"From Pain To Power" การเปลี่ยนแปลงความเจ็บปวด ให้เป็นพลัง

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 4 гру 2024
  • "From Pain To Power" หรือ การเปลี่ยนแปลงความเจ็บปวดเป็นพลัง
    ขอสารภาพว่าเรา มัจฉา กำลังเผชิญกับการมีข้อจำกัด เมื่อต้องแสดงความรู้สึกเป็นคำพูด ทั้งที่เราท่วมท้วนไปด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจ และขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติมากมายเพียงใด เมื่อมีโอกาสได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งชีวิตรวมถึงประสบการณ์การทำงาน 20 ปีที่ผ่านมาภายใต้ “From Pain to Power” สารคดีสั้น 20 นาที
    ซึ่งถูกสร้างโดย Filmmaker: Jai Jai ผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถ และเป็นเพื่อนของเรา ที่เฝ้าดูการเติบโตของกันและกันมามากกว่า 10 ปี
    Jai Jai เพื่อนของเรา ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างสารคดีสั้น เพื่อสะท้อนเรื่องราวของผู้นำต่างๆ รวมถึงเราเอง ที่อุทิศให้กับชุมชนและสังคม ภายใต้โปรเจค “In Their On Voices” ซึ่งสนับสนุนโดย Partners Asia
    Partners Asai เป็นแหล่งทุนที่สนับสนุนมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนมากว่า 4 ปีและองค์กรชุมชนใน Southeast Asia มามากกว่า 20 ปี
    สปอยด์ค่ะ!!
    “From Pain to Power” ไม่ได้สะท้อนเฉพาะประสบการณ์ของเราตั้งแต่เป็นเด็ก ที่ตระหนักถึงการเป็นคนลาว พูดลาว ซึ่งต้องต่อสู้เพื่อสิทธิทางการศึกษาและความเป็นธรรมทางเพศ ในขณะที่เผชิญกับการกดทับอย่างซับซ้อน โดยได้รับแรงบัลดาลใจมาจากแม่ของตัวเอง ซึ่งเป็นรากฐานให้เรามี Passion และ Commitment ที่จะต่อสู้เพื่อ ผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองและ/หรือชนกลุ่มน้อย
    แต่สารคดีสั้นนี้ ยังได้สะท้อนแง่มุมการทำงานของเรา กับเยาวชน และชุมชน ที่สำคัญคือ การมีเยาวชนผู้นำหญิงชนเผ่าพื้นเมือง และชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงแล้ว ให้กับชุมชนและสังคมโดยรวม
    สารคดีสั้นนี้ไฮไลต์ทั้งตัวตนและการทำงานต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของเรา และข้อท้าทายต่างๆ ภายใต้การทำงานของมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ที่เริ่มจากเราคน คนเดียว จนตอนนี้เรามีทีม 7 คน และเราต่อสู้กันทั้งครอบครัว กับผู้คนนับร้อย นับพัน
    ซึ่งการต่อสู้ในระยะที่ 1 คือ ช่วง 10 ปีแรกของการทำงาน เราต่อสู้เรื่องสิทธิทางการศึกษา โดยให้ทุนการศึกษา และเสริมศักยภาพชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะที่เป็นเด็กหญิง เด็กชนเผ่าพื้นเมืองที่ไร้สัญชาติ และจำนวนหนึ่ง คือ เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ
    และนี่คือระยะที่ 2 ของการทำงานตั้งแต่ปีที่ 11 ถึงปีที่ 20 ที่เราเน้นสนับสนุนเยาวชนให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ 4 โปรแกรม คือ
    Human right, Feminist and Digital right Education Programme: ซึ่งทำให้เรามีโอกาสทำ โรงเรียนผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อทำการศึกษาในระดับชุมชน มีหลักสูตร Media Literacy เพิ่อทำงานกับนักเรียนชนเผ่าพื้นเมืองในระดับมัธยมศึกษา และที่สำคัญการมีหลักสูตร Young Feminist Camp ให้กับเยาวชนในระดับอุดมศึกษา
    Feminist Participatory Action Research Program or FPAR ซึ่งเป็นเครื่องมีสำคัญในการสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนนำไปสู่การขับเคลื่อนอย่างเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับชุมชน ประเทศและระดับโลก
    Economic Justice Program: ที่ไม่เพียงแต่พูดถึงแนวทางการใช้แนวคิดทางธุรกิจในการ Empower ทั้งผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองและผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ยังมีความพยายามที่จะ Addressed รากเหง้าปัญหาความยากจน อันมีรากเหง้ามาจากระบบทุนที่ไม่เป็นธรรม Globalization/Capitalism และระบบเพศที่ไม่เป็นธรรม : ระบบชายเป็นใหญ่/Patriarchy
    ทั้ง 3 Programs ดำเนินไปโดยตัดขวางกับ Advocacy Program ซึ่งใช้โอกาสทั้งกลไกสิทธิมนุษยชนทุกระดับ การรณรงค์ร่วมกับ Movement ที่สร้างทั้งในระดับชุมชน ประเทศและนานาชาติ
    และเรายังได้แชร์ Vision ในอนาคต คือ ระยะที่ 3 ของมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน นับจากนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้า คือ สร้างความต่อเนื่องของการการเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชนผู้หญิงและผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง ที่เป็นผู้นำเยาวชนจากกระบวนการทั้ง 4 โปรแกรม ทั้งร้อย พัน หมื่นคนนั้น ให้เกิดความเข้มแข็งเป็น Intersectionality Feminist Movement ที่มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นธรรมทุกมิติ
    เรามีความหวังว่า from Pain to Power จะถูกดูและส่งต่อ เพื่อสร้างความเข้าใจและแรงบัลดาลใจ
    เราอยากจะขอบคุณ Jai Jai เพื่อนของเรา ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างสารคดีสั้นเรื่องนี้ได้อย่างรอบด้านแต่กระชับ มีพลังแล้วยังคงไว้ซึ่งความงดงามของเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรียบง่ายและตรงไป ตรงมา ขอบคุณค่ะ Jai Jai
    ขอบคุณ Partners Asia ไม่เพียงแต่ “From Pain to Power” ซึ่งเรื่องราวของเราเป็นหนึ่งในอีกหลายๆเรื่องราวสร้างแรงบัลดาลใจของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ Short documentary Series ของ Partners Asia ชื่อ “In Their On Voices” แต่ Partners Asia ที่เป็นแบบอย่างของแหล่งทุนที่นอกจากจะให้การสนุบสนุนอย่างต่อเนื่อง มีความ Flexible เข้าอกเข้าใจ แล้วให้ความสำคัญกับผู้รับทุนเสมือนเป็นเพื่อนที่คอยเคียงบ่าเคียงไหล่ อย่างมั่นคงและยืนยาว
    ที่สำคัญที่สุด ไม่มีทางมีมัจฉา พรอินทร์ในวันนี้ ถ้าไม่มีแม่ ถ้าไม่มีน้องๆอาสาสมัครเยาวชน ถ้าไม่มีเด็กๆนักเรียนชนเผ่าพื้นเมืองในวันนั้น ที่เติบโตเป็นเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในวันนี้ที่เป็นเฟมินิสต์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิหลากหลายทางเพศ เราจับมือเคียงบ่าเคียงใหล่ เติบโตไปด้วยกันและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และเรายังมีเพื่อน มีผู้สนับสนุนที่ดีเสมอมา ซึ่งไม่อาจกล่าวถึงได้หมด
    สุดท้าย คือ ขอบคุณบุตรของเรา : ศิริวรรณ พรอินทร์ และภรรยา: วีรวรรณ วรรณะผู้เดียงบ่า เคียงไหล่ต่อสู้ทั้งสมรสเท่าเทียม และการทำงานสร้างขบวนการเคลื่อนไหวของมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน มาตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา
    ถ้อยคำว่า“ขอบคุณ”มันจำกัดเสียจนเราอึกอัด แต่ไม่รู้จะใช้คำใดมาแทน
    ขอบคุณจริงๆ

КОМЕНТАРІ •