ระบำโบราณคดี ลพบุรี
Вставка
- Опубліковано 7 січ 2025
- ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ 3 เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุและภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชาและในประเทศไทย การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมีลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายแด่ แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม ในการพัฒนาระบำชุดลพบุรี จะมีบุคคลสำคัญ ประกอบด้วย
1. นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช 2528 เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร
2. นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนระบำโบราญคดีวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนระบำโบราญคดีวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช 2530 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
3. นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์