ระดับของสมาธิ ฝึกฌาน อัปปนาสมาธิ เสียงธรรม โดยหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาทีโป

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 8 вер 2024
  • ชั้นอรรถกถาท่านจัดแยกสมาธิออกเป็น 3 ระดับ คือ
    1.ขณิกสมาธิ : สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
    2. อุปจารสมาธิ : สมาธิจวนจะแน่วแน่ ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน จัดเป็นขั้นสูงสุดของกามาวจรสมาธิ มีที่กำหนดชัดเจนคือ ในอุปจารสมาธิ นิวรณ์ก็ถูกละได้ระดับหนึ่งแล้ว และองค์ฌานก็เริ่มเกิดคล้ายกับอัปปนาสมาธิ มีข้อแตกต่างเพียงว่า องค์ฌานยังไม่มีกำลังดีพอ ได้นิมิตพักหนึ่ง ก็ตกภวังค์พักหนึ่ง ขึ้นตกๆเหมือนเด็กตั้งไข่ เขาพยุงลุก ก็คอยล้ม ส่วนในอัปปนาสมาธิ องค์ฌานทั้งหลายมีกำลังดีแล้ว จิตตัดภวังค์แล้วคราวเดียว ก็ตั้งอยู่ได้ทั้งคืนทั้งวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ยืนขึ้นแล้วก็ยืนได้ตลอดวัน
    3. อัปปนาสมาธิ : สมาธิแน่วแน่ หรือ สมาธิที่แนบสนิท นิวรณ์ 5 สงบระงับไปด้วยกำลังของสมาธิ เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งมีในฌานทั้งหลาย (ฌานทุกลำดับจัดเป็นอัปปนาสมาธิ) ถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ เกิดขึ้นได้ด้วยการรักษาอุปจารสมาธิที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย จนในที่สุด ก็เกิดเป็นอัปปนาสมาธิ บรรลุปฐมฌาน เป็นขั้นเริ่มแรกของรูปาวจรสมาธิ
    อัปปนาสมาธิ : สมาธิแน่วแน่ หรือ สมาธิที่แนบสนิท นิวรณ์ 5 สงบระงับไปด้วยกำลังของสมาธิ เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งมีในฌานทั้งหลาย (ฌานทุกลำดับจัดเป็นอัปปนาสมาธิ) ถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ เกิดขึ้นได้ด้วยการรักษาอุปจารสมาธิที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย จนในที่สุด ก็เกิดเป็นอัปปนาสมาธิ บรรลุปฐมฌาน เป็นขั้นเริ่มแรกของรูปาวจรสมาธิ
    ระดับขั้นของฌาน
    รูปฌาน 4
    1.ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ คือ วิตก (การจรดจิตลงไปในอารมณ์, ตรึก) วิจาร (การเอาจิตผูกพันอยู่กับอารมณ์, ตรอง) ปีติ (ความยินดีในการได้อารมณ์ที่ต้องการ อรรถกถาจารย์ ท่านจัดเป็นสังขารขันธ์) สุข (ความสุขในการได้เสวยรสอารมณ์ที่ต้องการ อรรถกถาจารย์ ท่านจัดเป็นเวทนาขันธ์) เอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว)
    2.ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    3.ตติยฌาน มีองค์ประกอบ คือ สุข เอกัคคตา
    4.จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
    อาจมีความสงสัยเกิดขึ้นว่า เหตุใดในฌานระดับที่สูงขึ้นองค์ประกอบที่ดูน่าพึงพอใจอย่าง ปีติ และสุข จึงหายไป เหลือเพียง อุเบกขา ข้อนี้ขอให้พิจารณาทำความเข้าใจไปตามลำดับ
    ในปฐมฌาน : การฟุ้งขึ้นของ นิวรณ์ 5 เป็นอาพาธของปฐมฌาน
    ในทุติยฌาน : ละวิตก วิจาร เพราะเป็นภาระของจิต เป็นโทมนัสอย่างละเอียด เป็นอาพาธของทุติยฌาน
    ในตติยฌาน : ละปีติ ความยินดี เพราะเป็นสภาพที่ทำใจให้กำเริบ พะวงในการเสวยสุขอันยอดเยี่ยมนั้น เป็นอาพาธของ ตติยฌาน
    จตุตถฌาน : ละความกำหนัดยินดีในสุข เพราะถือเป็นส่วนหยาบ เป็นปัจจัยแห่งรูปราคะ เป็นอาพาธของจตุตถฌาน
    อุเบกขา ในที่นี้ใช้ใน 2 ความหมาย คือ ในความหมายของพรหมวิหาร คือ ความมีใจเป็นกลาง ดูอย่างสงบ ซึ่งมีในฌานทุกชั้น โดยจะเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ และในความหมายของ อทุกขมสุขเวทนา คือ ไม่ใช่ทั้งสุขและทุกข์ เป็นสภาวะละเอียดประณีต เป็นปัจจัยสนับสนุนสติให้บริสุทธิ์ (ไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนา ในความหมายของ ความสุขอย่างอ่อนๆ ความทุกข์อย่างอ่อนๆ หรือความรู้สึกเฉยๆ)
    อรูปฌาน 4
    อากาสานัญจายตนะ ฌานที่กำหนดอากาส คือ ที่ว่างอันอนันต์
    วิญญาณัญจายตนะ ฌานที่กำหนดวิญญาณ (อันแผ่ไปในที่ว่าง) อันอนันต์
    อากิญจัญญายตนะ ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใด
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌานที่เลิกกำหนดสิ่งใดๆ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ไม่มีสัญญาหยาบ มีสัญญาละเอียด)
    วิธีปฏิบัติขั้น อรูปฌาน คือ เมื่อเจริญสมาธิถึงขั้นจตุตถฌานแล้ว ก็ปล่อยกรรมฐานที่ยึดเป็นอารมณ์ออก มายึดอารมณ์ของอรูปฌาน แต่ละลำดับแทน อรูปฌานทั้งหลายมีองค์ฌานเพียง 2 อย่างเหมือนจตุตถฌาน คือ มีอุเบกขา และเอกัคคตา แต่มีข้อพิเศษคือสมาธิในอรูปฌานประณีตลึกซึ้งห่างไกลจากสิ่งรบกวนมากกว่ากันตามลำดับขั้น
    ฌาน คือ สภาพธรรมที่เพ่ง หรือ เผา ธรรมฝ่ายตรงกันข้าม ดังนั้นฌานจึงมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล ที่เป็นการเพ่งหรือเผา ธรรมที่เป็นข้าศึกคือกิเลสในขณะนั้นที่เป็นนิวรณ์ เป็นต้น โดยนัยตรงกันข้าม ฌานที่เป็นอกุศลก็มี ซึ่งขณะนั้นก็เผา กุศล คุณความดี เพราะเป็นอกุศลในขณะนั้นครับ ดังนั้นธรรมเป็นเรื่องละเอียด เมื่อไม่ศึกษาหรือฟังให้เข้าใจก็สำคัญสิ่งที่ทำ คิดว่าเป็นฌานแล้วจะต้องเป็นกุศล ซึ่งไม่เสมอไปหากเริ่มจากความเข้าใจผิดครับ
    สมาธิ เป็นความตั้งมั่น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสมาธิเกิดร่วมด้วย สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง มีความเสมอกันกับจิตที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปได้ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ตามประเภทของจิตนั้นๆ
    ซึ่งสมาธิก็มีระดับความตั้งมั่นของสมาธิเช่นกัน ซึ่ง ขณิกสมาธิ คือ ขณะที่จิตตั้งมั่นเพียงชั่วขณะจิต แต่เมื่อมีความตั้งมั่นที่มีกำลัง ก็จะเพิ่มเป็นอุปจารสมาธิ และ เมื่อถึงความแนบแน่นก็ถึงความเป็นอัปปนาสมาธิ
    ♢ ขณิกสมาธิ
    ขณิก (ชั่วขณะ) + สมาธิ (ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น) สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน ตามปกติก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย
    ♢ อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่สงบจากอกุศล สงบจากนิวรณ์ ใกล้ถึงอัปปนาสมาธิ แต่ยังไม่ใช่ปฐมฌาน
    ♢ อัปปนาสมาธิ อปฺปนา (ความแนบแน่น) + สมาธิ (ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น) สมาธิที่ถึงความแนบแน่น หมายถึง สมาธิที่เกิดกับฌานจิตซึ่งพ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (พ้นจากกามอารมณ์) สามารถข่มกิเลสนิวรณ์ได้ ตลอดเวลาที่ยังไม่ออกจากฌาน
    อ้างอิงบทความ ที่มาเนื้อหา
    1.บันทึกจากการศึกษาพุทธธรรม /buddhadhamma-memo.blog
    2.มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา /dhammahome.com

КОМЕНТАРІ • 2