ตำนานพระธาตุเกาะลังกา พญานาคผู้ดูแลพระสารีริกธาตุ เผยแผ่พุทธศาสนาครั้งแรกนครศรีธรรมราช และ อยุธยา

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 29 сер 2024
  • แต่เมื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อันเป็นวรรณกรรมทางศาสนาของลังกา
    ดังที่มีการคัดลอกเขียนไว้ในหนังสือซินกาลมาลีปกรณ์ก็จะทราบว่า
    พระสารีริกธาตุทะนานนี้ คือพระธาตุแห่งเมืองรามคาม ที่พระสถูปได้พังลง
    มหาสมุทรไป พญานาคจึงได้เป็นผู้ดูแล ต่อมามีสามเณรผู้มีฤทธิ์มากรูปหนึ่ง
    ได้ลงไปขอจากพญานาคนำขึ้นมาถวายกษัตริย์ลังกาให้เป็นผู้ดูแลแทน
    จะเห็นว่าเนื้อหาสาระสำคัญที่ตำนานพระธาตุและเมืองนครศรีธรรมราช
    ยืมมาใช้ตามข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ นั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องพระทันตธาตุและ
    พระสารีริกธาตุทั้ง ๘ ทะนาน ซึ่งเมื่อพิจารณาตั้งแต่ต้นที่ปรากฏในพระอรรถกถา
    แห่งพระมหาปรินิพพานสูตร ที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ นั้นมี
    พระชนมายุยืนยาวเป็นหมื่นเป็นแสนปีสามารถเผยแผ่พระธรรมคำสอน
    ออกไปได้ทั่วถึงทั้งจักรวาล เมื่อเสด็จดับขันชปรินิพพานไปแล้ว พระธาตุ
    ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นจึงติดกันเป็นแห่งเดียว
    แต่พระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ มีพระชนมายุอยู่ในรอบ ๑๐๐ ปี
    เท่านั้น (เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา) ยังไม่ทัน
    ได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงทุกแห่ง พระพุทธองค์
    จึงทรงอธิษฐานขอให้พระธาตุของพระองค์แยกสลายออกเป็นชิ้นเล็กขึ้นน้อย
    มากมายเพื่อว่าผู้ที่นับถือในพระธรรมคำสอนของพระองค์จักได้พระธาตุ
    ไปสักการบูชาอย่างทั่วถึง ซึ่งตามนัยนี้ก็คือการเป็นสัญลักษณ์ของการมี
    พระศาสดาองค์เดียวกัน (มีพระธรรมคำสอนอย่างเดียวกัน) นั่นเอง อันเป็น
    วิธีในการสร้างซาติโดยใช้ศาสนาเป็นแกนกลาง)
    ดังนั้น การแพร่กระจายไปของของพระสารีริกธาตุจึงหมายถึงการแพร่
    หลายออกไปของพระพุทธศาสนาแห่งพระสมณโคดม ตำนานเดิมเกี่ยวกับ
    พระสารีกธาตุของลังกา จึงกำหนดให้พระเจ้าอโศกผู้สร้างพระธาตุเจดีย์
    ๘๔,๐๐๐ องค์ (บรรจุพระสารีริกธาตุ ๗ ทะนาน) คือพระมหากษัตริย์
    ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วชมพูทวีปเป็นพระองค์แรก รวมทั้งที่ได้
    แพร่หลายมายังเกาะลังกาด้วยขณะเดียวกัน ตำนานพระธาตุของลังกาก็กำหนดให้พระธาตุอีก ๑
    ทะนานซึ่งตกไปอยู่ที่เมืองบาดาล ในท้ายที่สุดก็กลับตกมาอยู่ในความครอบครอง
    ภายใต้เศวตฉัตรของกษัตริย์ลังกา เพราะราชสำนักลังกาคือผู้ที่อุปถัมภ์ส่งเสริม
    เผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบที่ถือว่ามีพระธรรมคำสอนถูกต้องตรงกับพระพุทธพจน์
    มากที่สุด คือสำนักลังกาวงศ์ซึ่งเผยแผ่อยู่ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ทั่วไปนั่นเอง
    ดังนั้นจึงอาจที่จะกล่าวได้ว่า เกาะลังกาก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ
    ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น
    ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชนั้น พอที่จะมองเห็นความสำคัญ ซึ่งซ่อน
    อยู่ในความเชื่อแบบดั้งเดิม ว่าพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ซึ่งต่อมาในภาย
    หลังปรากฏว่านับถือกันอย่างแพร่หลายในรัฐโบราณของสยาม ไม่ว่าจะเป็น
    สุโขทัย อยุธยา หรือไปไกลถึงล้านนา เขมร ลาว สิบสองปันนานั้น เริ่มต้น
    ขึ้นครั้งแรกที่เมือง #นครศรีธรรมราช ร่องรอยของความเชื่อนี้ สามารถเห็นได้
    ชัดเจนในเรื่องนิทานพระพุทธสิหิงค์ หนังสือเรื่องซินกาลมาลีปกรณ์ หนังสือ
    มีอนุชาถัดไปคือจันทรภานุและท้าวพงษ์สุรา เมื่อท้าวศรีธรรมโศกราช
    สิ้นพระชนม์ศักราช ๑๒๐๐ (ถ้าเป็นมหาศักราชก็จะตรงกับพุทธศักราช
    ๑๘๒๑) ท้าวจันทรภานก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นท้าวศรีธรรมโศกราช น้องชายคือ
    ท้าวพงษ์สุราก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นจันทรภานุ
    เรื่องพระนามศรีธรรมโศกราซเป็นนามของตำแหน่งกษัตริย์เมือง
    นครศรีธรรมราชทำให้นึกถึง "ศิลาจารึกดงแม่นางเมือง" จัดลำดับเป็นหลัก
    ที่ ๓๕ ในประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ ศิลาจารึกหลักนี้พบที่เมืองโบราณ
    "ดงแม่นางเมือง " ในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ มีศักราซ
    บอกเวลากำกับอยู่ด้วยตรงกับ พ.ศ. ๑๗๑๐
    ความในศิลาจารึกมีความหมายว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชพระองค์หนึ่ง
    ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว (กมรเตงชคต) พระธาตุของพระองค์ฝังอยู่ที่ "ธานยปุระ"
    (คือชื่อจริงของเมืองโบราณที่ดงแม่นางเมือง) พระเจ้าศรีธรรมโศกราชผู้ทรง
    พระชนม์อยู่และมีอำนาจเหนือกว่าได้มีพระราชโองการมายังพระเจ้าสุนัต
    ผู้ครองธานยปุระ ให้ทำการกัลปนาที่ดินแด่พระธาตุของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
    ผู้ล่วงลับไปแล้ว (กมรเตงชคตศรีธรรมโศกราช)
    เรื่องมูลศาสนา ฯลฯ แม้กระทั่งศิลาจารึกหลักที่ ๑ ก็แสดงร่องรอยของความ
    เชื่อดั้งเดิมนี้ด้วย
    แต่ตำนานพระธาตุและเมืองนครศรีธรรมราชดังได้วิเคราะห์ผ่านมา
    ว่าส่วนที่มีลักษณะเป็นเนื้อหาของตำนานนั้น น่าจะได้รับการเรียบเรียงขึ้น
    ภายหลังจากตำนานเรื่องอื่น ๆ มาก ซึ่งตำนานเรื่องอื่น ๆ เหล่านี้ได้กลาย
    เป็นกรอบที่ทำให้การเกิดตำนานพระธาตุและเมืองนครศรีธรรมราชต้องพบกับ
    ความยากลำบากในด้านการแสดงความสำคัญของบ้านเมืองของตนให้พอเหมาะ
    พอควรกับที่เชื่อกันมาแต่ดั้งเดิมว่า เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบ
    ลังกาวงศ์เป็นแห่งแรกในภูมิภาคนี้
    เมื่อเป็นเช่นนี้ การยืมเรื่องพระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วของลังกา
    หรือเรื่องการสร้างเจดีย์พระธาตุ ๘๔,๐๐๐ องค์ของพระเจ้าอโศกมาเป็น
    สัญลักษณ์แทนความสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราช ในฐานะที่ครั้งหนึ่งเคย
    เป็นศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง จึงดูจะมีน้ำหนักเหมาะสมกัน
    ดีแล้ว
    . ข้อพิจารณาส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์
    ตำนานพระธาตุและเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนที่เป็นเรื่องทาง
    ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองจริง ๆ จะอยู่ในช่วงเวลาในสาระสังเขปตอนที่ ๑.๓
    "เมืองนครครีธรรมราช ครั้งที่ ๒ " และตอนที่ ๑.๔ "สมัยเมืองนครครีธรรมราช
    ครั้งที่ ๓"
    เมืองนครศรีธรรมราชที่สร้างใหม่เป็นครั้งที่ ๒ มีพระนามกษัตริย์ และ
    การสืบราชสมบัติที่น่าสนใจคือ กษัตริย์ผู้ทรงพระนามว่า ท้าวศรีธรรมโศกราช
    เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

КОМЕНТАРІ • 1

  • @tanawatjullathat2085
    @tanawatjullathat2085 7 місяців тому +3

    ลังกาไม่ใช่ศรีลังกาหรือเกาะซีลอน ลังกาทวีปอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทย