เช็ค

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 5 жов 2024
  • พระสมเด็จเกศไชโย ฐาน 5 ชั้น
    เช็คritแท้ 3 ข้อง่ายๆ แค่มี หรือ ไม่มี #พระเครื่อง
    ถ้าดูเนื้อพระเก่าไม่ออก ธรรมชาติก็ยังดูไม่ขาด พิมพ์กับตำหนิเค้าก็รู้กันแล้วว่าไม่มีจริง เทียบความแห้งนวลก็ไม่ชัด ความเหี่ยวของเนื้อก็ไม่ชำนาญ ออกซิเดชั่นก็ดูยาก ไม่เป็นไรครับ ลองมาดูมวลสารและหลุมแบบง่ายๆกัน เช็คแค่มีหรือไม่มี ๓ ข้อง่ายๆ พระสมเด็จ วัดเกศไชโย ผ่านอายุมาประมาณ ๑๖๐ ปีขึ้นไป องค์พระมีมวลสารและส่วนผสมหลายอย่างจากธรรมชาติ ที่มีการย่อยสลาย เสื่อมสภาพลงไปตามอายุ เกิดเป็นการยับ แยก ย่อ ย่น ยุบ และย่อยสลายให้เราเห็นได้ไม่มากก็น้อย ไม่ต้องจำนะครับ ๕ ๖ อย่างนี้ แค่เข้าใจว่าทุกสิ่งในโลกย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตามอายุภายใต้กฏไตรลักษณ์ และเราใช้กฎธรรมชาตินี้ในการเรียนรู้วัตถุโบราณและพิจารณาความแท้ของพระเก่า #โชคลาภ
    สำหรับ ๔​มีนาเมื่อเป็นสายดูธรรมชาติ ก็จะดูเนื้อและผิวเป็นหลักไม่ใช่พิมพ์ แต่ถ้าสายพิมพ์ คงต้องดูว่ากดพิมพ์ที่วัดไหน แต่ใครจะรู้ได้ สมมุติให้ลึกลงไปอีกว่า ถ้ากดพิมพ์ที่วัดหนึ่ง แต่ไปฝากและแตกกรุอีกวัด จะเรียกเป็นวัดไหน ยังไม่รวมนิทานขายพระอันสุดลึกล้ำจากดาวอังคารการละครอีก
    เข้าเรื่องครับ เรามาดูธรรมชาติพระสมเด็จวัดเกศดีกว่าครับ อ้อ เท่าที่ ๔ มีนาพบมา ถ้าพิมพ์ฐาน ๙ ชั้นมีพบเป็นเนื้อวัดระฆังนะครับ
    ด้วยความที่เนื้อพระวัดเกศเป็นเนื้อพระผ่านความร้อนไม่สูง หรือยุคกลาง เนื้อพระเซ็ตตัวพอประมาณแต่ไม่ถึงโซนแกร่ง เพราะฉะนั้นวัดเกศในองค์ที่ใกล้แรงไฟ เนื้อจะแกร่งกว่าและพบการแตกลายงาด้านหน้าได้มากกว่า เมื่อถูกความร้อนไม่สูงมากเหมือนพระยุคปลาย เราจึงมักเห็นการเปลี่ยนสภาพของมวลสารบางประเภทได้ การหดตัว เสื่อม ย่อยสลายของมวลสารทำให้เกิดพื้นที่ว่างหรือโพรงอากาศขึ้น จนกลายเป็นหลุมยุบ เพราะเนื้อพระเองก็มีแรงกระทำจากภายนอก คือมีการหดและขยายตัวจากการสัมผัสกับอากาศร้อนเย็นชื้นทุกวันๆ อาจจะฟังดูยากนิดนึงแต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก
    คลิปนี้เราจะเช็คกัน ๓ ข้อ ไม่ต้องดูอะไรมาก พี่ๆ เพื่อนๆ เช็คแค่มีหรือไม่มี เริ่มจาก
    มวลสารที่มีการย่อยสลาย
    เช็คแท้ แค่ 3 ข้อง่ายๆ แค่มี หรือ ไม่มี
    ตามหลักของธรรมชาติ พระผ่านอายุมาประมาณ ๑๖๐​ปี ไม่มีทางที่เราจะเห็นมวลสารยังดูใหม่ สีสดๆ ผิวตึงๆ โดยเฉพาะมวลสารในกลุ่มพืชหรือว่านยา สิ่งที่เราจะเช็คกันว่ามีหรือไม่มี คือ มีมวลสารที่ดูเหี่ยวๆ เหี่ยวมากๆ ส่วนใหญ่จะสีแดงหรือน้ำตาลเข้ม ถ้ามีการหดตัวหรือย่อยสลายมาก หลุมจะกว้างกว่าชิ้นมวลสาร หรืออาจจะเหลือแค่หลุมเปล่าๆ ได้
    ความต่างระหว่างแร่และว่าน คือแร่จะมีความแกร่งกว่า เกิดความเหี่ยวกร่อนได้ แต่ก็มีการย่อยสลายตัวน้อยกว่ามวลสารในกลุ่มว่าน ถ้าเจอแร่ ก็จะเป็นแร่ในกลุ่มซิลิก้า แร่ดอกมะขามหรือฮีมาไทต์ ส่วนเรื่องทฤษฎีกล้วยไม่เอานะครับ มดก็มา ราก็ขึ้น ทิ้งไว้อาทิตย์เดียวก็ดำก็เน่าแล้ว แช่น้ำมนต์ปุ๊บองค์พระก็คงหลุดออกจากกันหมด กล้วยมีความเหนียวก็จริง แต่ถึงขนาดที่ทำให้เนื้อพระและมวลสารยึดเกาะตัวกันเป็นองค์พระมาเกือบ ๒๐๐ ปีได้เหรอครับ จะเนื้อ จะน้ำ จะเม็ดหรือจะเปลือกด้วยก็ตาม
    การศึกษาใดๆ เมื่อ ๖๐ ปีก่อน เกิดจากการประเมิน วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ ดีทั้งนั้นครับ หลังจากนั้นก็ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไปตามการทดสอบและทดลองว่าทำได้จริงหรือไม่ได้ สักแต่ว่าเชื่อไม่ได้นะครับ
    สรุปข้อแรก หามวลสารหดๆ เหี่ยวๆ อยู่ในเนื้อและอยู่ในหลุมว่ามีหรือไม่มี
    หลุมยุบ
    เมื่อมีการย่อยสลายเกิดขึ้นก็จะเกิดโพรงอากาศและหลุมยุบขึ้น ส่องแล้วมาหากันว่าหลุมยุบ มีหรือไม่มี
    ยุบคือยุบนะครับ ยุบเข้าไปข้างใน ไม่ใช่กดก้อนมวลสารจมลงไป ปากรอยไม่เหมือนกัน หลุมยุบ รอยจะเป็นคลื่น ปากขอบรอบๆ จะดูคมๆ ในร่องมีชิ้นหรือเศษมวลสาร และต้องมีธรรมชาติสะสมตัวอยู่ในหลุมเล็กๆ ภายใต้ปากรอยแคบๆ สำหรับหลุมยุบจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนกว่าในพระเนื้อแกร่งที่เซ็ทตัวผ่านความร้อน คือยุคปลายหรือยุคกลางแบบเนื้อพระวัดเกศ แต่ถ้าเป็นวัดระฆังหรือบางขุนพรหมยุคต้นที่ไม่ผ่านความร้อน เนื้อพระอ่อนและการคลุมผิวมากกว่า ทั้งการยุบตัวและการงอกคลุมผิว ลักษณะหลุมจะต่างกัน
    ข้อนี้หาไม่ยากและจะมากน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่ต้องเป็นยุบไม่ใช่ยัด ยิ่งถ้ามีหลุมที่ปากหลุมเล็กกว่าโพรงด้านใน ถือว่าเป็นหลุมที่ทำปลอมยากที่สุด
    รอยแยกฟูๆ
    นอกเหนือจากการย่อยสลายของมวลสาร การยุบและหดตัวของเนื้อพระที่ทำให้เกิดเป็นหลุม เนื้อพระยังเกิดรอยแยกขึ้น ไม่ว่ารอยแยกจากความร้อนตั้งแต่การสร้าง หรือรอยแยกจากการหดตัวเมื่อผ่านอายุก็ตาม เนื้อพระวัดเกศเป็นเนื้อยุคกลาง ผ่านความร้อนทำให้มีการหดตัวในลักษณะเหมือนเป็นเกล็ด
    พระสมเด็จเกศไชโย ฐาน 5 ชั้น
    เมื่อมีการหดตัว ก็จะเกิดความเหี่ยวและรอยแยก รอยแยกเก่าแบบธรรมชาติและรอยแยกที่เกิดขึ้นทั้งองค์พร้อมกันแบบตั้งใจ ไม่เหมือนกัน และสิ่งเราจะหากันก็คือ หาความฟูในรอยแยก จุดนี้ถ้าใช้กล้องขยายกำลังสูงหน่อย อย่าง ๓๐ หรือ ๖๐x ก็จะพอเห็นได้ชัดขึ้น ส่วนกล้องส่องพระปกติที่เราใช้ขยาย ๑๐ เท่า
    ตามรอยแยกจะเกิดแคลไซต์คลุมผิวและคลุมร่อง แต่จะแคลไซต์หรืออะไร เอาเป็นว่าขอบปากรอยแยก และภายในรอยแยก เราจะหาความฟูๆ กันครับ ขอบ สัน ตามพื้นด้านในก็มีความฟูๆ ข้อนี้ เราจะหาความฟูๆ ในรอยแยกกัน
    ทั้งหมดคือการหาธรรมชาติตามอายุ และที่ ๔ มีนาเลือกพระวัดเกศองค์นี้มาเช็คกันเพราะว่ามีมวลสารย่อยสลาย หลุมยุบดูง่าย และมีความฟูในรอยแยกชัดเจน พระองค์ของพี่ๆ เพื่อนๆ อาจจะมีมากหรือน้อยกว่านี้ได้

КОМЕНТАРІ • 143