พายุสุริยะ | Eureka ท่องโลกวิทยาการ
Вставка
- Опубліковано 5 лют 2025
- คำว่า “#พายุสุริยะ (Solar Storm)" เป็นคำง่าย ๆ ที่สื่อสารมวลชนและคนทั่วไปใช้เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อโลกและมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ ศัพท์วิชาการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดบนดวงอาทิตย์ว่า กัมมันตภาพสุริยะ (Solar Activity) และเรียกสภาพอวกาศรอบโลกที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุสุริยะว่า Space Weather อย่างไรก็ดี หากนักวิทยาศาสตร์ต้องการระบุถึง สาเหตุ ของพายุสุริยะให้ชัดเจนก็จะใช้คำ 4 คำ ดังต่อไปนี้
1.#ลมสุริยะ (Solar Wind) : อนุภาคที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ มีความเร็วในช่วง 300-800 กิโลเมตรต่อวินาที
2.#การลุกจ้าของดวงอาทิตย์ (Solar Flare) : การระเบิดบนดวงอาทิตย์ซึ่งปล่อยพลังงานในรูปของแสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างรุนแรง
3.#การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) : ก้อนพลาสมาขนาดมหึมาและมีสนามแม่เหล็กที่แปรปรวนซึ่งดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมา เรียกย่อว่า CME
4.#อนุภาคสุริยะพลังงานสูง (Solar Energetic Particle) : อนุภาคซึ่งมีพลังงานในช่วง 1 หมื่น ถึง 1 หมื่นล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการลุกจ้า หรือการพ่นมวลโคโรนา เรียกย่อว่า SEP
วันนี้ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ จะมาเล่ารายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับคำศัพท์วิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุสุริยะ ในรายการ #Eurekaท่องโลกวิทยาการ
👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ / thaipbspodcast
👉 ติดตามทุกความเคลื่อนไหว อัปเดตและฟังก่อนใครได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงที่
เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน, โซเชียลมีเดีย และพอดคาสต์ช่องทางอื่น ๆ ของ Thai PBS Podcast
#ThaiPBSPodcast #ThaiPBS
เป็นรายการที่ทรงคุณค่าครับ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ :-)
บัญชา
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ เห็นภาพและเข้าใจง่ายค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ 😀
บัญชา
คล้ายๆการเต้นของงหัวใจเลย
สวยงามมากคับ น่าไปดูของจริงนะคับ
ครับ