Розмір відео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показувати елементи керування програвачем
Автоматичне відтворення
Автоповтор
รบกวนพี่ ๆ ที่อยู่ในวงการดนตรีไทย หรือมีความรู้ด้านนี้ ร่วมแชร์ประสบการณ์กันได้นะครับ เผื่อคอนเทนท์นี้จะเป็นจุดที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดเล็ก ๆ ก็ตาม ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ 🥹🙏🏻💖
หนูเคยอยู่วงดนตรีไทยมาก่อนค่ะ เวลาไปงานใหญ่ๆหรือครอบครู จะมีการนำเศียรพ่อแก่มาร่วมพิธีด้วย ไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า เศียรจะหน้าคล้ายอาร์จารเจ้าของวง(หมอดูก็ด้วยค่ะ) พี่ๆลองสังเกตกันดูนะคะ ส่วนเรื่องขลุ่ยที่พี่พูดถึงกันน่าจะเป็นขลุ่ยฝรั่งหรือเปล่าคะ(สีขาวแยกชิ้นส่วนได้) ถ้าเป็นขลุ่ยไทยจะเป็นแท่งยาวๆชิ้นเดียวค่ะ😅ปล.คลิปโคนันพี่บอกep.ด้วยได้ไหมคะ หนูไม่รู้ว่าเคยดูตอนนั้นมาก่อนหรือเปล่าไม่อยากโดนสปอยค่ะ หรือไม่หนูจะได้ไปดูมาก่อนที่จะมาดูคลิปพี่เพื่ออรรถรสที่เพิ่มขึ้นค่ะ
ผมเคยเป็นเด็กเรียนดนตรีไทยที่อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องต้องเคร่งเนื่องจากคนในวงการนี้เริ่มน้อยลงถ้านักเรียนทำเสียหายอาจหาคนซ่อมได้ยากและเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดทำมาจากโลหะหรือไม้ที่หายากจึงทำให้ราคาสูงระนาดมือหนึ่งหลักหมื่นก็มีครับและส่วนใหญ่ที่ต้องให้ความเคารพเนื่องจากเครื่องดนตรีไทยมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจึงควรให้ความเคารพเจ้าของคนก่อนที่ล่วงลับครับผม
เท่าที่ฟังคลิปทำนองนี้หรืออ่านคอมเมนต์จากหลายๆคลิปแบบเศร้ามากเลยนะคะ เหมือนส่วนใหญ่ดนตรีไทยจะโดนจำกัดจริงๆเลย เเต่จากประสบการณ์ทางนี้ที่อยู่วงดนตรีไทยโรงเรียนมา ทุกอย่างมันเข้าถึงง่ายไปหมด อยากเล่นเครื่องไหนก็บอกครู ครูก็สอน ครูไม่ว่างสอนก็ให้คนที่เล่นเป็นสอน เล่นกันเช้า กลางวันเย็น ใครว่างคาบไหนก็ไปเล่น ใครอยากเล่นต่อหลังเลิกเรียนครูก็อยู่สอนให้ หรือต้องไหว้ต้องขออะไรนี่ทางโรงเรียนไม่มีเลยค่ะ สารภาพว่าตอนเล่นเเรกเเล้วเพื่อนที่ไม่ได้เล่นถามไม่ไหว้เหรอ นี่ก็บอกไม่ ผีซอเราใจดี เรียกล้อเลียนเลย ก็ไม่เคยเจออะไรนะคะ ตอนเรียนก็ไม่ได้ต้องคลานเข่าอะไร เเค่กระโปรงไม่คร่อมเครื่องดนตรีก็พอ คิดมาตลอดว่าโรงเรียนอื่นก็คงเหมือนกัน ส่วนตัวคิดว่าที่ดนตรีไทยมันเข้าถึงยากเพราะตัวบุคคลค่ะ ครูที่สอนเลยเล่าว่าเมื่อก่อนเข้าไม่สอนกันเลยหวงวิชา เเล้วหลายๆคณะเขาเหมือนได้รับอิทธิพลครูต่อๆกันมา เเล้วก็ทำเชิงหวงๆ ส่วนเครื่องดนตรีมีครูนี่ก็มีที่พูดๆกันค่ะ ว่าเวลาทำพิธีครอบครู มันจะมีพิธีบรวงสรวงเครื่องดนตรี มันเลยเหมือนถือว่าเออ นี่ไม่ของคนธรรมดาเเล้วนะ มันคือของที่เราถวายไปเเล้ว เเล้วบทสวดถวายคือถวายให้ไปหมด เทพ มาร เยอะเเยะไปหมด เเต่ส่วนตัวเข้าพิธีมาเรียกผีซอเหมือนเดิม เเต่ไม่ใช่ว่าลบลู่หรืออะไร เเต่ในความรู้สึกตัวเอง รู้สึกว่าเออถ้ามันมี เราสนิทกับเขาอะ เราซ็อมด้วยกันมาเป็นปีๆอยู่ด้วยกันขนาดนี้สนิทเเล้วเเหละ หยอกล้อได้ เเต่ถึงเวลาไปแข่งหรืออะไรก็มีความเคารพเขาในแบบของเรา
อันนี้เราฟังมาจากครูค่ะ ตลกร้ายมาก เหมือนในวงการดนตรีจะก็จะมีเรื่องของการเมืองในสายดนตรีมาตั้งเเต่ช่วงยุคเฟื่องฟูค่ะ พอช่วงที่จัดระเบียบการเล่นดนตรี เลยมีการกำหนดแบบเเผนขึ้นมา ดนตรีเลยเหมือนแบ่งเป็นสองสายคือ แบบที่เป็นไปตามแบบแผนกับแบบสร้างสรรค์(อันนี้เป็นเราเรียกเองนะคะ ประมาณการเล่นแบบผสานดนตรีสากล การเล่นอิสระใดๆ) ซึ่งสิ่งที่น่าเศร้าคือ รูปแบบที่เป็นไปตามแบบเเผนถูกยึดใช้ในกระทรวงศิลปะวัฒนธรรมค่ะ การที่จะเล่นแบบอิสระเลยจะโดยครหาจากคนส่วนใหญ่ในวงการ ยิ่งก่อนหน้านี้ด้วย ไม่ได้สามารถเผยเเพร่ พอมาถึงช่วงที่เผยเเพร่ได้ความนิยมันก็เสื่อมลงมาเรื่อยๆเเล้ว ปัญหาที่เคยสังเกตุจริงๆมาค่ะ พอมันเเบ่งเป็น2สาย คนที่เรียนมาจากอาจารย์ที่เป็นทางสายแบบแผน(อธิบายเพิ่มเติมนะคะ เหมือนเพลงๆนึงในดนตรีจะสามารถเล่นได้หลายรูปแบบค่ะ ทางดนตรีจะเรียกว่าทางดนตรี ) ก็จะยึดตามว่าเออ ดนตรีที่ไทยที่เเท้จริง ต้องเป็นตามเเบบเเผนส่วนการพัฒนาเครื่องดนตรีมีมาตลอดค่ะ ระนาดไฟฟ้าก็มีเเล้ว ขิมอะไรงี้มีการปรับดีไซน์แบบอินเตอร์สุด เเต่ในวงการเขาไม่ให้การยอมรับค่ะ เขาไม่ออกมาบอกตรงๆหรอก เเต่ก็ไม่มีการให้การรับรองสนับสนุนใดๆ เเล้วก็เพิ่มลำพังผู้พัฒนาก็อาจจะไม่ได้สามารถเผยเเพร่มันได้เท่าที่ควร มันเลยเป็นเหตุผลที่เราทราบว่าทำไมดนตรีมันยังเป็นดนตรีเฉพาะกลุ่ม ลำพังคนที่เล่น ยังมีการตีกันเลยค่ะ(not at allนะคะ)
ดนตรีไทยมีมานานคงจะมีเรื่องผีเรื่องสางมาควบคู่ก็ไม่แปลก คนไทยสมัยก่อนนับถือผีก่อนพระ ดนตรีไทยคือการยำรวมผี,พระ,เทพ,ครู,พ่อแม่เข้าด้วยกัน รวมไปถึงการใช้ไม้ที่มีอายุหรือพันธุ์เฉพาะที่คนไทยถือ อย่างไม้ชิงชัน,ไม้ประดู่,ไม้พะยูง จะทำให้ลูกระนาดเสียงดีขึ้น คนไทยก็คิดไปอีกว่าต้องมีผีสางมาอยู่ต้นไม้ก่อนเลยต้องทำพิธีนั่นนี่เยอะแยะ เพื่อขออนุญาติ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผีอยู่ในไม้เหล่านั้นจริงๆ)เชื่อกันว่าใครถือครูย่อมได้ดี การจะได้ดีต้องเรียบร้อยและไม่ก้าวร้าว จึงจัดพิธีไหว้ครูเพื่อแสดงความเคารพนานา ส่วนเรื่องผีนางรำนี่คิดว่าคนส่วนใหญ่เจอผีดนตรีมาก่อนแล้ว(เสียง,ตัวเป็นๆที่เขาเป็นครูบาอาจารย์ สต.คิดว่าเขาไม่ได้มาหลอก แต่มาทำให้รู้ว่ามีนะ) หนังหรือสื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยจิตปรุงแต่ง คนนั้นเจอ เอ้า คนนี้ก็เจอนั่นนี่แต่อย่างที่บอกว่าทุกศาสตร์มีครูบาอาจารย์ เป็นเด็กดีนะจ๊ะจะได้ไม่ต้องโดนท่านดุท่านว่า (ไม่งั้นก็จะมาให้เห็นแบบสุกี้น้ำหรือทำอนาคตเสียคนเลยก็ได้)
จริง ๆ แล้วผมมองว่าการนำ culture แบบไทย, ดนตรี หรือเพลงเก่าของไทยมาใส่ในงาน horror มันเป็นแค่ "ส่วนประกอบ" ที่จะทำงานชิ้นนั้น ๆ ออกมาสมบูรณ์มากกว่าครับ ทว่าบางคนก็ยังติดอยู่ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์, ดนตรีไทยมีครู มีของ ห้ามเปลี่ยนแปลงในฝั่งตะวันตก ภ.คอนจูริ่ง 2 นำเพลง Can't help falling in love มาเป็น ost. ก็ยังไม่เห็น Elvis Presley จะออกมาหลอกมาหลอนใคร กระทั่งเพลงประกอบหนัง sound effect ส่วนใหญ่ที่บรรเลงประกอบหนังสยองขวัญ ก็ยังไม่เห็นบีโธเฟน หรือนักแต่งเพลงคนไหน ๆ ออกมาหลอกมาหลอนให้เป็นข่าว หรือมีกรณีพิพาทจากฝ่ายต่าง ๆ ของเจ้าของเพลงออกมาต่อว่าอะไรเลย มีแต่ประเทศเรานี่แหละครับที่พอเป็นดนตรีไทยต้องโดนตรวจสอบก่อนตลอด ผมโดนบ่อยมากครับในฐานะคนที่ต้องนำเพลงเก่ามาประกอบในงาน โดนว่าลบหลู่บ้าง ไม่เคารพบ้าง ซึ่งงานของผม based on ยุค 80s ลงไปด้วยความเป็น analog ถ้าให้ใส่เพลง pop ปัจจุบัน มันก็ไม่เข้ากันอยู่ดี ที่ผมใส่เพลงไทยลงไปไม่ใช่เพราะความไม่เคารพ ทว่าคือความเหมาะสมของงานมากกว่าครับสุดท้ายนี้ ผมคิดว่า สิ่งใดที่ไม่วิวัฒน์ไปข้างหน้า และไม่ปรับให้เข้ากับยุคสมัย เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนั้นก็จะค่อย ๆ ตายไปในที่สุดครับ
เรื่องต้องขอครูก่อนเล่น ต้องเคารพเครื่องดนตรี ฯลฯ ผมมองว่าน่าจะเป็นอุบายของคนสมัยก่อนมากกว่าเพราะสมัยก่อนเครื่องดนตรีไทยเกือบทุกชิ้น มักจะเป็นงานแฮนด์เมด แถมวัสดุที่ใช้ทำก็จะเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่ได้หาได้ง่ายๆ เช่น ช่างระนาดสายนี้ต้องใช้ไม้พันธ์ A มาทำโครง พันธุ์ B มาทำราง ฯลฯมันยากที่จะหาซื้อมาทดแทนในเวลาสั้นๆได้ จะซ่อมแต่ละครั้งก็ต้องใช้ผู้ชำนาญจริงๆ ซึ่งก็มีไม่เยอะอาจต้องรอคิวและค่าใช้จ่ายสูง คนสมัยก่อนเลยมีอุบายให้ต้องมาขออนุญาติก่อน จะได้มีคนคอยดูแลควบคุมไม่ให้ทำเสียหาย หรือถ้าเป็นศิษย์ที่เชื่อใจได้ ก็อาจจะอนุญาติให้เล่นได้โดยไม่ต้องขอจริงๆแม้แต่ในยุคหลังๆมานี้ ก็ยังไม่ค่อยเห็นที่ไหน ผลิตเครื่องดนตรีไทยออกมาได้คราวละมากๆเลยครับ(ยกเว้นพวกขลุ่ย ที่อาจจะง่ายทั้งการหาวัสดุและเทคนิคการทำ)
ขลุ่ยทำยากอยู่นะคะ ยากตอนเจาะ เพราะถ้าเจาะผิดตำแหน่งนิดเดียวเสียงเพี้ยนใช้ไม่ได้เลยค่ะ เจาะไปแล้วแก้ใหม่ไม่ได้ด้วย ทำใหม่อย่างเดียว
@@onionft.4507 ที่ว่าง่ายคือกระบวนการมันไม่ค่อยซับซ้อน มีขั้นตอนน้อย สามารถใช้เครื่องจักรทำแทนได้ครับ เลยพบเห็นขลุ่ยขายกันทั่วไป แต่ถ้าจะเอาคุณภาพดีเสียงดีงานแฮนเมดอาจจะดีกว่า
ง่ายๆ คนไทยครับ 😂😂😂
เป็น กุศโลบาย ของคนโบราณที่สอนต่อกันมา เพราะเครื่องดนตรีไทยมันเสียหายง่ายครับหาช่างซ่อมก็ยากมาก อะไหล่ก็ต้องสั่งจากช่างที่ชำนาญในเครื่องดนตรี มันจะเข้าถึงยากก็ไม่แปลกครับ
ผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าตอนผมเด็กแบบเด็กมากๆที่บ้านซื้อระนาดไม้มาให้ตีเล่นเลยคือตีจนพังตอนนั้นสนุกมาก55555
Vobooo
แรกเริ่มเดิมทีเครื่องดนตรีทางฝั่งเอเชียไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อความบันเทิง แต่เพื่อ ประกอบพิธีกรรม ค่ะ ดังนั้นการสืบทอดวิชาดนตรีแทบจะเหมือนสืบทอดคาถาอาคมเลยค่ะส่วนคำที่่า เครื่องดนตรีมีครู ครูในที่นี้เสมือนหัวหน้าคนทำพิธีอ่ะค่ะ น่าจะพอคิดภาพออก การผิดครูก็เหมือนการทำผิดในเรื่องของคุณไสยค่ะ
ดนตรีไทย ตามความเข้าใจของผมนะ มันลึกซึ้ง มันมีครูบาอาจารย์ มันรวมอยู่ในวิถีชีวิต ประเพณี และความเชื่อครับ คนเป็นครูสอนดนตรีไทย แม้กระทั่ง ลิเก มโนราห์ หรือ อื่นๆ มันมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในนั้นครับ มันฝังรากมานานแล้ว ครูบางท่านหวงวิชา ถ้าจะมาเรียน ต้องมีจารีตประเพณี ประมาณนี้ครับ /อีกอย่าง คิอเรื่องสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยครับ เช่น พ่อแก่ หรือครูหมอ เป็นต้นครับ
อย่ากลัวดนตรีไทยหรือการรำไทยเลยนะทุกคน ไม่ได้น่ากลัวเลย ส่วนตัวเราคลุกคลีกับอะไรแบบนี้มานาน ไม่ค่อยเจอด้วยซ้ำ เพราะถ้าตั้งใจทำและมีจิตมุ่งมั่นก็จะประสบความสำเร็จ ครูท่านไม่มีเจตนาหลอกหรือด่าว่าแค่อย่าลบหลู่แม้ตาจะมองไม่เห็น มาอนุลักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยกันนะคะ
เคยเป็นนางรำประจำโรงเรียนตอนประถม ไม่เคยเจออะไรเลยนะคะ แต่ไหว้พ่อปู่ทุกครั้ง ที่ห้อง นาฏศิลป์ ที่โรงเรียนมีหัวโขนประมาน8-9 เป็นหัวเรื่องรามเกียรติ์ เรียงอยู่แต่พ่อปู่อยู่บนสุด ตั้งหน้ากระจกใหญ่ๆ แบบว่าถ้าซ้อมรำอยู่หน้าพ่อปู่จะดูอยู่ไรแบบนี้ แล้วหุ่นนางรำใส่ชฏาสไบยืนอยู่ข้างหลัง ไปแต่งหน้าตี3 อะไรก็ไม่เคยเจอ ไม่รู้สึกกลัว จนได้ดูเรื่อง อาถรรพ์แก้บนผี นั้นแหละจุดกลัว 😅
ประเด็นที่คุยกันเรื่องดนตรีไทยกับดนตรีสากล ดีมากเลยค่ะ เห็นภาพหลายๆอย่างว่าดนตรีไทยแทบจะไม่ปรับตัวเลยจริงๆ อนุลักษณ์จนแตะต้องลำบาก ตอนเรียนก็คล้ายๆกัน ดนตรีสากลครูยังพอให้หยิบจับ เปียโน คีย์บอร์ด ยังพอได้กดเล่น แต่ดนตรีไทย คลุมผ้าทุกชิ้น ไม่มีโอกาสแม้แต่เห็น มีแต่เด็กในชมรมที่เล่นได้ พวกเรานักเรียนทั่วไป ก็ได้แค่ขลุ่ย 😅😅
ที่ไม่ค่อยให้ใครเล่นอาจจะเป็นเพราะถ้าเล่นไม่ระวังอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องดนตรีได้ค่ะ พอเสียหายทีมันซ่อมยาก ไม่เหมือนเครื่องดนตรีสากล พวกระนาด ฆ้องวง ถ้าเล่นไม่ระวังตะกั่วหลุดทีมันซ่อมยากมากเลยค่ะ อีกอย่างคือพวกที่นอกจากขลุ่ยมันมีความซับซ้อนในการเล่นมาก อาจจะไม่เหมาะถ้าต้องเอามาสอนนักเรียนที่มีจำนวนมากในเวลาจำกัด อีกอย่างมันเป็นเรื่องราคาด้วยค่ะ ถ้าจะให้นักเรียนซื้อเองไม่ไหวแน่นอน บางชิ้นเป็นหมื่น ขลุ่ยเพียงออราคาไม่แพงมาก ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ การเล่นไม่ค่อยซับซ้อนจึงเหมาะสมกับเด็กนักเรียนทั่วไปมากกว่าค่ะ บางทีเอาผ้าคลุมไว้หรือถ้าอาจารย์จะหวงก็ไม่แปลกค่ะ เพราะค่าตัวแต่ละเครื่องเองก็ค่อนข้างสูง ช่างเองก็ประณีตในการทำ จึงค่อนข้างต้องถนอมเป็นพิเศษ อีกอย่างไม่แน่ว่าเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นอาจารย์บางท่านอาจจะซื้อมาเองโดยไม่ใช้งบของโรงเรียน หรือเอามาจากที่บ้าน อาจารย์แต่ละท่านเลยค่อนข้างดูแลเอาใจใส่เครื่องดนตรีเป็นอย่างดีเลยดูเหมือนหวงก็ได้ค่ะ
ดนตรีไทยก็ไม่ได้ห้ามขนาดนั้นนะคะ หมายถึง ตอนอยู่โรงเรียนครูเค้าไม่ให้เล่นเพราะกลัวนักเรียนทำเครื่องดนตรีพังรึเปล่า ตอนเราเล่นก็ไม่ได้มีครูมาเฝ้านะคะ แต่ต้องไปขอกุญแจเข้าห้องแค่นั้นเอง ก่อนเล่นก็ไหว้เครื่องดนตรีซักหน่อย 😅😅
ผีนางรำ กับดนตรีไทยเป็นของคู่กันครับ โรงเรียนเก่ามีผีนางรำสิงสถิตในห้องนาฏศิลป์ ส่วนใหญ่ผีนางรำเป็นครูสอนรำเก่า มีหน้าที่เฝ้าปกป้องของในห้องนาฏศิลป์ เคยมีเพื่อนสาวเล่นพิเรนทร์ไปเจอดีเข้าให้ตอนเย็นก่อนกลับบ้านครับ
ดนตรีไทยหรือเรียกว่าในแถบเอเชียมักจะ related กับพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ น้อยมากที่จะเป็นการละเล่นแบบชาวบ้าน ยิ่งพวกเครื่องใหญ่ เครื่องชุด คือจะสงวนไว้เล่นในพิธีใหญ่ ทำให้ดูเข้าถึงยาก และยิ่งช่วงหลังสงคราม หรือช่วงการเข้าสู่การเป็น "อารยะ" ยิ่งทำให้เรื่องของดนตรีไทยมันดูขลัง
สำหรับเราเริ่มกลัวอะไรไทยๆตั้งแต่เริ่มเข้าวัดค่ะ พวกตามผนังที่มีลายจิตรกรรมไทยโบราณ รวมมาถึงหัวโขน หัวต่างๆ ลายลายเส้นแบบนั้นน่ากลัวค่ะคุณเนส ถ้าเออ แต่เริ่มแรกมาเป็นลายเส้นแบบค่ายGhibli โตโตโร่มา น่าจะรู้สึกสบายใจกว่านี้ค่ะ
ก็เพราะเครื่องดนตรีตะวันตกมันไม่มี อย่าตีเล่น อย่าทำอย่างโน่นอย่างนี้ อย่าลบหลู่ มันเลยเข้าถึงง่ายกว่าไง เราก็เเค่มองมันเป็นของชิ้นนึงไม่ใช่สิ่งมีสิ่งลี้ลับ ถ้าของตะวันตกมีเรื่องเเบบนี้เหมือนไทยนะ เเม้เเต่ฝรั่งก็กล้าจับมั่วซั่วหรอก
แรกๆผมก็กลัวครับแต่พอดูบ่อยๆศึกษาทีละนิด มันคือสิ่งที่วิจิตร สวยมากเสียงร้องเสียงประสานดนตรีขนลุกเลยครับ หลังจากนั้นผมก็ไม่กลัวอีกเลยครับ❤😂🎉😅😮😊
การไหว้ครูเรามองว่าเป็นการตั้งสมาธิ ตั้งสติก่อนที่จะเริ่มทำการเล่นดนตรีค่ะส่วนเรื่องของเครื่องดนตรีไทยคนที่เป็นผู้ทำเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมมีน้อยลงมาก ช่างที่ทำเครื่องดนตรีมีผู้สืบทอดน้อยลงกำลังการผลิตเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นน่าจะน้อยค่ะ เลยต้องทนุถนอมมากๆเรื่องของการแผ่ขยายอิทธิพลของดนตรีสากลน่าจะเป็นเพราะคณะมิชชั่นนารีค่ะ ไปพร้อมๆกับศาสนาในยุคล่าอณานิคม การแพทย์ การศึกษา ศาสนา ดนตรีส่วนเรื่องทำไมดนตรีไทยไม่แมสทั่วโลกก็คงเป็นเพราะวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่าค่ะ แต่ละพื้นที่ก็จะมีเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ก็จำกัดอค่เฉพาะในพื้นที่อย่างเครื่องดนตรีของจีนก็เพราะแต่ก็ไม่แมสบ้านเรา ขึ้นชื่อว่าดนตรีสากลก็คือสากลค่ะ
ตอนสมัยเกม HSH ดังๆ ที่ฝรั่งเอาไปแคสกันเยอะๆ ตอนนั้นฝรั่งให้ความสนใจดนตรีไทย กับชุดนางรำเยอะมาก ส่วน 31:53 ระนาด ไปเปรียบเทียบกับกีต้าร์ไฟฟ้าไม่ได้ ต้องเปรียบเทียบกับเครื่องตีด้วยกัน ของสากลจะมี ไซโลโฟน ที่จะคล้ายระนาด
27:25 เพลง whoa ของ xxtenations ก็มีเสียงคล้ายระนาดไทยเราอยู่นะแต่ก็ไมแน่ใจว่าเขาใช้อะไร พอฟังแล้วก็ไม่แย่นะถ้าเอาเครื่องดนตรีไทยมารวมกับเพลงสากล
16:50 ถ้าเอาในเรื่องหลักการแน่นอนครับข้อนี้สำคัญมากคือกลัวเครื่องเสียหายครับเครื่องดนตรี1เครื่องไม่ใช่ถูกๆครูอาจาย์เลยต้องห้ามไว้ก่อนเพราะอาจมีคนที่ไม่รู้วิธีเล่นมาเล่นแบบผิดวิธีแล้วเครื่องดนตรีพังได้ครับเลยต้องได้รับอนุญาตก่อนเล่น พูดในเรื่องข้อห้ามเล่นก่อนได้รับอนุญาตในแบบหลักการแต่แบบความเชื่อผมก็ไม่รู้ครับ 🙏🏻(ผมที่เป็นนักดนตรีแต่เป็นดนตรีสากลครับ)😅🙏🏻
❤❤ ชอบคำพูดนี้มากค่ะ 37:47 ส่วนตัวชอบนะคะเพลงที่สามารถนำดนตรีไทยเข้าไปมิคกับดนตรีสากลได้ ฟังแล้วรู้สึกวาวมากค่ะ
พอฟังวิเคราะห์เรื่องนี้ ทำให้นึกถึงเพลง คงคา ของคุณเอวารินทร์ เลยค่ะ แนะนำให้ลองฟังนะคะ เปลี่ยนมิติดนตรีไทยมาก 🙂
นักดนตรีไทย หรือศิลปินด้านดนตรีนาฏศิลป์ไทย มีส่วนน้อยแล้วครับ ที่ยัง "ติดอยู่ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์, ดนตรีไทยมีครู มีของ ห้ามเปลี่ยนแปลง" แต่ในฐานะของนักดนตรีไทย ครูดนตรีไทยรุ่นใหม่ ๆ มันได้รับผลกระทบจากการที่สื่อนำเสนอภาพให้มันดูน่ากลัวมาอย่างยาวนาน จนมันปลูกฝังมาถึงเด็ก ๆ มากกว่า แบบทำไมเวลาเจอผีจะต้องได้ยินเสียงระนาด หรือเห็นผีนางรำ? ก็เพราะว่ามันโดนดึงไปเป็น "ส่วนประกอบ" หลักไงนักดนตรีและนาฏศิลป์ไทยรุ่นใหม่ เลยอยากให้นำเสนอดนตรีไทย ในด้านที่มันเป็นพลังบวกบ้าง ใจเขาใจเราน่ะครับ สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราชอบ กลายเป็นภาพที่น่ากลัว สยองขวัญ .ในฐานะที่อยู่กับดนตรีไทยและวงการนาฏศิลป์มา ไม่เคยเจอใครโดนผีเข้ากลางงานไหว้ครู หรือเรื่องผีสางนางไม้หวงเครื่องดนตรีไทยนะครับ
ประสบการณ์ส่วนมากที่ทำให้คนกลัวคือ คุณครู ถ้าคุณครูใจดีสอนอย่างถูกต้องมีเหตุผล เด็กๆก็จะไม่กลัวดนตรีไทย แถมอยากเล่นด้วยเพราะตอนเด็กๆซนๆชอบเล่นชอบตีอยู่แล้ว แต่ถ้าตอนเด็กๆเราเจอครูดุ หวงของกลัวพัง ก็แกล้งบอกว่าอย่าไปเล่น ดนตรีเครื่องนั้นมีผี มีครูบาอาจารย์สิงค์อยู่นะ ตอนเด็กๆผมเจอครูแบบที่ 2 เลยทำให้ผมกลัวดนตรีไทย แทบไม่กล้าแตะเลย เวลาเล่นต้องไหว้ก่อนด้วย
ประเทศเพื่อนบ้านเราก็โดนแบ่งดินแดนมาจากเรานี้แหละครับ วัฒธรรมมันเลยเหมือนกันไปหมด
18:30 น่าจะrecorder เป็นเครื่องสากล หรือเปล่าคะ ไม่ใช่ขลุ่ย เลยไม่ต้องไหว้22:46 น่าจะที่เราไหว้ น่าจะเพราะปกติดนตรีไทยทำยากคนที่มีโอกาสเล่นสมัยก่อนต้องเป็นลูกหลานอดีตนักดนตรีในวัง แล้วพอส่งต่อเครื่องหรือเทคนิคการเล่น เพลง เลยมีการไหว้รำลึกและขอบคุณครูผู้สอนและให้วิชา พอหลังๆผลิตได้มากขึ้น แต่ยังคงมีความเชื่ออยู่เลยทำต่อๆกันมา
ผมว่าเรื่องข้าม เรื่องไหว้เนี้ย น่าจะเป็นเรื่องของมารยาทไทยที่คนโบราณส่งต่อกันมา เช่น ห้ามข้ามหมอน ห้ามข้ามหนังสือ ห้ามข้ามหัวหรือเดินอ้อมผู้ใหญ่ พอมาเครื่องดนตรีไทยจึงเป็นลักษณะคล้าย ๆ กัน หรือเรื่องไหว้เครื่องดนตรี ก็คล้าย ๆ เราไหว้ผู้ใหญ่ อะครับซึ่งทั้งหมดทั้งมวล มันก็ผูกกับเรื่องศาสนาด้วย เราชาวพุทธก็จะมีเรื่องพระคุณ สำหรับบางคนที่เป็นชาวบ้านธรรมดามาก่อน แต่ได้ดิบได้ดีเพราะเครื่องดนตรีไทย เขาก็อาจจะรักและหวงแหน สิ่งที่มีพระคุณต่อเขาเลยต้องไหว้ก่อน ประหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อยากให้พี่ วิเคราะห์ เรื่อง อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต ครับ ขอบคุณครับ [ถ้าทำไปแล้วขอโทษครับ] ❤❤❤
สำหรับผม ดนตรีไทยสมัยก่อน จะถูกบรรเลงอย่างปราณีต มีความงดงาม สวยงาม ถ้ามีผู้ฟ้อนรำหรือเต้นประกอบจังหวะ จะดูภูมิฐาน มีกาละเทศะ แต่เมื่อเรานึกถึงครู ครูที่เรารู้จักก็มีแต่ครูที่สอนเรา ครูของครูอีกทีใช่มั้ยล่ะครับ คนที่เสียชีวิตแล้ว ความเป็นคนไทย ถูกปลูกฝังมากับสื่อมากับเรื่องเล่าเราจะนึกถึงอะไรได้อีกนอกจากผี ผีในอุดมคติของคนไทย ก็จะมีความเละๆ อึมครึม ไม่มีสตอรี่แต่ก็สามารถทำให้กลัวได้จากเครื่องแต่งกายและท่าทางที่ทำให้อึดอัด ถ้าเอามารวมกับดนตรีไทยที่มีความเรียบร้อย สวยงามก็จะดูขัดกันอย่างเห็นได้ชัด ความอึดอัดเวลาที่ได้ยินหรือได้เห็นก็จะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เป็นคนรักษาของ เมื่อเด็กต้องการที่จะเล่น หรือทำอะไร ก็มักจะเอาเรื่องของผี ฆตก มาผูกสตอรี่ให้เด็กกลัว และไม่กล้าที่จะเล่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องดนตรี
ผมเรียนคณะ วิทยาศาสตร์และชื่นชอบมากครับ แต่มีภาพ 1 ในหัว 10 ปีมาแล้ว สมัยผมเด็กๆ ก็ยังจำไม่ลืมทั้งรูปร่างและลักษณะ จนถึงทุกวันนี้นั้นก็คือ นางรำยืนจ้องผมอยู่
ดนตรีไทย คอนเซ็ปต์ของการเคารพครู เคารพเครื่อง เคารพเพลง เคารพในด้านต่างๆ เคารพในที่นี้คือการเคารพครูบาอาจารย์ เป็นการแสดงความกตัญญูครับ เครื่องดนตรีก็ถือเป็นครูเหมือนกัน แต่มันไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเลยครับ เพลงหน้าพาทย์ต่างๆที่มีข้อกำหนดต่างๆ ก็มีเหตุผลของมัน แต่แค่เล่นผิดก็ไม่ตายเหมือนในหนังหรอกครับ
เข้าใจแต่เข้าถึงยากมากๆ เรามีโอกาสได้เรียนแค่ช่วงประถมปลาย ครูเขาสอนระนาดบอกอยากให้เด็กๆได้เรียนได้รู้จักแต่ก็ได้เรียนแค่ช่วงสั้นๆช่วงปีนั้น พอขึ้นมัธยมก็ได้แค่จดแค่ฟังไม่โอกาสได้เรียนแบบปฎิบัติเลย
จากข้อคิดเห็นบางประการของผม (ส่วนตัว) หากพูดถึงดนตรีไทย(ภาคกลาง)คนส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกว่ามัน"ศักดิ์สิทธิ์" อาจเป็นเพราะดนตรีไทยได้อิทธิพลจากดนตรีราชสำนัก อะไรที่มาจากราชสำนักมักมีแบบแผน มีความศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง แล้วครูที่สอนเค้ามีครูที่สืบครูสืบกันมาแต่โบราณ(แล้วแต่สายใครสายมัน)แต่ต่างกับดนตรีพื้นบ้านที่จะเล่นกันแบบเสรีคือไม่มีแบบแผนชัดเจนแบบดนตรีราชสำนัก ดนตรีชาวบ้านจะเล่นอยู่ 2 วัตถุประสงค์ คือ พิธีกรรม กับ บันเทิง แน่นอนว่าดนตรีพิธีกรรมมีอยู่ทั่วโลกสากล ไทยมีอยู่ทุกภาคครับ ปจบ.เราจะเห็นวงดนตรีพื้นบ้านมีพิธีกรรมเหมือนดนตรีแบบแผนนั่นคือไหว้ครูครอบเศียรแล้ว(เนื่องจากครูในสายนั้นไปร่ำเรียนจากครูที่สืบมาจากสายราชสำนักต่อๆกันมา) อย่างดนตรีภาคเหนือเงี้ยก็ไม่มีเรื่องเล่าผีแบบดนตรีภาคกลางเลย ถามว่ามีดนตรีที่เกี่ยวกับผีไหม "มี"ครับ พวกวงปี่พาทย์ล้านนาเล่นตอนฟ้อนผี ซึ่งผีก็ไม่ได้มาสยองแบบนางรำภาคกลาง เนื่องจากปัจจัยทางด้านสังคม ประเพณี วัฒนธรรมที่ต่างกันครับ
ป้าๆ 35-40 😂😂😂😂 หัวใจจะวาย 35 ยังวัยสะรุ่นอยู่ฮะ
ขอโทษฮะะ เอาจริง ๆ ตัวผมก็จะแตะ 30 แล้วครับ ไม่น่าจะต่างกันครับ ฮ่า ๆ 😂😂
ตามความรู้สึกคือ เพราะว่าในงานศพมักจะเปิด บรรเลงดนตรีไทย แน่นอนว่าดนตรีไทยสามารถใช้โอกาสอื่นๆมากมายนอกจากงานศพแต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดนตรีไทยต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมอื่นๆในไทยมากมาย อุปกรณ์เครื่องดนตรีไทยต่างๆ มีครูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะหลีกหนีไม่พ้นจากความรู้สึกกลัวสิ่งลี้ลับด้วยแน่นอน กลัวนางรำเพราะการแต่งกายของนางรำจะใกล้เคียงกับการแต่งกายของคนสมัยก่อน มันดูโบราณ ดูเก่า ดูคลัง และเเน่นอนดูน่ากลัว
เรื่องบ้านมันส์ดีครับ
อยากให้วิเคราะห์หนังเรื่อง insidious มากค่ะ
ไม่รู้จริงมั้ยนะคะ แต่จากที่ชอบฟังผีนางรำ หลายๆเรื่อง เค้าจะเล่าทำนองว่าครูนาฏศิลป์ไทยค่อนข้างจะดุ และจริงจังกับสิ่งที่ตัวเองสอน ถ้าสมมุติครูนาฏศิลป์ไทยเสียชีวิตไปทั้งๆที่ตัวเองยังทำหน้าที่ครูอยู่ เค้าจะเป็นผีและกลับมาสอนเพลงนั้นให้จบ เค้าจริงจังกับการรำอะไรประมาณนี้มั้ย เลยทำให้เวลาได้ยินเพลงไทย ดนตรีไทย รำๆ แล้วรู้สึกกลัวๆ
ความเห็นของผม ผมว่าปัญหาหลักของดนตรีไทยจริง ๆ ในปัจจุบันก็คือกฎเกณฑ์ที่มากเกินไป จริงแหละที่อะไรหลาย ๆ อย่างอาจจะใช้เพื่อเป็นกุศโลบายของสมัยนั้น แต่อะไรที่ล้าสมัยเกินไปก็ควรจะลดความสำคัญสิ่งนั้นบ้างและกฎเกณฑ์ หัวโขนที่เป็นครูที่เราต้องไหว้ ความศรัทธานี่แหละที่ทำให้เกิดเรื่องเล่ามากมายจนเกิดเป็นหนังในที่สุด
เพลงสากล ผสม เครื่องดนตรีไทย มันเพราะมาก ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอะไรแบบมาก เพลงสากลก็สนุกมาใส่ดนตรีไทยเข้าไปดูเพราะเลย อย่างเพลง นนทก และ นาราย ของ Bookiezz อันนี้กินใจผมสุดๆเลย และบางคนเอาเพลงสากลมา Mix ใหม่ เพลงนั้นเพราะมากเมื่อเอาดนตรีไทยเข้าไปผสมด้วย อย่างเช่นเพลง วาดไว้ ของ BOWKYLION Remixโดย PJJohan ถ้าศิลปินเราเอาดนตรีไทยเข้าไปผสมเหมือน วงออร์เคสตรา ได้ผมว่าเพราะมากเลยนะ ไม่ก็จากเพลงไทยเดิม เปลี่ยนการเล่นมาเป็นเพลงสากลแต่เล่นในทำนองของดลตรีไทย ทุกวันนี้โรงเรียนที่ผมทำงานอยู่ ผมเห็นเครื่องดลตรีไทยและสากลวางนิ่งอยู่เฉยๆไม่มีใครเข้าไปเล่นหรือมีครูมาสอนให้เด็กๆหัดเล่นหัดใช้งานเลย ;-;
จารย์ชอบพูดตลอดว่าของทุกชิ้นมีครู จะจับจะเล่นต้องยกมือไหว้ นานๆเข้าเลยทำให้รู้สึกว่าในห้องมีผีครับ ด้วยบรรยากาศ ดูเก่าๆทึมๆ มีกลิ่นเก่าๆไม้ๆอับๆ กลิ่นเฉพาะตัว
ดนตรีไทยเป็นของมีครู จากที่เราเคยเป็นนางรแล้วก็เคยเป็นนักดนตรีไทยมาด้วย คนเฒ่าคนแก่เขาก็เล่าต่อๆกันมาว่าดนตรีไทยแต่ละเครื่อง จะมีครูไม่เหมือนกันคิดว่าถ้าคนที่เล่นคนแรกเขาเสียแต่จิตของเขายังอยู่ที่เครื่องดนตรี มันก็มีพิธีการไหว้ครูครอบครูตลอด ก่อนจะเล่นเครื่องดนตรีเครื่องไหนเราจะต้องยกมือไหว้ทำความเคารพก่อน ด้วยความที่คนไทยอยู่กับเรื่องสิ่งที่มองไม่เห็น มันก็เลยมีความเชื่อที่ว่า อย่าข้ามหนังสืออย่าข้ามเครื่องดนตรี เพราะของทุกชิ้นมีครูในตัวเราควรจะเคารพเขามันเหมือนกับการที่เรายืมของคนอื่นมาแล้วเราควรจะรักษาของของเขาให้ดี เพราะเราไม่รู้เลยค่ะว่าอุปกรณ์ที่เราเล่นเครื่องดนตรีที่เราเล่น ชฎาที่เราสวมผ่านใครมาบ้างมีประวัติอะไรมาบ้างค่ะ
ส่วนตัวนะคิดว่าเป็นกุศโลบายให้ดูแล้วเครื่องมือทำมาหากินของตัวเองมากกว่า สมัยก่อนเนียะพวกวงดนตรีไทยนี้มันระดับที่ต้องแสดงในวังบางหรือแสดงในงานใหญ่ๆทำให้การดูแลอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนทำไมถึงห้ามเอามาเล่นมั่วๆเพราะมันจะทำให้เสริมสภาพเร็วขึ้นหรือไม่ก็เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบสายขาด หนังที่ขึงกลองขาด ในวันแสดงหรืออีกกรณีนึงที่นึกออกคือ มาเล่นนอกเวลามันรบกวนคนอื่นเวลาพักผ่อน
ที่ตอนเด็กเรากลัวห้องนาฏศิลป์หรือห้องวิทย์ อาจจะเป็นเพราะพวกหุ่นที่คล้ายมนุษย์ + เรื่องราวหลอนที่เราจำมา ที่เรากลัวพวกหุ่นก็อาจเป็นเพราะว่ามันคล้ายมนุษย์มากเกินไป มีหูมีตาแขนขาและขนาดที่ใกล้เคียงกับมนุษย์+จินตนาการ
วงที่เอาดนตรีไทยมาผสมได้โคตรลงตัวอีกวงคือ วงทรงไทย แนะนำมากๆ เลยครับวงนี่
พอพี่ ๆ พูดถึงกีตาร์ไฟฟ้ากับระนาด มันทำให้ผมนึกถึงภาพคอนเสิร์ตเพลง พลังดนตรี คอนเสิร์ต M150 ระหว่างขุนอินกับพี่เสก โลโซเลยครับผม (อยู่ช่วง 3.10 เป็นต้นไปครับ)
ua-cam.com/video/dSVdJTDZK3k/v-deo.htmlsi=5CODBoREbFoyRO_G
อาจจะเป็นดนตรีร่วมในหลายๆเครื่องดนตรี แต่คนไทยมักจะทำเครื่องดนตรีให้เป็นเอกลักษณ์ในแบบของไทย เช่นเดียวกับโขนไทย ที่ใครๆมองมาก็รู้นี่คือโขนประเทศไทย พวกผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าต่างๆที่ประเทศเพื่อนบ้านก็มีเหมือนกัน แต่เอกลักษณ์ อัตลักษณ์จะบ่งบอกว่าคือของประเทศไหน ดนตรีไทยคนไทยเล่นด้วยเพลงที่มีความบ่งบอกว่านี่คือเสียงเพลงไทย
ความเห็นส่วนตัวนะคะ ขลุ่ยไม่ใช่เครื่องดนตรีไทยรึป่าว(ไม่แน่ใจนะคะ) เลยสามารถเป่าเล่นได้เลย เพราะมีการแบ่งชนิดแยกไปด้วย เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้ ส่วนขลุ่ยที่เรามีไว้ตอนเรียนดนตรีไทย คือขลุ่ยเพียงออค่ะ
มันคือ อิทธิพลโบราณว่า เป็นสิ่งมีครู เป็นของสูงด้วยครับ เปิดมาเรื่องแรกก็เปิงมางเลย
วู้วมีในสปอติฟายด้วยชอบมากดีใจ
เรื่องข้อห้ามที่ดนตรีไทยมีมากกว่าดนตรีสากล อาจจะเป็นเพราะในสมัยนี้ดนตรีไทยไม่ค่อยจะผลิตกันแล้ว อาจจะหายาก ซ่อมแซมยากกว่า เลยทำให้มีข้อห้ามเยอะกว่า
ส่วนตัวคือ ตอนเรียนครูดนตรีไทยมีคนเดียว ค่อนข้างมีอายุแล้วเวลาพูดเขาจะชักกะตุกนิดๆอะคะเหมือนคนมีปัญหากับระบบประสาท แล้วเขาเคยพูดให้ฟังว่าที่เขาเป็นแบบนี้เพราะเขาเคยลองดีมากก่อนนะกับเครื่องดนตรีไทย เพราะฉะนั้นก่อนจะเล่นก็ยกมือไหว้ซะก่อนแล้วก็อย่าลบหลู่ แล้วเราอายุเท่านั้นอะคะก็เชื่อ แล้วเรียนดนตรีไทยทุกปี 12ปี (แบ่ง2เทอมอีกเทอมจะไปเรียนดนตรีสากล) แต่ถามว่ากลัวมั้ยก็คงไม่ได้ขนาดนั้น เพราะ ตึกเรียนก็อยู่ข้างสุสานของคริสต์5555
ขลุ่ยที่ถอดได้เป็นสากลครับเรียกว่า recorderส่วนขลุ่ยที่เป็นดนตรีไทยจะมี ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ แต่ที่ใช้ในการเรียนจะเป็นขลุ่ยเพียงออสักส่วนมากครับ
เพราะว่าถ้านึกถึงดนตรี Hiphop แล้วจะนึกถึง 2pac ครับ
แต่ตอนนี้มีพี่เอ้ Botcash เอาพิณ มาเล่มรวมกับความเป็นEDMแล้วนะ ซึ่งดีมากๆ
เพราะการรับรู้และสื่อตอนเราโตขึ้นมาก็เจอแต่แบบนี้ จะให้มองไปทางอื่นได้ไง😅
ทุกวันนี้ยังสงใสอยู่ครับ เพราะเหตุใด เครื่องดนตรีไทย ถึงต้องแยกออกจากกันกับห้องนาฏศิลป์รวมอยู่ห้องเดียวกันไม่ได้หรือเพราะอะไร?
อีกสาเหตุนึงคือการจะเล่นก็ไม่ได้เข้าถึงง่ายด้วยค่ะ เทียบกับดนตรีสากล ส่วนตัวเราเคยเล่นเครื่องตีมาช่วงนึง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่เล็ก เล่นได้หมด ไม่ได้จับมาเป็นสิบๆปี วันนึงเราอยากจะเล่นระนาดเอก ก็ไม่ใช่ว่าวันนึงเราอยากจะกลับมาเล่นแล้วจะเดินไปซื้อระนาดมาวางที่บ้านได้เลย 55555 ร้านที่ทำก็น่าจะน้อยมาก อาจจะต้องสั่งล่วงหน้าหรือมีแหล่งที่รู้จักอยู่แล้ว คนไม่ได้อยู่ในวงการก็คงไม่รู้กัน และราคาก็น่าจะไม่ใช่ถูกๆ แถมยังใช้พื้นที่เยอะ ไม่เหมือนกับซอหรือพวกเครื่องสายบางชิ้นที่เป็นชิ้นเล็ก อีกอย่างคือดนตรีไทยเล่นคนเดียวไม่สนุกค่ะ มันไม่กลมกล่อมเท่าไหร่ ระนาดเอกหรือพวกเครื่องสายยังพอว่า คนเล่นฆ้องนี่จบเลย จะซื้อฆ้องวงใหญ่มานั่งเล่นที่บ้านก็เหงาเกินค่ะ 😂😂
จากอดีตเซลล์ ถ้านายสนใจ เซลล์จะไม่ขายคุณภาพแล้วอ่ะ
ตอนเรียนดนตรีไทยจารไม่ซีนะแต่จารเก็บในตู้ต้องให้จารเปิดให้ เครื่องสีเครื่องเป่าเล่นได้ตามสบาย จะมีระนาดกับขิมที่จารห่วงนิดๆ แต่เราไปลองซอแล้วกลัวสายขาดมากเลยไม่เล่นอีก
ส่วนตัวค่อนข้างชอบในดนตรีไทยเลยเคยเปิดนอนฟังอยู่555ก่อนคริปนี้จะออกเคยคิดอยู่ว่าทำไมพวกนาฏศิลป์ไทยดนตรีไทยถึงได้มองไปในแนวเรื่องลี้ลับเรามองในทางของสูงที่น่าเคารพมีครูอาจารย์ดูแล้ววมีเสน่ห์ยังไงไม่รู้
การยกมือขึ้นมาไหว้ ก็เหมือนการใส่กางเกงใน ก่อนออกไปวิ่งนั่นแหละครับ
ในความคิดเห็นของเรา จากมุมมองของคนที่ไม่กลัวอะไรที่เกี่ยวกับดนตรีไทย เรามองว่าการที่คนส่วนมากกลัวดนตรีไทยหรือเครื่องดนตรีไทย คงจะเพราะตั้งแต่สมัยก่อนมา ดนตรีไทยและเครื่องดนตรีจะให้ความรู้สึกขลังๆเหมือนกันนะคะ ใช้ในพิธีกรรม มีเรื่องของครูบาอาจารย์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่เราคิดว่าน่าจะทำให้รู้สึกกลัวได้ คงเพราะพิธีกรรมและความเชื่อนี่แหละค่ะ ดนตรีไทยหรือการรำไทย จะเห็นได้บ่อยๆว่ามักจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมต่างๆอยู่เสมอ มีการทำพิธีครอบครูอยู่ด้วย ถ้ายิ่งเป็นสมัยก่อน คนไทยเราเองก็นับถือผี มันยิ่งรู้สึกว่ามันโยงเกี่ยวกัน บางที ถ้าเป็นเครื่องดนตรีเก่าๆที่ผ่านการทำพิธี อาจจะมีวิญญาณของครูดนตรีที่สถิตย์อยู่ ณ เครื่องดนตรีนั้นก็ได้ น่าจะเพราะแบบนี้ เครื่องดนตรีไทยเลยถูกมองเป็นของสูงต้องเคารพ เพราะมีครู จะว่าไป พอพูดถึงพิธีกรรม ก็ชวนให้นึกถึงพวกคุณไสยหรือมนต์ดำอยู่ด้วย ยิ่งเป็นสมัยก่อนแล้วด้วย มันรู้สึกขลังๆยังไงชอบกล เขาดูแบบ จริงจังกับวิชาความรู้ของแต่ละสำนัก ยกตัวอย่างเช่น ขนาดแค่เรื่องทำอาหารเขาก็มีสูตรใครสูตรมัน จะทำทั้งทีต้องปิดครัวไม่ให้คนนอกรู้ นี่เลยคิดว่า ถ้าเป็นเรื่องดนตรีก็คงจะคล้ายๆกัน เพราะงั้นเครื่องดนตรีไทยมันก็ดูขลังมาแต่ไหนแต่ไร แตะต้องก็ยาก ต้องเคารพบูชา คนที่รู้สึกสนใจบางคนก็อาจไม่ได้มีโอกาสเล่น แต่จริงๆสำหรับเรา เราไม่คิดไรมากถึงเรื่องนั้น เราว่าดนตรีไทยนี่มีสเน่ห์มาก ไม่อยากให้หายไปไหน และคิดว่านะ ถ้าเราไม่ได้ทำพิธีกรรมครอบครูอะไร เครื่องดนตรีนั้นก็เป็นแค่เครื่องดนตรี เว้นแต่ว่า ไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้นจะมีกุ๊กกู๋ตามมามั้ย อันนี้ก็อีกกรณีนะคะ 55555555555
กลับกัน นี่เห็นเครื่องดนตรีโบราณของจีนก็ยังแมสอยู่นะ ไม่เคยได้ยินว่าพวกกู่ฉิน กู่เจิง เอ้อร์หู จะมีวิญญาณ จะมีผีตามมา เพลงจีนสมัยนี้มีเพลงแนวๆผสมดนตรีโบราณแล้วก็งิ้วเข้าไปเยอะมาก เราว่าดนตรีไทยก็ยังมีโอกาสแมสได้อยู่เยอะเลยนะ ตั้งแผงขายเลยละกัน เช่นเพลง “ คงคา ของคุณ Evalia หรือคุณ เอวารินทร์“ ผสมความเป็นไทยลงไปได้ดี และทำให้เห็นได้เลยว่าคนยุคใหม่ยังให้ความสนใจกับความเป็นไทยอยู่จริงๆ เพราะอย่างงั้น หันไปเล่นดนตรีไทยกันเถอะค่ะ บรรพบุรุษเราน่าจะดีใจมากกว่านะ ที่เห็นว่าดนตรีไทยยังมีคนสืบต่อไป จริงๆมันก็มีความโรแมนติกอยู่ด้วยนะ ดนตรีไทยเองก็มีเพลงหวานๆเยอะเหมือนกัน นึกถึงภาพที่ว่าคนสมัยก่อนจีบกันโดยการเล่นดนตรี แหม่ มันก็เขินอยู่นะ แต่อันที่จริงถ้าจะให้มันกลับมาแมสจริงๆ เราว่าต้องมีละครพีเรียดที่เกี่ยวกับดนตรีคล้ายๆโหมโรง อีกสักเรื่อง ถ้าละครนี้แมสได้ถึงขั้นบุพเพสันนิวาส หลายๆคนคงหันมาสนใจดนตรีไทยอีกแน่นอน
ผมเป็นมือระนาดครับ ที่ตอนนี้กำลังจะไปต่อสายดนตรีไทยพอดี คือจะบอกว่า ที่เราต้องเคารพเพราะ เรื่องความเรียบร้อย ความง่ายในการดูแลรักษา เพราะเครื่องราคามันก็แพง เลยต้องมีแนวโน้มหรือวิธีในการป้องกันสักหน่อยครับ ส่วนเรื่องผีไม่ค่อยเจอครับ555
ขลุ่ยที่ถอดได้3ท่อนเป็นขลุ่ยสากลคับ เรียกว่าขลุ่ยริคอนเดอร์ ส่วนของดนตรีไทยที่เป็นท่อนเดียวยาวๆตรงๆเรียกว่าขลุ่ยเพียงออคับ ส่วนใหญ่ที่ได้เรียนกันก็จะเป็นริคอนเดอร์เพราะพกง่ายดูแลง่ายด้วยค่ะ
ถ้าจะให้เล่าแบบพื้นๆนะ เครื่องดนตรีมันแพงทั้งสมัยก่อนกับสมัยนี้ ถ้าจะให้เล่นมั่วๆเดี๋ยวจะพังง่าย แล้วคนสมัยโบราณมากๆเวลาจะสอนคนเอาความจริงมาสอน มันไม่มีใครฟังหรอก สู้เอาผีมาหลอกคนให้เชื่อฟังมันง่ายกว่า
สะดุ้งมาก ป้าเสียใจนะที่ป้าเลข 4 แล้ว55555555
สะเทือนใจ คุณเนสบอกป้าๆ 35-40 😂
อยู่ในวงการดนตรีไทยส่วนตัวรู้สึกว่าปกติมาก ซ้อมเล่นปกติเลย ไม่ได้เคร่งอะไรมาก ถ้าจะบอกว่าดนตรีไทยไม่ปรับตัวเลยคืออาจจะมองโลกแคบเกินไป ปัจจุบันดนตรีไทยปรับเยอะมาก ๆ พอสมควรนะคะ อย่างส่วนประกอบเครื่องสาย ก็สายลวด สายไหม ขลุ่ยก็มีปรับเป็นสองท่อนมีหลายคีย์เล่นเป็นร่วมสมัย ฯลฯ ส่วนตัวนี่มองว่าดนตรีไทยมีทั้งใช้ประกอบพิธีก็จะต้องระเบียบกฏเกณฑ์ไปกับปรับตามยุคสมัย เรื่องน่ากลัวนี่คิดว่าขึ้นอยู่กับประสบการณ์คนที่ไปเจอมาบวกกับเจอดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรม
ปล. ขายของ วงดนตรีไทยร่วมสมัยมีหลายวงนะคะ มีวงฟองน้ำ วงกอไผ่ แนะนำนะคะเพราะทุกเพลงเลยย
ทำไมโรงเรียนที่ผมเรียนตอนประถม ที่ห้องดนตรีไทยผมก็ไปตีไปเขย่าเล่นได้เลยหว่า ไม่เห็นต้องไหว้ครูเลย ไม่มีใครว่า ตอนนั้นนี่ผ่านมา30ปีได้แล้วนะ
เพราะมันเข้าถึงยากนี่แหละความนิยมมันเลยน้อยมากๆไหนจะพิธีรีตรองอีก แบบคนอยากเล่นก็มีแต่ถ้าจะยุ่งยากขนาดนี้ไปสากลดีกว่า
ดนตรีไทย มันคือพื้นถิ่นครับ เครื่องดนตรีไทย มันก็เฉพาะเจาะจบ ถ้าจะเทียบกับสากลอะครับมองง่ายๆ เทียบง่ายๆ ก็ความเป็นไทย กับความเป็นสากลแหละครับ
หลายๆครั้งพอผู้ให้บริการเห็นเราอายุน้อยเขาจะปฏิบัติกับเราแบบ"ยังไงก็ได้"ครับซึ่งผมว่ามันไม่ได้ป่ะครับ😅
เท่าที่รู้มาขลุ่ย เป็นของ อินเดียค๊าบ
ผมชอบเวลาคุณอ๋องมานั่งฟังร่วมมากเลยครับ เป็นผู้ฟังที่ดีมากๆ
ผีนางรำเป็นผีที่ผมกลัวที่สุด😂
มันคือซอฟต์เพาเวอร์😅
ในฐานะที่เป็นคนเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็กมากๆ นะคะ ส่วนตัวไม่ได้กลัวเครื่องดนตรีไทยเลยค่ะ แต่รู้สึก appreciate มากทั้งด้านความละเอียดอ่อนการเล่น การดูแลรักษาและการถ่ายทอด เรารู้สึกว่าดนตรีไทยมันมีความขลังความแกรนด์อยู่ในตัวมันตั้งแต่วัสดุการสร้างไปจนถึงลักษณะเสียงที่ยูนีค ด้วยความที่เครื่องดนตรีไทยหลายชิ้นมีลักษณะโครงสร้างที่อาศัยช่องว่างในตัวเครื่องเพื่อเสริมความดังออกมา ทำให้เสียงที่ออกมามีความก้องกังวานและพ่วงมาด้วยน้ำหนักเครื่องที่หนักกว่าปกติ เสียงที่มีมิติต่างกันมากนี้อาจทำให้กลืนกับดนตรีอื่นยากกว่าเลยอาจเป็นจุดสำคัญหนึ่งที่ทำให้มันไม่สากล ขนาดเราได้ยินนิดเดียวยังรู้เลยว่าเพลงนี้มีเสียงระนาดค่ะ 55555 กลับกันแล้ว ถ้ามุ่งเป้าจะทำเพลงที่ traditional หน่อย เราว่าเครื่องดนตรีไทยเป็นเอกลักษณ์และยืนหนึ่งไม่แพ้เครื่องดนตรีประเทศอื่นเลยนะเรื่องของความเคารพดนตรี เห็นด้วยว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะวัสดุที่หายากและต้องดูแลอย่างดี ส่วนใหญ่เป็นไม้ เป็นทองเหลืองทั้งนั้น สายซอก็ต้องมีการฝนโดยใช้ก้อนยางสนอะไรงี้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของการส่งต่อ/การสอนดนตรี ไทยเราสมัยก่อนถือว่าเครื่องดนตรีไทยบางวงต้องเล่นต่อหน้าชนชั้นสูง/ราชวงศ์เท่านั้น หรือมีการแบ่งแยกย่อยประเภทวงต่างๆ ตามวาระโอกาสเฉพาะหรือใช้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ ตำแหน่งครูดนตรีไทยเลยถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องให้ความเคารพ พอๆ กับตำแหน่งครูนาฏศิลป์ ท่ารำท่าร่ายต่างๆ มีความหมายและความอ่อนช้อยสูง อาจใช้ในการประกอบพิธีกรรมเช่นกัน ต่อให้เป็นเพลงพื้นบ้านหรือเพลงสนุกก็ยังมีการไว้ท่าทางที่โดดเด่น ผู้เรียนเลยค่อนข้างนับถือครูผู้สอนมาก และอาจจะทำให้กลายเป็นจุดหนึ่งของความเชื่อเรื่องการไหว้ครูให้สมเกียรติต่าง ๆ ด้วยค่ะส่วนเรื่องการเข้าถึง นี่ว่าอาจจะแล้วแต่โรงเรียน เราจับเครื่องดนตรีมาแต่เด็กก็ชินกับการเข้าหาเครื่องดนตรีไทย ดังนั้นเวลาจะเข้าไปเล่นเครื่องไหน ครูจะไม่ค่อยห้ามไม่ค่อยกังวลค่ะ (ดูรักษาของ ประมาณนั้น) แต่สำหรับคนหัดเล่นใหม่อาจจะต้องมีระวังกันบ้าง อย่างขิมนี่ตอนตีมันๆ คือสายขาดเป็นว่าเล่น สายโลหะดีดขึ้นมาแรงมากอยู่ค่ะ แต่โดยรวมแล้วคุณครูดนตรีไทยที่โรงเรียนเราไม่ได้ห้ามถึงขั้นพี่เนสนะคะ ถ้าสนใจอยากเล่นอยากเรียนก็เข้าไปได้เลย มีชมรมรองรับสรุปทั้งหมดที่จะพูดคือ เราไม่ได้กลัวดนตรีไทย ไม่ได้กลัวนาฏศิลป์ไทย เวลามีหัวโขนมีพ่อแก่เราว่าเราอุ่นใจด้วยซ้ำ ครูดนตรีไทยทั้งหลายถ้าเห็นเด็กมีใจตั้งใจจะเล่นคงไม่ดุหรอกค่ะ แต่สิ่งที่เรากลัวในวัฒนธรรมดนตรีไทยตรงนี้มีแค่เรื่องหุ่นนางรำ 555555555555555555555 หุ่นนางรำขนาดตัวจริง คนที่เป็นสายช่างจินตนาการหน่อยน่าจะกลัวบรรดาหุ่นนางรำหุ่นลองเสื้อเหมือนเรา อันนี้น่ากลัวสุดละค่ะ 😭
35-40โดนเป็นป้าๆแล้วแง555😂😂
จิตร ภูมิศักดิ์ เคยบอกว่าดนตรีไทยมีลักษณะอันไม่ยอมเคลื่อนไหว
ส่วนตัวเรียนดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทยมา ไม่เคยเจอผีเลยครับพี่เนส555
แล้วพี่บอกไม่ได้ซื้อบ้านเพราะเซลล์ แต่พี่ก็ไม่ซื้อเพราะเซลล์ด้วย งงอยู่นะ 😂😂 สรุปว่าถ้าเซลล์ถูกใจก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะตัดสินใจ
ส่วนใหญ่มันเป็นกุศโลบายค่ะที่ต้องกราบต้องไหว้หรือขออนุญาตก่อน เพราะเครื่องดนตรีไทยส่วนใหญ่หากเล่นไม่ถูกวิธีอาจจะเสียหายได้ง่าย ประกอบกับว่าทุกชิ้นทำมือและค่อนข้างปรานีตใช้เวลานาน ยิ่งเวลาผ่านไปนับวันยิ่งหาคนซ่อมได้ยากกว่าดนตรีสากลเพราะความนิยมเสื่อมลง(ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากข้อห้ามที่มากจนเกินไปหรือความกลัว) ของทางรรที่เราเคยเรียนมา เด็กที่เป็นเด็กดนตรีไทยของโรงเรียนสามารถหยิบเล่นได้เลยแต่ยังต้องไหว้เครื่องก่อน เพื่อเตือนใจว่าเราต้องถนุถนอมเครื่องไว้ ส่วนคนที่ไม่ใช่ส่วนใหญ่ต้องมีครูกำกับเพื่อให้เล่นได้อย่างถูกวิธี อีกอย่างที่ดนตรีไทยทำให้เรานึกถึงนางรำก็เพราะว่า ส่วนใหญ่เวลาเราได้ยินเสียงดนตรีนั้นมักจะได้ยินเวลามีการแสดงต่างๆเช่น ฟ้อนรำหรือโขน เพราะในสมัยนี้ไม่ค่อยมีวงแยกหรือนิยมจับคู่กันเป็นวงที่มีทั้งฟ้อนและรำมากกว่าเพราะหาเวทีจัดแสดงได้ง่ายกว่า การไหว้ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความเคารพค่ะ ส่วนตัวเราว่าเป็นการรวบรวมสติสมาธิให้เราจดจ่ออยู่กับเครื่องด้วย ในบางคนอาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข่องกันบ้างแล้วแต่บุคคล ส่วนตัวเชื่อเรื่องครูบาอาจารย์ประมาณ60-70%เพราะเคยเจอเหตุการที่เหมือนโดนหลอกมา2-3ครั้งอยู่ ในช่วงเป็นเด็กดนตรีไทย🥲
ปล.ขลุ่ยที่แยกออกเป็นสามส่วนได้น่าจะคือขลุ่ยริคอตเดอร์ของทางสากลนะคะ ส่วนขลุ่ยไทยที่นิยมกันน่าจะเป็นขลุ่ยเพียงออของทางภาคเหนือ
ทางนี้กลัวผีนะคะ แต่ไม่กลัวเกี่ยวกับดนตรีไทยเบยเพราะคลุกคลีมาพอสมควร ประกอบกับเคยครอบครูด้วย เราเลยยึดถือว่าครูแกมาเพื่อปกปักษ์รักษาหรือมาเตือนเรามากกว่า
แล้วพี่เนสว่าคนเงียบๆเป็นเซลส์ได้มะ 5555 เหมือนอาชีพนี้เขาให้ที่คนพูดเก่งพูดมากอย่างเดียว
ทำไมนึกถึงผี ต้องนึกถึงผีผู้หญิง?
เสียงฉิ่งฉับ มันหลอน
หลายๆ ปัจจัยทำให้มันไม่แมสครับ ส่วนที่ดนตรีสากลแมสด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างเช่น ชาวยุโรป ชอบเผยแพร่วัฒนธรรมตัวเอง ชอบเดินทางไปทั่วโลกทั้งเผยแพร่ศาสนาวัฒนธรรม ต่างจากเอเชียที่ไม่มีอะไรแบบนั้นคิดภาพคนในยุคก่อนจะเรียนเครื่องดนตรีไทย ยากยิ่งกว่านี้อีก ยิ่งไม่ต้องพูดเลยว่าจะสอนคนต่างแดนเล่น ต่างจากเครื่องดนตรีสากล ที่ใครเล่นก็ได้ครับ อีกอย่างนักดนตรีไทยมักเล่นเป็นวง ต่างจากสากลที่นักดนตรีคนเดียวเดินทางไปตามที่ต่างๆ เล่นเพลงแลกเศษเงินมีเยอะแยะไป อันนี้พูดในยุคสมัยก่อนนะแบบหลายร้อยปีก่อน แล้วไม่ใช่แค่ไทยนะที่ไม่แมส ทั้งเอเชีย ยกเว้นจีน ที่ก็เห็นชอบเผยแพร่วัฒนธรรมตัวเองไม่ต่างจากยุโรป อย่างมวยไทยที่ดังทั่วโลกก็ไม่ได้ปีสองปีนะครับพยายามกันมานาน เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องใช้เวลาและการคิดอย่างเป็นแบบแผนถึงจะแมสได้ แบบมวยไทย
ขลุ่ยน่าจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านค่ะ เขาเลยไม่ไหว้ ฟีลเเบบชาวบ้านชาวนาเขามักจะชอบซื้อมาเป่าเพื่อความบรรเทิงในวงมากกว่า เเต่เครื่องดนตรีมีครู ต้นกำเนิดก็จะอีกเรื่อง เขาจะเปิดเป็นคณะใหญ่ๆ บูชาพ่อเเก่ เล่นตามงานมงคล โขน ละครนอกละคนใน หลักๆก็จะเป็นวงปี่พาท ปี่ ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน
🖤🖤🖤
สนุกดีครับ
งั้นผมคนสองละกัน
ผันางรำ ขึ้นชื่อเรื่องความหลอน ยิ่งดนตรีหลอนๆชวนขวัญกระเจิง
อายุ35เนี่ยนะเรียกว่าป้าๆหน่อย แสดงว่าไม่รู้เสียล่ะวัยนี้แหละเด็ดสุด 555
เป็นนางรำช่วงประถมและมัธยมต้นค่ะ ตอนนี้เรียนมหาลัยอยู่ ในตอนประถมห้องดนตรีไทย ได้เดินคานเข่าเหมือนพี่เนสเลยค่ะ ห้องนาฏศิลป์ เดินเข้าปกติ แต่สวัสดีครูเสร็จ จะต้องไหว้ครูพ่อแก่(ครูรูปหัวโขน)ต่อด้วยค่ะ หลังจากเรียนจบประถม มีโอกาสได้เอาพวงมาลัยไปไหว้ครูที่สอนรำ ครูเขาไม่รับพวงมาลัยค่ะ เขาบอกให้ไปวางให้พ่อแก่เลย[จริงๆมันก็อยู่กับเรื่องความศัทธาของแต่ละอาจารย์ที่สอนด้วยแหละค่ะ]
คนแรก แบร่ๆๆ
35 ยังไม่ป้าๆ นะคร้าาา 😂
เราว่าดนตรีไทยค่าบำรุงรักษามันแพงค่ะ พวกอะไหล่มันแพง พวกระนาดถ้าพังค่าซ่อมสยองขวัญ พวกเครื่ิงสาย มันปรับยากถ้าเพี้ยน บางทีเพ้ยงแล้วเพี้ยนเลย เช่น ทำซอตกสักครั้งเสียงซออันนั้นอาจขิตเลย แต่ดนตรีสากล มันมีเป็นอุตสาหกรรมมากกว่า มีความนิยมกว่าอะไหล่ทดแทนมีความหาง่ายกว่าประมาณนี้ค่ะ
ที่ ดนตรีสากลไม่น่า กลัว น่าจะเป็น พวกฝรั่งเขาไม่เชื่อเรื่องผี มั่งครับ เขาจะ กลัว เรื่อง ตัวตลก ซาตาน ไรงี้มั้ง
35-40 ป้าแย้วหรอ ฮือออออออ
อยากให้พี่วิเคราะห์เพลงของวง yoasobi งับ ua-cam.com/video/x8VYWazR5mE/v-deo.htmlsi=-ORnmYmXgpvvzyUv
ชอบคลิปที่มีการพูดคุยกับเพื่อนแบบนี้มากค่ะ
เรื่องเยอะตลอดกูงง เอะอะไม่เคยถูกใจตัวเองซักอย่างตอยเกิ่นก่อนเข้าเรื่อง
รบกวนพี่ ๆ ที่อยู่ในวงการดนตรีไทย หรือมีความรู้ด้านนี้ ร่วมแชร์ประสบการณ์กันได้นะครับ เผื่อคอนเทนท์นี้จะเป็นจุดที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดเล็ก ๆ ก็ตาม ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ 🥹🙏🏻💖
หนูเคยอยู่วงดนตรีไทยมาก่อนค่ะ เวลาไปงานใหญ่ๆหรือครอบครู จะมีการนำเศียรพ่อแก่มาร่วมพิธีด้วย ไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า เศียรจะหน้าคล้ายอาร์จารเจ้าของวง(หมอดูก็ด้วยค่ะ) พี่ๆลองสังเกตกันดูนะคะ ส่วนเรื่องขลุ่ยที่พี่พูดถึงกันน่าจะเป็นขลุ่ยฝรั่งหรือเปล่าคะ(สีขาวแยกชิ้นส่วนได้) ถ้าเป็นขลุ่ยไทยจะเป็นแท่งยาวๆชิ้นเดียวค่ะ😅
ปล.คลิปโคนันพี่บอกep.ด้วยได้ไหมคะ หนูไม่รู้ว่าเคยดูตอนนั้นมาก่อนหรือเปล่าไม่อยากโดนสปอยค่ะ หรือไม่หนูจะได้ไปดูมาก่อนที่จะมาดูคลิปพี่เพื่ออรรถรสที่เพิ่มขึ้นค่ะ
ผมเคยเป็นเด็กเรียนดนตรีไทยที่อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องต้องเคร่งเนื่องจากคนในวงการนี้เริ่มน้อยลงถ้านักเรียนทำเสียหายอาจหาคนซ่อมได้ยากและเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดทำมาจากโลหะหรือไม้ที่หายากจึงทำให้ราคาสูงระนาดมือหนึ่งหลักหมื่นก็มีครับและส่วนใหญ่ที่ต้องให้ความเคารพเนื่องจากเครื่องดนตรีไทยมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจึงควรให้ความเคารพเจ้าของคนก่อนที่ล่วงลับครับผม
เท่าที่ฟังคลิปทำนองนี้หรืออ่านคอมเมนต์จากหลายๆคลิปแบบเศร้ามากเลยนะคะ เหมือนส่วนใหญ่ดนตรีไทยจะโดนจำกัดจริงๆเลย เเต่จากประสบการณ์ทางนี้ที่อยู่วงดนตรีไทยโรงเรียนมา ทุกอย่างมันเข้าถึงง่ายไปหมด อยากเล่นเครื่องไหนก็บอกครู ครูก็สอน ครูไม่ว่างสอนก็ให้คนที่เล่นเป็นสอน เล่นกันเช้า กลางวันเย็น ใครว่างคาบไหนก็ไปเล่น ใครอยากเล่นต่อหลังเลิกเรียนครูก็อยู่สอนให้ หรือต้องไหว้ต้องขออะไรนี่ทางโรงเรียนไม่มีเลยค่ะ สารภาพว่าตอนเล่นเเรกเเล้วเพื่อนที่ไม่ได้เล่นถามไม่ไหว้เหรอ นี่ก็บอกไม่ ผีซอเราใจดี เรียกล้อเลียนเลย ก็ไม่เคยเจออะไรนะคะ ตอนเรียนก็ไม่ได้ต้องคลานเข่าอะไร เเค่กระโปรงไม่คร่อมเครื่องดนตรีก็พอ คิดมาตลอดว่าโรงเรียนอื่นก็คงเหมือนกัน ส่วนตัวคิดว่าที่ดนตรีไทยมันเข้าถึงยากเพราะตัวบุคคลค่ะ ครูที่สอนเลยเล่าว่าเมื่อก่อนเข้าไม่สอนกันเลยหวงวิชา เเล้วหลายๆคณะเขาเหมือนได้รับอิทธิพลครูต่อๆกันมา เเล้วก็ทำเชิงหวงๆ
ส่วนเครื่องดนตรีมีครูนี่ก็มีที่พูดๆกันค่ะ ว่าเวลาทำพิธีครอบครู มันจะมีพิธีบรวงสรวงเครื่องดนตรี มันเลยเหมือนถือว่าเออ นี่ไม่ของคนธรรมดาเเล้วนะ มันคือของที่เราถวายไปเเล้ว เเล้วบทสวดถวายคือถวายให้ไปหมด เทพ มาร เยอะเเยะไปหมด เเต่ส่วนตัวเข้าพิธีมาเรียกผีซอเหมือนเดิม เเต่ไม่ใช่ว่าลบลู่หรืออะไร เเต่ในความรู้สึกตัวเอง รู้สึกว่าเออถ้ามันมี เราสนิทกับเขาอะ เราซ็อมด้วยกันมาเป็นปีๆอยู่ด้วยกันขนาดนี้สนิทเเล้วเเหละ หยอกล้อได้ เเต่ถึงเวลาไปแข่งหรืออะไรก็มีความเคารพเขาในแบบของเรา
อันนี้เราฟังมาจากครูค่ะ ตลกร้ายมาก เหมือนในวงการดนตรีจะก็จะมีเรื่องของการเมืองในสายดนตรีมาตั้งเเต่ช่วงยุคเฟื่องฟูค่ะ พอช่วงที่จัดระเบียบการเล่นดนตรี เลยมีการกำหนดแบบเเผนขึ้นมา ดนตรีเลยเหมือนแบ่งเป็นสองสายคือ แบบที่เป็นไปตามแบบแผนกับแบบสร้างสรรค์(อันนี้เป็นเราเรียกเองนะคะ ประมาณการเล่นแบบผสานดนตรีสากล การเล่นอิสระใดๆ) ซึ่งสิ่งที่น่าเศร้าคือ รูปแบบที่เป็นไปตามแบบเเผนถูกยึดใช้ในกระทรวงศิลปะวัฒนธรรมค่ะ การที่จะเล่นแบบอิสระเลยจะโดยครหาจากคนส่วนใหญ่ในวงการ ยิ่งก่อนหน้านี้ด้วย ไม่ได้สามารถเผยเเพร่ พอมาถึงช่วงที่เผยเเพร่ได้ความนิยมันก็เสื่อมลงมาเรื่อยๆเเล้ว ปัญหาที่เคยสังเกตุจริงๆมาค่ะ พอมันเเบ่งเป็น2สาย คนที่เรียนมาจากอาจารย์ที่เป็นทางสายแบบแผน(อธิบายเพิ่มเติมนะคะ เหมือนเพลงๆนึงในดนตรีจะสามารถเล่นได้หลายรูปแบบค่ะ ทางดนตรีจะเรียกว่าทางดนตรี ) ก็จะยึดตามว่าเออ ดนตรีที่ไทยที่เเท้จริง ต้องเป็นตามเเบบเเผน
ส่วนการพัฒนาเครื่องดนตรีมีมาตลอดค่ะ ระนาดไฟฟ้าก็มีเเล้ว ขิมอะไรงี้มีการปรับดีไซน์แบบอินเตอร์สุด เเต่ในวงการเขาไม่ให้การยอมรับค่ะ เขาไม่ออกมาบอกตรงๆหรอก เเต่ก็ไม่มีการให้การรับรองสนับสนุนใดๆ เเล้วก็เพิ่มลำพังผู้พัฒนาก็อาจจะไม่ได้สามารถเผยเเพร่มันได้เท่าที่ควร มันเลยเป็นเหตุผลที่เราทราบว่าทำไมดนตรีมันยังเป็นดนตรีเฉพาะกลุ่ม ลำพังคนที่เล่น ยังมีการตีกันเลยค่ะ(not at allนะคะ)
ดนตรีไทยมีมานานคงจะมีเรื่องผีเรื่องสางมาควบคู่ก็ไม่แปลก คนไทยสมัยก่อนนับถือผีก่อนพระ ดนตรีไทยคือการยำรวมผี,พระ,เทพ,ครู,พ่อแม่เข้าด้วยกัน รวมไปถึงการใช้ไม้ที่มีอายุหรือพันธุ์เฉพาะที่คนไทยถือ อย่างไม้ชิงชัน,ไม้ประดู่,ไม้พะยูง จะทำให้ลูกระนาดเสียงดีขึ้น คนไทยก็คิดไปอีกว่าต้องมีผีสางมาอยู่ต้นไม้ก่อนเลยต้องทำพิธีนั่นนี่เยอะแยะ เพื่อขออนุญาติ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผีอยู่ในไม้เหล่านั้นจริงๆ)
เชื่อกันว่าใครถือครูย่อมได้ดี การจะได้ดีต้องเรียบร้อยและไม่ก้าวร้าว จึงจัดพิธีไหว้ครูเพื่อแสดงความเคารพนานา ส่วนเรื่องผีนางรำนี่คิดว่าคนส่วนใหญ่เจอผีดนตรีมาก่อนแล้ว(เสียง,ตัวเป็นๆที่เขาเป็นครูบาอาจารย์ สต.คิดว่าเขาไม่ได้มาหลอก แต่มาทำให้รู้ว่ามีนะ) หนังหรือสื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยจิตปรุงแต่ง คนนั้นเจอ เอ้า คนนี้ก็เจอนั่นนี่
แต่อย่างที่บอกว่าทุกศาสตร์มีครูบาอาจารย์ เป็นเด็กดีนะจ๊ะจะได้ไม่ต้องโดนท่านดุท่านว่า (ไม่งั้นก็จะมาให้เห็นแบบสุกี้น้ำหรือทำอนาคตเสียคนเลยก็ได้)
จริง ๆ แล้วผมมองว่าการนำ culture แบบไทย, ดนตรี หรือเพลงเก่าของไทยมาใส่ในงาน horror มันเป็นแค่ "ส่วนประกอบ" ที่จะทำงานชิ้นนั้น ๆ ออกมาสมบูรณ์มากกว่าครับ ทว่าบางคนก็ยังติดอยู่ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์, ดนตรีไทยมีครู มีของ ห้ามเปลี่ยนแปลง
ในฝั่งตะวันตก ภ.คอนจูริ่ง 2 นำเพลง Can't help falling in love มาเป็น ost. ก็ยังไม่เห็น Elvis Presley จะออกมาหลอกมาหลอนใคร
กระทั่งเพลงประกอบหนัง sound effect ส่วนใหญ่ที่บรรเลงประกอบหนังสยองขวัญ ก็ยังไม่เห็นบีโธเฟน หรือนักแต่งเพลงคนไหน ๆ ออกมาหลอกมาหลอนให้เป็นข่าว หรือมีกรณีพิพาทจากฝ่ายต่าง ๆ ของเจ้าของเพลงออกมาต่อว่าอะไรเลย มีแต่ประเทศเรานี่แหละครับที่พอเป็นดนตรีไทยต้องโดนตรวจสอบก่อนตลอด
ผมโดนบ่อยมากครับในฐานะคนที่ต้องนำเพลงเก่ามาประกอบในงาน โดนว่าลบหลู่บ้าง ไม่เคารพบ้าง ซึ่งงานของผม based on ยุค 80s ลงไปด้วยความเป็น analog ถ้าให้ใส่เพลง pop ปัจจุบัน มันก็ไม่เข้ากันอยู่ดี ที่ผมใส่เพลงไทยลงไปไม่ใช่เพราะความไม่เคารพ ทว่าคือความเหมาะสมของงานมากกว่าครับ
สุดท้ายนี้ ผมคิดว่า สิ่งใดที่ไม่วิวัฒน์ไปข้างหน้า และไม่ปรับให้เข้ากับยุคสมัย เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนั้นก็จะค่อย ๆ ตายไปในที่สุดครับ
เรื่องต้องขอครูก่อนเล่น ต้องเคารพเครื่องดนตรี ฯลฯ ผมมองว่าน่าจะเป็นอุบายของคนสมัยก่อนมากกว่า
เพราะสมัยก่อนเครื่องดนตรีไทยเกือบทุกชิ้น มักจะเป็นงานแฮนด์เมด แถมวัสดุที่ใช้ทำก็จะเป็นวัสดุ
ธรรมชาติที่ไม่ได้หาได้ง่ายๆ เช่น ช่างระนาดสายนี้ต้องใช้ไม้พันธ์ A มาทำโครง พันธุ์ B มาทำราง ฯลฯ
มันยากที่จะหาซื้อมาทดแทนในเวลาสั้นๆได้ จะซ่อมแต่ละครั้งก็ต้องใช้ผู้ชำนาญจริงๆ ซึ่งก็มีไม่เยอะ
อาจต้องรอคิวและค่าใช้จ่ายสูง คนสมัยก่อนเลยมีอุบายให้ต้องมาขออนุญาติก่อน จะได้มีคนคอยดูแล
ควบคุมไม่ให้ทำเสียหาย หรือถ้าเป็นศิษย์ที่เชื่อใจได้ ก็อาจจะอนุญาติให้เล่นได้โดยไม่ต้องขอ
จริงๆแม้แต่ในยุคหลังๆมานี้ ก็ยังไม่ค่อยเห็นที่ไหน ผลิตเครื่องดนตรีไทยออกมาได้คราวละมากๆเลยครับ
(ยกเว้นพวกขลุ่ย ที่อาจจะง่ายทั้งการหาวัสดุและเทคนิคการทำ)
ขลุ่ยทำยากอยู่นะคะ ยากตอนเจาะ เพราะถ้าเจาะผิดตำแหน่งนิดเดียวเสียงเพี้ยนใช้ไม่ได้เลยค่ะ เจาะไปแล้วแก้ใหม่ไม่ได้ด้วย ทำใหม่อย่างเดียว
@@onionft.4507 ที่ว่าง่ายคือกระบวนการมันไม่ค่อยซับซ้อน มีขั้นตอนน้อย สามารถใช้เครื่องจักรทำแทนได้ครับ เลยพบเห็นขลุ่ยขายกันทั่วไป แต่ถ้าจะเอาคุณภาพดีเสียงดี
งานแฮนเมดอาจจะดีกว่า
ง่ายๆ คนไทยครับ 😂😂😂
เป็น กุศโลบาย ของคนโบราณที่สอนต่อกันมา เพราะเครื่องดนตรีไทยมันเสียหายง่ายครับหาช่างซ่อมก็ยากมาก อะไหล่ก็ต้องสั่งจากช่างที่ชำนาญในเครื่องดนตรี มันจะเข้าถึงยากก็ไม่แปลกครับ
ผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าตอนผมเด็กแบบเด็กมากๆที่บ้านซื้อระนาดไม้มาให้ตีเล่นเลยคือตีจนพังตอนนั้นสนุกมาก55555
Vobooo
แรกเริ่มเดิมทีเครื่องดนตรีทางฝั่งเอเชียไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อความบันเทิง แต่เพื่อ ประกอบพิธีกรรม ค่ะ ดังนั้นการสืบทอดวิชาดนตรีแทบจะเหมือนสืบทอดคาถาอาคมเลยค่ะ
ส่วนคำที่่า เครื่องดนตรีมีครู ครูในที่นี้เสมือนหัวหน้าคนทำพิธีอ่ะค่ะ น่าจะพอคิดภาพออก การผิดครูก็เหมือนการทำผิดในเรื่องของคุณไสยค่ะ
ดนตรีไทย ตามความเข้าใจของผมนะ
มันลึกซึ้ง มันมีครูบาอาจารย์ มันรวมอยู่ในวิถีชีวิต ประเพณี และความเชื่อครับ คนเป็นครูสอนดนตรีไทย แม้กระทั่ง ลิเก มโนราห์ หรือ อื่นๆ มันมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในนั้นครับ มันฝังรากมานานแล้ว ครูบางท่านหวงวิชา ถ้าจะมาเรียน ต้องมีจารีตประเพณี ประมาณนี้ครับ /อีกอย่าง คิอเรื่องสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยครับ เช่น พ่อแก่ หรือครูหมอ เป็นต้นครับ
อย่ากลัวดนตรีไทยหรือการรำไทยเลยนะทุกคน ไม่ได้น่ากลัวเลย ส่วนตัวเราคลุกคลีกับอะไรแบบนี้มานาน ไม่ค่อยเจอด้วยซ้ำ เพราะถ้าตั้งใจทำและมีจิตมุ่งมั่นก็จะประสบความสำเร็จ ครูท่านไม่มีเจตนาหลอกหรือด่าว่าแค่อย่าลบหลู่แม้ตาจะมองไม่เห็น มาอนุลักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยกันนะคะ
เคยเป็นนางรำประจำโรงเรียนตอนประถม ไม่เคยเจออะไรเลยนะคะ แต่ไหว้พ่อปู่ทุกครั้ง ที่ห้อง นาฏศิลป์ ที่โรงเรียนมีหัวโขนประมาน8-9 เป็นหัวเรื่องรามเกียรติ์ เรียงอยู่แต่พ่อปู่อยู่บนสุด ตั้งหน้ากระจกใหญ่ๆ แบบว่าถ้าซ้อมรำอยู่หน้าพ่อปู่จะดูอยู่ไรแบบนี้ แล้วหุ่นนางรำใส่ชฏาสไบยืนอยู่ข้างหลัง ไปแต่งหน้าตี3 อะไรก็ไม่เคยเจอ ไม่รู้สึกกลัว จนได้ดูเรื่อง อาถรรพ์แก้บนผี นั้นแหละจุดกลัว 😅
ประเด็นที่คุยกันเรื่องดนตรีไทยกับดนตรีสากล ดีมากเลยค่ะ เห็นภาพหลายๆอย่างว่าดนตรีไทยแทบจะไม่ปรับตัวเลยจริงๆ อนุลักษณ์จนแตะต้องลำบาก ตอนเรียนก็คล้ายๆกัน ดนตรีสากลครูยังพอให้หยิบจับ เปียโน คีย์บอร์ด ยังพอได้กดเล่น แต่ดนตรีไทย คลุมผ้าทุกชิ้น ไม่มีโอกาสแม้แต่เห็น มีแต่เด็กในชมรมที่เล่นได้ พวกเรานักเรียนทั่วไป ก็ได้แค่ขลุ่ย 😅😅
ที่ไม่ค่อยให้ใครเล่นอาจจะเป็นเพราะถ้าเล่นไม่ระวังอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องดนตรีได้ค่ะ พอเสียหายทีมันซ่อมยาก ไม่เหมือนเครื่องดนตรีสากล พวกระนาด ฆ้องวง ถ้าเล่นไม่ระวังตะกั่วหลุดทีมันซ่อมยากมากเลยค่ะ อีกอย่างคือพวกที่นอกจากขลุ่ยมันมีความซับซ้อนในการเล่นมาก อาจจะไม่เหมาะถ้าต้องเอามาสอนนักเรียนที่มีจำนวนมากในเวลาจำกัด อีกอย่างมันเป็นเรื่องราคาด้วยค่ะ ถ้าจะให้นักเรียนซื้อเองไม่ไหวแน่นอน บางชิ้นเป็นหมื่น ขลุ่ยเพียงออราคาไม่แพงมาก ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ การเล่นไม่ค่อยซับซ้อนจึงเหมาะสมกับเด็กนักเรียนทั่วไปมากกว่าค่ะ บางทีเอาผ้าคลุมไว้หรือถ้าอาจารย์จะหวงก็ไม่แปลกค่ะ เพราะค่าตัวแต่ละเครื่องเองก็ค่อนข้างสูง ช่างเองก็ประณีตในการทำ จึงค่อนข้างต้องถนอมเป็นพิเศษ อีกอย่างไม่แน่ว่าเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นอาจารย์บางท่านอาจจะซื้อมาเองโดยไม่ใช้งบของโรงเรียน หรือเอามาจากที่บ้าน อาจารย์แต่ละท่านเลยค่อนข้างดูแลเอาใจใส่เครื่องดนตรีเป็นอย่างดีเลยดูเหมือนหวงก็ได้ค่ะ
ดนตรีไทยก็ไม่ได้ห้ามขนาดนั้นนะคะ หมายถึง ตอนอยู่โรงเรียนครูเค้าไม่ให้เล่นเพราะกลัวนักเรียนทำเครื่องดนตรีพังรึเปล่า ตอนเราเล่นก็ไม่ได้มีครูมาเฝ้านะคะ แต่ต้องไปขอกุญแจเข้าห้องแค่นั้นเอง ก่อนเล่นก็ไหว้เครื่องดนตรีซักหน่อย 😅😅
ผีนางรำ กับดนตรีไทยเป็นของคู่กันครับ โรงเรียนเก่ามีผีนางรำสิงสถิตในห้องนาฏศิลป์ ส่วนใหญ่ผีนางรำเป็นครูสอนรำเก่า มีหน้าที่เฝ้าปกป้องของในห้องนาฏศิลป์ เคยมีเพื่อนสาวเล่นพิเรนทร์ไปเจอดีเข้าให้ตอนเย็นก่อนกลับบ้านครับ
ดนตรีไทยหรือเรียกว่าในแถบเอเชียมักจะ related กับพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ น้อยมากที่จะเป็นการละเล่นแบบชาวบ้าน ยิ่งพวกเครื่องใหญ่ เครื่องชุด คือจะสงวนไว้เล่นในพิธีใหญ่ ทำให้ดูเข้าถึงยาก และยิ่งช่วงหลังสงคราม หรือช่วงการเข้าสู่การเป็น "อารยะ" ยิ่งทำให้เรื่องของดนตรีไทยมันดูขลัง
สำหรับเราเริ่มกลัวอะไรไทยๆตั้งแต่เริ่มเข้าวัดค่ะ พวกตามผนังที่มีลายจิตรกรรมไทยโบราณ รวมมาถึงหัวโขน หัวต่างๆ ลายลายเส้นแบบนั้นน่ากลัวค่ะคุณเนส
ถ้าเออ แต่เริ่มแรกมาเป็นลายเส้นแบบค่ายGhibli โตโตโร่มา น่าจะรู้สึกสบายใจกว่านี้ค่ะ
ก็เพราะเครื่องดนตรีตะวันตกมันไม่มี อย่าตีเล่น อย่าทำอย่างโน่นอย่างนี้ อย่าลบหลู่ มันเลยเข้าถึงง่ายกว่าไง เราก็เเค่มองมันเป็นของชิ้นนึงไม่ใช่สิ่งมีสิ่งลี้ลับ ถ้าของตะวันตกมีเรื่องเเบบนี้เหมือนไทยนะ เเม้เเต่ฝรั่งก็กล้าจับมั่วซั่วหรอก
แรกๆผมก็กลัวครับแต่พอดูบ่อยๆศึกษาทีละนิด มันคือสิ่งที่วิจิตร สวยมากเสียงร้องเสียงประสานดนตรีขนลุกเลยครับ หลังจากนั้นผมก็ไม่กลัวอีกเลยครับ❤😂🎉😅😮😊
การไหว้ครูเรามองว่าเป็นการตั้งสมาธิ ตั้งสติก่อนที่จะเริ่มทำการเล่นดนตรีค่ะ
ส่วนเรื่องของเครื่องดนตรีไทยคนที่เป็นผู้ทำเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมมีน้อยลงมาก ช่างที่ทำเครื่องดนตรีมีผู้สืบทอดน้อยลงกำลังการผลิตเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นน่าจะน้อยค่ะ เลยต้องทนุถนอมมากๆ
เรื่องของการแผ่ขยายอิทธิพลของดนตรีสากลน่าจะเป็นเพราะคณะมิชชั่นนารีค่ะ ไปพร้อมๆกับศาสนาในยุคล่าอณานิคม การแพทย์ การศึกษา ศาสนา ดนตรี
ส่วนเรื่องทำไมดนตรีไทยไม่แมสทั่วโลกก็คงเป็นเพราะวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่าค่ะ แต่ละพื้นที่ก็จะมีเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ก็จำกัดอค่เฉพาะในพื้นที่
อย่างเครื่องดนตรีของจีนก็เพราะแต่ก็ไม่แมสบ้านเรา ขึ้นชื่อว่าดนตรีสากลก็คือสากลค่ะ
ตอนสมัยเกม HSH ดังๆ ที่ฝรั่งเอาไปแคสกันเยอะๆ ตอนนั้นฝรั่งให้ความสนใจดนตรีไทย กับชุดนางรำเยอะมาก
ส่วน 31:53 ระนาด ไปเปรียบเทียบกับกีต้าร์ไฟฟ้าไม่ได้ ต้องเปรียบเทียบกับเครื่องตีด้วยกัน ของสากลจะมี ไซโลโฟน ที่จะคล้ายระนาด
27:25 เพลง whoa ของ xxtenations ก็มีเสียงคล้ายระนาดไทยเราอยู่นะแต่ก็ไมแน่ใจว่าเขาใช้อะไร พอฟังแล้วก็ไม่แย่นะถ้าเอาเครื่องดนตรีไทยมารวมกับเพลงสากล
16:50 ถ้าเอาในเรื่องหลักการแน่นอนครับข้อนี้สำคัญมากคือกลัวเครื่องเสียหายครับเครื่องดนตรี1เครื่องไม่ใช่ถูกๆครูอาจาย์เลยต้องห้ามไว้ก่อนเพราะอาจมีคนที่ไม่รู้วิธีเล่นมาเล่นแบบผิดวิธีแล้วเครื่องดนตรีพังได้ครับเลยต้องได้รับอนุญาตก่อนเล่น พูดในเรื่องข้อห้ามเล่นก่อนได้รับอนุญาตในแบบหลักการแต่แบบความเชื่อผมก็ไม่รู้ครับ 🙏🏻(ผมที่เป็นนักดนตรีแต่เป็นดนตรีสากลครับ)😅🙏🏻
❤❤ ชอบคำพูดนี้มากค่ะ 37:47 ส่วนตัวชอบนะคะเพลงที่สามารถนำดนตรีไทยเข้าไปมิคกับดนตรีสากลได้ ฟังแล้วรู้สึกวาวมากค่ะ
พอฟังวิเคราะห์เรื่องนี้ ทำให้นึกถึงเพลง คงคา ของคุณเอวารินทร์ เลยค่ะ แนะนำให้ลองฟังนะคะ เปลี่ยนมิติดนตรีไทยมาก 🙂
นักดนตรีไทย หรือศิลปินด้านดนตรีนาฏศิลป์ไทย มีส่วนน้อยแล้วครับ ที่ยัง "ติดอยู่ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์, ดนตรีไทยมีครู มีของ ห้ามเปลี่ยนแปลง"
แต่ในฐานะของนักดนตรีไทย ครูดนตรีไทยรุ่นใหม่ ๆ มันได้รับผลกระทบจากการที่สื่อนำเสนอภาพให้มันดูน่ากลัวมาอย่างยาวนาน จนมันปลูกฝังมาถึงเด็ก ๆ มากกว่า แบบทำไมเวลาเจอผีจะต้องได้ยินเสียงระนาด หรือเห็นผีนางรำ? ก็เพราะว่ามันโดนดึงไปเป็น "ส่วนประกอบ" หลักไง
นักดนตรีและนาฏศิลป์ไทยรุ่นใหม่ เลยอยากให้นำเสนอดนตรีไทย ในด้านที่มันเป็นพลังบวกบ้าง ใจเขาใจเราน่ะครับ สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราชอบ กลายเป็นภาพที่น่ากลัว สยองขวัญ .
ในฐานะที่อยู่กับดนตรีไทยและวงการนาฏศิลป์มา ไม่เคยเจอใครโดนผีเข้ากลางงานไหว้ครู หรือเรื่องผีสางนางไม้หวงเครื่องดนตรีไทยนะครับ
ประสบการณ์ส่วนมากที่ทำให้คนกลัวคือ คุณครู ถ้าคุณครูใจดีสอนอย่างถูกต้องมีเหตุผล เด็กๆก็จะไม่กลัวดนตรีไทย แถมอยากเล่นด้วยเพราะตอนเด็กๆซนๆชอบเล่นชอบตีอยู่แล้ว แต่ถ้าตอนเด็กๆเราเจอครูดุ หวงของกลัวพัง ก็แกล้งบอกว่าอย่าไปเล่น ดนตรีเครื่องนั้นมีผี มีครูบาอาจารย์สิงค์อยู่นะ ตอนเด็กๆผมเจอครูแบบที่ 2 เลยทำให้ผมกลัวดนตรีไทย แทบไม่กล้าแตะเลย เวลาเล่นต้องไหว้ก่อนด้วย
ประเทศเพื่อนบ้านเราก็โดนแบ่งดินแดนมาจากเรานี้แหละครับ วัฒธรรมมันเลยเหมือนกันไปหมด
18:30 น่าจะrecorder เป็นเครื่องสากล หรือเปล่าคะ ไม่ใช่ขลุ่ย เลยไม่ต้องไหว้
22:46 น่าจะที่เราไหว้ น่าจะเพราะปกติดนตรีไทยทำยากคนที่มีโอกาสเล่นสมัยก่อนต้องเป็นลูกหลานอดีตนักดนตรีในวัง แล้วพอส่งต่อเครื่องหรือเทคนิคการเล่น เพลง เลยมีการไหว้รำลึกและขอบคุณครูผู้สอนและให้วิชา พอหลังๆผลิตได้มากขึ้น แต่ยังคงมีความเชื่ออยู่เลยทำต่อๆกันมา
ผมว่าเรื่องข้าม เรื่องไหว้เนี้ย น่าจะเป็นเรื่องของมารยาทไทยที่คนโบราณส่งต่อกันมา เช่น ห้ามข้ามหมอน ห้ามข้ามหนังสือ ห้ามข้ามหัวหรือเดินอ้อมผู้ใหญ่ พอมาเครื่องดนตรีไทยจึงเป็นลักษณะคล้าย ๆ กัน
หรือเรื่องไหว้เครื่องดนตรี ก็คล้าย ๆ เราไหว้ผู้ใหญ่ อะครับ
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล มันก็ผูกกับเรื่องศาสนาด้วย เราชาวพุทธก็จะมีเรื่องพระคุณ สำหรับบางคนที่เป็นชาวบ้านธรรมดามาก่อน แต่ได้ดิบได้ดีเพราะเครื่องดนตรีไทย เขาก็อาจจะรักและหวงแหน สิ่งที่มีพระคุณต่อเขาเลยต้องไหว้ก่อน ประหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อยากให้พี่ วิเคราะห์ เรื่อง อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต ครับ ขอบคุณครับ [ถ้าทำไปแล้วขอโทษครับ] ❤❤❤
สำหรับผม ดนตรีไทยสมัยก่อน จะถูกบรรเลงอย่างปราณีต มีความงดงาม สวยงาม ถ้ามีผู้ฟ้อนรำหรือเต้นประกอบจังหวะ จะดูภูมิฐาน มีกาละเทศะ แต่เมื่อเรานึกถึงครู ครูที่เรารู้จักก็มีแต่ครูที่สอนเรา ครูของครูอีกทีใช่มั้ยล่ะครับ คนที่เสียชีวิตแล้ว ความเป็นคนไทย ถูกปลูกฝังมากับสื่อมากับเรื่องเล่าเราจะนึกถึงอะไรได้อีกนอกจากผี
ผีในอุดมคติของคนไทย ก็จะมีความเละๆ อึมครึม ไม่มีสตอรี่แต่ก็สามารถทำให้กลัวได้จากเครื่องแต่งกายและท่าทางที่ทำให้อึดอัด ถ้าเอามารวมกับดนตรีไทยที่มีความเรียบร้อย สวยงามก็จะดูขัดกันอย่างเห็นได้ชัด ความอึดอัดเวลาที่ได้ยินหรือได้เห็นก็จะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เป็นคนรักษาของ เมื่อเด็กต้องการที่จะเล่น หรือทำอะไร ก็มักจะเอาเรื่องของผี ฆตก มาผูกสตอรี่ให้เด็กกลัว และไม่กล้าที่จะเล่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องดนตรี
ผมเรียนคณะ วิทยาศาสตร์และชื่นชอบมากครับ แต่มีภาพ 1 ในหัว 10 ปีมาแล้ว สมัยผมเด็กๆ ก็ยังจำไม่ลืมทั้งรูปร่างและลักษณะ จนถึงทุกวันนี้นั้นก็คือ นางรำยืนจ้องผมอยู่
ดนตรีไทย คอนเซ็ปต์ของการเคารพครู เคารพเครื่อง เคารพเพลง เคารพในด้านต่างๆ เคารพในที่นี้คือการเคารพครูบาอาจารย์ เป็นการแสดงความกตัญญูครับ เครื่องดนตรีก็ถือเป็นครูเหมือนกัน แต่มันไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเลยครับ เพลงหน้าพาทย์ต่างๆที่มีข้อกำหนดต่างๆ ก็มีเหตุผลของมัน แต่แค่เล่นผิดก็ไม่ตายเหมือนในหนังหรอกครับ
เข้าใจแต่เข้าถึงยากมากๆ เรามีโอกาสได้เรียนแค่ช่วงประถมปลาย ครูเขาสอนระนาดบอกอยากให้เด็กๆได้เรียนได้รู้จักแต่ก็ได้เรียนแค่ช่วงสั้นๆช่วงปีนั้น พอขึ้นมัธยมก็ได้แค่จดแค่ฟังไม่โอกาสได้เรียนแบบปฎิบัติเลย
จากข้อคิดเห็นบางประการของผม (ส่วนตัว) หากพูดถึงดนตรีไทย(ภาคกลาง)คนส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกว่ามัน"ศักดิ์สิทธิ์" อาจเป็นเพราะดนตรีไทยได้อิทธิพลจากดนตรีราชสำนัก อะไรที่มาจากราชสำนักมักมีแบบแผน มีความศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง แล้วครูที่สอนเค้ามีครูที่สืบครูสืบกันมาแต่โบราณ(แล้วแต่สายใครสายมัน)แต่ต่างกับดนตรีพื้นบ้านที่จะเล่นกันแบบเสรีคือไม่มีแบบแผนชัดเจนแบบดนตรีราชสำนัก ดนตรีชาวบ้านจะเล่นอยู่ 2 วัตถุประสงค์ คือ พิธีกรรม กับ บันเทิง แน่นอนว่าดนตรีพิธีกรรมมีอยู่ทั่วโลกสากล ไทยมีอยู่ทุกภาคครับ ปจบ.เราจะเห็นวงดนตรีพื้นบ้านมีพิธีกรรมเหมือนดนตรีแบบแผนนั่นคือไหว้ครูครอบเศียรแล้ว(เนื่องจากครูในสายนั้นไปร่ำเรียนจากครูที่สืบมาจากสายราชสำนักต่อๆกันมา) อย่างดนตรีภาคเหนือเงี้ยก็ไม่มีเรื่องเล่าผีแบบดนตรีภาคกลางเลย ถามว่ามีดนตรีที่เกี่ยวกับผีไหม "มี"ครับ พวกวงปี่พาทย์ล้านนาเล่นตอนฟ้อนผี ซึ่งผีก็ไม่ได้มาสยองแบบนางรำภาคกลาง เนื่องจากปัจจัยทางด้านสังคม ประเพณี วัฒนธรรมที่ต่างกันครับ
ป้าๆ 35-40 😂😂😂😂 หัวใจจะวาย 35 ยังวัยสะรุ่นอยู่ฮะ
ขอโทษฮะะ เอาจริง ๆ ตัวผมก็จะแตะ 30 แล้วครับ ไม่น่าจะต่างกันครับ ฮ่า ๆ 😂😂
ตามความรู้สึกคือ เพราะว่าในงานศพมักจะเปิด บรรเลงดนตรีไทย แน่นอนว่าดนตรีไทยสามารถใช้โอกาสอื่นๆมากมายนอกจากงานศพแต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดนตรีไทยต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมอื่นๆในไทยมากมาย อุปกรณ์เครื่องดนตรีไทยต่างๆ มีครูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะหลีกหนีไม่พ้นจากความรู้สึกกลัวสิ่งลี้ลับด้วยแน่นอน กลัวนางรำเพราะการแต่งกายของนางรำจะใกล้เคียงกับการแต่งกายของคนสมัยก่อน มันดูโบราณ ดูเก่า ดูคลัง และเเน่นอนดูน่ากลัว
เรื่องบ้านมันส์ดีครับ
อยากให้วิเคราะห์หนังเรื่อง insidious มากค่ะ
ไม่รู้จริงมั้ยนะคะ แต่จากที่ชอบฟังผีนางรำ หลายๆเรื่อง เค้าจะเล่าทำนองว่าครูนาฏศิลป์ไทยค่อนข้างจะดุ และจริงจังกับสิ่งที่ตัวเองสอน ถ้าสมมุติครูนาฏศิลป์ไทยเสียชีวิตไปทั้งๆที่ตัวเองยังทำหน้าที่ครูอยู่ เค้าจะเป็นผีและกลับมาสอนเพลงนั้นให้จบ เค้าจริงจังกับการรำอะไรประมาณนี้มั้ย เลยทำให้เวลาได้ยินเพลงไทย ดนตรีไทย รำๆ แล้วรู้สึกกลัวๆ
ความเห็นของผม ผมว่าปัญหาหลักของดนตรีไทยจริง ๆ ในปัจจุบันก็คือกฎเกณฑ์ที่มากเกินไป
จริงแหละที่อะไรหลาย ๆ อย่างอาจจะใช้เพื่อเป็นกุศโลบายของสมัยนั้น แต่อะไรที่ล้าสมัยเกินไปก็ควรจะลดความสำคัญสิ่งนั้นบ้าง
และกฎเกณฑ์ หัวโขนที่เป็นครูที่เราต้องไหว้ ความศรัทธานี่แหละที่ทำให้เกิดเรื่องเล่ามากมายจนเกิดเป็นหนังในที่สุด
เพลงสากล ผสม เครื่องดนตรีไทย มันเพราะมาก ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอะไรแบบมาก เพลงสากลก็สนุกมาใส่ดนตรีไทยเข้าไปดูเพราะเลย อย่างเพลง นนทก และ นาราย ของ Bookiezz อันนี้กินใจผมสุดๆเลย และบางคนเอาเพลงสากลมา Mix ใหม่ เพลงนั้นเพราะมากเมื่อเอาดนตรีไทยเข้าไปผสมด้วย อย่างเช่นเพลง วาดไว้ ของ BOWKYLION Remixโดย PJJohan ถ้าศิลปินเราเอาดนตรีไทยเข้าไปผสมเหมือน วงออร์เคสตรา ได้ผมว่าเพราะมากเลยนะ ไม่ก็จากเพลงไทยเดิม เปลี่ยนการเล่นมาเป็นเพลงสากลแต่เล่นในทำนองของดลตรีไทย ทุกวันนี้โรงเรียนที่ผมทำงานอยู่ ผมเห็นเครื่องดลตรีไทยและสากลวางนิ่งอยู่เฉยๆไม่มีใครเข้าไปเล่นหรือมีครูมาสอนให้เด็กๆหัดเล่นหัดใช้งานเลย ;-;
จารย์ชอบพูดตลอดว่าของทุกชิ้นมีครู จะจับจะเล่นต้องยกมือไหว้ นานๆเข้าเลยทำให้รู้สึกว่าในห้องมีผีครับ ด้วยบรรยากาศ ดูเก่าๆทึมๆ มีกลิ่นเก่าๆไม้ๆอับๆ กลิ่นเฉพาะตัว
ดนตรีไทยเป็นของมีครู จากที่เราเคยเป็นนางรแล้วก็เคยเป็นนักดนตรีไทยมาด้วย คนเฒ่าคนแก่เขาก็เล่าต่อๆกันมาว่าดนตรีไทยแต่ละเครื่อง จะมีครูไม่เหมือนกันคิดว่าถ้าคนที่เล่นคนแรกเขาเสียแต่จิตของเขายังอยู่ที่เครื่องดนตรี มันก็มีพิธีการไหว้ครูครอบครูตลอด ก่อนจะเล่นเครื่องดนตรีเครื่องไหนเราจะต้องยกมือไหว้ทำความเคารพก่อน ด้วยความที่คนไทยอยู่กับเรื่องสิ่งที่มองไม่เห็น มันก็เลยมีความเชื่อที่ว่า อย่าข้ามหนังสืออย่าข้ามเครื่องดนตรี เพราะของทุกชิ้นมีครูในตัวเราควรจะเคารพเขามันเหมือนกับการที่เรายืมของคนอื่นมาแล้วเราควรจะรักษาของของเขาให้ดี เพราะเราไม่รู้เลยค่ะว่าอุปกรณ์ที่เราเล่นเครื่องดนตรีที่เราเล่น ชฎาที่เราสวมผ่านใครมาบ้างมีประวัติอะไรมาบ้างค่ะ
ส่วนตัวนะคิดว่าเป็นกุศโลบายให้ดูแล้วเครื่องมือทำมาหากินของตัวเองมากกว่า สมัยก่อนเนียะพวกวงดนตรีไทยนี้มันระดับที่ต้องแสดงในวังบางหรือแสดงในงานใหญ่ๆ
ทำให้การดูแลอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนทำไมถึงห้ามเอามาเล่นมั่วๆเพราะมันจะทำให้เสริมสภาพเร็วขึ้นหรือไม่ก็เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแบบสายขาด หนังที่ขึงกลองขาด ในวันแสดงหรืออีกกรณีนึงที่นึกออกคือ มาเล่นนอกเวลามันรบกวนคนอื่นเวลาพักผ่อน
ที่ตอนเด็กเรากลัวห้องนาฏศิลป์หรือห้องวิทย์ อาจจะเป็นเพราะพวกหุ่นที่คล้ายมนุษย์ + เรื่องราวหลอนที่เราจำมา ที่เรากลัวพวกหุ่นก็อาจเป็นเพราะว่ามันคล้ายมนุษย์มากเกินไป มีหูมีตาแขนขาและขนาดที่ใกล้เคียงกับมนุษย์+จินตนาการ
วงที่เอาดนตรีไทยมาผสมได้โคตรลงตัวอีกวงคือ วงทรงไทย แนะนำมากๆ เลยครับวงนี่
พอพี่ ๆ พูดถึงกีตาร์ไฟฟ้ากับระนาด มันทำให้ผมนึกถึงภาพคอนเสิร์ตเพลง พลังดนตรี คอนเสิร์ต M150 ระหว่างขุนอินกับพี่เสก โลโซเลยครับผม (อยู่ช่วง 3.10 เป็นต้นไปครับ)
ua-cam.com/video/dSVdJTDZK3k/v-deo.htmlsi=5CODBoREbFoyRO_G
อาจจะเป็นดนตรีร่วมในหลายๆเครื่องดนตรี แต่คนไทยมักจะทำเครื่องดนตรีให้เป็นเอกลักษณ์ในแบบของไทย เช่นเดียวกับโขนไทย ที่ใครๆมองมาก็รู้นี่คือโขนประเทศไทย พวกผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าต่างๆที่ประเทศเพื่อนบ้านก็มีเหมือนกัน แต่เอกลักษณ์ อัตลักษณ์จะบ่งบอกว่าคือของประเทศไหน ดนตรีไทยคนไทยเล่นด้วยเพลงที่มีความบ่งบอกว่านี่คือเสียงเพลงไทย
ความเห็นส่วนตัวนะคะ ขลุ่ยไม่ใช่เครื่องดนตรีไทยรึป่าว(ไม่แน่ใจนะคะ) เลยสามารถเป่าเล่นได้เลย เพราะมีการแบ่งชนิดแยกไปด้วย เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้ ส่วนขลุ่ยที่เรามีไว้ตอนเรียนดนตรีไทย คือขลุ่ยเพียงออค่ะ
มันคือ อิทธิพลโบราณว่า เป็นสิ่งมีครู เป็นของสูงด้วยครับ เปิดมาเรื่องแรกก็เปิงมางเลย
วู้วมีในสปอติฟายด้วยชอบมากดีใจ
เรื่องข้อห้ามที่ดนตรีไทยมีมากกว่าดนตรีสากล อาจจะเป็นเพราะในสมัยนี้ดนตรีไทยไม่ค่อยจะผลิตกันแล้ว อาจจะหายาก ซ่อมแซมยากกว่า เลยทำให้มีข้อห้ามเยอะกว่า
ส่วนตัวคือ ตอนเรียนครูดนตรีไทยมีคนเดียว ค่อนข้างมีอายุแล้วเวลาพูดเขาจะชักกะตุกนิดๆอะคะเหมือนคนมีปัญหากับระบบประสาท แล้วเขาเคยพูดให้ฟังว่าที่เขาเป็นแบบนี้เพราะเขาเคยลองดีมากก่อนนะกับเครื่องดนตรีไทย เพราะฉะนั้นก่อนจะเล่นก็ยกมือไหว้ซะก่อนแล้วก็อย่าลบหลู่ แล้วเราอายุเท่านั้นอะคะก็เชื่อ แล้วเรียนดนตรีไทยทุกปี 12ปี (แบ่ง2เทอมอีกเทอมจะไปเรียนดนตรีสากล) แต่ถามว่ากลัวมั้ยก็คงไม่ได้ขนาดนั้น เพราะ ตึกเรียนก็อยู่ข้างสุสานของคริสต์5555
ขลุ่ยที่ถอดได้เป็นสากลครับเรียกว่า recorder
ส่วนขลุ่ยที่เป็นดนตรีไทยจะมี ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ แต่ที่ใช้ในการเรียนจะเป็นขลุ่ยเพียงออสักส่วนมากครับ
เพราะว่าถ้านึกถึงดนตรี Hiphop แล้วจะนึกถึง 2pac ครับ
แต่ตอนนี้มีพี่เอ้ Botcash เอาพิณ มาเล่มรวมกับความเป็นEDMแล้วนะ ซึ่งดีมากๆ
เพราะการรับรู้และสื่อตอนเราโตขึ้นมาก็เจอแต่แบบนี้ จะให้มองไปทางอื่นได้ไง😅
ทุกวันนี้ยังสงใสอยู่ครับ เพราะเหตุใด เครื่องดนตรีไทย ถึงต้องแยกออกจากกันกับห้องนาฏศิลป์
รวมอยู่ห้องเดียวกันไม่ได้หรือเพราะอะไร?
อีกสาเหตุนึงคือการจะเล่นก็ไม่ได้เข้าถึงง่ายด้วยค่ะ เทียบกับดนตรีสากล ส่วนตัวเราเคยเล่นเครื่องตีมาช่วงนึง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่เล็ก เล่นได้หมด ไม่ได้จับมาเป็นสิบๆปี วันนึงเราอยากจะเล่นระนาดเอก ก็ไม่ใช่ว่าวันนึงเราอยากจะกลับมาเล่นแล้วจะเดินไปซื้อระนาดมาวางที่บ้านได้เลย 55555 ร้านที่ทำก็น่าจะน้อยมาก อาจจะต้องสั่งล่วงหน้าหรือมีแหล่งที่รู้จักอยู่แล้ว คนไม่ได้อยู่ในวงการก็คงไม่รู้กัน และราคาก็น่าจะไม่ใช่ถูกๆ แถมยังใช้พื้นที่เยอะ ไม่เหมือนกับซอหรือพวกเครื่องสายบางชิ้นที่เป็นชิ้นเล็ก อีกอย่างคือดนตรีไทยเล่นคนเดียวไม่สนุกค่ะ มันไม่กลมกล่อมเท่าไหร่ ระนาดเอกหรือพวกเครื่องสายยังพอว่า คนเล่นฆ้องนี่จบเลย จะซื้อฆ้องวงใหญ่มานั่งเล่นที่บ้านก็เหงาเกินค่ะ 😂😂
จากอดีตเซลล์ ถ้านายสนใจ เซลล์จะไม่ขายคุณภาพแล้วอ่ะ
ตอนเรียนดนตรีไทยจารไม่ซีนะแต่จารเก็บในตู้ต้องให้จารเปิดให้ เครื่องสีเครื่องเป่าเล่นได้ตามสบาย จะมีระนาดกับขิมที่จารห่วงนิดๆ แต่เราไปลองซอแล้วกลัวสายขาดมากเลยไม่เล่นอีก
ส่วนตัวค่อนข้างชอบในดนตรีไทยเลยเคยเปิดนอนฟังอยู่555
ก่อนคริปนี้จะออกเคยคิดอยู่ว่าทำไมพวกนาฏศิลป์ไทยดนตรีไทยถึงได้มองไปในแนวเรื่องลี้ลับ
เรามองในทางของสูงที่น่าเคารพมีครูอาจารย์ดูแล้ววมีเสน่ห์ยังไงไม่รู้
การยกมือขึ้นมาไหว้ ก็เหมือนการใส่กางเกงใน ก่อนออกไปวิ่งนั่นแหละครับ
ในความคิดเห็นของเรา จากมุมมองของคนที่ไม่กลัวอะไรที่เกี่ยวกับดนตรีไทย เรามองว่าการที่คนส่วนมากกลัวดนตรีไทยหรือเครื่องดนตรีไทย คงจะเพราะตั้งแต่สมัยก่อนมา ดนตรีไทยและเครื่องดนตรีจะให้ความรู้สึกขลังๆเหมือนกันนะคะ ใช้ในพิธีกรรม มีเรื่องของครูบาอาจารย์เข้ามาเกี่ยวข้อง
แต่สิ่งที่เราคิดว่าน่าจะทำให้รู้สึกกลัวได้ คงเพราะพิธีกรรมและความเชื่อนี่แหละค่ะ ดนตรีไทยหรือการรำไทย จะเห็นได้บ่อยๆว่ามักจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมต่างๆอยู่เสมอ มีการทำพิธีครอบครูอยู่ด้วย ถ้ายิ่งเป็นสมัยก่อน คนไทยเราเองก็นับถือผี มันยิ่งรู้สึกว่ามันโยงเกี่ยวกัน บางที ถ้าเป็นเครื่องดนตรีเก่าๆที่ผ่านการทำพิธี อาจจะมีวิญญาณของครูดนตรีที่สถิตย์อยู่ ณ เครื่องดนตรีนั้นก็ได้ น่าจะเพราะแบบนี้ เครื่องดนตรีไทยเลยถูกมองเป็นของสูงต้องเคารพ เพราะมีครู
จะว่าไป พอพูดถึงพิธีกรรม ก็ชวนให้นึกถึงพวกคุณไสยหรือมนต์ดำอยู่ด้วย ยิ่งเป็นสมัยก่อนแล้วด้วย มันรู้สึกขลังๆยังไงชอบกล เขาดูแบบ จริงจังกับวิชาความรู้ของแต่ละสำนัก ยกตัวอย่างเช่น ขนาดแค่เรื่องทำอาหารเขาก็มีสูตรใครสูตรมัน จะทำทั้งทีต้องปิดครัวไม่ให้คนนอกรู้ นี่เลยคิดว่า ถ้าเป็นเรื่องดนตรีก็คงจะคล้ายๆกัน เพราะงั้นเครื่องดนตรีไทยมันก็ดูขลังมาแต่ไหนแต่ไร แตะต้องก็ยาก ต้องเคารพบูชา คนที่รู้สึกสนใจบางคนก็อาจไม่ได้มีโอกาสเล่น
แต่จริงๆสำหรับเรา เราไม่คิดไรมากถึงเรื่องนั้น เราว่าดนตรีไทยนี่มีสเน่ห์มาก ไม่อยากให้หายไปไหน และคิดว่านะ ถ้าเราไม่ได้ทำพิธีกรรมครอบครูอะไร เครื่องดนตรีนั้นก็เป็นแค่เครื่องดนตรี เว้นแต่ว่า ไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้นจะมีกุ๊กกู๋ตามมามั้ย อันนี้ก็อีกกรณีนะคะ 55555555555
กลับกัน นี่เห็นเครื่องดนตรีโบราณของจีนก็ยังแมสอยู่นะ ไม่เคยได้ยินว่าพวกกู่ฉิน กู่เจิง เอ้อร์หู จะมีวิญญาณ จะมีผีตามมา เพลงจีนสมัยนี้มีเพลงแนวๆผสมดนตรีโบราณแล้วก็งิ้วเข้าไปเยอะมาก
เราว่าดนตรีไทยก็ยังมีโอกาสแมสได้อยู่เยอะเลยนะ ตั้งแผงขายเลยละกัน เช่นเพลง “ คงคา ของคุณ Evalia หรือคุณ เอวารินทร์“ ผสมความเป็นไทยลงไปได้ดี และทำให้เห็นได้เลยว่าคนยุคใหม่ยังให้ความสนใจกับความเป็นไทยอยู่จริงๆ
เพราะอย่างงั้น หันไปเล่นดนตรีไทยกันเถอะค่ะ บรรพบุรุษเราน่าจะดีใจมากกว่านะ ที่เห็นว่าดนตรีไทยยังมีคนสืบต่อไป จริงๆมันก็มีความโรแมนติกอยู่ด้วยนะ ดนตรีไทยเองก็มีเพลงหวานๆเยอะเหมือนกัน นึกถึงภาพที่ว่าคนสมัยก่อนจีบกันโดยการเล่นดนตรี แหม่ มันก็เขินอยู่นะ
แต่อันที่จริงถ้าจะให้มันกลับมาแมสจริงๆ เราว่าต้องมีละครพีเรียดที่เกี่ยวกับดนตรีคล้ายๆโหมโรง อีกสักเรื่อง ถ้าละครนี้แมสได้ถึงขั้นบุพเพสันนิวาส หลายๆคนคงหันมาสนใจดนตรีไทยอีกแน่นอน
ผมเป็นมือระนาดครับ ที่ตอนนี้กำลังจะไปต่อสายดนตรีไทยพอดี คือจะบอกว่า ที่เราต้องเคารพเพราะ เรื่องความเรียบร้อย ความง่ายในการดูแลรักษา เพราะเครื่องราคามันก็แพง เลยต้องมีแนวโน้มหรือวิธีในการป้องกันสักหน่อยครับ ส่วนเรื่องผีไม่ค่อยเจอครับ555
ขลุ่ยที่ถอดได้3ท่อนเป็นขลุ่ยสากลคับ เรียกว่าขลุ่ยริคอนเดอร์ ส่วนของดนตรีไทยที่เป็นท่อนเดียวยาวๆตรงๆเรียกว่าขลุ่ยเพียงออคับ ส่วนใหญ่ที่ได้เรียนกันก็จะเป็นริคอนเดอร์เพราะพกง่ายดูแลง่ายด้วยค่ะ
ถ้าจะให้เล่าแบบพื้นๆนะ เครื่องดนตรีมันแพงทั้งสมัยก่อนกับสมัยนี้ ถ้าจะให้เล่นมั่วๆเดี๋ยวจะพังง่าย แล้วคนสมัยโบราณมากๆเวลาจะสอนคนเอาความจริงมาสอน มันไม่มีใครฟังหรอก สู้เอาผีมาหลอกคนให้เชื่อฟังมันง่ายกว่า
สะดุ้งมาก ป้าเสียใจนะที่ป้าเลข 4 แล้ว55555555
สะเทือนใจ คุณเนสบอกป้าๆ 35-40 😂
อยู่ในวงการดนตรีไทยส่วนตัวรู้สึกว่าปกติมาก ซ้อมเล่นปกติเลย ไม่ได้เคร่งอะไรมาก ถ้าจะบอกว่าดนตรีไทยไม่ปรับตัวเลยคืออาจจะมองโลกแคบเกินไป ปัจจุบันดนตรีไทยปรับเยอะมาก ๆ พอสมควรนะคะ อย่างส่วนประกอบเครื่องสาย ก็สายลวด สายไหม ขลุ่ยก็มีปรับเป็นสองท่อนมีหลายคีย์เล่นเป็นร่วมสมัย ฯลฯ ส่วนตัวนี่มองว่าดนตรีไทยมีทั้งใช้ประกอบพิธีก็จะต้องระเบียบกฏเกณฑ์ไปกับปรับตามยุคสมัย เรื่องน่ากลัวนี่คิดว่าขึ้นอยู่กับประสบการณ์คนที่ไปเจอมาบวกกับเจอดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรม
ปล. ขายของ วงดนตรีไทยร่วมสมัยมีหลายวงนะคะ มีวงฟองน้ำ วงกอไผ่ แนะนำนะคะเพราะทุกเพลงเลยย
ทำไมโรงเรียนที่ผมเรียนตอนประถม ที่ห้องดนตรีไทยผมก็ไปตีไปเขย่าเล่นได้เลยหว่า ไม่เห็นต้องไหว้ครูเลย ไม่มีใครว่า ตอนนั้นนี่ผ่านมา30ปีได้แล้วนะ
เพราะมันเข้าถึงยากนี่แหละความนิยมมันเลยน้อยมากๆไหนจะพิธีรีตรองอีก แบบคนอยากเล่นก็มีแต่ถ้าจะยุ่งยากขนาดนี้ไปสากลดีกว่า
ดนตรีไทย มันคือพื้นถิ่นครับ เครื่องดนตรีไทย มันก็เฉพาะเจาะจบ ถ้าจะเทียบกับสากลอะครับ
มองง่ายๆ เทียบง่ายๆ ก็ความเป็นไทย กับความเป็นสากลแหละครับ
หลายๆครั้งพอผู้ให้บริการเห็นเราอายุน้อย
เขาจะปฏิบัติกับเราแบบ"ยังไงก็ได้"
ครับซึ่งผมว่ามันไม่ได้ป่ะครับ😅
เท่าที่รู้มาขลุ่ย เป็นของ อินเดียค๊าบ
ผมชอบเวลาคุณอ๋องมานั่งฟังร่วมมากเลยครับ เป็นผู้ฟังที่ดีมากๆ
ผีนางรำเป็นผีที่ผมกลัวที่สุด😂
มันคือซอฟต์เพาเวอร์😅
ในฐานะที่เป็นคนเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็กมากๆ นะคะ ส่วนตัวไม่ได้กลัวเครื่องดนตรีไทยเลยค่ะ แต่รู้สึก appreciate มากทั้งด้านความละเอียดอ่อนการเล่น การดูแลรักษาและการถ่ายทอด เรารู้สึกว่าดนตรีไทยมันมีความขลังความแกรนด์อยู่ในตัวมันตั้งแต่วัสดุการสร้างไปจนถึงลักษณะเสียงที่ยูนีค ด้วยความที่เครื่องดนตรีไทยหลายชิ้นมีลักษณะโครงสร้างที่อาศัยช่องว่างในตัวเครื่องเพื่อเสริมความดังออกมา ทำให้เสียงที่ออกมามีความก้องกังวานและพ่วงมาด้วยน้ำหนักเครื่องที่หนักกว่าปกติ เสียงที่มีมิติต่างกันมากนี้อาจทำให้กลืนกับดนตรีอื่นยากกว่าเลยอาจเป็นจุดสำคัญหนึ่งที่ทำให้มันไม่สากล ขนาดเราได้ยินนิดเดียวยังรู้เลยว่าเพลงนี้มีเสียงระนาดค่ะ 55555 กลับกันแล้ว ถ้ามุ่งเป้าจะทำเพลงที่ traditional หน่อย เราว่าเครื่องดนตรีไทยเป็นเอกลักษณ์และยืนหนึ่งไม่แพ้เครื่องดนตรีประเทศอื่นเลยนะ
เรื่องของความเคารพดนตรี เห็นด้วยว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะวัสดุที่หายากและต้องดูแลอย่างดี ส่วนใหญ่เป็นไม้ เป็นทองเหลืองทั้งนั้น สายซอก็ต้องมีการฝนโดยใช้ก้อนยางสนอะไรงี้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของการส่งต่อ/การสอนดนตรี ไทยเราสมัยก่อนถือว่าเครื่องดนตรีไทยบางวงต้องเล่นต่อหน้าชนชั้นสูง/ราชวงศ์เท่านั้น หรือมีการแบ่งแยกย่อยประเภทวงต่างๆ ตามวาระโอกาสเฉพาะหรือใช้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ ตำแหน่งครูดนตรีไทยเลยถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องให้ความเคารพ พอๆ กับตำแหน่งครูนาฏศิลป์ ท่ารำท่าร่ายต่างๆ มีความหมายและความอ่อนช้อยสูง อาจใช้ในการประกอบพิธีกรรมเช่นกัน ต่อให้เป็นเพลงพื้นบ้านหรือเพลงสนุกก็ยังมีการไว้ท่าทางที่โดดเด่น ผู้เรียนเลยค่อนข้างนับถือครูผู้สอนมาก และอาจจะทำให้กลายเป็นจุดหนึ่งของความเชื่อเรื่องการไหว้ครูให้สมเกียรติต่าง ๆ ด้วยค่ะ
ส่วนเรื่องการเข้าถึง นี่ว่าอาจจะแล้วแต่โรงเรียน เราจับเครื่องดนตรีมาแต่เด็กก็ชินกับการเข้าหาเครื่องดนตรีไทย ดังนั้นเวลาจะเข้าไปเล่นเครื่องไหน ครูจะไม่ค่อยห้ามไม่ค่อยกังวลค่ะ (ดูรักษาของ ประมาณนั้น) แต่สำหรับคนหัดเล่นใหม่อาจจะต้องมีระวังกันบ้าง อย่างขิมนี่ตอนตีมันๆ คือสายขาดเป็นว่าเล่น สายโลหะดีดขึ้นมาแรงมากอยู่ค่ะ แต่โดยรวมแล้วคุณครูดนตรีไทยที่โรงเรียนเราไม่ได้ห้ามถึงขั้นพี่เนสนะคะ ถ้าสนใจอยากเล่นอยากเรียนก็เข้าไปได้เลย มีชมรมรองรับ
สรุปทั้งหมดที่จะพูดคือ เราไม่ได้กลัวดนตรีไทย ไม่ได้กลัวนาฏศิลป์ไทย เวลามีหัวโขนมีพ่อแก่เราว่าเราอุ่นใจด้วยซ้ำ ครูดนตรีไทยทั้งหลายถ้าเห็นเด็กมีใจตั้งใจจะเล่นคงไม่ดุหรอกค่ะ แต่สิ่งที่เรากลัวในวัฒนธรรมดนตรีไทยตรงนี้มีแค่เรื่องหุ่นนางรำ 555555555555555555555 หุ่นนางรำขนาดตัวจริง คนที่เป็นสายช่างจินตนาการหน่อยน่าจะกลัวบรรดาหุ่นนางรำหุ่นลองเสื้อเหมือนเรา อันนี้น่ากลัวสุดละค่ะ 😭
35-40โดนเป็นป้าๆแล้วแง555😂😂
จิตร ภูมิศักดิ์ เคยบอกว่าดนตรีไทยมีลักษณะอันไม่ยอมเคลื่อนไหว
ส่วนตัวเรียนดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทยมา ไม่เคยเจอผีเลยครับพี่เนส555
แล้วพี่บอกไม่ได้ซื้อบ้านเพราะเซลล์ แต่พี่ก็ไม่ซื้อเพราะเซลล์ด้วย งงอยู่นะ 😂😂 สรุปว่าถ้าเซลล์ถูกใจก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะตัดสินใจ
ส่วนใหญ่มันเป็นกุศโลบายค่ะที่ต้องกราบต้องไหว้หรือขออนุญาตก่อน เพราะเครื่องดนตรีไทยส่วนใหญ่หากเล่นไม่ถูกวิธีอาจจะเสียหายได้ง่าย ประกอบกับว่าทุกชิ้นทำมือและค่อนข้างปรานีตใช้เวลานาน ยิ่งเวลาผ่านไปนับวันยิ่งหาคนซ่อมได้ยากกว่าดนตรีสากลเพราะความนิยมเสื่อมลง(ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากข้อห้ามที่มากจนเกินไปหรือความกลัว) ของทางรรที่เราเคยเรียนมา เด็กที่เป็นเด็กดนตรีไทยของโรงเรียนสามารถหยิบเล่นได้เลยแต่ยังต้องไหว้เครื่องก่อน เพื่อเตือนใจว่าเราต้องถนุถนอมเครื่องไว้ ส่วนคนที่ไม่ใช่ส่วนใหญ่ต้องมีครูกำกับเพื่อให้เล่นได้อย่างถูกวิธี
อีกอย่างที่ดนตรีไทยทำให้เรานึกถึงนางรำก็เพราะว่า ส่วนใหญ่เวลาเราได้ยินเสียงดนตรีนั้นมักจะได้ยินเวลามีการแสดงต่างๆเช่น ฟ้อนรำหรือโขน เพราะในสมัยนี้ไม่ค่อยมีวงแยกหรือนิยมจับคู่กันเป็นวงที่มีทั้งฟ้อนและรำมากกว่าเพราะหาเวทีจัดแสดงได้ง่ายกว่า การไหว้ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความเคารพค่ะ ส่วนตัวเราว่าเป็นการรวบรวมสติสมาธิให้เราจดจ่ออยู่กับเครื่องด้วย ในบางคนอาจจะมีเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข่องกันบ้างแล้วแต่บุคคล ส่วนตัวเชื่อเรื่องครูบาอาจารย์ประมาณ60-70%เพราะเคยเจอเหตุการที่เหมือนโดนหลอกมา2-3ครั้งอยู่ ในช่วงเป็นเด็กดนตรีไทย🥲
ปล.ขลุ่ยที่แยกออกเป็นสามส่วนได้น่าจะคือขลุ่ยริคอตเดอร์ของทางสากลนะคะ ส่วนขลุ่ยไทยที่นิยมกันน่าจะเป็นขลุ่ยเพียงออของทางภาคเหนือ
ทางนี้กลัวผีนะคะ แต่ไม่กลัวเกี่ยวกับดนตรีไทยเบยเพราะคลุกคลีมาพอสมควร ประกอบกับเคยครอบครูด้วย เราเลยยึดถือว่าครูแกมาเพื่อปกปักษ์รักษาหรือมาเตือนเรามากกว่า
แล้วพี่เนสว่าคนเงียบๆเป็นเซลส์ได้มะ 5555 เหมือนอาชีพนี้เขาให้ที่คนพูดเก่งพูดมากอย่างเดียว
ทำไมนึกถึงผี ต้องนึกถึงผีผู้หญิง?
เสียงฉิ่งฉับ มันหลอน
หลายๆ ปัจจัยทำให้มันไม่แมสครับ ส่วนที่ดนตรีสากลแมสด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างเช่น ชาวยุโรป ชอบเผยแพร่วัฒนธรรมตัวเอง ชอบเดินทางไปทั่วโลกทั้งเผยแพร่ศาสนาวัฒนธรรม ต่างจากเอเชียที่ไม่มีอะไรแบบนั้นคิดภาพคนในยุคก่อนจะเรียนเครื่องดนตรีไทย ยากยิ่งกว่านี้อีก ยิ่งไม่ต้องพูดเลยว่าจะสอนคนต่างแดนเล่น ต่างจากเครื่องดนตรีสากล ที่ใครเล่นก็ได้ครับ อีกอย่างนักดนตรีไทยมักเล่นเป็นวง ต่างจากสากลที่นักดนตรีคนเดียวเดินทางไปตามที่ต่างๆ เล่นเพลงแลกเศษเงินมีเยอะแยะไป อันนี้พูดในยุคสมัยก่อนนะแบบหลายร้อยปีก่อน แล้วไม่ใช่แค่ไทยนะที่ไม่แมส ทั้งเอเชีย ยกเว้นจีน ที่ก็เห็นชอบเผยแพร่วัฒนธรรมตัวเองไม่ต่างจากยุโรป อย่างมวยไทยที่ดังทั่วโลกก็ไม่ได้ปีสองปีนะครับพยายามกันมานาน เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องใช้เวลาและการคิดอย่างเป็นแบบแผนถึงจะแมสได้ แบบมวยไทย
ขลุ่ยน่าจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านค่ะ เขาเลยไม่ไหว้ ฟีลเเบบชาวบ้านชาวนาเขามักจะชอบซื้อมาเป่าเพื่อความบรรเทิงในวงมากกว่า เเต่เครื่องดนตรีมีครู ต้นกำเนิดก็จะอีกเรื่อง เขาจะเปิดเป็นคณะใหญ่ๆ บูชาพ่อเเก่ เล่นตามงานมงคล โขน ละครนอกละคนใน หลักๆก็จะเป็นวงปี่พาท ปี่ ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน
🖤🖤🖤
สนุกดีครับ
งั้นผมคนสองละกัน
ผันางรำ ขึ้นชื่อเรื่องความหลอน ยิ่งดนตรีหลอนๆชวนขวัญกระเจิง
อายุ35เนี่ยนะเรียกว่าป้าๆหน่อย แสดงว่าไม่รู้เสียล่ะวัยนี้แหละเด็ดสุด 555
เป็นนางรำช่วงประถมและมัธยมต้นค่ะ ตอนนี้เรียนมหาลัยอยู่ ในตอนประถมห้องดนตรีไทย ได้เดินคานเข่าเหมือนพี่เนสเลยค่ะ ห้องนาฏศิลป์ เดินเข้าปกติ แต่สวัสดีครูเสร็จ จะต้องไหว้ครูพ่อแก่(ครูรูปหัวโขน)ต่อด้วยค่ะ หลังจากเรียนจบประถม มีโอกาสได้เอาพวงมาลัยไปไหว้ครูที่สอนรำ ครูเขาไม่รับพวงมาลัยค่ะ เขาบอกให้ไปวางให้พ่อแก่เลย
[จริงๆมันก็อยู่กับเรื่องความศัทธาของแต่ละอาจารย์ที่สอนด้วยแหละค่ะ]
คนแรก แบร่ๆๆ
35 ยังไม่ป้าๆ นะคร้าาา 😂
เราว่าดนตรีไทยค่าบำรุงรักษามันแพงค่ะ พวกอะไหล่มันแพง พวกระนาดถ้าพังค่าซ่อมสยองขวัญ พวกเครื่ิงสาย มันปรับยากถ้าเพี้ยน บางทีเพ้ยงแล้วเพี้ยนเลย เช่น ทำซอตกสักครั้งเสียงซออันนั้นอาจขิตเลย แต่ดนตรีสากล มันมีเป็นอุตสาหกรรมมากกว่า มีความนิยมกว่าอะไหล่ทดแทนมีความหาง่ายกว่าประมาณนี้ค่ะ
ที่ ดนตรีสากลไม่น่า กลัว น่าจะเป็น พวกฝรั่งเขาไม่เชื่อเรื่องผี มั่งครับ เขาจะ กลัว เรื่อง ตัวตลก ซาตาน ไรงี้มั้ง
35-40 ป้าแย้วหรอ ฮือออออออ
อยากให้พี่วิเคราะห์เพลงของวง yoasobi งับ ua-cam.com/video/x8VYWazR5mE/v-deo.htmlsi=-ORnmYmXgpvvzyUv
ชอบคลิปที่มีการพูดคุยกับเพื่อนแบบนี้มากค่ะ
เรื่องเยอะตลอดกูงง เอะอะไม่เคยถูกใจตัวเองซักอย่างตอยเกิ่นก่อนเข้าเรื่อง