[ภาคเหนือ] เชียงใหม่ (Chiangmai) - แสนหลวง

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 19 вер 2024
  • เกี่ยวกับย่านที่นักดนตรีเลือก
    "ดอยสุเทพ" คือการสร้างสรรค์บทเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านเป็นเสียงสำเนียงหลักในการดำเนินเรื่องราว และนำเสนอวิธีการทำงานที่สามารถใช้สำเนียงของดนตรีพื้นบ้านในการสื่อถึงวิธีการสร้างสรรค์ ศิลปินสื่อถึงธรรมชาติที่เป็นต้นตอสำคัญสำหรับการสร้างชีวิตคน สังคม และวัฒนธรรม รวมไปถึงสิ่งที่สูงสุดคือความเชื่อและความศรัทธา ศิลปินได้ถอดคำว่าเชียงใหม่ออกมาตามโครงสร้างตัวอักษรของคำว่า CHIAMG MAI ดังนี้
    C - คือโน้ต โด
    H - ในทางทฤษฎีดนตรีตะวันตกของเยอรมัน H= B คือเสียง ที
    I - Ionian mode ผู้บรรเลงสามารถเล่นในโหมดเสียงนี้โดยจะเล่นโน้ตใดก็ได้
    A - เสียง ลา
    N - ถอดเป็น Neapolitant Chord คือ คอร์ด b# พลิกกลับขั้นที่1 (ที่นี่คือ b# ของ คีย์ C)
    G - ซอล,โซ และยังเป็นคอร์ดที่ 5 ของ สเกล C major ซึ่งจะใช้ต่อจาก Neapolitant Chord
    M - Myxolydian mode (ใน C major) ผู้เล่นสามารถเล่นโน้ตใดก็ได้
    A - เสียง ลา
    I - Ionian mode ผู้บรรเลงสามารถเล่นในโหมดเสียงนี้โดยจะเล่นโน้ตใดก็ได้
    ศิลปินกำหนดให้โน้ตและคอร์ดต่อไปนี้เล่นอย่างละ 4 ห้อง แต่ให้อิสระนักดนตรี จะเล่นจังหวะไหน ทำเสียงแบบใดก็ได้ตามประสงค์ ในช่วงต้นตั้งแต่ C ถึง N จะอิสระแก่นักบรรเลง โดยการเล่นอะไรตรงไหนก็ได้ตามที่กำหนดและหลังจากโน้ตตัว G เป็นต้นมา โดยนักดนตรีจะเริ่มเล่นเป็นทำนอง ในสไตล์ของเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งมีการกำหนดลูกตกของแต่ละห้องตามตัวการถอดตัวอักษรออกมาเป็นโน้ต และทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องจะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น โดยยึดลูกตกพันไปพันมา เหมือนธรรมชาติที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้น โดยไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ใด ๆ ค่อย ๆ ก่อร่างสร้างขึ้นจนกลายเป็นทำนองที่จะเข้าไปสู่ช่วงที่สองของเพลง
    ช่วงที่ 2 คือ มีแนวคิดในการใช้เครื่องดนตรีตะวันตกมาเล่นทำนองดนตรีล้านนา ซึ่งยึดทำนองของล้านนาเป็นหลักในการสร้างสรรค์สื่อถึง "การก่อร่างสร้างเมือง" ในการศรัทธาของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องของผีล้านนาหรือความเชื่อในศาสนาต่าง ๆ ที่เข้ามาในเมืองเชียงใหม่และเกิดการวิวัฒนาการเป็นแนวดนตรีช่วงที่ 3
    ช่วงที่ 3 คือการรวบรวมผู้คนทั่วทุกที่เข้าด้วยกัน โดยใช้รูปแบบดนตรีที่พัฒนาในยุคสมัยนี้ เข้ามาผสมผสานกับกลิ่นอายของสำเนียงล้านนา โดยสื่อถึงเมืองที่กำลังวิวัฒนาการในด้านต่าง ๆ แต่ยังคงมีศาสนาซึ่งยืดถือพระธาตุดอยสุเทพเป็นหลัก
    สุดท้ายสำเนียงแห่งเมืองทั้งหมดก็คือ ธรรมชาติที่ก่อเกิดกำเนิดสรรพสิ่งชีวิต และสลายไปกลับคืนสู่ธรรมชาติในเมืองเชียงใหม่ คือ ดอยสุเทพ
    เกี่ยวกับนักดนตรี
    ธีรนัย จันทร์แก่น คือศิลปินอิสระในนาม "แสนหลวง" ศิลปินที่มีความตั้งใจในการสร้างสรรค์ศิลปะล้านนา และต้องการสืบสานศิลปะล้านนาให้สืบต่อไป
    "Sound of the City" เป็นโครงการจ้างงานนักดนตรีทั่วประเทศจำนวน 100 ราย เพื่อเรียบเรียงและแต่งเพลงใหม่ที่เกี่ยวกับย่านหรือเมืองที่ศิลปินนั้น ๆ มีความผูกพันหรือประทับใจ โดยอยู่ภายใต้โครงการหลัก “CEA VACCINE ร่วมสร้างสรรค์ ...ภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจไทย” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ "กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์" ให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์เฉพาะหน้าจากโรคระบาด Covid -19 และมีภูมิคุ้มเพื่อการฟื้นตัวและป้องกันในระยะยาว ผ่านการจ้างงานตรง 6 สาขาอาชีพ ได้แก่ นักเขียน ช่างภาพ นักดนตรี อินโฟกราฟิก นักออกแบบ และศิลปิน-กราฟฟิตี

КОМЕНТАРІ • 5

  • @jirabhakhanda4148
    @jirabhakhanda4148 3 роки тому

    ญิ๊นดี กับคณะจัดทำ จ้าดนัก จ้าว สำเนียงแห่งเมือง ล้านนาเฮา ฟังแล้ว ม่วนอก+จุ้มใจ๋ ขนาด

  • @yutapongprommasen7135
    @yutapongprommasen7135 3 роки тому

    ความสุขของคนเมือง คือเพลงกำเมือง และดนตรีปื้นเมือง ฟังแล้วกึ๊ดเติงหาอุ้ย

  • @arnutchayasriprom2745
    @arnutchayasriprom2745 Рік тому

    ขออนุญาตนำเพลงไปใช้ประกอบการแสดงนะคะ🙏🏻🥺

  • @tamutamitraveler3177
    @tamutamitraveler3177 3 роки тому +1

    สามารถใช้ประกอบคลิปยูทูปโดยขึ้นซับให้ได้ไหมครับ

    • @CreativeEconomyAgency
      @CreativeEconomyAgency  3 роки тому

      สวัสดีครับ รบกวนติดต่อเจ้าของผลงาน คุณธีรนัย จันทร์แก่น Bigteeranai@gmail.com 0992703999 ครับ