ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) หนานทิพย์ช้าง มหาบุรุษกู้ชาติ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 26 сер 2024
  • #ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน #หนานทิพย์ช้าง
    หลังจากพม่าครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองใน #อาณาจักรล้านนา เป็นระยะเวลากว่า ๒๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๑๐๑ - ๒๓๑๗) ล้านนาได้หมดสภาพเป็นอาณาจักร แต่ละเมืองปกครองกันโดยอิสระขึ้นต่อพม่า จนถึงช่วงปลายอาณาจักรพม่าอ่อนแอลง มีการต่อต้านอำนาจพม่าของชาวล้านนานั้นก็คือเมืองเชียงใหม่ เป็นการก่อการกบฏต่อพม่า และต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวสาเหตุเนื่องจากโดนกดขี่ข่มแหงจากข้าหลวงพม่า ส่วนเมืองลำพูนนั้น ท้าวมหายศซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างน่าเลือดใครบ้านไหนไม่ให้ก็ทำร้าย ส่วนกลุ่มผู้นำเมืองลำปางได้อ้างอิงอำนาจพม่า พ่อเจ้าทิพย์ช้างต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเดิมเป็นพรานป่าได้อาสาชาวเมืองลำปางต่อสู้กับกองทัพท้าวมหายศแห่งเมืองลำพูนจนได้รับชัยชนะชาวเมืองลำปางจึงยกพ่อเจ้าทิพย์ช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยครองเมือง ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๒) พ่อเจ้าทิพย์ช้างยังอิงอำนาจพม่าเพราะกลุ่มอำนาจเก่า “ท้าวลิ้นก่าน” ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองลำปางเดิม พยายามกลับสู่อำนาจ เพื่อความชอบธรรมในการปกครอง และตัดปัญหากับกลุ่มอำนาจเก่า พ่อเจ้าทิพย์ช้าง หรือพยาสุลวะลือไชยจึงส่งบรรณาธิการไปถวายกษัตริย์พม่า ความชอบครั้งนี้กษัตริย์พม่าพระราชทานชื่อว่า “พระยาไชยสงคราม” เจ้าชายแก้วบุตรพ่อเจ้าทิพย์ช้างครองเมืองสืบมาได้อาศัยอำนาจพม่าช่วยกำจัดท้าวลิ้นก่านลง พม่าแต่งตั้งเจ้าชายแก้วเป็น “เจ้าฟ้าสิหราชธานี” ครองเมืองลำปาง
    ในสมัยสิ้นโป่อภัยคามินีเจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พม่าแต่งตั้งโป่มะยุง่วน หรือโป่หัวขาวขึ้นเป็นเจ้า แต่การปกครองของพม่านั้นมีลักษณะกดขี่ข่มเหงชาวล้านนาเพิ่มมากขึ้นมีการเกณฑ์ราษฎรไม่ว่างเว้น ขุนนางก็ถูกลิดรอนอำนาจลง สร้างความไม่พอใจต่อพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) และพระเจ้ากาวิละ พระยาจ่าบ้านขัดแย้งกับโป่หัวขาวถึงกับสู้รบกันที่กลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ พระยาจ่าบ้านแพ้ น้องชายเสียชีวิตในสนามรบ เหตุที่แพ้เพราะกำลังและอาวุธที่ด้อยกว่า เพียง ๓๐๐ คน ให้อาวุธส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์การเกษตร หลังจากพ่ายแพ้ครอบครัวของพระยาจ่าบ้านถูกส่งไปยังเมืองอังวะ ทำให้เกิดความแค้นใจถึงขนาดจึงได้ตัดสินใจเข้ากับฝ่ายสยาม ขอสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี
    พระยาจ่าบ้านชักชวนพระเจ้ากาวิละต่อต้านอำนาจพม่า พระเจ้ากาวิละเห็นดีด้วยจึงร่วมกันวางแผนอย่างรอบคอบ เมื่อได้โอกาสพระยาจ่าบ้านลงไปกราบทูลพระเจ้าตากสินที่กรุงธนบุรีให้ส่งกองทัพมาปราบพม่า นับเป็นโอกาสดี พระเจ้าตากสินทรงเร่งนำกองทัพหลวงขึ้นมาโดยเร็วเพียง ๑๗ วันก็มาถึงเถินที่เถินท้าวชมภูได้สังหารข้าหลวงพม่าผู้กำกับเมืองเถินเพราะได้รับการนัดหมายจากพระเจ้ากาวิละ ส่วนพระเจ้ากาวิละก็สังหารพม่าแล้วเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน ในการทำสงครามเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละอาสาพระเจ้าตากสินเป็นกองทัพหน้า การตีเมืองเชียงใหม่สำเร็จ พ.ศ.๒๓๑๗ โดยการร่วมมือระหว่างไทยกับผู้นำชาวล้านนา
    ครั้งเสร็จสงครามเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาหลวงวิชิรปราการกำแพงเพชร ครองเมืองเชียงใหม่พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง ส่วนน้องของพระเจ้ากาวิละอีก ๖ คน ให้ช่วยราชการที่เมืองลำปางโดยมีเจ้าน้อยธรรมลังการเป็นอุปราช เจ้าบุญมาเป็นราชวงค์ เจ้าเจ็ดตนพี่น้องได้ร่วมกันป้องกันเมืองลำปางให้พ้นจากการรุกรานของพม่า ขณะที่เชียงใหม่ถูกพม่ายึดครองสำเร็จเมืองลำปางจึงเป็นแหล่งที่มั่นของฝ่ายไทย
    หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรียึดเชียงใหม่ได้แล้วได้มอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาจ่าบ้านเป็น “เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่” โดยทำพิธีที่วัดพระธาตุหิริภูญชัยพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เจ้าเมืองเชียงใหม่มีอำนาจปกครองตนเอง ในฐานะเมืองประเทศราชอยู่ภายใต้ราชอาณาจักรสยาม
    สภาพเมืองเชียงใหม่สมัยพระยาวชิรปราการมีกำลังพล ๑,๙๐๐ คน ไม่อาจรักษาเมืองได้เพราะเมื่อโป่หัวขาวฝ่ายแพ้ก็กลับมายกกำลังล้อมเชียงใหม่เพียงสองเดือนหลังจากนั้นเชียงใหม่ถูกล้อมเป็นระยะเวลา ๘ เดือนกองทัพทางใต้ก็ยกกำลังมาช่วยจนพม่าแตกพ่ายไป พระยาวชิรปราการทิ้งเมืองเชียงใหม่พาลูกเมียไปพึ่งพระยาเจ้ากาวิละที่เมืองลำปางแต่อย่างไรก็ตามพระยาวชิรปราการ มีความพยายามที่จะฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยตั้งกำลังมาที่ท่าวังพร้าวในปี พ.ศ.๒๐๓๐ ต่อมาตั้งมั่นที่เวียงหนองล่องจากนั้นย้ายไปวังสะแกงสบลี้ ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้างเพราะระหว่างที่อยู่ ในราวพ.ศ.๒๓๒๒ พระยาวชิรปราการถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีลงโทษจำคุกที่กรุงธนบุรีในข้อหาฆ่าอุปราชก้อนแก้ว ซึ่งในที่สุดพระยาวชิรปราการก็เสียชีวิตที่กรุงธนบุรีความหวัง ที่จะฟื้นฟูเชียงใหม่จึงสิ้นสุดลง เมืองเชียงใหม่ถูกปล่อยล้างไว้ประมาณ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๓๑๙ - ๒๓๓๙) พระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ให้คืนกลับเป็นบ้านเมืองอีกครั้ง เมื่อเชียงใหม่มีอายุครบ ๕๐๐ ปี (พ.ศ.๑๘๓๙ - ๒๓๓๙ )
    พระเจ้ากาวิละได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ แต่เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง การฟื้นฟูเชียงใหม่เป็นปัญหาอย่างมากอย่างมาก เนื่องจากกำลังคนขาดแคลนอย่างหนัก และพม่ายังยึดครองเมืองต่าง ๆ ในล้านนาไว้เกือบหมด พระเจ้ากาวิละจำเป็นต้องค่อย ๆ รวบรวมผู้คนให้มั่นคงก่อน พระเจ้ากาวิละเริ่มต้นด้วยวิธีขอกำลังไพร่พลจากเมืองลำปาง ๓๐๐ คน แล้วมารวบรวมไพร่พลเดิมของพระยาวชิรปราการจ่าบ้านบริเวณวังสะแกงอีก ๗๐๐ คน เป็นพันคนเข้าไปตั้งมั่นที่ป่าซาง พระเจ้ากาวิละสร้างเวียงป่าซางใน พ.ศ. ๒๓๒๕ ให้เป็นเมืองชั่วคราวสาเหตุที่เลือกป่าซางนั้นเพราะอยู่ระหว่างเชียงใหม่กับลำปางรุกได้ ถอยง่าย และที่ป่าซางเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ มีลำน้ำแม่ปิง แม่ทา แม่กวง บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ลักษณะตัวเวียงความยาว ๑,๐๐๐ เมตร ลักษณะเป็นป้อมปาการแข็งแรง
    #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

КОМЕНТАРІ • 2

  • @noppet45
    @noppet45 7 місяців тому +1

    ดี

  • @banthunsasomthap4120
    @banthunsasomthap4120 7 місяців тому +1

    อะไร ปวศ ช่วงไหน สยามอยู่ไหน อำนาจปกครอง หัวเมืองคือใคร