Curiosity Special EP01 : งานวิจัยพัฒนา AI เพื่อทำนายความแข็งของคริสตัล โดย อ. ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 16 тра 2024
  • เมื่อไม่กี่วันก่อน ผมได้พูดคุยกับ อาจารย์ ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร (ธิป) อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเนื้อหาฟิสิกส์ที่จะเอามาทำคอนเทนต์ ก็ได้คุยกันหลายอย่าง แล้วผมก็เห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเก่งๆ ก็มีเยอะ ผลงานดีๆ มีมากมาย แต่เราไม่ค่อยรู้จักกันว่าตอนนี้มีใครทำอะไรอยู่บ้าง
    ก็เลยเป็นที่มาของไอเดียรายการนี้ ที่ผมก็ยังไม่ได้ตั้งชื่อรายการ แต่จะเป็นรายการที่จะไปพูดคุยกับ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ให้เขาเล่าหน่อยว่าพวกเขาทำอะไรกัน รวมถึง อาชีพต่างๆ ที่ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในการทำงาน อย่าง เช่น แพทย์ หรือวิศวะ เพื่อให้เขาเล่าให้ฟังหน่อยว่า ได้ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อะไรในการทำงานบ้าง
    และเริ่มแรกเลย ก็เป็นการคุยกับ อาจารย์ธิป นั่นแหละครับ ซึ่งตอนนี้ อาจารย์ก็เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยที่ชื่อว่า Chula Intelligent & Complex Systems ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความฉลาด ทั้งฉลาดแท้อย่างสมอง และฉลาดเทียมอย่างปัญญาประดิษฐ์ และ ระบบที่ซับซ้อนต่างๆ ตามชื่อ Intelligent & Complex Systems เลยครับ
    ในตอนแรกนี้ ผมเลยขอให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำอยู่ ที่ชื่อยาวๆ อันนี้ ที่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ การใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการวิเคราะห์สถานะควอนตัมของโครงสร้างคริสตอล
    สปอยเนื้อหาวันนี้เลย ก็คือ การคำนวณคุณสมบัติของวัสดุ ในระดับควอนตัม มันยากมาก สมการมันซับซ้อนวุ่นวาย แม้แต่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ยังอาจต้องใช้เวลาคำนวณหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
    อ.ธิปรัชต์ และทีมงานอีกสองท่าน อาจารย์อรรณพ และ อาจารย์ธีรโชติ เลยจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาคำนวณ หรือทำนายคุณสมบัติของวัตถุจากการคำนวณในระดับควอนตัมนี้แทน
    เรียกว่าได้ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ ศึกษาศาสตร์ทั้งด้านปัญญาประดิษฐ์ และกลศาสตร์ควอนตัม แล้วเอามาบูรณาการกัน ก็มีไม่กี่คนในประเทศไทย อ.ธิปรัชต์ ก็เป็นหนึ่งในแนวหน้าของประเทศไทยในเรื่องนี้เลยครับ
    แล้วอาจารย์ก็จะมาเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ให้ฟังกครับ อารมณ์ก็จะต่างจากคลิปปรกติของผมอยู่สักหน่อย ผมอยากให้อาจารย์ได้เล่าเต็มที่ในเนื้อหาที่อยากนำเสนอ ให้เราได้รู้ว่านักวิจัยไทยทำอะไรกันบ้าง ก็จะมียาวบ้าง ยากบ้าง ใครสนใจก็ลองฟังกันดูครับ
    งานวิจัยที่มี Buzzword แห่งยุคนี้เลย ทั้ง AI ทั้ง ควอนตัม ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่างานวิจัยนี้เป็นยังไง ก็จะค่อยๆ รู้ไปพร้อมกับเพื่อนๆ นี่แหละครับ
    การถ่ายนี้อุปกรณ์ผมไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่ ทั้งภาพและเสียงก็จะแปลกๆหน่อย ก็ขออภัยด้วยนะครับ
  • Наука та технологія

КОМЕНТАРІ • 54

  • @curiosity-channel
    @curiosity-channel  Місяць тому +10

    3:26 ผมเขียนชื่อ อจ. ผิดครับ ต้องเป็น " อ. ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร"

  • @khonfairu
    @khonfairu Місяць тому +3

    อย่างลึกเลยครับ แต่เป็นประโยชน์มากถ้าเก็บเกี่ยวได้เต็มร้อย(ซึ่งผมได้ไม่ถึงครึ่ง555+) ขอบคุณนะครับเอก เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์มากครับ ❤

  • @maybemayi
    @maybemayi Місяць тому +3

    อ.ธิปรัชต์ เก่งมากนะครับ เมื่อก่อนก็เป็นสมาชิกวง cocktail ยุคบุกเบิก (มือกีตาร์) แล้วมาเรียนต่อสายฟิสิกส์ สุดยอดครับ!

    • @37manop
      @37manop Місяць тому

      อัจฉริยะ

  • @37manop
    @37manop Місяць тому +1

    อ. ธิปรัชต์ เหมาะมากสำหรับการเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ เพราะเรียบเรียงการอธิบายให้นึกตามและเห็นภาพได้ทัน อาจารย์บางท่านนะพูดเหมือนรถไฟความเร็วสูงนึกภาพตามไม่ทัน ได้ความรู้จากอาจารย์ทั้งสามท่านมากครับขอพระคุณ รวมทั้งขอบพระคุณแอดมิน ที่ผมเป็นแฟนคลับด้วยเหมือน
    กัน

  • @sahapattong-on3905
    @sahapattong-on3905 Місяць тому +4

    ดีมากๆ เลยครับ เคยเรียน StatsMech กับอาจารย์ธิป เปิดโลกมากๆ ครับ

  • @user-uf1kj1gn7m
    @user-uf1kj1gn7m Місяць тому

    ❤❤❤❤คลิปมีประโยชน์แห่งเดือน

  • @mobi4034
    @mobi4034 Місяць тому +2

    ขอบคุณครับ

  • @jirawatmaubkhuntod1823
    @jirawatmaubkhuntod1823 Місяць тому

    แจ๋วมากครับบ😮

  • @meesaengrloun
    @meesaengrloun Місяць тому +2

    ว่าวน่าสนใจมากเลยคะ

  • @user-eh2ec3rn6w
    @user-eh2ec3rn6w Місяць тому

    ขอขอบคุณ คณะผู้จัดทำ Curiosity Channel คนช่างสงสัย และ ทีมงานอาจารย์ ดร ธิปรัชต์ ที่ได้แบ่งปันเรื่องงานวิจัยด้านฟิสิกส์ดีๆ แบบนี้ ครับ อยากจะให้มีการสัมภาษณ์เรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์กับท่านผู้รู้ ในลักษณะแบบนี้เพิ่มขึ้นครับ เพราะทำให้การเรียนวิทยศาสตร์มันมีชีวิต จับต้องได้ สนุกและตื่นตาตื่นใจมากขึ้นครับ ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะกลับไปอ่าน Thermodynamics ครับ

  • @ToasukeBKK
    @ToasukeBKK Місяць тому

    น่าสนใจมากครับ

  • @felist6667
    @felist6667 Місяць тому

    แนวคิดรายการดีมากเลยค่ะ แต่ถ้าให้คนทั่วไปฟังอาจจะต้องย่อยกว่านี้หน่อย

  • @tenkung3849
    @tenkung3849 Місяць тому +1

    ถ้าเกิดว่าความรู้ทุกอย่างนั้นที่เราใส่เข้าไปเราคิดว่าสมการทุกอย่างใส่ครบหมดและดีแล้ว แต่AIก็ยัง error เราสามารถสอนAI ให้สร้างทฤษฎีและสมการขึ้นมาใหม่จากฐานข้อมูลและองค์ความรู้เดิม
    ถ้าเกิดว่าทำได้จริงๆพลิกโลกจริงๆครับ😱
    ถ้าเกิดว่ามันสามารถวิเคราะห์การเร่งและเพิ่มความเร็วของตัวเองไปเรื่อยๆ จากการเรียนรู้ธาตุและวัสดุต่างๆ
    คิดละมันมือเลย😂อยากเล่นมากมองมาชีวิตตอนนี้ต้องกรีดยางแข่งกับฝน เฮ้อ...มันคนละโลกจริงๆ ตัดยางต่อไป😶‍🌫️

  • @g.b.lautotv4318
    @g.b.lautotv4318 Місяць тому

    ผมเข้าใจที่คุณอธิบาย

  • @Arme.555
    @Arme.555 Місяць тому +1

    ตอนนี้อาจจะดูเป็น lecture ไปหน่อย น่าจะยากสำหรับคนทั่วไป
    แต่สำหรับผมผมชอบนะครับ
    ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆนะครับ 🙏

  • @thorlamarnmana
    @thorlamarnmana 17 днів тому

    ขอบคุณครูบี

  • @meena2534
    @meena2534 Місяць тому

    FC ครับ

  • @GunDPM
    @GunDPM Місяць тому +1

    ฟังสนุกมากเลยครับ
    FYI เพิ่มเติมนะครับ model ด้านภาษาหรือ NLP ในปัจจุบัน น่าจะไม่เหลือใครใช้ RNN แล้วครับ แต่แนวคิดของ RNN ถูกใช้ไปพัฒนา LSTM และต่อยอดไป Transformers ซึ่งปัจจุบัน น่าจะเป็น Transformers เกือบทั้งหมด ส่วน LSTM ยังมีอยู่บ้างในงานที่เป็น sequential ขนาดเล็กๆครับ

  • @harikenkong
    @harikenkong Місяць тому

    นอกจากเก็บคุณสมบัติึวามแข็งของสสาร มีการเก็บข้อมูลของคุณสมบัติอื่นๆของสสารหรือไม่ครับ เช่น ทางไฟฟ้า อุณหภูมิ รังสี เป็นต้นครับ

  • @kannachthemusiclover2869
    @kannachthemusiclover2869 Місяць тому +1

    graph neural network แบบนี้ 1 node มันต้องเก็บค่าอะไรไว้บ้างนิครับ เก็บในรูปแบบของอะไร

  • @appchecktest
    @appchecktest Місяць тому

    นำเสนอรูปแบบนี้บ่อยๆ นะครับ

  • @OngSK1983
    @OngSK1983 Місяць тому

    สวัสดีค้าบบ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  Місяць тому

      คลิปแบบนี้ ไสตล์พี่อ๋องเลยครับ

  • @YutthanaFathet-kt6gd
    @YutthanaFathet-kt6gd Місяць тому

    สวัสดีครับคุณเอก ผมเป็นFc คุณเอก มานานแล้วครับ

  • @Sullivan707
    @Sullivan707 Місяць тому +1

    รายการ #ถามหน่อยครับจารย์ #ทำไรอยู่ครับจารย์ #จัดไปครับจารย์

  • @komkom2003
    @komkom2003 Місяць тому

    อยากให้ คนช่างสงสัย ทำเรื่อง Machine learning กับ AI มันต่างกันยังไงครับ (จากคนที่ไม่มีพื่นฐานเละครับ) ขอบคุณมากๆ ครับ

  • @thorlamarnmana
    @thorlamarnmana 17 днів тому

    ขอบพี่รงนะคับ

  • @user-pn1oi2gi1o
    @user-pn1oi2gi1o Місяць тому

    รอฟังจุดจบของเอกภพที่ยังไม่ได้เล่าอยู่ครับ เเบบที่3 กับ 4

  • @ittipatroopkom312
    @ittipatroopkom312 26 днів тому

    ถ้าอยากรู้ว่าแรงโน้มถ่วงคืออะไร ทำงานอย่างไร และสัมพันธ์กับเวลาได้อย่างไร พูดคุยและแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

  • @SkizzikArm
    @SkizzikArm Місяць тому

    ล้ำสุดๆ

  • @user-wz4py9nw7d
    @user-wz4py9nw7d Місяць тому +1

    ชื่อรายการ​ค้นที่มา

  • @jarurotetippayachai8220
    @jarurotetippayachai8220 Місяць тому

    1:09:17 กรณีนี้มันก็คล้ายกับคนที่ฟังเพลง LoFi หรือนั่งทำงานในร้านกาแฟที่มี noise แล้วมีสมาธิในการทำงานหรือเรียนในนั้นมั้งครับ

  • @g.b.lautotv4318
    @g.b.lautotv4318 Місяць тому

    แต่ไม่ใช่คนอื่นที่คุณอยากผมเข้าใจ

  • @user-wl5hd7wm2i
    @user-wl5hd7wm2i Місяць тому

    ผมว่าถ้าพัฒนาไปจนถึงไปรู้ความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น ผมว่ามันจะเป็นปัญหามากกว่าประโยชน์นะถ้าจิตรใจเราไม่เป็นกลางมากพอ

  • @dreamimageclub
    @dreamimageclub Місяць тому

    ไม่แน่ใจว่าไมค์ตัวส่ง (ที่ติดอยู่กับอาจารย์) เปิดตัดเสียงรบกวนหรือเปล่าครับ ถ้าเปิดไว้ในบางสภาพห้องมันจะกลายเป็นทำให้เกิดการตัดเสียงเนื้อเสียงที่เราต้องการ แล้วทำให้เสียงมันแปลก ๆ ไม่เต็มนะครับ ยิ่งห้องมีเสียงก้องก็ต้องยิ่งระวัง

    • @dreamimageclub
      @dreamimageclub Місяць тому

      แล้วก็เห็นไมค์อีกตัว วางไว้ไกลหน่อย ก็ต้องระวังเช่นกันครับ ไมค์คุณภาพเสียงจะดีก็ต้องว่างใกล้แหล่งกำเนิดเสียง อีกทั้งประเภทไมค์แต่ละประเภท การวางใกล้ วางไกลมีผลต่างกันครับ อย่างไรก็วางใกล้ไว้ก่อนครับ

  • @A.X.Y.Z.A
    @A.X.Y.Z.A Місяць тому

    รายการ #สงสัยใคร่รู้

  • @user-vf2hw1dv8h
    @user-vf2hw1dv8h Місяць тому

    Ai คำนวนหวยได้มั้ยครับ😂

  • @g.b.lautotv4318
    @g.b.lautotv4318 Місяць тому

    ยังจะให้กูเข้าใจอีก

  • @thorlamarnmana
    @thorlamarnmana 17 днів тому

    #โอฬาร

  • @thorlamarnmana
    @thorlamarnmana 17 днів тому

    L(CC)

  • @garygaroon
    @garygaroon Місяць тому

    เรื่องยากแล้ว ยังทำเสียงให้ฟ้งยากขึ้นไปอีกครับ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  Місяць тому

      รอบนี้ถ่ายนอกสถานที่ครั้งแรก อุปกรณ์ไม่พร้อม เดี๋ยวจะปรับปรุงในรอบต่อไปนะครับ

    • @plawan00021
      @plawan00021 Місяць тому

      หาห้องถ่ายที่เสียงไม่ก้อง จะช่วยได้เยอะครับ ​@@curiosity-channel

  • @csnpc
    @csnpc Місяць тому

    ใช้ ML มันง่ายเกิ๊น ไม่ควรนำมาเป็นงานวิจัยด้วยซ้ำ เขียน Pythom ไม่กี่บรรทัดก็ได้คำตอบแล้ว 😂😂😂

    • @Li-os9uj
      @Li-os9uj Місяць тому

      ก็ถูกแล้วครับ ผมมองว่าวัตถุประสงค์หนึ่งของงานวิจัยนี้คือ การใช้อุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย เพื่ออธิบายความซับซ้อน
      ถ้าเราสามารถหาอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ง่าย ประชาชนทั่วไปจะสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้
      อีกอย่าง ผมมองว่าคุณค่างานวิจัย มันไม่ได้ขึ้นกับการใช้งานยาก-ง่ายของอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวครับ

    • @sahapattong-on3905
      @sahapattong-on3905 Місяць тому

      ใจเย็นครับ Python ที่ใช้มันแค่ Interface ครับ ไปทำความเข้าใจมาดีๆ ก่อน

    • @windywinend586
      @windywinend586 Місяць тому

      เพ้อเจ้อจริงๆ
      มันคืองานวิจัยทางฟิสิกส์ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เเกนหลักคือการคัดเลือก data ที่จะไปเข้า ML เพื่อให้ได้ผล "ประมาณ" ที่เเม่นยำสูงเเละเร็ว ซึ่งต้องอาศัยความรู้ในทางฟิสิกส์อย่างมากอยู่เเล้ว
      มันไม่ใช่การใช้ ML กับเรื่องทั่วๆไป ที่มือสมัครเล่นจะทำได้ซะหน่อย

    • @csnpc
      @csnpc Місяць тому

      @@windywinend586 ไม่เห็นต้องใช้ความรู้อะไรมากมาย เขียน Python บรรทัดเดียวก็รู้แล้วว่าค่าใดทางฟิสิกส์ที่ส่งผล และส่งผลกี่ % และก็เขียนอีก 2-3 คำสั่งสร้าง Model ขึ้นมา ก็จบแล้ว เพราะมันง่ายเกินไปที่จะเป็นงานวิจัยไง แค่นี้เด็กมัธยมก็ทำได้

    • @kunyapornpipithsangchan1849
      @kunyapornpipithsangchan1849 Місяць тому

      นิยามคำว่า “ง่าย” ในบริบทนี้ด้วยครับ