8.1 (มือใหม่) สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ โดย พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 21 сер 2024
  • ตัดทอนมาจาก • ดูคลิปแก้ไขที่ https:/... ขอขอบคุณคลิปต้นฉบับ
    กราบระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระสงฆ์
    กราบขอบคุณครูอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้เพื่อการนำมาเผยแผ่
    ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและเผยแผ่ ภาพ/เสียง/วีดีโอ ฯลฯ เหล่านี้ไว้ในวาระต่างๆ
    และขออนุญาตนำมาสืบทอดเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานสืบต่อกันไป
    ดูคลิปอื่นๆ ใน Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ที่ / @satipunya
    ผู้ที่ไม่เคยฝึกกรรมฐาน หรือสนใจเรียนรู้เรื่องกรรมฐานและการเจริญสติแบบเข้าใจง่าย!! ดูที่ • [คลิกตรงนี้] ส่วนที่ 2...
    -----------------------------------------------
    ***Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ไม่มีการรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น
    และไม่มีการรับรายได้ใดๆ ทั้งสิ้น จาก UA-cam
    โฆษณาต่างๆ ที่มาปรากฏในคลิปของช่องนี้ เป็นการจัดการของ UA-cam เอง
    ไม่ใช่การจัดการของผู้จัดทำช่องนี้ และไม่มีการนำรายได้จากโฆษณาเข้าสู่ช่องนี้***

КОМЕНТАРІ • 25

  • @satipunya
    @satipunya  2 роки тому +3

    สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจวิธีในการฝึกฝนเจริญสติ ขอแนะนำให้ดูคลิปใน [ส่วนที่ 1]
    ua-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
    จะรวบรวมประเด็นที่ผู้ฝึกฝนควรรู้ โดยไล่ดูตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็จะช่วยลำดับความเข้าใจให้ได้มากขึ้น
    หลวงพ่อเทียนใช้คำว่า "เห็นความคิด ดูความคิด หรือ เห็นจิต ดูจิต"
    ไม่ได้หมายถึง ให้เราเอาจิตใจไปเฝ้าจ้องว่า เมื่อไหร่จะเกิดความคิด
    เมื่อไหร่ใจจะเผลอคิด เผลอไปในอารมณ์ต่างๆ
    หรือ เมื่อเผลอคิดไปแล้ว ก็ไปตามดูความคิด ว่ามันคิดอะไร ไปหาสาเหตุ
    ไปหานิยาม ไปหาทางแก้ หรือหลงไปปรุงแต่งเป็นความรู้สึก/อารมณ์ต่างๆ
    เช่น ไปหงุดหงิด ไปยินดียินร้ายกับมัน ฯลฯ
    ..ไม่ใช่แบบนั้น!!
    แต่หลวงพ่อเทียนต้องการสื่อถึง "การเห็นความคิด หรือดูความคิด"
    โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด ไม่หลงไปตามความคิดหรืออารมณ์ ไม่ไปปรุงแต่งต่อเติม ฯลฯ
    เปรียบเหมือนเราเป็นคนดูมัน เห็นมันห่างๆ จากข้างนอก
    โดยเราไม่ได้เข้าไปคลุกวงในกับมัน ไม่เข้าไปพัวพันกับมัน
    วิธีฝึกฝน ก็เป็นวิธีฝึกเจริญสติ หรือฝึก "ความรู้สึกตัว" ที่ "มือใหม่" ได้ถูกย้ำเตือนบ่อยๆ
    คือ ฝึกให้มี "ความรู้สึกตัว" กับการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถ
    และ/หรือ ให้เจตนาสร้างการเคลื่อนไหวร่างกาย (สร้างจังหวะ)
    แล้วรู้สึกเบาๆ สบายๆ กับกายที่เคลื่อนไหว
    หรือจะเรียกว่า ให้จิตใจตั้งอยู่กับ "ความรู้สึกตัว" หรือการระลึกรู้ในอาการต่างๆ ของร่างกาย
    (เช่น กายมีการเคลื่อนไหว มีการหยุดนิ่ง มีการตึง/หย่อน มีการกระทบสัมผัสต่างๆ เป็นต้น)
    ...ไม่ใช่เอาจิตใจไปเฝ้าจ้องเพื่อจะเห็นหรือตามดูความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    เมื่อ "รู้สึกตัว" ไปสักพัก จิตใจมันจะเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของมัน
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ กว่าจะรู้ตัว รู้ทัน หรือระลึกได้ว่า ตัวเองกำลังเผลอคิดอยู่
    ก็อาจจะเผลอคิดไปแล้วนานหลายนาที
    แต่เมื่อฝึกฝนมากๆ เข้า สติแข็งแรงขึ้น
    เราจะรู้ทัน "การเผลอคิด" ได้ไวขึ้น และบ่อยขึ้นเอง
    เมื่อฝึกจนชำนาญมากๆ อีกหน่อยพอเผลอคิดปุ๊บ เราก็รู้ทันปั๊บ!!
    เมื่อ "รู้ทัน-รู้ตัว-ระลึกขึ้นมาได้ว่าตัวเองกำลังเผลอคิด กำลังเผลอไปกับอารมณ์ต่างๆ"
    แล้วควรทำอย่างไรต่อไป?
    ก็ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!!
    .. เมื่อใดที่รู้ตัวว่าเผลอคิดปุ๊บ ก็ให้ทิ้งความคิดไปทันที
    ไม่คิดต่อ ไม่ปรุงแต่งต่อเติม ไม่ไหลไปตามความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    ไม่ต้องไปหาความหมาย ไม่ต้องไปหาสาเหตุใดๆ ทั้งสิ้น
    ..ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!! ..แล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    คือการพาใจกลับมาตั้งไว้กับความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดิม!!
    เดี๋ยวสักพัก ใจก็อาจจะเผลอคิดไปอีก
    พอเรารู้ทันว่าใจมันเผลอไปอีก ก็ทิ้งความคิดทันทีแล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ทำแบบนี้วนๆ ไปเช่นเดิม
    ฝีกแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อสติตั้งมั่น แข็งแรง ว่องไวมากขึ้น
    ก็จะพัฒนาไปสู่ "การเห็นความคิด โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด"
    และจะพาไปสู่การปล่อยวางความคิด/อารมณ์ ได้มากขึ้น
    หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกายและใจ ไม่ว่าจะ "เรื่องทุกข์หรือสุข"
    เราก็จะรับรู้สิ่งเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นปกติ เป็นกลางๆ
    ใจไม่ไหลจมดิ่งไปกับความทุกข์ และไม่หลงลอยไปกับความสุข
    คลายความยึดมั่นในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น
    การปรุงแต่งฟุ้งซ่านจะน้อยลงเรื่อยๆ
    และทำให้ใจยอมรับในสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น
    มีสติปัญญารับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันจะเป็นไปเองตามกลไกธรรมชาติ
    ขอเพียงแค่เพียรฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากพอ
    เราสามารถหาโอกาสฝึกการเจริญสติ หรือ ฝึก "ความรู้สึกตัว"
    ให้ผสมผสานกับชีวิตประจำวัน ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
    คำแนะนำเพิ่มเติม
    - แนะนำการเจริญสติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ua-cam.com/video/GWwIGxicOMA/v-deo.html
    - หลวงพ่อเทียนสอบอารมณ์ ua-cam.com/video/477997jEPdg/v-deo.html
    - วิธีเจริญสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ua-cam.com/video/qoK88FDoO_E/v-deo.html
    - หลักการง่ายๆ ภายใน 1 นาที.."กลับมารู้สึกตัว" ua-cam.com/video/df0Nls10qX0/v-deo.html
    - ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม ua-cam.com/video/0F9Uc8gt1gU/v-deo.html
    - เห็นความคิด-อารมณ์ โดยไม่หลงเข้าไป "อิน" จะทำได้อย่างไร? ua-cam.com/video/NwSKqJFaE6U/v-deo.html
    - ไฮไลท์ คือ เมื่อหลงไป แล้วกลับมาได้ ua-cam.com/video/oGLkbmKypBg/v-deo.html
    - เจริญสติไม่ยาก แต่ที่ว่ายาก เพราะอยากได้ดั่งใจ ua-cam.com/video/ocG1E6O-zGo/v-deo.html
    - สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ ua-cam.com/video/lVAhyfIoeGg/v-deo.html
    - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ ua-cam.com/video/yUyob1-DKlk/v-deo.html

    • @satipunya
      @satipunya  2 роки тому

      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      1. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      2. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] ua-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      ไม่เกินคลิปหมายเลข 7.8 หรือใกล้เคียงกันนั้น
      ก็จะเป็นการปูพื้นฐานจนเกือบครบถ้วนแล้ว
      ส่วนคลิปหลังจากนั้น ก็เป็นการขยายความบ้าง
      เป็นส่วนเสริมบ้าง หรือเป็นการตอกย้ำบ้าง
      เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า "มือใหม่"
      จะต้องดูคลิปใน [ส่วนที่ 1] จนหมดให้ครบถึงคลิปสุดท้าย
      แล้วจึงค่อยลงมือเริ่มฝึกฝน ไม่ใช่แบบนั้น!!
      คือ ดูไปเรื่อยๆ สัก 2-3 คลิป จนเริ่มรู้หลักการคร่าวๆ
      รู้วิธีฝึกคร่าวๆ แล้วก็เริ่มเอาวิธีการไปลงมือฝึกได้เลย
      แล้วพอว่างๆ ก็ค่อยๆ มาดูคลิปเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
      เมื่อพอจะเริ่มเข้าใจวิธีฝึก ก็ให้ลงมือฝึกฝนบ่อยๆ
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      3. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      ua-cam.com/play/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8.html
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

    • @khemmakimbo6177
      @khemmakimbo6177 2 роки тому

      สาธุครับ กราบนมัสการพระคุณท่าน

  • @comsee101
    @comsee101 22 дні тому

    สิรสา พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ
    สรณํ คจฺฉามิฯ

  • @supawadeesirimuang1711
    @supawadeesirimuang1711 11 місяців тому +1

    ❤กราบนมัสการพระอาจารย์ด้วยความเคารพค่ะ

  • @thassapornseanparn4539
    @thassapornseanparn4539 2 роки тому +3

    เป็นการสอนธรรมที่แจกแจง เปรียบเทียบได้แสนพิเศษสุดค่ะ สาธุ 🙏🙏🙏

  • @user-tv4th2qy2m
    @user-tv4th2qy2m 8 місяців тому

    จิตต้องทำงาน คือการคิด ตาต้องเห็นรูป ร่างกายต้องเคลื่อนไหวสัมผัส เป็นธรรมชาติของเค้า เพียงรู้จักการใช้งานให้ เป็น ให้ไปในทางถูกต้องเป็นประโยชน์ คิดกับรู้คือส่วนเดียวกันใช่มั้ยครับ ต่างกันเพียงภาษา เหมือนก้อนหินต้องประกอบด้วยความแข็ง ความมีน้ำหนัก เป็นส่วนเดียวกัน ถูกต้องมั้ยครับแบบนี้ต่างที่คุณสมบัติของหินที่จะไปใช้งานแบบใดให้เป็มนประโยชน์

    • @satipunya
      @satipunya  8 місяців тому +1

      คำถามนี้สามารถตอบได้หลายแบบและเกี่ยวข้องกับหลายประเด็นค่ะ
      แต่ขอให้ข้อมูลเท่าที่ได้รับรู้มาจากครูอาจารย์ต่างๆ นะคะ
      1. ธรรมชาติของ "จิต" จะทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ
      1.1 "รับรู้" หรือ จะเรียกว่า "รู้" หรือ "รู้สึก" ก็ได้ (ใช้คำเรียกได้หลายคำ)
      หมายความว่า เวลาเกิดอะไรขึ้นกับกาย/ใจ เช่น ร่างกายมีการเคลื่อนไหว มีการกระทบสัมผัสต่างๆ
      หรือจิตใจมีอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ที่ผุดขึ้นมา
      จิตใจก็จะทำหน้าที่ "รับรู้" ว่ามีสิ่งใดกำลังเกิดขึ้นกับกาย/ใจ ในขณะนี้
      1.2 นอกจากหน้าที่ในข้อ 1.1 แล้ว จิตใจก็ยังทำหน้าที่ "คิด" ด้วย
      บางทีเรานั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร จิตใจก็จะผุดคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ขึ้นมาเอง นี่เป็นธรรมชาติของจิตใจ
      หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกาย/ใจ จิตใจก็จะไม่ทำหน้าที่แค่ "รับรู้" เฉยๆ
      แต่จิตใจก็จะคิดปรุงแต่งต่อเติมไปเป็นความคิดต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ความรู้สึกต่างๆ
      เช่น สมมตินั่งอยู่เฉยๆ แล้วได้กลิ่นอะไรลอยมา
      จิตใจจะไม่ได้รับรู้เฉยๆ ว่า มีกลิ่นบางอย่างลอยมาแตะจมูก
      แต่ใจจะคิดปรุงแต่งต่อเติมอย่างว่องไวว่า มันเป็นกลิ่นไข่เจียวนี่นา!!
      ใจก็นึกอยากกินไข่เจียวขึ้นมาทันที นึกถึงไข่เจียวแสนอร่อยที่แม่เคยทำให้ตอนเด็กๆ
      แล้วก็อาจจะเผลอคิดไปถึงแม่ที่เสียชีวิตไปนานแล้ว ...และอื่นๆ เป็นต้น
      ....นี่คือตัวอย่างว่า จิตใจไม่ได้ทำหน้าที่แค่ "รับรู้" เฉยๆ ว่าอะไรมากระทบกายหรือใจ
      แต่จิตใจมันว่องไวมาก เผลอแว๊บเดียว ก็คิดปรุงแต่งต่อเติมไปถึงไข่เจียว
      ไปถึงชีวิตตอนเด็กๆ ไปถึงแม่ที่ตายจากไป เป็นต้น
      เพราะฉะนั้น จะเรียกได้ว่า จิตใจทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ "คิด" กับ "รับรู้"
      แต่ "การคิด" กับ "การรับรู้" มันมีความแตกต่างกันในรายละเอียด
      -------------------------------------
      2. ถ้าจะโฟกัสเฉพาะคำว่า "ความคิด"
      ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน "ความคิด" คือ คำที่ใช้เรียกย่อๆ
      แต่สื่อความหมายถึง สิ่งที่ต่างๆ ที่ผุดขึ้นในใจ ไม่ว่าจะความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
      และในแนวทางของหลวงพ่อเทียน "ความคิด" ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
      คือ
      2.1ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด
      เป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ที่เราไม่ได้ตั้งใจกำหนดให้มันเกิดขึ้น
      แต่มันเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของจิตใจ
      หรือพอมีอะไรมากระทบกาย/ใจ มันก็มีความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ผุดขึ้นตามมา
      2.2 ความคิดที่ตั้งใจคิด
      เป็นความคิดที่เราสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น
      การวางแผนการทำงาน/การเรียน/การใช้ชีวิตในด้านต่างๆ
      เราก็ต้องมีการใช้ความคิดที่ตั้งใจคิด เพื่อพิจารณา วิเคราะห์ แยกแยะเรื่องราวต่างๆ
      ต้องมีการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ หรือเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เป็นต้น
      ความคิดที่ตั้งใจคิด จึงเป็นการคิดที่มีเป้าหมาย มีประโยชน์ จำเป็นต้องใช้ในทุกชีวิต
      รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง "ความคิด" ที่แยกเป็น 2 ประเภท
      สามารถฟังได้จากหลายคลิปในช่อง "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      เพราะเป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ฝึกฝนควรจะรู้
      หรือจะลองฟังจากคลิปนี้ก็ได้ค่ะ
      - เรื่องของ "ความคิด" ...(เห็น..แต่ไม่เข้าไปเป็น) โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม ua-cam.com/video/98_FI0vvNi4/v-deo.html
      หรือ
      - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ (ความคิดมี 2 แบบ ตั้งใจคิดกับเผลอคิด) โดย พระครรชิต อกิญจโน
      ua-cam.com/video/yUyob1-DKlk/v-deo.html
      ขอให้ข้อมูลสั้นๆ เท่านี้ก่อนนะคะ อย่างไรแล้ว ลองฟังคลิปซ้ำอีกที หากยังไม่เข้าใจ
      หรือลองดูคลิปที่แนะนำให้ แล้วค่อยๆ ทำความเข้าใจ ค่อยๆ ลองฝึกฝนดูค่ะ
      หากยังมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ เราก็จะพยายามหาคำแนะนำจากครูอาจารย์มาให้เท่าที่จะทำได้ค่ะ

    • @user-tv4th2qy2m
      @user-tv4th2qy2m 8 місяців тому

      ขอบคุณมากๆ สำหรับคำตอบที่ดูแล้วมีความตั้งใจมีจิตใจที่มีความเอื้ออารีสุง ขอให้ผู้ตอบคำถามเข้าถึงสถาวะธรรมการหลุดพ้นสู่ความสันติสุขในธรรมนะครับ

  • @user-tq8dk9vp8q
    @user-tq8dk9vp8q 2 роки тому +1

    ฟัง..ปฏิบัติ...สลับกัน..ข้อเสียของฉันคือต้องกำจัดความง่วงให้ได้..สาธุ..ขอบคุณท่านผู้จัดและทีมงาน

    • @satipunya
      @satipunya  Рік тому +1

      ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านค่ะ

  • @user-um4rs6mm9b
    @user-um4rs6mm9b 2 роки тому +1

    นมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ รู้สึกถูกจริตท่านสอนแบบนี้เจ้าค่ะ

  • @jilawanthammachat516
    @jilawanthammachat516 2 роки тому

    กราบนมัสการกระคุณเจ้า เจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิเจ้าค่ะ

  • @user-bp6ox1wf4p
    @user-bp6ox1wf4p 2 роки тому +1

    นมัสการพระอาจารย์ค่ะ สาธุ

  • @user-yp4pu8of8d
    @user-yp4pu8of8d 11 місяців тому

    น้อมกราบนมัสการสาธุๆๆครับ

  • @pattrapornpiti5822
    @pattrapornpiti5822 10 місяців тому

    น้อมกราบสาธุค่ะ🙏🙏🙏

  • @bussabunchareewan5295
    @bussabunchareewan5295 2 роки тому +1

    สาธุอนุโมทามิ.คนชอบธรรมะ

  • @Ntkpde
    @Ntkpde Рік тому

    น้อมกราบสาธุพระคุณเจ้าครับ

  • @lukhanaboonsongsrikul2823
    @lukhanaboonsongsrikul2823 Рік тому +1

    ขอบคุณผู้จัดทำคลิปและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ สาธุ

    • @satipunya
      @satipunya  Рік тому

      ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านค่ะ

  • @user-te9op7hu4z
    @user-te9op7hu4z Рік тому

    สาธุๆครับ

  • @user-vw2rr5cg5p
    @user-vw2rr5cg5p 2 роки тому

    กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ

  • @Aura70923
    @Aura70923 2 роки тому

    สาธุๆๆ

  • @pilailuckpipitkul8185
    @pilailuckpipitkul8185 6 місяців тому

    วิธีการปฏิบัติ คือเดินตามเป้าหมายทีละก้าว เริ่มโดยเป็นผู้สังเกต ใช้กายเป็นเสาหลัก / เสาเขื่อนของกรรมฐานของจิตที่ดีที่สุด เพราะขณะที่รู้กาย ก็จะรู้จิตที่ "รู้เฉยๆ" เป็นกลับสู่สภาพเดิมคือ "ธาตุรู้" หากจิตออกจากกรรมฐานก็จะพบสภาพ "จิตปรุงแต่ง"..........
    "รู้เฉยๆ" หรือ "ปรุงแต่ง" เป็นอาการที่เปลี่ยนไป.>>แยกให้ได้ แล้วกลับมาที่ฐาน
    ความรู้สึก "รู้เฉยๆ" จะพบ "ความไม่ทุกข์" ฯ
    สาธุ สาธุ สาธุ กับผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ

  • @mobyphone3989
    @mobyphone3989 2 роки тому

    รู้อาการกาย/ใจ แบบซื่อๆ รู้แล้วจบไม่เข้าไปเป็น