รื้อมายาคติ ‘การเมืองเรื่องรุ่น’ กับ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 5 жов 2024
  • “ตราบใดที่รัฐยังไม่นำข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ไปสู่นโยบาย การที่คนรุ่นใหม่จะลุกขึ้นมาไม่พอใจผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ก็อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”
    .
    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2563 การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของเยาวชนคนหนุ่มสาวในสังคมไทยทั่วประเทศ ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์การตื่นรู้ทางการเมืองของคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังเผยให้เห็นความขัดแย้งแบ่งขั้วความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์ของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า
    .
    คำถามสำคัญคือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะอายุที่ต่างกันจริงหรือ? เพราะเหตุใดความขัดแย้งทางการเมืองจึงลามเข้าสู่ชีวิตประจำวันในครอบครัว? และเมื่อเวลาผ่านไป การชุมนุมครั้งใหญ่ได้จบลง การเมืองไทยเกิดพลวัตรูปแบบใหม่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและการข้ามขั้วทางการเมือง เราเห็นความขัดแย้งในโลกออนไลน์ ระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่ ‘ติ่งส้ม’ และ ‘นางแบก’ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรุ่นในครอบครัวอาจดูบรรเทาลง แต่ในท้ายที่สุด ความขัดแย้งระหว่างรุ่นได้หายไปจากสังคมไทยแล้วจริงหรือ?
    .
    101 สนทนากับ รศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อประเด็น ‘ความขัดแย้งระหว่างรุ่น’ พร้อมชวนถอดรื้อมายาคติของการเมืองเรื่องรุ่น และสำรวจการประกอบสร้างของ ‘รุ่นทางการเมือง’ ตลอดจนชวนหาทางออกเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งอย่างยั่งยืน
    .
    สัมภาษณ์: ณัชชา สินคีรี
    วิดีโอ: ธีรพัฒน์ แก้วชำนาญ

КОМЕНТАРІ • 12

  • @hongmakepin5469
    @hongmakepin5469 3 години тому

    fcอาจารย์เลยคะ ฟังทีไรก็ได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้น มีพลัง มีความหวัง

  • @tumparinya3782
    @tumparinya3782 День тому

    มันดีมากๆเลยครับจารย์หยิน

  • @chutbodeesiripoon8041
    @chutbodeesiripoon8041 День тому +2

    --โครตดี-

  • @zukitdesign
    @zukitdesign День тому +2

    ผมรู้อย่างเดียวว่าอาจารย์โคตรเก่ง❤❤❤

  • @สามสลึงไม่ถึงบาท-ผ8ฟ

    ปากเสียง ประชาธิปไตย

  • @nngsrt2506
    @nngsrt2506 20 годин тому

    4:18 นักเรียนชายที่ยืนด้านซ้ายของจอ (สวมแว่น) คือ ส.ส.วิโรจน์ สมัยเป็นนักเรียนหรือเปล่า ?

  • @kikieoki6744
    @kikieoki6744 День тому +1

    แต่ความคิดคนสมัยนี้เขามีความคิดเป็นของตัวเองมากและต้องการอิสระทางความคิด