การแสดงนาฏศิลป์นิพนธ์ ชุด "แก็ลมอ กอนกูย" สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Вставка
- Опубліковано 7 лют 2025
- ขับร้อง : เนส กนกพิช
เรียบเรียง : ภูวไนย ดิเรกศิลป์
ห้องอัด : BACKHAM STUDIO.
ขอบคุณวีดีโอจาก : คุณสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ (พี่ต้น)
พิธีกรรมแก็ลมอของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา พบว่าเป็นพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกวย หรือกูย ที่เกิดจากความเชื่อเรื่องผี มีการสืบทอดและปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีผู้ประกอบพิธีเรียกว่า ครูบาใหญ่ เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ผู้เข้าร่วมพิธีเรียกว่า มอ พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยผ่านเสียงดนตรี เพื่อเป็นอนุรักษ์ประเพณี พิธีกรรมแก็ลมอของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกวย คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญ และเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ นาฏศิลป์ ในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้าน ถ่ายทอดท่ารำผ่านนักแสดงหญิง จำนวน ๙ คน โดยรูปแบบการแสดง แบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 ช่วงที่หนึ่งเป็นการรำตีบทตามคำร้องกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมแก็ลมอ และขั้นตอนแรกของพิธีแก็ลมอ โดยมีครูบาใหญ่เป็นผู้กล่าวทำพิธี
ช่วงที่ 2 การคลองช้างคลองม้า ซึ่งช้างม้าเปรียบเสมือนสมบัติของพิธีแก็ลมอ ครูบาใหญ่ สื่อถึงนายพราน ผู้ป่วยสื่อถึงช้างม้า จัดขึ้นเพื่อเสริมบารมีให้กับผู้ป่วย
ช่วงที่ 3 พิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นขั้นตอนการสร้างขวัญ ต่อด้วยจัดขบวนแห่ของรักษาของผู้ป่วย
สวัสดีค่ะ ขออนุญาตนำผลงานงานการเเสดงไปใช้นะคะ 🙏✨️
❤❤❤❤Sart
สื่อได้ถึงมนต์ขลังมาก ชื่นชมมากครับ 🙏🙏🙏🙏🙏🙏
ขออนุญาตนำผลงานไปแสดงนะครับ
ขอใช้เพลงไปนำแข่งศิลปหัตถกรรมเด็กน้อยนะครับ บ้านผมเป็นบ้านกูยพอดี
สวย
สวัสดีครับ ขออนุญาตนำผลงานการแสดงไปใช้นะครับ
ขอบพระคุณค่ะ
สวัสดีครับ ขออนุญาตนำผลงานการแสดงไปใช้ในการแข่งขันกิจกรรมน้องหล้าคำแพง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีนะครับ ขอบคุณครับ
เจาลำออนจะออปจะปอเด้อนางเอ่ย สมัยก่อนเป็นการบนบานศาลกล่าวแก่ดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนจะออกไปคล้องช้างเพื่อความเป็นสิริมงคลและประสบความสำเร็จในการคล้องช้าง เมื่อประสบความสำเร็จก็จะมีพิธีการแก้บน เรียกว่า แกลมอ ต่อมาชาวกูยเชื่อว่าพิธีกรรมนี้สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแบบไม่มีสาเหตุ จึงปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
แกลมอแปลว่า เล่นบูชาครู
แกลออแปลว่า เล่นให้หายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย
ส่วนกูยเลี้ยงช้างเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ลำหมูดมัด