ข่าว ประชุมวิชาการธรณีวิทยาระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 18 : GEOSEA 2024 (21/2/2567)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 20 лют 2024
  • เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออร์คิด จังหวัดขอนแก่น นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการธรณีวิทยาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 18 (Regional Geoscience Conference of SEA) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน จาก 16 ประเทศ มี 70 หัวข้อ ที่จะนำเสนอในวาระการประชุม และ 36 หัวข้อในโปสเตอร์ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และความต้องการของสังคม โดยเน้นถึงวิธีการที่การวิจัยด้านธรณีวิทยาสามารถช่วยชุมชนทั่วโลกได้
    นายกนก อินทรวิจิตร นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมวิทยาศาสตร์ธรณีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 18 : GEOSEA 2024 ที่จังหวัดขอนแก่น ในหัวข้อ “Geosciences for Society” จะเน้นถึงบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาโลกที่เราอาศัยอยู่ เป้าหมายของวิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยา คือการเข้าใจไม่เพียงโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสถานที่ของเราด้วย การศึกษา, การค้นคว้า, และการค้นพบของเรามีผลกระทบต่อสังคมมาก ตั้งแต่การคาดการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงการออกแบบวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จูราสสิค-ครีเทเชียส มีความหลากหลายอย่างกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
    นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า สมาคมธรณีแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมธรณีอาเซียน ประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและ พม่า ได้ร่วมกันจัดประชุมวิชาการเพื่อนำองค์ความรู้ทางธรณีมาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและสังคมได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของ ทั้ง 5 ประเทศสมาชิก โดยนักธรณีที่มีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่จะมานำเสนอถึงโอกาสที่เราจะใช้โครงสร้างทางธรณี ทั้งในเรื่องการเตือนภัยภัยพิบัติ การพบซากไดโนเสาร์ซึ่งมีความสมบูรณ์ในระดับต้นๆของโลกในประเทศไทย รวมทั้งการใช้โอกาสทางทรัพยากรแร่ในการพัฒนาประเทศเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและการส่งเสริมในการลงทุนในภูมิภาค เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่ต่างชาติให้ความสนใจที่มาดูในการผลิตรถ EV และในอีก 1 - 2 ปีข้างหน้า ไทยเราจะได้ช่วยสนับสนุนฐานข้อมูลเรื่องปริมาณและแร่สำรองในประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป
    “ขณะนี้ มีการพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่พบซากสมบูรณ์และมีหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่น ที่มีการพบถึง 10 สายพันธุ์ นับเป็นโอกาสที่ชาวขอนแก่นจะได้ช่วยกันในการต่อยอดส่งเสริมองค์ความรู้และด้านการท่องเที่ยวจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญได้อีกทางหนึ่งด้วย” นายพิชิต กล่าว

КОМЕНТАРІ •