Ep 973 โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สาเหตุหลักจากเชื้อไวรัส

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 26 жов 2024
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง ทั่วไปมักจากเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทั่วไป อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว/ ปวดศีรษะ ซึ่งมักปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง กระสับกระส่าย
    เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) เป็นเนื้อเยื่อบางๆแต่แข็งแรง เป็นเนื้อเยื่อที่หุ้มสมองทุกส่วน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสมอง ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อนี้ จะทำให้เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า ‘โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)’
    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ จากเชื้อไวรัส, และที่รองลงไปคือ เชื้อแบคทีเรีย, ที่พบได้บ้างคือ จากเชื้อรา, และจากสัตว์เซลล์เดียว (โปรโตซัว/ Protozoa)และพยาธิ , แต่บางครั้งแพทย์อาจตรวจไม่พบเชื้อได้
    เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจเกิดจากภาวะที่ไม่ติดเชื้อได้ เช่น
    ในกรณีโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มสมอง
    ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มอิมมิวโนโกลบูลิน(Immunoglobulin)
    จากโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี(SLE)/ โรคลูปัส-โรคเอสแอลอี, โรคหลอดเลือดอักเสบ
    โรคจากร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นกับหลายๆอวัยวะโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่พบว่ามีการติดเชื้อ เช่น โรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis)
    สาเหตุให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
    ก. เชื้อไวรัส: ที่เป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้ เช่น
    เชื้อเอนเทโรไวรัส (Enterovirus) ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และไข้หวัดทั่วไป
    เชื้อวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
    เชื้อไวรัสคางทูม (Mumps virus) ที่ทำให้เกิดโรคคางทูม
    ข. เชื้อแบคทีเรีย: ที่เป็นสาเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้ เช่น
    เชื้อนัยซ์ซีเรีย เมนิงไจติดิส (Neisseria meningitidis)
    เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
    เชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira) ที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู
    ค. เชื้อรา: ที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักเกิดในผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ/ ต่ำ เช่น ในผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้กินยา/ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งเชื้อราก่อโรคบ่อยมากในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ เชื้อ Cryptococcal neoformans
    ง. การติดเชื้อพยาธิต่างๆหรือสัตว์เซลล์เดียว: เป็นโรคพบได้น้อย เชื้อที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เช่น พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิหอยโข่ง, โรคติดเชื้อพยาธิตืดหมู (Cysticercosis), พยาธิใบไม้เลือด
    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแสโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุบ่อยที่สุด, นอกจากนั้นที่พบน้อยกว่ามากคือ จากเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบติดเชื้อ แล้วเชื้อลุกลามเข้าเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วยเช่น จากมีการอักเสบติดเชื้อในหู, หรือในโพรงไซนัสต่างๆ, และจากการที่เยื่อหุ้มสมองได้รับเชื้อโดยตรงเช่น จากอุบัติเหตุทางสมองก่อบาดแผลและการติดเชื้อโดยตรงต่อเยื่อหุ้มสมอง
    *โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยทาง
    การหายใจ ไอ จาม อุจจาระ ปัสสาวะ และ ตุ่มแผลที่มีเชื้อโรคเจือปน
    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น
    เด็ก โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 5 ปีลงมา / ผู้สูงอายุ โดย เฉพาะอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
    ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคเอดส์
    กินยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ / การอยู่กันอย่างแออัด เช่น ในชุมชนแออัด ผู้ติดสุรา เพราะจะทำให้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
    ผู้ป่วยผ่าตัดม้าม เช่น ในการรักษาโรคธาลัสซีเมีย เพราะม้าม: สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
    ผู้ป่วยผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เช่น ในผู้ป่วยทางเดินน้ำไขสันหลังอุดตันจากมะเร็ง จึงผ่าตัดระบายน้ำไขสันหลังเข้าสู่ช่องท้อง เชื้อโรคจากช่องท้องจึงเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองเข้าสู่สมองจากทางระบายนี้ได้ง่าย
    ผู้ป่วยโรคหูติดเชื้อ หรือ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
    คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
    ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อย่างไร?
    การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่สำคัญที่สุดคือ *การป้องกันการติดเชื้อซึ่งคือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) นอกจากนั้น คือ
    หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย - รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
    ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
    กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ และออกกำลังกายทุกวัน เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง
    รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ได้ดี ปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ ที่มีวัคซีนเมื่ออยู่ในถิ่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด, วัคซีนโรคคางทูม ,และวัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น
    สำหรับอาหารที่ช่วยบำบัดลมชักจะเป็นอาหารที่มีไขมันสูง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือที่เรียกว่า Ketogenic Diet สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะโดยปกติร่างการของเราจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก แต่เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำร่างกายจึงต้องหันไปใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักแทน หลังเผาผลาญไขมันมาใช้เรียบร้อยจะเกิดสารคีโตนขึ้น ทำให้สามารถตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ เลือด และลมหายใจได้ สารคีโตนนี้สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อสมอง เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่สมองต่อไป แม้กลไกลการออกฤทธิ์ต่อการป้องกันการชักจะยังไม่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพลังงานที่ได้จากสารคีโตนนี้ช่วยปรับสมดุลพลังงาน เซลล์เกิดการยับยั้ง และควบคุมสมดุลกระแสไฟฟ้าในสมอง เป็นผลให้สามารถลดความถี่ของการชักได้
    ฯลฯ

КОМЕНТАРІ •