พบ เจดีย์#10 อู่ทอง เป็นหลักฐานต้นทวารวดี แรกรับพุทธเถรวาทในบ้านเรา

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 11 жов 2020
  • เจดีย์หมายเลข 10 อู่ทอง มีฐานกลม องค์เจดีย์กลม (ทรงมะนาวตัด) มีทางประทักษิณในผังกลม สืบทอดมาจากเจดีย์อินเดียโบราณ
    สำนักศิลปากรที่ 2 กำหนดอายุ พศว.12-14 เก่ากว่าสถานที่อื่นๆ
    เป็นหลักฐานสมัยทวารวดีตอนต้น สะท้อนเรื่องราวแรกรับพุทธเถรวาทในบ้านเรา
    ขอขอบคุณ
    สำนักศิลปากรที่ 2
    คุณสุภมาศ ดวงสกุล
    อ.ฉัตตริน เพียรธรรม
    อ.ปัญชลิต โชติกเสถียร
    เพลงประกอบ
    Deliberate Thought โดย Kevin MacLeod ได้รับอนุญาตภายใต้ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution (creativecommons.org/licenses/...)
    ที่มา: incompetech.com/music/royalty-...
    ศิลปิน: incompetech.com

КОМЕНТАРІ • 34

  • @webaneklarp
    @webaneklarp 3 роки тому +5

    ขอขอบคุณ อ.ฉันทัส มากครับที่นำชมเจดีย์พุทธเถรวาทยุคแรกในไทย เจดีย์ที่อ.อู่ทองแห่งนี้สวยงามมากครับ น่าจะเป็นเจดีย์ทรงกลมและสร้างในยุคก่อนทวาราวดีครับ น่าจะมีอายุมากว่า 1,600ปีมาแล้วครับ/ เอนกลาภ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ขอบคุณ​ครับ​คุณ​เอนก​ลาภ​

  • @kanokpute
    @kanokpute 3 роки тому

    ชอบจัง

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ขอบคุณครับคุณกนกพร

  • @wiruchsinghaphan
    @wiruchsinghaphan 3 роки тому +1

    เมื่อก่อนเวลาไปที่อู่ทอง ผมชอบที่จะไปชมของในพิพิธภัณฑ์มากกว่ามาที่เจดีย์เพราะส่วนใหญ่จะเหลือแต่ฐาน แต่พอได้ฟังเกร็ดความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ ทำให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น ขอบคุณครับ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ดีจัง ขอบคุณมากครับ

  • @PhisandethFarm
    @PhisandethFarm 3 роки тому

    หัวกวางสวยมากค่ะ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому +1

      ขอบคุณครับ

  • @sutadkalsuwan2169
    @sutadkalsuwan2169 3 роки тому +2

    ขอบคุณครับ เคยไปเมื่อแปดปีที่แล้ว ปะติดปะต่ออะไรไม่ถูกเลยจะพยายามแกะหลายๆคลิปอาจารย์บันทึกไว้ครับ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ขอบคุณครับ คุณ Sutad

  • @user-du7yc1ik4y
    @user-du7yc1ik4y 3 роки тому

    ทรงบาตรคว่ำเก่าย้อนยุคต้นเลย สาธุครับ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ใช่ครับคุณเรืองเดช

  • @ppongs
    @ppongs 3 роки тому +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ อาจารย์

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому

      ยินดี​ครับ​คุณ​pongthiti

  • @kanthapich
    @kanthapich 3 роки тому +1

    ขอบคุณครับอาจารย์ ผมไปมาเมื่อไม่นาน เจดีย์กลมสะอาด ร่มเย็นดีครับ มีอะไรในสุพรรณอาจารย์นำเสนอได้เลยครับ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому +1

      มี​เยอะ​มาก​เลย​ครับ​

  • @user-fx2vf7vv7h
    @user-fx2vf7vv7h 3 роки тому +2

    อ.ครับแล้วที่คูบัว​ ราชบุรี​ สมัยทราวดี​ อยากให้อาจารย์มา​ วิเคราะห์

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому +1

      อยากไปอยู่ครับ

  • @user-su7de6hn7s
    @user-su7de6hn7s Рік тому

    ขอความรู้อีกครับอาจารย์
    ที่ว่าอิฐยุคทวารมีเเกลบเเละเมล็ดข้าวเปลือกจริงไหมครับ...
    ส่วนยุคถัดมาเช่นยุคสุโขทัยอิฐมีส่วนผสมต่างกันไหมครับขอบคุณครับ

    • @taspien
      @taspien  Рік тому

      สวัสดีครับ
      ยังไม่มีการพิสูจน์ด้วย "กลุ่มตัวอย่างอิฐ" จำนวนเยอะๆ ในเรื่องนี้
      แต่เท่าที่เห็นด้วยตา อิฐทวารวดีมีแกลบเยอะ เยอะกว่าอยุธยาไหม....อืม ไม่แน่ใจ

    • @user-su7de6hn7s
      @user-su7de6hn7s Рік тому

      @@taspien ขอบคุณครับอาจารย์

  • @user-tr7ky9gq2y
    @user-tr7ky9gq2y 3 роки тому

    ติดตามครับท่านอ. นครปฐมก็มีนะครับ

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому +1

      ใช่ครับ นครปฐมสำคัญ
      ร.4 ทรงให้ความสนใจกับเจดีย์ทรงกลมอย่างนี้เป็นพระองค์แรกๆ
      ทรงเห็นว่าสะท้อนคติพุทธเถรวาทเดิม และสันนิษฐานว่า พระปฐมเจดีย์เป็นทรงอย่างนี้

  • @history9312
    @history9312 Рік тому +1

    สถูปสาญจี

    • @taspien
      @taspien  Рік тому +1

      ใช่ครับคุณมอส

  • @theerapojboontee1835
    @theerapojboontee1835 2 роки тому

    ผมสังเกตนะครับว่าเราเลือกที่จะรับอิทธิพลอินเดียมากกว่าที่อินเดียจะแผ่อิทธิพลมาหาเรา เพราะเรามีรูปแบบของเราเอง รูปแบบวรรณะที่เคร่งครัดของอินเดียก็ไม่ปรากฏในดินแดนแถบนี้ ถึงมีบ้าง ก็ห่างไกลจากระบบวรรณะในอินเดียเยอะ รูปแบบสถาปัตยกรรม พอเข้ามาก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จากทรงมะนาวตัดของอินเดียก็กลายเป็นทรงระฆังที่ชดช้อยอ้อนแอ้นมากกว่า หรือพระปรางค์แบบขอมที่ทู่ๆ เข้มแข็งก็เรียวลง แล้วกลายเป็นเจดีย์แหลมๆ (ขอเรียกง่ายๆ แบบนี้) พระพุทธรูปหน้าเหลี่ยมบึกบึน ก็เปลี่ยนเป็นเอวเล็กเอวบาง ลายกนกโบราณที่แข็งๆ ทู่ๆ ก็สะบัดลวดลายเสียหยดย้อย เอาเป็นว่าเราจะนิยมทรงเพรียวๆ แหลมๆ อ้อนแอ้นอรชร มากกว่าทรงที่เข้มแข็งบึกบึน ถ้าพิจารณาตามสันดานและความชอบของคนไทย อันนี้ผมวิเคราะห์ตามจิตวิทยาสังคมนะครับ บริบทประกอบก็คือหลักฐานรอบตัวที่ปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้น รูปแบบดั้งเดิมที่อาจารย์หวังว่าจะเจอ ไม่น่าจะมีให้เห็นเท่าไหร่ เพราะเราไม่นิยม พอเข้ามาในบ้านเรา ไม่นาน ก็จะถูกเปลี่ยนตามรสนิยมของเราไปหมด เราไม่ได้ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลอินเดียและขอมนะครับ เราเลือกที่จะรับเอามามากกว่า

    • @taspien
      @taspien  2 роки тому +1

      กำลังนึกภาพตาม ขอบคุณครับคุณ Theerapoj

    • @theerapojboontee1835
      @theerapojboontee1835 2 роки тому

      @@taspien ผมใส่ความรู้สึกส่วนตัวมากไปหน่อยครับ แหะๆ

    • @taspien
      @taspien  2 роки тому +1

      เขียนแบบนี้ได้เลยครับ เขียนตามที่รู้สึก จริงใจดี

  • @pisutweerakitikul2978
    @pisutweerakitikul2978 3 роки тому

    พุทธเถรวาทยุคแรกที่เข้ามาในประเทศเรา สมัยนั้นมีความนิยมทำรูปเคารพเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรีอยังครับอาจารย์?

    • @taspien
      @taspien  3 роки тому +2

      ช่วง ร.4 เชื่อว่า ยุคแรกที่เข้ามาคือยุคพระเจ้าอโศก แต่ปัจจุบัน ตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีและร่องรอยศิลปกรรม พบว่าน่าจะเข้ามาในช่วงทวารวดี พศว.11-12 ในช่วงเวลานั้น มีการสร้างรูปเคารพแล้วและเป็นที่นิยม ทั้งในอินเดีย ลังกา พม่า และบ้านเรา แต่การสร้างธรรมจักรก็ยังมี และพบในบ้านเราเยอะ จนนักวิชาการแปลกใจว่า เหตุใดจึงพบในบ้านเรามากครับ

    • @pisutweerakitikul2978
      @pisutweerakitikul2978 3 роки тому

      @@taspien ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่ช่วยแก้ข้อสงสัย

  • @user-tx6gv7rf8u
    @user-tx6gv7rf8u Рік тому +1

    จังหวัด ไหนก็ไม่บอก คลิปขับรถ เอามาลงทำไม เสียเวลา เยิ่นเย้อ

    • @taspien
      @taspien  Рік тому

      สวัสดีครับคุณประเสริฐ
      จังหวัดสุพรรณบุรี อ.อู่ทองครับ