คนค้นฅน REPLAY : เล่าแป๊ะ ตระกูลลิ้ม มังกรจีนในแผ่นดิน ช่วงที่ 3/4 (8 ก.พ.48)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 8 жов 2024
  • การอพยพเข้ามาในจีนโพ้นทะเลในแผ่นดินไทย มีมายาวนาน จนไม่อาจหาจุดเริ่มต้นได้ แต่การอพยพครั้งใหญ่ ๆ เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 กับ 4 ซึ่งการค้าขายระหว่างไทยกับจีน รุ่งเรืองเฟื่องฟู ที่สุด เรือสำเภาทุกลำที่บรรทุกสินค้ามาค้าขายกับเมืองไทย ได้นำพาชาวจีนเข้ามาด้วยอย่างต่อเนื่อง ต้นรัชกาลที่ 6 คลื่นอพยพ ได้นำพาเด็กชายชาวแต้จิ๋ว คนหนึ่ง วัย 7 ขวบ จากตำบล สุยโต้ ลงสำเภา มาขึ้นเรือที่เมืองไทย เด็กชายมาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง ทำงานรับจ้างแบกหาม ลากรถขนถ่าน หนักเอาเบาสู้แบบชาวจีนโพ้นทะเลทั่วไป จนกระทั่งอายุ 15 จึงแยกออกมาสร้างเนื้อสร้างตัว โดยยึดอาชีพลากรถส่งคนและส่งของ อยู่ในย่านสำเพ็ง เยาวราช ตลาดการค้าเก่าแก่ และใหญ่ที่สุดของชาวจีนที่อยู่คู่มากับกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาผ่านไป 70 กว่าปี ตำนานจีนลากรถ ที่ยังมีชีวิต และลมหายใจคนนี้ ก็ยังคงอยู่คู่ย่านเยาวราช เล่าแป๊ะตระกูลลิ้ม คือตัวแทนของคนจีน ที่ขยัน อดทน ประหยัด มัธยัสถ์ จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างหลักฐานให้ลูกหลานได้ แม้จะไม่ถึงขนาดสร้างตำนานเจ้าสัวมาจากการแบกหาม และลากรถ แต่เรื่องราวของเล่าแป๊ะชรา ที่ยึดอาชีพลากรถส่งของ อาชีพเดียวมาตลอดชีวิต ตั้งแต่หนุ่มจนกระทั่งแก่เฒ่า ก็สะท้อนให้เห็นว่า หากไม่งอมืองอเท้า และรู้จักประหยัดมัธยัสถ์ ก็จะไม่มีใครอดตายในสยามประเทศอันอุดมสมบูรณ์นี้ เพื่อสานสัมพันธไมตรี ของสองแผ่นดิน ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน คนค้นฅน อังคารนี้ จะ เล่าเรื่องความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของชนสองชาติ โดยผ่านชีวิตและเรื่องเล่า ของเล่าแป๊ะ ตระกูลลิ้ม ชาวจีนโพ้นทะเลวัย 92 ที่เข้ามาตั้งรกฝังรากอยู่ในแผ่นดินขวานทอง ยาวนานถึง 4 แผ่นดิน รักและเทิดทูน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแผ่นดิน ที่ให้ชีวิต ให้ได้อยู่ได้กิน ได้สร้างลูกหลาน สืบทอดวงศ์วานสายตระกูล จนคิดจะฝังตัวเอง เอาแผ่นดินสยามกลบหน้า โดยไม่คิดจะหวนกลับคืนสู่บ้านเกิด เรื่องราวชีวิต ของคนเล็กๆ อย่างเล่าแป๊ะ ทำให้เราได้พบว่า ไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหน หากเราเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน ก็จะเกิดขึ้น ดังเดียวกับสายสัมพันธ์อันยาวนานของพี่น้องไทย-จีน
    ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่
    tvburabha.com/
    / tvburabha
    / tvburabha
    / kontvburabha

КОМЕНТАРІ • 125