Це відео не доступне.
Перепрошуємо.

ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ | สุตตมยญาณนิทเทส | แสดงสุตตมยญาณ | ญาณกถา ปฏิสัมภิทามรรค

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 28 чер 2024
  • ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ
    สุตตมยญาณนิทเทส
    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
    เล่มที่ ๓๑ ข้อ ๒๕-๒๘
    ความยาววีดิทัศน์ 75:12 นาที
    -------
    การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
    ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ
    ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ธรรม ๓ ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
    ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิ มีองค์ ๕
    ธรรม ๖ ควรเจริญ คือ อนุสสติ ๖
    ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗
    ธรรม ๘ ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
    ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ (ปาริสุทธิ) ๙
    ธรรม ๑๐ ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐
    ภาวนา ๒ คือ
    โลกิยภาวนา ๑
    โลกุตรภาวนา ๑
    ภาวนา ๓ คือ
    การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑
    การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑
    การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก (โลกุตรกุศล) ๑
    การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี
    การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่างเดียว
    ภาวนา ๔ คือ
    เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑
    เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑
    เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑
    เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑
    ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ
    เอสนาภาวนา ๑
    ปฏิลาภภาวนา ๑
    เอกรสาภาวนา ๑
    อาเสวนาภาวนา ๑
    เอสนาภาวนาเป็นไฉน
    เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
    ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน
    เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
    เอกรสาภาวนาเป็นไฉน
    เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน
    เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์...
    เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์...
    เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์...
    เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญินทรีย์...
    เมื่อเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถสัทธาพละ...
    เมื่อเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถวิริยพละ...
    เมื่อเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถสติพละ...
    เมื่อเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถสมาธิพละ...
    เมื่อเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถปัญญาพละ...
    เมื่อเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์...
    เมื่อเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถธรรมวิจยสัมโพชฌงค์...
    เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถวิริยสัมโพชฌงค์...
    เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถปีติสัมโพชฌงค์...
    เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถสมาธิสัมโพชฌงค์
    เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์...
    เมื่อเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ...
    เมื่อเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสังกัปปะ...
    เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาวาจา
    เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมากัมมันตะ...
    เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้วมรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาอาชีวะ...
    เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาวายามะ...
    เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสติ...
    เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
    มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ...
    อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี เวลาเที่ยงก็ดี เวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี เวลาหลังภัตก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ฤดูหนาวก็ดี ฤดูร้อนก็ดี ตลอดส่วนวัยต้นก็ดี วัยกลางก็ดี วัยหลังก็ดี
    ภาวนา ๔ อีกประการ คือ
    ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑
    ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑ ...

КОМЕНТАРІ • 3

  • @muninjuntra2940
    @muninjuntra2940 Місяць тому +1

    กราบสาธุครับ

  • @Layitesig
    @Layitesig Місяць тому

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    🌲🍂 🙏🙏🙏 🍂🌲

  • @kthanapura
    @kthanapura Місяць тому +1

    กราบขอบพระคุณค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ 🙏🙏🙏