Top10 อาหารไทย ถูกใจคนจีน ขายดีที่จีนเป็นแสนล้านหยวน! | PetchZ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 23 лис 2024

КОМЕНТАРІ • 783

  • @PetchZ
    @PetchZ  8 місяців тому +124

    มีใครเข้าใจเรื่องก๋วยเตี๋ยวเรือ สีช็อคโกแลต ของแหวนมั้ย? ก๋วยเตี๋ยวเรือที่ไหนหวาน 😂 แหวนไปกินที่ไหนมาาา หรือจริงๆก๋วยเตี๋ยวเรือมันหวาน หรือจริงๆแหวนหมายถึงอะไร ยังงงอยู่เลย 55555555

    • @kanoon85
      @kanoon85 8 місяців тому +16

      น้ำก๋วยเตี๋ยวสีเหมือนช็อคโกแลตรีเปล่าคะ😁

    • @นายวิทยาอุดมศรี
      @นายวิทยาอุดมศรี 8 місяців тому +4

      อยากให้พูดถึงที่มาของอาหารเหล่านี้ ขนมจีน ขนมโตเกียว ลอดช่องสิงคโปร์ กะหรี่ปั๊บ ข้าวผัดอเมริกัน

    • @dnagiplife
      @dnagiplife 8 місяців тому +26

      จริงๆหลายๆร้านก๋วยเตี๋ยวเรือก็หวานนะคะ

    • @วิศาลเฟื่องฟูวงศ์รัตน์
      @วิศาลเฟื่องฟูวงศ์รัตน์ 8 місяців тому +47

      น่าจะเป็นน้ำตกหรือเปล่าเพราะใส่เลือดพอออกมาสีจะออกเป็นน้ำตาลๆดำๆ

    • @ทวีทรัพย์เจริญสุข-ธ8ข
      @ทวีทรัพย์เจริญสุข-ธ8ข 8 місяців тому

      น่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยว​น้ำตก​ เขาใส่เลือดสดจึงทำให้สีเข้ม​ ไปทางช็อกฯ​ แดงเข้ม​ หรือไปทางดำ..

  • @worawongdher7188
    @worawongdher7188 8 місяців тому +144

    ส้ม หมายถึงความเปรี้ยว แปลว่าเปรี้ยว เป็นความเปรี้ยวที่สดใสสดชื่น ไม่เปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เปรี้ยวปรี๊ดเหมือนมะนาว และจริงๆ ส้ม ที่เป็นผลไม้สมัยก่อนก็มีรสเปรี้ยว ปรับปรุงพันธุ์จนมีรสเปรี้ยว-หวาน จนมีแต่รสหวานในปัจจุบัน
    มีอาหารหลายอย่างเลยที่มีรสเปรี้ยวจะใช้คำว่า ส้ม เช่น แกงส้ม ปลาส้ม ตำส้ม ส้มตำ ฯหรือในชื่อของพืช ต้นส้มป่อย ใบส้มป่อย อาจจะมีอีกแต่นึกไม่ออก ซึ่งในอาหารเหล่านี้ก็ไม่ได้เปรี้ยวมากนัก เป็นความเปรี้ยวที่ติดตรึงใจอยากกินอีก ไม่ใช่เปรี้ยวเข็ดฟัน เข็ดขยาด นำไปใช้ในสีสัน สีส้ม ก็ให้ความรู้สึกเปรี้ยวสดใส

    • @sarunnoicharoen7904
      @sarunnoicharoen7904 8 місяців тому +13

      ถูกต้อง อะไรที่มีรสเปรี้ยว เราจะเรียกส้ม

    • @LallanaM
      @LallanaM 8 місяців тому +6

      ตามนี้ค่ะ เมนท์นี้ถูกต้อง

    • @กังสดาล-ภ8ฎ
      @กังสดาล-ภ8ฎ 8 місяців тому +5

      เม้นท์นี้ถูกใจและถูกต้อง

    • @PetchZ
      @PetchZ  8 місяців тому +16

      ปังมากกก ชอบความเปรี้ยวสดใสสดชื่น อ่านแล้วรู้สึกอยากกินน้ำส้มเลยค่าา 😆

    • @Beone4289
      @Beone4289 8 місяців тому +1

      อธิบายได้ดีเลยค่ะเหตุผล

  • @Prapatpong-f9k
    @Prapatpong-f9k 8 місяців тому +54

    แกงเขียวหวาน คือลักษณะสีของแกงแกงที่มีสีเขึยวอ่อน ๆ คำว่าหวานในสมัยก่อน จะเอาไว้ขยาย คำนามหน้า เพื่อขยายความมากขึ้น
    ส่วนข้าวผัดสับปะรด ไม่น่าจะมากจากแนวคิดคนจีน น่าจะคนไทยนี่แหละ เพราะสัปปะรด มีในอาหาคาวมานานแล้ว เช่น แกงสับปะรด ผัดเปรี้ยวหวาน และในปัจจุบัน ส้มตำ ที่มีหลากหลายเมนู ก็เริ่มมีเมนูใหม่แล้วคือ หมูตกครก คือวิธีคล้ายส้มตำแต่ใส่หมูย่างมาใส่แทนมะละกอ คนไทยชอบคิดปรับประยุกต์ไปเรื่อยๆ

    • @piyarut10
      @piyarut10 8 місяців тому +2

      ข้าวผัดสับปะรด เกิดขึ้นช่วงหลังนี้เอง เป็นเมนูที่อาจารย์หมึกแดงหรืออาจารย์ยิ่งศักดิ์ไม่แน่ใจ คิดค้นนำผลผลิตจากเกษตรกรคือสับปะรดที่ล้นตลาดมาแปรเป็นอาหารคาวและอร่อยจนทำขายได้ ติดตลาดนักท่องเที่ยวจนทุกวันนี้

    • @bmonthatipkul
      @bmonthatipkul 8 місяців тому +2

      ​@@piyarut10ข้าวผัดสัปปะรดของต่างชาติ มีอยู่แล้ว แต่รสชาติต่างกัน มีคนไทยไปเจอมาแล้วเอาความคิดมาให้พ่อครัวไทยผลิตแบบรสชาติไทยๆขึ้นมา

    • @bmonthatipkul
      @bmonthatipkul 8 місяців тому +4

      แกงเขียวหวาน ก็ต้องหวานสิ มันเป็นของภาคกลางชาววัง ชาววัง ส่วนใหญ่ จะชอบกินหวาน อาหารชาววัง จะมีหวานเยอะ ช่วงหนึ่ง แกงหลักๆเป็นของแขก ภาคใต้จะมีความรู้พวกมะพร้าวกับกะทิ กลายเป็นแกงกะทิแบบไทยๆ แต่ส่วนใหญ่สีแดง เหลือง ส้ม แล้วเผ็ด ชาววังที่ชอบหวานไม่เผ็ด ก็หาทางทำแกงที่ มันเหมาะกับบ้านเรา ซึ่งบ้านเรามันร้อน กินสีแดงๆเหลืองๆเผ็ดๆ ทำไม ถึงทำมาแบยไม่เผ็ด แล้วสีแบบเย็นๆ ซึ่งก็คือ แกงเขียวหวานที่มีหวานนำโดย ชาววัง แต่หลังๆ มันชาวบ้านไปทำให้มันเผ็ด ตอนเด็กๆกินเผ็ดๆกันได้เหรอ

    • @Prapatpong-f9k
      @Prapatpong-f9k 8 місяців тому +3

      @@bmonthatipkul แต่เชฟป้อมบอกว่าสูตรขาววังคือกลมกล่อม รสไม่จัด ถ้าหวานคือเข้าใจผิดครับ แล้วตามต่างจังหวัด แกงเขียวหวานต้องเค็มนำแล้วหวานตามครับ ผมไปกินแทบทุกภาคเป็นแบบนี้หมด ยกเว้น กทม และปริมณทล นี่แหละ ที่หวานนำ ไม่อร่อยเลย

    • @bmonthatipkul
      @bmonthatipkul 8 місяців тому

      @@Prapatpong-f9kไม่เข้าใจผิด แกงเขียวหวาน ถูกสร้างมาจากความต้องการ ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัง ไม่กินเผ็ด แล้วติดหวานในยุคหนึ่ง มัน ถึงมีอาหารหวานหลายชนิด ในช่วงหนึ่ง เพราะความจริง ชาววังก็ไม่ได้กินหวาน

  • @fcbbasjtr428
    @fcbbasjtr428 8 місяців тому +40

    ชื่อแกงเขียวหวานเกิดจากสีเขียวอ่อนหรือเขียวพาสเทล คนโบราณไม่มีคำเรียกเลยเรียกว่าเขียวหวาน มีรสเผ็ด เค็ม เป็นอาหารเปอร์เซียที่เอามาปรับปรุงใหม่
    ส่วนส้มตำ เกิดจากการที่เอาคำมาจากอาหารอีสานคือตำส้ม เป็นการเอาผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆมาตำและปรุงรส ส่วนมะละกอเพิ่งมามีในสมัย ร.5 โดยชื่อมะละกอเป็นผลไม้ที่นำมาจากเมืองมะละกา เลยเรียกว่า ลูกมะละกอและนำมาทำส้มตำไทยแท้ในตำรับสายเยาวภา คือ ข้าวมันส้มตำ ส่วนส้มตำที่เป็นของอีสานที่ใช้มะละกอประกอบจนนิยมในปัจจุบันนี้เกิดจากการที่มีการนำไปปลูกข้างถนนแล้วมีคนนำไปปลูกในภาคอีสานแล้วเอามาทำส้มตำครับพี่เพชร

    • @wy752
      @wy752 8 місяців тому

      หวานมาก😢

    • @GipPigsintu
      @GipPigsintu 8 місяців тому

      อาหารเปอร์เซีย ตอนนี้คือ ตุรกี ใช่ไหม 😅

    • @vanlophemvivan5316
      @vanlophemvivan5316 8 місяців тому +8

      @@GipPigsintu ชาวเปอ์เซียคืออิหร่านครับส่วนตุรกีคือชาวเติกร์

    • @GON_P19
      @GON_P19 8 місяців тому +5

      มัสมั่นเราก็รับมาจากแขกเปอร์เซีย แต่ต้นตำรับเป็นแกงอินเดีย แล้วดัดแปลงให้อร่อยคนไทย แต่กลายเป็นอาหารระดับโลก ได้อันดับหนึ่งหลายปีซ้อน มัสมั่น = มุสลิมมาน

    • @PetchZ
      @PetchZ  8 місяців тому +3

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลคับผมมม 👏🏻👏🏻👏🏻

  • @มั่งมี-ว8ฌ
    @มั่งมี-ว8ฌ 8 місяців тому +14

    ผัดไทยไม่ได้มาจากจีน แต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อยากเอาเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนมาทำอาหารไทย จึงให้แม่บ้านนายทหาร และข้าราชการระดับสูงมาช่วยกันคิด ได้ออกมาว่า ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยว กุ้งแห้ง ไข่ อาจมีเต้าหู้ด้วย ใส่ใบกุยฉ่าย นำ้มะขามเปียก น้ำตาลทราย มะนาว น้ำปลา ไม่ใส่ หมู หรือเนื้อสัตว์อื่น

    • @beznevindiez872
      @beznevindiez872 Місяць тому +2

      ไปหาข้อมูลมาใหม่ ผัดไทยไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตาแปลก ผัดไทยมีมาก่อนจอมพล ป เป็นนายยกแล้ว มันคือผัดเส้นก๋วยเตี๋ยวแบบไทย ที่แปลงมาจากผัดก๋วยเตี๋ยวแบบจีน เค้าถึงได้เรียกว่า ผัดไทย มาจาก ก๋วยเตี๋ยวผัดแบบไทย

  • @KhunNuch-1909
    @KhunNuch-1909 8 місяців тому +41

    ก๋วยเตี๋ยวเรือในกรุงเทพ บางร้านก็หวานจริงค่ะ เหมือนก๋วยเตี๋ยวใส่น้ำเชื่อมเลย เลิกกินก๋วยเตี๋ยวเรือไปเลยเพราะเจอแบบหวานๆนี่แหละ

    • @PetchZ
      @PetchZ  8 місяців тому +3

      หูยยย เพชรยังไม่เคยเจอก๋วยเตี๋ยวเรือหวานๆเลยค่ะ นึกรสชาติก๋วยเตี๋ยวเรือหวานไม่ออกเลย 😆

    • @shibarokr
      @shibarokr 8 місяців тому +4

      @@PetchZ แบรนด์ดังแปลกๆชื่อดังในห้าง ก็หวานครับแต่ไม่มาก
      ลองไปโลคอลหลายๆร้าน หวานจนงง สั่งแห้งคือใส่น้ำตาลมาเป็นเม็ดๆเลยครับ ฮ่าาาาาาาาา555+

    • @MasumiHaku
      @MasumiHaku 8 місяців тому +1

      กับข้าว ข้าวแกงหลายๆอย่างด้วยไม่ใช่แค่ก๋วยเตี๋ยว จะมีติดหวาน

    • @LiewYuth
      @LiewYuth 7 місяців тому

      ​@@MasumiHakuCookในครัว มีโรคประจำตัว~>เป็นเบาหวาน รสลิ้นติดออกหวาน จึงทำอาหารไปทางแนวหวานโดดเด่น

    • @LiewYuth
      @LiewYuth 7 місяців тому

      คนไทยส่วนมาก มีโรคประจำตัว~>เป็น~>เบาหวาน.

  • @BOZOCHARITY
    @BOZOCHARITY 8 місяців тому +3

    ชอบที่น้องๆเป็นคนรุ่นใหม่ ที่หาข้อมูล ที่มา ของแต่ละอย่าง อาจจะมี คลาดเคลื่อนไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร
    ดีกว่าไม่รู้แล้วเดากันไปเรื่อยจนทำให้คนต่างชาติเข้าใจผิดตาม
    ได้ทั้งความสนุกและสาระชื่นชมครับ

    • @PetchZ
      @PetchZ  8 місяців тому

      ขอบคุณนะค้าา 🥰

  • @netichaimanijajwalsgool4208
    @netichaimanijajwalsgool4208 8 місяців тому +41

    น้องแหวนครับ แกงเขียวหวาน เพราะมันมีสีเขียวและปรุงให้มีรสหวานนำหน้ารสอื่นๆนิดๆ ส่วนส้มตำ หมายความว่าเอาของที่มีรสเปรี้ยว(ส้ม)นำมาใส่ครกแล้วตำรวมกัน ถ้าใช้ตำส้มจะหมายความว่าเอาส้มมาใส่ครกแล้วตำจ่ะ

    • @Tiaimo
      @Tiaimo 8 місяців тому +7

      ไม่ใช่ครับ ผิดไปไกล ไม่ใช่เรื่องรสชาติครับ มันเรื่องของสี คำว่าหวานภาษากลางเอามาขยายความเรื่องสีครับ

    • @xxxxxxx6131
      @xxxxxxx6131 8 місяців тому

      มันหมายถึงสีเขียวหวานจ้า

    • @nuits.8815
      @nuits.8815 8 місяців тому +1

      ไม่นะครับ... คนเหนือเราเรียกส้มตำ ว่า ตำส้ม (มาตลอด)

    • @กฤษฎาทับเงิน-ท9ณ
      @กฤษฎาทับเงิน-ท9ณ 8 місяців тому

      ถูกครับ ตัมส้ม ภาษาอิสาน หมายถึงเปรี้ยว ตัม ที่มีรสเปรี้ยวนำ

    • @PPSPLS
      @PPSPLS 8 місяців тому

      เชฟป้อมบอกในรายการ masterchef นะคะ เขียวหวาน คือ สีเขียวหวานๆ เขียวอ่อนๆ 😊

  • @pongchanajularerk3524
    @pongchanajularerk3524 8 місяців тому +3

    สองคนนี้คุยกันน่ารักมากๆ แหวน+เพชร=แหวนเพชร ลงตัวสุดๆ

  • @ทวีทรัพย์เจริญสุข-ธ8ข

    มีครับก๋ยวเตี๋ยวหวาน​ แถวบ้านผม​ สมัยก่อนท้องถิ่นคนทำงานสวน​ ทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นงานหนักมาก​ มื้อเย็นกินข้าวแล้วก็ยังรู้สึกโหย(อีกระดับของความหิว)​เหมือนมันขาดอะไรสักอย่าง​ คงคล้ายคนติดกาแฟนั่นแหละ​ จึงต้องมีของหวานตามมาด้วยทุกวันแม้ง่ายๆ​ เช่นไข่หวาน​ บัวลอย​ ต้มถั่วเขียว​ ถั่วดำ​ ข้าวเหนียว​เปียก​ สาคูเปียก​ ฯ​ ก็เลยกลายเป็นความเคยชินของคนในท้องถิ่น​ แม้ยุคหลังๆมาก็ยังมีร้านที่ทำรสหวาน​ จนคนรุ่นใหม่บอกว่าหวานมาก​ แต่เขาก็ยังขายได้อยู่นะ..

  • @tr6217
    @tr6217 8 місяців тому +5

    แหวนพูดไทยชัดขึ้นมากๆ ติดตามน้องสองคนทุกคลิป ได้ทั้งสาระและบันเทิง

  • @seneecomsook9865
    @seneecomsook9865 5 місяців тому +1

    อาหาร ไม่ใช่เป็นเพียงอาหารรับประทาน แต่เป็นวัฒนธรรม วิธีคิด วิถีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของคน กลุ่มคนในอต่ละพื้นที่ อาหารจึงมีลักษณะเฉพาะมากๆ(unique) แม้ว่าคนต่างวัฒนธรรมจะมีสูตรและส่วนประสมของอาหารแต่ละชนิดจากคนต่างวัฒนธรรมก็ไม่สามารถทำได้รสชาติเหมือนต้นฉบับ หมายความว่า มีความแตกต่าง แต่ก็อาจ"อร่อย"หรือถูกปากคนจำนวนไม่น้อยก็ได้
    อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ได้ อาหารก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอครับ
    รศ.ดร.เสนีย์ คำสุข
    อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567

  • @Kaittichai827
    @Kaittichai827 8 місяців тому +1

    เก่ง ฉลาด รู้จักพูด สมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่ตกผลึก เรื่องตัวตนของตัวเอง ขอให้เจริญทั้งครอบครัว ขอบคุณครับ 👏👏👏

  • @manonsiaoprachuab3589
    @manonsiaoprachuab3589 8 місяців тому +2

    ผมเป็นเบาหวานได้เลิกกินน้ำตาลและได้รู้ว่าอาหารไทยหวานครับ แกงเขียวหวานนี่หวานจริง ก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่หลายร้านออกหวาน ยิ่งอาหารตามสั่งร้านไหนวัยรุ่นกินเยอะไปลองดูหวานทั้งนั้น กระเพรายังหวาน

  • @pongtornamornrattana5039
    @pongtornamornrattana5039 8 місяців тому +3

    ตอนเด็กๆลุงกิน มะม่วง แตงโม และสัปรด กับข้าวทุกวันตอนเช้าจ้า

  • @kittipuchad6528
    @kittipuchad6528 7 місяців тому

    น่ารักมากๆ คนจีนคนไทยรุ่นใหม่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ไทยพูดจีน จีนพูดไทย อาหารจีนในไทยก็เอาข้อเด่นของอาหารไทยไปประยุกต์ อาหารไทยก็เอาข้อเด่นของอาหารจีนมาประยุกต์ (อินเดียอย่าน้อยใจนะอาการอินเดียก็ด้วย) อาหารไทย ร่วมทั้งอาหารจีนในไทยจึงโดดเด่นขนาดนี้ ❤❤❤❤❤

  • @ronny101
    @ronny101 8 місяців тому +12

    ไอติมขนมปัง//ต้มข่าไก่//แกงเขียวหวาน//ข้าวผัดสับปะรด//ข้าวกระเพรา//ต้มยำกุ้ง//ข้าวเหนียวมะม่วง//ส้มตำ//ผัดไท//ปูผัดผงกระหรี่

  • @จรูญสรสิทธิ์
    @จรูญสรสิทธิ์ 8 місяців тому +9

    มาแล้วลูกสาวสองคน หายไปนานเลย นี่แหละสี่งที่อยากเห็นคือลูกสาวคนเก่งสองคนมาออกพร้อมกัน .....รัก รัก รัก นะ

  • @joepiya
    @joepiya 8 місяців тому +7

    "ก๋วยเตี๋ยวเรือสีช็อคโกแลต" น่าจะเป็นสีของก๋วยเตียวเรือน้ำตก(ผสมเลือดหมูสด)สีมันจะออกน้ำตาลความเข้มข้นขึ้นอยู่แต่ละร้าน ส่วนเรื่องความหวาน ปกติน้ำก๋วยเตี๋ยวจะมีความหวานในตัวอยู่แล้วเกิดจากส่วนผสมของน้ำสตอกถ้าลองกินแบบไม่ปรุงมันจะมีความหวานออกมาคับความหวานที่กลมกล่อมบ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำก๋วยเตียว

    • @ศิริ0843
      @ศิริ0843 7 місяців тому

      น่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวหลอดครับ

  • @เทียนฉื่อจุน
    @เทียนฉื่อจุน 8 місяців тому +10

    ภาษาใต้เก่าแก่เองก็เรียกรสเปรี้ยวว่า "ส้ม" เหมือนกันครับ ไม่ใช่แค่ภาษาลาวหรือภาษาอีสาน
    ทุกวันนี้ถ้าฟังคนอายุเยอะหน่อย 35+ ที่บ้านใช้ภาษาใต้เป็นหลักพูด จะได้ยินเขาเรียก
    มะนาว ว่า ส้มนาว มะขาม ว่า ส้มขาม ฯลฯ หรือน้ำปรุงรสเปรี้ยวชนิดนึงที่ทำจากน้ำจากต้นตาลโตนด
    ที่ใช้กันมากในภาคใต้ ก็ถูกเรียกว่า น้ำส้มโหนด เหมือนกัน
    เวลาพูดถึงของเปรี้ยว ก็จะใช้คำว่า "ส้ม" แทน เกือบหมดเลย เช่น ถามว่าต้มยำเปรี้ยวไหม ?
    ก็จะถามเป็น ต้มยำส้มไหม ? หรือเวลาจะบอกว่าอะไร เปรี้ยวจัง เปรี้ยวเกินไป ก็จะพูดเป็น
    ส้มจัง ส้มแรง จริงๆถ้ามองดีดีภาคกลางเองก็มีของบางอย่างที่มีรสเปรี้ยวหรือกลิ่มเปรี้ยวๆ
    ถูกเรียกว่าส้มอยู่เหมือนกันนะ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำส้มควันไม้ แกงส้ม ปลาส้ม ฯลฯ
    นั่นอาจสรุปได้ว่าเดิมที คำว่า ส้ม อาจจะเป็นรากศัพท์จริงๆของภาษาไท โดยรวมเลย
    ไม่ใช่แค่ในภาษาถิ่น แล้วคำว่า เปรี้ยว นั้นเกิดขึ้นภายหลังและถูกใช้แพร่หลายในยุคที่มีการกำหนด
    ภาษากลางเพื่อป้องกันการสับสนกับชื่อผลไม้ แต่ก็ยังเหลือร่องรอยรากศัพท์อยู่ตามชื่อเรียก
    ของต่างๆในภาษาถิ่นอยู่
    ปล.ที่น่าจะแปลกหน่อย คนใต้จะเรียกรถขายผลไม้ว่า "รถส้ม" ด้วยครับ เพราะส่วนมากจะมีผลไม้
    รสเปรี้ยวมากกว่าผลไม้รสหวาน ทั้งๆที่แทบไม่มีคันไหนขายส้มเลย 😂

    • @zenithchan581
      @zenithchan581 7 місяців тому

      จริงๆภาษาไทยกลางโบราณก็มีหลายคำที่ใช้เหมือนกันกับภาษาอีสานซึ่งน่าจะเป็นภาษาแบบเก่าซึ่งคนภาคอื่นไม่ค่อยใช้แล้วมันเลยกลายเป็นว่ามันเป็นภาษาอีสานทั้งที่จริงเป็นภาษาไทยดั้งเดิมด้วย

    • @thedarklord4951
      @thedarklord4951 7 місяців тому

      ​@@zenithchan581ภาษาอีสานมาแต่ไหนอีก
      คำว่าอีสานมันคือชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

    • @thedarklord4951
      @thedarklord4951 7 місяців тому

      ​@@zenithchan581คนอีสานส่วนใหญ่ที่เขาพูดกันมันคือภาษาลาว มันจะมาทงมาไทยอะไร ภาคอีสานสมัยก่อนมันเป็นอาณาจักรล้านช้าง

    • @zenithchan581
      @zenithchan581 7 місяців тому

      @@thedarklord4951 หมายถึงบางคำ คิดว่าคำที่ใช้ร่วมกันมันก็เป็นภาษากลุ่มไทกระได ถ้าคุณดูละครย้อนยุครึอ่านหนังสือเก่าๆคุณจะรู้ว่ามีภาษาที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วอยู่ในคำที่คนอีสานก็ยังใช้กันอยู่หลายคำ คำใหม่ที่ถูกกำหนดให้ใช้และที่ถูกยกเลิกสมัย จอมพล ป.ก็มียุคนั้นนักเขียนยังปวดหัวที่ต้องไปใช้คำใหม่ๆ แทน ถ้าคุณไม่สักแค่เถียงแล้วไปศึกษาประวัติศาสตร์คุณคงจะเข้าใจอะไรมากขึ้น

    • @thedarklord4951
      @thedarklord4951 7 місяців тому

      @@zenithchan581 ภาษาไทยในปัจจุบัน เป็นภาษาไทกะไดผสมเขมร บาลี-สันสกฤต มันเลยไม่เหมือนที่อื่นเขา

  • @rayong186
    @rayong186 6 місяців тому +1

    อยากให้ทำคลิปที่บอกว่า สิ่งที่คนต่างชาติควรทำและไม่ควรทำในประเทศไทย เพื่อจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างยั่งยืนครับ❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

  • @Same-t1v
    @Same-t1v 7 годин тому

    เคยไปนั่งเก้าอี้ตัวเดียว กินข้าวลาดแกงเขียวหวานฟักปลาช่อน อร่อยมาก ปลาไม่คาว แถวๆบ้านหม้อ คนจีนทำขาย😊

  • @lineniranprathumpak9526
    @lineniranprathumpak9526 5 місяців тому

    สมัยเป็นเด็กๆสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารบ่าย(ข้าวเที่ยงแต่อีสานเรียกข้าวสวย(สาย))คือตำบักหุ่ง เวลาดำนาเสร็จตอนบ่ายๆ แม่จะเป็นคนมาเตรียมอาหาร บางครั้งผมก็มาช่วยแม่สับบักหุ่ง(มะละกอ) คิดถึงสมัยนั้นจังเลยครับ ตอนเป็นเด็กเริ่มจำความได้ แม่จะเป็นคนดูดเอาพริกออกจากเนื้อบักหุ่งแล้วค่อยป้อนให้เรากิน
    ตอนนี้ผมเหลืออีกสองปีก็จะเกษียณ ใกล้จะได้หนีจากเมืองกรุงไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดแล้วหละครับ.....

  • @Kunsrisawang
    @Kunsrisawang 8 місяців тому +1

    ตำส้ม = ตำเปลี้ยว สมะยก่อนเขาใช้ผลไม้รสเปลี้ยว มาตำครับ เช่นส้มมะขาม ส้มมะม่วง มะละกอมาทีหลังครับ เพราะมะละกอไม่ใช่พืชพื้นถิ่น เป็นพืชจากแอฟริกาใต้ เข้ามาโดยนักเดินเรือชาวยุโรป ผ่านมาทาง มะละกา เราจึงเรียกว่ทมะละกอ

  • @lightfury3390
    @lightfury3390 8 місяців тому +16

    ความหวาน จริงๆ มันมาจะกะทิสดครับผม ในสมัยก่อนคนไทยทำอาหารใช้ความหวานจากกะทิ เพราะน้ำตาลทรายหายากและมีราคาแพง

    • @welder18b
      @welder18b 8 місяців тому +1

      น้ำตาลมะพร้าว ตาลโตนดก็มีครับ

    • @paulboon1443
      @paulboon1443 8 місяців тому +1

      น้ำตาลปึกครับ

    • @darkwarrior3876
      @darkwarrior3876 8 місяців тому

      น้ำตาลบ้านเราสมัยก่อนไม่ได้หายากแบบยุโรปสมัยก่อนนะคะรับ

    • @เทียนฉื่อจุน
      @เทียนฉื่อจุน 8 місяців тому +1

      น้ำตาลทรายหายากจริงครับ เพราะสมัยก่อนเป็นของที้้ฝั่งอินเดียคิดค้นและผลิตขาย
      หลายประเทศจึงต้องนำเข้า ชนชั้นสูงและคนรวยจึงจะได้ใช้ได้กิน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
      เมื่อก่อนนี้ คนที่ต้นตระกูลรวยหรือตระกูลมียศมีศักดิ์หน่อย มักจะชอบทานอาหารรสหวานนำ
      แต่จริงๆขนมหวานไทยโบราณ ใช้น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลโตนดในการทำครับ
      เพราะเป็นของที่ชาวบ้านผลิตได้เองเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่มีมาก่อนน้ำตาลทราย
      ไม่ใช่แค่ความหวานจากกะทิ แต่ทุกวันนี้ใช้น้ำตาลทรายเพราะหาง่าย

    • @MrEjojoe
      @MrEjojoe 7 місяців тому

      สมัยก่อนไม่มีน้ำตลาดจากอ้อย เพราะอ้อยมาจากอเมริกาใต้
      มะละกอ+สับปะรด ก็มาจากอเมริกาใต้

  • @แมลงปอ-ท7ษ
    @แมลงปอ-ท7ษ 7 місяців тому

    อาหารไทยบางอย่างก็มีพื้นฐานมาจากอาหารจีน เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือผัดต่างๆ ไอติมกระทิแท้ๆ ในไทยเดี๋ยวนี้หายากมากๆ ถ้าคนจีนได้กินไอติมกะทิแท้ๆ ใส่ลอดช่อง กับขนุน และมีข้าวเหนียวกับลูกชิดด้วยนะ อร่อยมากๆ อยากให้พาไปกินข้าวมันไก่จีนบ้าง มีไหมครับ

  • @Milli.341
    @Milli.341 3 місяці тому

    ความจริงผัดกะเพรามีเคริ่องเทศสิบอย่างที่ต้องใส่ลงไป แต่โดนลดอัตราส่วนเหลือแค่พริก,กระเทียม,กะเพรา,ลูกยี่หร่าเม็ดเล็กๆล้างน้ำนำไปโขลกให้ละเอียดจะเพิ่มกลิ่นหอม,นำไปผัดกับเนื้อยิ่งอร่อย😊

  • @อารีรัตน์รัตนอาภา

    น้องแหวนหมายถึงก๋วยเตี๋ยวต้มยำรึเปล่าคะ เปรี้ยวๆหวานๆ

  • @NateeJamfachuen
    @NateeJamfachuen 7 місяців тому

    เคยกินหน่อไม้ ไหมแนะนำ
    - ผัดเผ็ดหน่อไม้ดอง
    - ผัดหน่อไม้ใส่ไข่หมูสามชั้น
    - ต้มจืดหน่อไม้ซี่โครงหมู

  • @Yadahl
    @Yadahl 6 місяців тому

    ส้ม เป็นคำสมัยก่อน แปลว่าเปรี้ยว เช่น ส้มตำ แกงส้ม
    แกงเขียวหวาน สีเขียวหวาน = สีเขียวอ่อน สีเขียวหลักในน้ำมาจากพริกเขียวล้วนๆเลย ถ้าไม่ใส่น้ำใบโหระพาให้สีเข้มขึ้น

  • @kintup5729
    @kintup5729 8 місяців тому +1

    ต้มข่าไก่ยืน 1 เช่นกันครับคุณเพชร ส่วนเมนูแนะนำที่ห้ามพลาดนั่นคือ พแนงไก่/หมู ,แกงฮังเล,ข้าวซอยเนื้อ....อ่อคับ อาหร่อยยยยย

  • @kritt.1039
    @kritt.1039 8 місяців тому +1

    ขอเสริมนิดครับ แกงเขียวหวาน ที่น้องแหวนพูดมีส่วนถูกครับ คือมันอาจจะไม่หวานมากหรือหวานมากก็ได้ แต่แกงเขียวหวานจะเน้นรสชาติแรกคือหวานนำครับ ส่วนจะหวานมากหวานหรือน้อยก็แล้วแต่ความชอบครับ แต่ต้องให้รสหวานเป็นตัวนำ ส่วนเขียวเป็น ที่พริกแกงครับ เป็นพริกแกงสีเขียว อันนี้คือที่ผมรับรู้มานะสำหรับแกงเขียวหวาน สมัยนี้บางร้านก็จะเอาพริกแดงผสมด้วยก็มี แต่เดิมทีคือพริกแกงจะเป็นสีเขียว และมีรสหวานนำครับ(นอกจากรสที่เผ็ดนะ เพราะคำว่าแกงยังไงรสเผ็ดก็ต้องมีอยู่แล้ว) ผมเลยใช้คำแค่ว่าหวานนำ

  • @squallppp
    @squallppp 2 години тому

    ผมเกิดเชียงใหม่มาแล้ว 44 ปี เห็นแต่ตำมะม่วง ตำกระท้อน ตำส้มโอ ตำมะหลอด ส่วนตำมะละกอนี่มาเห็นทีหลัง

  • @Fe3uary
    @Fe3uary 8 місяців тому

    จริงๆแกงเขียวหวานมันหวานค่ะ อย่างน้อยก็หวานกว่าแกงอื่นๆทั่วไป เวลาปรุ่งต้องเป็นรสออกหวานเค็มค่ะ ส่วนแกงส้มมันจะออกเปรี้ยว เพราะคำว่าส้มแปลว่าเปรั้ยว

  • @kimanatomy
    @kimanatomy 8 місяців тому +63

    สัมตำเกิดจากชุมชนคนอีสานในกรุงเทพมหานครครับ แล้วจึงแพร่ไปทางอีสานไทยอีกที จะเห็นว่าลาวทำส้มตำไม่เก่งเพราะเป็นวัฒนธรรมไทยแท้จากคนอีสานใน กทม. มะละกอ เพิ่งมีในประเทศไทยตอนปลายอยุทธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มาจากอเมริกาใต้

    • @samornputtasang9130
      @samornputtasang9130 8 місяців тому

      ไม่ใช่เลยครับ คำว่าส้มตำอิสานเรียกตำส้มหมายถึงการเอาผลไม้ดิบมาตำ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าและมะนาวทำให้มีรสนัวๆเปรี้ยวๆ ส่วนมากจะใช้มะละกอ ช่วงไม่มีมะละกอจะใช้ปลีกล้วย ผลกล้วยตานีดิบ ถั่วฝักยาว แตง ทุกอย่างเรียกว่าตำส้มหมดเพราะคำว่าส้มหมายถึงเปรี้ยว

    • @ซ่อนกลิ่นกระดังงา
      @ซ่อนกลิ่นกระดังงา 8 місяців тому

      ส้มตำมีกำเหนิดจากภาคกลางค่ะจากในวังข้าวมันส้มตำกินกับเนื้อฝอย ตามประวัติศาสตร์จากนั้นก็มีการดัดแปลงไปเรื่อยๆ ตำส้มอีสานสมัยก่อนมีแค่พริก ปลาร้า และมะละกอเท่านั้น เมื่อมาขายให้คนกรุงเทพก็ดัดแปลงใส่มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กุ้งแห้ง มะนาว น้ำตาลปิ๊บลงไป ก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ ❤

    • @run0511
      @run0511 8 місяців тому +10

      ข้าวมันส้มตำ เรียกได้ว่าเป็นเมนูไทยโบราณที่หากย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน ชาวไทยภาคกลางก็มีเมนูข้าวมันกับส้มตำไทยอยู่แล้ว ก่อนจะเกิดการผสมผสาน และสร้างสรรค์เมนูส้มตำใหม่ๆ ขึ้นมาจากคนไทยอิสานที่ย้ายมาทำงานในเมืองกรุง หากสืบย้อนกลับไปยังเจอเมนูข้าวมันส้มตำในตำราอาหารอีกด้วย ‘ข้าวมันส้มตำ’ ปรากฏอยู่ในตำราอาหาร ‘ตำรับสายเยาวภา’ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

    • @TajintusPM
      @TajintusPM 7 місяців тому

      มันส้มแข่ว แปลว่า เข็ดฟัน น่าจะมาจากรสชาติของมะละกอดิบที่คนสมัยนั้นเริ่มเคยกิน

    • @rayza2396
      @rayza2396 7 місяців тому

      ชุมชนที่ว่าคือ แรงงานอิสานในสมัยก่อน ก็ไม่เข้าใจทำไมคนอิสานสมัยนั้นทำไมไม่ค่อยจบสูงๆกัน ต้องมาทำแรงงานแต่เดียวนี้ไปเกาหลีกันหมด ใครรู้มาบอกที

  • @ylamoon
    @ylamoon 7 місяців тому

    ส้มหมายถึงเปรี้ยว ในภาษาไต-กะได อะไรที่เปรี้ยวๆ เราจะเรียกว่าส้ม เช่น ส้มพอดี (กระเจี๊ยบ) ปลาส้ม ตำส้ม ฯลฯ ผมไม่แน่ใจว่าทำไมตอนหลังเราถึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า "เปรี้ยว" อาจจะยืมมาจากภาษาอื่น ไม่ใช่คำไทแท้ก็ได้ ส่วนแกงเขียวหวานนั้นเขาจะใช้พริกเขียวอ่อนในการทำพริกแกง สีจึงออกเขียวๆ และมักจะทำให้รสออกหวานๆ นิดหน่อย จึงเรียกว่าแกงเขียวหวาน

  • @สมหญิงรักเล่น
    @สมหญิงรักเล่น 8 місяців тому

    อาหารคาวของไทยที่ใส่ผลไม้ก็มีหลายเมนูอยู่นะคะ เช่น ม้าฮ่อ ยำส้มโอ ส้มตำผลไม้ ต้มสัปปะรด และแกงสัปปะรด เป็นต้น

  • @rosestory7361
    @rosestory7361 8 місяців тому +1

    ก๋วยเตี๋ยวเรือ ภาคกลาง หวานครับ จะเป็นซอสหวานเปรี้ยว แต่คนชอบสับสนก๋วยเตี๋ยวเรือกับก๋วยเตี๋ยวน้ำตก

  • @DarinendlesS
    @DarinendlesS 8 місяців тому

    ส้มตำไม่ได้มาจากภาคอีสานครับ วัตถุดิบในส้มตำที่เรากินๆกันนี้ เป็นของนำเข้าเป็นส่วนมากนะ ซึ่งมันหมายความว่าเป็นของที่ขุนนางชนชั้นสูงสามารถหามาได้ ซึ่งพริก มะละกอ มะเขือเทศ ต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศไทยเราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนทางเรือ แต่อีสานมีเมนูคล้ายๆกันที่ตำอย่างอื่นวิธีทำคล้ายๆกัน
    จึงกล่าวได้ว่าส้มตำนั้นเริ่มจากกรุงเทพฯ แล้วไปบูมทางอีสานและประเทศลาว ซึ่งมีการประยุกต์ให้ถูกปากคนท้องถิ่นโดยการใส่ปลาร้า หรือพวกวัตถุดิบที่พอจะหาได้ตามแต่ภูมิภาคของตนลงไป เพราะทำง่ายรสชาติอร่อย
    เราจึงมีตำ 2 แบบ คือตำไทย ซึ่งเป็นสูตรคนกรุง และตำลาว/ตำอีสาน ที่มีปลาร้า ปูดอง แต่ไม่มีถั่วลิสงคั่ว ไม่ว่าตำแบบไหน มัน complete ในรสชาติของตัวเอง ไม่ได้ขาดได้เกินเลยแม้แต่น้อย ตำไทย ครบรสเปรี้ยวหวานเค็มเผ็ด มันจากถั่ว ตำอีสาน จะมีความนัวของน้ำปลาร้า แม้ยุคหลังๆ มันก็ได้ผงชูรสช่วยด้วยทั้ง 2 เมนูก็ตามที 😂
    เมื่อประมาณ 10 เกือบ 20 ปีที่ผ่านมาเราก็มีวิวัฒนาการที่มีตำสารพัดเกิดขึ้นไปทั่วหัวระแหง เช่น ตำปูม้า ตำไทยไข่เค็ม ฯลฯ สารพัดตำ และล่าสุดเราก็เพิ่งได้น้องใหม่คือตำแซลม่อน เดี๋ยวมีวัตถุดิบอะไรบูมมาอีก คิดว่าก็คงไปนอนอยู่ก้นครกเช่นกัน

  • @kanokwandoungdee7246
    @kanokwandoungdee7246 8 місяців тому +1

    มะละกอดิบ ตาม ตจว. เขาก็ต้มให้หมูเป็ดไก่กินนะคะ กะเต๋วเรือสีช๊อค คงเป็นเลือดสดใส่นำร้อนๆและทางร้านคงทำเป็นรสต้มยำจะมี3รสเปรี้ยวหวานเค็ม

    • @jleungsoft
      @jleungsoft 8 місяців тому +1

      ที่บ้านมะละกอดิบต้มกับขาหมูใส่ขิง ถั่วลิง และซีอิ๊วดำเปรี้ยว(คล้ายจิ๊กโฉวหรือซอสเปรี้ยว)รูปลักษณ์เหมือนซีอิ๊วหวาน ส่วนใหญ่ที่บ้านทำให้คนมีลูกอ่อน(ทารก)

  • @จายโหลงณ.เกงตุง
    @จายโหลงณ.เกงตุง 8 місяців тому +2

    แหวนพูดไทย​ชัดมากครับ.น่ารักสุดๆเลยครับ.💝💝👍👍👌👌👌👌

  • @AA-qc8ut
    @AA-qc8ut 8 місяців тому

    ไดม่อนด์ ริง ของป้ามาแล้ว ชอบสองสาวค่ะน่ารัก สดใสดูแล้วมีความสุขค่ะ

  • @tawatchaijuntawong6699
    @tawatchaijuntawong6699 8 місяців тому

    ข้าวกับผลไม้ บางทีไม่ได้ดัดแปลงอะไรเลย บางทีก็เพียวๆเลย แต่ส่วนมากกินกับข้าวเหนียว มะม่วงสุก มะขามหวาน แตงโม ส้มโอ มะตูมสุก
    ฯลฯ

  • @kanokgaming
    @kanokgaming 8 місяців тому +3

    ดีมากเลย คิดถึงแหวน คอนเท้นก็สนุกน่าสนใจ

  • @wayuputtanapon6348
    @wayuputtanapon6348 8 місяців тому +1

    ปูผัดผงกะหรี่ที่สมุทรสาครจานล่ะ80-90บาทก็มีแต่ถ้าขายเป็นถุงๆล่ะ50บาทก็มี..นะ😊😊

  • @ทศวรรษเจียมอนุกูลกิจ

    ตอบย้อนนะดูคลิปที่เราบ่นแล้วจะมาตอบข้อมูลให้นิสนึง
    1. ก๋วยเตียวเรือน้ำตก ก๋วยเตียวเรือจริงมันจะมีการปรุงมาให้แล้วรสชาติตามรสมือแม่ค้า แต่สิ่งที่เราคิดคือก๋วยเตียวเรือสมัยนี้ที่เราสั่งที่ร้านมันยังไม่ปรุงมาให้ (ไม่ว่าอันไหนก็ไม่ผิดหรือว่าถูก)
    2. ผัดกะเพรา หมูผัดปรุงรสใส่ใบกะเพรา ส่วนเรื่องอื่นๆตามที่เราพูดก็สนุกดีตามภาษาเมาส์ๆ
    3. แกงเขียวหวาน สิ่งที่เราพูดก็ไม่ผิดแต่มันเป็นความคิดที่ออกเป็นความคิดสมัยใหม่ แต่ถ้าถามคนมีอายุจริงๆจะได้ประมาณ เพราะพริกแกงที่จะเน้นสีเขียวและมีรสชาติหวานมัน
    4. ข้าวผัดสับปะรด สิ่งที่เราพูดมันก็ไม่ได้ผิด แต่ถ้าถามคนมีอายุจริงๆ มันเป็นอาหารฟิวชั่นคนไทยเนี่ยล่ะดัดแปลงขึ้นมาจากอาหารจีน
    5. ต้มข่าไก่ สิ่งที่เราพูดอันนี้ผิดเลย เพราะคนไทยจะไม่เรียกว่าแกง เราจะคุ้นคำนี้ไหม ต้มยำข่าไก่ มันคือ ต้มยำที่ใส่น้ำกระทิ
    6. ส้มตำ ข้อมูลตรงนี้เราเปีะสิ่งเราพูดถูก
    7. ปูผัดผงกระหรี่ ข้อมูลตรงนี้ก็ถูกต้องอยู่นะแต่ตอนท้ายไม่ถูกเพราะเมนูนี้ไม่มีวัฒนธรรมจีนมาผสมเลย แต่เราจะเคยเห็นปูผัดผงกระหรี่แบบจีนอยู่ (มันจะมีรสผงกระหรี่น้อยมากแต่มีน้ำมันพริกเยอะ)
    8. ผัดไท อันนี้เราเก็บข้อมูลไว้พี่ไม่รู้ว่าเราจะพูดอะไรแต่ อาหารนี้ไม่ได้เกิดมาจากคนจีน เส้นที่มีต้นแบบจากจีนมีแค่ บะหมี่เหลือง กับ เส้นเหมี่สั่ว ส่วนเส้นสีขาวเราจะได้จากทาง มอญ
    9. ข้าวเหนียวมะม่วง ข้อมูลถูก (ติดแค่วีดีโอที่ราดบนข้าวเหนียวเนี่ยล่ะ พี่ทีมราดบนมะม่วง)
    10. ต้มยำกุ้ง ข้อมูลถูกต้องจ้า
    สรุปมันก็ไม่ได้ผิดมากแค่เป็นข้อมูลแบบสมัยใหม่ แต่ถ้าถามคนอายุ 30 ขึ้นเขาจะบอกว่ามันไม่ค่อยถูก

  • @สุวัฒน์จันทบูลย์

    ส้ม... แปลว่าเปรี้ยว.... (ภาษาอิสาน)​ อาหารนี้จะเผ็ด, นัวร์, ​และเปรี้ยว​ เอาอะไรมาตำก้อได้​ อ้อ​ ตำำ​ คืออาการ​เอาไม้แข็งๆทิ่มลงทางยาวตามไม้เราเรียก​ สาก​ นัวคือความรู้สึกเมื่ออาหาร.. สัมผัสลิ้น​ (พอดี​ ไร้ที่ตำห​นิ)​ พร้อมลื่นลงคอเร็วๆ

  • @naruto_rhang5
    @naruto_rhang5 8 місяців тому +7

    ปูผัดฝงกระหรี่ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากสิงคโปรในยุคที่อังกฤษยังปกครองอยู่ครับ ส่วนส้มตำเป็นภาษาไทยภาคกลาง ภาคอีสานไม่เรียกส้มตำแต่เรียก ตำหมากหุ่ง ครับ

    • @วิโรจน์ธนะสิทธิ์
      @วิโรจน์ธนะสิทธิ์ 8 місяців тому

      ตำส้มหรือตำบักหุ่ง ตำแตง ตำถั่ว
      แต้ถ้าบอกให้ไปซื้อก็จะบอกว่าเอา"ตำส้ม" จะเข้าใจกันว่าเป็น"ตำบักหุ่ง"

    • @ladaphiphihaxagon4656
      @ladaphiphihaxagon4656 8 місяців тому

      ก่อนจะเป็นหมากหุ้ง ก็มีชื่อว่ากล้วยเทพมาก่อน เพราะเจ้าเมืองทางอีส่รได้รับพระราชทานพันธุ์ไปปลูก เมื่อออกลูกก็เป็นของแปลกมีชาวบ้านมาดูกันทั้งเมือง

    • @donjuanth.2449
      @donjuanth.2449 7 місяців тому

      ฟังจากเชฟป้อมบอกมาจากเชฟคนไทยทึ่อยู่ฮ่องกง

    • @thedarklord4951
      @thedarklord4951 7 місяців тому +1

      คนอีสานเขาชอบเอาผลไม้ที่มีรสชาติต่างๆมาตำ จะเรียกว่าตำส้ม เป็นที่มาของส้มตำควรศึกษาข้อมูลดีๆอายเขา

    • @สุชีพอัมพรมณีรัตน์
      @สุชีพอัมพรมณีรัตน์ 7 місяців тому

      มั่ว ปูผัดผงกะหรี่ เป็นเชฟคนไทยคิดค้นขึ้นครับ มีกลักฐานยืนยัน นั่งยัน นอนยันเลยครับ คนคิดค้นลูกหลานก็ยังอยู่ครับ ส่วนของสิง เป็นปูผัดอีกอย่าง

  • @mahapradchinmuroingaokaopa5874
    @mahapradchinmuroingaokaopa5874 8 місяців тому +1

    ดูเป็นเพื่อนที่น่ารัก มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน จะติดตามนะ

  • @Downg-n2x
    @Downg-n2x 12 днів тому

    ผัดเปรี้ยวหวาน ใช้ผลไม้ อร่อยมากครับ "แอปเปิล องุ่น มะระกอแก่เนื้อเหลือง แข็ง มะม่วงแก่เนื้อเหลืองแข็ง มังคุดอ่อน ฯลฯ" ชิม แต่งรสด้วยมะนาว โอเล

  • @คนสวยขั่วโลกเหนือ

    พี่อาศัยอยู่นอเวย์ค่ะ. ยากมีโอกาศไปจีน ยากไปกินอาหารจีนอร่อยๆค่ะ

  • @supanidabuabarn8323
    @supanidabuabarn8323 8 місяців тому

    บางที่ก๋วยเตี๋ยวเรือ ใส่กะทิ ทำให้หวาน แต่ก๋วยเตี๋ยวเรือใน กทม. จะไม่ค่อยหวาน ที่หวานหวานจากกะทิค่ะ ถ้าไม่ชอบกวานจะต้องเลือกที่ไม่ใส่กะทิค่ะ

  • @ประพนธ์ศิริอังกูร

    อาหารหน้าร้อน-แตงโมหน้าปลาแห้ง และ ข้าวแช่ครับ ข้าวเหนียวมะม่วงถ้าใช้มะม่วงอกร่องจะอร่อยมากกกกก❤❤❤❤❤❤

  • @แตงกวาผัดไข่
    @แตงกวาผัดไข่ 8 місяців тому

    ภาคเหนือ กับ ใต้ก็น่าจะเรียกรสชาติเปรี้ยวว่าส้มเหมือนกันนะคะ แกงส้มใต้ ส้มหมูเหนือ จิ้นส้มเหนือ

  • @thanakorn26
    @thanakorn26 8 місяців тому +1

    น้องแหวน อย่างเก่งที่ออกเสียงต้มข่าไก่ ได้ชัดเจน

  • @ฐิฒิภูมิสุขหงศ์

    ส้มตำของภาคกลางนั้นมีมานานแล้ว เรียกว่า(ส้มตำไทย)ไม่ใส่ปู ไม่ใส่ปลาร้า ใส่กุ้งแห้ง
    ส้มตำชาววังนั่นเอง
    จะทานพร้อมกับใบทองหรางครับ.

  • @MrNataphong
    @MrNataphong 7 місяців тому

    ส้ม เป็นคำไทเดิม หมายถึงเปรี้ยว ใช้กันในทุกภาคครับ

  • @PhairoteSiriwat
    @PhairoteSiriwat 8 місяців тому

    แกงเขียวหวาน คนจีนนิยมมาก ผมต้องทำพริกแกงเขียววานบ่อยๆ เพราะ เพื่อนๆ พ่อครัวสิงคโปร์ที่ไปเปิดร้าอาารที่เสิ่นเจิ้น ขอให้ทำให้จน ตอนหลังขายดี หาของทำไม่ทัน ต้องบินมาหิ้วจากไทยไปขาย

  • @สุรสิทธิ์สัมฤทธิ์-ญ2ถ

    น้องเเหวน สวยนา่รักธรรมชาตินะ เหมือนสาวไทยโดยทั่วไปเลย ชอบมากกกกกกกกกกกกกกก

  • @huahat0013
    @huahat0013 8 місяців тому

    ชื่อท้องถิ่นดั้งเดิมของภาคอิสานส้มตำคือ "ตำหมากส้ม" เป็นคำเรียกรวมๆของตำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นการนำผลไม้ดิบที่มีหาได้มาตำ โดยปรุงให้มีรสเปรี้ยวนำ ผลไม้ที่นำมาตำแล้วแพร่หลายคือมะละกอ ชื่อเดิมทางอิสานเรียกว่าตำมะละกอ หรือตำหมากหุ่ง หรือตำบักหุ่ง เรียกตามชื่อของผลไม้ที่นำมาตำ พออาหารชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาในกรุงเทพ เมื่อถูกถามว่าอาหารนี้เรียกว่าอะไร ถ้าจะตอบว่า ตำหมากส้ม ก็จะฟังแล้วไม่เข้าใจก็เลยตอบไปว่า ส้มตำ

  • @jooner11
    @jooner11 8 місяців тому

    กะเพราะกินคู่ไข่ดาว ส่วนของผมนั้น ต้มข่าไก่ กินคู่กับหมูหยองครับ อร่อยมากๆ โรยหมูหยองลงในข้าว ตักต้มข่าไก่ใส่ไปซักช้อน แล้วตักเข้าปากนะ อื้ม ... อาโหร่ย

  • @surakbuanil2162
    @surakbuanil2162 8 місяців тому +1

    เตี๋ยว ต้มยำครับ เผ็ด เปรี้ยว หวาน สูตรสำเร็จ อาหารไทย ส่วนมาก จะออก หวานทั้งนั้นเลย

  • @ณรรทเมธีนิธิกร

    ส้มตำ เป็นอาหารที่มีวิวัฒนาการมาจาก อาหารอีสาน หรือ อาหารลาวครับ
    ตำส้ม เดิมทีเป็นอาหารประเภท "ตำ" หรือสลัดอีสาน ที่มีรสเปรี้ยวนำ จึงเรียกว่า "ตำส้ม" โดยเดิมทีน่าจะใช้มะม่วง หรือ วัตถุดิบที่มีรสเปรี้ยว
    แต่เนื่องจาก กรุงรัตนโกสินทร์ หรือบางกอกในบางฤดู ไม่มี มะม่วง จึงมีการนำเอามะละกอ มาประยุกต์ใช้
    ถ้าใครอยากรู้ว่า ตำส้ม ต้นฉบับ เป็นอย่างไร ไปหาชิมได้ที่ประเทศลาวครับ

  • @ojhoman
    @ojhoman 8 місяців тому

    แกงเขียวหวาน คำว่าหวานมาจากหน้าตามันที่ดูสีเขียวหวานละมุนครับ แกงเขียวหวานโบราณจะออกเผ็ด เค็ม และหวานคือรสชาติสุดท้ายและอ่อนที่สุดในสามรสชาตินี้
    แกงเขียวหวานสมันก่อนจะเป็นแกงที่เผ็ดที่สุดตรงข้ามกับหน้าตามันครับ เนื่องจากสีเขียวจะใช้พริกสดสีเขียวในปริมาณมากทำให้แกงมีสีเขียว พริกสีเขียวไทย เผ็ดกว่าสีแดงครับ

  • @ZealotSeal
    @ZealotSeal 8 місяців тому

    ต้มข่าไก่จะไม่ใส่พริกก็ได้ ตอนเด็กๆ กินเผ็ดไม่ได้เลยก็ยังเคยได้กินที่ไม่เผ็ด แต่จะใส่ก็ไม่เป็นไรมีรสเผ็ดจะได้ครบรสยิ่งขึ้น อร่อยขึ้น แต่ต้มยำไม่มีรสเผ็ดนี่ตั้งแต่เกิดมาหลายสิบปีก็ไม่เคยกินนะ

  • @bwnatty4440
    @bwnatty4440 7 місяців тому

    2:55 ที่ จ.อยุธยา มี 5-15 บาท ใส่ซีอิ๋วดำ หวานนำ มากๆ ผมคิดว่าคนไทยชอบ รสชาติจัดจ้านดี แต่คำเดียวหมด ไม่น่าจะคุ้มเพราะกว่าจะอิ่มคง 120 บาทมั้ง 555555
    ส่วนชลบุรี แทบทั้งจังหวัด ไม่จืดไปเลยก็หวานนำเกิ๊น โดยเฉพาะกระเพาถาดภูเขาไฟในตำนานอย่าเข้าใกล้เลยครับ ร้านรถเข็นอร่อยกว่าล้านเท่า ฮ่าๆ

  • @bellaone4683
    @bellaone4683 8 місяців тому

    อยากได้น้องแหวนมาเป็นสะใภ้ไทยจังเลย สวยน่ารักมาก

  • @elleyhappy8190
    @elleyhappy8190 8 місяців тому

    คนไทยมีผลไม้กินตลอดปี เช่น มะละกอ มะม่วง ฯลฯ จึงไม่ต้องรอให้สุก (เพราะถ้ารอสุกกินไม่ทันมันจะเน่าเลย) เราจึงสามารถนำมาประยุกต์กินดิบๆ ได้หลากหลายเมนู แถมอร่อยสุดๆค่ะ❤❤❤

  • @zamziiztziz1388
    @zamziiztziz1388 8 місяців тому

    ลองหินปูต้มกระทะใส่ต้นหอมดู อร่อยเช่นกันจะคล้ายๆเมนูจีน แต่ไม่มีขิง จะมีรสหวาน

  • @สุรชัยยั่งยืนคุณธรรม-ป3จ

    อาหารสิ้นคิด เช่นไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ต้ม +น้ำจิ้มต่างๆ

  • @kenseng8556
    @kenseng8556 8 місяців тому

    สองสาว คนจีนน่ารักมีเสน่ห์มาก พูดไทยชัดแจ๋วดี เก่งมาก รักนะจุบๆ ดูอยู่ต่างประเทศ ที่ ยูเอสเอ

  • @khao_ck
    @khao_ck 7 місяців тому

    ก๋วยเตี๋ยวเรือ สีช็อคโกแลต หมายถึง ก๋วยเต๊๋ยวน้ำตก

  • @surasakpimton4833
    @surasakpimton4833 6 місяців тому

    อาหารไทยหลายเมนูก็ประยุกต์มาจากอาหารต่างชาติ เริ่มแรกๆก็คงได้อิทธิพลเครื่องเทศมาจากอินเดียและชาวเปอร์เซีย เมื่อชาวยุโรปเริ่มเดินเรือเข้ามาค้าขายก็ได้สูตรอาหารคาวหวานมาประยุกต์เป็นอาหารเหมือนกัน ส่วนอาหารจีนนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะจีนกับอินเดียมีมาในไทยตั้งนานแล้วก่อนพวกยุโรปเสียอีก

  • @ธงชัย-ต9ธ
    @ธงชัย-ต9ธ 8 місяців тому +1

    ขอบคุณน้องทั้งสองมากครับ-ที่โปรโมทอาหารไทย 10 อย่างให้คนต่างชาติได้ดูกันครับ

  • @สุกัญญาชวนชิต
    @สุกัญญาชวนชิต 8 місяців тому

    เก่งมากทั้งสองคนและมีความรู้จริงที่ถูก ไม่เข้าข้างประเทศตัวเอง สุดยอดค่ะ

  • @ดั่งกังสดาล
    @ดั่งกังสดาล 8 місяців тому +1

    ภาษาใต้ส้มก็หมายถึงเปรี้ยวเช่นเหมือนแกงส้มภาคใต้(ภาคกลางเรียกแกงเหลือง)มักใช้ส้มแขกเป็นหลักมีรสเปรี้ยวนำ

    • @mramnadradsimaam288
      @mramnadradsimaam288 8 місяців тому

      พระฉันอาหารเช้าคนใต้เรียกฉันจังหันไหม คนอีสานก็เรียกน่ะ 😅😅😅

  • @Zeamaan
    @Zeamaan 6 місяців тому

    สองคนนี่ ช่างน่ารัก ดูไปอมยิ้มไป😊

  • @warutchetjeangthanaratana8055
    @warutchetjeangthanaratana8055 8 місяців тому

    ต้มยำกุ้งดั้งเดิมจะเป็นน้ำใส ไม่ใส่กะทิ ไม่ใส่พริกเผา นะครับ
    แบบน้ำข้นที่ใส่พริกเผากับกะทิ เป็นสูตรประยุกต์ 😊

  • @PPSPLS
    @PPSPLS 8 місяців тому +2

    คนจีนน่าจะนิยม รสเค็มนำนะคะ เลยจับรสหวานนิดหน่อย ก็จะบอกว่า หวานมากกก

  • @padejnillapuck8566
    @padejnillapuck8566 4 місяці тому

    แกงเขียวหวาน คือ ใช้พริกแกงสีเขียว และมีรส อม หวานนิดหน่อย จ้า

  • @RongrongLOL
    @RongrongLOL 8 місяців тому +1

    ชอบหมดเลยค่ะ อยากให้น้องแหวนลองทานข้าวซอย อร่อยมาก

  • @ร้านแคทฯ
    @ร้านแคทฯ 8 місяців тому

    สัม ในคำว่าส้มตำ หมายถึงรสเปรี้ยว อาหารตำที่มีรสเปรี้ยวนำ เป็นคำไทยแท้ ทางใต้ยังเรียกของเปรี้ยวทุกอย่างนำหน้าด้วยส้มเลย เช่น สัมขาม ส้มม่วง ส้มยม สัมนาว

  • @สมเกียรติคงสุวรรณ-ผ3พ

    ปูนิ่มผัดผงกะหรี่ ปูนิ่มผัดพริกไทยดำ ปูนิ่มแกงเขียวหวานใส่ฟักทอง อาหร่อยมากๆ

  • @aronel2244
    @aronel2244 8 місяців тому

    อาหารไทยกลาง ก๋วยเต๋วเรือ บางร้านก็หวานจริง แต่มันเค็มกลบไว้ แกงเขียวหวาน ก็ไปทางหวานจริง แกงกรุงเทพหวานซักเยอะมาก
    ถ้าไม่ใช่ร้านแกงที่มาจากถิ่นอื่น ส่วนคำว่า ส้ม ไทยถิ่นอื่นๆ ก็หมายถึง รสเปรี้ยวนั่นแหละ คำว่า หวาน ยังหมายถึง อร่อย ในคำไทยถิ่นด้วย
    ส่วนสีส้ม เหมือนก่อน คำไทยเดิม ใช้ว่า สีแสด แต่เพราะรับอิทธิพลอังกริด เลยเรียกชื่อสีเป็นชื่อผลไม้

  • @therddhamkhamsiri9966
    @therddhamkhamsiri9966 8 місяців тому

    ดูจนจบง่ายมาก เพราะ น่ารักทั้ง2สาว แถมมีเกร็ดความรู้ ครับ

  • @nattapongsurasen
    @nattapongsurasen 7 місяців тому

    คนอีสานเรียกตำมะละกอหรือบักฮุ๊งว่า ตำส้ม /ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยวๆ

  • @drprin
    @drprin 8 місяців тому +1

    น้องคนจีนพูดไทยเสียงนุ่ม น่าฟังมากๆครับ

  • @amorn1210
    @amorn1210 7 місяців тому

    สีช็อคโกแลตในก๋วยเตี๋ยวเรือคือน้ำตก วิธีทำคือใช้เลือดวัวใส่ลงไปในน้ำซุปของก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือไม่ก็เป็นเลือดหมูใส่ในก๋วยเตี๋ยวหมู ความหวานส่วนหนึ่งจะหวานจากเลือดที่ผสมในน้ำซุปร้านก๋วยเตี๋ยวมักผสมพริกน้ำส้ม เพื่อตัดรสชาติหวานนิดหน่อย

  • @kamolhengkiatisak1527
    @kamolhengkiatisak1527 8 місяців тому

    ความจริง แกงเขียวหวาน เป็นแกงที่มีรสชาดค่อนข้างหวานครับ ไม่เผ็ดเท่าแกงอื่นๆ ออกไปทางหวานๆ เค็มๆ และหอมสมุนไพร ถ้าอยากให้ฝรั่งที่กินเผ็ดไม่เป็น ลองกินแกง ก็จะแนะนำ แก่งเขียวหวาน นี้แหละ

  • @ภูวนาทมาลัย-พ1ม
    @ภูวนาทมาลัย-พ1ม 8 місяців тому +1

    น่ารักทั้งเพชรและแหวน เลยFCทั้ง2

  • @anonmaesotnanta6481
    @anonmaesotnanta6481 8 місяців тому

    อาหารไทยได้รับอิทธิพล​จากจีนและอินเดีย​ครับ​ผัดทอดจากจีนถ้าอินเดียก็พวกแกงที่มีเครื่องแกงมีส่วนผสมจากเครื่องเทศ​ส่วนอาหารไทยภาคกลางจะออกหวานเน้นส่วนผสมกะทิเป็นพิเศษ​

  • @wellDONE-Dump
    @wellDONE-Dump 8 місяців тому

    ตอนคำถามน้องแหวน
    7:09 ทำไมถึงชื่อแกงเขียวหวาน => เพราะเนื้อแกงมีสีเขียวพาสเทล ซึ่งสมัยก่อน เรียกว่าเขียวหวาน ไม่ได้เกี่ยวกับรสหวานแต่อย่างใด
    9:12 คิดเมนูข้าว+ผลไม้ได้อย่างไร => คนไทยไม่แยกผักผลไม้ มันคือพืชเช่นกัน พืชแต่ละชนิดให้รสชาติต่างกัน ส่วนใหญ่ผลไม้ที่คนไทยนำมาทำอาหารจะเป็นผลไม้ที่ให้รสชาติเปรี้ยว ไม่ว่าจะสับปะรด ระกำ มะขาม มะนาว มะกอก ตะลิงปิง มะดัน มะอึก มะม่วงดิบ แต่ละวัตถุดิบต่างก็มีเสน่ห์ของมัน
    12:40 ทำไมถึงชื่อว่าส้มตำ => แต่แรกเขาก็เรียกตำบักหุ่ง(มะละกอ) นี่แหละ เพราะใช้ครกกับสาก ทำให้อาหารชนิดนี้ได้ชื่อว่า "ตำ" คำว่าส้ม เป็นภาษาโบราณแปลว่าของเปรี้ยว หรือ ของหมัก สมัยก่อนส้มตำไม่ได้มีแค่ตะมะละกอ มันยังมีตำมะม่วงดิบ ตำมะยม ตำลูกยอ ตำกล้วยดิบ ตำเมี่ยง รวมอยู่ในหมวด ส้มตำด้วย

  • @wanvik8637
    @wanvik8637 8 місяців тому +1

    เพิ่งเคยดูช่องน้อง น่ารักทั้งคู่เลยค่ะ ทำคลิปดีมากเลยค่ะ

  • @Tocksomsak
    @Tocksomsak 8 місяців тому

    ต้มข่าไก่ต้อง มันข้นหวานกะทิ และต้องเปรี้ยว เผ็ดแซบ ถึงจะได้รสชาดที่แท้จริง

  • @ผู้ยิ่งใหญ่แห่งปี

    เขียวหวาน คนโบราณน่าจะพยายามสื่อถึงเขียวพลาสเทลรึป่าวว่ามั้ย

  • @ลือชาแตงเล็ก
    @ลือชาแตงเล็ก 8 місяців тому

    ก๋วยเตี๋ยวเรือสีช๊อกโกเล็ต น่าจะหมายถึงก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตก ที่ใส่เลือดไปด้วย ส่วนเรื่องรสหวานมันก็แล้วแต่ร้านที่ทำ บางร้านทำออกมาเค็ม บางร้านทำรสจืดไว้ก่อน

  • @ตุลาคําบาง
    @ตุลาคําบาง 6 місяців тому

    พูดถึงเรื่องมะละกอ เราคิดถึงตอนเป็นเด็ก ตากับยาย เอาเป็ดเอาไก่ใส่เข่งไปขายให้คนจีนในตลาด แล้วก็ซื้อปลาทูเค็ม ของคนจีนมากิน ทำใมไม่กินไก่เลยละ อร่อยกว่าปลาทูเค็มตั้งเย้อ😮‍💨😁😁

  • @นัสกรนอบน้อม
    @นัสกรนอบน้อม 6 місяців тому

    ก๋วยเตียวเรือสีช๊อกโกแลตคือ ก๋วยเตียวน้ำตกโดยสีมาจากเลือดหมูหรือเลือดวัว แกงเขียวหวานนั่นตำรับชาววังก็ตามชื่อนั่นหล่ะหวานนำโดยสีเขียวมาจากเครื่องแกงสีเขียวหรือคนไทยเรียกพริกแกงเขียวหวานสีจะต่างจากพริกแกงปกติเอาง่ายๆแกงเขียวหวานไม่หวานนิดๆคือผิดต่อตำราวัง😂😂😂

  • @สุรเชษฐอังคสุภณ

    ส้มตำในประเทศไทยแบ่งเป็นประเภทหลักสองประเภท คือส้มตำไทย กับส้มตำลาว ขอให้ศึกษาเอาจากคลิปที่ระบุไว้ชัดเจนว่าทำส้มตำไทย หรือส้มตำลาวซึ่งจะมีอยู่มากหลายคลิปจึงไม่ต้องให้ผมอธิบายให้มากเรื่อง

  • @NatKTh
    @NatKTh 8 місяців тому

    ยังคงความสนุกและความน่าสนใจเหมือนเดิม เป็นกำลังใจให้ครับ