เช็คคราบแท้ในพระสมเด็จ การคลุมผิวและแคลไซต์ (ละเอียด)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 5 жов 2024
  • เช็คคราบแท้ในพระสมเด็จ การคลุมผิวและแคลไซต์
    ในพระสมเด็จ วัดระฆัง
    คำถามดีๆ ที่มีคนถาม ๔มีนาเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับคราบที่อยู่บนพระสมเด็จ คราบเกิดจากอะไร คราบต้องดูยังไง ที่บอกว่าเป็นคำถามดีๆ เพราะว่าแสดงถึงความรุ่งเรืองในการเรียนรู้ และความเฟื่องฟูในความเข้าใจพระสมเด็จมากยิ่งขึ้น เหมือนเล่นคำใหญ่ไปนิด แต่เป็นคำถามที่ดีจริงๆ ครับ ดีกว่าการถามว่า พิมพ์แบบนั้นมีมั๊ย พิมพ์แบบนี้แท้มั๊ย ผิดพิมพ์มั๊ย ผิดเนื้อหรือเปล่า เพราะว่าพระสมเด็จและพระเก่าจะแท้ด้วยพิมพ์ไม่ได้ ไม่มีแม่พิมพ์ทุกชิ้นจากวัดมาวาง พิมพ์ไม่ต้องคุย ดีใจที่คนรุ่นใหม่เลิกเชื่อเรื่องพวกนี้แล้ว สำหรับน้องๆ หลานๆ ที่มากดดูคลิปนี้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า คงสงสัยว่าเรื่องพวกไหนเหรอครับ #พระเครื่อง
    เช็คคราบแท้ในพระสมเด็จ การคลุมผิวและแคลไซต์
    คลิปนี้ ๔มีนาจะพยายามเล่าเรื่อง “คราบ” ที่คลุมผิวพระสมเด็จให้ละเอียดขึ้น บางคนเรียกว่าแคลไซต์ บางคนเรียกออกไซด์ หรือแล้วแต่ใครจะเรียกว่าอะไร เพราะที่สำคัญคือ “อย่างไร” #วัตถุมงคล
    คราบที่เกิดบนเนื้อพระเกิดจากการทำงานของธรรมชาติ เกิดจากการออกซิเดชั่นขององค์พระสัมผัสกับอากาศ ที่สะสมตัวตามอายุ อนิจจังไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น
    เมื่อคุณสมบัติของเนื้อพระสมเด็จ เป็นเนื้อผงปูน ที่ผสมวัสดุมวลสารต่างๆ อยู่ในเนื้อพระ สำหรับองค์นี้เป็นการกดพิมพ์แล้วปล่อยให้องค์พระเซ็ทตัว ไม่ผ่านความร้อนหรือการอบ การเปลี่ยนสภาพจึงชัดกว่าเนื้ออบที่จะแกร่งคล้ายเซรามิค
    ๔มีนาจะข้ามเรื่องเนื้อพระว่าสร้างมาจากอะไรนะครับ ข้ามเรื่องเกาลีนหรือปูนเปลือกหอยไปก่อน นึกภาพเป็นผงปูนที่มีการยึดเกาะตัว มีการผสมมวลสารต่างๆ หลากหลาย แต่ก็ต่างกันได้ในแต่ละองค์ และต่างกันได้ในแต่ละวาระ
    เมื่อเนื้อผงปูนผสมมวลสารต่างๆ และถ้าเป็นพระสมเด็จแท้ ต้องผ่านอายุ ๑๕๐ เกือบ ๒๐๐ ปี ผ่านอากาศที่เปลี่ยนแปลงร้อน เย็นมา ๕ ถึง ๖ หมื่นวัน ร้อนกลางวัน เย็นกลางคืน เกิดความชื้นระเหยจากในองค์พระออกมากด้านนอก น้ำจากความชื้นก็จะนำพาความเป็นปูนจากในเนื้อพระขึ้นมาอยู่ด้านบน แห้งแล้วตกผลึกไว้ทีละนิด แล้วสะสมตัวกันเรื่อยมาเป็นชั้นเปลือกผิว
    ผลึกที่สะสมตัวเหล่านี้ล่ะครับที่เป็นคราบบนผิวพระที่พี่ๆ เพื่อนๆ ถามกันเข้ามา พอจะนึกภาพการเกิดคราบได้นะครับ หลังจากที่เราเห็นว่าเนื้อพระมีผิวแล้ว เราจะเช็คว่าเป็นคราบแท้หรือคราบแต่ง
    ดังนั้น เราสรุปได้อย่างแน่นอนว่า สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นบนองค์พระคือการที่องค์พระสัมผัสอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอด ๑๕๐ ปี และความชื้นที่สะสมตัวและระบายออกได้ไม่เท่ากันในพื้นที่สูงต่ำที่ต่างกัน อายุพระ ๑๕๐​ ถึง ๑๘๐ ปี ยังไงก็ต้องมีธรรมชาติให้เราเห็นได้ ไม่ใช่แก๊งพิมพ์และตำหนิแน่ๆ
    เช็คคราบแท้ในพระสมเด็จ การคลุมผิวและแคลไซต์
    ดูการออกซิเดชั่น ดูการเปลี่ยนสภาพตามอายุ ที่ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นตามกฎธรรมชาติ หรือเช็คค่าไอโซโทป ดูการตกกระทบของแสงบนพื้นผิวก็ยังดี อาจจะยากและซับซ้อนกว่า พี่ๆ เพื่อนๆ หลายๆ คนก็รู้แล้วว่าเสียเงินเพื่อรู้ว่ามีอะไร จบหรือไม่จบ คำถามเดิมๆ ก็จะวนเวียน ไม่จบไม่สิ้น เพราะว่าในพระสมเด็จองค์หนึ่ง แม้เพียงเราพบจุดใดจุดหนึ่งที่มีธรรมชาติผ่านอายุเกิน ๑๕๐ ปี และธรรมชาติโดยรวมอื่นๆ ไม่ขัดแย้งกัน ๔มีนาว่าพระองค์นั้นก็น่าสนใจมากๆ และแน่นอนเหตุผลนั้นเกิดขึ้นด้วย มีอย่างไร ไม่ใช่ มีอะไร อย่างแน่นอนครับ
    สรุปเรื่องการคลุมผิวสำหรับคลิปนี้ อย่าลืมนะครับ แยกยุคการสร้างคร่าวๆ ก่อน ผ่านความร้อนมากน้อย หรือเซ็ตตัวตามธรรมชาติ การเกิดคราบและการเปลี่ยนสภาพจะไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
    การแบ่งยุค ๔มีนาอยากให้มองเป็นเรื่องการสร้าง มากกว่าการมองเป็นอายุพระหรือสร้างก่อนหรือหลัง ซึ่งอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม เราไม่สามารถรู้ได้ครับ

КОМЕНТАРІ • 73

  • @dogwalk573
    @dogwalk573 3 місяці тому +2

    แท้100%ครับ ผมดูเป็น อยู่กับเซียนก้เนื้อแบบนี้แหละครับ

  • @Sirot999
    @Sirot999 7 місяців тому +3

    อธิบายดีเป็นกลาง ยึดอยู่บนหลักความเป็นจริง สุดยอดครับ

  • @ศุภวัฒน์เคนภาวะ

    นี่คือความรู้จริงๆ นำไปใช้ได้จริง ขอบคุณครับ

    • @4meena
      @4meena  2 місяці тому

      ยินดีและขอบคุณมากๆ เช่นกันครับที่ทักทายกัน
      สุขกายสุขใจครับพี่ศุภวัฒน์ 4️⃣❤️

  • @chatreeyodsao5682
    @chatreeyodsao5682 2 місяці тому +1

    ผมมีองค์หนึ่งครับ สมเด็จ 9 ชั้น เนื้อแบบนี้เลยครับ เวลาส่องกับแสงไฟจะออกเหมือนมุกมันๆครับ

  • @สวัสดิ์ประทุมวัน

    สุดยอดครับอาจารย์

    • @4meena
      @4meena  5 місяців тому +1

      ขอบคุณมากครับพี่สวัสดิ์
      สุขกายสุขใจครับ 4️⃣❤️

  • @ศุภณัฏฐ์เสริมสิริปภา

    ขอบคุณครับ

  • @sanongsriprasan2156
    @sanongsriprasan2156 7 місяців тому +1

    วัสดี อ.มีนา ถูกต้องครับ ละอองปูนงอกนวลตา สวย ครับ

  • @วสวัตรตรีมาร
    @วสวัตรตรีมาร 3 місяці тому +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

    • @4meena
      @4meena  3 місяці тому

      ❤️4️⃣❤️

  • @Op-rg2mc
    @Op-rg2mc 7 місяців тому +1

    สวยงามมีสเน่ห์ดูข😢ลัง ชัดเจนครับอาจารย์ 4มีนาขอบคุณและติดตามครับ

  • @สมพรอึงพุดซา
    @สมพรอึงพุดซา 7 місяців тому +1

    หาพระสมเด็จแท้ตามคลิปนี้เพื่อขึ้นคอบูชา อาราธนาพุทธคุณของ สมเด็จโตครับ🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉

  • @บุญจันทร์ดาวเรือง-ญ6ข

    สวัดดีคัรบ.4.มีนายากให้เอาพระสมเด็จจ้าวคุณ.ณ.หลังยัน.อุ.มาให้ชมบ้างจังเลยคัรบ❤😊

    • @4meena
      @4meena  6 місяців тому

      สวัสดีครับพี่บุญจันทร์
      ยินดีครับ ไว้จะลองดู
      สุขกายสุขใจครับ 😊4️⃣🙏🏻

  • @natanatta2285
    @natanatta2285 7 місяців тому +1

    งดงามล้ำค่า

  • @รินดาริสิ
    @รินดาริสิ 7 місяців тому +1

    สุดยอดครับ

  • @SongklamKunaum
    @SongklamKunaum 2 місяці тому +2

    ผมเริ่มดูเป็นเพราะคุณ 4 มีนา ดูพระแบบธรรมชาติ

    • @4meena
      @4meena  2 місяці тому

      สุขกายสุขใจครับ 😊😊😊😊

  • @ต้นอรรถพันธ์
    @ต้นอรรถพันธ์ 7 місяців тому

    สุขกาย สุขใจครับ😊

  • @ช่างบอยดาร์ลิ่งนะสิ

    ขอบคุณครับ4มีนา👍👍👍

  • @ธเนศปัญญายิ่ง-ค4ง

    สวัสดีครับอาจารย์ 4 มีนา❤

  • @สรศักดิ์เหลือลมัย

    ขอบคุณความรู้คำแนะนำดีดีที่มีให้มาเสมอครับผม..ขอบคุณครับผม

  • @rungsakwisessakchai1134
    @rungsakwisessakchai1134 7 місяців тому

    ❤❤❤❤แฟนเลย

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      ขอบคุณคร๊าบบ 🌸4️⃣🌸
      สุขกายสุขใจเสมอนะครับ

  • @วุฒิชัยล่ามฉิมพลี

    สวัสดิครับ คุณ 4 มีนา ขอถามเป็นความรู้หน่อยครับสมเด็จวัดระฆังกรุสตือมีจริงหรือเปล่าครับ

    • @4meena
      @4meena  3 години тому

      ผมคิดว่ามีนะครับ
      ปัญหาคือ
      1 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นพระสมเด็จวัดสะตือ
      2 แน่ใจได้อย่างไรว่าพระองค์ที่เห็น เป็นพระสมเด็จวัดสะตือจริงๆ

  • @ชินวัตรเสือโตใหญ่

    ตั้งแต่ติดตามดูพระสมเด็จเพิ่งพอเข้าใจจากคุณ4มีนานี่แหละอธิบายชัดเจนมาก

    • @4meena
      @4meena  13 днів тому

      ขอบคุณมากครับที่ติดตามรับชม
      สุขกายสุขใจครับ 4️⃣❤️

  • @ฉัตรชัยจงรู้รอบ

    ติดตามครับ สวัสดีครับ

  • @สมบัติเข็มจันทร์

    ติดตามครับ

  • @ประกรณ์ปภาเชาวพงศ์-ต7ม

    สวัสดีครับอาจารย์ 4 มีนา

  • @samanchai1234
    @samanchai1234 7 місяців тому

    พระแท้ดูง่ายกว่าพระเกุ๊กอวค์ของแท้จะดูออกมีจุดมีตำหนิมีโค๊ตประจำแม่พิมพ์นั้นๆ เข่นองค์แม่พิมพ์เชียงแสนก็มีลัก๋ณะที่ดูอกชัดเตน องค์สุโขทัยก็มีแม่พิมพ์ที่ชัดดจนองค์อู่ทองก็มีแม่พิมพ์ที่ดูออกได้ชัดเจนครับ

  • @สมหมายสุภมัน
    @สมหมายสุภมัน 5 місяців тому +1

    ๔มีนาขอบคุณครับผม

  • @d.s.p794
    @d.s.p794 7 місяців тому

    ผมล้างลักด้วยน้ำกรดชนิดหนึ่งเพราะล้างแบบท่านอื่นแล้วออกยากมากเรยใช้ยาแรงผลคือผิวเปิดดูแห้งๆตอนนี้ผ่านมาหนึ่งเดือนมีคราบขาวๆขึ้นคลุมบางๆละ ถ้าแบบนี้จะมีลุ้นว่าเนื้อแท้ไหมครับ

  • @ธีระพงษ์แสงจันทร์-อ7ฃ

    ผมมีองค์หนึ่งดูไปคล้ายโดนน้ำยา แต่ส่องใกล้ไคล้ายแควไซร์ งงเลยครับ หลังดอกพิกุล

  • @สรศักดิ์เหลือลมัย

    แขวนคอทุกวันกลัวอย่า 4:59 งงเดียวคือแตกหักครับองค์นี้เนื้อแบบเดียวกับเกศไชโยที่มีเลยครับ

  • @akenarinchirawansj725
    @akenarinchirawansj725 7 місяців тому

    พี่ครับ🙏 วัดระฆัง กับ บางขุนพรหม เราแยกกันยังไงหรอครับ ขอบพระคุณมากครับ🙏

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому +1

      สำหรับผม ดูลักษณะของเนื้อ การเปลี่ยนสภาพที่ต่างกันและความหลากหลายของมวลสารครับ
      ส่วนมาก เนื้อระฆังจะแกร่ง มวลสารหลากหลายกว่า
      *** แต่บางองค์ บางยุค ก็แยกให้ขาดยากครับ

  • @สมหมายสุภมัน
    @สมหมายสุภมัน 5 місяців тому +1

    ๔มีนาครับผม

  • @ชัยรัตน์เรืองภู-ซ7ฟ

    4❤❤❤❤❤❤

  • @acbopweracbopwer
    @acbopweracbopwer 7 місяців тому +1

    55555 อ.จาร์ ก็พูดได้ได้ ตำหนิต้องมี 555555

  • @piyawatsingviset1205
    @piyawatsingviset1205 7 місяців тому +1

    ❤❤❤❤❤

  • @K.Chanapan
    @K.Chanapan 2 місяці тому +1

    4

  • @user-17-P59
    @user-17-P59 7 місяців тому +1

    สวัสดีครับพี่.4.มีนา..พระองค์นี้เคยลงรักมาใช่เปล่าครับ

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      เป็นคำถามที่ดีครับพี่ไชยศ ผมก็สงสัยเรื่องยางรักในพระองค์นี้
      ส่วนตัว ผมดูเหมือนเป็นการผสมมาในเนื้อครับ

    • @amulet807
      @amulet807 7 місяців тому

      ไม่ได้ลงรักครับสังเกตุ​ที่ขอบข้างไม่มีตามซอกหลุม.. เป็นคราบรักเก่าหรือทองคำเปลวเก่าจากองค์พระประทานในอุโบสถ​ที่หลุดล่อนหรือช่างลอกออกเพื่อบูรณะ​ใหม่แต่สมเด็จโตนำมาเป็นเป็นมวลสารมงคลอีก1อย่าง รวมทั้งคราบไคลใบเสมาด้วย

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      ผมก็คิดเช่นนั้นครับ

    • @user-17-P59
      @user-17-P59 7 місяців тому

      ขอบคุณครับ

  • @nattachatrakjit9631
    @nattachatrakjit9631 7 місяців тому

    พี่ครับเนื้อปูนดิบ กับ เนื้อปูนสุก ต่างกันอย่างไรครับ และ เนื้อปูนแต่ละประเภท(ดิบและสุก) เมื่อทำการลงรัก เนื้อพระจะมีลักษณะกายภาพเปลี่ยนแปลงแบบไหนครับ

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      ua-cam.com/video/GO9MNZXKS50/v-deo.htmlsi=wkC2Bl2wUU7Aav-O
      ผมไม่ใช้หลักนี้ในการดูครับ สมัยก่อนเคยลองศึกษาอยู่แป๊บนึง แต่สำหรับผม ผมว่าวิธีนี้ไปต่อไม่ได้ คนส่วนมากที่ฟังมาก็ไม่เข้าใจ มีแต่คำถามและข้อสงสัยครับ
      ส่วนเรื่องการลงรัก เจ้าของพระลงเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศ คือลดออกซิเดชั่น การเปลี่ยนแปลงก็เป็นไปเหมือนปกติและจะน้อยและช้าครับ
      ลองดูคลิปที่แปะไว้ตอนต้นครับ

    • @nattachatrakjit9631
      @nattachatrakjit9631 7 місяців тому

      @4meenaอ่อถ้างั้นการดูหลักๆจะเป็น
      1.ยุคการสร้าง ต้น กลาง ปลาย คือจะดูการเซตตัวของปูน ความสมส่วนของพิมพ์พระ
      2.ประเมินสภาพ คือ
      -ใช้มา มีใช้ติดตัว หรือ แช่น้ำมนต์
      - พระเก็บ เก็บหิ้ง หรือ เก็บกรุ
      -พระมีการลงรัก หรือมั้ย
      -พระล้างมาหรือมั้ย
      3.ดูการอ็อคซิใด ตามสภาพที่ประเมินโดยให้นึกว่าการอ็อคซิใดจะเกิดพร้อมๆกัน ครั้ง 1 โมเลกุล ทั่วองค์พระในจุดที่ลึกยังต้องมีการอ็อคซิใด
      4.ประเมินอายุ โดยการสังเกตคราบที่เกิดจากอ็อคซิใดสีใส ขาวๆขุ่น และ มวลสารอื่นก็ยังต้องเหี่ยวๆและกร่อน
      5.สรุปผล ต้องอาศัยประการณ์ เห็นพระมากๆ
      คร่าวๆก็ประมาณนี้ใช่มั้ยครับ

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      คร่าวๆ ประมาณนี้ ใช่ครับ
      ประเมินวัสดุ การสร้าง สภาพ และการเปลี่ยนสภาพตามอายุ
      สุดท้าย ทุกอย่างต้องอาศัยจำนวนในการฝึกฝน เปลี่ยนการจำเป็นความเข้าใจ และเปรียบเทียบทุกสิ่งที่เคยเห็นในความคิดได้ครับ
      ตำราเครื่องปั้น วิธีเผาดิน เซรามิคเก่า งานกระเบื้องเคลือบจีนก็น่าสนใจครับ ได้ประโยชน์ถ้าสนใจศึกษาครับ

    • @nattachatrakjit9631
      @nattachatrakjit9631 7 місяців тому

      @@4meena ขอบคุณครับ 🙏 น่าสนใจดีไว้จะลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับ

  • @พนมหมีกุระ-ฅ8ล
    @พนมหมีกุระ-ฅ8ล 7 місяців тому +1

    สวัสดีครับ๔๔๔

  • @วิชัยวาสะรัมย์
    @วิชัยวาสะรัมย์ 7 місяців тому +1

    444❤❤❤🎉

  • @จิรพันธ์ปินอุทัง

    ๔๔๔๔๔คับ

  • @PrastiChaowiang
    @PrastiChaowiang 7 місяців тому +1

    ถ้ามองดูที่คราบต้องมีสองแบบของคราบครับ.ปูนสุกกับปูนดิบคราบจะต่างกันอย่างปูนสุกคราบจะออกแห้งราจะออกขาวๆถ้ามีลักยิ่งดูง่ายแต่คราบราของปูนดิบจะดูฉ่ามสวยเหมือนกับองค์นี้ครับ
    ผมแอดลายของ มีนา ไม่ได้ดูครับผมจะส่งให้ดูอย่างหูไห และสมเด็จองค์เท่าใ่ามือมีหลายแบบคับทุกองค์ล้ในมีเนื้อหามวลสารเหมือนกันคับ

  • @ธนดลทองสุข-ห5ร
    @ธนดลทองสุข-ห5ร 7 місяців тому +1

    สุดยอดเลยคับ4มีนาให้ความรู้แบบระเอียดเลยคับเมื่อก่อนผมเคยเชื่อพวกเซียนทั้งหลายว่าตำนิบ้างอะไรหลายๆอย่างบ้างแต่พอมาฟัง4มีนาผมพอจะเข้าใจแล้วคับว่าพระแท้ไม่ได้แท้ที่ตำหนิคับผมก็โง้มาตั้งนานขอบคุนคับที่ทำให้ผมตาสว่างคับ❤❤❤❤ขอบคุนคับ

  • @pongthepsuthut
    @pongthepsuthut 7 місяців тому +1

    ❤❤❤

  • @ดรุณีจันทร์ไพรสณฑ์

    อยากใหัพวกเซียนคิดแบบ4มีนาครับสุดยอด

    • @4meena
      @4meena  4 місяці тому

      4️⃣🤭

  • @แดนธงเกิดจันทึก

    แบบนี้ผมก็มีครับแต่ไม่เคยให้เซียนดูไม่เกิดประโยชน์สำหรับผมครับ

  • @นะโม-ภ2ม
    @นะโม-ภ2ม 7 місяців тому +1

    ดูคลิปศึกษๅตาม4มีนาเชื่อว่าดูพระเป็นแน่นอน

  • @beerbuayai9792
    @beerbuayai9792 7 місяців тому +1

    สวัสดีครับสุดยอดเลยมาพอดีรถติดดูเพลินๆไป👍❤️🤟

  • @อุดร-ม3ห
    @อุดร-ม3ห 7 місяців тому +1

    ขอบคุณครับกับการให้ความรู้ที่ดีและถูกต้องตามหลักธรรมชาติ❤❤❤

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому

      💛💛4️⃣💛💛

  • @ชาย..ย
    @ชาย..ย 7 місяців тому +1

    ❤❤❤❤❤

    • @4meena
      @4meena  7 місяців тому +1

      ขอบคุณมากครับ 🌸4️⃣🌸
      สุขกายสุขใจครับ