4K บรรลุอรหันต์ฉับพลัน

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 6 вер 2024
  • คลิปธรรมะคุณภาพ 4K จากช่องยูทูป "พระสิ้นคิด"
    เลขบัญชีสำหรับทำบุญและทานกับท่านหลวงตาสินทรัพย์ จรณธัมโม
    ธ.กรุงไทย 660-7-29192-9 พระสินทรัพย์ สีรัง
    (ถ้ายังลังเลสงสัยอย่าเพิ่งทำ ถ้าพร้อมจะสละเพื่อจาคะแล้วค่อยทำ)
    ติดต่อแอดมิน 083-929-1932 หรือ Facebook : น็อต เด็กวัดป่าละะเมาะ

КОМЕНТАРІ • 42

  • @chantapatpornlertnapalai4381
    @chantapatpornlertnapalai4381 9 місяців тому +3

    กราบนมัสการหลวงตา พระวินัยเกิดจากพระสงฆ์ทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว พระองค์จึงบัญญัติครับ เช่นปราชิก4 ข้อเสพเมถุนพระรูปแรกที่เป็นเหตุให้เกิดข้อนี้ไม่ผิด แต่พระรูปหลังที่ทำผิดต้องปราชิกนะครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าพระธรมกับพระวินัยจะเป็นศาสดาของพวกเธอต่อไปครับ

    • @ggzggzf4263
      @ggzggzf4263 9 місяців тому

      สาธุครับ

  • @user-ro3ix3xt9o
    @user-ro3ix3xt9o 2 місяці тому

    กราบนมัสการหลวงตา.สาธุ.สาธุ.สาธุ❤❤❤

  • @nvas8222
    @nvas8222 9 місяців тому +1

    กราบนมัสการเจ้าค่ะสาธุๆ

  • @user-bi4vp6lg1r
    @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому +1

    อธิบายให้ถูกก็คือพระอรหันต์ที่เข้าไปทำการสังคายนาครั้งแรก ล้วนแต่เป็นประเภทปฏิสัมภิทาญาณ ถือว่าเป็นประเภทที่มีความรู้แตกฉาน ในอรรถ ในธรรมสูงสุดแล้ว คัดเลือกดีแล้วไม่ใช่ใครก็ได้นะ

  • @user-ww9jm2rc4j
    @user-ww9jm2rc4j 6 місяців тому

    🎉กราบหลวงตาเจ้าคะ🎉

  • @MettaBarame-dz7tz
    @MettaBarame-dz7tz 9 місяців тому

    ยังไม่มีพระธรรมวินัยแต่เค้ามีวัตรเป็นนักบวช พระพุทธเจ้าก็ปลงผมออกบวช ครองผ้าแบบนักบวชสมัยนั้น ปัจจวัคคีย์ก็เป็นนักบวช บำเพ็ญตะบะ ในรูปแบบนักบวชสมัยนั้น เค้าไม่ใช่ชาวบ้าน เค้าเป็นนักบวชบำเพ็ญตะบะ มีการบำเพ็ญในรูปกรรมฐานสอนกันถึงในระดับฌาณสมาบัติ8 ในสำนักต่างๆ และพระพุทธก็ทรงไปเรียนตามสำนักนั้นๆมาจนหมด ก่อนพระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    และพระพุทธเจ้าและพระอสีติสาวกทั้งหลายก็ทรงอภิญาณสมาบัติ มีคุณวิเศษในรูปแบบต่าง ส่วนพระอรหันต์ก็มีการแบ่ง ออกไปถึง 4แบบตั้งแต่ อรหันต์สุขวิปัสโก ,เตวิชโช,ฉฬภิญโญ,เจตุปฎิสัมภิทัปปัตโต ก็มีคุณต่างระดับกัน

  • @user-bz5fq9kn8u
    @user-bz5fq9kn8u 9 місяців тому +1

    กราบหลวงตาสาธุค่ะ

  • @Linrecipes
    @Linrecipes 9 місяців тому +2

    กราบนมัสการหลวงตา🙏🙏🙏

  • @natthawadeeatt4186
    @natthawadeeatt4186 9 місяців тому +2

    ไม่คบคนพาลคือไม่เสพสื่อเจ้าค่ะเดี๋ยวเชื่อตาม

  • @pompomkung4389
    @pompomkung4389 9 місяців тому

    คนเดี๋ยวนี้ เมาธรรม เมาบุญกันมาก มีอัตตา อุปาทานยึดติดในความรู้ของตัวว่าถูกต้องที่สุด ของคนอื่นผิดหมด **บ้าบุญ เมาบุญ นั่นแหละ เป็นมูลเหตุแห่งโรคจิตชนิดหนึ่ง เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวไว้

  • @user-fj7zg5lk5m
    @user-fj7zg5lk5m 9 місяців тому +1

    กราบหลวงตาเจ้าค่ะ

  • @user-te5js4ve4p
    @user-te5js4ve4p 9 місяців тому +2

    กราบนมัสการครับ พระอาจารย์

  • @praditsaleejun8521
    @praditsaleejun8521 9 місяців тому +1

    สาธุครับ

  • @user-bi4vp6lg1r
    @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

    😅พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    [๒๗๘] ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
    จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผลแล้ว ราคะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้วละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    [๒๓๖] ที่ชื่อว่า #อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ ๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มัคคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. การละกิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
    ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
    ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
    ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
    ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
    ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
    ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
    ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
    ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด
    จิตจากโมหะ
    ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน

  • @ngernkpc2602
    @ngernkpc2602 9 місяців тому

    ขํกาบหลวงตาคับสาทุ

  • @Aroon3010
    @Aroon3010 9 місяців тому

    😀

  • @josouvannalath6859
    @josouvannalath6859 9 місяців тому

    ສາທຸໆ

  • @user-xc7hb9dp2u
    @user-xc7hb9dp2u 9 місяців тому

    กราบสาธุๆๆๆ

  • @user-uw4tz3ip1c
    @user-uw4tz3ip1c 9 місяців тому

    สาธุ ครับ

  • @user-en7cx4tj5k
    @user-en7cx4tj5k 9 місяців тому

    หมุนกล้องดูข้างๆด้วย บรรยากาศ มีพระ โยมมาก น้อย ขนาดไหน

  • @user-ng5rp8oi7i
    @user-ng5rp8oi7i 9 місяців тому

    🙏🙏🙏

  • @user-bi4vp6lg1r
    @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

    😅
    พระไตรปิฎก เล่มที่๓๑ พระสุตตันตปิฎก
    เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    [๑๔๗] #อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน #บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์ เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
      สมาธิสูตร
      ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ
      [๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อม
      ทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
      [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบเป็นไฉน? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ.
      [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.
      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
      [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย #องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ #ดูกรภิกษุทั้งหลายเอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้ #เรียกว่าอริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี ที่เป็นไปกับด้วยบริขารก็มี ฯ

  • @user-pn3pl6tu8q
    @user-pn3pl6tu8q 9 місяців тому

    ขอเรื่อง สมมุติสงฆ์หน่อย ขอมานานแล้ว ไม่กล้าพูด กลัวเข้าตัวเองไง

  • @denchaikhayandee2360
    @denchaikhayandee2360 9 місяців тому +1

    สาธุในธรรมครับหลวงตา🙏🙏🙏

  • @user-bi4vp6lg1r
    @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยฉันนั้นเหมือนกัน ๘ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ #มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหวฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ
    ....
    ....
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ในธรรมวินัยนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ #อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ... อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗ ... ฯ

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖
      อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
      [๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร กำลังของภิกษุขีณาสพมีเท่าไรหนอ ที่ภิกษุขีณาสพประกอบแล้ว ย่อมปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ
      ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุขีณาสพมี ๑๐ ประการ ที่ภิกษุขีณาสพประกอบ แล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว กำลัง ๑๐ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้พิจารณาเห็นกามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้พิจารณาเห็นกามทั้งหลาย เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้มีจิตโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ เป็นจิตสิ้นไปจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดย
      ประการทั้งปวง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้มีจิตโน้มไปน้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ เป็นจิตสิ้นไปจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็น
      กำลังของภิกษุขีณาสพ ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เจริญดีแล้ว ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอิทธิบาท ๔ เจริญดีแล้ว ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอินทรีย์ ๕ เจริญดีแล้ว ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญพละ ๕ เจริญดีแล้ว ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ เจริญดีแล้ว ...
      อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
      เจริญดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุขีณาสพมี ๑๐ ประการนี้แล ที่ภิกษุขีณาสพประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎก เล่มที่๒๓
      พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
      อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
      ภาวนาสูตร
      [๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้เท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
      มหาวิภังค์ ภาค ๑
      [๒๗๘] ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
      จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผลแล้ว ราคะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้วละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะ ข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
      เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
      มหาวิภังค์ ภาค ๑
      [๒๓๖] ที่ชื่อว่า #อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ ๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มัคคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. การละกิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
      ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
      ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
      ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
      ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
      ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
      ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
      ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
      ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
      ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด
      จิตจากโมหะ
      ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน

  • @user-bi4vp6lg1r
    @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

    พระไตรปิฎก เล่มที่๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    [๑๓๘] ....
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิดดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า #ดูกรสุภัททะในธรรมวินัยใด #ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ #ในธรรมวินัยนั้นไม่มีสมณะที่๑ สมณะที่๒ สมณะที่๓ #หรือสมณะที่๔ ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
    [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก #ไม่มีในภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้ ฯ
    สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
    *สมณะที่ 1 หมายถึง พระโสดาบัน, สมณะที่ 2 หมายถึง พระสกิทาคามี, สมณะที่ 3 หมายถึง พระอนาคามี, สมณะที่ 4 หมายถึง พระอรหันต์

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
      อริยมรรคมีองค์ ๘
      [๒๕๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
      ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้
      ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
      ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
      ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
      ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
      ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
      ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
      ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
      ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
      ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
      ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
      ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
      ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
      กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
      ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
      ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
      ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
      กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
      ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
      ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
      ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
      กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
      [๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัดไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบในอธิจิตนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระปิณโฑลภารัทวาชะ ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... อยู่ในที่ไม่ไกล ฯ
      ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
      การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวม
      ในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต ๑
      ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ #การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
      #นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
      [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยฉันนั้นเหมือนกัน ๘ ประการเป็นไฉน
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ #มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดย
      ตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหวฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ
      ....
      ....
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ในธรรมวินัยนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ #อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ... อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗ ... ฯ

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
      มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
      [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้
      ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทน
      ได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว #ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้วย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว #เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด #ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด #ดูกรภิกษุทั้งหลาย #โมฆบุรุษเหล่านี้ #ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเพียงไร.

    • @user-bi4vp6lg1r
      @user-bi4vp6lg1r 9 місяців тому

      พระไตรปิฎก เล่มที่๓๑ พระสุตตันตปิฎก
      เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
      [๑๔๗] #อริยมรรคสมังคีบุคคลย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน #บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น #สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์ เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง

  • @user-ne7hf3se9l
    @user-ne7hf3se9l 9 місяців тому +1

    สาธุครับหลวงตา

  • @user-cz1ep9pw2c
    @user-cz1ep9pw2c 9 місяців тому

    🙏🙏🙏

  • @nakarochannel3520
    @nakarochannel3520 9 місяців тому

    ท่านได้อรหันต์แล้วเหรอครับถึงรู้พระอรหันต์เป็นยังไงงั้นก็ตอบว่าโลกหมุนได้ยังไงสินะหรืออจุสิมาจากไหน

    • @user-bt3mn4sm4h
      @user-bt3mn4sm4h 9 місяців тому

      ดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น หมุนรอบโลกได้อย่างไร พอจะอนุมานได้ไหมครับ

  • @dollayaphetsawang5693
    @dollayaphetsawang5693 9 місяців тому

    น้อมกราบพระธรรมอันประเสริฐค่ะหลวงตา🙏🙏🙏และคุณอ้วนที่ให้สีสรรในการฟังธรรมที่ไม่เบื่อค้ะสาธุๆๆ❤❤❤

  • @user-uo5zg3sg1q
    @user-uo5zg3sg1q 9 місяців тому

    กราบนมัสการหลวงตายิ่งดีในพระธรรมคำสอนสาธุ