เมืองยูโทเปีย ที่จะสร้างทับปารีส | noble Doc. EP5
Вставка
- Опубліковано 7 лют 2025
- ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าเราเอาหลักเหตุผล การปฏิเสธประวัติศาสตร์ และความทะเยอทะยานในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับมนุษย์มาสร้างเมือง จะออกมาหน้าตาเป็นยังไง?
Radiant City เมืองที่ออกแบบโดยสถาปนิกโมเดิร์นนิสต์รุ่นบุกเบิก ‘Le Corbusier’ ในปี 1924 หรือ 100 ปีที่แล้ว โดยตั้งใจจะสร้างทับเมืองใหญ่อย่างกรุงปารีส แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
.
เมืองนี้จะล้ำขนาดไหน? ตัวพ่อของสถาปนิกแนวโมเดิร์นนิสต์อย่าง #LeCorbusier จะมีแนวคิดในการสร้างเมืองยังไง? ติดตามได้ที่นี่ noble Doc. สาระความ (ไม่) รู้รอบตัว รอบบ้าน รอบโลก ที่อยากเล่า ถึงคุณไม่อยากรู้...
#nobleDoc #NobleDevelopment
เห็นแรกๆจะว้าวแต่อยู่นานๆเข้าในใจจะรู้สึกแห้งแล้ง แต่ก็เป็นแนวคิดที่ดีถ้าไม่มองข้ามด้านศิลป์ในจิตใจของผู้คนที่มาอยู่อาศัยไป .....ความคิดส่วนตัวผมว่าวางผังเมืองให้สมมาตร ทางน้ำผ่านทางลมผ่าน-ทางแสงเข้าพอดีๆ ระหว่างตึกไม่ห่างเกินไม่ชิดกันเกินไป ตึกคล้ายกันก็ได้แต่อย่าซ้ำกันเลย แค่นี้ก็เหลือๆ
มันทำให้ผมนึกถึง อพาร์ทเม้นท์สไตล์โซเวียต ที่มันซ้ำๆกัน และเหมือนดูมันถูกจำกัดขอบเขตเกินไป.
ทำจริงได้ครับ ที่ประเทศจีนมีการสร้างจริงแล้ว ส่วนตัวก็มองว่ามันก็มีข้อดี เช่น ประสิทธิภาพและความมีระเบียบ แต่ข้อเสียก็เช่นตึกมันซ้ำๆ กันมากเกินไป ทำให้ขาดศิลปะที่เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงหัวใจคนทำให้รู้สึกปลอดภัย ควรจะเติมศิลปะเข้าไปอีกหน่อย เพิ่มความเป็นชุมชน เช่น วัดหรือห้างหรือตลาด
จริงเป็นความคิดที่ดีมากเลย ไม่จำเป็นจะต้องไปทำลายของเก่าก็ได้ สร้างใหม่ไปเลยดีกว่าเพราะพอมันมีอดีตที่ซับซ้อนมันก็ทำให้เกิดความวุ่นวายได้ บางทียังไงถ้าได้ลองสร้างเมืองสมมติขึ้นมาสุดท้ายมนุษย์ก็ต้องปรับตัวระหว่างนั้นอาจจะเกิดสิ่งใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงสังคมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานได้เลย
ก็เป็นแรงบันดาลใจในบางแง่ให้ไปประยุกต์ได้ แต่ถ้าทำจริงคงชิบหายจริง ๆ เพราะหลายส่วนในการก่อสร้างตามจารีต แฝง ภูมิปัญญาการอยู่อาศัยในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้าไปด้วย และการตัดทอนมันออกไป นอกจากจะไม่ได้ประสิทธิภาพเพิ่ม แต่อาจแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะอาคารแบบจารีต มักออกแบบให้อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมพื้นที่นั้น ๆ การมองว่าฟุ้งเฟ้อทางเดียว อาจไม่จริงเสมอไป และแน่นอนว่า แม้จะนำมาประยุกต์ใช้แล้ว ปัจจุบันนี้ปัญหาการนำ โมเดิร์น ไปใช้โดยไม่คำนึงสภาพแวดล้อม ก็นำปัญหาขณะอยู่ศัยมาอยู่ดี ยกตัวอย่าง บ้านโมเดิร์นในไทย กับปัญหา รั่ว ซึม สีร่อน ผนังหรือหลังคา แตก ราว เป็นต้น
ถ้าเอาการออกแบบเมืองแบบนี้มาอยู่ใน ดิสโทเปีย มันก็คือ Hive City ใน wh 40k นั้นล่ะ
ถ้าเลอกอร์บูซิเยมาเห็นกรุงเพตอนนี้คงอกแตกตาย... คอนโดเต็มไปหมด อยู่แนวตั้งกันจริงๆ แต่พื้นที่สีเขียวก็ไม่ค่อยมี ถนนตรอกซอกซอยก็..... ทางเท้าคนก็.... 😂
หน้าตาบ้านเมืองไม่ได้ต่างไปจากโซเวียตยุคสงครามเย็นเลยครับ
ดีครับถ้าไม่สร้างที่ปารีส ฝรั่งเศสปารีสเป็นเมืองโตเดี่ยว แถมมีอาคารสวยๆเยอะ ถ้าแยกออกมาสร้างบริเวณประเทศที่คนอาศัยอยู่ไม่ได้หนาแน่นมาก และตั้งเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจจะดีมาก
ชอบค่ะออกแบบเมืองน่าอยู่มากค่ะ
นึกถึงตึก ใน judge dred
ถามว่าคิดว่าเมืองแบบนี้จะเวิร์คไหม ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเวิร์คนะ
แต่ถ้าถามว่าอยากอยู่ไหม ตอบได้เลยว่าไม่5555 มันรู้สึกไร้ชีวิตอย่างที่ในคลิปบอกเลย แล้วก็ให้ไวบ์ brutalist ของโซเวียตเลย แล้วพอเห็นอพาร์ทเม้นท์หน้าตาคล้าย ๆ กันหมดแบบนี้ก็นึกถึงที่สิงคโปร์ขึ้นมา
แต่สิ่งหนึ่งที่รู้สึกสงสัยมานาน และก็เคยเห็นหลายคนพูดแต่ส่วนตัวยังไม่เก็ต ก็คือ ทำไมก็ทำทางสำหรับรถและคนแยกกันไปเลยแบบแยกชั้นแบบนี้ถึงจะไม่เวิร์ค
มันทั้งลดอุบัติเหตุ คนจะเดินก็ไม่กังวลเรื่องรถ การจราจรก็ไหลลื่นไม่ต้องกังวลเรื่องคน แถมมลพิษทั้งทางอากาศและเสียงไปได้เยอะเลย
ทำให้นึกถึงตรงสี่แยกปทุมวันที่คนส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่บน skywalk แทบจะตลอดทาง รถก็อยู่ข้างล่างแยกไป รถไฟฟ้าก็อยู่อีกชั้นไปเลย ก็ไม่กังวลกันดี หรือที่ Las Vegas ตึกหลายตึกก็เชื่อมกันเป็น skywalk ขนาดใหญ่ แยกคนเดินเท้าจากการจราจรรถยนต์ที่มหาศาลข้างล่างออกไปคนละชั้นไปเลย
ในวิดีโอ The ACTUAL Solution to Traffic - A Response to CGP Grey ของ Adam Something ก็เคยพูดถึงประเด็นนี้ และผมก็เคยไปคอมเม้นท์ไว้และมีคนมาตอบ แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเก็ต ถ้าใครพอจะอธิบายได้ก็ขอรบกวนอธิบายให้ผมเข้าใจทีนะครับ
ดูเศร้าและแห้งแล้ง
ชอบคอนเทนต์แนวนี้มากๆ ครับ รอติดตามคอนเทนต์ในอนาคตครับ
อ้าวนึกว่าเข้ามาดูช่องพูด5555
HOLY SHIT ช่องนี้โคตรดี
ดีค่ะ
นีีคือวิธีการเดียวกับการออกแบบ คุก และป้อมทหาร
ใช่เจ้าของเดียวกับช่องพูดไหมครับ เสียงคือใช่เลย
เองคือคนเดียวกับช่องพูดใช่มั้ย
ผมก็นึกว่าช่องพูด5555
เสียงใช่การพูดใช่ ก้ว่าใช่แหละ
❤
ความคิดสุดโต่งในความเป็นจริงทำไม่ได้
เปลี่ยนเมืองยากกว่าเปลี่ยนความคิดตัวเองให้เข้าใจโลก