สติปัฏฐาน 4 แก่นแท้สำคัญ ทางบรรลุธรรม พื้นฐานเป้าหมาย เสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ
Вставка
- Опубліковано 12 лис 2024
- สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
สติปัฏฐานมี 4 อย่าง การตามอนุปัสสนาในกาย เวทนา จิต และธรรม สติปัฏฐาน = ศีล5
โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ ไม่ลืม สติเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดีงามเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศล คอยช่วยให้จิตที่ดีงามนึกถึงแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ให้ผลเป็นความสุข ระลึกถึงแต่สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดโทษคือกิเลส, ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่นไม่ปล่อยเวลาให้เสียประโยชน์
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง คือ วงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ จนละคลายความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อานาปานบรรพ
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า - เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว - เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว - เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น - เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น - ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก - ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า - ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก - ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
อิริยาปถบรรพ
ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน - เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน - เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง - เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้น
สัมปชัญญบรรพ
พิจารณากายโดยความเป็นของไม่สะอาด - ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูต
ธาตุมนสิการบรรพ
พิจารณากายโดยความเป็นธาตุ - ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้
นวสีวถิกาบรรพ
พิจารณากายโดยความเป็นซากศพ - ภิกษุพึงเห็นกายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า - ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด - ฝูงนก ฝูงสัตว์ หมู่สัตว์ตัวเล็ก ๆ ต่าง ๆ กัดกินอยู่บ้าง - เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ - เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ - เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ - เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในคนละทิศละทาง - เป็นเหลือแต่กระดูกมีสีขาว - เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป - เป็นกระดูกผุเป็นจุณแล้ว ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายตนนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
ดังพรรณามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้า - พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง - พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง - พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง - พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง - พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลกอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอย่างไรเล่า - ภิกษุในธรรมวินัยนี้จิตมีราคะ หรือ ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือ ปราศจากราคะ - จิตมีโทสะ หรือ ปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ หรือ ปราศจากโทสะ - จิตมีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะ - จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน - จิตเป็นมหรคต หรือ ไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต หรือ ไม่เป็นมหรคต - จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า - จิตเป็นสมาธิ หรือ ไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ หรือ ไม่เป็นสมาธิ - จิตหลุดพ้น หรือ ไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือ ไม่หลุดพ้น
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ 5 อย่างไรเล่า พิจารณาเห็นการมีอยู่ หรือ การไม่มีอยู่ภายในจิต การเกิดขึ้น การละเสีย การไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป ของกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา
ขันธบรรพ
อายตนบรรพ
โพชฌงคบรรพ
สัจจบรรพ
แหล่งอ้างอิงที่มา วิกิพีเดีย
โมทนาสาธุครับ🙏
ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ
สาธุ
ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ
❤Sa Thu der Luang Phu🎉🎉🎉
ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ
กราบสาธุธรรมมะดีๆของหลวงพ่อเจ้าค่ะสาธุ🙏🙏🙏
ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ
🙏🙏🙏
ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ