"เสื้อครุย" เครื่องหมายเกียรติยศของจุฬาฯ บัณฑิต : วีดิทัศน์ประกอบนิทรรศการของหอประวัติจุฬาฯ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 21 вер 2020
  • "เสื้อครุย" เครื่องหมายเกียรติยศของจุฬาฯ บัณฑิต : วีดิทัศน์ประกอบนิทรรศการของหอประวัติจุฬาฯ
    ครุย หมายถึง ชายผ้าที่ทำเป็นเส้นๆ เรียกว่าครุย ชื่อเสื้อซึ่งมีหลายแบบ ใช้สวม
    หรือคลุมใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ หรือแสดงหน้าที่ในพระราชพิธีหรือพิธี
    หรือแสดงวิทยฐานะ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา
    พระราชกำหนดเสื้อครุยให้เป็นระเบียบคือ พระราชกำหนดเสื้อครุย พ.ศ. 2454
    ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดเสื้อครุย พ.ศ. 2456 กำหนดเสื้อครุยสำหรับพระราชทาน “...เป็นเครื่องแสดงวุฒิและความสามารถในการสั่งสอนทำคุณประโยชน์ให้แก่การศึกษา...” แก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์และครูผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
    กับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน
    ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 จนกระทั่งพ.ศ.2473
    จึงมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
    เจ้าอยู่หัว ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญารุ่นแรก คือ นิสิตคณะแพทยศาสตร์ที่
    สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน)
    [แหล่งที่มา: คัดลอกบางส่วนจากบทความ "เสื้อครุย" ความหมายและความเป็นมา เขียนโดย อาจารย์สวัสดิ์ จงกล; หอประวัติจุฬาฯ ]
    www.memohall.chula.ac.th/
    #หอประวัติจุฬาฯ #CUArtCulture #สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมจุฬาฯ #องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์จุฬาฯ

КОМЕНТАРІ •