ข้าวเม่า l อนุรักษ์ สืบสาน วิถีไทยโบราณ l เถียงนาสยาม อ่างทอง

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 5 січ 2025
  • รายการ อินไท สตอรี่ & สตูดิโอ นำโดย อาจารย์ก้อง ภัควัทคีตา , อาจารย์สัมพันธ์ น้ำทอง เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่านสู่ชุมชนเคลื่อนที่ ครอบครัวรักการอ่าน ที่ได้ร่วมการอนุรักษ์ สืบสาน วิถีไทยโบราณ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ #ข้าวเม่า #เถียงนาสยาม
    กิจกรรม การฟาดข้าว การตำข้าวเม่า ณ เถียงนาสยาม หมู่ที่ 2 บ้านไร่แตงโม ตำบลหนองแม่ไก่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
    ข้าวเม่า คือ ข้าวที่ทำจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด นำมาคั่วแล้วตำให้เปลือกแตกหลุดออกไป มีลักษณะแบน นุ่ม สีออกเขียว. ข้าวเม่านำมารับประทานเป็นของหวานและของกินเล่น ปรุงได้หลายแบบ. ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือเคล้าให้นุ่ม นำมาคลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมรับประทานกับกล้วยไข่. ข้าวเม่าที่ผสมน้ำตาลและมะพร้าวขูดนำไปพอกกล้วยไข่ ชุบแป้งให้ติดกันเป็นแพ ทอดในน้ำมัน โรยหน้าด้วยแป้งทอดกรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าทอด มีลักษณนามว่า แพ. ข้าวเม่าที่นำไปคั่ว เรียกว่า ข้าวเม่าราง รับประทานกับน้ำกะทิเป็นของหวาน หรือนำไปทำกระยาสารท. ถ้านำข้าวเม่าไปทอดให้กรอบแล้วใส่เครื่องปรุงอื่น ๆ ได้แก่ เต้าหู้หั่นชิ้นเล็ก ๆ ทอดกรอบ กุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด โรยน้ำตาลทราย และเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่ เป็นของกินเล่นที่นิยมกันมาก
    ข้าวเม่า : คนภาคกลาง
    ในสมัยก่อนการตำข้าวเม่ามักจะทำในเวลากลางคืน จะเป็นคืนเดือนมืดหรือคืนเดือนหงายก็ได้แล้วแต่สะดวก ในระหว่างคั่วข้าวเม่าบนเตาไฟจะมีประเพณีการเล่นของหนุ่มสาวโดยนำเอามะพร้าวทึนทึกขว้างไปที่เตาไฟทำให้ภาชนะที่ใช้คั่วข้าวเม่าแตกกระจายหรือบุบบู้บี้ จะทำให้บรรยากาศสนุกสนาน คนขว้างที่แอบอยู่ในมุมมืดจะวิ่งหนี ผู้ที่กำลังทำข้าวเม่าก็จะช่วยกันวิ่งไล่จับเอาตัวมาทำโทษ โดยเอาดินหม้อทาหน้า หลังจากนั้นก็จะช่วยกันตำข้าวเม่าโดยใช้ครกไม้ตำ ข้าวเปลือกและสากไม้มาช่วยกันตำ ให้เป็นข้าวเม่า
    วิธีการทำข้าวเม่า
    (การตำข้าวเม่า) เมื่อถึงระยะเวลาที่ข้าวออกรวง เมล็ดข้าวมีสีเหลืองอมเขียวหรือมีสีเหลืองเกือบ ทั้งรวง ชาวนาก็จะเก็บเกี่ยวและมัดรวมเป็นกำ ๆ ประมาณ ๗-๘ กำมือ ใช้ผ้าขาวม้าห่อนำกลับ บ้าน
    เมื่อมาถึงบ้านวางรวงข้าวบนกระดังใบใหญ่ ใช้เท้าเหยียบย่ำลงบนรวงข้าวที่นำมากองรวมกัน (เรียกว่า "การนวดข้าว" )จนกระทั่งเมล็ดข้าวหลุดร่วงออกมาจากรวงหมด หลังจากนั้นฝัดเอาเมล็ดข้าวที่ลีบออกให้หมด นะไปใส่กระบุง ใช้เกลือป่นโรยลงไปพอประมาณ
    ต่อไปก็ก่อไฟโดยใช้ฟืนแห้ง ๆ มีก้อนเส้าวางรอบ ๆ กองไฟ ๓ ก้อน เมื่อไฟติดดีแล้วตั้งหม้อดินหรือกระทะขนาดใหญ่บนก้อนเส้า ใช้ถ้วยแกงตักเมล็ดข้าวในกระบุง ๑-๒ ถ้วย ใส่ลงในหม้อดินหรือกระทะ ใช้ไม้ไผ่เหลาปลายแหลมยาวประมาณ ๑ ศอกเศษ ตรงปลายแหลมเสียบติดกับกาบมะพร้าวที่มีเปลือกติดอยู่ ตัดสันขนาด ๑ ฝ่ามือตามขวาง ใช้สำหรับคนเพื่อให้เมล็ดข้าวในหม้อ ดินหรือกระทะถูกความร้อนได้ทั่วถึงกัน
    จนกระทั่วได้ยินเสียงข้าวในหม้อดินหรือกระทะแตก แล้ให้รีบยกลง เทข้าวลงในครกแล้วช่วยกันตำ สังเกตเมล็ดข้าวจะมีลักษณะลีบแบนทั่วทั้งหมด แล้วนำมาใส่ในกระดังแล้วฝัดแยกส่วนที่เป็นผงหรือป่นมาก ๆ ออก แล้วนำไปเก็บในภาชนะ
    ข้าวเม่าคนอีสาน
    ในอดีตคนอีสานมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวถึง 9 ครั้ง ได้แก่ เมื่อข้าวเป็นน้ำนม เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เมื่อเก็บเกี่ยว เมื่อจักตอกมัดข้าว เมื่อมัดฟ่อน เมื่อกองอยู่ในลาน เมื่อทำลอมข้าวเมื่อเก็บข้าวเข้าเล้า
    เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เป็นระยะเวลาที่ เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง จนลมเหนือล่องเข้าทำนองออกพรรษา ลมว่าวพัดมา ได้เวลา คั่วข้าวเม่า ซึ่ง โดยมาก ก็ประมาณช่วง เดือนตุลา ถึง พฤศจิกา ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้า นั่นเอง
    ข้าวเม่า นับเป็นของกินอีกอย่างหนึ่ง ที่เด็กๆ กินได้ ผู้ใหญ่กินดี ข้าวเม่า คือข้าว ที่ถูกตำ หรือทุบจนเม็ดข้าวแบน ซึ่ง ทำจากข้าวเหนียวที่ไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป อยู่ในช่วงวัยแรกรุ่น ที่เลยระยะน้ำนมแล้ว ข้างในเปลือกข้าวเริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว ซึ่งเยื่อสีเขียวนี้ เมื่อข้าวแก่ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด
    การเตรียมข้าวเม่าแบบดั้งเดิม
    อินไท สตตอรี่ & สตูดิโอ #เรื่องเล่า #เรื่องเล่าก่อนนอน #นิยายก่อนนอน #ตํานาน #ความเชื่อ #อาถรรพ์ #ผี #สิ่งลี้ลับ #อินไทสตอรี่ #อินไทสตูดิโอ #ดวง #ฮวงจุ้ย #โหราศาสตร์ #เทรนด์วันนี้ #พอดแคสต์ก่อนนอน #เรื่องเล่าผี
    ฝากกดติดตาม กดไลฟ์ กดแชร์ ด้วยนะจ๊ะ
    เฟสบุ๊ค : อินไท สตอรี่ / intaistory
    ยูทูป : อินไท สตอรี่ / @intaistory
    บทประพันธ์ อ.ก้อง ภควัทคีตา สงวนลิขสิทธิ์ โดย บจก.อินไท ออนไลน์ มีเดีย
    #อินไทสตอรี่ #อินไทสตูดิโอ #อินไทออนไลน์มีเดีย #คุณรู้หรือไม่ว่า #อาจารย์ก้องภควัทคีตา #โต้งอินไท
    #intaistory #intaistudio #intaionlinemedia #khonorporsor #Teacherkongbhagavadgita #tonintai

КОМЕНТАРІ •