โอเปราเฟื่องฟู สู่ยุคดนตรีคลาสสิกรุ่งเรือง (Part 2/3) | 8 Minute History EP.183

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 25 лип 2024
  • 8 Minute History เอพิโสดนี้ยังอยู่กับซีรีส์ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก จากความเดิมตอนที่แล้วเราได้เข้าใจที่มาที่ไปของภาษาดนตรี กำเนิดละครโอเปรา รวมถึงดนตรียุคบาโรก แบบสังเขปกันไปแล้ว
    เอพิโสดนี้จะพาไปทำความรู้จักโลกดนตรีตะวันตกในยุคถัดมาที่เรียกว่า ‘ยุคคลาสสิก’ พร้อมเกร็ดชีวิตคีตกวีคนสำคัญของโลกในช่วงศตวรรษที่ 18 ไล่ตั้งแต่ George Frideric Handel, Mozart, Beethoven และบรมครูผู้ให้กำเนิดซิมโฟนีอย่าง Franz Joseph Haydn
    ---------------
    Time Index
    00:00 เริ่มรายการ
    01:45 ชีวิตและผลงาน George Frideric Handel
    07:11 คตีกวีเอกแห่งยุคบาโรก
    08:40 Mozart และโอเปรายุคคลาสสิก
    15:50 Haydn บิดาแห่งซิมโฟนี
    19:16 คลื่นลูกใหม่ที่ชื่อว่า Beethoven
    ---------------
    ติดตาม 8 Minute History ในช่องทางต่างๆ
    Apple Podcasts: apple.co/3cfxNjL
    Spotify: spoti.fi/3ejXUsM
    Website: thestandard.co/podcast_channe...
    SoundCloud: bit.ly/8minutes-history
    #8minutehistory #TheStandardPodcast #TheStandardco #TheStandardth

КОМЕНТАРІ • 60

  • @TheStandardPodcast
    @TheStandardPodcast  Рік тому +7

    01:45 ชีวิตและผลงาน George Frideric Handel
    07:11 คตีกวีเอกแห่งยุคบาโรก
    08:40 Mozart และโอเปรายุคคลาสสิก
    15:50 Haydn บิดาแห่งซิมโฟนี
    19:16 คลื่นลูกใหม่ที่ชื่อว่า Beethoven

  • @knightshadow9126
    @knightshadow9126 Рік тому +21

    Franz Joseph Haydn ถ้าเราไปค้นหาที่มาของเพลงชาติเยอรมัน หรือ Das Lied der Deutschen คีตกวีคนนี้ล่ะครับคือผู้แต่งทำนองดนตรี

    • @hengthelotharin
      @hengthelotharin Рік тому

      และที่พีคคือก่อนแกสิ้นใจ แกเล่นเพลง Kaiserhynme (ต้นแบบเพลงชาติเยอรมัน) บ่อยมากจนผิดสังเกต เย็นวันนั้นแกก็ล้มหมอนนอนเสื่อ สิ้นเดือนพฤษภา 1809 แกก็สิ้นใจเลย

  • @tumtum1843
    @tumtum1843 Рік тому +7

    ZEDOK THE PRIEST เพลงนี้ถูกดัดแปลงมาใช้เป็นเพลงประจำรายการฟุตบอล UEFA CHAMPION LEAGUE หรือ UCL คอบอลรู้จักกันดี ฟังแล้วอลังการ ยิ่งใหญ่ สมฐานะถ้วยที่ใหญ่สุดของยุโรป

  • @user-qj8ys8ti9e
    @user-qj8ys8ti9e Рік тому

    ขอพระเจ้าโมสาร์ทมีสมรสมนุษย​ แลครอบครับมนุษยที่ดีเท่ากับ​ ระดับ9ของโลกครอบครัวรักแท้ที่ไม่มีไครรู้ขอบคุณพระเจ้าโมสาร์ท​แลบุตรมนุษย

  • @attaponkaewjan1092
    @attaponkaewjan1092 Рік тому +2

    โหหห แต่ละเพลง ดังถึงยุคนี้เลย คลาสสิคมากๆ

  • @lionzazoozoo
    @lionzazoozoo Рік тому +1

    เสียดายครับ อยากให้พูดเรื่อง bach มากขึ้นเพราะเป็นคนสำคัญในการพัฒนาระบบกุญแจเสียงต่างๆ

  • @tyboonyong
    @tyboonyong Рік тому +2

    ขอบคุณครับ ชอบมากครับ

  • @65carat24
    @65carat24 Рік тому +1

    ชอบมากครับ เข้าใจง่าย

  • @himmy0169
    @himmy0169 Рік тому

    คุ้มค่าที่รอคอยครับ 🎹❤️

  • @voiceofmanorathai
    @voiceofmanorathai Рік тому

    part 2/3 มาแล้ววววววว ขอบคุณค่าาาา

  • @lperasan9850
    @lperasan9850 Рік тому

    ซีรีส์นี้ดีมากเลยครับ ขอบคุณมากครับ

  • @sweetiecat_00
    @sweetiecat_00 Рік тому

    ฟังเพลินมากค่ะ น้ำเสียงคือดีมาก เพราะมาก เพลินมากค่ะ ❤❤

  • @Doctor_seng
    @Doctor_seng Рік тому +1

    ผมเพิ่งรู้นี่ละว่าที่มาของ canon rock in d มาจาก canon in d major ฟังแล้วอ่อเลย

  • @user-si9te7so2w
    @user-si9te7so2w Рік тому

    ขอบคุณมากครับ ไม่คิดว่าจะมีใครคิดเรื่องนี้

  • @kaswit007
    @kaswit007 Рік тому

    ฟังเพลินดีครับ ตัดจบแบบไม่ทันตั้งตัว

  • @mozart9052
    @mozart9052 Рік тому

  • @leelawadeeudomsri6426
    @leelawadeeudomsri6426 Рік тому

    ขอบพระคุณค่ะ

  • @user-ym2bh5qx7l
    @user-ym2bh5qx7l Рік тому

    เม้นท์แรก เพิ่งฟัง Part 1/3 จบ หาตอนต่อไปทันที ดีใจมากที่เจออัพโหลดพอดี

  • @Itsmestarpeace
    @Itsmestarpeace Рік тому

    สนุกมากเลยค่าา

  • @TheStandardPodcast
    @TheStandardPodcast  Рік тому +7

    📌สามารถกดลิงก์เพื่อรับชมซีรีส์ประวัติศาสตร์ดนตรีคลาสสิกตะวันตกครบทุก Part! 🎵
    Part 1/3 ua-cam.com/video/vi__07TpEU8/v-deo.html
    Part 2/3 ua-cam.com/video/oDEy1_qyn68/v-deo.html
    Part 3/3 ua-cam.com/video/eijhc8KPcXk/v-deo.html

  • @sirnnick
    @sirnnick Рік тому

    ยังรอยุคromance อยู่นะครับ ส่วนตัวชอบเพลงยุคนี้มากกกก

  • @flutechill_benz4285
    @flutechill_benz4285 Рік тому

    ขอบคุณมากครับ

  • @suvidaneramit-aram3366
    @suvidaneramit-aram3366 Рік тому +1

    17:15 ข้อมูลผิดนะคะ Piano trio แบบปกติคือ เปียโน ไวโอลิน และ “เชลโล่” ค่ะ ไม่ใช่วิโอล่า ตามที่กล่าวมานะค้าาา
    ถ้าการใช้วิโอล่า จะอยู่ใน Piano Quartet ค่ะ แบบปกติคือมี Piano, Violin, Viola, Cello

  • @jeabgizmo2213
    @jeabgizmo2213 Рік тому

    ผมชอบ Nicolo Paganini นักดนตรีเอกแห่งยุค

  • @TheKingChannel69
    @TheKingChannel69 Рік тому +1

    เพลง canon เคยฟังยุครับ เพราะมากไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้นกำเนิดเพลงมาจากไหน ตาสว่างเลย

  • @bell3944
    @bell3944 Рік тому

    ดีมากครับ

  • @argue-46
    @argue-46 Рік тому

    น่าสนใจครับ

  • @thawarasasistachama2876
    @thawarasasistachama2876 Рік тому +3

    ทำใมเรานึกถึง G.F. Handel แล้วเพลงแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวคือ Harp Concerto in B-flat major, Op. 4
    ขอเสริมตรงนาทีที่ 7:40 ฮะ
    Canon เป็นรูปแบบการประพันธ์แบบหนึ่งที่ใช้ Score เดียวกันเล่นโดยให้เหลื่อมเวลากันตามผู้ประพันธ์กำหนด
    ยังมีอีกหลายเพลงที่ compost ด้วย Canon แค่..... in D minor ของตาลุง Pachelbel ดันติดหูสุดดดดด -_-

  • @NeoMarxism
    @NeoMarxism Рік тому

    รออยุ่ครับเฮีย

  • @namijunggodcat6976
    @namijunggodcat6976 Рік тому

    มาฟังตอนวันเกิดโมสาร์ท (27 มกรา) ก็คือพอดิบพอดีมากค่ะ xD

  • @user-we1nj5ym1q
    @user-we1nj5ym1q Рік тому

    ทำเรื่องเกี่ยวกับลิเบียได้ไหมครับ

  • @pawaris5089
    @pawaris5089 Рік тому

    พระนางมารีอังโตเเน็ตพระราชินีของหลุยส์ที่16แห่งฝรั่งเศสในสมัยที่เป็นเจ้าหญิงแห่งออสเตรียเคยชมการแสดงของโมซาสตอนที่โมซาสยังเด็กพระนางเคยเข้าไปสนทนากับโมซาสชื่นชมโมซาสและโมซาสก็ชื่นชมในความงามของพระนางเช่นกัน

  • @God_jdkodjrhlsms
    @God_jdkodjrhlsms Рік тому

    ซ้ายสุดนึกว่าเฮียวิท

  • @RteaMedia
    @RteaMedia Рік тому

    ผมฟังเป็นร้อยรอบอะครับ ฟังไม่เคยจบเลย หลับก่อนตลอด 😅

  • @adizxa6826
    @adizxa6826 Рік тому +1

    Amadeus คือหนังที่ผมชอบที่สุดตลอดกาล (เท่ากับ lord of the rings)
    แต่ไม่คิดว่าจะมีใครเลือกให้เป็นหนังแห่งศตวรรษที่ 20 หรอกมั้งครับ
    ตำแหน่งนั้นน่าจะยกให้กับหนังขึ้นหิ้งอย่าง Citizen Kane, Vertigo, Bicycle Thief หรือ The Godfather กับ Goodfellas มากกว่า
    ยังไงก็ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ตามเรื่อยๆ ครับ

  • @prattratanachaya4790
    @prattratanachaya4790 Рік тому +1

    เฮียวิทย์ครับ นาทีที่ 9:13 รูปผิดนะคนับผม อันนั้รูป J.S. Bach พ่อของ J.C. Bach คร้าาบ😊

  • @supavadeebenjanuwat8726
    @supavadeebenjanuwat8726 Рік тому

    21:38 เพลงอะไร

  • @Theerawee_Thongkham
    @Theerawee_Thongkham Рік тому +2

    10:06 ไม่ใช่ Holy Roman Empire หรอครับ?
    เพราะในช่วงเวลาที่ว่า(1730-1820) ตัวจักรวรรดิที่ว่าควรจะเป็น HRE มากกว่าออสเตรีย-ฮังการี

    • @Sittivaekin
      @Sittivaekin Рік тому +4

      HRE อ่อนแอลงมากตั้งแต่ หลังครูเสดละครับ มีแต่เปลือก ไม่มีเอกภาพใดๆ ทำให้ Habsburg ที่เป็นหนึ่งในรัฐที่พูดภาษาเยอรมันสถาปนาตัวเองจนมีบทบาทมากกว่า HRE ละครับในทางพฤตินัย จะเรียกว่า Habsburg คือจักรวรรดิ์ในตัวมันเองก็ไม่ผิดเท่าไหร่ละครับ

  • @EkRatana
    @EkRatana Рік тому +2

    อ่านออกเสียงชื่อผิดหลายที่นะครับ ที่เยอะสุดก็น่าจะเป็น Joseph Haydn ต้องอ่านว่า ไฮเด้น หรือ ฮายเด้น นะครับ ไม่ใช่ เฮเด้น
    ส่วนจุดอื่นๆเช่นชื่อเพลง-โอเปรา บางอันก็มีผิดอยู่แต่ ก็พอเข้าใจได้
    ถ้าไม่เน้นก็ข้ามๆไปนะครับ

    • @Sittivaekin
      @Sittivaekin Рік тому +2

      โอ้วว ขอบคุณมากครับ ผิดจริง "ไฮ เด้น"ไม่ใช่ "เฮ เด้น" ชื่อเยอะจนมึนครับ

  • @user-gu3qm1ll1j
    @user-gu3qm1ll1j Рік тому

    cannonD คือผมอธิบายความรู้สึกไม่ได้เลย บางครั้งอยู่ดีๆน้ำตาก็ไหลบางครั้งก็รู้สึกหนาวๆบางครั้งก็รู้สึกมีพลัง
    หรือผมเป็นบ้าครับ

  • @Mackiw
    @Mackiw Рік тому

    * ขอถามหน่อยครับ เวลาเขาประพันธ์เพลงขึ้นมาเนี่ยเป็นแบบในหนังเลยใช่ไหมครับ เครื่องดนตรี-โน้ต-คนเขียน
    ** ถามอีกข้อนึงครับ แล้วเขาหานักดนตรีกันยังไงหรอครับ หรือว่าใช้ลูกศิษย์ตัวเองในการขึ้นโชว์
    ขอบคุณครับ 🙏

  • @10pongaero
    @10pongaero Рік тому +12

    Mozart ประพันธ์เพลงไม่ถึง 700 ชิ้นครับ จริง ๆ แล้วมีทั้งหมด 626 ชิ้นครับ รบกวนแก้ไขข้อมูลด้วยครับ

    • @dylanvittel9449
      @dylanvittel9449 Рік тому +1

      55555 เขาประมาณครับ

  • @stangota5187
    @stangota5187 Рік тому +2

    15:11 ใส่รุปผิดนะครับ อันนี้รูปพระเจ้าเฟรเดริก มหาราช

    • @iamteam4724
      @iamteam4724 Рік тому

      @Stang Ota ทีทเป็นมหาราชของปรัสเซียใช่ไหมครับ

    • @pattanaachanasuppat5497
      @pattanaachanasuppat5497 Рік тому

      @@iamteam4724
      ขอตอบแทนนะครับ
      ใช่ครับ

  • @KSNA1988
    @KSNA1988 Рік тому +1

    สะดุดชื่อราชวงศ์ Habsburg ต้องอ่านว่า ฮับสฺบวร์ก ไม่ใช่หรอครับ

    • @Sittivaekin
      @Sittivaekin Рік тому +1

      ถูกละครับ ฮับส์บวร์ก สงสัยเบลอร์อ่านผิดถูกๆชื่อเยอะจัดครับ ขอบคุณครับ

  • @kaswit007
    @kaswit007 Рік тому

    สงสัยว่าอะไรคือซิมโฟนีชิ้นแรก!! 16:10 แล้วอะไรเป็นตัวกำหนดซิมโฟนีมันต้องมีอะไรถึงจะเรียกว่าซิมโฟนีละครับ หรือว่ามันมีดนตรีเล่นยาวๆก็เป็นซิมโฟนีได้

    • @thawarasasistachama2876
      @thawarasasistachama2876 Рік тому +1

      Symphony จะมี 4 movement (เร็ว/ช้า/เร็ว/เร็ว) หรือจะเรียกว่าเป็นตอนก็ได้ ต่างจากพวก Concerto ที่มีแค่ 3 Movement (เร็ว/ช้า/เร็ว) คร่าวๆ ฮะ

    • @Mamamia-xr8to
      @Mamamia-xr8to Рік тому +2

      Symphony ประกอบจากรากศัพท์คือ sym หรือ syn (ผสาน,ประสาน) + phone (เสียง) = Symphony ถ้าแปลแบบหยาบๆจะแปลว่าการผสานเสียงอะไรทำนองนั้นครับ คำว่าซิมโฟนีถูกใช้มาตั้งแต่ยุคบาโรกแล้วครับ มักถูกใช้กับดนตรีที่มีแค่เสียงเครื่องดนตรีผสานกันอย่างเดียว อย่างท่อนแรกสุดของโอราโตริโอที่ชื่อ Messiah (มีบทนึงในเพลงนี้ที่คุ้นหูกันดีคือท่อนที่ร้องว่า ฮาเลลูย่า!) ของ Handel ก็ใช้คำว่า Symphony หรือ Sinfonia นำหน้าครับ ดังนั้นแต่เดิมมันเลยหมายถึงท่อนที่เครื่องดนตรีผสานเสียงกัน การใช้คำนี้ในแบบอื่นก็มีเหมือนกัน อย่าง Sinfonia in C major ของ Vivaldi (จริงๆมีอีกครับ) ซึ่งก็เป็นเพลงที่วงเครื่องสายเล่นประสานกันกับฮาร์ปซิคอร์ด (ญาติที่แก่กว่าของเปียโน) ซึ่งก็ไม่ได้มี 4 ท่อนแบบซิมโฟนีมาตรฐาน ทีนี้ที่ Haydn ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งซิมโฟนีเพราะเขาทำให้มันเป็นแบบแผนมากขึ้น ทำให้เป็นประเภทที่ชัดเจน เพราะในยุคก่อน อย่างของ Handel ที่เอามาเป็นท่อนนำ มันก็ควรจะถูกเรียกว่าโหมโรง (Overture, Prelude, Prologue) หรือของ Vivaldi ที่เจ้าตัวแต่งแบบไม่มีแบบแผน ดังนั้น Haydn จึงทำให้มันมีแบบแผน ในแต่ละท่อน ท่อนแรกมักใช้รูปแบบที่เราเรียกกันว่า Sonata (เล่นท่อนหลักก่อน แล้วกลับมาวนท่อนหลักอีกรอบ จากนั้นเข้าสู่ท่อนที่สอง แล้วก็เข้าสู่ท่อนหลักที่ถูกดัดแปลง มันไม่ตายตัวแบบนี้เสมอไปครับ เพราะช่วงยุคหลังๆมาก็ตามใจฉันกันพอสมควร) ท่อนที่สองเป็นท่อนช้า อาจใช้โซนาตาก็ได้หรือรูแบบอื่น เช่น Variations (มีท่อนหลัก แล้วท่อนหลักถูกดัดแปลงไปเรื่อยๆแต่เรายังคงฟังและรู้ที่มาของมันว่ามาจากท่อนหลักได้อยู่ แนะนำ 12 Variations on a theme Ah vous dirai-je, Maman ของ Mozart ครับ) ท่อนที่สามคือท่อนเพลงเต้นรำ (Minuet) หรือท่อนสามประสาน (Trio) ก็ได้ครับ แต่ช่วงหลังๆมาก็จะนิยมเป็น Scherzo (เน้นเร็ว ดัง) ส่วนท่อนที่สี่ท่อนสุดท้าย ก็ใช้รูปแบบโซนาตาครับ สิ่งเหล่านี้ Haydn วางรากฐานไว้ให้กับคีตกวียุคหลังอทำให้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่ง Symphony (จริงๆแกเป็นบิดาแห่งวงเครื่องสายสี่เครื่อง (String Quartet) ด้วยครับ) (ที่บอกว่า Symphony มีสี่ท่อน หมายเลข 1 กับหมายเลข 2 ของHaydn เองก็มีแค่สามท่อนครับ มามีสี่ท่อนตอนแต่งหมายเลข 3)

    • @jinngam9591
      @jinngam9591 Рік тому

      ขอบคุณ อ วิทย์ 👏👏👏ทำให้ เข้าใจและเกิดความรู้ ในเพลงที่หลงไหล มีโอกาส ขอให้ อ วิทย์นำมา เผยแพร่ในบทต่างๆ ด้วยนะค่ะ🙏

  • @sumaleejansson2921
    @sumaleejansson2921 Рік тому

    111😮🤥

  • @krungyao
    @krungyao Рік тому

    เปิดฟังก่อนนอนเป็นประจำ แต่ไม่เคยฟังจบสักที (หลับก่อน)แล้วก็กลับมาฟังอีก 😁

  • @ratchyhandsome4312
    @ratchyhandsome4312 Рік тому

    ตอนนี้ไม่อัพตอน8โมงแล้วหรอครับ

    • @TheStandardPodcast
      @TheStandardPodcast  Рік тому

      ต้องขออภัยในความล่าช้าของ EP นี้ด้วยนะคะ โดยปกติแล้วจะลงเวลา 8.00 เช้าเช่นเดิมค่า🙏🏻

    • @Sittivaekin
      @Sittivaekin Рік тому

      ตอนดนตรี มีเพลงประกอบเยอะครับ ใช้เวลา ผลิตนานกว่าปกติครับ เลยช้าหน่อย ขอบพระคุณที่แจ้งมาครับ