ทำยังไงให้มีความคิดที่เฉียบคม และตัดสินใจได้เฉียบขาด | 2050 Podcast EP.235 |
Вставка
- Опубліковано 8 лют 2025
- ทำยังไงให้มีความคิดที่เฉียบคม และตัดสินใจได้เฉียบขาด สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโค้ชเกรียงศักดิ์ executive coach ชั้นนำของไทย และหนังสือ clear thinking
---
#เธมส์thinkต่าง ผู้เขียนหนังสือ #เป็นคนเงียบๆก็ได้เปรียบได้ - เพราะชีวิตจะง่ายขึ้นเห็นๆ แค่ใช้จุดเด่นของอินโทรเวิร์ตให้ถูกทาง
.
หาได้ที่ SE-ED, นายอินทร์, Kinokuniya, B2S
หรือที่ #DOTBOOKS ตาม link ด้านล่าง
📍Shopee : bit.ly/4cTrBvv
---
สนใจหนังสือ Clear Thinking สั่งได้ที่
s.shopee.co.th...
คลิปดีมีประโยชน์👍 พี่ขอให้ช่องมีคนติดตามเยอะๆนะคะ ชอบฟังคลิปแนวนี้มากค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
ขอบคุณมากเลยครับบ ดีใจที่ชอบครับผม 🙏😁
อยากสอบถามพี่ว่าพี่คิดยังไงกับสมาธิพี่ว่าสมาธิช่วยทำให้การตัดสินใจเฉียบคมได้จริงไหม
เห็นด้วยอย่างมากครับ จริงๆคิดว่าสิ่งสำคัญคือ สติ ก่อนเป็นอันดับแรกครับ ต้องมีสติก่อนตัดสินใจ เพื่อให้รู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร คิดอะไรอยู่ ต้องการอะไรจากการตัดสินใจนี้ ถ้าไม่มีสติ มีโอกาสที่จะไหลตามความรู้สึก ณ ขณะนั้น ได้สูงมากครับ
ส่วนสมาธิ คิดว่าหลังจากมีสติแล้ว ก็ค่อยมาโฟกัสอย่างตั้งใจเพื่อประเมินทางเลือกได้อย่างถี่ถ้วน เห็นทั้งข้อดี-เสีย ในแต่ละทางเลือกไว้ล่วงหน้า จะทำให้ตัดสินใจได้ชัดเจนขึ้นครับบ ✌️
เราต้องตระหนักดีถึงค่าตั้งต้นทั้ง 4 ตัวเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจที่จะลงมือทำใดๆ ได้ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างดีแล้ว :
1. ค่าตั้งต้นทางอารมณ์ มนุษย์มักจะทำสิ่งต่างๆ/ ตัดสินใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล อารมณ์เป็นใหญ่
2. ค่าตั้งต้นทางอัตตาหรือ Ego มนุษย์จะตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือบุคคลต่างๆ โดยไม่ทันคิด เมื่อเราถูกโจมตีความเชื่อหรือ คุณค่าของเรา
3. ค่าตั้งต้นทางสังคม มนุษย์มีแน้วโน้มจะทำตามค่านิยมของสังคมสูงมากโดยที่เราไม่รู้ตัว
4. ความเฉื่อยตั้งต้น มนุษย์มีแนวโน้มที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและรักษาสถานภาพเดิมๆ ของตัวเองไว้เสมอ เพราะมันเป็นเรื่องง่ายกว่า สบายใจกว่าและสามารถคาดเดาได้ ทำให้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง/ ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องใช้ทั้งความพยายามและพลังงาน
4 ความแข็งแกร่งที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากการตัดสินใจแบบอัตโนมัติ :
1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง เข้าใจว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราไม่ว่าจะดี ไม่ว่าเราเป็นต้นเหตุหรือผู้อื่นก็ตาม เมื่อเกิดขึ้นกับเราแล้วเราต้องยอมรับผิดชอบต่อสิ่งมากระทบกับเรา แล้วเราก็จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ดีขึ้น
2. การรู้จักตนเอง รู้ว่าเราเก่งหรือไม่เก่งตรงไหน อะไรคือ สิ่งที่เราทำได้และสิ่งที่เราไม่ถนัด ยิ่งเราเข้าใจขอบเขตของตัวเองมากเท่าไหร่เรา หรือแต้มต่อที่เรามี เราก็จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าได้/ สร้างความได้เปรียบ
3. การควบคุมตัวเอง ควบคุมความกลัว ความต้องการ และอารมณ์ของเราเอง เมื่อเราสามารถจับอารมณ์ของตัวเองได้เราก็มีแนวโน้มที่จะดึงตัวเองให้กลับมาใช้สมองด้านที่มีเหตุมีผลมากกว่าการใช้อารมณ์
4. ความเชื่อมั่นใจตัวเอง การตระหนักรู้ว่าเราสามารถสร้างสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองและคนรอบข้างได้ เราไม่ได้ทำตามที่คนอื่นกำหนดและเชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม ถ้าเราไม่หลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิมๆ ได้เราก็ไม่สามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
Tips :
1. ไม่รีบด่วนตัดสินใจขณะที่มีมีอารมณ์สุดขั้วไม่ว่าจะดีใจ หรือเสียรอ รอให้อารมณ์เป็นกลางเสียก่อน
2. เมื่อพบกับสถานการณ์และตระหนักถึงอารมณ์ของตัวเอง ให้ถามตัวเองว่าเป้าหมายของเราจากการตัดสินใจครั้งนี้ของเรา
3. พยายามหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อนำมาพิจารณา/ เรียงลำดับความสำคัญ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของเรา
4. เรามีทางเลือกในการตัดสินใจอะไรบ้าง แต่ละทางเลือกเมื่อพิจารณาตามข้อดีข้อเสีย และความสำคัญในข้อ3 แล้ว จะช่วยให้เรามองปัญหาได้ชัดเจนและเราอาจจะพบว่าเรายังขาดคำตอบ หรือคำอธิบายให้กับทางเลือกต่างๆ อยู่
5. หาคำตอบในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนด้วยการค้นหาข้อมูล หรือปรึกษาหารือ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น รวมถึงกรณีศึกษาเพื่อหาแน้วโน้มและนำข้อมูลมาพิจารณาเพิ่มเติม
6. ตัดสินใจด้วยความคิดที่ชัดเจน และยอมรับผลของการตัดสินใจนั้นทั้งดีและไม่ดีเพราะการตัดสินใจครั้งนี้ได้ผ่านกระบวนการคิดพิจารษมาอย่างเป็นขั้นตอนและถี่ถ้วนแล้ว
ขอบคุณครับ 😊
ขอบคุณครับบบ 🤟
@ ขอบคุณสำหรับ podcast ดีๆ ด้วยเช่นกัน