5 เรื่องที่ต้องทำเมื่อปิดบัญชี

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 7 лип 2024
  • ปิดบัญชีประจำปี คืออะไร เจ้าของต้องทำอะไรต่อ นักบัญชีต้องทำอะไรบ้าง คลิปนี้จะมาสรุปทุกอย่างให้ฟังครับ
    สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน โดยปกติแล้วจะมีนักบัญชีที่มีหน้าที่ช่วยทำบัญชี และยื่นภาษีให้ใช่ไหมครับ และหน้าที่หนึ่งของนักบัญชีที่ถือว่าเป็นงานสำคัญที่สุดของทุกปี คือการปิดบัญชีประจำปีเพื่อยื่นงบการเงิน และนำส่งภาษีตามเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ครับ
    ซึ่งบริษัทที่มีรอบบัญชีวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของทุกปี ก็มักจะต้องยื่น #งบการเงิน ประจำปีและนำส่ง #ภาษี เงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมแบบนี้นี่แหละครับ
    แต่บอกเลยครับว่า หลายครั้งหลายคราว เจ้าของเองก็ไม่ได้เช็คให้ดี หรือบางทีนักบัญชีมือใหม่ก็อาจจะทำผิดพลาดไปได้เหมือนกัน วันนี้พรี่หนอมเลยจะมาสรุป 5 เรื่องที่ต้องเช็คให้ชัวร์ หลังจากปิดบัญชีประจำกันครับ ว่ามีอะไรบ้าง?
    1. จัดการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น (เฉพาะบริษัทจำกัด)
    โดยตามกฎหมายแพ่งมาตรา 1171 / 1175 และ 1197 กำหนดไว้ครับว่า ในทุกปีบริษัทต้องมีการจัดประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น และจะต้องมีการประกาศลงหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งการประชุมประจำปีที่ว่านี้ ก็มันจะเป็นการประชุมที่อนุมัติงบการเงินไปด้วยเลย โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าให้มีการจัดทำงบการเงินที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี และให้ที่ประชุมอนุมัติใหญ่ภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ลงในงบการเงินครับ
    2. ยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เฉพาะบริษัท)
    พอประชุมเรียบร้อย อนุมัติงบการเงินเรียบร้อยยังไม่จบครับ ตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1139 วรรคสองกำหนดไว้อีกว่า บริษัทจำกัดต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ไปยังนายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้งภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมสามัญ
    3. ยื่นงบการเงินประจำปี
    หลังจากประชุมแล้ว ยื่น บอจ. 5 ภายใน 14 วันเรียบร้อย เราต้องยื่นงบการเงินพร้อมรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายงานผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว หมายเหตุประกอบงบการเงินอื่นๆ พวกนี้จะต้องยื่นให้เรียบร้อยครับ
    โดยการยื่นผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะยื่นผ่านระบบที่ชื่อว่า DBD e-filing ครับ เมื่อเข้าไปที่ระบบเนี่ยก็จะต้องกรอกข้อมูลงบการเงิน รวมถึง แนบเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยครับ ไม่ว่าจะเป็น รายงานผู้สอบบัญชี และ หมายเหตุประกอบงบการเงิน
    ส่วนกรณีของห้างหุ้นส่วนขนาดเล็กที่เซ็นโดยผู้สอบบัญชี TA ใช้หน้ารายงานอีกแบบ อันนี้จะไม่ต้องยื่นหน้ารายงานครับ จะใช้ยื่นตอนนำส่งกับทางกรมสรรพากรอีกทีหนึ่งครับ
    4. ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด 50)
    สุดท้ายตัวที่สำคัญสุดๆ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องยื่นแบบที่ชื่อว่า ภ.ง.ด. 50 ตามที่กฎหมายกำหนดและกรณีที่มีภาษีที่ต้่องจ่ายก็ต้องจ่ายภายในเวลาที่กำหนดด้วยนะครับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากปิดบัญชี (ไม่ใช่ 5เดือนนะครับ) มักจะอยู่ที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปี ถ้าปีไหนเดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วันก็จะต้องยื่นภายใน 29 พฤษภาคมครับ แต่ถ้ายื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตได้รับขยายเวลาไปต่ออีก 8 วัน เป็น 7 มิถุนายนครับ
    โดยในส่วนของห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก อย่าลืมยื่นรายงานตรวจสอบและรับรองบัญชีในระบบของกรมสรรพากรด้วยนะครับ อันนี้สำคัญมาก ๆ เลยครับ
    5. รวบรวมเอกสารทั้งหมด เช็คให้ครบ
    ข้อสุดท้ายสำหรับการจัดการทั้งหมด คือ เอกสารครับ เวลาบัญชีบอกว่ายื่นแล้ว ทุกอย่างให้เราขอหลักฐานมาทั้งหมดครับ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารตั้งแต่ข้อ 1-4 รายละเอียดเอามาให้ิครบ และอย่าลืมขอพวกสมุดบัญชี การบันทึกรายการต่างๆ ที่เขาทำมาให้ด้วยครับ ซึ่งตรงนี้บัญชีควรจะมีให้เราหลังจากที่รายการทุกอย่างเสร็จครับ
    อีกอย่างหนึ่งที่อยากแนะนำไว้ คือ Username และ Password ระบบ DBD- Efling และ e-filing ของกรมสรรพากรครับ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง และเราสามารถไปตรวจสอบรายการเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองครับ
    สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ นี่คือขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ของธุรกิจนะครับ ไม่ว่านักบัญชีและเจ้าของธุรกิจก็ควรต้องใส่ใจครับ เพราะนี่คือข้อมูลของธุรกิจที่เราต้องนำไปใช้งานต่อ สำหรับเจ้า่ของธุรกิจพอได้ทุกอย่างมาแล้ว ก็ให้ลองตรวจสอบตัวเลข ดูข้อมูลต่างๆด้วยนะครับ เพราะถ้าข้อมูลตรงนี้ไม่ถูกต้องก็อาจจะมีผลหลายๆอย่างตามมาด้วยครับ และถ้ายื่นไม่ครบย่อมจะเจอค่าปรับต่างๆ ได้เช่นกันครับ
    ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่คลิปนี้ครับ
    0:00 Intro
    0:36 ปิดบัญชีคืออะไร ใครมีหน้าที่ปิด
    1:45 การจัดประชุมผู้ถือหุ้น
    4:53 การยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
    7:16 2 ข้อแรกเป็นหน้าที่แค่บริษัท ห้างหุ้นส่วนไม่ต้อง
    7:42 นำส่งงบการเงินประจำปี
    11:39 การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50)
    13:45 ห้างหุ้นส่วนต้องยื่นหน้ารายงานที่กรมสรรพากร
    14.36 ขอเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
    #สร้างเสริมประสบการณ์ภาษี รายการใหม่ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ดันมาเกี่ยวข้องกับภาษีได้อย่างไร ? ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
    รายการนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าเราสามารถเรียนรู้เรื่องภาษีได้จากทุกเรื่องรอบตัว และภาษีไม่ใช่เรื่องน่ากลัวที่เราจะทำความรู้จักกับมันครับ

КОМЕНТАРІ • 11

  • @juulinkong8563
    @juulinkong8563 2 роки тому +1

    ขอบคุณมากเลยค่ะ มองภาพออกขึ้นเยอะเลย เนื้อหาฟังเข้าใจง่ายค่ะ

  • @user-dr5kn8rc5e
    @user-dr5kn8rc5e 2 роки тому +1

    สิ่งที่ควรมีในการศึกษา แต่มหาลัยไม่ได้สอน ต้องมาเรียนรุ้เองข้างนอกจากพี่ๆ .. ขอบคุนครับ

  • @user-lj5ct4hr3j
    @user-lj5ct4hr3j Рік тому

    สอบถามด้วยค่ะ ถ้าหากว่ารอบบัญชีของบริษัท เป็น 30 พฤศจิกายน 2565 ต้องยื่นงบการเงินประจำปี วันที่ 31 มีนาคม 2566

  • @pookkie7970
    @pookkie7970 Рік тому

    สวัสดีค่ะ มีคลิปเกี่ยวกับ รายละเอียด บอจ.5 มั้ยคะ 😊

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  Рік тому

      ประเด็นไหนนะครับ

    • @siridechsupunyapanich8735
      @siridechsupunyapanich8735 Рік тому

      @@TAXBugnomsChannel ถ้ายื่น บอจ 5 ล่าช้าเกิน 14 วัน เข้าจะว่าจะมีค่าปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท อันนี้สามารถชำระได้ที่ไหนครับ สามารถทำออนไลน์ใน DBD e-fillingได้เลยมั้ยครับ

  • @user-bi6hr9se8h
    @user-bi6hr9se8h Рік тому

    หลังจากประชุมแล้วเราสามารถยื่น บอจ5 เลยได้ไหม แล้วยื่นงบการเงินเลยได้ไหมครับ เพราะงบเสร็จเร็วครับ

  • @bodyocdrum2
    @bodyocdrum2 11 місяців тому

    ขอรบกวนหน่อยครับ ทุนจดทะเบียน 5 ล้าน ชำระแล้ว 25% = 1.25 ล้านบาท
    ตอนปิดงบบัญชีท้ายปี สมมติว่ามีเงินสดในบัญชีบริษัทไม่ถึง 1.25 ล้านบาท ส่วนต่างที่ไม่ถึง จะถูกบันทึกเป็นลูกหนี้กรรมการไหมครับ

    • @TAXBugnomsChannel
      @TAXBugnomsChannel  11 місяців тому

      ไม่น่าใช่ครับ เพราะเงินสดที่ได้มาตอนแรก อาจจะถูกใช้ไปเช่น ซื้อของ ลงทุน จ่ายเงินเดือน ดังนั้นถ้ามีการดำเนินธุรกิจเงินสดก็ไม่น่าเหลือ 1.25 ล้านเป๊ะๆหรอกครับ