สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 29 гру 2018
  • สัมมาทิฏฐิสูตร
    ว่าด้วยความเห็นชอบ
    เสียงอ่าน พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่ม ๑๒ หน้า ๘๑
    ... เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงแสดงธรรมเทศนาอธิบาย ขยายความพระสูตรนี้ไว้ สามารถรับฟังๆได้ที่ sangharaja.org -- พระธรรมเทศนา -- ธรรมอบรมจิต ตอนที่ 2
    เชิงอรรถ
    พระสัทธรรม หมายถึง ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ คือ
    ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
    ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
    ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน
    ความดับแห่งอาหาร จะปรากฏได้ก็ต่อเมื่อดับตัณหาที่เป็นปัจจัยแห่งอาหาร
    ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์ มี ๓ คือ
    ๑. กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ
    ๒. รูปภพ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน
    ๓. อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน
    อายตนะ หมายถึง ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่ถูกรู้ เช่นตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖
    อุปาทานขันธ์ หมายถึงอุปาทาน + ขันธ์ คำว่า อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น (อุป = มั่น + อาทาน = ถือ) คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึง “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่น” ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อาสวะ หมายถึง 1. ความเสียหาย, ความเดือดร้อน, โทษ, ทุกข์
    2. น้ำดองอันเป็นเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้ 3. กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตต์เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ

КОМЕНТАРІ •