เรื่องดิน: ขออย่าคิดเหมือนเดิม Soil: let's think beyond
Вставка
- Опубліковано 27 лис 2024
- บรรยายพิเศษ เรื่อง "เรื่องดิน: ขออย่าคิดเหมือนเดิม"
Soil: let's think beyond
โดย ศ.ดร. สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ นักวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บรรยายในงานประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00-15.00 น.
ณ อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
จัดโดย คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
อาจารย์ประมวลองค์ความรู้ มาถ่ายทอดได้งดงาม ยอดเยี่ยมมากครับ
ติดตามอาจารย์ตลอดครับ ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงครับ
กราบขอบพระคุณ อ.สุนทรี และ cab ku ครับ
ขอบขอบคุณท่านอาจารย์มากๆครับ จากคนที่ปลูกต้นไม้ไม่เป็น ไม่เคยรู้เรื่องธาตุอาหาร ตอนนี้ผมประสบผลสำเร็จในการทำอาชีพเกษตรได้แล้วครับ❤❤💚💚
กราบอาจารย์ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์มากๆครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
ไม่จบอ่ะพี่ควาย เพจพี่มีไลฟ์เรื่องนี้มั้ยครับ อยากฟังต่อ
เป็นวิชาการที่ผมฟังแล้ว ไม่ง่วงนอน
สุดยอดครับอาจารย์ ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงเด้อครับ
จริงแหะ เราลืมคิดถึงเรื่องอากาศไปเลย ที่ต่างประเทศเห็นเขามีการอัดอากาศลงดิน ไอ่ที่เป็นไม้ติดหมุดตะปู กดลงดินดึงขึ้นทำดินเป็นรู
เป็นเครื่องอัดอากาศแบบ บู๊ม! เหมือนทิ้งระเบิดที่ใต้ดิน มันจะดีเรอะ
ขอบคุณท่านอาจารย์ที่นำความรู้มาเผยแพร่ครับ เป็นประโยชน์มากครับ
ความชัดเจนและรายละเอียด เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ
อาจารย์สุดยอดมากค่ะ ❤❤❤
ต้องฟังสองเที่ยวถึงจะเข้าใจครับ
ขอบคุณค่ะ จากคนที่ชอบปลูกต้นไม้
ดีใจที่เจออาจารย์อีกครั้งครับ❤❤❤❤
อาจารย์ยืนหนึ่งในประเทศไทย
ขอบพระคุณครับอาจารย์
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมค่อยๆทำไปครับ
สนุกมากครับ ได้วิธีคิดที่มากขึ้น
ขอบคุณท่านอาจารย์มาก ๆ เลยครับ
อาจารย์ จะทำให้เกษตรกร เดินทางที่ถูกต้องครับ
ขอบพระคุณครับอาจารย์สุนทรีย์ ผมมาถูกทางแล้วครับ
สรุป
~ ทำดินให้มีชีวิต
~ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอากาศช่องว่างอากาศในดิน
~ ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
~ รักษาสมดุลของปุ๋ย ให้ปุ๋ยแต่ละตัว มีสัดส่วนที่เหมาะสม ( ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด )
~ สร้างปัจจัยที่เอื้อให้พืชมีการสังเคราะห์แสงให้ได้มากที่สุด
~ เพื่อให้รากพืชนำแร่ธาตุไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
~ นั่นคือเป้าหมาย ในการเพิ่มผลผลิต
ขอให้สุขภาพแข็งแรงทุกคนครับ
ติดตามอาจารย์เกือบทุกคลิปครับ ❤❤❤
ขอขอบคุณอาจารย์มากๆครับที่ช่วยเหลือจุลินทรีย์ในธรรมชาติให้คงอยู่ผมสำนึกตลอดว่าเราไม่เคยเก่งกว่าธรรมชาติแต่เราควรพึ่งพาธรรมชาติและเรียนรู้อยู่กับเขาพึ่งสิ่งที่เรามีให้มากที่สุดส่วนปัจจัยภายนอกเราพยายามที่จะพึ่งให้น้อยที่สุด
จุลินทรีย์คือทุกสิ่งบนโลกขอบคุณครับ
เป็นความรู้ที่มีคุณค่าที่สุดครับ
ขอบคุณอาจารย์และทีมงานกับความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก และอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่าย 🙏😊
ดินประเทศไทยเกือบทั้งประเทศมีค่า pH เป็นกรด มีบางพื้นที่ที่ดินเกิดจากภูเขาหินปูน เช่นภาคตะวันตกแถบเมืองกาญจนบุรี ดินแถวปากช่อง ตาคลี อุตรดิตถ์ กระบี่ ดินริมแม่น้ำที่น้ำไหลผ่านมาจากภูเขาหินปูนจะมีค่า pH ใกล้เป็นกลางได้ด้วย อีกบริเวณที่ดินมีค่า pH สูงคือดินเค็ม ดินที่มีเกลือโซเดียมสูง
ดินที่มีค่า pH ต่ำ(เป็นกรดมาก) จึงเกิดจากดินมี แคลเซียม/แมกนีเซียม/โพแทสเซียม/โซเดียม ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวรวมกันในปริมาณน้อย ส่วนดินที่มี pH สูง อาจมีต้นกำเนิดจากหินปูนที่มีแคลเซียมมาก แต่ยังขาดแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ทำให้ต้องใส่ทั้งสองธาตุเพิ่มแม้ค่า pH จะสูงอยู่แล้ว
ถ้าไม่เคยวัดค่า pH ของดินในแปลงเกษตรเลย ก็แนะนำให้วัด จะได้รู้ว่าขาดธาตุอาหารแคลเซียม/แมกนีเซียม/โพแทสเซียม รุนแรงเพียงใด ในแนวทางของเรา เราไม่ได้ใช้ค่า pH ดินเป็นตัวกำหนดการใส่ธาตุ 3 ชนิดข้างต้น เราใส่ธาตุอาหารตามความต้องการใช้ของพืช
เรามองโดโลไมท์/ปูน และธาตุอาหารอื่นเป็นปุ๋ยที่ต้องใส่เหมือนที่ใส่ NPK ให้ใส่ในปริมาณเท่าที่พืชต้องการใช้ เหมือน NPK โดยไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มเติมเพื่อปรับเพิ่ม pH
เพราะอย่างที่อธิบายในการพูดครั้งนี้ ที่ว่าการดูดใช้ธาตุอาหารของรากผ่านกระบวนการทางชีวภาพ ไม่ต้องรอให้ธาตุอาหารละลายออกมาในน้ำที่ขึ้นกับค่า pH ของสารละลายดิน
หรือเท่ากับกล่าวว่า ถ้าคิดว่ากระบวนการในดินเป็นกระบวนการเชิงเคมีล้วนๆ เราก็ทำตามคำอธิบายเรื่องการจัดการธาตุอาหารในดินแบบที่ทางปฐพียึดถือตลอดมา
แต่ถ้าเราปรับความคิดว่า กระบวนการในดินเป็นการที่รากได้ธาตุอาหารผ่านกระบวนการชีวภาพ เราก็ไม่ใช้วิธีทางเคมี คือไม่จำเป็นต้องใส่ปูนเพิ่มเพื่อปรับค่า pH แต่ใส่ปูนในฐานะเป็นปุ๋ยที่ต้องให้ในปริมาณตามความต้องการของพืช
Thank you ❤❤
ขอบคุณมากครับอาจทรย์
ขอบพระคุณอาจารย์ ที่ให้ความรู้ เรื่องดิน ผมนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในสวนทุเรียน ของผม เวลานี้รอดูผลการปฏิบัติ ครับ
ขอบคุณครับ อาจารย์
ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์
ตาสว่างเลยครับอาจารย์
ชอบอาจารย์มากๆครับ ติดตามอาจารย์ตลอด
อ่า ดูของ john kempf เหมือนกันเลย ฟังจนจบหลายตอนละ
ยอดเยี่ยมครับ ❤🙏🏿
อ้าวเราก้พยายามจะปรับแต่ph เพราะะเมื่อก่อนอาจารย์บอกว่าดี
❤❤❤❤❤ขอบคุณๆๆๆ..เอาเงินเดือนกะเลกะราด..อ่ะ..เอามาให้แก่เลยๆๆๆ..เพราะมันยากที่จะเขาใจ..
ได้ความรู้ใหม่ๆ เยอะมากครับ
สนุกมากครับกับการเรียนรู้กับอาจารย์ เห็นคุณค่าของชีวิตการอยู่ร่วมกันจริงๆ ขอบคุณมากครับ
ในหลวงร.9พูดเรื่องนี้ไว้นานมากแล้ว...และง่ายๆๆๆแค่..ห่มดิน..ง่ายมาก
ควรเพิ่มเวลาแสดงสไลด์ให้นานขึ้น
เวลาอ.บรรยาย จะได้ดูรายละเอียดบนสไลด์ควบคู่กันไป
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ทางศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้จัดทำวีดีทัศน์เผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปในวงกว้าง เราติดตามและยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้ชมเสมอ
สิ่งใดที่เป็นความคิดเห็นที่ดี มีประโยชน์ และทางศูนย์ฯ สามารถดำเนินการให้ได้ เรายินดีทำให้ครับ
ในกรณีการเพิ่มเวลาแสดงสไลด์ให้นานขึ้น ผู้ชมบางคนก็ชอบ หลายคนก็ไม่ชอบ โดยให้ความเห็นว่าน่าเบื่อ
ในคลิปนี้ทางศูนย์ฯ แสดงสไลด์เท่ากับเวลาในเหตุการณ์จริง โดยตัดสลับให้เห็นผู้บรรยาย เจตนาอยากให้ฟังสาระสำคัญจากผู้บรรยาย มากกว่าตัวหนังสือบนสไลด์
หากท่านติดตามอ่านไม่ทัน กดปุ่มหยุดเล่นชั่วคราว (Pause) เพื่อหยุดอ่าน หรือกลับมาดูซ้ำรอบที่ 2 รอบที่ 3 ได้นะครับ 😆
เกษตรกรบางท่าน เคยบอกผมว่า ดูคลิปนั้น คลิปนี้ซ้ำ เป็น 10 รอบ กว่าจะตามอาจารย์ท่านทัน และเข้าใจ 🥰
คิดเหมือนผม
ว่าสไลด์เร็วมาก
..
ผมเลยแก้ปัญหา
ด้วยการแคปหน้าจอ
สุดยอดครับอาจารย์
อาจารย์ทำให้เปิดมุมมองใหม่เลยครับ ❤
ชีวภาพง่ายดีสุด..ใบไม้ทับถมทุกปี..ก็ถมใบไม้โคนต้น ทุกปีก็จบ...ไม่เป็นทาสเงิน
อาจารย์ครับจะมีคลิปบรรยายที่เมืองกาญจนบุรีที่อาจารย์ไปบรรยายเรื่องเดียวกันนี้ฉบับเกษตรกรเมื่อวันที่26 พ.ย.2567 หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
เปลี่ยนหลักการเรื่อง PH ของดินเลย ไม่ต้องเน้นใส่ปูนจำนวนมาก
สามารถศึกษางานวิชาการ ของท่านอาจารย์สุนทรีย์ ยิ่งชัชวาลย์ได้จากช่องทางใดได้บ้างครับ เนื้อหาน่าศึกษามากครับ
เรื่องนี้ถือเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติใหม่ของบ้านเรา และมีผลงานวิจัยในด้านนี้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
แต่ในต่างประเทศมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการดินตามแนวทางนี้แล้วพอสมควร
อ.สุนทรี ได้ให้แหล่งความรู้อ้างอิงไว้ตอนบรรยายแล้ว ไปติดตามเพิ่มเติมได้ครับผม
ผมฟังทั้งอาจารย์สุนทรีย์และอาจารย์สุมิตราผมเชื่อทั้งสองทา่นขึ้นอยู่กับวา่เรากำลังทำอะไรแต่ละเรื่องฟังเป็น10ครั้งครับ
ผมเปนเกษตรการบ้านๆ ได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ ฟังมาเกิน10ครั้ง ได้ความเข้าใจที่ชัดเจนมากๆ แม้จะมีศัพท์ทางเทคนิคเฉพาะ ก็ยังเข้าใจง่าย ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ที่บรรยายให้เห็นความเป็นจิงๆ ในธรรมชาติ แบบไม่แยกสรรพสิ่ง
สวัสดีครับอาจารย์
ถ้าผมต้องการปรับสภาพค่า pH และเพิ่มธาตุอาหาร Ca, Mg ให้โคกดินรูปทรงอ้อยควั่นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร สูงเฉลี่ยประมาณ 70 ซม. จากระดับ pH 4.8 ให้เป็น pH 7.0 เพื่อจะปลูกทุเรียน
จากผลการวิเคราะห์ดิน ค่า OM = 3.05% ธาตุอาหาร P = 3 mg/kg., ธาตุอาหาร K = 43 mg/kg. และ Ca = 73 mg/kg., Mg = 18 mg/kg. ค่าความต้องการปูนเท่ากับ 1,080 กก. CaO3 ต่อไร่
วิธีคิด:
กำหนดให้ชั้นไถพรวนมีความลึก = 15 ซม., ความหนาแน่นของดิน = 1,335 กก.ต่อลบ.ม. ดังนั้นน้ำหนักดิน 1 ไร่ = 1,600 ตร.ม. x 15 ซม. x 1,335 กก.ต่อลบ.ม = 320,400 กก.
1. หาปริมาตรโคกดิน
ปริมาตรดินในโคก = pi*r*r*h = 3.14*2*2*0.7 = 8.8 ลบ.ม.
2. หาน้ำหนักของโคกดิน
น้ำหนักของโคกดิน = 8.8 ลบ.ม. x *1,335 กก.ต่อลบ.ม. = 11,737 กก.
3. หาความต้องการปูน
= 1,080 กก.ต่อไร่ *11,737 กก. /320,400 กก. = 39.56 กก.
สรุป: โคกดินทรงกลม 1 โคก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตรสูง 70 ซม. ต้องใช้ปูน CaO3 ประมาณ 40 กก.
คำถามคือ วิธีคิดคำนวณถูกต้องมั๊ยครับ และถ้าใส่ปูนโดโลไมท์เพียง 1 กระสอบเล็กขนาดความจุ 25 กก. ต่อ 1 โคกโดยโรยด้านบนโคกแล้วทิ้งให้ตากแดดตากฝน 3 เดือนจนต้นหญ้าเริ่มขึ้น 20% ของโคกสามารถปลูกทุเรียนได้เลยมั๊ยครับ จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับต้นทุเรียนภายหลังได้บ้างครับ
ในความเห็นเรา เราไม่กังวลว่าต้องปรับ pH ดิน จาก 4.8 ไปเป็น 7 ในครั้งเดียวเลย เพื่อความสบายใจ เราจะโรยโดโลไมท์บางๆบนผิวดินเท่านั้น ลืมเรื่องความต้องการปูนไปจะดีกว่า เป็นแนวคิดที่นานมากแล้ว ถ้าปรับดินในแนวที่คำนวณมา อาจเป็นผลร้ายที่ใส่ปูนทีเดียวมากเกินไปก็ได้คะ
@ ขอบพระคุณมากครับอาจารย์
@ ถ้าเราใส่ปุ๋ยปีละ 10 กก. ควรใส่ปูนโดโลไมท์ 10 กก. ถูกต้องมั๊ยครับ
@@worapots ไม่มีสูตรตายตัวแบบนี้ ปุ๋ยคือให้ธาตุอาหาร NPK เลือกสูตรปุ๋ยที่มีสัดส่วนของ 3 ธาตุ ตรงตามที่พืชต้องการ ส่วนปูนโดโลไมท์อาจให้สัดส่วนของ Ca กับ Mg ไม่ตรง วิธีการคือให้ใส่จำนวนที่ให้ตัวใดตัวหนึ่งจนครบ อีกตัวอาจเกินหรือขาดไปเล็กน้อย ถ้า Mg ไม่ครบ จะใส่ปุ๋ยกีเซอไรท์ (MgSO4) เพิ่มเติม คำแนะนำเราคือใส่โดโลไมท์ให้ได้ Mg จนครบ ปริมาณ Ca มักเกินต้องการ ถือว่าแถมคะ ซึ่งในช่วงแรกนี้ น่าจะไม่มีปัญหา เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใส่ปูนน้อย
ขออนุญาตสอบถามค่ะ
จากที่ฟัง อ.สุมิตรา ในหลายๆ ช่องทางท่านบอกว่าในกรณีที่ดินเป็นกรด ให้ค่อยๆ ปรับสภาพดินด้วยการใส่โดโลไมท์ หรืออาจจะเป็นปูนขาวแล้วแต่ความเหมาะสม แต่ฟังการบรรยายของ อ.สุนทรี vdo นี้เหมือนอาจารย์ไม่ค่อยอยากให้ปรับ pH ของดิน ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร หรือเข้าใจผิดเอง ขอความกระจ่างด้วยค่ะ ที่ผ่านมาได้ยึดหลักของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมาตลอด ซึ่งได้ผลดี ก็เลยคิดว่าหรือจะเป็นความรู้ใหม่หรือไม่
จากการฟังอาจารย์ทั้งสองท่านได้ความรุ้เยอะมากครับ แต่อาจเห็นต่างกันบ้างในเรื่องใช่ปูน กับค่าวิเคราะห์ดิน จากที่ผมติดตามฟังมา แต่ก้อมีเหตุผลที่ดีทั้งสองท่าน
เรามองโดโลไมท์/ปูน และธาตุอาหารอื่นเป็นปุ๋ยที่ต้องใส่เหมือนที่ใส่ NPK ให้ใส่ในปริมาณเท่าที่พืชต้องการใช้ เหมือน NPK โดยไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มเติมเพื่อปรับเพิ่ม pH
เพราะอย่างที่อธิบายในการพูดครั้งนี้ ที่ว่าการดูดใช้ธาตุอาหารของรากผ่านกระบวนการทางชีวภาพ ไม่ต้องรอให้ธาตุอาหารละลายออกมาในน้ำที่ขึ้นกับค่า pH ของสารละลายดิน
หรือเท่ากับกล่าวว่า ถ้าคิดว่ากระบวนการในดินเป็นกระบวนการเชิงเคมีล้วนๆ เราก็ทำตามคำอธิบายเรื่องการจัดการธาตุอาหารในดินแบบที่ทางปฐพียึดถือตลอดมา
แต่ถ้าเราปรับความคิดว่า กระบวนการในดินเป็นการที่รากได้ธาตุอาหารผ่านกระบวนการชีวภาพ เราก็ไม่ใช้วิธีทางเคมี คือไม่จำเป็นต้องใส่ปูนเพิ่มเพื่อปรับค่า pH แต่ใส่ปูนในฐานะเป็นปุ๋ยที่ต้องให้ในปริมาณตามความต้องการของพืช
@@suntareeyingjajaval6739ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ เข้าใจแล้วค่ะ
ดินเป็นด่างก็ใส่กรดดินเป็นกรดก็ใส่ด่างใครมีความรู้เรื่องวัสดุทดแทนกรดด่างที่ไม่ต้องซื้อบ้างขอคำแนะนำหน่อยเกษตรกรจะได้รวยกับเขาบ้างสาธุ@@suntareeyingjajaval6739
แนะนำทีมงานถ่ายทำ พกยางรัดสีดำ เอาไมค์ไวเลสไปติดฝากไว้กับไมค์ที่อ.ถือ จะตัดปัญหาเรื่องเสียงได้ครับ
งานนี้เราไม่ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอง (ทางศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราขออนุญาตคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าภาพจัดงาน เข้าไปบันทึกเทป รวมถึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ทาง UA-cam ช่องนี้) ทำให้หลายอย่างเหนือการควบคุม
วันนั้นที่หน้างาน ขลุกขลักพอสมควร ตั้งแต่การกำหนดตำแหน่งให้วิทยากรบรรยาย จะยืน จะนั่งในตำแหน่งใด การใช้ไมค์ถือบนเวที การใช้รีโมทควบคุมสไลด์ และอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ เป็นธรรมดาของการจัดงานลักษณะนี้ แม้จะมีการซักซ้อมคิวกันการทีมผู้จัดงานก่อนเริ่มบรรยายแล้วก็ตาม
ปัญหาหน้างานต่างๆ เหล่านี้ ทางศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตัดออกเกือบหมดแล้วก่อนเผยแพร่คลิปนี้ จึงแทบไม่เห็นว่ามีช่วงสะดุดให้เห็น
ระหว่างบรรยายก็มีการเปลี่ยนไมค์ถือบนเวทีด้วยครับ การเอายางรัดที่ไมค์ถือตัวใดตัวหนึ่ง คงไม่สะดวกนัก
มีโอกาสจะนำเทคนิคนี้ไปใช้
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
@@CABKUChannel ตอนที่ผมทำงาน ก่อนจะเข้างาน พิธีกรจะไปเดินคุยกับคนโน่นคนนี้ พอคุยเส็ดโดนเรียกขึ้นพูด ติดไมค์แทบไม่ทัน หลังจากนั้น ผมเลยจับแกติดไมค์และเปลี่ยนถ่านก้อนใหม่ก่อนเลย จะไปไหนก็ตามสบาย 5555 ถึงเวลาขึ้นพูดผมก็รอปรับความดังให้พอดี ถ้างานไหนไมค์เยอะ ก็ต้องนั่งดูคลื่นไมค์ว่าตีกับใครบ้าง
จริงๆแนะนำเป็นไมค์สายครับ ติดตัวแกไว้ก่อนเลย แต่ก็จพราคาแพงหน่อยครับ แต่ตัดปัญหาเรื่องคลื่นชนกันได้มาก ไมค์ไวเลสที่ไม่มีสายจะเอาไปติดตรงเสื้อ ก็ดูจะไม่สวยงาม แต่ตามช่องนี้มา เดี๋ยวนี้ตัดปัญหาไปได้เยอะเลย คลิปภาพไม่ชัดแสงไม่สวย ผมว่าไม่สำคัญเท่ากับเสียงที่คมชัด ผมจะเป็นกำลังใจให้ทีมงานสู้ๆต่อไปครับ เก็บความรู้จากอ. มาให้มากที่สุดเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลัง
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ และกำลังใจครับ
ตกลงเราต้องวัดค่า pH ดินหรือไม่ ต้องปรับให้กลางมั้ย เกษตรกรกำลังสับสนครับ แล้วโดโลไมท์ต้องใส่มั้ย
เราสามารถใส่ยิปซั่มทีเดียว500กกฺต่อไร่ได้ไหมคะ เพื่อปรับปรุงสภาพดินเพราะที่เป็นดินลูกรังค่ะ หนูปลูกอ้อยตามแนวทางของ อ. pH 6.2-6.5 เลยใส่ Ca ในรูปของยิปซั่มแทนค่ะ
ดินที่มีค่า pH สูงขนาดนี้ ไม่พบบ่อย เป็นพื้นที่แถวไหนคะ ถ้าค่า pH สูงเพราะใส่ปูนมาก่อน ก็ไม่ต้องใส่ยิปซัมมากขนาดนั้นแล้วคะ คำแนะนำของเราให้ใส่ปูนโดโลไมท์ เพื่อให้ได้แมกนีเซียมด้วย
@@suntareeyingjajaval6739ดิน จ.สระแก้ว ไม่เคยใส่ปูนมาก่อนเลยค่ะไม่เคยบำรุงดินอะไรเลยมาตั้งแต่รุ่นตายาย หนูเคยเห็นแผนภาพpHของแต่ละจังหวัดในไทยของกรมพัฒนาที่ดิน ดินของสระแก้วไม่เป็นกรดค่ะ (น่าจะจังหวัดเดียวเลยค่ะ)
ยิปซั่ม ไม่ได้เพิ่มpH ก็เลยสงสัยว่าเราใส่เยอะๆ (500กกฺ) ปีแรกครั้งเดียว เพื่อให้ดินมันนิ่มและอุ้มน้ำดีขึ้นได้ไหมคะ ปีต่อไปเราก็ใส่ 50กก.พอค่ะ
หนูตั้งใจว่าจะไม่ไถพรวนดินกำจัดหญ้าเพื่อรักษาจุลินทรีย์ แต่ปีนี้อุปกรณ์ไม่พร้อม เลยฉีดยาฆ่าหญ้า จุลินทรีย์มันตายไหมคะ
ปีต่อไปจะตัดหญ้าเอาค่ะ และโรยปุ๋ยในกองหญ้าเลยค่ะ แต่สงสัยว่าในไร่อ้อยมันร้อนกลางแดด ไนโตรเจนมันจะระเหิดไปหมดหรือปล่าวคะ
เป็นเรา เราจะใส่โดโลไมท์ 50 กก/ไร่ ถ้าจะบำรุงดิน ใช้วิธีเพิ่มอินทรียวัตถุดีกว่าคะ เมื่อเป็นกิจกรรมทางชีวภาพแล้ว ไม่ต้องกังวลเรื่องปุ๋ยหาย/ระเหิดอีกต่อไป ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดินจะฟื้นชีวิตเพิ่มขึ้น พื้นที่สระแก้วที่ไกลทะเล ควรมีการใส่กำมะถัน เช่นสาด 21-0-0 ช่วงปลูกสักครึ่งกระสอบต่อไร่ เศษพืชย่อยสลายเร็วขึ้นด้วย
ดินที่มีชีวิต ต้องมีอินทรียวัตถุ
เรียนถาม ท่าน อ.สุนทรีครับ
ว่าถ้าเราต้องการนำแปลงนาเก่าที่มีความลุ่ม เป็นดินเหนียว จังหวัดสิงห์บุรีมาทำสวนผลไม้ ในขั้นเตรียมการนอกจากการไถระเบิดดาน และ เพิ่มอินทรีย์วัตถุแก่ดินแล้ว มีประเด็นใดต้องเตรียมเพิ่มอีกไหมครับ
ให้แน่ใจว่าใส่ธาตุอาหารครบ สูตรปุ๋ย NPK โดโลไมท์ จุลธาตุสังกะสี ทองแดง กับโบรอนคะ
ถ้าทำได้ขุดเป็นร่องดินขนานกับแนวยาวต้นไม้แทนการระเบิดดาน จะช่วยระบายน้ำจากเขตรากพืช และใช้เป็นที่สะสมเศษพืชที่ตัดจากต้น
@@suntareeyingjajaval6739ขอบพระคุณครับ เดี๋ยวจะจัดการตามที่อาจารย์แนะนำครับ
ตอนแรกจะทำร่องสวน แบบโบราณ แต่ผมจำต้นปาล์มร่องสวนในงานวิจัยของอาจารย์ได้ครับ ว่าดินแฉะตลอด และรากลงลึกไม่ได้ แต่วิธีที่อาจารย์แนะนำให้ทำร่องนี้ความลึกไม่ต้องมากใช่ไหมครับ
ในอนาคตได้ผลอย่างไรจะติดต่อเพื่อรายงานครับ
เป็นการเปิดหน้าตัดดินที่กว้างกว่าการระเบิดดาน การใส่เศษพืชจะช่วยกันไม่ให้ดินกลับมาจับกันเป็นชั้นดานใหม่
@@suntareeyingjajaval6739ขอบพระคุณครับอาจารย์
เริ่มเห็นสัจธรรม
ฟังไปราวสักครึ่งชั่วโมง ... รู้สึกเหมือนจะทำอะไรไม่ถูก .... พรวนดินดินก็แห้งอีกราโตไม่ได้อีก, เติมปูนก็ไม่ดีอีก ยากแฮะ
ฟังซ้ำๆฟังหลายๆรอบ หาข้อมูลเรื่องดินมีชีวิตจากหลายๆที่ครับ
ผมฟังวนไปซ้ำๆเป็นสิบรอบ ถึงจะเข้าใจอย่างถ่องแท้
คิดเหมือนผมมั้ย ผมฟังแล้บสน ไมเขเาใจเลย
ไม่ครับ ผมฟังแล้วเข้าใจ แต่ที่ไม่ค่อยเข้าใจ และสับสน คือไอ้ภาษาที่คุณพิมพ์นั่นแหละครับ จะพิมพ์วิจารณ์คนอื่นทั้งทีพิมพ์ให้ถูก ๆ ยังทำไม่ได้เลย น่าสลดสังเวช
การบรรยายนี้ อาจารย์ท่านบรรยายในงานประชุมวิชาการ เป้าหมายหลักคือ บรรยายให้นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ด้านปฐพี ที่มีความรู้พื้นฐานด้านปฐพีวิทยามาแล้วพอสมควร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรครับ ที่หลายท่านอาจฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือตามไม่ทันครับ
หากสนใจเรื่องนี้จริงๆ ฟังซ้ำหลายๆ รอบ หรือศึกษาเพิ่มเติม จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น
หากอาจารย์ท่านบรรยายให้เกษตรกร ให้ชาวบ้านทั่วไปฟัง ท่านก็จะมีวิธีสอน วิธีบรรยายอีกแบบ ปรับวิธีการสื่อสารตามกลุ่มคนฟังครับ
ตกลงไม่ต้องใส่โดโลไมท์ใช่ไหมคับ
อาจารย์ครับเอายาอะไรระเบิดดานครับ
ต้องใช้เชิงกลคะ คือใช้รถแทรกเตอร์ลากหัวไถระเบิดดาน (ripper) ไม่มียา/สารเคมีใส่ดินที่จะมีกำลังพอระเบิดดานได้
ขอบคุณ ครับ @@suntareeyingjajaval6739
ใช้กรดละลายธาตุอาหารยังไงครับ ขอบคุณมากครับ
สายวนเกษตร สายอินทรีย์เค้าทำมานานละ ทำนาเปียกสลับแห้งกันมานานละ หมักจุลินทรีย์ก็ทำกันมาตลอด ทำนาโดยไม่ไถแต่ดินฟูกว่าไถ...เพิ่งเคยเห็นอ.คนนี้คนแรกที่พูดเรื่องนี้ (ในกลุ่มเค้าก็ให้ระวังนักวิชาการเพราะเรียนมาเป็นได้แค่เซลขายปุ๋ยเคมี)
ระวังนักวิชาการมากไป จนบางทีไม่ได้ความรู้จริง ๆ ได้แต่ความคิดที่ขาดงานวิจัยและข้อเท็จจริงรองรับ ถ้าถึงขนาดคิดวิเคราะห์แยกแยะไม่ได้ ว่านักวิชาการคนไหนพูดสาระดี ข้อเท็จจริงเรื่องธาตุอาหาร หรือ เป็นแค่เซลล์ขายปุ๋ย ก็คงจะแย่นะ
ไม่ต้องอายครับ เพิ่มการอ่านหนังสือเยอะๆ
ปุ๋ยสูตร 18-8-8 (1ถุง) ผสม 0-0-60 (15กก.)จะได้ปุ๋ยสูตรอะไรครับ
ปุ๋ยสูตร 18-8-8 จำนวน 1 ถุง กี่กิโลครับ ถ้าไม่มีข้อมูลคำนวณสูตรปุ๋ยให้ไม่ได้ครับ
ผมแนะนำให้ท่านอ่านวิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
จะได้เข้าใจหลักคิดและวิธีการคำนวณด้วยตนเอง
ไม่ยากเกินที่จะเข้าใจได้ครับ
www.gotoknow.org/posts/320043
หรือหากไม่อยากคำนวณเอง ลองหา Application คำนวณสูตรปุ๋ย
มาติดตั้งลงบนมือถือของท่าน มีหลาย App ลองใช้งานดูครับ
ส่วนตัวผมชอบคำนวณด้วยมือครับ เป็นการทบทวนความรู้ ฝึกการใช้สมอง
และยืดหยุ่น ตรงตามที่เราต้องการมากกว่าครับ
พรชัย ไพบูลย์
อาจารย์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แหล่งที่มาของงานวิจัยต่างๆที่ อ.นำเสนอ สามารถหาได้จากที่ใด
ปล.ในคลิปเหมือนว่า อาจารย์กำลังอบรบนักษาเลย :)
หากสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมทางยูทูปจาก Dr. Elaine Ingham ดูนะคะ
สวัสดีค่ะ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง Soil food web ได้จากคำบรรยาย ของดอกเตอร์ อีเลน อิงแฮมและอีกหลายๆท่านตามยูทูปก็มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน ลองพิมพ์ Dr. Elaine Ingham หรือ Soil Food Web หรือ Soil Biology หรือ cultivating living soil ดูนะคะ หากสนุกอาจต่อไปถึงการทำเกษตรแบบ Regenerative Agriculture และ Syntropic farming เอ็นจอยค่ะ
เรื่องนี้ถือเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติใหม่ของบ้านเรา และมีผลงานวิจัยในด้านนี้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
แต่ในต่างประเทศมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการดินตามแนวทางนี้แล้วพอสมควร
อ.สุนทรี ได้ให้แหล่งความรู้อ้างอิงไว้ตอนบรรยายแล้ว ไปติดตามเพิ่มเติมได้ครับผม
ปล. การบรรยายนี้ อาจารย์ท่านบรรยายในงานประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 8
เจตนาตั้งใจบรรยายให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการด้านปฐพี ฟังโดยเฉพาะ จึงอาจมีศัพท์แสงทางวิชาการฟังยากนิดหนึ่ง
แต่ให้จับสาระสำคัญและลองนำไปปรับเปลี่ยนดูครับ
เพราะเราทำเกษตรแบบเดิมๆ ตามวิธีการเดิมมาหลายสิบปี ผลลัพธ์ ผลผลิตที่ได้ ก็ได้แบบเดิมๆ
ลองคิดใหม่ ทำใหม่ และติดตามดูการเปลี่ยนแปลง ติดตามดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในระยะ 3-5 ปี ดูซักครั้งในชั่วชีวิตเราดีไหมครับ
เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไร กลับมาบอกกันบ้าง จะได้เป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์ และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เผยแพร่ความรู้ครับ 🥰
@@CABKUChannel รับทราบตามนั้นครับ ติดตามอาจารย์มานานตั้งแต่ช่วงโควิดที่ไม่ค่อยจะได้ไปไหน ผมเองไม่ได้เรียนจากที่ไหน แค่ม.6 แต่พอเข้าใจได้ น่าจะเพราะว่าเคยทำเกษตรมานานโดยมีคำถาม ว่าทำไม?เพราะอะไร?ทำไมได้เท่านี้? ทำไมเป็นอย่างนั้น? เมื่อนำความรู้ที่อาจารย์ให้มาปะติดปะต่อกัน บวกกับแหล่งอื่น ทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของดิน ทั้งด้านกายภาพ เคมี สภาพภูมิอากาศ พืชที่ปลูก ล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน)
หากเกษตรกรบ้านเราสัก 10% สามารถเข้าใจ ประเทศเราคงก้าวกระโดดทางการเกษตรได้เป็น 10 ปี
ขอเป็นกำลังใจให้กับคณะทำงานในการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปครับ
@@ทรงกลมฯ เยี่ยมเลยครับ
ส
พูดแบบสายมู เลย
สรุปง่ายๆ ไม่ดีกว่าหรือเจ๊
อาจารย์พูดเพื่อให้ความรู้ถึงเหตุอันเป็นปัจจัยให้เกิดผลครับ
คลิปก่อนหน้าอ.บอกให้ใส่โดโลไมท์เพื่อปรับค่าpHในดินคลิปนี้อ.บอกไม่ต้องปรับpHในดินเพราะถึงอย่างไรรอบๆรากพืชก็เป็นกรดและเป็นกรดสูงมาก ฟังอ.แล้วคือไม่ต่องส่งดินไปวิเคราะห์เพราะไม่มีประโยชน์ จนท.วิเคราะห์ดินทำผิดทุกๆประการ เราควรโค่นต้นไม้เพื่อวิเคราะห์ทุกๆส่วนของพืชแล้วให้ปุ๋ยตามที่พืชต้องการ ตามผลผลิตที่เราเอาออกไปจำหน่าย แล้วเราจะวิเคราะห์ได้ยังไง ข้อมูลในแต่ละพื้นที่พืชแต่ละชนิดแตกต่างกัน จุลินทรีย์ดีๆที่เป็นชุมชนจุลินทรีย์จะไปหาจากไหนมาใส่ดิน ใส่ยังไง แล้วห้ามไถพรวน ดินร่วนน้ำขังดินทรายน้ำก็ขังแล้วทำให้รากเน่าอันนี้รู้แหละแต่จะแก้ปัญหายังไง เหมือนอ.พูดๆๆๆแต่ปัญหา😢อ.น่าจะใช้คลิปนี้สอนนักวิเคราะห์ดิน 😂 คงไม่ได้สอนคนที่จะปลูกพืชหรือปรับปรุงดิน สรุปตอนนี้งงหนัก ว่าจะใส่ปุ๋ยยังไง ให้จุลธาตุอะไรยังไง pH ต้องปรับปรุงมั้ย 😢
ขออภัยที่ทำให้สับสน การพูดครั้งนี้ อยู่ในงานประชุมวิชาการดินและปุ๋ย ผู้ฟังเป็นนักวิชาการด้านดิน เจตนาของเรื่องที่พูดคือต้องการยกประเด็นว่าปฏิกิริยาในดินที่เกี่ยวข้องกับการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชเป็นเชิงชีวภาพ ไม่ใช่เคมีล้วนๆ และตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการทั้งหลายที่ใช้กับดินตลอดมาเป็นวิธีการทางเคมีทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลและความเข้าใจด้านชีววิทยาภายในระบบรากพืชเพิ่มขึ้นมาก จึงยกประเด็นการจัดการดินที่น่าจะมีการปรับความคิดทำแนวทางใหม่
สำหรับผู้ที่ยังสมาทานความคิดว่าปฏิกิริยาในดินเป็นเชิงเคมี วิธีการจัดการดินที่ผ่านมาไม่ผิดหลักการอะไร แต่ถ้านำกิจกรรมของชีวิตเข้าไปในระบบราก ก็ควรปรับให้เข้ากับธรรมชาติของระบบชีวิต เช่นไม่จำเป็นต้องใส่ปูนเพิ่มเพื่อปรับค่า pH ให้สูงขึ้น แต่ใส่ปูนในฐานะเป็นปุ๋ยที่ต้องให้ในปริมาณตามความต้องการของพืช ไม่ว่าแนวทางใด การใส่ปุ๋ยให้พืชยังคงยึดหลักเดียวกันที่ให้แน่ใจว่าให้ธาตุอาหารที่พืชได้จากดินครบทั้ง 13 ชนิด
สำหรับแนวทางการศึกษาสูตรและอัตราปุ๋ยตามความต้องการใช้ธาตุอาหารของพืช มีแนวคิดว่าพืชแต่ละชนิดมีความเข้มข้นเฉลี่ยทั้งต้นของธาตุอาหารแต่ละชนิดที่คงที่ คือมีปริมาณธาตุอาหารผันตามมวลแห้งของทั้งต้น ถ้าปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอ ต้นจะสร้างมวลแห้งเท่าที่ธาตุอาหารตัวจำกัดที่สุดมีให้ใช้ กล่าวคือ ความเข้มข้นและสัดส่วนของธาตุอาหารในต้นพืชที่มีองค์ประกอบค่อนข้างตายตัวมีความผันแปรต่ำ และต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับปริมาณในดินที่มีองค์ประกอบหลากหลาย และไม่มีข้อจำกัดว่าธาตุอาหารต่างๆต้องมีสัดส่วนระหว่างกันตายตัว การศึกษาหาสูตรและอัตราปุ๋ยตามความต้องการของพืชเป็นงานของนักวิชาการและหน่วยงานของรัฐ เราเองไม่เคยส่งดินวิเคราะห์เพื่อใช้ค่าในการใส่ปุ๋ย จึงไม่แนะนำให้คนอื่นทำ
ข้อมูล ความเข้าใจรวมถึงการยอมรับว่าระบบดินเป็นกระบวนการทางชีวภาพเป็นงานที่กำลังพัฒนา ยังไม่มีองค์ความรู้เบ็ดเสร็จที่ลงตัวทุกอย่าง จึงน่าจะไม่มีใครที่สามารถอธิบายวิธีจัดการดินทุกขั้นตอนสำหรับทุกสภาพให้พอใจทุกฝ่ายได้
ให้ดูสารคดีเรื่องโลกของดิน
ผมยึดแนวทางอาจารมา3ปี สวนทุเรียนผม ปลอดเชื่อโรคไฟทอป..ทุเรียนก็สวยอย่างไม่เคยดป็นมาก่อน..ดร.สุมิตรา ด้วย
ผมเตรียมดินปลูกมันสำปะหลังส่งดินไปตรวจผลph4.5 กรมที่ดินแนะนำใส่โดโลไมท์ประมาณ1ตันต่อไร่ ผมควรใส่ตามแน่ะนำหรือว่าใส่เท่าไหร่ที่ไม่อันตรายต่อพืช ขอบคุณครับ
ผมแนะนำให้อ่านคำถามคุณ Worapots ที่เรื่องถามเรื่อง
การเตรียมแปลงปลูกทุเรียน ค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปูนโดโลไมท์
ใน comment ใต้คลิปนี้ อ.สุนทรี ได้แนะนำแนวทางไว้ นำมาปรับใช้ได้ครับ
สำหรับมันสำปะหลัง ผมเคยทำวิจัยร่วมกับ อ.สุนทรี เมื่อหลายปีก่อน ในพันธุ์ห้วยบง 60
เราจะแนะนำให้ใส่โดโลไมท์ตามความต้องการธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg)
ที่ใช้ในการสร้างต้น และระดับผลผลิต ดังนี้ครับ
ผลผลิตหัวมันสด 5 ตัน/ไร่ แนะนำให้หว่านโดโลไมท์ 50 กิโลกรัม/ไร่/ปี
ผลผลิตหัวมันสด 10 ตัน/ไร่ แนะนำให้หว่านโดโลไมท์ 75 กิโลกรัม/ไร่/ปี
ผลผลิตหัวมันสด 15 ตัน/ไร่ แนะนำให้หว่านโดโลไมท์ 100 กิโลกรัม/ไร่/ปี
หว่านบางๆ ทั่วทั้งแปลงก่อนปลูก เว้นการหว่านช่วงที่ฝนชุก
พรชัย ไพบูลย์
อาจารย์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตร์พระราชา คือการบำรุงดิน ให้ดินบำรุงพืช (มิใช่เอาสารเคมี ใส่ให้พืชกิน)
ในดินดีมีธาตุอาหาร สุดท้ายแล้วพืชใช้เป็นประจุเคมี
ขอบพระคุณมากครับอาจารย์
ขอบคุณครับ
ขอแหล่งดาวน์โหลดเปปอร์ที่อาจาย์พูดได้ไหมครับ
เรื่องนี้ถือเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติใหม่ของบ้านเรา และมีผลงานวิจัยในด้านนี้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
แต่ในต่างประเทศมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการดินตามแนวทางนี้แล้วพอสมควร
อ.สุนทรี ได้ให้แหล่งความรู้อ้างอิงไว้ตอนบรรยายแล้ว ไปติดตามเพิ่มเติมได้ครับผม
เราศึกษาเรื่องดินเรื่องปุ๋ยมาแต่สมัยบรรพบุรุษทำไมไม่จบสักทีสุดท้ายก็ต้องพึ่งเจ้าสัวพึ่งของนอก
หลายคนคิดแบบคุณ แต่ คงลืมคิดว่าเราเอาอะไรออกจากแปลงปลูกบ้างตลอดหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเราเอาออกไปเราต้องหามาทดแทนให้พอเพียงกับที่เราเอาออกไป