การใช้งานตัวต้านทาน ดูคำอธิบายใต้คลิบ การเลือกใช้ชนิดตามประเภทวงจร ลักษณะกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 3 жов 2024
  • สรุป ชนิดตัวต้านทาน / ความถี่ใช้งาน ข้อมูลตัวเลขความถี่จากเวป Analog Applications Engineer­-24
    R ชนิดไวร์วาวด์ใช้ได้ไม่เกิน 50KHz เน้นใช้กับความถี่ต่ำ และ งาน Power เป็นหลัก
    R ชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film ) ใช้กับความถี่สูง ไม่เกิน ประมาณ 100 MHz
    R ชนิดคาร์บอน ใช้กับความถี่ต่ำ ไม่เกิน 1 MHz
    R ชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film ) ใช้กับความถี่ต่ำ ไม่มีตัวเลขความถี่ระบุ
    แต่เส้นแถบฟิล์มคาร์บอนที่อยู่ด้านในก่อให้เกิดค่า L มากกว่าชนิดคาร์บอนเสียอีก ดังนั้นน่าจะใช้ได้กับความถี่ Hz KHz ค่อนมาทางต่ำ
    ค่าโอห์มสูง ๆ ยิ่งมีค่า L สูงตามไปด้วยเนื่องจากมีเส้นแถบฟิล์มยาวกว่าและมีจำนวนเกลียวเยอะกว่าค่าโอห์มต่ำ
    Note : ถ้าเน้นใช้งานความถี่สูง ควรเลือก R แบบ SMD เพื่อลดผลกระทบจากค่า L
    การใช้งานตัวต้านทาน ตัวต้านทาน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คลิปนี้ เปรียบเทียบคุณสมบัติ ตัวต้านทานคาร์บอนฟิล์ม ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม ตัวต้านทานเมตัลออกไซด์ฟิล์ม ตัวต้านทานไวร์วาวด์ ตัวต้านทานวัดกระแส ( R sensor ) และตัวต้านทาน HV รวมถึงแนวทางหา ตัวต้านทานใช้แทนได้ไหม
    #อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ #ตัวต้านทาน #อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน #อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น #เรียนอิเล็กทรอนิกส์
  • Навчання та стиль

КОМЕНТАРІ • 9

  • @สุทะสุขใจ
    @สุทะสุขใจ Місяць тому +1

    ความต้านทานสูง W ไม่จำเป็นต้องสูงหรือเปล่าครับ ในวงจรจ่ายไฟที่ผมสังเกตุดู 22k 3w ไม่ร้อน แต่ 500 Ohm 100w กลับร้อนมาก รบกวน อ. ช่วยตอบครับ

    • @electech_8889
      @electech_8889  Місяць тому +1

      ให้พิจารณาตามหลักการดังนี้ กำลังไฟฟ้า ( วัตต์ ) = กระแสยกกำลังสอง x ค่า ความต้านทาน .......จะเห็นว่ากระแสที่ไหลผ่านมีผลอย่างมากต่อความร้อน ต่อกำลังไฟฟ้า กรณี R ค่าสูงมากจะมีกระแสไหลผ่านน้อย เกิดความร้อนน้อยตามไปด้วย จึงใช้วัตต์ต่ำ ส่วน R ค่าน้อยจะมีกระแสไหลผ่านมาก เกิดความร้อนมากตามไปด้วย จึงต้องใช้วัตต์สูงเพื่อให้มันใช้ทนและไม่ขาดง่าย การจะใช้ R ค่ามากหรือค่าน้อยขึ้นอยู่กับวงจรว่าเป็นงานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ปกติจะใช้กระแสน้อย หรือ เป็นงานพาวเวอร์ที่มีกระแสในวงจรมาก

  • @tukbabyfast
    @tukbabyfast Рік тому +3

    เป็นความรู้พื้นฐาน แต่ก็สำคัญมาก ชอบคลิปแนวนี้มากครับ

  • @winrain5627
    @winrain5627 6 місяців тому +1

    กลับมาหาความรู้ ดีมากเลย เพราะงงมาสักพัก ทำไมสีมันต่างกัน หาซื้อจะได้ตรงตัว

  • @kukuku-k4u
    @kukuku-k4u 2 місяці тому +1

    ยางพาราลดลง

  • @aungtunkyaw2620
    @aungtunkyaw2620 11 місяців тому +1

    🙏❤❤❤👍👍👍🌷🌷🌷

  • @สุทะสุขใจ
    @สุทะสุขใจ 7 місяців тому

    แบบซีเมนต์เป็นชนิดไหนครับ

  • @nuttichatclassdchanal4549
    @nuttichatclassdchanal4549 Рік тому +1

    สวัสดีครับพี่