พระพิธีธรรม | วัดบวรนิเวศวิหาร
Вставка
- Опубліковано 8 лют 2025
- การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้ในการบำเพ็ญกุศลที่เกี่ยวเนื่องกับศพหรือ ผู้ตาย เพื่อเป็นการสร้างกุศลอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเกิดจากการที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จไปเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยทั่วไปแล้วการสวดพระอภิธรรมมีการนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน ๔ รูป ๘ รูป สุดแล้วแต่ละพื้นที่ แต่สำหรับงานพระบรมศพ พระศพ หรือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีฐานันดรศักดิ์ ชั้นยศ หรืออยู่ในหลักเกณฑ์ เทียบเกียรติยศพระราชทานแก่พระศพและศพของสำนักพระราชวัง รวมทั้งบุคคลซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ จะได้รับ พระราชทานพระสงฆ์ไปประกอบพิธีในการสวดพระอภิธรรม เรียกว่า “พระพิธีธรรม” ซึ่งในปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย ๑๐ พระอาราม ได้แก่ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดราชสิทธาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดอนงคาราม วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดประยุรวงศาวาส
พระอภิธรรมทำนองหลวงของวัดบวรนิเวศวิหารนั้น มีความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงยกเลิกสำรับพระพิธีธรรมของวัดโมลีโลกฯ ออกและเพิ่มวัดบวรนิเวศวิหารเข้าไปแทนเรียกว่าสำรับพระพิธีธรรม ซึ่งเป็นตำแหน่งประจำพระอาราม โดย การแต่งตั้งพระพิธีธรรมในพระอารามนั้นจะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ด้านการออกเสียง จะต้องออกเสียงอักขระที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีน้ำเสียงที่ไพเราะเป็นต้น
วัดบวรนิเวศวิหาร ยังนับว่าเป็นพระอารามในคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเพียงแห่งเดียวที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระพิธีธรรม พระพิธีธรรมนั้น เดิมที มีหน้าที่สวดอาฏานาฏิยสูตรในพิธีตรุษ แต่ปัจจุบันมีหน้าที่สวดจตุรเวท คือการสวดพระปริตร ที่หอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพิธีทำนำ้พระพุทธมนต์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสวดพระอภิธรรมศพ ในพิธีงานหลวง งานบำเพ็ญกุศลในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นต้น
ในส่วนของพระพิธีธรรมสำรับของวัดบวรนิเวศวิหารนั้น จะใช้บทสวดประจำในการสวดพระอภิธรรมทำนองหลวงคือ บทพระอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งใช้ในปัจจุบัน มีทั้งหมด ๙ ปริจเฉท ซึ่งพระพิธีธรรมสำรับของวัดบวรนิเวศวิหาร นิยมสวดโดยแบ่งเป็น ๒ ชุด คือชุดที่ ๑ ประกอบไปด้วย ปริจเฉท ที่ ๑, ๒, ๓, ๕ ส่วนชุดที่ ๒ ประกอบด้วย ปริจเฉทที่ ๑, ๒, ๔, ๘ ทำนองที่ใช้ในปัจจุบันคือ ทำนองสรภัญญะ ซึ่งใช้เทคนิควิธีการสวดแบบการแบ่งพยางค์ของคำเป็นวรรค ในการออกเสียงจะพบการออกเสียงเอื้อนตามพยางค์และวรรคที่เป็นแบบเฉพาะของพระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร คือ มีการทอดเสียงใน สองพยางค์สุดท้ายก่อนจบวรรค มีการแบ่งวรรคตอนการสวดตามฉันทลักษณ์และการออกเสียงเอื้อนที่มีลักษณะเฉพาะไม่ตายตัว มีการทอดเสียงที่กระชับไม่เอื้อนยาวจนเกินงาม อีกทั้งการออกอักขระจะมีความ ชัดเจน ถูกต้อง ตามหลักของฐานและกรณ์ในภาษาบาลี
สาธุสาธุสาธุเจ้าคะ่มีใครนั่งร้องให้ร้องให้เหืมอนหูนมั๊ยอาจารย์อ้นทำให้หูนร้ขอให้ยู่คนเดียว
สาธุสาธะุธุสาธุหูได้ยินงูเลียบพระนคร์
สาธุสาธุสาธุเจ้าค่ะลูกขอหมายถึงพระราชพิธีหลวงแห่ผ้ากถิณ์หลวงเลียบพระนครหลวงสมเด็จพ่หลวงในหลวงรัชกาลที่เก้าสาธุเจ้าค่ะรัก