รวม ตัวเก็บประจุ "C" ที่เสีย....ชัวร์...แน่นอน 99.999% (Cค่าแห้ง , Cค่ายืด , Cบวม , Cรั่ว , ESRสูง)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 18 вер 2022
  • สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
    สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึงคาปาซิเตอร์
    Capacitor นับเป็นอุปกรณ์สำคัญตัวหนึ่ง ที่อยู่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
    ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มักจะเสีย เป็นเบอร์ต้นๆ อยู่แล้ว และช่างหลายๆท่านก็คงจะคุ้นเคย
    กับการถอดเปลี่ยนกันเป็นประจำ อยู่แล้วนะครับ ส่วนอาการที่เสียของมันส่วนใหญ่ ที่เรามักจะเจอ
    ก็จะมีด้วยกันหลากหลายอาการ
    เพราะฉะนั้น เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่าง อาการเสียของมันไว้ เบื้องต้น ดังนี้ละกันนะครับ
    โดย ข้อมูลมี่ผมจะนำมาแบ่งปัน นะครับ ก็คือ เป็นอาการ ที่ผมมักจะพบเจอเป็นประจำ
    และ ส่วนหนึ่งผมก็ได้มีโอกาส โพตสอบถาม เพื่อนๆในแถบชุมชน ที่เป็น FC อยู่ในช่องของเรา
    โดยผมของเรียงลำดับ ดังนี้ละกันนะครับ
    อาการที่ 1 หลายๆท่าน มักจะเรียกว่า C ยืดค่า แล้ว C ยืดค่าคืออะไร Cยืดค่าก็คือ
    C ที่มีค่าการเก็บประจุ ที่เพิ่มสูงขึ้น สูงขึ้นมากผิดปกติ
    อย่างเช่น ผมมี C ตัวหนึ่ง มีค่า Nampage เขียนอยู่ที่ 2,200 uF
    แต่เมื่อวัดค่าจริง กลับวัดค่าได้อยู่ที่ 2,494 uF ซึ่งมีค่าผิดเพี้ยนเพิ่มขึ้น กว่า 13%
    ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว C ยืดค่า บางครั้ง มันก็ไม่ได้ส่งผลเสียอะไร ให้กับวงจรมากนัก
    ถ้าหากตัวมันไม่เกิดการรั่วไหล หรืออาการ leak เกิดขึ้น
    เดี๋ยวเรามาแกะดู C ที่ยืดค่ากันครับว่า ข้างในมันเป็นยังไง
    แต่ก่อนอื่นผมจะพาเพื่อนๆมาดู C ตัวที่ใช้งานได้ปกติ กันก่อน
    นี่ครับพอแกะออกมาก็จะเจอกับ น้ำยาค้างอยู่ในกระป๋อง และตัว ใส้ในเอง ก็มีน้ำยาเคลือบเยิ้ม อยู่เช่นกันครับ
    ผมขออนุญาต ถอดขั้วของมันออกมาก่อน ละกันนะครับ เดี่ยวจะคลาย แผ่นที่มันม้วนๆตรงนี้ ออกมาให้เพื่อนๆได้ดู
    พอคลายออกมา นี่ครับ รูปโฉมก็ยังดูดี
    เขาก็จะวาง แผ่นโลหะ สลับ กับ ฉนวน แบบนี้ แล้วก็อาบเคลือบด้วยน้ำยา เพื่อรักษาการเก็บประจุ
    นี่คือ C ที่ใช้งานได้ ปกติครับ
    ส่วนนี่ก็คือ C ตัวที่ยืดค่าเมื่อสักครู่
    สังเกตุว่า พอผมถอด ออกมา ใส้ใน สีมันจะเข้มขึ้นนะครับ
    แล้วภายในกระป๋องเอง น้ำยาก็จะไม่มีค้างให้เราเห็นแล้วนะครับ
    ถ้ามาดูที่ฉนวน ผม รู้สึกได้ว่า มีการแข็งกรอบเพิ่มมากขึ้นครับ
    ผมเคยได้ยินข้อมูลมาว่า น้ำยาที่มันหายไป มันจะเพิ่มความเข้มข้น ตรงนี้ มากขึ้น มันอาจะ จะไปเพิ่มค่า การเก็บประจุ ของตัวเก็บประจุให้มากขึ้นชั่วคราว
    แต่ข้อมูลนี้ มันก็ไม่ทราบแน่ชัดนะครับ ว่า จริงเท็จประการใด
    ยังไง เพื่อนๆท่านใดที่ทราบ ช่วยคอมเมนท์เข้ามาด้วยนะครับ
    ทีนี้จะพามาดู อาการที่ 2 กันบ้างครับ
    หลังจากที่เราใช้งาน C ในวงจรของเรา มาเป็นระยะเวลานาน หลายปี น้ำยาข้างใน ของมันก็จะเริ่มแห้งไปบ้าง
    ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวเร่งเร้า อย่างที่ผมบอกนั้นแหละครับ ก็คือจะมาจากความร้อน อาจจะมาจากตัวอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน อยู่ใกล้ๆกัน อย่างพวก บริดจ์ไดโอด
    หรือ พวกตัวต้านทาน R กระเบื้อง
    น้ำยาพวกนี้ พอมันแห้ง ก็อาจะจะส่งผลให้ C เอง มีค่าการเก็บประจุที่น้อยลง
    เขาจะเรียกว่า C มันหดค่า หรือเรียกว่า C แห้ง ก็ได้เช่นกัน
    เด๊่ยวเราจะมาแกะดูว่าข้างในมันแห้งจริงๆหรือเปล่าครับ
    นี่ครับ ใส้ในสีเข้มขึ้น แล้วก็แห้งกริบเลยครับ ฉนวน รู้สึกว่าจะกรอบแห้ง แกะออกมานี่ติดเลยครับ แกะค่อนข้างยากลำบาก
    ถ้าเป็นนักมวย พูดง่ายๆก็คือ หมดสภาพ ยกธงขาว ไม่สามารถชกต่อได้นั้นเองครับ
    ไปต่อ อาการที่ 3 อาการก็คือ C วัดค่าไม่ได้ C วัดค่าไม่ขึ้น
    ตัวนี้หนักเลยครับ ถ้าสังเกตุด้วยสายตา ตรงส่วนหัวของ C ก็อาจจะมีอาการแตกทะลุ หรือมีอาการของ C ระเบิด ร่วมด้วย
    และอาการที่ 4 เป็นอาการที่ช่างหลายๆท่านบอกว่า น่าปวดหัวที่สุด
    นั้นก็คือ C รั่ว อาการ C leak หรือ C รั่ว ส่วนใหญ่ก็จะเจอกับ C แห้ง
    แต่บางเคส ไม่ได้บ่งบอกอาการ อย่างชัดเจน สังเกตุ หัวก็ไม่ได้ปูดบวม ลักษณะภายนอก ดูดี มีเสน่ห์ วัดค่าการเก็บประจุ ได้ปกติ
    ไม่ได้มีการ เพิ่มค่าหรือลดค่า ไม่ได้มีปัญหา แต่อย่างใด
    แต่ตัวมัน มีค่าความต้านทานแฝงอยู่ในตัวเก็บประจุ ในลักษณะ ขนานแบบนี้
    ก็เลยส่งผลให้ 1.มีไฟรั่วเข้าไปในวงจรได้ 2.เกิดความร้อนสะสม 3.วงจรทำงานผิดปกติ
    ถ้าเป็น แบบนี้ มัลติมิเตอร์ทั่วไปที่ใช้วัด ค่าการเก็บประจุ เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะหลงทางได้ เหมือนกัน
    แต่ก็มีวิธีสังเกตุ ง่ายๆก็คือ
    C ที่รั่ว เยอะๆ มักจะยืดค่า หรือไม่งั้นก็ ใช้ระยะเวลาในการวัด นานกว่าปกติ เพราะว่าตัวมันมีกระแสที่ รั่วไหล มัลติมิเตอร์ จับค่าไม่นิ่ง
    แต่ก็จะมี วิธีวัดการวัด C รั่ว พวกนี้อยู่ นะครับ เดียวผมค่อยพูดในคลิปถัดๆไป เพราะว่าเดียวมันจะยาว
    อาการต่อไป อาการที่ 5 C มีค่า ESR สูง
    หรือ C มีค่าความต้านทานแฝงภายในตัวมัน สูง
    แล้วค่า ESR สูงมันไม่ดียังไง
    ปกติ C ตัวที่ ดีๆ ค่า ESR จะต่ำ
    แต่ถ้า C ตัวที่มีปัญหาอย่างเช่น C ที่หัวปูดบวมแบบนี้ ค่า ESR ก็จะสูง
    เมื่อมันเจอะ กับ พวกงานความถี่ กระแสไฟ ที่ไม่เรียบ กระแสไฟ ripple
    C พวกนี้ จะเกิดความร้อนสะสม , บางวงจร แรงดันไฟฟ้าออกมาไม่เรียบ , บางวงจรแรงดันไฟฟ้าในวงจร ตก , บางวงจรความถี่เพี้ยน
    แล้วเราจะทราบได้อย่างไร
    มันจะมีเครื่องมือบางประเภท ที่ สามารถวัดค่า ESR ได้
    อย่างเช่นเครื่องวัด LCR ราคาประหยัด ของผมตัวนี้ หรือ มิเตอร์วัดค่า ESR โดยตรง
    เพื่อนๆ ก็จะเห็นว่า C ที่สภาพดูดีเหล่านี้ ก็อาจจะมีค่า ESR ที่สูงมากก ก็เป็นไปได้
    ส่วนค่า ความต้านทานเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัยต่อวงจร เพื่อนๆก็สามารถตรวจสอบได้จาก ตารางที่แสดงขึ้นที่ หน้าจอตรงนี้ครับ ได้ครับ
    มีเทียบระหว่าง แรงดันที่มันทนได้ และ ค่าการเก็บประจุ
    ค่าที่เราวัดได้ต้องอย่าให้เกิน ถ้าค่ามันเกิน ให้ถอดโยนทิ้งได้เลยครับ
    ก็สรุปได้ว่า
    C ยืดค่าก็ไม่ควรใช้
    C แห้งก็ไม่ควรใช้
    ส่วน C ที่ เราไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของมัน เราก็ควรที่จะมีเครื่องมือ ที่ดีตรวจสอบ การทำงานของมัน
    และC ที่มีค่าผิดเพี้ยนเกิน +-10% คำภีร์ หลายๆเล่ม แนะนำให้เปลี่ยนตัวใหม่ จะดีที่สุดครับ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
    #Cหลากหลายอาการ #Cแห้ง #Cบวม #Cรั่ว #Cระเบิด
  • Розваги

КОМЕНТАРІ • 63

  • @aerolive1839
    @aerolive1839 Рік тому +12

    คุณน่าจะเป็นอาจารย์สอน อาจารย์สอนวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สอนดียิ่งกว่าอยู่ในชั้นเรียนอีก

  • @worawongdher7188
    @worawongdher7188 Рік тому +4

    ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้ชัด้จน c รั่วนี่น่าปวดหัวจริง ๆ ซ่อมแล้วไม่จบ เชื่อว่าทุกคนต้องถอนหายใจ เฮ้อ

  • @grizzlywat8365
    @grizzlywat8365 22 дні тому

    ดีครับขอชมในการตั้งใจทำคลิปความรู้ ผมขอ เสริมละกัน ตามความคิดเห็นของผมนะครับ บนพื้นฐานของ C อิเล็คโทรไล เป็นหลัก
    1. ค่า Capacitance Tolerance หรือค่า Error เท่าที่เคยเปิดดูจะอยู่ที่ +/- 20 % อ้างอิงจาก datasheet ยี่ห้อ Nichicon และ Elna ( เมื่อก่อนผมใช้บ่อย)
    2. การวัดค่า C หรือ ESR ที่ถูกต้อง ต้องวัดตามค่าความถี่ที่ระบุ ของแต่ละยี่ห้อ จากที่เราทราบกันดีว่า Xc = 1/2*II*f*c จะเห็นว่ามีเรื่องของค่าความถี่เข้ามาเกี่ยว ซึ่งมันหมายความว่า ค่า c ที่ระบุนั้นเขาหมายถึงค่าที่เขาใช้เทียบวัดที่ความถี่หนึ่ง โดยปกติส่วนมากเท่าที่เคยเปิด datasheet ส่วนใหญ่จะใช้ความถี่ที่ 120 Hz มีเคยเจออยู่ยี่ห้อใช้ที่ 100 Hz จำยี่ห้อไม่ได้แล้ว ฉะนั้นโดยพื้นฐาน C อิเล็คโทรไลด์ จะใช้ 2 ค่านี้วัด (แต่ปกติผมจะใช้ค่า 120Hz วัด) ผมเดานะครับว่าน่าจะมาจาก 2 เท่าของค่าความถี่ไฟ AC บ้านที่ใช้กันเป็นหลักทั่วโลกคือ 60 Hz กับ 50Hz
    3.เครื่องวัดในรูปเท่าที่ผมเคยหาข้อมูลผมยังไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาใช้ความถี่เท่าไหร่วัด (แต่เดาว่าถ้าใช้ Scope วัดหาค่าว่าเขาใช้ความถี่เท่าไหร่ก็น่าจะได้) ส่วนมัลติมิเตอร์ดิจิตอล ส่วนใหญ่ก็ไม่ระบุความถี่ที่ใช้วัด เอาที่ผมมี 2 ตัวเป็นของไตหวัน ตัวแรกซื้อมานานละ ตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ ย่านที่วัดต้องบิดสวิตซ์เลือก ในคู่มือระบุไว้ว่าแต่ละย่านใช้ความถี่เท่าไหร่ทดสอบซึ่งไม่เท่ากันและไม่ใช่ค่าใน datasheet เลย ส่วนตัวที่ 2 ราคาแพงคุณภาพพอๆกับ ฟรุค ตัวนี้ย่านวัดเป็น auto ไม่ได้ระบุความถี่ใช้วัดไว้ให้ แต่ผมก็ใช้มิเตอร์นี้วัดเสมอๆ ในเบื้องต้นถ้ามันไม่เกิน +/- 10 % ผมจะถือว่ามันยังดี ถ้าเกิน +/-10% ผมจะใช้ ESR meter วัดดูอีกทีแต่ไม่ได้เปลี่ยนเสมอ มีเจอครั้งเดียวค่าวัดมันไม่เกิน +/-10% แต่จากวงจรผมสงสัยว่ามันน่าจะมาจาก C ตัวนี้ผมใช้ ESR meter วัด ค่า C ก็ไม่เกิน +/-10 % แต่ ค่า phase angle มันมากผิดปกติ ผมเลยเปลี่ยนปรากฏว่าอาการเครื่องกลับมาปกติ
    เสริมจากข้อ 3 ปกติผมจะดูที่ค่า C และ loss phase angle (ค่า D ) เป็นหลักส่วน ESR ดูหลังสุด เพราะ ESR ปกติถ้าค่า C มันเกิน ESR มันก็จะวิ่งตามกัน เสมอ (เท่าที่เจอ) ส่วนค่า D นั้นมันก็จะขึ้นตามค่าของ Cและ V ที่ระบุด้านข้าง ซึ่งทำให้ต้องไปคอยเปิด datasheet ยุ่งยากผมจึงใช้ค่ามุมองศา ซึ่งมันจำได้ง่ายกว่า จาก C ในอุดมคติ ค่ามุมมันจะอยู่ที่ -90 องศาซึ่ง C อิเล็กโทรไลด์ ผมยังไม่เคยเจอที่ค่านี้ ใกล้สุดก็ -88/87 องศา ต่ำกว่า -85 มันเริ่มเสื่อม ใกล้ -80 หรือต่ำกว่า โยนทิ้ง
    ส่วน C พวก โพลีหรือฟิมส์ เขาจะใช้ค่าความถี่อื่นวัด สาเหตุนี้ที่ทำให้เครื่องวัด ESR โดยเฉพาะเขาถึงทำให้สามารถเลือกย่านความถี่ใช้วัดได้เพื่อให้สามารถวัดเทียบกับมาตราฐาน spec ผู้ผลิต

  • @user-nq1sc3sb9w
    @user-nq1sc3sb9w 4 місяці тому +1

    ของผมในวงจรจ่ายไฟแอมป์หลอด หม้อแปลงสั่นและร้อนทันทีตกใจมาก ไดโอดก็เสีย ผมเอา C ตัวนึงออกและตัวมันก็ร้อนอาการกลับมาปกติเลย

  • @OppoA-ji7gh
    @OppoA-ji7gh Рік тому +2

    ขอบคุณครับ สำหรับคลิปความรู้ดีๆ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому +1

      ขอบคุณครับ

  • @werawutboonchom3296
    @werawutboonchom3296 Рік тому

    สุดยอดการนำเสนอ

  • @paap7871
    @paap7871 Рік тому +1

    ขอบคุณครับ ชอบมากๆ ทุคลิปเลยครับอาจารย์

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому

      ขอบคุณครับ

  • @bigm1706
    @bigm1706 Рік тому +2

    ความรู้ทั้งคริปเลยครับ

  • @notegoodluck3546
    @notegoodluck3546 2 місяці тому

    สวัสดีครับได้ความรู้ดีมากครับ ผมมี c ค่า 55000 uf 35v มีเครื่องตัวไหนที่สามารถวันค่าขนาดนี้ได้ครับ

  • @lilp7632
    @lilp7632 8 місяців тому

    ขอบคุณมากครับ

  • @user-xh4zz5dd8e
    @user-xh4zz5dd8e 3 місяці тому

    ชอบช่องนี้มากเลย

  • @profile1pb153
    @profile1pb153 Рік тому +4

    ช่องนี้ คุณภาพมากครับ ตั้งใจ นำเสนอ ดีมาก ขอบคุณครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому

      ขอบคุณมากครับ

  • @bounxuangmanivong9304
    @bounxuangmanivong9304 Рік тому

    พีครับขอถามน้อยครับเพาเวอร์แอม 500 W จะใช่กับลำโพงสูงสุดเท่าไรครับ

  • @pongphanutala9987
    @pongphanutala9987 Рік тому

    ขอตารางเปรียบเทียบค่า ESR หน่อยครับ

  • @user-kl4bf1kc2u
    @user-kl4bf1kc2u Рік тому +2

    สอนดีมากงับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому +1

      ขอบคุณครับ

  • @the-river-
    @the-river- Рік тому +1

    วงจรที่ใช้มาเป็นเวลานานเข่น เครื่องเสียง โทรทัศน์รุ่นเก่า มีโอกาศ ค่าไอซี C R D มีโอกาศเพี้ยนไหมคับ เช่น เสียงเพี้ยน ภาพเพี้ยน.

  • @valentino4403
    @valentino4403 Рік тому +1

    ขอวิธีหรือเทคนิควัดในวงจรหน่อยครับ ทั้ง C Fet ครับ แต่ละคนมีเทคนิคไม่เหมือนกัน

  • @user-fb4qr2sh5m
    @user-fb4qr2sh5m Рік тому

    สมัยที่ผมจบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ใหม่สดสดซิงซิงผมลองต่อCผิดขั้วหรือต่อCผิดค่าเอาค่าโวลน้อยน้อยไปใส่Cมันเหมือนขีปนาวุธเลยคับผมเกือบหน้าแหกเลยวัยนั้นผมเกเรมากตีรันฟันแทงไปทั่วเรื่องหลบหลีกมีดไม้ปืนไม่เป็นสองลองใคร

  • @sunsezz5306
    @sunsezz5306 Місяць тому

    เครื่องวัดค่า C ในคลิป มีขายไหมคะ หากมีขายขอชื่อตัวเครื่องได้ไหมคะ

  • @infinixsmart6064
    @infinixsmart6064 3 місяці тому

    ผมก็สนใจเครืองงัดคับผมอาจารท์zim. Zim

  • @user-qf3oj4zf9p
    @user-qf3oj4zf9p Рік тому

    สอบถามครับ ถ้า c ค่า 2200 วัดค่าจริงได้ 2600 มีผลในวงจรไหมครับ

  • @user-hw2cw4ft5z
    @user-hw2cw4ft5z Рік тому +1

    ตามดูการวัดซีรั่วครับfc

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому

      ทำไว้แล้วครับ ua-cam.com/video/hxcBamZ6HUs/v-deo.html

  • @bouaphanhkhamvanh3967
    @bouaphanhkhamvanh3967 Рік тому +1

    👍👍👍❤️

  • @chayen1974
    @chayen1974 11 місяців тому

    อยากทราบC.ที่ไม่ระบุค่าuF.ครับ จะมีแต่ตัวหนังสือขึ้นต้นด้วย X และตามด้วยเลข96020
    พอจะอ่านค่าได้มั้ยครับ

  • @arunfarm2686
    @arunfarm2686 Рік тому

    ชุดวัดค่าหาซื้อได้จากที่ไหนครับ

  • @lanii7046
    @lanii7046 2 дні тому

    คาปาซิเตอร์ค่าบรรจุที่มีตัวเลขเป็นจุดกับไม่มีจุดต่างกันยังไง

  • @intelonsleya
    @intelonsleya Рік тому

    เครื่องวัดแบบนี้หาซื้อได้ที่ไหน

  • @user-js6wy2yh9t
    @user-js6wy2yh9t 9 місяців тому

    C ในเพาเวอร์ซับพลายคอม ในตัวc 330uf แต่ผมวัดได้ 470uf อยากทราบว่าจะกระทบในวงจรไหมครับ ช่วยบอกหน่อยนะครับ

  • @user-es5vd9ot5n
    @user-es5vd9ot5n Рік тому

    สอนวิธีเช็คดีเสียไอซีในวงจรหน่อยครับ

  • @user-ey2uc1pe2o
    @user-ey2uc1pe2o Рік тому

    แล้วcระเบิด เป็นฝอยๆเกิดจากอะไรครับ

  • @sorapongzaa6589
    @sorapongzaa6589 Рік тому

    แล้ว 470uf เหลือ 405 uf แบบนี้เสียใหมครับ

  • @AornphonePhone-xd4oz
    @AornphonePhone-xd4oz Місяць тому

    ผมเอาคาปาซิเตอร์ไปเผากับไฟเพราะนานๆระเบิดโป้งเลย

  • @BELOVEDPKTL2511
    @BELOVEDPKTL2511 Рік тому

    Cระเบิด​เจอ​บ่อยๆ​

  • @user-pz9st1mu9o
    @user-pz9st1mu9o 5 місяців тому

    สนใจเครื่องวัด C ครับ

  • @anatjon9213
    @anatjon9213 2 місяці тому

    คายประซีแบบไหนดีที่สุดครับ

  • @youtob9927
    @youtob9927 Рік тому +1

    อยากรู้หลักการวัด ic ดีเสียแบบละเอียดอะครับ พอดีหามาหลายช่องแล้วไม่เข้าใจซักที

    • @user-xb1qk6yn3m
      @user-xb1qk6yn3m Рік тому

      ดัน ๆๆๆ

    • @worawongdher7188
      @worawongdher7188 Рік тому

      ต้องใช้ประสบการ และต้องวัดเทียบกับตัวดี ถึงจะพอวิเคราะห๋ได้ มิเตอร์เข็มหรือดิจิตอลก็พอวัดได้คร่าว ๆ ที่เห็นเขาวัดกันก็ใช้ออสซิลโลสโคปวัดในโหมดคอมโพแน้น เทียบลักษณะสัญลักษณ์สัญญาณเฉพาะตัวของแต่ละขาขแงไอซีตัวเสียเทียบกับไอซีตัวดี จะใช้วัดในกรณีที่หาดาต้าชีทของไอซีเบอร์นั้นไม่ได้หรือขี้เกียจหามีความชำนาญแล้วและมีอะไหล่อยู่แล้วก็เอามาวัดเทียบเลยไม่ต้องไปซื้อมาซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันเสียหรือเปล่าต้องเสียเงินอีก หาดาต้าชีทเบอร์ไอซีนั้น ๆ แล้ววัดสัญญาณเข้าออกตามนั้นรู้เลย แต่ถ้าเจอ c รั่ว มันคงไม่จบแค่นั้น 5555

  • @kasemsantsrimuang1145
    @kasemsantsrimuang1145 Рік тому +1

    เครื่องมือวัดLCR. ตัวละเท่าไหร่? และหาซื้อได้ที่ไหนครับ?

    • @user-nq1sc3sb9w
      @user-nq1sc3sb9w 4 місяці тому

      หลายร้อยอยู่ ผมสั่งออนไลน์

  • @user-ry6kl9xo8b
    @user-ry6kl9xo8b Рік тому +1

    ชอบครับได้ความรู้โดยระเอียดเลยขอบคุณครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому

      ขอบคุณครับ

  • @user-nw3ir3go6b
    @user-nw3ir3go6b Рік тому

    ขอหมายเลขโทรศัพท์ด้วยครับ

  • @prasitthainthong2921
    @prasitthainthong2921 Рік тому +1

    c ที่มีค่านอกเหนือจากค่าในตารางesr จะดูค่าesr อย่างไรครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому

      ประมาณเอาก็ได้ครับ

  • @joebaygon4455
    @joebaygon4455 Рік тому

    ค่า vloss คือค่าอะไร

  • @blacknin8436
    @blacknin8436 Рік тому +2

    แอดครับ แล้วถ้า "C บ้า" นี้เป็นอย่างไงครับ

    • @Chalee2151
      @Chalee2151 Рік тому +1

      zebra -ม้าลายไงครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  Рік тому +1

      ฮ่าๆๆๆ

  • @user-wh8ds9rg3g
    @user-wh8ds9rg3g Рік тому

    สาเหตุที่มันเกิดด้วยครับ รอๆ

  • @be4885
    @be4885 Рік тому

    c พังที่รู้ได้จริงไม่ต้องวัดคือ c ขาขาด

  • @user-jt5up9rd4s
    @user-jt5up9rd4s Рік тому +1

    มีCยืดค่าด้วยพึ่งรุ้

    • @pompomkung4389
      @pompomkung4389 Рік тому

      เจอบ่อยกับ c จีนครับ

    • @user-dc8oj6uo3t
      @user-dc8oj6uo3t 7 місяців тому

      C .เมกา.เกาหลี แท้จากบอร์ดอุปกรณ์โรงงานถอดวัดดูหลายๆยี่ห้อค่ามันก็ไม่เป๊ะสักตัวนะเกินนิดๆทุกตัว.ส่วนตัวคิดว่าCเกรดดีๆต้องมีค่าufเกิน+-25%

  • @user-ev6xg3ir8e
    @user-ev6xg3ir8e 7 місяців тому

    ผมไม่เคยเรียนจบอะไรมาเลยผมเคยซ่อมวิทยุเทบไล่เช็คตัววงจรเราจะรู้เลยว่าตัวไหนเสียสมัยก่อนยังไม่มีมือถือแบบนี้แค่เราศึกษาจากผู้รู้แค่นี้เราก็เข้าใจระบบและแก้ไขได้

  • @user-pz9st1mu9o
    @user-pz9st1mu9o 5 місяців тому

    สนใจเครื่องวัด C ครับ

  • @user-ev6xg3ir8e
    @user-ev6xg3ir8e 7 місяців тому

    สมัยนี้ใครอยากมีความรู้ไม่ต้องไปโรงเรียนให้เสียค่าเทอมอยากเรียนอะไรเพียงแค่เปิดมือถือคุณมีความรู้ทุกอย่าง

  • @user-pz9st1mu9o
    @user-pz9st1mu9o 5 місяців тому

    สนใจเครื่องวัด C ครับ