พาไหว้พระ 2 วัดเก่าติดกันวัดนาคปรกและวัดนางชี เขตภาษีเจริญ (Wat Nakprok and Wat Nang Chi Bangkok )

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 28 чер 2024
  • พาไหว้ 2 วัดเก่าติดกัน ...สมัยอยุธยา ( วัดนาคปรก ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ Wat Nakprok Bangkok Thailand และ วัดนางชี พระอารามหลวง Wat Nang Chi Chotikaram )
    1. 🌼วัดนาคปรก ภาษีเจริญ ( Wat Nakprok Bangkok ) เป็นวัดที่มาลอดโบสถ์เสริมดวง ไหว้หลวงพ่อนาคปรก และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อสิริมงคล ไหว้พระ รวมถึงดื่มด่ำกับสถาปัตยกรรมอันงดงาม จะพาไปทำความรู้จักอีกหนึ่งวัดย่านภาษีเจริญ คือ วัดนาคปรก มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เดิมเรียกกันว่า วัดปก เป็นวัดเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ราวปี พ.ศ. 2291 หรือก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และด้วยภาวะทางสงคราม ชาวบ้านหลบลี้หนีภัยเป็นเหตุให้วัดถูกทิ้งร้าง ต่อมาในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 3 “เจ้าสัวพุก” หรือ พระบริบูรณ์ธนากร พ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน (พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล โชติกะพุกกณะ) ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย ซึ่งมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี (นับจากปัจจุบัน) จำนวน 2 องค์ นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ
    สักการะรูปปั้น หลวงปู่ชู คงชูนาม อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก เกจิอาจารย์ชื่อดัง ณ มณฑปบริเวณด้านหน้าของวัด เมื่อจุดธูปเทียนเรียบร้อยแล้วให้อ้อมไปทางด้านหลังองค์ท่าน และนำหน้าผากแตะที่สังฆาฏิ (อัฐิหลวงปู่อยู่ในองค์ท่าน) ขอพรด้านชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย
    อุโบสถหลวงพ่อเจ้าสัว
    เมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 3-4) เจ้าสัวพุก พ่อค้าเรือสำเภาชาวจีน ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะโค้งแอ่นเหมือนเรือสำเภาเล็กน้อย พร้อมกับให้จิตรกรชาวจีนเขียนภาพจิตรกรรมบนฝาผนังแสดงเรื่องราวเครื่องมงคล เครื่องบูชาของชาวจีน นอกจากสร้างถวายเป็นพุทธบูชา
    2. 🌼วัดนางชี พระอารามหลวง ภาษีเจริญ ( Wat Nang Chi Chotikaram)
    เป็นวัดที่สร้างขึ้นช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการบูรณะมีอยู่เรื่อยมา แต่ที่เห็นเด่นชัดคือ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขายและอาศัยบนแผ่นดินสยาม (ประเทศไทย) ซึ่งรูปแบบศิลปกรรมจะมีลักษณะจีน
    จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะอีกครั้ง ทรงโปรดปรานการสร้างวัดที่มีลวดลายและศิลปะแบบจีนมาก ที่เด่นชัด ก็คือ ไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่จะเป็นปูนปั้น หน้าบันก็มีลวดลายตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบจากจีน วิทยาการการก่อสร้างก็พัฒนาขึ้นมาก มีเสาพาไลรับน้ำหนัก มักจะเป็นเสาเหลี่ยมขนาดใหญ่ ไม่มีบัวปลายเสา ผนังก็เจาะหน้าต่างได้เยอะ ก็จะมีลวดลายปูนปั้นเหนือหน้าต่างประตู ถ้าเห็นประมาณนี้ก็รู้เลยว่าเป็นสไตล์ "ราชนิยม"
    ภายในพระอุโบสถวัดนางชีเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พระประธาน รวมไปถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังชุมนุมเทวดา
    ด้านข้างพระอุโบสถมีวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ซึ่งมีความเก่าแก่และสวยงาม
    1. 🌼Wat Nakprok Bangkok
    Wat Nak Prok is a Thai Buddhist temple in Phasi Charoen District, Bangkok, Thailand. It can be considered as one of the most distinctive temples of the district in addition to nearby Wat Paknam Bhasicharoen. The temple also adjacent Wat Nang Chi to east.
    The temple was presumably built in the year 1748 during late Ayutthaya period. It is said that a wealthy Chinese merchant who lives in neighbouring Talat Phlu area named Phuk was the contributor of the temple's building.
    2. 🌼 Wat Nang Chi Chotikaram Wat Nang Chi (วัดนางชี) or "Wat Nang Chee Chotikaram and Wat Nang Chi Chotikaram", is a monastery in Krung Thep Maha Nakhon
    It is a temple built during the middle Ayutthaya period. There have been ongoing renovations. But what is clearly seen is During the reign of King Rama I by Chinese merchants who came to trade and live on the land of Siam (Thailand), the artistic style would have Chinese characteristics.
    Until the reign of King Rama III, it was restored again. His Majesty was very fond of building temples with Chinese patterns and art. The obvious thing was that there were no chorfa, raka leaves, and swan tails, but rather stucco. The gable also has a pattern decorated with glazed tiles from China. Construction science has developed a lot. There is a palisade pole to support the weight. Usually a large square pillar. There is no cornice at the end of the pillar. Walls can penetrate a lot of windows. There will be stucco patterns above the windows and doors.

КОМЕНТАРІ • 2

  • @Somjaiนกชวนชิม
    @Somjaiนกชวนชิม 15 днів тому

    สาธุค่ะ🙏

    • @sayhithailand360
      @sayhithailand360  15 днів тому

      ขอบคุณ มากๆเลยนะครับ ขอให้แข็งแรง สมหวัง และร่ำรวย นะครับ