็กนักเรียนจะ...
เข้าใจง่ายขึ้นและจะมี
คนฉลาดๆเพิ่มขึ้นอย่าง
มิต้องสงสัยเลยครับ.....
"ทำเรื่องยากๆให้เป็น
เรื่องที่เข้าใจง่ายๆนี้ถือ
ว่าสุดยอดเลยล่ะครับ"
ขอบคุณๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ครับผม
👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍👍❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
นี่คือ ตัวอย่างที่โคตรดี สำหรับสื่อการเรียนการสอน ถ้าใน รร หรือ มหาลัย มีการสอนแบบนี้ จะเป็นอะไรที่โคตรดีเลย เรียนไฟฟ้ามาก็หลายปี เอาจริงๆ ไม่เข้าใจอะไรเลย ดูคลิบบนี้ 10 กว่านาที เข้าใจกว่าที่เรียนๆมา หลายปี สะท้อนคุณภาพการศึกษา และคุณภาพบุคลากร ประเทศเรามากๆ ขอบคุณที่มาให้ความรู้ครับ
เนื้อหาคลิปไม่ต้องใช้คำว่า ที่พอเข้าใจแล้วครับนี่แหละคือของจริง และเข้าใจอย่างถ่องแท้เลยครับ ขอบคุณความรู้ดีๆ
+1
ขอบคุณที่ทำ animation ดีๆให้ได้เข้าใจ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะเข้าใจมากขึ้นครับ ทำให้ได้รื้อฟื้นวิชา คณิตศาสตร์/ ตรีโกณมิติ / ไฟฟ้า / ไฟฟ้ากำลัง และอีกมากมาย
มีข้อทักท้วงและความคิดเห็นบางประการครับ
1. รูปกราฟแสดงไฟสามเฟส ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะคลื่นควรจะคบรอบของคาบที่ 360 องศา ไม่ใช่ 270 องศา (ดังที่ปรากฏในคลิป)
2. ความต่างศักย์ 380 V. เป็นความต่างศักย์ระหว่างเส้น L (ซึ่งอาจเป็นระหว่าง L1:L2 หรือ ระหว่าง L1:L3 หรือระหว่าง L2:L3) แต่เป็นค่าความต่างศักย์ที่สูงที่สุด (V max) ระหว่างคู่ที่เราวัด ซึ่งจะแปรผันไปตามเวลา มิใช่ค่าความต่างศักย์ที่คงที่ ค่าความต่างศักย์ที่สูงที่สุดนั้นจะไม่ใช่อยู่ที่จุดสูงสุด (220 V) ของเส้นใดเส้นหนึ่ง (ที่ 90 องศา) แต่จะอยู่ที่จุดที่เส้นหนึ่งมีค่าเฟส +60 องศา (sin 60 = 0.866) ซึ่ง ณ จุดนี้ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ +190 Vและอีกเส้นหนึ่งมีค่าเฟส -60 องศา (sin -60 = 0.866) ซึ่งค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ -190 V ทำให้ความต่างศักย์รวมมีค่าเท่ากับ 380 v
ดังที่ได้เรียนในตอนต้นว่าค่าความต่างศักย์นี้จะแปรผันตามเวลา ดังนั้น ค่าความต่างศักย์นี้ในช่วงบางขณะจะลงมาอยู่ที่ 0 V. ถ้า plot กราฟความต่างศักย์ระหว่างสองเส้นใดๆอาจจะได้รูปกราฟใกล้เคียงกับ sine wave
3. ที่กล่าวว่าความต่างศักย์สูงที่สุดจะไม่ใช่จุดที่กราฟเส้นใดเส้นหนึ่งที่อยู่ที่เฟส 90 องศานั้นเพราว่า ในขณะที่อยู่ที่เฟส 90 องศา (จุดที่ค่าศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ เมื่อเทียบกับ N)ไฟอีกสองเฟสจะอยู่ที่ 210 องศาและที่ 330 องศา (หรือ -30 องศา) ซึ่งค่าความต่างศักย์ที่วัดได้จริง (และจากการคำนวณ) จะอยู่ที่ 330 V เท่านั้น (มิใช่ 380 V ดังที่ปรากฏในคลิป)
ไม่ทราบถูกต้องหรือเปล่าครับเพราะผมเองก็ไม่ได้เรียนจบมาทางด้านวิศวกรรม
ถ้าเอา Volt meter ไปวัดเทียบ L1 กับ L2 เราจะเห็นตัวเลขขึ้นลงตามเวลาจริงหรือครับ (ไม่ทราบจริงๆ) และ สงสัยทำไม บ้านที่ใช้ไฟ 1 เฟส หลอดไฟถึงไม่กระพริบอย่างในคลิป 8:02
บอกตรงๆ อธิบายพร้อมภาพได้เข้าใจมาก เท่าที่เคยเจอคลิปมา แล้วก็เสียง น้ำเสียงหล่อมาก
หน้าตาก็หล่อ เจมจิ ยังไงยังงั้น ..!!
การสื่อสารเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายๆภายในไม่กี่นาที เยี่ยมมากครับ
อธิบายดีมากเลยครับ ทำอนิเมชั่นได้น่าสนใจมาก คิดว่าต่อให้ไม่มีความรู้ทางไฟฟ้า ถ้าได้ดูคลิปนี้ก็น่าจะเข้าใจได้เลย
เหมาะสำหรับนักศึกษาใหม่
หรือคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
ความรู้ทั้งนั้นครับ
คลิปนี้ถ้าคะแนนเต็ม 10 ผมให้ 100 เลยครับ 👏👏👏
เข้าใจง่ายมากๆ อนิเมชั่นทำออกมาดูสบายตาและเข้าใจง่ายมากๆครับ ขอให้ทำคลิปดีๆแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ เลยนะครับรอติดตามๆ
เป็นคลิปที่คุ้มค่าทุกวินาทีในการดูจริงๆครับ, สุดยอดมาก
@@somvangchaleunphonh3639 ใช่ครับ ประดับสมองได้ดีเลยความรู้อันนี้
@Mr Sont เจ้าของคลิปอธิบายชัดเจนแล้วนะครับในนาทีที่ 11:10 ลองย้อนกลับไปดูใหม่นะครับ
ดูให้เข้าใจก่อนครับก่อนที่จะพูดจะพิมพ์อะไร โตไปจะได้เก่งๆ ตั้งใจเรียนนะครับ โชคดีครับ :)
√3 มันจำง่ายเลยเอามาใช้ร่วม
สมการไฟฟ้า มาจาก ตรีโกณมิติ นั่นละครับ พวกมุม120องศา
พอแก้สมการไปมามันได้ 1.732 ก็เลยใช้เทียบกับ √3เลยง่ายดี
ส่วนสายนิวทรัล มันจากจุดสตาร์ของหม้อแปลง เลยเป็น0โวลต์
ถ้าไล่ดูจนถึงหม้อแปลงแรกๆ ก็จะมีจุดศูนย์โวลต์ จาก สตาร์หม้อแปลงเหมือนกัน
จุดประสงค์ในการลงดิน นอกจากเพื่อเป็นจุดกลับของกระแสรั่วลงดินแล้ว ยังเป็นจุด ดิชชาจน์ของประจุด้วยนะ
แบบว่า พวกไฟฟ้าสถิตย์นี่ อันตรายเหมือนกัน ไฟฟ้ากระแสสลับมันมีประจุวิ่งมาตามสายด้วย ถ้าไม่ต่อลงดินมีคายประจุใส่คน เป็นเจ็บแน่
เห็นคลิปนี้ช้าไปครับ ไม่มีคำอธิบายเลย คนอื่นได้พูดไปกันหมดแล้ว เยี่ยมจริงๆ
ขอบคุณครับ
คลิปดีมีประโยขน์มากครับ อธิบายพร้อมภาพประกอบได้เยี่ยมทีเดียว
มาดูคลิปนี้เข้าใจเลยว่ากระบวนการเรียนการสอนประเทศเรามีปัญหาแน่ๆ จากที่เรียนใน รร. ไม่เคยเข้าใจเลย มาดูคลิป 10 นาที เข้าใจกระจ่างเลย
การเรียนการสอน น่าจะเริ่มต้นจากคลิปแบบนี้ แล้วไปแยกแยะเป็นประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการสอน ตอบปัญหาต่างๆที่มีความสงสัยให้กระจ่างมากขึ้น /คนเรียนจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น ชอบคลิปนี้มากๆเลยครับ
เรียนในโรงเรียนมันดูจากตำราบนหน้ากระดาษ ต้องใช้จินตนาการของนักเรียนช่วยสูงมากครับ 😂😂😂 สมัยนี้เด็กเรียนจากคลิปวิดิโอจะเข้าใจง่ายกว่า เพราะเห็นกระบวนการชัดเจน ไม่ต้องใช้จินตนาการมาก 😂😂😂 จะให้ดี กระทรวงศึกษาต้องจ้างครูที่สร้างสื่อพวกนี้มาสอนให้มากกว่าเดิม หรือไม่ก็จ้างผู้ชำนาญการด้านไอทีมาช่วยจัดทำสื่อการสอนให้ครูทั่วไทยดาวน์โหลดฟรี การสอนในห้องก็พัฒนาขึ้นโดยใช้สื่อดิจิตอลให้เป็นประโยชน์ เริ่มจากโรงเรียนที่พร้อมก่อน จากนั้นค่อยๆขยายให้ครบทุกโรงเรียน
เรียบเรียงเนื้อหาได้ดีมากเลยครับ จากใจวิศวกรไฟฟ้า
รับชม จนจบ ทำคริบ สื่อสารได้ยอดเยี่ยมมาก มีคำถามเเละคำตอบ ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ผมก็ วศบ.คนนึ่ง รู้เเละเข้าใจ เเต่อธิบายไม่ได้ คริปนี้ เป้นประโยชน์มาก ขอบคุณที่เผยเเพร่ให้ได้รับชมกัน ครับ
แอดเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการอธิบายมากๆครับ เข้าใจง่ายแม้ไม่มีพื้นฐานความรู้มาก่อนอย่างผม ทั้งภาพและเสียง ยอดเยี่ยมมากๆครับ
การเรียนการสอน น่าจะเริ่มต้นจากคลิปแบบนี้ แล้วไปแยกแยะเป็นประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการสอน เป็นการขยายความ ตอบปัญหาต่างๆที่มีความสงสัยให้กระจ่างมากขึ้น /คนเรียนจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น ชอบคลิปนี้มากๆเลยครับ
ด้วยความเคารพ นิวตรอน(Neutron) =อนุภาคในนิวเคลียสที่จับตัวกับโปรตอน, นิวทรัล (Neutral) แปลว่าเป็นกลาง เช่น เกียร์ N ในรถเกียร์ออโต้
Neutral มีศักย์ใกล้เคียงกับ 0 โวลต์(ในทางทฤษฎีมันคือ 0 โวลต์)
@@johnlee8863 จริงที่มันเป็น 0 โวลต์ แต่ไม่ใช้ว่า Neutral จะไม่สามารถดูดเราได้(หากสาย N หลวม) เพราะ N ก็มีกระแสไฟฟ้าไหลกลับเหมือนกัน
กำลังจะถามเลยครับ เห็นช่างใช้คำว่า neutron กันเยอะมาก
นิวตรอนขัดหูมากๆ5555
นิวทรัล นิวตลัล
อธิบายได้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ทำต่อไปนะครับ มีประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษา
ศึกษามาทั้งชีวิต เพิ่งจะมาเข้าใจในคลิปนี้ครับ (12นาทีมีค่ามาก)สุดยอด หาอะไรดีดีมาให้ศึกษาหาความรู้อีกนะครับ
ทำคลิปได้ดีมากครับ ขอบคุณมากครับ ผมนำไปสอนนักเรียนเลยครับ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงครับ ขั้วเหนือ-ขั้วใต้ ของแท่งแม่เหล็ก อยู่ที่ ฝั่งแดงกับฝั่งน้ำเงินเลยครับ เส้นแรงแม่เหล็กที่เข้มที่สุดก็จะอยู่บริเวณปลายตรงนั้นเลย
..ผมเอาไปสอนนักเรียน ผมจึงต้องชี้แจงแก้ไขตรงนี้ครับ
..แต่คลิปนี้ทำให้เข้าใจเรื่องไฟฟ้า 3 เฟส ได้ง่ายจริงๆครับ
..ขอบคุณอีกครั้งครับ
ความรู้ไม่สำคัญเท่าความคิด
บางคนเรียนมาตั้งหลายปี ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำเพราะอาจารย์สอนไม่เข้าใจ แต่มาดูในนี้ไม่กี่นาทีแมร่งบรรลุ
เข้าใจง่าย จากคนไม่รู้ เห็นเสาไฟฟ้าก็พอจะรู้ได้บ้าง
ขอบคุณความรู้ดีดีนะครับ รอติดตามความรู้แบบนี้เรื่อยๆครับ.
อธิบายเข้าใจได้ง่ายมากๆครับ จากคนไม่รู้เรื่องไฟฟ้าเลยกลับเข้าใจได้ง่ายๆ
ขอบคุณมากครับ ทำอนิเมชั่นได้สุดยอกมากครับ
ขอบคุณมากครับ
อธิบายเข้าใจง่ายกว่าไปเรียนเป็นเดือนๆอีกครับ. ชอบมาก
ขอบคุณนะค่ะ เข้าใจง่ายเพราะทำภาพประกอบดีมาก แม่บ้านยังเข้าใจ ทำคลิปต่อไปนะค่ะ กดติดตามแล้ว👏👏👏👍🏻👍🏻🥰🥰
ติดตามแล้วครับอธิบายเข้าใจง่ายฟังไม่ง่วง ดีมากครับขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ดีครับ อธิบายดี ไปช้าๆ คนที่เข้าใจแล้วเราจะอธิบายเร็วยังไงก็ได้ แต่ถ้าจะให้คนที่ยังไม่เข้าใจ ต้องไปช้าๆแบบนี้แหละ
เป็นการให้ความรู้ที่ดีมากครับ ผมเองยังคิดว่าสาย N อยู่ล่างสุดและไม่รู้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านเฟสเดียวจะใช้ไฟฟ้าสามเฟสได้ไหมครับ😅
อธิบายได้ดีเข้าใจง่ายมากครับ เนื้อหาสัมพันธ์กันมาก ดีกว่าตอนสมัยอ.ที่มหาวิทยลัยสอนอีกครับ
ใช่ครับ
ตรงต่อเดลต้ากับวายรวบรัดไปหน่อยครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ขอบคุณที่ทำคลอปดีๆออกมาครับ น้ำเสียงก็ดีฟังสบายไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
เป็นคลิปที่ดีมาก เหมาะเเก่การศึกษานอกห้องเรียนมากครับ ทำต่อไปเรื่อยๆครับเเอด😃😃😃😃👍👍👍
สุดยอดมากเลยครับ พี่เป็นพระผู้เป็นเจ้า
สุดยอดเลยครับ เกิดมาทั้งชีวิตเพิ่งเข้าใจเพราะคลิปนี้เอง
ภาพประกอบน่าดูมากเข้าใจง่าย
ขอบคุนคับ
ชอบมากๆๆ. อธิบายดีมาก. เข้าใจง่าย. มีประโยชน์
เข้าใจง่ายเลยครับ ผมไม่มีพื้นฐานยังพอเข้าใจเลย
#จริงๆแช้วพี่เป็นอาจารย์สอนไฟฟ้าหรอครับ
อธิบายดี ภาพประกอบ สวยและดูง่าย .. ขอบคุณครับ
พี่ครับอยากให้ทำคลิปการเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก ของตัวgenหน่อยอยากเข้าใจในภาพง่ายๆ คือข้อสงสัยของผมคือว่า โรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำสมมุติผลิตไฟที่ 1 MW หมุนความเร็วรอบที่3000รอบ แล้ว ต้องจ่ายโหลดให้คงที่ เค้าใช้วิธียังไงในการเพิ่มความเข้มครับ
สุดยอดเลย มี่สามารถย่อยเรื่อฃยากๆให้เข้าใจง่ายได้ ขอให้เน้นไปทางไฟฟ้าโดยตรงเลยก็ดีนะครับ เพราะไม่เคยเจอใครอธิบายดีเท่าchนี้
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ช่องพี่ ฟังแล้วเข้าใจง่ายสุดๆชอบมากครับ
ขอบคุณมากครับ
ระบบไฟฟ้า2เฟส จะไม่ได้เป็นแบบที่ทางช่องอธิบายนะครับ มันจะไม่ใช่การส่งไฟมา2เฟสจาก3เฟสมาให้ใช้แบบนั้น และการผลิตไฟฟ้าที่มากกว่า 3 เฟสที่เขาไม่ผลิตกันไม่ใช่เพราะว่าต้นทุนมันสูงเกินไปแต่มันไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มมากกว่าระบบ 3 เฟสแล้ว
ก่อนอื่นต้องบอกว่าไม่ว่าจะไฟ1เฟสหรือ3เฟสที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้แท้จริงแล้วระบบไฟฟ้าที่ผลิตกันมันคือระบบไฟ3เฟสทั้งหมด แต่การส่งมาให้ประชาชนใช้ตามบ้าน1เฟส มันก็ยังคงเป็นการผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า3เฟสอยู่ดี แต่เอามาส่งมาให้ตามบ้านแบ่งกระจายเท่าๆกันเป็น3กลุ่ม ซึ่งมองโดยรวมแล้วมันก็ยังคงเป็นการผลิตไฟฟ้าในระบบ3เฟสอยู่เหมือนเดิม มันไม่ใช่ระบบไฟฟ้า 1 เฟสแท้ๆนะ ไม่ว่าจะไฟ1เฟสหรือ3เฟส ระบบไฟฟ้าโดยรวมมันก็คือไฟฟ้า3เฟส และหลักการผลิตไฟฟ้า3เฟสก็ตามในคลิปที่อธิบายมาได้ดีแล้ว ก่อนจะเข้าใจระบบไฟ2เฟสก็ต้องทำความเข้าใจระบบ1เฟสแท้ๆกันก่อน ต้องบอกกันก่อนเพื่อจะสามารถอธิบายระบบไฟฟ้า2เฟสให้เข้าใจได้
ระบบไฟฟ้า1เฟสแท้ๆคือ ใน generator นั้นจะมีขดลวดอยู่แค่เฟสเดียว สมมติว่าติดตั้งอยู่ตำแหน่งบนและล่างแบบในคลิป พอแกนแม่เหล็กตรงกลางหมุนหนึ่งรอบก็จะได้ไฟฟ้าเป็น360องศาไฟฟ้า(คิดแบบ generator ขั้วแม่เหล็ก2โพลปกตินะถ้าทำเป็นแบบ4โพลก็จะได้720องศาไฟฟ้าหรือถ้ามากกว่านั้นก็คูณ360องศากันไป) แต่ทีนี้การวางขดลวด 1 เฟสมันจะเหลือพื้นที่ด้านข้างๆของสเตเตอร์ว่างอยู่ก็จึงเอาขดลวดมาวางด้านข้างซ้ายและขวาเพิ่มอีกเฟส เมื่อวางแล้วก็จะผลิตไฟฟ้าเฟสที่2ออกมาได้ กราฟแรงดันไฟฟ้าที่ได้จะเป็นลักษณะ ถ้าสนามแม่เหล็กใกล้ขดลวดของเฟสที่1สูงสุดไฟของเฟส1ก็จะสูงสุดแต่ไฟในเฟสที่2ก็จะเป็น0 และเมื่อสนามแม่เหล็กหมุนอีก90องศาแล้ว ไฟฟ้าเฟสที่1ก็จะลดลงเป็น0 แต่เฟสที่2ก็จะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 90องศาแทน และจะสลับกันทางบวกและลบแบบนี้จนครบ360องศาหมุนวนไปเรื่อยๆ นั่นก็หมายความว่าในระบบไฟฟ้า2เฟสนั้นมุมทางไฟฟ้าของเฟสที่1และ2จะเป็นรูปคลื่น sine wave ที่ lag ห่างกัน 90 องศา (ไม่ใช่ 120 องศาแบบระบบ3เฟส) แล้วนี่ก็จะได้เป็นการผลิตไฟฟ้าในระบบ2เฟสแท้ๆนั่นเอง ซึ่งจะไม่เหมือนกันกับเอาไฟฟ้า2เฟสจากการผลิตไฟฟ้า3เฟสมาใช้นะซึ่งมันจะมีมุมต่างกันเฟสละ120องศาตามที่คลิปอธิบาย
ดังนั้นถ้ามีการผลิตไฟฟ้าในระบบ2เฟสขึ้นมาใช้งานจริงผู้ผลิตก็สามารถทำมอเตอร์ระบบไฟฟ้า2เฟสขึ้นมาใช้งานได้ด้วยเช่นกัน เพราะ generator คือการแปลงพลังงานกลไปเป็นพลังงานไฟฟ้า และมอเตอร์คือการกลับทิศทางให้พลังงานไฟฟ้ามาแปลงเป็นพลังงานกล มันสามารถทำขึ้นมาได้ง่ายๆตามปกติที่ทำกันอยู่แล้ว เพียงแค่วางขดลวดในมอเตอร์ให้เป็นแบบ2เฟส(บนล่างและซ้ายขวา)ซึ่งจะทำได้ง่ายกว่า3เฟสด้วยซ้ำ
แต่ที่เขาไม่ผลิตไฟฟ้าในระบบ2เฟสมาใช้งานกันจนไม่มีการผลิตมอเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า2เฟสมาใช้งานด้วยนั้นก็เพราะว่า ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าทั้งแบบ1เฟสและแบบ2เฟสมันสู้แบบ3เฟสไม่ได้ มันจะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่า สมมติว่าในระบบผลิตไฟฟ้าแบบ1เฟสแท้ๆนั้นผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณ1หน่วย พอเราเพิ่มขดลวดเฟสที่2(lag 90 องศาแบบที่อธิบายไป)มันจะผลิตไฟฟ้าได้แค่ square root 2 เท่าหรือ 1.414 เท่าของระบบ1เฟส (คิดว่าจำไม่ผิดนะถ้าจำผิดก็จะได้1.5เท่าประมาณนี้ละ) สาเหตุที่ไม่เป็น2เท่านั้นก็เพราะว่าเมื่อใส่ขดลวดเพิ่มเข้าไปในสเตเตอร์ของ generator นั้นบางส่วนก็วางในที่ว่างอากาศที่ไม่ได้ใช้งานจึงได้ไฟเพิ่มขึ้นแต่ขดลวดบางส่วนก็ไปวางเบียดบังที่วางขดลวดของเฟสที่1ให้ลดลงดังนั้นในแต่ละเฟสมันจึงผลิตไฟฟ้าได้ลดลงตามขดลวดที่จะต้องลดลงด้วยและเมื่อรวมทั้ง2เฟสแล้วมันจึงไม่ใช่การคูณ2 และถ้าเราเอาขดลวดไปวางเบียดในสเตเตอร์เพิ่มเพื่อวางเฟสที่3ขึ้นมา (มุมในการวาง360องศาจึงต้องหาร3จึงห่างกันเฟสละ120องศาอย่างที่คลิปอธิบายมา)แต่พลังงานไฟฟ้าที่ได้ในแต่ละเฟสมันก็จะลดลงไปอีกเพราะขดลวดในแต่ละเฟสจะวางได้ลดลงและเมื่อรวมทั้ง3เฟสแล้วมันจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับ square root 3 เท่าหรือ 1.732 เท่าของระบบ1เฟส
มีต่อ...
ต่อ...
และถ้ามีการวางขดลวดของเฟสที่4,5,6,7,8,.... ไปเรื่อยๆถึง infinity เฟสแล้ว ผลที่ได้กลับเป็นว่าแม้จำนวนเฟสจะมากขึ้นจริงแต่พลังงานไฟฟ้าที่ได้ในแต่ละเฟสนั้นกลับลดลงไปเรื่อยๆในอัตราส่วนเดียวกันเพราะว่ามันไม่เหลือพื้นที่ว่างในสเตเตอร์อีกแล้วถ้าเพิ่มขดลวดเฟสใหม่เท่าไหร่ก็ต้องไปลดขดลวดของเฟสเก่าเท่านั้นผลรวมของพลังงานไฟฟ้าที่ได้จึงเท่าๆเดิม
สรุปได้ว่าการผลิตไฟฟ้าในระบบหลายเฟสจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามนี้
ระบบ 1 เฟส จะผลิตไฟฟ้าได้ 1 หน่วย
ระบบ 2 เฟส จะผลิตไฟฟ้าได้ 1.414 หน่วย
ระบบ 3 เฟส จะผลิตไฟฟ้าได้ 1.732 หน่วย
ระบบ infinity เฟส จะผลิตไฟฟ้าได้พอๆกับระบบ 3 เฟสอยู่ดี
ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงสุดทั่วโลกเขาจึงผลิตไฟฟ้าในระบบ3เฟสทั้งหมดนั่นเอง การผลิตไฟฟ้าที่มากกว่า 3 เฟสที่เขาไม่ผลิตกันไม่ใช่เพราะว่าต้นทุนมันสูงเกินไปแต่มันไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มมากกว่าระบบ 3 เฟสแล้ว เพราะพื้นที่ใน generator นั้นมีจำกัดการเพิ่มขดลวดตัวนำของเฟสใหม่คือการไปลดขดลวดตัวนำของเฟสเก่านั่นเอง พลังงานไฟฟ้าที่ได้จึงไม่สูงขึ้นอีกแล้ว
และเมื่อทำการผลิตไฟฟ้าในระบบ3เฟสแล้ว มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานตามระบบไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ย่อมเป็นมอเตอร์3เฟสด้วยเช่นกัน (ถ้าผลิตไฟฟ้า3เฟสประสิทธิภาพสูงสุดมอเตอร์3เฟสก็จะมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยเช่นกันคิดง่ายๆด้วยหลักการแปลงพลังงานกลและไฟฟ้าไปและกลับ แต่ถ้าคิดแบบละเอียดทางวิศวกรรมก็ยังคงเป็นเช่นนั้นด้วย) ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆประเภทอิเล็กทรอนิกส์หรือที่มีการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงก่อนใช้งานนั้นไฟฟ้าจำนวนเฟสยิ่งมากก็ยิ่งทำให้ไฟฟ้ากระแสตรงที่แปลงได้ยิ่งเรียบได้มีคุณภาพมากกว่า ระบบไฟฟ้า 3 เฟสพอแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะเรียบได้คุณภาพไฟฟ้ากระแสตรงสูงกว่าระบบ 2 เฟส (และระบบ 2 เฟสก็มีคุณภาพสูงกว่าระบบ 1 เฟสแต่ตามบ้านเรือนที่ใช้ระบบไฟ1เฟส การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงของ 1 เฟสอะแด็ปเตอร์จึงต้องใช้ capacitor มาช่วยปรับปรุงทำให้ไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้เรียบมีคุณภาพดีขึ้น) ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทนี้ถ้าใช้ไฟ 3 เฟสได้ก็ย่อมดีกว่าไฟ 2 เฟส จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะทำการส่งไฟฟ้าในระบบ2เฟส (ซึ่งจะต้องผลิตไฟฟ้าแบบ2เฟสด้วย ไม่ใช่จิ้มสายไฟเอา2เฟสจากระบบ3เฟสมาใช้ เพราะมันใช้ไม่ได้) เพราะทั้งการผลิตไฟฟ้าจะได้น้อยกว่าระบบ3เฟสและประสิทธิภาพของมอเตอร์และการแปลงไฟกระแสตรงก็จะสู้3เฟสไม่ได้ด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าถามว่าไม่มีการใช้ไฟฟ้าในระบบ2เฟสเลยหรือ มันไม่มีการใช้งานโดยตรงแต่มันจะมีการใช้งานโดยอ้อม มันคือสิ่งที่มอเตอร์พัดลมหรือคอนเดนเซอร์แอร์เฟสเดียวใช้งานกันอยู่โดยการแปลงไฟฟ้า1เฟสปกติที่ใส่เข้าไป พอไฟฟ้าไปผ่าน capacitor แล้วไฟที่ผ่านมันจะ lead กับเฟสปกติขาเข้าอยู่ 90 องศา มันจึงเสมือนการทำไฟเฟสที่2แบบเทียมๆขึ้นมาเพื่อเอาไฟฟ้านั้นมาเป็นสนามแม่เหล็กหมุนที่จะมีมุม lead ห่างกัน 90 องศานำหน้าไฟฟ้าเฟสปกติที่จะไหลเข้าขดลวดอีกชุดหนึ่ง เพื่อให้แกนโรเตอร์ของขดลวดเฟสปกติมันหมุนตามไฟที่ผ่าน capacitor ที่นำหน้าอยู่ 90 องศา หลักการทำงานของมอเตอร์1เฟสเฉพาะแบบนี้มันจะใช้หลักการทำงานแบบไฟ2เฟส มอเตอร์พวกนี้จึงต้องมีการติดตั้ง capacitor ไว้ด้วย แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ชนิดอื่นที่ไม่มี capacitor มันก็จะมีหลักการทำงานที่ต่างกันซึ่งมันจะมีมอเตอร์1เฟสอีกหลายประเภท
เสริม...
ที่ว่าแรงดันไฟฟ้า 220V และแสดงรูปกราฟในคลิปนั้นจุดสูงสุดหรือ Peak ในรูปคลื่นกราฟ sinewave นั้นจะไม่ได้มีค่า 220V แต่จะมีค่า Peak อยู่ที่ 220V คูณด้วย square root2 = 220x1.414 = 311V เพราะค่าแรงดันไฟฟ้า 220V นั้นหมายถึงค่าแรงดันไฟฟ้าแบบ R.M.S. (root mean square) ซึ่งหมายถึงค่าที่ทำให้พลังงานไฟฟ้า(Watt)ของไฟฟ้ากระแสสลับมีพลังไฟฟ้าเทียบเท่ากับของไฟฟ้ากระแสตรง นั่นคือไฟฟ้ากระแสสลับที่มีรูปคลื่น sinewave โดยมีจุด Peak ที่ 311V จะให้พลังงานได้เท่ากันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่มีรูปคลื่นเส้นตรงเรียบไปยาวตลอดที่มีค่า 220V นั่นเอง การที่มีค่า R.M.S. ไว้แบบนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แสดงค่า Watt ของไฟฟ้ากระแสตรงหรือจะเป็นกระแสสลับนั้นจะได้สามารถทียบกันได้ว่า การกินไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า 1watt กระแสตรงจะได้เท่ากับ 1watt ของกระแสสลับ
สุดยอกครับบบ
ขอบคุณที่ทำคลิปดีๆถึงไม่ได้เรียนแต่ดู 12นาที เหมือนได้เรียนจบมาเลย (เข้าใจง่าย)
ไฟ3เฟสเป็น380Vนะครับไม่ใช่220Vในคลิบน่ะ นอกจากจะจับคู่ L1,2,3,กับ N จะได้220Vac
ใช่ถ้าlกับl มันวัดได้380นะครับ
อธิบายได้ดีมากเข้าใจง่าย ทำภาพเข้าใจง่าย สุดยอดปรมาจารย์
เจ๋งมากเลยครับ เข้าใจ เห็นภาพด้วย ได้มากกว่าตอนเรียนในห้อง
อาจารย์พูดตั้งนานยังไม่รู้เรื่อง ดูคริปพี่คริปเดียวกระจ่างเลยย
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ ความรู้เยอะมากๆ อธิบายได้เเจ่มเเจ้งดีมากครับ
ขอบคุณครับ สุดยอดการอธิบายพร้อมภาพทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
ผมเรียนวิศวะเครื่องกลงงพวกนี้มาก อ.ภาคไฟพูดเร็วยังกับผมเรียนตรงด้านไฟฟ้า ได้คลิปนี้คือเคลียร์ครับ
ความรู้เน้นๆ แต่เล่าได้เข้าใจง่ายมาก เยี่ยม
ขอบคุณมากค่ะ อธิบายได้เข้าใจแจ่มแจ้งจากที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยค่ะ เยี่ยมมาก
ครับอธิบายดีมาก เข้าใจง่ายกว่าที่เรียนมาอีก
ช่วยทำคลิปเปรียบเทียบ น้วตรอน กับกราวด์หน่อยครับ มันต่างกันตรงไหน ความสำคัญมากน้อยเพียงใด ขอบคุณมากครับ
อธิบายดีมากเลยครับ เข้าใจง่าย แต่รู้สึกว่าไฟฟ้า 2 เฟส มุมจะต่างกัน 90 องศา หรือเปล่าครับ แต่ถ้าไฟฟ้า 3 เฟส มุมจะต่างกัน 120 องศา ครับ รบกวนผู้รู้ตอบหน่อยน่ะครับ
เข้าใจว่า 2 เฟส มุมจะต่างกัน 180 องศา (360÷2) ... จะไม่ได้พลังงาน พ.ท.ใต้กราฟรูปคลื่นรวมเป็น 0 ถ้ามุม90 จะเป็น 4 เฟส ถ้าผิดขออภัยนะครับ เคยเรียนเมื่อ20 กว่าปีที่แล้ว ส่งคืนอาจารย์ไปแล้ว ที่เหลือคือความเข้าใจเท่านั้นครับ
ไฟ2เฟสผมเคยเห็นที่สนามฟุตบอลครับ ไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่าง ใช้L1-L2 และL2-L3สลับกันไปเรื่อยๆครับ
ตอนเรียนไม่เข้าใจ เจอคลิปนี้เข้าไปกระจ่างเลยครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
การอธิบายและภาพประกอบสัมพันธ์กันดีมากเลยครับ ช่วยให้เข้าใจได้ดีมากๆเลยครับ
ผมเคยอ่านหนังสือไฟฟ้ากำลังเล่นเท่าสมุดหน้าเหลืองแต่ถ้าไม่เข้าใจเลย คลิปนี้จบเลย รู้เรื่อง
เยี่ยมเลยครับเข้าใจง่ายมาก
กระจ่างเลยครับคลิปนี้ เห็นทุกวันก็สงสัยทุกวัน
ขอบคุณมากครับ
เคยต่อใช้ในตู้เชื่อมพลัง ตู้ 2เฟส ใช้ไฟ 380V ไม่ใช้ นิวตรอน ไฟแรงดีมากเลยครับ
เยี่ยมไปเลยครับ
ผมเคยเจอแต่ตู้เชื่อม miller ที่เป็นรุ่น3เฟส
สุดยอด ครับ เก่งมาก ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย😊
ยอดเยี่ยมอธิบายได้ชัดเจนดีมาก
เข้าใจง่ายค่ะ มีรูปประกอบ และอธิบายเข้าใจง่าย..ไม่ได้เป็นมืออาชีพแต่เราจำเป็นควรรู้และเข้าใจ สิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันค่ะ🙏 ขอบคุณมากๆค่ะ👍
ผมสงสัยครับว่า ต่อขดลวดแบบในคลิปแบบV1เข้าV2แบบนี้เค้าต่อกันแบบนี้จริงๆหรอครับเวลาใช้งาน แล้วเรียกการต่อแบบนี้ว่าอะไรหรอครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
เป็นกำลังใจในการทำคลิปต่อไปครับ
เรียนกับครู งงไปหมด มาดูคลิปพี่เข้าใจเลยย
ยอดไปเลย! ครับ
เพิ่งเข้าใจไฟสามเฟส วันนี้ แหละครับ ขอบคุณมาก ครับ…
ไขข้อสงสัยผมได้เลย
สุดยอดมากครับ👍👍👍
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณคลิปดีๆครับ ขอเรื่องไฟฟ้าอีกนะคับ ฟังเเล้วเข้าใจดีคับ 🤩
ผมจบวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมอยากศึกษาต่อเกี่ยวกับไฟฟ้า อยากเรียนรู้เพิ่มเพราะตอนไปทำงานโรงงานมีแต่ไฟฟ้าทั้งนั้น พวกเครื่องจักร ตู้คอนโทรล ระบบต่าง ๆ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับผม
เนื้อหาดี พูดน่าฟัง กราฟฟิกสุดยอด 100 เต็ม A++++++++++++++
เป็นประโยชน์มากครับ ขอบพระคุณมากครับครู 🙏🏻❤️
ขอบคุณมากครับ
สุดยอดมากครับ เอาไว้ทบทวนที่เรียนได้เลย
ขอบคุณครับสำหรับวิทยาทานของท่าน
ขอบคุณที่รับชมเช่นกันนะครับ
FCจาก ส.ป.ป ลาว🇱🇦🇹🇭 ครับ เกั่งมา
เข้าใจละเอียดเลยครับอาจารย์ ขอุถามเรื่องเฟสของไฟฟ้าครับ ผมมีบ้านอยู่สองหลังติดกัน มีหม้อไฟทั้งสองหลัง ตอนนี้ต้องการจะให้หลังที่สองใช้หม้อแบบ TOU แล้วใช้ไฟร่วมกันทั้งสองหลังเพื่อเลือกเวลาในการใช้หม้อไฟเพื่อให้ประหยัดค่าไฟที่สุด แต่ผมกังวลว่าสาย Line ของทั้งสองหลังเป็นเส้น Line เดียวกันหรือเปล่ามีวิธีเช็คอย่างไรครับ เพราะถ้าเป็นคนละเส้นมันจะอันตรมยมากใช่ไหมครับ
ทำ animation ได้ดีมากครับทำให้เข้าใจได้ง่าย สมัยผมเรียน graphic พวกนี้ยังมีน้อยมากๆ ส่วนใหญ่ดูจากหนังสือ ทำให้เข้าใจได้ยากกว่า
สุดยอด ทำดีมากเลยครับ เข้าง่ายดีครับ ขอบคุณครับ
ความรู้แบบแน่นๆเลยครับ💙
ทุกอย่างดี อยากให้เพิ่มเสียงตอนพูดให้ดังขึ้นอีกครับ
ถ้าคุณพูดทะมัดทะแมงบางช่วงน่าฟัง และน่าสนใจ แต่บางช่วงคำบรรยาของคุณมี นา งะ ๆ มาก ฟังแล้วปวดหัวเปียบๆๆ
ดีมาก ครับ เป็นบดเรียนที่ดี
สนุกมากครับ ไม่เบื่อที่จะเรียนรู้เลย
ขอบคุณมากครับ ที่ทำ animation ดีมากแบบนี้เผยแพร่เป็นวิทยาทาน
ที่บ้านผมก็ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส เพิ่งเข้าใจจริงๆวันนี้แหละครับ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอีกข้อครับ เรื่องที่เค้าว่าถ้าเราทำ balance เฟสดีๆ มันจะทำให้ประหยัดไฟขึ้น อันนี้ผมไม่เข้าใจเลย
ถ้าคุณบาลานซ์ไม่ดี สมมุตแบบบ้านๆน้ะว่า
A=10KW B =10KW C = 40KW คุณต้องจ่าย 40KW แต่ถ้าบาลานซ์ดี A=20 B=20 C=20 คุณก็จ่ายที่ 20 KW ทั้งที่ใช้ไฟฟ้ารวมกันทั้ง 3 เฟสที่ 60 KW เท่ากัน
@@mono5950 ผิดครับ คิด 3 เฟสรวมกันครับ จะบาล๊านซ์ หรือไม่ก็ตาม
ง่ายๆเฟสไหนใช้มากแบ่งไปเฟสอื่นคับ
@@54321abcd เอาไว้ลดต้นทุนกำลังแหล่งจ่าย หม้อแปลงมันผิดตรงไหน
@@54321abcd ช่วยอธิบายทีครับ
แจ๋วครับมียกตัวอย่างไฟที่บ้านด้วย...ดีๆๆๆ
สอนรวม3เฟสเป็น1เฟสหน่อยครับ ไดรนาโม่ปั่นไฟครับ ขอบคุณล่วงหน้านนะครับ
เพิ่มหน่อนนะครับไฟสองเฟสที่เขาใข้กันในยุโรปที่พี่พูดส่วนใหญ่จะใช้ในประเทศที่มีแรงดันไฟ110vครับเพราะเขาเอาสองเฟสมาขับพวกของที่กินกระแสเยอะๆเช่นเตาอบ ไมโครเวฟ เครื่องทำความร้อน ความเย็น อะไรต่างๆครับ เพราะถ้าเขาใช้ไฟ110เฟสเดียวมันจะกินกระแสเยอะมากครับ เขาเลยเอาสองเฟสมาจั้มกันเพื่อให้ได้ไฟ220vครับ
สุดยอดอธิบายเข้าใจง่ายมาก
กดติดตามเลยครับ
Content ดี น้ำตาจะไหล
ถ้าวิชาการเยอะก็จะมึนเรยผม นีมีภาพเข้าใจง่ายๆเรยครับ😘😘
อธิบายน่าฟัง ไม่น่าเบื่อเหมือนตอนเรียนคนละเรื่อง
ภาพประกอบดูเข้าใจง่ายมากครับ
น่าจะเป็นอาจารย์ทำคลิปสอนนักศึกษา ลองพูดแบบชาวบ้านๆให้ดูซักคลิป จะดี
สุดยอดครับท่าน.กำลังศึกษาหาความรู้อยู่ครับ