ฎีกาเด็ดพิชิตเนติฯ อาญา ข้อ 1

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 28 лис 2024

КОМЕНТАРІ • 22

  • @goffellas9623
    @goffellas9623 Рік тому +4

    สอนดีมากๆเลย (มันส์ จัดเลยแหละ ) เท่าที่ดูคลิปฟรีหลายๆคลิปที่สอนโดยอาจาร์ยหลายๆท่านในohm law มีกำลังทรัพจะลงเรียนคอรสครับ ขอเรียน ป ตรี ก่อน

  • @พัชราแจ้งกระจ่าง

    Energy การสอนดีมากค่ะ ฟังแล้วมีพลังด้วยเลย😊😊

  • @ธรรมศักดิ์คงทองคํา

    อธิบายมันมากครับ

  • @oibitparte
    @oibitparte 9 місяців тому +1

    29:00 การริบทรัพย์ + การขอคืนของกลาง
    1. "32" ทำ/มีไว้ + โดยสภาพเป็นสิ่งผิดกม. : กม.บังคับให้ริบ แม้ไม่มีคำขอ ขอคืนไม่ได้
    2. "33" ใช้/มีเพื่อใช้/ได้มา + เกี่ยวกับการทำผิดโดยตรง : เป็นดุลพินิจศาล เจ้าของแท้จริงอาจขอคืนได้ตาม "36"
    3. "34" ทรัพย์เกี่ยวกับ "สินบน" : กม.บังคับให้ริบ แต่เจ้าของแท้จริงอาจขอคืนได้ตาม "36"
    - ดังนั้น กรณีที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอคืนของกลางตาม "36" ได้ ต้องเป็นทรัพย์ตาม "33, 34" เท่านั้น
    หลักเกณฑ์ร้องขอตาม "36"
    1. ต้องเป็นเจ้าของแท้จริง + เป็นเจ้าของอยู่ใน "ขณะมีการกระทำผิด" + ไม่รู้เห็นเป็นใจในการนำทรัพย์ไปใช้ทำผิด
    2. ต้องยื่นคำร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่ "คพษ. ถึงที่สุด"
    7630/62
    - ตามหลัก "สัญญาเช่าซื้อ" กมส.ในทรัพย์จะตกเป็นของผู้เช่าซื้อ ต่อเมื่อได้ชำระราคาครบทุกงวดแล้ว
    - ตามข้อเท็จจริงเป็นสัญญาที่ผู้ร้องเช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากบริษัท ในขณะที่ยังชำระราคาไม่ครบและรถ "ยังเป็นของบริษัท" ได้มีจล.นำรถนั้นที่ผู้ร้องใช้ประโยชน์อยู่ ไปใช้ "กระทำผิด" ฐานขนไม้เถื่อนเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 59
    - ต่อมา 31 พ.ค.60 ผู้ร้องเพิ่งชำระราคาครบ และได้กมส. แต่ในขณะนั้นรถ "ถูกศาลริบ" เป็นของกลางไว้แล้ว คำถามคือ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางตาม "36" หรือไม่?
    - ปัญหาคือ เมื่อ "ผู้ร้อง" ยังชำระราคาเช่าซื้อไม่ครบจึงยังไม่ได้กมส. และ "บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ" ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดการกระทำผิด แล้วใครจะถือเป็น "เจ้าของที่แท้จริง" ที่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว
    การพิจารณาว่าผู้ร้องเป็น "เจ้าของแท้จริง" ที่มีสิทธิยื่นคำร้อง "36" หรือไม่
    1. ให้พิจารณาตามความเป็นจริง ว่า "ในขณะยื่นคำร้อง" ยังอยู่ในเวลา 1 ปีนับแต่ศาลพพษ.ถึงที่สุดหรือไม่ ถ้ายังอยู่ใน 1 ปี ก็มีสิทธิยื่น โดยพิจารณาความเป็นเจ้าของแท้จริง "ณ วันยื่นคำร้อง"
    2. แต่ศาลจะ "คืน" ให้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามความป็นจริงว่า ผู้ร้อง "รู้เห็นเป็นใจ" ในการใช้ทรัพย์กระทำผิดหรือไม่ ถ้ารู้เห็นต้องยกคำร้อง ถ้าไม่รู้เห็นก็ต้องคืน
    - ซึ่งโดยปกติ เมื่อศาลยังไม่แน่ใจว่า "ทรัพย์นั้นเป็นของใคร" ศาลก็จะสั่งให้ริบไว้ก่อน และจะนำหลักการนี้มาพิจารณาเมื่อมีการร้องขอคืน จึงเป็นหลักการที่ "แตกต่างจากหลักทั่วไป" ว่าต้องเป็นเจ้าของแท้จริงใน "ขณะมีการกระทำผิด"
    ศาลจึงเห็นว่า
    - "ในขณะยื่นคำร้อง" ผู้ร้องได้กมส.ตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว + ยื่นคำร้องภายใน 1 ปี จึงถือเป็น "เจ้าของแท้จริง" ที่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม "36" ได้
    - ส่วนศาลจะคืนให้หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าผู้ร้อง "รู้เห็นเป็นใจ" กับจล.หรือไม่
    ทั้งนี้ ตาม 13415/57
    - สิทธิตาม "36" เป็นสิทธิของ "เจ้าของแท้จริง" ซึ่งเป็น "บุคคลภายนอกคดี" เท่านั้น ที่จะเข้ามาต่อสู้ว่าทรัพย์ที่ถูกยึด แท้จริงเป็นของตนและตนไม่รู้เห็นเป็นใจ
    - โดย "36" ไม่ได้ให้สิทธิ "จล./ผู้กระทำผิด" ที่จะพิสูจน์ดังกล่าว

    • @OhmsLawTutor
      @OhmsLawTutor  9 місяців тому

      ขอบคุณสำหรับการสรุปเนื้อหา และขอบคุณสำหรับการติดตามวิดีโอของทางสถาบันฯนะคะ🥰🙏🏻

  • @prasertphlapeng9305
    @prasertphlapeng9305 Рік тому +2

    สอนดีมากๆครับ😊

    • @OhmsLawTutor
      @OhmsLawTutor  Рік тому +1

      ขอบคุณสำหรับคำติชมนะคะ

  • @oibitparte
    @oibitparte Рік тому +7

    11:30 1645/31
    - จล.เริ่มพรากผู้เยาว์โดยขับรถไปรับผสห.ในไทย และพาไปเพื่ออนาจารที่ญี่ปุ่น
    - เป็นกรณีการกระทำส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในไทยคือการพราก และเป็นความผิดต่อเนื่องในทุกท้องที่ๆไปจนถึงญี่ปุ่น จึงเป็น "ความผิดต่อเนื่องทั้งใน & นอกราช" จึงเป็นกรณีการกระทำผิดส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึ้นในราช ตาม "5 ว.1" แล้ว โดยไม่ต้องสนใจเลยว่าความผิด "เกิดขึ้น & สำเร็จลง" ที่ใด
    - ดังนั้น จล.จะอ้างไม่ได้ว่า ความผิดสำเร็จลงที่ญี่ปุ่น ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจลงโทษ
    14:00 2784/65
    - จล. "รอรับ" ผสห. (ผู้เยาว์) อยู่ที่ญี่ปุ่น โดยผสห.ยินยอมบินมาหาจล.เอง และการทำอนาจารก็เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น จล.จึงอ้างว่าไม่มีความผิดส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดในไทยเลย ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจลงโทษ ฟังขึ้นหรือไม่?
    - เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จล.มีพรรคพวกอยู่ที่ไทยเป็นแม่เล้า เป็นชักชวนผสห.ให้บินไปหาจล. และขับรถพาผสห.มาส่งที่สนามบิน
    - ศาลจึงมองว่า จล. & แม่เล้าต่างเป็น "ตัวการร่วม" โดยร่วมกระทำผิดมาตั้งแต่ต้น ซึ่งความผิดฐานพรากไปเพื่ออนาจารได้มีการลงมือตั้งแต่ที่ไทย และต่อเนื่องจนมาถึงญี่ปุ่น จึงเป็นกรณี การกระส่วนหนึ่งเกิดใน ส่วนหนึ่งเกิดนอก จึงถือว่าความผิดเกิดในราชตาม "5 ว.1" ข้ออ้างจล.ฟังไม่ขึ้น
    - ทั้งนี้ ไม่เป็นกรณี "8" ซึ่งเป็นการการกระทำเกิดขึ้น "นอกราชโดยแท้"
    19:50 3313/62
    - โดยหลักความผิด "หมิ่นประมาท" สำเร็จลงเมื่อบุคคลที่ 3 ทราบถึงข้อความที่เป็นการใส่ความนั้น
    - เมื่อ จล.ใส่ความจ.ที่อเมริกา ด้วย "การโฆษณา" โดยการเผยแพร่ภาพจ.ที่ถูกตัดต่อว่าเป็นเกย์ลงใน "เว็บไซต์" อันเป็นเจตนาเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งบุคคลทั่วโลกรวมถึงในไทยสามารถเข้าถึงได้
    - แม้การกระทำจะเกิดนอก แต่เมื่อ จล. "ประสงค์ผล" ให้เกิดขึ้นในราช โดยต้องการให้จ.ได้รับความอับอาย โดยเฉพาะต่อบุคคลในชุมชนที่จ.อยู่อาศัย และรู้จักจ.จากการเข้าเว็บไซต์นั้น จึงถือว่าความผิดเกิดในราชเป็นกรณี "5 ว.1"

  • @sssj5464
    @sssj5464 Рік тому +2

    ยอดเยี่ยมครับ

  • @เสาวลักษณ์เพ็ชเมือง

    สอนดีมากเลยค่ะ ขอบคุณที่นำคลิปมาลงนะคะ😊

    • @OhmsLawTutor
      @OhmsLawTutor  Рік тому

      ขอบคุณสำหรับการติดตามสถาบันและติวเตอร์นะคะ🙏🙏🙏

  • @oibitparte
    @oibitparte Рік тому +2

    38:20 "56" การรอการลงโทษ
    - ปัจจุบัน รอได้ทั้งโทษจำคุก & โทษปรับ โดยในคดีที่ศาลจะรอลงโทษ "จำคุก" ไม่เกิน 5 ปี ต้องเข้าเงื่อนไข "ข้อใดข้อหนึ่ง" ดังนี้
    1. จล.คนนั้น ไม่เคยมีคพษ.ให้รับโทษจำคุก + ไม่เคยจำคุกจริงๆ มาก่อน (กรณีคดีก่อนศาล "รอลงโทษจำคุก" = ไม่เคยจำคุกจริงๆ มาก่อน)
    2. เคยรับโทษจำคุก แต่ในความผิดฐาน "ประมาท/ ลหุโทษ" หรือจำคุก "แต่ไม่เกิน 6 เดือน"
    3. เคยรับโทษจำคุก แต่ "พ้นโทษ" มาแล้ว เกิน 5 ปี + มาทำความผิดฐาน "ประมาท/ ลหุโทษ" ในครั้งหลังอีก
    6815/61
    - กรณีเคยได้รับโทษจำคุก + เคยจำคุกจริงๆ มาก่อน แม้ภายหลังจะ "ได้รับพระราชทานอภัยโทษ" ก็ไม่มีผลลบล้างให้จล.พ้นผิด หรือจะถือว่าจล.ไม่เคยรับโทษจำคุกคดีนั้นมาก่อน
    - ดังนั้น จึงไม่เข้าเงื่อนไขตาม "56(1)" ที่จะขอรอการลงโทษได้
    645/63, 191/64, 2225/64
    - เคยรับโทษจำคุก แต่เมื่อเป็นการจำคุกในคดีอื่นที่ "ไม่ใช่ประมาท/ ลหุโทษ" หรือจำคุกมา "เกิน 6 เดือน" จึงไม่เข้าเงื่อนไข "56(2)"
    - และเมื่อ "เพิ่งพ้นโทษ ไม่เกิน 5 ปี" แม้คดีหลังจะทำความผิดฐาน "ประมาท/ ลหุโทษ" ก็ไม่ครบเงื่อนไขตาม "56(1)(3)"
    - หรือแม้พ้นโทษมา "เกิน 5 ปี" แต่เมื่อคดีหลังกระทำความผิดที่ "ไม่ใช่ประมาท/ ลหุโทษ" ก็ไม่ครบเงื่อนไขตาม "56(1)(3)" เช่นกัน ดังนั้น จึงขอรอลงโทษไม่ได้

  • @ไพบูลย์สังพาลี
    @ไพบูลย์สังพาลี 7 місяців тому +2

    สอนดีครับ

  • @yaninyanin4598
    @yaninyanin4598 6 місяців тому +3

    น้องสอนเก่งน้ำเสียงชัดเจนมีพลังมาก

  • @oibitparte
    @oibitparte Рік тому +1

    1:00:00
    "137" แจ้งความเท็จอาญา/แพ่ง
    1. จพง.ต้องมีหน้าที่รับแจ้ง + กำลังปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
    2. "ผิดสำเร็จ" ทันทีที่มีการแจ้ง + จพง. "ทราบ" ข้อความที่แจ้งนั้น ส่วนจพง.จะเชื่อตามที่แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ
    3. แค่าอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น/ ประชาชน ก็เป็นความผิดแล้ว
    4. แต่การยื่น "คำคู่ความคดีแพ่ง" แม้เป็นเท็จ ก็ไม่ผิด เพราะศาลเปิดโอกาสให้คู่ความตั้งประเด็นและต่อสู้กันได้เต็มที่
    "172, 173" แจ้งความเท็จเกี่ยวกับ "ความผิดอาญา"
    1. การแจ้งข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผสห. "ถูกดำเนินการทางวินัย" ผิด "137" แต่ไม่ผิด "172" เพราะไม่ใช่การแจ้งเท็จเกี่ยวกับ "การกระทำผิดอาญา"
    2. การแจ้งเท็จต่อ "จพง. DSI" ก็มีความผิด เพราะเป็นผู้มีอำนาจ "สืบสวนคดีอาญา"
    3. ไม่อาจมีความผิด "172" และ "173" พร้อมกัน เพราะ "172" เป็นกรณีมีความผิดเกิดจริง แต่ "173" ไม่มีเกิดจริง
    4. ถ้าผิด "172/ 173" อันเป็นบทเฉพาะ ก็ไม่ต้องปรับเข้า "137" อันเป็นบททั่วไปอีก
    5. ถ้าแจ้ง "เพื่อแกล้ง" ให้ปรับบท "174" ด้วย และการแกล้งในความผิด "บทหนัก" ให้ปรับบท "181" ด้วย

    • @oibitparte
      @oibitparte Рік тому +1

      1:10:10 4109/65
      ประเด็น 1
      - จล.แจ้งความเท็จต่อจพง.ที่มีอำนาจ "ทำบัตรประชาชน" โดยยื่นคำร้องขอเปลี่ยนบัตรปชช. แต่แจ้งข้อมูลบนบัตรเป็นเท็จ
      - จล.จึงมีความผิดทั้ง "137" แล้วให้จพง.จดข้อความเป็นเท็จในเอกสารราชการตาม "267" ด้วย แต่เมื่อไม่ใช่การแจ้งเกี่ยวกับ "ความผิดอาญา" จึงไม่ผิด "172/ 173"
      ประเด็น 2
      1. จพง.จะถือว่ามีความผิด "161 : จพง.ปลอมเอกสาร" ด้วยหรือไม่?
      - เมื่อเป็นจพง. + มีหน้าที่ในเรื่องที่รับแจ้ง คือ ทำบัตรประชาชนซึ่งเป็นเอกสาร + มีอำนาจทำเอกสาร เพราะมีจล.มายื่นคำร้อง เอกสารที่ทำขึ้นจึงเป็น "เอกสารแท้จริง" ไม่อาจเป็นเอกสารปลอมได้ จึงไม่ผิด "161"
      2. และจะผิด "162 : จพง.ทำเอกสารเท็จ" หรือไม่?
      - เมื่อเป็นจพง. + มีหน้าที่ทำเอกสาร แต่เมื่อไม่รู้ว่าข้อความที่แจ้งเป็นความเท็จ จึงไม่ใช่กรณีรู้แต่ยังรับรองความเป็นเท็จนั้น จึงไม่ผิด "162"
      1:14:20 802/62
      - "162" ต่างจาก "157" คือ เป็นความผิดได้ แม้ไม่มี "เจตนาพิเศษ" (เพื่อให้…/ โดยทุจริต)
      - จล.รับราชการเป็นจนท.รับพัสดุ มีหน้าที่ "รับซองสอบราคาประมูล" (ทำ/ รับ/ กรอก)
      - วันเกิดเหตุ มี ร มายื่นซองประมูลที่ลงชื่อ ร ม และ อ (ซึ่งไม่ได้มาด้วย) โดยมายื่นต่อจล.
      - จล.ได้ทำ "ใบรับซองสอบราคา" โดยลงข้อมูลว่า ร ม และ อ มายื่นซองสอบราคาด้วยตัวเอง และจล.ได้ลงชื่อรับรองไว้ด้วย ทั้งที่เป็นความเท็จ เพราะ ม และ อ ไม่ได้มาด้วย จึงเป็นการรับรองว่า "มีการกระทำอย่างใดต่อหน้าตน" อันเป็นเท็จ จึงมีความผิด "162(1)"
      - และการที่จล. "ลงลายมือชื่อรับรองข้อความที่เป็นเท็จ" นั้น จึงมีความผิด "162(4)" ด้วย

  • @oibitparte
    @oibitparte Рік тому

    45:00
    "1(16)" จพง. ตามป.อาญา
    - ความผิดบางฐานมุ่งเอาผิดกับ "นักการเมือง" คือ สส. สว. สจ. สท. ด้วย แม้จะ ǂ จพง.ตาม "1(16)" ก็ตาม
    - ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความผิดเกี่ยวกับ "สินบน" เช่น "143, 144, 149"
    "149" จพง.เรียกรับสินบน (ดีแล้วชั่ว)
    จะผิดหรือไม่ ดูจุดตัดว่า เพื่อกระทำการ/ไม่กระทำการ "ในหน้าที่" หรือไม่
    1. ในหน้าที่ : ไม่ว่าจะเป็นการชอบ/ ไม่ชอบด้วยหน้าที่ = ผิด
    2. นอกหน้าที่ : ไม่ว่าจะเป็นการชอบ/ ไม่ชอบด้วยหน้าที่ = ไม่ผิด
    "148" จพง.ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ (ชั่วแต่เริ่ม)
    1. ใช้อำนาจ "ใน" ตำแหน่ง + โดยมิชอบ = ผิด
    2. ใช้อำนาจ "นอก" ตำแหน่ง + แม้โดยมิชอบ = ไม่ผิด
    110-120/18
    - จพง.ตำแหน่งเลขา มีหน้าที่ "ตรวจสอบภาษี" แต่ไม่มีหน้าที่ "เรียกเก็บภาษี"
    - จพง.จูงใจให้ประชาชนนำเงินภาษีมาจ่ายเกินจริง เอาเอาส่วนที่เกินไว้เป็นประโยชน์ของตน
    - เช่นนี้ แม้เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ แต่เมื่อไม่มีหน้าที่เรียกเก็บเงินภาษีจากประชาชน จึงเป็นการใช้อำนาจ "นอกตำแหน่ง" จึงไม่ผิด "148"
    - อย่างไรก็ตาม อาจผิด "157" ได้
    4789/65
    - ตำรวจไปจับกุม ส ในขณะที่ ส ไม่ได้เล่นพนัน จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า อีกทั้งไม่มีหมายจับ และได้เรียกเงินจาก ก เพื่อจะไม่ดำเนินคดี (เพื่อจะไม่กระทำการ)
    - จ.จึงฟ้องว่า ตำรวจผิด "149" แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องถึง "148"
    - ศาลตัดสินว่า เมื่อเริ่มต้นจาก "การแกล้งจับ/ การจับไม่ชอบ" เพราะไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น แล้วเรียกรับเงิน จึงผิด "148" เท่านั้น
    - แต่เมื่อจ.ไม่ได้บรรยายฟ้องมา ศาลจึงพพษ.ให้ไม่ได้ เพราะเกินคำขอตาม "ป.วิ.อ. 192" แต่ยังพพษ.ว่าผิด "157" ซึ่งเป็นบททั่วไปได้

  • @ยุทธศักดิ์คําศักดิ์ดา-ฎ6ฌ

    ข้อ 2-3 มีอีกไหมครับ

    • @OhmsLawTutor
      @OhmsLawTutor  Рік тому +1

      มีเฉพาะข้อ 1. ครับผม ขอบคุณที่ให้ความสนใจติดตามไลฟ์สดจากทางสถาบันฯนะครับ🙏🏻