Fun Fine Flow
Fun Fine Flow
  • 209
  • 111 727
โยคะองค์รวม ep2 | รู้จักร่างกาย (2/2) ฝึกกล้ามเนื้อโครงร่าง บริหารข้อต่อ ให้แข็งแรงและมีสมดุล
โยคะองค์รวม ep2 | รู้จักร่างกาย (2/2) ฝึกกล้ามเนื้อโครงร่าง บริหารข้อต่อ ให้แข็งแรงและมีสมดุล
Переглядів: 81

Відео

โยคะองค์รวม ep1 | รู้จักร่างกาย (1/2) ฝึกกล้ามเนื้อ บริหารข้อต่อ ให้แข็งแรงและใช้งานได้จริง
Переглядів 112День тому
เลือกดูแต่ละช่วงที่ 👇 00:00 เกริ่น และวอร์มอัพ​ 11:18 เริ่มโฟล์ว 31:50 คูลดาวน์
5 กระบวนท่า | ลดโอกาสบาดเจ็บที่ข้อต่อ ปราบความเอื่อย เพิ่มความแข็งแรง เพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตได้
Переглядів 24114 днів тому
เลื่อนไปดูชุดท่าต่าง ๆ ได้เลยค่ะ 00:00 เกริ่นเกี่ยวกับสาระที่จะนำเสนอและกติกาเบื้องต้น 01:40 กลุ่มที่ 1 วูล์ฟ -​ โลว์ลันจ์ - ครึ่ง​หนุมาน 05:25 กลุ่มที่ 2 เด็ก -​ คุกเข่า -​ งูเล็ก 07:20 กลุ่มที่ 3 ภูเขา - เก้าอี้ 09:16 กลุ่มที่ 4 นักรบ 3 - ถอนสายบัว 11:28 กลุ่มที่ 5 หมาก้ม - กระดาน - จตุ​รังกา​ - กระดาน - หมาก้ม 13:45 สาระเล่าสู่กันฟัง เรื่อง การบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก และมัดใหญ่ ตลอดจนความคล่...
โยคะฝึกความทนปอด สร้างความแข็งแรง และฝึกสมาธิขณะเคลื่อนไหวร่างกาย | ชำนาญการ 1-2​
Переглядів 9121 день тому
โยคะฝึกความทนปอด สร้างความแข็งแรง และฝึกสมาธิขณะเคลื่อนไหวร่างกาย | ชำนาญการ 1-2​
โยคะกระตุ้นการทำงานกล้ามเนื้อและข้อต่อ คลายเมื่อยขบจากการอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ | ฝึกระหว่างพักได้สบาย
Переглядів 120Місяць тому
โยคะกระตุ้นการทำงานกล้ามเนื้อและข้อต่อ คลายเมื่อยขบจากการอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ | ฝึกระหว่างพักได้สบาย
มักโยคะ EP6 มักสบาย | โยคะเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียดกายใจ และฝึกหายใจอานาปานสติ
Переглядів 125Місяць тому
มักโยคะ EP6 มักสบาย | โยคะเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียดกายใจ และฝึกหายใจอานาปานสติ
มักโยคะ EP5 มักม่วน | วินยาสะ ft. ไพรมอล เผาผลาญ​พลังงาน ฝึกได้ทุกช่วง และการหายใจแบบสิํหปราณายามะ
Переглядів 92Місяць тому
มักโยคะ EP5 มักม่วน | วินยาสะ ft. ไพรมอล เผาผลาญ​พลังงาน ฝึกได้ทุกช่วง และการหายใจแบบสิํหปราณายามะ
มักโยคะ EP4 มักยาก | โยคะยืดบิดและดัดตน 101 ฝึกได้ทั้งสายบ่ายเย็น และการหายใจแบบนาดีโชดัน
Переглядів 129Місяць тому
มักโยคะ EP4 มักยาก | โยคะยืดบิดและดัดตน 101 ฝึกได้ทั้งสายบ่ายเย็น และการหายใจแบบนาดีโชดัน
มักโยคะ EP3 มักง่าย | โยคะเอื่อยเรื่อยง่าย สไตล์คาร์ดิโอ​โซน 1 ฝึกได้ทั้งวัน และฝึกหายใจแบบอุตฺไชย
Переглядів 231Місяць тому
มักโยคะ EP3 มักง่าย | โยคะเอื่อยเรื่อยง่าย สไตล์คาร์ดิโอ​โซน 1 ฝึกได้ทั้งวัน และฝึกหายใจแบบอุตฺไชย
มักโยคะ EP2 มักแฮง | โยคะแรงต้าน จู่โจมกล้ามเนื้อ สร้างพลัง ฝึกขณะแรงยังล้น และฝึกหายใจแบบกปาลภาติ
Переглядів 1592 місяці тому
มักโยคะ EP2 มักแฮง | โยคะแรงต้าน จู่โจมกล้ามเนื้อ สร้างพลัง ฝึกขณะแรงยังล้น และฝึกหายใจแบบกปาลภาติ
มักโยคะ EP1 มักบ่อลืมหูลืมตา | โยคะสร้างความคล่องตัว เพื่อเริ่มต้นวัน และฝึกหายใจแบบ​สุญญากาศ​
Переглядів 3582 місяці тому
มักโยคะ EP1 มักบ่อลืมหูลืมตา | โยคะสร้างความคล่องตัว เพื่อเริ่มต้นวัน และฝึกหายใจแบบ​สุญญากาศ​
ฝึก 6 ท่า บรรเทา ฟื้นฟู ป้องกัน อาการเจ็บร้าวสะโพก ปวดก้น
Переглядів 3302 місяці тому
ฝึก 6 ท่า บรรเทา ฟื้นฟู ป้องกัน อาการเจ็บร้าวสะโพก ปวดก้น
เพียงทำ 5 ท่า บอกลาอาการปวดหลังได้แบบยาวไป
Переглядів 3,6 тис.2 місяці тому
เพียงทำ 5 ท่า บอกลาอาการปวดหลังได้แบบยาวไป
โยคะสมถะ EP6 ฝึกกาย ไร้ใจยินดี (อาจ)​ไม่มีประโยชน์ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 3642 місяці тому
โยคะสมถะ EP6 ฝึกกาย ไร้ใจยินดี (อาจ)​ไม่มีประโยชน์ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะสมถะ EP5 ผ่อนคลาย สบายดี มีแรง | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 2223 місяці тому
โยคะสมถะ EP5 ผ่อนคลาย สบายดี มีแรง | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะสมถะ EP4 รากฐานมั่นคง ทรงฤทธิ์ ไม่ส่งเดช | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 1373 місяці тому
โยคะสมถะ EP4 รากฐานมั่นคง ทรงฤทธิ์ ไม่ส่งเดช | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะสมถะ EP3 สมถะ ไม่ง่าย เป็นไปได้ ที่นี่ ตอนนี้ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 2,1 тис.3 місяці тому
โยคะสมถะ EP3 สมถะ ไม่ง่าย เป็นไปได้ ที่นี่ ตอนนี้ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะสมถะ EP2 จุดยืน ดี มีสาระมากกว่าท่าสวย ๆ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 1,4 тис.3 місяці тому
โยคะสมถะ EP2 จุดยืน ดี มีสาระมากกว่าท่าสวย ๆ | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะสมถะ EP1 หายใจ แบบนี้ มีแรง ดี | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
Переглядів 8343 місяці тому
โยคะสมถะ EP1 หายใจ แบบนี้ มีแรง ดี | กุญแจสำคัญสู่ความปังในการฝึกฯ
โยคะยืดเหยียด เพิ่มทักษะกล้ามเนื้อ ป้องกันอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ฝึกหลังเล่นเวทยิ่งดี
Переглядів 6554 місяці тому
โยคะยืดเหยียด เพิ่มทักษะกล้ามเนื้อ ป้องกันอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ฝึกหลังเล่นเวทยิ่งดี
ฝึกท่าไพรมอล 3 ชุด ช่วยฉุดร่างลุกจากพื้นได้คล่อง ยืดอายุขัยได้​อีก | โยคะ​ระดับ ​1 Ep.4
Переглядів 2,2 тис.7 місяців тому
ฝึกท่าไพรมอล 3 ชุด ช่วยฉุดร่างลุกจากพื้นได้คล่อง ยืดอายุขัยได้​อีก | โยคะ​ระดับ ​1 Ep.4
โยคะบริหารกล้ามเนื้อก้น ขา ฝ่าเท้า ให้แข็งแรงและคล่องตัว | โยคะระดับ 2 Ep. 4
Переглядів 3077 місяців тому
โยคะบริหารกล้ามเนื้อก้น ขา ฝ่าเท้า ให้แข็งแรงและคล่องตัว | โยคะระดับ 2 Ep. 4
หมาก้ม กับเทคนิค​น่ารู้ ให้ประโยชน์​อะไรบ้าง x ก้มอย่างไรให้ไม่เสี่ยงบาดเจ็บ
Переглядів 1117 місяців тому
หมาก้ม กับเทคนิค​น่ารู้ ให้ประโยชน์​อะไรบ้าง x ก้มอย่างไรให้ไม่เสี่ยงบาดเจ็บ
โยคะเอนหลัง ฝึกใช้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ | ฝึกอย่างไรให้ไม่ลงข้อ ไม่เจ็บหลัง | ระดับ 3 EP. 3
Переглядів 5198 місяців тому
โยคะเอนหลัง ฝึกใช้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ | ฝึกอย่างไรให้ไม่ลงข้อ ไม่เจ็บหลัง | ระดับ 3 EP. 3
ฝึกแกนกลางและหน้าท้อง 4 ท่า ให้ทุกการบริหารร่างกายมีความหมายยิ่งขึ้น | โยคะระดับ 1 EP. 1 (35 นาที)
Переглядів 1,1 тис.9 місяців тому
ฝึกแกนกลางและหน้าท้อง 4 ท่า ให้ทุกการบริหารร่างกายมีความหมายยิ่งขึ้น | โยคะระดับ 1 EP. 1 (35 นาที)
ส้นเท้าในโยคะ เพิ่มการตระหนักรู้ช่วยโฟกัสกล้ามเนื้อและข้อต่อส่วนขาได้ตรงจุด
Переглядів 6510 місяців тому
ส้นเท้าในโยคะ เพิ่มการตระหนักรู้ช่วยโฟกัสกล้ามเนื้อและข้อต่อส่วนขาได้ตรงจุด
6 สเต็ป โฟล์วท่าไพรมอล (พื้นฐาน)​📍ใช้บริหารอุ่นเครื่องก็ได้ ใช้ออกกำลังกายจริง ๆ ก็สนุก
Переглядів 12110 місяців тому
6 สเต็ป โฟล์วท่าไพรมอล (พื้นฐาน)​📍ใช้บริหารอุ่นเครื่องก็ได้ ใช้ออกกำลังกายจริง ๆ ก็สนุก
บริหารข้อต่อแบบไดนา​มิค​ - ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 📌 บรรเทาความเมื่อยล้า 📌
Переглядів 26611 місяців тому
บริหารข้อต่อแบบไดนา​มิค​ - ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 📌 บรรเทาความเมื่อยล้า 📌
ยืนด้วยไหล่ - ท่าโยคะเหล่านี้ ดู ๆ แล้วก็ไม่น่าจะยาก แต่ถ้าขาดการตระหนักรู้อาจพลาดทั้งชีวิตได้!
Переглядів 16411 місяців тому
ยืนด้วยไหล่ - ท่าโยคะเหล่านี้ ดู ๆ แล้วก็ไม่น่าจะยาก แต่ถ้าขาดการตระหนักรู้อาจพลาดทั้งชีวิตได้!

КОМЕНТАРІ

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 дні тому

    One quality of muscles we mostly don't aware of is stability. When thinking of strength we may usually think about big force in motion. But to this simple variation, it will allow the practitioners to perform transitions of poses in less motion, less height, less momentum, but probably the same force (which by eliminated momentum like this it technically effects in a bigger force) and that will add bigger challenge to muscles stability. No big leverage space for joint discs or socket allowed, we as well invite the skeletal muscles to get involved. This simple variation is a good start to allow practitioners to tune in body structures. Let's get to know our forces in minimal momentum and be soaked in with our USABLE strength 🫂💚

  • @funfineflow
    @funfineflow 5 днів тому

    This variation of plank exercise is mainly to benefit stability / strength to upper body. Hence when perform the moves you won't feel as much weight to lower body, as you do not put most weight at lower body. But still with this simple technique you can find your hips height in regular plank 🫡 Enjoy!

  • @funfineflow
    @funfineflow 6 днів тому

    Gaining strength, balance and flexibility in gym, as well the great mindfulness in studios are great... Tho, we only can grade the above qualities as "PASS" when... They "altogether" can be brought up into uses in real life. Spend quality times in gym, on mat and in the virtual world, yet... Don't forget to spend even more utmost quality timesss in your own Reality. It's not only for show off!!​ It's to allow and support us to live real life effectively and efficiently 🫂🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow 9 днів тому

    Extra message; - Remember to engage upper back and lat muscles for Chaturanga, as well for chin stand - you shall also feel your triceps and lats work hard - modified version ✅ is to put elbows under torso / until we gain enough strength to the mentioned muscles. - shall not ❌ feel force at shoulders, - shall not 📛 feel tension at elbows. Arm Balance practice in yoga is not just about those muscles along the length of arm, but... It's very necessary to activate those muscles at armpits, lats, chest, and yes, that upper-back. Eventually, when we practice chin stand we gain strength at mentioned muscles. It's not about WHAT to pose It's abouy HOW to pose Namaste! 💚

  • @funfineflow
    @funfineflow 13 днів тому

    Big apologies for forgetting to add the little tips of how to simply engage the upper-back on vid. Hence, here is to engage upper-back ; -​ 1. Pull shoulders aback, then 2. pull shoulders downwards mid body Enjoy your upper-back day 🥰 P. S. Main reason why we should engage upper back is very straight forward, it's to target exercises at upper-back and lat muscles. But the side effects are gold. As when engaging the mentioned muscles, we can protect our joints - such as elbows, shoulders, wrists from harms. Also when muscles are used and joints are protected then we can eliminate the injuries that may happen to bones, nurves ot fascia. Cherry top of that, we gain strong and well elegant looking posture that is not just for the looks, but also effects a lot to our confidence in living our daily life. Exercise is good start but proper postures in exercises is GOLD 🥰

  • @funfineflow
    @funfineflow 17 днів тому

    ขอเติมภาษาไทยที่นี่และคอมเมนท์​นะคะ (เพราะความยากและระดับชั้นของภาษาที่ละเอียดประณีต​มากกว่าตัวเดียวเลยค่ะ) ในการออกกำลังกายแรงต้านหรือแบกน้ำหนัก สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ❌การเริ่มต้นและหรือหยุดที่เป้าหมายแบบเอนลำตัวไปข้างหน้า และพับสะโพกเล็กน้อย ✅ควรเริ่มและหยุดที่เป้าหมายแบบตัวตรง สะโพกตรง ไม่พับ ไม่แอ่นแง้น เนื่องจาก : การแบกน้ำหนักแบบเอนลำตัวไปข้างหน้า พับสะโพกเล็กน้อย ณ ตอนเริ่มหรือหยุดที่เป้าหมายนั้น น้ำหนักของสิ่งที่แบกจะไปกดที่หลังส่วนล่าง (ลัมบาร์) ไม่สามารถออกแรงจากกล้ามเนื้อลำตัวส่วนท้องน้อยได้เต็มกำลัง ❌ อันจะเพิ่มโอกาสในความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย​แก่หลังส่วนล่างได้ และสาว ๆ ที่ต้องการควบคุมจัดการเจ้าพุงหมาน้อยก็ยังต้องนอยด์แบบไม่มีที่สิ้นสุดเลยด้วย ✅ การแบกน้ำหนักขณะ​สะโพกตรงนั้นทำให้เราสามารถ​ควบคุม​การใช้งานกล้ามเนื้อลำตัวทั้งหมดได้ดี รวมถึงส่วนหน้าท้อง หรือตำแหน่งที่เกิดปัญหาพุงหมาน้อยนั่นเอง ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ สามารถ​ลดความเสี่ยงการเกิดอาการบาดเจ็บที่หลังส่วนล่างได้ ⭐ หมายเหตุ กรณี​ต้องการฝึกกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเป็นพิเศษ สามารถ​ใช้ท่า กู๊ดมอร์นิ่ง​แบบแบกน้ำหนักด้านหลังเบา ๆ ได้ หรือหากต้องการแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้น แนะนำให้ฝึกท่าแบ็คเอ็กเทนชั่นบนเก้าอี้ลาด วางสะโพกบนเบาะ เหนือสะโพกขึ้นมาอิสระ​ เกร็งแกนกลางลำตัวและพับลำตัวลงแล้วยกขึ้นตำแหน่งเลยผ่านสะโพกนิดหน่อย.. สามารถ​แบกน้ำหนักไว้บนหลัง หรือกอดที่หน้าอกได้ อย่าลืมว่าแม้วันนี้จะเป็นวันเล่นขา แต่เราต้องเอ็นเกจ กล้ามเนื้อลำตัวช่วงบนด้วย หาใช่แยกส่วนแล้วส่วนที่ไม่ฝึกจะได้พัก 100 % นะคะ เพื่อน ๆ ควรหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม และฟังเสียงร่างกายด้วยเสมอ อย่าให้การออกกำลังกาย​มาทำให้เราสูญเสียนะคะ 🫂💚 ---------- ป.ล.เทคนิคพื้นฐาน 1.ยืนให้ตรงเต็มความสูง เหยียบเท้าให้มั่นคง 2.สะโพกขนานเสื่อ/ผนังห้องด้านหน้า หลังล่างตรงธรรมชาติ​ 3.ควมคุมกล้ามเนื้อแกนกลางแบบรัดเข็มขัด (brace) หายใจเข้าไปที่ลำตัวโดยให้คงความรู้สึกว่ามีเข็มขัดใหญ่ ๆ รัดกลางลำตัวอยู่ 4.หายใจเข้าแล้วเคลื่อนลำตัว, ถึงปลายทางที่หมายแล้วหายใจออก 5.รักษาสภาวะลำตัวช่วงบนตลอดเวลา

  • @funfineflow
    @funfineflow 18 днів тому

    "The quicker you can get up, the more opportunities for you to advance your steps, the more opportunities you have to learn to get up, the more possibilities you become stronger, and the more possibilities you have on your get up, the more probabilities lie ahead on your path." It's nice to have something about yourself to show off, but.., how nicer it can be to be able to live this life to its full efficiency.. 💚💚

  • @daviddussard9732
    @daviddussard9732 19 днів тому

    😂😂😂😂😂

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Is this one of the most simplest pose in Yoga? Maybe, maybe... Well, let's perform this one like this ;- 1.Heels are either hip width apart or close - heeled 2. Stand on toes, then lower the sole and heel (allow ourselves to memorize the weight on our feet for the firm standings) 3. Square hips, neutral back 4.pull shoulders back then down to mid body 5. Allow your palms to facing forwards 6 let's soak yourself with the whole body Power Engagement for as long as you wish. P. S. Wish this would help you guys understand this pose to another level. It's yes just a standing but.. TADA, is mountain strong 😁

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    For those who love challenges,I may recommend you to do; ⬇️ - 5 - 10 push ups from baby cobra to high plank (straight arm baby cobra); then - hold baby cobra for 8 seconds; finish with - push up to straight arm baby cobra and hold for 8 seconds ⬆️ call 1 set, rest for a couple minutes. Repeat the set for 3 sets to 5 sets It can be fun 🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Do you know how often the yoga practitioners perform the poses on their feet? Do you notice how often the yoga practitioners pay mindfulness wise in rooting their feet? Do you know how often the yoga practitioners perform advanced looking poses and hiding their non necessary injures for years? It's time to be mindfully open hearted yogi, and take a good attention in physiology exercises. Make it realistic, make every mantra means in all levels ; physically, mentally, spiritually, dimensionally 💚🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    You guys may have heard about the mantra of success - Never Give Up, more than enough in this life time. But there is one thing we may not aware of 👉 this mantra is like a very honorable finest kitchen knife. I mean, it is only used for good in all scenarios and by all types of human? Now back to the Never Give Up again. Do you notice the very thin line of Give Up and Rest? It's time to take a good finest look of your push, push, push and push.. etc, if it is playing a role by your egoistic side of self or logical and more realistic side of self. Rest, by science, is not a Give Up, but actually (not virtually neither imaginary wise) is an essence to all growth and success. It's necessary in physical levels and emotional (also spiritual) levels. Plz friends, don't get fooled by your evil, take a good rest and ejoy the other interests in this life... You may be amazed of how advanced you feel with proper healthy mindset 💚 You don't want to be cultivated YOGI. You want to become physically and mentally healthy practicing Yoga exercises, and be that open minded & hearted person to exercise 🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Whiplash is the music I didn't realize right away that I had looked for. It took me hours till I gave up and started looking for jazz that would go with either the moves or the message of this video. I eventually found it! Yeah! But well, that best part selected for the moves in this video might not be good fit enough. Also, if it hurts your ears while watching, pls apologize and volume down to a bit dB (decibel) instead. Though, all of all I only wish you guys get the good messages from this clip and let the Whiplash remind you that whiplashing your neck part a lot may cause spinel disc injuries in long run... 😣 Plz stay informed, realistic, strong and healthy with, from and by yoga. Namaste 🙏

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Head banging is one of the causes to Spinel Disc issues. In the gentle practice like yoga, we may easily unaware of this habit that many of us perform often enough. Even if (rather than when) it's not a very dangerous movement, but in some scenarios that we have options to train slightly different to reduce the risks in long run, and probably can gain more benefits, I think we better choose that option (s). With this same technique of engaging upper-back and LAT muscles, for stronger arm balance, it conveys the more elegant result of pray raise. And in the same time, it helps prep us to heart opening and back bending - for the next chapter to come to those who look forward to stronger and healthier back bend lessons. Hope you guys stay informed, feel enjoy and get stronger with Yoga 🙏

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Arm Balance poses in Yoga This is another big mistake usually found performed in Yoga practices. As most of us, yoga practitioners, are learning the moves by mimicking the looks of poses and saying that mantra of mindfulness firstly, and most likely, and only. It's time to come back to the foundations of our physical knowledge. Yoga is not only about the blissful mindset, it's still based on the facts of exercising the solid body. Arm Balance is not just about our arms the limb (from under shoulder to hand). The source of power is from our chest, back and side body, as well as the core of body. The poses in this small vid show you solution to engage upper-back and LAT to arms for the powerful performance. 🤏 If we look to the ancient practices finely we will find that upper back of the performers tilted aback slightly and their chest to neck and chin seemed perking up a bit ( their forehead /6th Chakra /3rd eye in receptive position). Let's examine the Baby Cobra pose...As It's the Key! Our body throughout most the power poses is supposed to be like that. And Baby Cobra is the horizontal version of Mountain Pose, in standing, which common friends, it's the starting pose! Plz friends, Engage the whole body, including that upper-back and LAT ✅

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Often times!!... (leave the 'often time' stood) In case you are new to yoga, folding poses are those that we close the book of our body. Haha.. I mean when we bend down, aiming to clap close upper body to our lower body or vice-versa. And the bend or the fold happens at our hinging joints at mid body (yeah, that 👉 hips). Often times!! We, yoga practitioners, forget to pay mindfulness attention at Hinge, we Fold / Roll / Round / Bend our mid back and above, and fix our lower back to pelvic bones stuck in 90° angle wise (to whatsoever wall wise we facing). Is it that bad.?? What do you think,,? let's try not hinging and hinging versions in comparison, shall we? And yes with that mindfulness bliss. Just kidding I will share my opinions here ⬇️ Yes! It's so critically Bad, coz... 1. The ancient Yoga gurus wanted us to practice the hinges for the sakes of our hip joints, muscles and fascias, to increase the abilities in both strength and flexibility... But we unmindfully betray our gurus 🥺 2. We attack our lower back, unmindfully, while trying to advance the poses. Which is so against the great wishes of healing - with - yoga motto 😭 3. For those who want to fix puppy pouch, like me, we never come close to that finest result and then we keep cutting our necessary nutrients from our body to intake enough... 😱 And.. 4. After number 3 then we get hungry, stressed and unmindfully unwell. Well, please friends "Do The Hinges!" ✅ P.​S. The interpretation of my messages are serious, genuine and sincere. Plz, apologize for my humor in sentences🙏

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Core Bracing.. What?.. Well, you may imagine the power breathing in Olympics weight lifting techniques in comparison with the back blocking on operation table for abdominal surgery. They share one of all common purposes, which is to protect our Spinel Bones and Discs. Description to Yoga Chair Pose : - 0. Root the feet firmly , esp stick the ball part and pinch those teos to the ground 1. square hips 2. Neutral our spine 3. Engage the core muscles 4. Inhale to stomach aiming to expand muscles to side body (all sides) not to raise ribcage upward to heaven direction 😨 5. Move anything but not that 2nd and 3rd Chakra (the lower back) 😊. Oh! and not to miss that hip hinging part. P. S. Hip Hinging is often mysteriously mistaken in yoga 🥺🥺

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    โยคะในกลุ่มท่าดัดตน เป็นท่าขั้นสูง สูงที่ว่าคือ ความแข็งแรงสูง และความยืดหยุ่นสูง นอกจากนั้นต้องใจเย็นสูงด้วย (สิ่งที่ไม่ควรสูงคือความมุ่งมั่นร้อน ๆ อัตตาร้อน ๆ 😅) ท่าที่พิสดารเป็นท่าที่ฝึกกันได้ทุกคน แต่ต้องฝึกอย่างเข้าใจ ไม่เช่นนั้นแล้วกระดูกสันหลังของเราจะรับเคราะห์ และเราคงไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นแน่ ๆ ดังนั้นหากไม่มั่นใจตัวเองจริง ๆ ว่าแข็งแรงและยืดหยุ่นพอให้เราหาเพื่อนช่วยฝึก สำหรับใครที่ต้องการฝึกลำพัง จะต้องไม่ลืมฟังเสียงร่างกายหนักหน่วงนะคะ ท่าที่นำมาฝึกในคลิปนี้ เป็นท่าดัดตนที่มีพื้นพยุง​มีแขนขาพยุง แบบนอนคว่ำลิซาร์ด​เข้าสู่ขาพาดท้ายทอย เป็นท่าในตำแหน่งแนะนำสำหรับมือใหม่หรือมือเก่าที่ไม่ได้ฝึกดัดตนมานานมาก เพราะปกป้องกระดูกสันหลังได้มาก ส่วนท่านั่งที่ยากขึ้นมาผู้ฝึกใหม่ต้องอาศัยทักษะการบิดตัวช่วยก่อนเพื่อไม่ให้แนวกระดูกสันหลังคดหรืองอ... สรุปว่า 1.ฟังเสียงตัวเองเยอะ ๆ นะคะ 2.ฝึกความแข็งแรงให้ได้ 3.ฝึกยืดเหยียดให้ได้ 4.แล้วค่อยฝึกดัดตนแบบปลอดภัย จึงค่อย ๆ ไต่ระดับไปสู่แบบแอดวานซ์​กันนะคะ 5.หากไม่แน่ใจให้หาเพื่อนช่วยฝึกในท่าดัดตนนะคะ

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    การวางน้ำหนักกระจายให้ทั่วฝ่าเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งลงน้ำหนักไว้ที่อกเท้าและใช้นิ้วเท้าช่วยยึดพื้นที่เราเหยียบยืนอยู่ให้มั่นคงที่สุด เป็นมากกว่าการทำให้เรามีสมดุล​ในการยืนบนเท้า แต่ยังช่วยให้ฝ่าเท้าของเราแข็งแรงด้วย เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าการที่เราวางน้ำหนักบนฝ่าเท้าที่ไม่มั่นคง ลงน้ำหนักที่ส้นเท้ามากกว่าส่วนอกเท้า, การเอียงฝ่าเท้าเข้า, หรือเอียงฝ่าเท้าออกขณะเดิน ยืน กระโดด วิ่ง หรือโฟล์วโยคะ เป็นการทำร้าย หัวเข่า สะโพก หลังล่างของเราด้วย ทำให้เราประสบปัญหาเกี่ยวกับฝ่าเท้า เข่า สะโพกและหลังล่างมากมาย หันมาสนใจกับการยืนให้แข็งแรงกันนะคะ แล้วการออกกำลังกายของเพื่อน ๆ ไม่ว่า เราจะคิดไปเองว่ามันดูแอดวานซ์​น้อยกว่าใครอื่นเขาเพียงใด แต่เชื่อเถอะร่างกายของเพื่อน ๆ เขามีความคิดอื่นที่ดีกว่ารอไว้ชื่นชมเพื่อน ๆ อยู่ค่ะ🫂😊

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Easy flow เป็นโฟล์วใช้แรงปานกลาง ใช้กล้ามเนื้อปกติ ต่างจากการโฟลว์​แรงต้านที่เน้นใช้กล้ามเนื้อหนักหน่วงมากกว่า เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวต้านทานกับแรงโน้มถ่วงที่มากกว่าอีกขั้น Easy flow นี้เหมาะกับวันสบายแทบทุกวันและสามารถโฟล์วได้แทบทุกช่วงของวัน แต่จะมีข้อควรระวังในการฝึกตอนเช้าว่าควรวอร์มร่างกาย (หลอดเลือด และข้อต่อ)​ อย่างเหมาะสมก่อน อย่างไรก็ดี easy flow เป็นการฝึกที่ทำให้จังหวะการเต้นหัวใจถี่กว่าปกตินิดหน่อยตลอดการฝึก จึงไม่ควรโฟล์วเสร็จแล้วพักให้หายเหนื่อย น้อยกว่า 2 ชั่วโมงแล้วเข้านอนเลย ~ เพราะจะทำให้หลับยาก และหลับไม่ลึกนั่นเองค่ะ 😅 การบิดและดัดตนนั้นก็สามารถเพิ่มเข้าไปได้ แต่การดัดตนที่พิสดาร​มาก ๆ นั้นมีขั้นตอนก่อน ขณะ และหลังจากฝึกที่ซับซ้อนกว่า วีรนุชจึงไม่นิยมนำท่าดัดตนมารวมใน easy flow​ เพราะท่าดัดตนที่พิสดาร​นั้นใช้ความหนักหน่วงของกล้ามเนื้อมากพอ ๆ กับการฝึกแรงต้าน แต่กล้ามเนื้อที่ใช้งานหนักกว่าในท่าดัดตนจะเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscles) ซึ่งเมื่อมีการทำงานแบบแรงต้าน ดังนั้นความดันโลหิตจะสูงกว่าปกติ จึงไม่เหมาะเข้าท่าดัดตนในหลาย ๆ ช่วงของวัน.. โดยสังเขปค่ะ แต่หากใครอยากฝึกดัดตนแบบ 101 รอฝึกตามใน ep4 เลยค่ะ หรือหากไม่ฝึกตามจะรับชมเหมือนดูเลคเชอร์ก็ได้นะคะ ขอบคุณ​ค่ะ 🫂

  • @krupoy_Channel
    @krupoy_Channel Місяць тому

    ครูแข็งแรงมากเลยค่า

    • @funfineflow
      @funfineflow Місяць тому

      ขอบคุณ​มากค่ะ🙏 จริง ๆ แล้ววีรนุชยังไม่ถือว่าเป็นครูโยคะนะคะ เรียกว่าเป็นผู้เรียนผิด ๆ มาเยอะ จนวันหนึ่งเริ่มเปิดใจรับศาสตร์​การบริหารร่างกายมากขึ้น จึงพอจะเริ่มเห็นเค้ารางของสาระอะไรสักอย่างที่น่าจะสามารถ​นำมาปรับนิดหน่อย เพื่อให้การฝึกร่างกายได้ประโยชน์​กับการเข้าท่าโยคะได้ และพยายาม (แล้วและยังพยายามอยู่)​ จัดลำดับสารบบ​สาระเหล่านั้นและนำเอามาแบ่งปัน โดยคำนึงว่าเพื่อนพี่น้องที่ชอบฝึกฝนร่างกายและจิตใจ​ไม่ว่าด้วศาสตร์​ไหน ๆ อาจจะเพียงถูกสะกิดด้วยข้อความที่แม้จะเป็นคำ ๆ เดียวจากทั้งหมดทั้งมวลนั้น แล้วสามารถไขล็อก​กุญแจแห่งการฝึกตน แล้วทำให้สามารถก้าวข้ามสิ่งกีดขวางการพัฒนา​บางประการที่ประสบอยู่​ไปได้ค่ะ ขอบคุณ​มาก ๆ นะคะ🙏🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow Місяць тому

    Yes, there are variations of crow pose. But do we aware that crow is a fundamental pose to handstand. Which means we do not aim to press knees to triceps. In fact we aim to put our weight on upper body and go upside-down, while engage the whole body to stay in momentum and balance. Let's explore back to the understanding about which part of body or which muscles we will have to engage in the pose (or poses) Every time we go arm balance variations, our upper-back and lat would representing the glute and hips. By engaging lat make us able to engage mid back to work on the pose, too. Technically, Arm Balance poses are not only about arms and abs, it's the back and the whole body standing on hands, elbows or shoulders.. 😊

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    ก่อนอื่น ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงในความเสียงแตกของอุปกรณ์​ในคลิป​นี้นะคะ 🙏🙏 สำหรับโยคะแรงต้าน / มักแฮงนี้ เป็นการโฟลว์​ท่าโยคะทั่วไป แต่เทคนิค​การเข้าท่า หรือเปลี่ยนจากท่าหนึ่งไปสู่อีกท่าหนึ่งนี้ปรับเอาเทคนิค​การออกกำลังกายประเภท​แรงต้านเข้ามาใช้นะคะ อาทิเช่น การสควอท (ในการยกน้ำหนักทั้งแบบพาวเวอร์​ลิฟต์ และแบบโอลิมปิกลิฟต์)​ การคะลิสเธนิกส์ (calisthenics),... โฟกัสการบังคับใช้กล้ามเนื้อที่เป็นพระเอกเด่นของแต่ละท่า (เช่นช่วงล่างลำตัว หรือช่วงบนลำตัว)​ และพระเอกแฝงของทุก ๆ ท่า (แกนกลางลำตัว) ซึ่งหัวใจสำคัญคือ 1. การปกป้องหลังล่าง 2. การตระหนักถึงความมั่นคงของรากฐาน (มือ, เท่า, สะบัก, เข่า, ก้น เป็นต้น) 3. การหายใจลึกนิ่ง สม่ำเสมอ ในรูปแบบโฟล์วแรงต้านนี้ ข้อต่อมีความสำคัญ​เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ มีการใช้องศา​การพับย่อ -​ ยืดในอัตราความต่างสูง เพื่อเพิ่มแรงต้าน และในขณะ​เดียวกัน ข้อต่อก็ต้องได้รับการปกป้องจากกล้ามเนื้อสูงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ฝึกหลงลืมตัวออกแรงที่ข้อต่อ ฉะนั้นแล้วต้องให้ความสำคัญ​กับสรีระที่ถูกสุขลักษณะ​ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยง ______________ ⛔⛔⛔ การฝึกแรงต้านไม่เหมาะกับผู้มีปัญหาสุขภาพ​ โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรค​ความดันโลหิต ภาวะคอเลสเตอรอล​ หรือภาวะอื่นอันแพทย์​แนะนำควรหลีกเลี่ยง ‼️และหากประสงค์​ออกกำลังกาย​ประเภทแรงต้านควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์​เจ้าของไข้ อย่างเคร่งครัด 🛑🛑 บุคคล​ทั่วไปไม่ควรฝึกแรงต้านในช่วงเวลาที่หลอดเลือดยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ เช่น หลังตื่นนอนต่ำกว่า 2 ชั่วโมง หรือก่อนเข้านอนน้อยกว่า 3 -​ 4 ชั่วโมง นอกจากอยู่ภายใต้การควบคุม​ดูแลอย่างเหมาะสมของโค้ช _________________ ขอให้เพื่อน ๆ ปรับวาริเอชั่นท่าตามความเหมาะสมกับตนในแต่ละวัน และมีความสนุกและสุขสภาวะกับการออกกำลังกาย​ค่ะ 🫂😊

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    ท่าโยคะต่าง ๆ ในกลุ่มท่าเอนหลังและแอ่นอก จัดเป็นกลุ่มท่ายาก และต้องใช้การควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางอย่างหนักหน่วง ทั้งด้านที่ยืดและด้านที่หด ผู้ฝึกจะต้องไม่ผ่อนการใช้งานกล้ามเนื้อ เพราะอาจกระทบต่อหลังส่วนล่างได้ อันเสี่ยงอันตราย​และการบาดเจ็บได้ ดังนั้นผู้ฝึกควรคำนึงถึงการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพยุงลำตัวในท่านั้น ๆ ด้วยเสมอ และบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดกล้ามเนื้อด้วย ทั้งนี้ในกลุ่มท่าเอนหลังแอ่นอกนี้จะแบ่งกลุ่มท่าเป็น 4 ลำดับความยาก (เบา - หนัก) 1. จากตำแหน่งนอน ​- ทั้งหงายและคว่ำ (กระดูกสันหลังราบ) 2. จากตำแหน่งคลาน (กระดูกสันหลังแนวระนาบ) 3. จากตำแหน่งนั่ง และคุกเข่า (กระดูกสันหลังตั้งดิ่ง) 4. จากตำแหน่งยืน (กระดูกสันหลังตั้งดิ่ง) หวัง​ว่า​เพื่อน​ ๆ จะสนุก​และสุขกับ​การฝึก​ร่างกาย​นะคะ

  • @ThePlaceboPharmacist
    @ThePlaceboPharmacist 2 місяці тому

    พี่วีรนุช มีรับสอนออนไลน์มั้ยคะ หรือบ้านพี่อยู่แถวไหนคะ

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      พี่อยู่จว.ศรีสะเกษ​ค่ะ ยังไม่มีสอนออนไลน์​หรือสอนตัวต่อตัวเลยค่ะ ตอนนี้ เพียงจัดลำดับเนื้อหาโยคะให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์​การออกกำลังกาย (จากประสบการณ์ และความชอบ​ของพี่เป็นหลักค่ะ -​ซึ่งเป็นการศึกษาควบโยคะและยกน้ำหนักแล้วนำมาประมวลผลร่วมกัน😁) และทำคลิปแชร์กุญแจการฝึกที่พี่ประยุกต์​ใช้ในปัจจุบั​นนี้เพียงเท่านั้นค่ะ (เริ่มจาก โยคะสมถะ ตอนที่ 1 เป็นต้นมาค่ะ) แต่หากมีข้อสงสัยอะไรและอยากสอบถามเฉพาะจุดสอบถามเข้ามาได้นะคะ 😊

    • @ThePlaceboPharmacist
      @ThePlaceboPharmacist 2 місяці тому

      @@funfineflow ขอบคุณมากค่ะ พี่พูดถึง โยคี ในคลิป โดยส่วนตัวชอบโยคะทาง โยคีดั้งเดิมอยู่แล้วค่ะ แต่ดูคลิปในอินเดีย มัน advance มาก เรายังไปไม่ถึงค่ะ

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ​@@ThePlaceboPharmacist จริงค่ะดูแอดวานซ์​มาก แต่หากมองดี ๆ มีความคล้ายกับการฝึกยิมนาสติกอยู่นะคะ เพียงแต่เป็นแบบอยู่บนจุดเดิม และคำว่า โยคะ ก็เพียงให้หมายความถึง การฝึกฝน ดังนั้นการฝึกฝนโยคะก็ต้องกลับมาที่หลักสรีระศาสตร์​และการหายใจเหมือนกันกับยิมนาสติก​ ยกน้ำหนัก ฟีเกอร์​สเก็ต หรือแม้แต่บัลเลต์​อยู่นะคะ ใด ๆ ก็ขอกลับสู่คลิปสั้นนี้ จตุรังกา คือท่าดันพื้นในโยคะ จึงมีชื่อเล่นในสายตาผู้ฝึกตนแขนงอื่นว่า Yogi Push-Up ไปค่ะ ซึ่งจากการสะกิดนี้ทำให้เราสามารถมองจตุรังกาดูดี ๆ ว่าเมื่อมันคือการดันพื้น เราจะต้องทาร์เก็ตกล้ามเนื้อมัดใดเป็นสำคัญ เหมือนตอนดันพื้นธรรมดาปรับกับโยคะ พี่เคยดูคลิปแอชตังกา (อัษฎางคะ) ของกูรูอินเดียจะเห็นว่า จตุรังกานั้นคือท่างูขณะลอยจากพื้น ส่วนท่าหมาเงยก็คือท่างูใหญ่ที่ลอยจากพื้น โดยสังเขป ขอโทษ​เลยค่ะเขียนสะยาว 😅

  • @kobkob129
    @kobkob129 2 місяці тому

    จริงๆค่ะฝึกใหม่ๆบ้าพลังสรุปแล้วบาดเจ็บที่เข่าหายยากมาก ตอนนี้เน้นท่าที่เหมาะกับร่างกายเรา เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงดีสุดค่ะ❤❤❤

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      😅 5 ปีแรก เจ็บมันแทบทุกตรงค่ะ การฝึกท่าโดยไม่เก็ตวัตถุประสงค์​ของท่ามันร้ายยย.. 2 ปีมานี้ไปยกน้ำหนักแค่คิดว่าสร้างความแข็งแรงจะเจ็บน้อยลง... ปีแรกของการยกน้ำหนักยังติดเอาความไม่เก็ตกับสรีระและแหล่งแรงในการยกน้ำหนัก เจ็บหนักพอกัน เราจะไม่ติดกับดักแห่งท่าทางตลอดชีวิต จึงเริ่มจากการทำความเข้าใจท่าว่าวัตถุประสงค์​มันคืออะไร แล้วมันต้องได้อะไรโดยไม่เสียอะไรนอกจากแรง/เชื้อเพลิง/พลังงานที่จ่ายเข้าไป.. 1 ปีมานี่จึงได้เริ่มฝึกร่างกายโดยใช้ท่าทาง และอาจรวมถึงอุปกรณ์​ค่ะ เลิกแล้วการฝึกท่าทางโดยเอาร่างกายเป็นเดิมพัน​😅 ถ้ามันจะแอดวานซ์​มันจะต้องแอดวานซ์​จากจุดเริ่มต้นที่ชอบ ๆ ขอบคุณ​มากค่ะที่คอมเมนท์​แบ่งปันประสบการณ์​ชะตากรรม 🫂🫂

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    มันไม่สำคัญหรอกว่าเราฝึกร่างกายมากี่ปี กี่ชาติ มันไม่สำคัญหรอกว่าสำนักที่เราไปฝึกนั้นเก่าแก่ น่าเชื่อถือเพียงใด มันไม่สำคัญหรอกว่าดูด้วยตาแล้วท่าเราเป๊ะขนาดไหน มันสำคัญที่ว่า ฮาว คือการรู้จักจุดที่เราพุ่งเป้าในการฝึกร่างกาย.. เราฝึกกล้ามเนื้อ ฝึกเส้นเอ็น ฝึกข้อต่อ แล้วเราเข้าใจพวกมันไหม.. เลือกเอาว่าฝึกชั่วนาตาปีแล้วมีเพื่อนแท้คืออาการเจ็บ เพื่อแลกมากับท่าเป๊ะ ๆ หรือจะฝึกแม้วินาทีแต่เราควบคุมร่างกายของเราตรงจุด ทุกครั้ง ... อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ พูดต่อกันมา "ฝึกฝนจนเกิดเป็นความสมบูรณ์​แบบ" หากยังไม่เก็ตก็เอาไปอีกข้อ.. "มันไม่สำคัญว่าคุณฝึกฝนกี่ชั่วโมงกี่ปี มันสำคัญว่าวินาทีที่คุณฝึกนั้นคุณ​เป๊ะกับเป้าหมาย" ‼️อย่าลืมนะว่าคุณ​ฝึกร่างกายด้วยท่าทาง ไม่ใช่ฝึกท่าทางด้วยร่างกาย

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    การบริหารกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ไม่ใช่เพียงการสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องให้ดูสวยงามได้รูป แต่... เป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่ว่าจะหน้าท้อง ข้างท้อง และหลัง นอกจากนั้นยังรวมตลอดไปถึงก้นและต้นขาด้วย แกนกลางที่แข็งแรงจะปกป้องหลังล่างให้อยู่ในสรีระปกติดีมีสุข​คือ ตรงเป็นธรรมชาติ และคำว่าตรงนี่เองทำให้เราสับสน หากมีโอกาสเปิดภาพจำลองกระดูกสันหลังมนุษย์​ดูจะเห็นว่า โดยธรรมชาติ​แล้วหลังล่างจะมีข้อกระดูกเรียงตัวกันให้ดูแอ่นเล็กน้อย ดังนั้น ให้จับสังเกต​สะโพกเชิงกรานเป็นสำคัญ การฝึกแกนกลางโดยโค้งสันหลังส่วนล่างไปด้านข้าง (ข้างใดข้างหนึ่ง) เอนหรือโก่ง อาจทำให้เรา "รู้สึกว่าได้พัฒนา​แกนกลาง" แต่ในความเป็นจริงเราควบคุม​กล้ามเนื้อบริเวณ​นั้นน้อยมากและยังกระทำต่อข้อต่อตลอดเวลา จึงทำให้เกิดอาการเจ็บตั้งแต่เบา ๆ ไปถึงหนักหนาและอาจก่ออันตราย​ร้ายแรงได้ ต้องการฝึกแกนกลางอย่าลืมคำนึงถึงการคงสถานะและสภาวะหลังล่างให้เป็นธรรมดา​หรือ​ธรรมชาติ​มากที่สุดนะคะ แล้วเพื่อน ๆ จะได้กลับมามากกว่า ร่อง11 หรือ ซิกส์​แพ็ค​แน่นอนค่ะ 💚

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    เร่มต้นกันที่การบริหารร่างกายเพื่อสร้างความคล่องตัว (Mobility) ซึ่งใช้แรงไม่หนักมาก ใช้ท่าไม่พิศดาร​เพื่อเน้นอบอุ่นกล้ามเนื้อและหลอดเลือด ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและเส้นเอ็นที่อยู่ติดกับข้อต่อ ข้อพับมากที่สุด ความคล่องตัวนี้คือส่วนผสมของความแข็งแรงและความยืดหยุ่น และเวลาเราพูดถึงความยืดหยุ่นหัวก็มักจินตนาการ​ถึงคำว่า "ตัวอ่อน - ตัวแข็ง" ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะผลลัพธ์​ที่แอดวานซ์​มากก็คือดูตัวอ่อน แต่... นั่นไม่จำเป็น!! เรากลับมาที่ยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นหาใช่ความอ่อนปวกเปียก ความยืดหยุ่นในร่างกายนอกจากระบบหลอดเลือดแล้ว ระบบกล้ามเนื้อแล้ว ก็ให้รวมถึงระบบเส้นเอ็น และข้อต่อด้วย การยืดหยุ่นข้อต่อไม่ใช่การทำให้ช่วงข้อต่อยาวกว่าปกติ แต่ให้ยาวเป็นปกติไม่ย่อเอียง และถ้าเป็นข้อต่อแบบเป้าก็ยังสามารถ​หมุนได้ด้วย และจะทำเช่นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ ก็ต้องมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเป็นตัวพยุง​ ดังนั้นการฝึกความคล่องตัวนี้ จึงเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและเส้นเอ็น เพื่อให้ข้อต่อทำงานเป็นปกติหมุนได้ พับได้ บิดได้จากความยืดปกติ แน่นอน! ว่ามีการออกแรงกล้ามเนื้อด้วย การบริหารร่างกายใดไม่ใช้กล้ามเนื้อนั้นอันตรายนะคะ

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    ทำไมต้องหว่งเสื้อดว้ยเวลาทำงาน

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ขอบคุณ​นะคะที่อุตส่าห์​แสดงความคิดเห็นเข้ามา ถึงฉันจะยังไม่ได้ใส่ใจกับอัลกอลิทึมของระบบยูทูบกับการที่มีคอมเมนต์เข้ามาเยอะ ๆ เพื่อปั่นคลิป แต่คงไม่บอกหรอกว่าการมีคอมเมนต์ที่ถึงแม้นว่ามันจะปั่นแค่ไหนเข้ามามันแย่ เพราะอัลกอริ​ทึมมันไม่มีสามัญสำนึก​หรือจิตสำนึก สำหรับพวกมันแล้วข้อมูลก็คือ เลขฐานสองเหมือนกันหมด อย่างไรก็ดีหากคุณ​สนใจหาคู่แชท คู่ควงหรือเพื่อนจิ๊จ๊ะบนระบบเลขฐานสองนี้คุณก็น่าจะสามารถอ่าน vibration ของผู้สร้างคอนเทนต์​แต่ละคลิปแต่ละช่องออกอยู่แล้ว จะได้เลือกคลิกกับผู้สร้างคอนเทนต์​ที่คลิกกันนะคะ ฉันจะไม่ลบคอมเมนท์​ของคุณ​ออกหรอกค่ะ แต่อยากใช้โอกาสนี้ตอบไปตรง ๆ ว่าฉันมีเจตนาแบ่งปันสาระที่สื่อออกไปด้วยจิตแห่งคุรุ และกรุณาเถิดหากคุณไม่ได้ใส่ใจศาสตร์​เรื่องยิม โยคะ หรือเวทเทรนนิ่ง​คุณ​ควรจะรู้ดีว่าคุณเหมาะจะเปิดประตูบานไหนให้ตัวเองได้หรือบานไหนจะเปิดรับคุณนะคะ และขออภัยที่ฉันจะไม่ได้ตอบคอมเมนต์​ของคุณ​ในอนาคตค่ะ 🙏 หวังว่าคุณ​จักหาประโยชน์​จากสาระในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลอิสระมากมายที่ส่งผ่านไปมาอยู่ในควอนตัมรอบ ๆ ตัวนะคะ นมัสเต!

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    ท่าอะไรนะ

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    เออชัดกว่ากัน

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    ไม่ต้องผมซูมเองใด้

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    ตั้งใจอย่างดีไม่สั่นคลอนแน่นอนครับ

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    แชร์ง่าย ๆ สไตล์คนชอบเบ่งกล้ามดาก.. 🤭 วีรนุช คือบุคคล​หนึ่งที่ไม่ได้เก๋าในด้านเวท และได้รับฟังเทคนิคว่าด้วยการ ยื่นก้น ยื่นสะโพกไปด้านหลังให้โดนผนัง คือท่าที่จะพาไปสู่ความปังในการทำ RDL -​ Romanian Dead​ Lift, แล้วงัยล่ะ.. ยื่นก้นมันมีตั้งหลายแบบ ยื่นไปยื่นมาจนกล้ามหนีบก็มี แม้แต่ในท่ายืนพับลำตัวกับโยคะ เราก็ยื่นก้นกันบ่อยจนเกินพอ แล้วงัยล่ะโยคีหลาย ๆ ท่านประสบกับปัญหา เบ่งกล้ามดาก ไม่ถูกที่.... อยากได้ก้น กับโดนก้นหนีบจนเกิดอาการ โยคีบัตต์ (Yogi butt) ไปตาม ๆ กัน (เจ็บจี๊ดที่ปลายมัดกล้ามเนื้อบริเวณก้น)​ แถมเอาดี ๆ นะ ก้นไม่เป็นรูปยกกระชับดังหวัง... ไอ้เราก็ไปตีลังกาดูสาวหนุ่มก้นเด้งทำ RDL แล้วมาดูตัวเองจนเห็นเทคนิค​นี้... มันตรงประเด็นกว่า... "ก็ยื่นก้นไปหากำแพงสิ..!!" เสียอีก เอาเป็นว่า พับลำตัวที่สะโพก ก้นจะไปชนอะไรก็ช่างแมงกว่างเถอะ แค่หัวเข่ากับข้อเท้าดิ่งตรงกันตลอดนั่นแหละ.. ดิ่ง คือตั้งฉากนะฮัฟ ดิ่งแบบหอเมืองปิซ่าอ่ะมันเรียกเอน 😅😅

  • @pongjitsanden1116
    @pongjitsanden1116 2 місяці тому

    เป็นครูสอนออกกำกายมา13ปีแล้ว รู้ทุกท่า แต่ไม่สามรถ ทำให้ตัวเองหายได้ สอนทั้ง step,yoga,trampoline, และtabata.ออกทุกวันถ้าไม่ออกจะปวดหลังมาก เซ็งมาก

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ขอบคุณ​มากค่ะที่แวะมาแบ่งปันประสบการณ์🙏 โดยส่วนตัวก็มีอาการปวดจากการเมื่อยหรือพลิกเช่นกันค่ะ สามารถพบได้เสมอเพราะการนั่งนาน ๆ ก็จะไม่สามารถโฮลด์กล้ามเนื้อแกนกลางได้ 100% ตลอดเวลา หรือแม้แต่เวลาทำงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งมันคืองานใช้แรงค่ะ ประมาณขุดดิน เดินหิน ร่อนทราย ประสมปูน และบลา ๆ ๆ ๆ แต่จากประสบการณ์​ส่วนตัว อีกฝ่ายหนึ่ง ที่ยกน้ำหนัก ทำให้พยายามกรอกหูตัวเองตลอดที่ทำงาน และเวลาจะนั่งว่าท่าไหนจะเสี่ยงดึงเราไปเจ็บน้อยที่สุด ช้าที่สุด และหากต้องใช้แรงต้องอยู่ท่าไหนดีที่สุด /แต่ถามว่าป้องกันได้ 100 % ไหม.. ตอบว่าไม่ เพราะโมเม้นต์​มนุษย์​ลืมตัวมีเยอะค่ะ ทุกวันนี้ก็ยกน้ำหนักและเล่นโยคะค่ะ (นอกจากการทำงาน)​ ซึ่งก็จะเห็นด้านหยินและหยางของสองศาสตร์​นี้และปรับใช้ด้วยกันค่ะ ทุกวันนี้หากเกิดบาดเจ็บต้องกลับไปดูแล้วว่าวันนี้นั่งนานไหม นั่งอย่างไร และก้มลำตัวแบบไหน หรือยกของหนักอย่างไร ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ😊

  • @pongjitsanden1116
    @pongjitsanden1116 2 місяці тому

    มีประสบการณ์ที่ปวด มันไม่หายค่ะแต่พอทุเลาแค่นั้น แต้ถ้าคุณไม่ได้ปวดหลัง มาก่อนทำค่อไป เพื่อความแข็งของร่างกายคะ ทุกวันนี้ก็ยังทรมานกับมัน แค่ไอก็สะท้านทั้งตัว

  • @bouaphoneyoutobe
    @bouaphoneyoutobe 2 місяці тому

    สวัสดีค่ะ❤❤

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      สวัสดีค่ะ🙏 ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ 😊

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    กดข้ามไปชมตามความต้องการได้เลยค่ะ 0:00 เกริ่นนำ 0:46 แนะนำอุปกรณ์​เสริม 2:12 แนะนำเทคนิค​หายใจแบบ กปาลภาติ และ กปาลภาติประยุกต์​ 4:40 ท่าที่ 1 Hip Rotation​ / บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กหมุนข้อต่อสะโพก 4 ทิศ 7:14 ท่าที่ 2 Hip Flexor Stretch​ / ยืดกล้ามเนื้อและเอ็นหน้าสะโพก 11:03 ท่าที่ 3 Open Hip - Stretch / Weight Shift ยืดกล้ามเนื้อ / เอ็นขาหนีบ (ขณะเปิดสะโพก)​ 13:07 ท่าที่ 4 Side Plank - Clamshell / ตะแคงด้านข้าง -​ แยกหัวเข่าเท้าชิด 15:02 ท่าที่ 5 Kick Out to Side / ยืนขาเดียว เตะขาออกไปด้านข้างลำตัว 18:30 ท่าที่ 6 Squat - slow tempo / นั่งเก้าอี้ ส่งก้นลงนั่งช้า ๆ และค้างไว้ 22:06 ฝากสาระ และข้อพึงกระทำ / ข้อพึงละกระทำในขณะ​ฝึกร่างกาย และในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ห่างไกลปัญหาเจ็บร้าวสะโพก ------------------------------- หมายเหตุ 👀 เทคนิคการหายใจ ปราณายมะ เข้าและค้างเอาไว้ แล้วปรับเอาเทคนิค กปาลภาติ แบบเบามาใช้ควบนี้ เป็นเทคนิคที่มีการใช้ในการฝึกยกน้ำหนักนะคะ... .. แต่ ต่างนิดหน่อยคือทางยกน้ำหนักเขาจะนิยมสูดลมเข้าออกเล็ก ๆ ทางปาก ดูแล้วเหมือนปลาทองจิบอากาศ (น่าเอ็นดู)​ แต่วีรนุชจิบลมหายใจไม่เป็น เลยปรับเอาเทคนิคจากการฝึกโยคะมาใช้ขณะฝึกยกน้ำหนัก แล้วเลยเอากลับมาใช้ในโยคะอีกทีหนึ่ง สรุปว่าวีรนุชประยุกต์​เอาเทคนิค​ต่าง ๆ ระหว่างการฝึกบริหารร่างกาย 2-3 แขนงมาใช้หมุนวนกันไปกันมาน่าดูค่ะ (แต่มันใช้ได้และทำให้การบริหารร่างกายสนุก และเปิดกว้างทางทัศนะขึ้นด้วย /นิดหนึ่งค่ะ 😊)

  • @lazybeachpranburi
    @lazybeachpranburi 2 місяці тому

    ชอบมาก… ยางรถจักรยาน

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ขอบคุณ​มากค่ะ ได้รับแรงบันดาลใจ​มาจากรถมอเตอร์ไซค์​ยางรั่วตอนรีบไปทำธุระ พอเอาไปเปลี่ยนยางและต้องการเอายางในกลับมาชำระแค้นที่บ้านค่ะ.. ในเมื่อไม่อยากเป็นยางในแล้ว เอามาเป็น Resistant Band สะดีมั๊ย 🤭 สะใจมากค่ะ 😅

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    เหนือย

  • @KidderDudee
    @KidderDudee 2 місяці тому

    ท่าดิมากผมจะจำไปให้แฟนแต่ละท่าทำผมน้ำเดินหมดแล้ว

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ฉันมีญาติห่าง ๆ อยู่หลายคน ที่พอตนเห็นอะไรดี ๆ แต่ไม่เคยได้รู้รสชาติของความดีนั้นเลย หรือแม้กระทั่งไม่มีโอกาสได้รู้แจ้งเลยว่าสิ่งที่เห็นนั้นดีจริงต่อตนหรือไม่ เพราะ ขณะ ที่ตามองเห็นปุ๊บจิตวิ่งไปอนาคตปั๊บ พวกเขาชอบเก็บไปบอกต่อให้บุคคล​อื่นที่สนิทบ้างก็ดีไม่สนิทบ้างก็ดี ให้ทำสิ่งดี ๆ นั้นเสีย ญาติห่าง ๆ เหล่านั้นของฉันเป็นบุคคลที่ฟังดูดี แต่หากถามให้พวกเขาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เขาว่าดีนั้นด้วยการลงมือกระทำให้ดูนั้นหาได้ไม่ พวกเขาลืมเป็นนักปฏิบัติ ดี (แม้ตามคติของตนเอง) ช่างเสียโมงยามในการตั้งอยู่กับปัจจุบัน​อย่างน่าใจหาย พอใกล้ถึงคราแล้วจึงตระหนักมันจักน่าขัน หวังว่าคุณ​จักมีพัฒนาการ​ในการฝึกฝนตนในโยคะก็ดี หรือแม้นแต่ในศาสตร์​แห่งการฝึกตนชนิดอื่นประเภทใดก็ดี ที่คุณเห็นว่าดีนั้น นมัสเต

  • @user-ft6yf4iu3m
    @user-ft6yf4iu3m 2 місяці тому

    ขอบคุณครับ

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      ขอบคุณ​เช่นกัน​ค่ะ🙏 หวังว่าเนื้อหาจะพอเป็นประโยชน์​อยู่บ้างนะคะ และสามารถ​พอปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์​ของร่างกายคุณ Aum Loso ได้ค่ะ 😊

    • @user-ft6yf4iu3m
      @user-ft6yf4iu3m 2 місяці тому

      @@funfineflow ครับ

  • @PhukhlangMongkhonchai
    @PhukhlangMongkhonchai 2 місяці тому

    😅😅ขอบคุณมากครับ

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      หวังว่าจะพอมีสาระได้ข้อคิดในการบริหารร่างกายค่ะ ขอบคุณ​มากเช่นกันค่ะ 🙏😊

  • @Kooksawitta
    @Kooksawitta 2 місяці тому

    ขอบคุณมากๆค่ะ🙏

    • @funfineflow
      @funfineflow 2 місяці тому

      หวังว่าจะพอมีสาระและช่วยจุดประกายความคิดข้อสงสัยที่ต้องการหาคำตอบอยู่บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณ​มากเช่นกันค่ะ 🙏

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    กดข้ามไปดูบรรยายแต่ละท่าได้เลยค่ะ 1:50 ท่าเบิร์ด - ด๊อก 6:55 ท่านอนตะแคง / ไซด์แพลงก 8:40 ท่าครึ่งสะพาน (ยกก้นนิดหนึ่ง) 11:15 ท่าเก้าอี้ขากางกว้าง 13:28 ท่ากู๊ดมอร์นิ่ง​ / คำนับตะวัน 🛑 15:41 สาเหตุที่แท้จริงของอาการเจ็บหลังล่าง (ที่ไม่ใช่เพราะโรค)​ / วิธีบรรเทา ฟื้นฟูและป้องกันอาการนี้อย่างยั่งยืน ป. ล. การพักระหว่างเซ็ต (สำหรับการบริหารนี้)​ -​ ไม่ควรพักนานเกิน 1 นาที แต่กรณีเหนื่อยมากสามารถยืดเวลาพักเป็น 2 นาที ไม่ควรพักจนหายเหนื่อย / กล้ามเนื้อผ่อนคลายแล้วจึงทำเซ็ตถัดไปค่ะ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลายแล้วทำเซ็ตถัดไป การทำเซ็ตจะไร้ความหมายตามวัตถุประสงค์​ค่ะ 🙏 ป. ล. 2 ท่าบริหารที่นำมาแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากอีกหลายท่าที่เพื่อน ๆ สามารถฝึกได้ อย่างไรก็ดีคอนเซปต์​ตามคลิปนี้คือ 1. 2 ท่าแรก ทาร์เก็ตที่แกนกลางลำตัวส่วนหน้าและส่วนข้างเป็นหลัก 2. ท่าที่ 3 เพิ่มการทำงานของก้นและสะโพกด้านหน้าเข้าไป ตลอดจนหน้าขาและฝ่าเท้า 3. ท่าที่ 4 มุ่งการทำงานที่ก้น ต้นขา น่องและฝ่าเท้า เป้นหลัก แต่ยังได้ใช้กล้ามเนื้อลำตัวเพื่อประคับประคอง​ให้ลำตัวตั้งตรงเป็นธรรมชาติ​ และ 4. ท่าคำนับตะวัน ทาร์เก็ตหลังล่างเป็นหลัก แต่ใช้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทั้งส่วนเหนือสะโพกและต่ำสะโพกร่วมด้วย ทั้งสี่สาระนี้ช่วยพื้นฟูความแข็งแรงตั้งแต่ช่วงลำตัว ก้น ขา และเท้าไปตลอดระยะ เหนือและล่างหลังล่าง

  • @funfineflow
    @funfineflow 2 місяці тому

    🛑 หมายเหตุ รูปแบบการหายใจนี้เป็นเพียงตัวเลือกใหม่ ปรับมาจากเทคนิคการหายใจขณะยกน้ำหนัก ซึ่งจะต่างจากรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการฝึกโยคะที่เราคุ้นชิน มีแค่ 1 กับ 2 ค่ะ โดย 1. หายใจเข้าสร้างแรงและปกป้องหลังล่างในขณะเคลื่อนเข้าสู่ท่า... (ขณะ hold ลมหายใจแบบ brace นี้ ยังมีเทคนิคย่อยซึ่งจะนำเสนอในโยคะซีรี่ย์​ "มักโยคะ" ด้วยค่ะ อย่าพลาดนะคะ)​ และ 2.ถึงเป้าหมายแล้วจึงผ่อนลมออกได้ 👉 โดยได้ปรับใช้รูปแบบการหายใจแบบนี้ตั้งแต่คลิปในเดือน เม.ย. 2567 เป็นต้นมาค่ะ เนื่องจากประสบการณ์​ส่วนตัว ที่มักมีปัญหากับการนับลมหายใจแบบโยคะที่จำยาก ทำให้แรงหาย โฟกัสหาย หอบเหนื่อยง่าย และเลยส่งผลต่อ performance กล้ามเนื้อ และกระดูก ☯️ ทั้งนี้มิได้มีเจตนากล่าวล่วงว่าการหายใจแบบโยคะไม่ดีนะคะ เพียงแต่มันละเอียดอ่อนมาก ต้องทำความเข้าใจระดับซับซ้อนไปสำหรับหัวของวีรนุช เลยขออนุญาต​จิตขั้นสูงของคุรุโยคะ ปรับเอาหลักหายใจแบบยกน้ำหนักมาใช้ 🪷 วีรนุชไม่มีเจตนาจะล้างครู เพียงแค่เล็งเห็นว่าหลายคนอาจจะมีปัญหา​การนับลมหายใจแบบโยคะ พอประยุกต์​เห็นจริงกับตนและพิจารณา​แล้วว่า การนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย โดยเฉพาะ​ในการฝึกโยคะที่มิได้ใช้เพื่อการประกวดแต่อย่างใด และยังได้ประโยชน์​แก่การฝึกกายจริงจึงขอแบ่งปันเป็นดังนี้ค่ะ

  • @funfineflow
    @funfineflow 3 місяці тому

    หยินโยคะ คือโยคะช้า ๆ เน้นบทบาทการบริหารข้อต่อและเส้นเอ็น เป็นหลัก ซึ่งหลาย ๆ ท่านคงเข้าใจคอนเซปต์​นี้ดีมากแล้ว แต่บางท่านอาจลืมอีกหนึ่งหัวใจของหยินไปนั่นคือ หยาง [หยาง ในโยคะคือ กล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อคือเตาเผา คือพลัง คือแรง (แต่อย่าลืมเรื่อง แรง / เชื้อเพลิงคุณ​ภาพดีต้องมีรากฐานที่แก่น มั่นคงนะคะ สามารถย้อนกลับไปฝึกรากฐานในโยคะสมถะ Ep.4 ได้ค่ะ)] ที่เกริ่นว่าลืม หยาง เพราะหลายครา เพลา (เพ-ลา)​ ที่เราฝึกข้อต่อและเส้นเอ็น เราลืมตัว เรากระโดดเข้าสู่โหมด ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อเลยทันที ซึ่งทำให้ข้อต่อถูกกระทบในขณะฝึกทำให้อาการบรรเทานั้นสั้นลง และกลับกำเริบอาการบาดเจ็บข้อต่อและเส้นเอ็นบ่อย ๆ ในเวลาถัดมาได้ การฝึกไม่ว่าจะหยินและหยางนั้น (ให้เราจินตนาการถึงปรัชญา​หยิน หยาง เลยค่ะ) คือ :- เร่งกล้ามเนื้อและใช้ข้อต่อเป็นตัวส่งเสริมในโยคะหยาง ผ่อนกล้ามเนื้อแต่ยังใช้เพื่อปกป้องการทำงานของข้อต่อในโยคะหยิน ตามความเข้าใจของวีรนุช การฝึกหยินไร้หยาง หรือหยางไร้หยิน ในการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวร่างกายนั้นหามีไม่ค่ะ ☯️ "ดั่งเช่นภาพตรา หยิน ~ ในขาวมีดำ หยาง ~ ในดำมีขาวฉันใด โยคะก็ฉันนั้น การดำรงชีวิตก็เฉกเช่นเดียวกัน.."

  • @funfineflow
    @funfineflow 3 місяці тому

    หมายเหตุ 1.ไอเดียอุปกรณ์​ยางยืด สามารถดัดแปลงยางในรถได้ค่ะ 2. เกร็ด​อ่านเล่นเรื่องมือ / เท้า ทั้งฝ่ามือและฝ่าเท้า มีสรีระเหมือนกัน กล่าวคือมี - ส่วนอก (ฐานกระดูกนิ้ว)​ - ส่วนสัน (ขอบด้านนอก)​ - ส่วนส้น (ด้านต่อกับข้อเชื่อมหากระดูกแท่งระยางค์​แขน / ขา) และ - ส่วนอุ้ง (ส่วนที่โค้งเว้าขึ้น) - ส่วนนิ้ว (ส่วนเสริมแยกออกมาจากฝ่ามือ / ฝ่าเท้า)​ ✅ การลงน้ำหนักฐานมือ / เท้าที่เสริมสุขภาพ © ธรรมดาทั่วไป คือ การลงน้ำหนักบนฐานมือ / เท้า ที่มั่นคง ปกติจะลง 4 ส่วน คือ อก สัน ส้น และนิ้ว ส่วนอุ้งจะลอยไม่แตะพื้น ® แอดวานซ์​ คือ การลงน้ำหนักบนฐานมือ / เท้า ที่ต้องอาศัยความแข็งแรงสูงกว่าสามัญทั่วไป / แอดวานซ์​ จะลงน้ำหนักเฉพาะส่วน อก และนิ้ว ทั้งนี้นิ้วทำหน้าที่เกาะยึด เพื่อสร้างความสมดุลในการทรงตัว ⛔ การลงน้ำหนักที่ผิดปกติ และเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการบาดเจ็บข้อ 1. ลงน้ำหนักไปที่ส่วนอุ้ง โดยไม่ว่าจะมีการลงน้ำหนักที่ส่วนอื่นร่วมหรือไม่ก็ดี กระทบต่อการทำงานของข้อต่อเหนือฝ่ามือ / ฝ่าเท้าขึ้นไป อาจกระทบต่อหลังบนและสะบัก (กรณีเกิดที่ฝ่ามือ / มือแป)​ หรือกระทบต่อหลังล่างและสะโพก (กรณีเกิดที่ฝ่าเท้า / เท้าแป) ยังให้บาดเจ็บ รองช้ำ สรีระสะโพก หัวเข่า และปลายเท้าผิดรูป ข้อต่อสึกกร่อน หรือเส้นประสาทเสียหายได้ 2. ลงน้ำหนักเน้นไปที่ส่วนส้น ก่อให้เกิดอาการรองช้ำ ปวดแปลบที่ฝ่ามือ / ฝ่าเท้าได้ และอาจก่อให้เกิดการแตกกร่อนของกระดูกส่วนส้น และกระทบไปถึงข้อศอก / หัวเข่าได้ การฝึกการวางมือ / วางเท้าให้ถูกสุขลักษณะ​แข็งแรงและมั่นคง จึงมีความสัมพันธ์​ต่อการฝึกกล้ามเนื้อเป็นอย่างยิ่ง และหากขาดการคำนึงระมัดระวังแล้วสามารถสร้างการบาดเจ็บได้อย่างมากด้วย ฝึกร่างกายให้ดี อย่าลืมคำนึงถึงความแข็งแรงของฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วยนะคะ 🪷 ปรัชญา​ชัวิตเรียบง่ายจากการฝึกพลังหยาง "... ไฟที่ให้พลังคือไฟที่ให้อุณหภูมิ​ หาใช่ไฟที่ให้เปลวแต่อย่างเดียว ไฟที่ให้พลังที่ดีคือ ไฟที่สม่ำเสมอ ถึงจะแลดูช้าแต่ไม่ขาดตอนในเวลาเพียงชั่วพริบตา ไฟที่เป็นประโยชน์​หาใช่ไฟที่ลุกแล้วลาม ไฟที่ลุกแล้วลาม เป็นไฟที่คุกคาม ความคุกคามโดยสามัญแล้วไร้การควบคุม จักมีโอกาสสำเดงเดชสู่ความสูญเสีย ก่อนที่เราจักมีโอกาสใช้ / ได้รับประโยชน์​จากไฟ.. หยาง ~ ร้อน ~ ดั่งไฟ ไฟดี มีเชื้อดี เช่นใด หยางดีย่อมมาจากฐานดีเช่นนั้น.. "

  • @funfineflow
    @funfineflow 3 місяці тому

    "🪷 สมถะ ไม่ได้หมายความถึงความพอเพียงทางเศรษฐศาสตร์​ ไม่ได้หมายถึงการละโลกตัดกิเลส แต่หมายถึงการกลับสู่ปัจจุบัน​ที่เพียบพร้อมด้วยสติ 👉 สมถะไม่ทำให้คนจน สมถะคือสถานะของคนรวยนะคะ 😊" ...,​ โยคะกับการฝึกสมถะ สมถะ = การสงบ / ความสงบ จากการที่วีรนุชเปิดโอกาสให้ชีวิตนี้ได้ลิ้มรสชาติแห่งทุกข์​ (เปรียบง่าย ๆ นะคะ แค่ฝึกโยคะ / ยกน้ำหนัก ระหว่างฝึกอยู่ก็ทุกข์แล้ว)​ แต่เมื่อเรามอง "เห็น" ทุกข์ เราจะลืม "เป็น" ทุกข์... และเราจะกลับมาตั้งอยู่กับ ปัจจุบัน ↔️ สมถะ ทั้งนี้ วีรนุชได้พิจาณา​ออกมาตามแบบของตนเองนะคะ อาจจะไม่ได้ถูกต้องตามหลักอื่นใดก็ได้ค่ะ สมถะ กว่าจะเกิดขึ้น เราต้องผ่านการ 1. เห็นเยอะ 2. อยากเยอะ 3. รู้(จักมันสิ่งที่เห็นและอยากนั้น ๆ)​ให้เยอะ 4. วางให้ได้เยอะ ๆ (วางไอ้เจ้าความเห็น อยาก และรู้/ความคิด)​ และสำคัญมาก ๆ 5. ทำเยอะ ๆ (ทั้งทางกายและทางจิต, ซึ่ง การทำนี่เอง ที่ทำให้เรากลับสู่ปัจจุบัน​)​ การที่ไม่เห็นอะไรเลย ไม่อยากอะไรเลย ไม่รู้อะไรเลย ย่อมไม่มีอะไรเลยให้วาง ไฉนจะมีชนวนชวนให้ "ทำ" อะไรเลย ฉันนั้น​ สมถะ ก็จักเป็นเพียงความกลวงของโถฉี่ทองคำที่ถูกเก็บไว้ในตู้โชว์ ที่มนุษย์​ให้ค่ามันมาก แต่ไม่มีใครกล้า (อยาก)​ เอามันมาใช้ประโยชน์​ (ทางตรง)​ และหากสังคมนุษย์​ไม่ได้หมุนรอบตัวเองด้วยคุณค่า "นิยาม/เทียม" โถฉี่นี่ย่อมไม่เป็นประโยชน์​